เอแบคโพลล์: เปรียบเทียบความคิดเห็นของสาธารณชนต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญระหว่างช่วงเดือนสิงหาคม กับ เดือนกันยายน

ข่าวผลสำรวจ Monday September 28, 2009 08:37 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” ที่เป็นการ สำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อทำ การสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไว จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจ เรื่อง เปรียบ เทียบความคิดเห็นของสาธารณชนต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ระหว่างช่วงเดือนสิงหาคม กับ เดือนกันยายน กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 17 จังหวัดของประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปทุมธานี เพชรบุรี ขอนแก่น ศรีสะเกษ สกลนคร หนองบัวลำภู พัทลุง ระนอง และสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,297 ครัวเรือน ดำเนินการสำรวจในวันที่ 26 กันยายน 2552 ผลการสำรวจพบว่า

เมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองจากการสำรวจในครั้งนี้พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.6 เห็นว่าควรแก้ไข ในขณะที่ร้อยละ 22.4 เห็นว่าไม่ควรแก้ไข ทั้งนี้ผู้ที่เห็นด้วยว่าควรแก้ไขในมาตรานี้เพิ่มขึ้นเพียงเล็ก น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราอื่นๆ นั้นพบว่ายังอยู่ในลักษณะก้ำกึ่งระหว่างผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และไม่เปลี่ยนแปลงมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจในช่วงเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา โดยเมื่อพิจารณาจำแนกรายมาตรา พบว่าร้อยละ 59.2 เห็นว่าควรแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราที่ว่า “สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วย ส.ส. รวม 480 คน โดยมาจากการเลือกตั้งแบบ แบ่งเขต 400 คน และเลือกตั้งแบบสัดส่วน 80 คน” ร้อยละ 55.4 ระบุเห็นว่าควรแก้ไขมาตราที่ว่า “วุฒิสภา ประกอบด้วย ส.ว. รวม 150 คน โดยมาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน รวม 76 คน และที่เหลือมาจากการสรรหา รวม 74 คน” ร้อยละ 51.5 ระบุควรแก้ไขมาตรา “ห้ามใช้ ตำแหน่ง ส.ส. หรือ ส.ว. เข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงระบบราชการ อาทิ การปฏิบัติราชการในหน้าที่ประจำ การบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย หรือให้ พ้นจากตำแหน่ง” ร้อยละ 50.2 ระบุควรแก้ไขในมาตรา “การทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ ที่มีผลต่อความมั่นคง ทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศ จะต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา” และร้อยละ 50.0 ระบุเห็นว่าควรแก้ไขในมาตรา “ส.ส. หรือ ส. ว. จะต้องไม่ดำรงตำแหน่งในหน่วยงานของรัฐอื่นใดอีก ไม่รับหรือแทรกแซงก้าวก่ายสัมปทานจากรัฐ หรือเป็นคู่สัญญากับรัฐ และไม่รับผลประโยชน์จาก หน่วยงานของรัฐเป็นการพิเศษ” ตามลำดับ

ส่วนความคิดเห็นของประชาชนกรณีที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเพิ่มอำนาจให้กับประชาชนในการตรวจสอบการทุจริตคอรัปชั่นทั้งระดับ ชาติและระดับท้องถิ่นได้โดยตรงนั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่เกือบร้อยละร้อย คือร้อยละ 92.4 เห็นด้วยที่จะมีการแก้ไขในเรื่องดัง กล่าว ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 7.6 เท่านั้นที่ไม่เห็นด้วย

อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าจะเป็นทางออกช่วยลดความขัดแย้งแตกแยกของสังคมหรือจะเป็น สิ่งที่ทำให้เกิดความขัดแย้งแตกแยกมากยิ่งขึ้นนั้น พบว่าร้อยละ 52.6 คิดว่าจะเป็นทางออกช่วยลดปัญหาความขัดแย้งแตกแยกได้ ในขณะที่ในจำนวนที่ ใกล้เคียงกันคือร้อยละ 47.4 ระบุคิดว่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความขัดแย้งแตกแยกมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อการลงมติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นพบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 86.5 เห็นว่าควรทำประชามติ ก่อนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในขณะที่ร้อยละ 13.5 ระบุควรทำประชามติหลังการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามลำดับ

ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า แม้ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญอาจกลายเป็นปัญหาลุกลามบาน ปลายได้เพราะไม่ใช่ทั้ง 6 มาตราที่ประชาชนจะเห็นด้วยแบบชี้ขาดหรือเป็นเอกฉันท์เพราะเสียงที่ต้องการให้แก้ไข กับไม่ต้องการให้แก้ไขมีสัดส่วนก้ำ กึ่งกันในสามมาตรา นั่นหมายความว่า กลุ่มประชาชนส่วนใหญ่ที่เคยแสดงจุดยืนทางการเมืองที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดกำลังถูกผลักให้เลือกข้างแตกแยก ออกในสัดส่วนพอๆ กัน ดังนั้น มาตราที่ฝ่ายการเมืองเล็งกันไว้ว่าจะแก้ไขทั้ง 6 มาตรากำลังกลายเป็น “มาตราอันตราย” ที่ต้องระวังจะกลายเป็น เชื้อไฟการเมืองให้ลุกโชนขึ้นมาได้อีกในสังคมไทย ได้แก่มาตราต่อไปนี้

