ที่มาของโครงการ
ในตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมาข่าวที่ยังถูกกระแสวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากในขณะนี้ คือ เรื่องข่าวครอบครัวของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่
ขายหุ้นใน “ชินคอร์ป” ของตระกูลชินวัตร ให้กับบริษัทเทเลคอมต่างชาติ ในราคาหุ้นละประมาณ 46 บาท คิดเป็นเงินไม่ต่ำกว่า 70,000 ล้านบาท
ซึ่งบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ถือเป็น “บริษัทโฮลดิ้ง” หรือ “บริษัทแม่” ของ ตระกูลชินวัตร สาย นายกฯทักษิณชินคอร์ป เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
ใน บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส เจ้าของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือจีเอสเอ็ม และจีเอสเอ็ม 1800 และ 3 จีในอนาคต เป็นผู้ถือ
หุ้นใหญ่ บริษัทชิน แซทเทิลไลท์ เจ้าของดาวเทียมไทยคม 1-5 ที่ครองความเป็นเจ้าอวกาศอยู่ในภูมิภาคเอเชีย เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน สถานีโทรทัศน์ไอ
ทีวี เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซีเอส ล็อกอินไฟ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน สายการบินต้นทุนต่ำ แอร์เอเชีย และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทการ
เงินที่เป็นนอนแบงก์ คือ แคปปิตอล โอเค ฯลฯ จากข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ประชาชนคิดอย่างไรต่อข่าวความเคลื่อนไหวของตระกูลชินวัตรในครั้งนี้
และจากกระแสทางการเมืองทำให้การใช้สินค้า/บริการในเครือของ “ชินคอร์ป” จะมีการเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงใด
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจผลกระทบที่มีต่อประชาชนจาก
สถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน และสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีการหลีกเลี่ยงใช้สินค้า / บริการในเครือชินคอร์ป ด้วยการจัดส่ง
อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล ลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจข่าวการเมืองที่ประชาชนติดตามในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการออกมาเรียกร้องให้ยุติความขัดแย้งของโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการชุมนุมเรียกร้องให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการใช้สินค้า / บริการ เครือชินคอร์ป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “สาธารณชน คิดอย่างไรต่อบรรยากาศการ
เมืองขณะนี้และแนวคิดเลิกใช้สินค้าในเครือชินคอร์ป : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการ
สำรวจในวันที่ 10-12 มีนาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,481 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.1 เป็นหญิง
ร้อยละ 49.9 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.9 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 29.0 อายุ 20-29 ปี
ร้อยละ 25.6 อายุ 30-39 ปี
ร้อยละ 20.6 อายุ 40-49 ปี
และร้อยละ 17.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 81.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 17.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 0.7 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 47.5 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 26.8 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 7.8 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 6.9 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 4.9 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 4.6 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 1.5 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “สาธารณชนคิดอย่างไรต่อบรรยากาศการเมืองขณะนี้
และแนวคิดเลิกใช้สินค้าในเครือชินคอร์ป” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหา
นครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,481 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 10-12 มีนาคม 2549 พบว่า
