ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” ที่เป็นการ สำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อทำ การสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไว จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจ เรื่อง เสียงโหวต ของสาธารณชนต่อนายตำรวจผู้เหมาะสมกับตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 17 จังหวัดของ ประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ ปทุมธานี เพชรบุรี ฉะเชิงเทรา กาญจนบุรี ชลบุรี หนองบัวลำภู สกลนคร ศรีสะเกษ ขอนแก่น ระนอง พัทลุง และสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,204 ครัวเรือน ดำเนินการสำรวจในวันที่ 24 กันยายน 2552 ที่ผ่านมา
โดยภาพรวม เมื่อพิจารณาผลการสำรวจที่ความคลาดเคลื่อนบวกลบ (+-) ร้อยละ 5 พบว่า มีนายตำรวจ 3 ท่านที่ประชาชนเห็นว่ามี ความเหมาะสมสูสีกันกับตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่โดยร้อยละ 21.3 ระบุเป็น พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ ร้อยละ 18.6 ระบุพล.ต.อ. ปทีป ตันประเสริฐ ร้อยละ 16.6 ระบุพล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย ในขณะที่ ร้อยละ 8.5 ระบุ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ร้อยละ 5.2 ระบุพล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ร้อยละ 3.2 ระบุพล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ร้อยละ 1.4 ระบุพล.ต.อ.วงกต มณีรินทร์ ร้อยละ 0.7 ระบุพล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัติ อย่างไรก็ตามประชาชนร้อยละ 24.5 ไม่ระบุ
และเมื่อจำแนกตามลักษณะทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ทั้งกลุ่มตัวอย่างที่เป็นชายร้อยละ 21.4 และหญิงร้อยละ 21.2 สนับสนุน พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ ในขณะที่ชายร้อยละ 20.5 และหญิงร้อยละ 16.9 สนับสนุน พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ นอกจากนี้ ชาย ร้อยละ 16.1 และหญิงร้อยละ 17.1 สนับสนุน พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มตัวอย่างที่อายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 19.0 สนับสนุน พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย ร้อยละ 18.4 สนับสนุน พล.ต.อ. ปทีป ตันประเสริฐ และร้อยละ 16.1 สนับสนุน พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ ตามลำดับ
แต่เมื่อพิจารณาระดับการศึกษาของผู้ตอบ พบว่า คนที่มีการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป ร้อยละ 26.2 สนับสนุน พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ ร้อยละ 20.7 สนับสนุน พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ และร้อยละ 9.0 สนับสนุน พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย
แต่เมื่อจำแนกตามอาชีพ พบว่าที่น่าสนใจคือ ในกลุ่มเกษตรกร และรับจ้างใช้แรงงานทั่วไป ให้การสนับสนุน พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ และ พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย ไม่แตกต่างกัน คือ ร้อยละ 20.9 ต่อร้อยละ 20.7 และยิ่งพิจารณาในกลุ่มคนว่างงาน พบว่า นายตำรวจทั้งสองท่าน ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มคนว่างงานเท่ากัน คือ ร้อยละ 25.9 แต่ในกลุ่มข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 25.0 สนับสนุน พล.ต.อ.จง รัก จุฑานนท์ และร้อยละ 22.9 สนับสนุน พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ
และถ้าพิจารณาในกลุ่มคนที่มีรายได้มากกว่า 10,000 บาทขึ้นไป พบว่า ร้อยละ 21.9 สนับสนุน พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ ร้อยละ 20.3 สนับสนุน พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ และร้อยละ 14.4 สนับสนุน พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย แต่ถ้าพิจารณาผู้มีรายได้น้อยไม่เกิน 5,000 บาท ต่อเดือน พบว่า ร้อยละ 20.7 สนับสนุน พล.ต.อ. จงรัก จุฑานนท์ ร้อยละ 18.4 สนับสนุน พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย และร้อยละ 16.6 สนับสนุน พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ
ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.4 คิดว่าจะกระทบต่อภาวะความเป็นผู้นำของนายกรัฐมนตรี ถ้านายกรัฐมนตรีเสนอชื่อ บุคคลเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่แล้วไม่ผ่านความเห็นชอบของ กตช. ในขณะที่ร้อยละ 26.6 คิดว่าไม่มีผลกระทบใดๆ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.0 เป็นหญิง
ร้อยละ 47.0 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 17.5 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 22.8 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 26.7 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 28.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.9 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 21.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.3 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 35.3 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 25.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 14.9 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 11.0 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.0 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.3 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ ร้อยละ 2.3 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
นอกจากนี้ ตัวอย่าง ร้อยละ 52.8 มีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 29.6 มีรายได้ 5,001 - 10,000 บาทต่อเดือน