1) ส.ส. หรือ ส.ว. จะต้องไม่ดำรงตำแหน่งในหน่วยงานของรัฐอื่นใดอีก ไม่รับหรือแทรกแซงก้าวก่ายสัมปทานจากรัฐ หรือเป็นคู่สัญญา กับรัฐ และไม่รับผลประโยชน์จากหน่วยงานของรัฐเป็นการพิเศษ

2) การทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ ที่มีผลต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศ จะต้อง ได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา และ

3) ห้ามใช้ตำแหน่ง ส.ส. หรือ ส.ว. เข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงระบบราชการ อาทิ การปฏิบัติราชการในหน้าที่ประจำ การบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย หรือให้พ้นจากตำแหน่ง

“ทั้งสามมาตราดังกล่าว เป็นมาตราที่ต้องระมัดระวังในการเข้าไปแตะต้องเพราะอาจกลายเป็นการจุดชนวนความขัดแย้งแตกแยกใน สังคมไทยขึ้นมาได้” ดร.นพดล กล่าว

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 53.6 เป็นหญิง

ร้อยละ 46.4 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 4.2อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 17.9 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 22.9 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 26.2 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และร้อยละ 28.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 76.2 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 21.4 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 2.4 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 35.3 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 25.5 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 14.8 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 10.8 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 5.9 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 5.4 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ในขณะที่ร้อยละ 2.3 ระบุว่างงาน

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตรา เกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
ลำดับที่          ความเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราเกี่ยวกับ
             การยุบพรรคการเมือง                                                  สิงหาคมค่าร้อยละ   กันยายนค่าร้อยละ
1          ควรแก้ไข เพราะ ทำให้เปลี่ยนรัฐบาลบ่อย ทำงานไม่ต่อเนื่อง ฝ่ายการเมืองอ่อนแอเกินไป
           เกิดความขัดแย้งในสังคม บ้านเมืองแตกแยก เป็นต้น                                    74.1          77.6
2          ไม่ควรแก้ไข เพราะ ดีอยู่แล้ว ช่วยขจัดคนไม่ดีที่แอบแฝงออกไป และต้องการให้พรรคอื่น
           โดนยุบบ้าง เป็นต้น                                                            25.9          22.4
          รวมทั้งสิ้น                                                                   100.0         100.0

ตารางที่ 2  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุความเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นอื่นๆ  (ค่าร้อยละที่ระบุควรแก้ไข)
ลำดับที่          ประเด็นสำคัญในรัฐธรรมนูญ                                       สิงหาคมค่าร้อยละ    กันยายนค่าร้อยละ
1          สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วย ส.ส. รวม 480 คน โดยมาจากการเลือกตั้ง
           แบบแบ่งเขต 400 คน และเลือกตั้งแบบสัดส่วน 80 คน                            51.8            59.2
2          วุฒิสภา ประกอบด้วย ส.ว. รวม 150 คน โดยมาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน
           รวม 76 คน และที่เหลือมาจากการสรรหา รวม 74 คน                           57.1            55.4
3          ห้ามใช้ตำแหน่ง ส.ส. หรือ ส.ว. เข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงระบบราชการ อาทิ
           การปฏิบัติราชการในหน้าที่ประจำ การบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย หรือให้พ้นจากตำแหน่ง      43.4            51.5
4          การทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ ที่มีผลต่อความมั่นคง
           ทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศ จะต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา              45.0            50.2
5          ส.ส. หรือ ส.ว. จะต้องไม่ดำรงตำแหน่งในหน่วยงานของรัฐอื่นใดอีก ไม่รับหรือ

แทรกแซงก้าวก่ายสัมปทานจากรัฐ หรือเป็นคู่สัญญากับรัฐ และไม่รับผลประโยชน์

           จากหน่วยงานของรัฐเป็นการพิเศษ                                           45.4            50.0

ตารางที่ 3   แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มอำนาจให้กับประชาชนในการตรวจสอบการ

ทุจริตคอรัปชั่นทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่นได้โดยตรง

ลำดับที่          ความคิดเห็น          สิงหาคมค่าร้อยละ           กันยายนค่าร้อยละ
1          เห็นด้วย                      92.3                    92.4
2          ไม่เห็นด้วย                     7.7                     7.6
          รวมทั้งสิ้น                     100.0                   100.0

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าจะเป็นทางออกช่วยลดความขัดแย้งแตกแยก
ของสังคมหรือเป็นสิ่งที่จะทำให้เกิดความขัดแย้งแตกแยกมากยิ่งขึ้น
ลำดับที่          ความคิดเห็น                                     ค่าร้อยละ
1          คิดว่าจะเป็นทางออกช่วยลดปัญหาความขัดแย้งแตกแยก             52.6
2          คิดว่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความขัดแย้งแตกแยกมากยิ่งขึ้น           47.4
          รวมทั้งสิ้น                                             100.0

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการลงมติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่          ความคิดเห็น                                    ค่าร้อยละ
1          ควรทำประชามติก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญ                         86.5
2          ควรทำประชามติหลังการแก้ไขรัฐธรรมนูญ                     13.5
          รวมทั้งสิ้น                                            100.0

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.3)  เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่          ความคิดเห็น            ค่าร้อยละ
1          เห็นด้วย                    77.2
2          ไม่เห็นด้วย                  22.8
          รวมทั้งสิ้น                   100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