ผลสำรวจของเอแบคโพลล์ พบว่า ข่าวการเมืองที่ประชาชนกำลังติดตามในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา 3 อันดับแรก คือ ข่าวการชุมนุมของกลุ่ม
สนับสนุนและไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรี (ร้อยละ 86.0) รองลงมา ได้แก่ ข่าวระเบิดบ้าน ป๋าเปรม (ร้อยละ 46.1) และข่าวเลือกตั้งส.ส. 2
เม.ย. 49 (ร้อยละ 40.6) ตามลำดับ
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นต่อการที่โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (พล.ต.ท.อชิรวิทย์ สุพรรณเภสัช) ออกมา
เรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติความขัดแย้งทางการเมือง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.3 เห็นด้วยกับการเรียกร้องดังกล่าว ร้อยละ 11.7 ไม่เห็นด้วย
ร้อยละ 15.0 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่เอแบคโพลล์ค้นพบต่อไป คือ สถานการณ์การเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา มีผลกระทบกับตัวอย่างหรือไม่ พบว่า
ตัวอย่างเกินกว่า 3 ใน 4 หรือร้อยละ 79.8 รู้สึกเบื่อหน่ายต่อการเมืองไทย และร้อยละ 20.2 ไม่รู้สึกเบื่อหน่าย
สำหรับผลกระทบที่ว่าทำให้ตัวอย่างรู้สึกขาดความเชื่อมั่นต่อการลงทุน/ค้าขาย พบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ
58.0 รู้สึกขาดความเชื่อมั่น และร้อยละ 42.0 ไม่รู้สึกเช่นนั้น
เมื่อสอบถามถึงความรู้สึกการขาดความมั่นใจในการวางแผนชีวิตในอนาคตนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 52.8 ไม่รู้สึกขาด
ความมั่นใจดังกล่าว และร้อยละ 47.2 รู้สึกเช่นนั้น
ตัวอย่างร้อยละ 55.1 ไม่รู้สึกเครียดกับสถานการณ์การเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา และร้อยละ 44.9 รู้สึกเครียด และ
เมื่อกล่าวถึงว่าสถานการณ์การเมืองทำให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดกับบุคคลรอบข้างนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 56.3 ระบุว่าไม่ทำให้เกิดความขัด
แย้ง และร้อยละ 43.7 ทำให้เกิดความขัดแย้ง
ตัวอย่างร้อยละ 56.3 มีความรู้สึกว่าปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจากสถานการณ์การเมืองที่ผ่านมา และร้อยละ 43.7 ทำ
ให้รู้สึกว่าไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 26.5 มีความต้องการที่จะให้เทมาเส็กจากสิงคโปร์ยกเลิกการซื้อหุ้นชินคอร์ป ร้อยละ 17.7 ไม่
ต้องการ และร้อยละ 55.8 ไม่มีความคิดเห็น อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อความเหมาะสมที่ทำการประท้วงเพื่อให้ประชาชน
เลิกใช้สินค้าในเครือชินคอร์ป พบว่า ตัวอย่างเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 41.2 มีความเห็นว่าไม่เหมาะสม ร้อยละ 15.8 เห็นว่าเหมาะสม และ
ร้อยละ 43.0 ไม่มีความเห็น
ตัวอย่างเกินครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 53.9 ได้ใช้/เคยโทรศัพท์มือถือเครือข่ายเอไอเอส ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่ง
ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.6 ได้ใช้แบบเติมเงิน หรือวันทูคอล ส่วนที่เหลือร้อยละ 18.4 ใช้แบบรายเดือน ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบ
ถามถึงการเปลี่ยนแปลงการใช้เครือข่ายเอไอเอสหลังข่าวการขายหุ้นชินคอร์ปนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 77.9 จะยังคงใช้เหมือนเดิม หรือไม่ส่งผล
ใดๆ เลย ในขณะที่ร้อยละ 11.6 ระบุว่าได้เปลี่ยนไปใช้บริการเครือข่ายอื่นๆ แล้ว และร้อยละ 10.5 ตั้งใจจะเลิกใช้เร็วๆ นี้
สำหรับความคิดเห็นต่อการหลีกเลี่ยงใช้สินค้า / บริการจากเครือชินคอร์ป หลังจากข่าวการขายหุ้นชินคอร์ป พบว่า ตัวอย่าง
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.3 คิดว่าจะไม่หลีกเลี่ยงการใช้สินค้าดังกล่าว และร้อยละ 19.7 คิดว่าจะหลีกเลี่ยง
นอกจากนี้ ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.9 ไม่เคยชักชวนให้ญาติพี่น้อง หรือคนรู้จักหลีกเลี่ยงการใช้สินค้า / บริการจาก
เครือชินคอร์ป และร้อยละ 12.1 เคยชักชวน