ในขณะที่ ร้อยละ 17.6 มีรายได้มากกว่า 10,000 บาทต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ ผู้ที่เห็นว่าเหมาะสมจะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ ค่าร้อยละ 1 พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ 21.3 2 พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ 18.6 3 พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย 16.6 4 พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ 8.5 5 พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ 5.2 6 พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี 3.2 7 พล.ต.อ.วงกต มณีรินทร์ 1.4 8 พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัติ 0.7 9 ไม่ระบุ 24.5 รวมทั้งสิ้น 100.0
ความคลาดเคลื่อน +- ร้อยละ 5
ลำดับที่ ความคิดเห็น เพศชาย เพศหญิง 1 พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ 21.4 21.2 2 พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ 20.5 16.9 3 พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย 16.1 17.1 4 พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ 9.4 7.7 5 พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี 4.4 2.2 6 พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ 4.2 6.1 7 พล.ต.อ.วงกต มณีรินทร์ 1.4 1.4 8 พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัติ 0.5 0.9 9 ไม่ระบุ 22.1 26.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่เหมาะสมในการดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่จำแนกตามอายุ ลำดับที่ ความคิดเห็น ไม่เกิน 20 ปี 20-29 ปี 30-39 ปี 40-49 ปี 50 ปีขึ้นไป 1 พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย 14.3 19.0 12.0 16.8 19.0 2 พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ 8.2 22.3 17.8 18.6 18.4 3 พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ 30.6 18.5 26.2 23.0 16.1 4 พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ 14.3 8.1 8.4 7.5 8.9 5 พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ 10.2 6.6 5.8 4.0 4.3 6 พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี 2.0 5.2 2.5 3.1 2.9 7 พล.ต.อ.วงกต มณีรินทร์ - 1.4 2.2 1.9 0.6 8 พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัติ - 0.9 0.4 1.2 0.6 9 ไม่ระบุ 20.4 18.0 24.7 23.9 29.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่เหมาะสมในการดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ จำแนกตามการศึกษา ลำดับที่ ความคิดเห็น ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรีขึ้นไป 1 พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ 17.6 26.2 2 พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ 21.4 20.7 3 พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย 17.6 9.0 4 พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ 8.5 8.3 5 พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี 3.2 3.4 6 พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ 5.5 3.4 7 พล.ต.อ.วงกต มณีรินทร์ 1.3 2.1 8 พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัติ 0.7 1.4 9 ไม่ระบุ 24.2 25.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่เหมาะสมในการดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ จำแนกตามอาชีพ ลำดับที่ ความคิดเห็น ราชการ พนักงานบริษัท ค้าขาย นักเรียน เกษตรกร แม่บ้าน ว่างงาน รัฐวิสาหกิจ เอกชน อิสระ นักศึกษา รับจ้าง เกษียณอายุ 1 พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ 25.0 25.9 19.6 27.0 20.9 19.2 25.9 2 พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย 8.3 15.5 10.6 14.3 20.7 16.0 25.9 3 พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ 22.9 17.2 21.6 20.6 17.7 15.4 14.8 4 พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ 2.1 1.7 4.0 4.8 6.5 5.8 7.4 5 พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ 10.4 13.8 11.0 12.7 6.1 9.0 - 6 พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี 2.1 - 4.3 3.2 3.0 3.8 3.7 7 พล.ต.อ.วงกต มณีรินทร์ - 3.4 2.0 - 0.9 2.6 - 8 พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัติ 4.2 1.7 0.7 - 0.6 0.6 - 9 ไม่ระบุ 25.0 20.8 26.2 17.4 23.6 27.6 22.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่เหมาะสมในการดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ จำแนกตามรายได้ ลำดับที่ ความคิดเห็น ไม่เกิน5,000 บาท 5,000-10,000 บาท มากกว่า10,000 บาท 1 พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ 16.6 20.1 21.9 2 พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ 20.7 22.9 20.3 3 พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย 18.4 13.1 14.4 4 พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ 8.0 8.9 11.2 5 พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี 3.4 2.5 4.3 6 พล.ต.อ.วงกต มณีรินทร์ 1.1 1.6 2.1 7 พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ 5.7 5.4 2.1 8 พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัติ 0.9 1.0 0.5 9 ไม่ระบุ 25.2 24.5 23.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบในการเสนอชื่อบุคคลที่จะเป็น ผบ.ตร. คนใหม่แล้ว
ไม่ผ่านการพิจารณาของ กตช. ต่อภาวะผู้นำของนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 คิดว่ากระทบต่อภาวะผู้นำของนายกรัฐมนตรี 73.4 2 คิดว่าไม่มีผลกระทบใดๆ 26.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 --เอแบคโพลล์-- -พห-