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดง 10 อันดับแรกของข่าวการเมืองที่ประชาชนกำลังติดตามในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ 10 อันดับแรกของข่าวการเมืองที่ประชาชนกำลังติดตาม ร้อยละ
1 การชุมนุมของกลุ่มสนับสนุนและไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรี 86.0
2 ระเบิดบ้านป๋าเปรม 46.1
3 ข่าวเลือกตั้งส.ส. 2 เม.ย. 49 40.6
4 โฆษกตำรวจเรียกร้องให้ยุติความรุนแรง 33.3
5 ฝ่ายค้านแจงเหตุผลไม่ส่งผู้สมัคร ส.ส. 31.6
6 ถวายฎีกาขอนายกฯพระราชทาน 31.0
7 ทักษิณบุกสุพรรณกินข้าวกับเลขาฯพรรคชาติไทย 27.5
8 ขู่บอยคอตสินค้าสิงคโปร์กดดันเลิกซื้อหุ้นชินคอร์ป 24.1
9 รณรงค์เลิกใช้สินค้าชินคอร์ป 23.3
10 ข่าวเลือกตั้งส.ว. 19 เม.ย.49 22.7
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการที่โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(พล.ต.ท.อชิรวิทย์ สุพรรณเภสัช) ออกมาเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติความขัดแย้งทางการเมือง
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการที่โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติออกมาเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติความขัดแย้งทางการเมือง ร้อยละ
1 เห็นด้วย 73.3
2 ไม่เห็นด้วย 11.7
3 ไม่มีความเห็น 15.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผลกระทบที่ตนเองได้รับจากสถานการณ์การเมืองในช่วง 30 วัน ที่ผ่านมา
ผลกระทบในด้านต่างๆ ใช่ ไม่ใช่ รวมทั้งสิ้น
1. ทำให้รู้สึกเบื่อหน่ายต่อการเมืองไทย 79.8 20.2 100.0
2. รู้สึกขาดความเชื่อมั่นต่อการลงทุน / ค้าขาย 58.0 42.0 100.0
3. รู้สึกขาดความมั่นใจในการวางแผนชีวิตในอนาคต 47.2 52.8 100.0
4. ทำให้เกิดความเครียด 44.9 55.1 100.0
5. เกิดความขัดแย้งทางความคิดกับบุคคลรอบข้าง 43.7 56.3 100.0
6. รู้สึกไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 43.7 56.3 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการที่จะให้เทมาเส็กจากสิงคโปร์ยกเลิการซื้อหุ้นชินคอร์ป
ลำดับที่ ความต้องการที่จะให้เทมาเส็กจากสิงคโปร์ยกเลิการซื้อหุ้นชินคอร์ป ร้อยละ
1 ต้องการ 26.5
2 ไม่ต้องการ 17.7
3 ไม่มีความเห็น 55.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการประท้วงเพื่อให้ประชาชนเลิกใช้สินค้าในเครือ
ชินคอร์ปว่าเป็นสิ่งเหมาะสมหรือไม่
ลำดับที่ การประท้วงเพื่อให้ประชาชนเลิกใช้สินค้าในเครือชินคอร์ปว่าเป็นสิ่งเหมาะสมหรือไม่ ร้อยละ
1 เหมาะสม 15.8
2 ไม่เหมาะสม 41.2
3 ไม่มีความเห็น 43.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการใช้ / เคยใช้โทรศัพท์มือถือเครือข่ายเอไอเอส ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ การใช้ / เคยใช้โทรศัพท์มือถือเครือข่ายเอไอเอส ร้อยละ
1 ใช้ / เคยใช้ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา 53.9
2 ไม่ใช้ 46.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรูปแบบเครือข่ายเอไอเอสที่ใช้ / เคยใช้ ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา
(เฉพาะตัวอย่างที่ใช้ / เคยใช้เครือข่ายเอไอเอสในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา)
ลำดับที่ รูปแบบเครือข่ายเอไอเอสที่ใช้ / เคยใช้ ร้อยละ
1 แบบรายเดือน 18.4
2 แบบเติมเงิน (วันทูคอล) 81.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเปลี่ยนแปลงการใช้เครือข่ายเอไอเอสหลังจากข่าวการขายหุ้น
ชินคอร์ป (เฉพาะตัวอย่างที่ใช้ / เคยใช้เครือข่ายเอไอเอสในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา)
ลำดับที่ การเปลี่ยนแปลงการใช้เครือข่ายเอไอเอสหลังข่าวการขายหุ้นชินคอร์ป ร้อยละ
1 ไม่ส่งผลใดๆ / จะยังใช้เหมือนเดิม 77.9
2 ตั้งใจจะเลิกใช้เร็วๆ นี้ 10.5
3 ได้เปลี่ยนไปใช้บริการเครือข่ายอื่นๆ แล้ว 11.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการหลีกเลี่ยงใช้สินค้า / บริการจากเครือชินคอร์ป หลังจากข่าวการขายหุ้นชินคอร์ป
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ร้อยละ
1 คิดว่าจะหลีกเลี่ยง 19.7
2 คิดว่าจะไม่หลีกเลี่ยง 80.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเคยชักชวนให้ญาติพี่น้องหรือคนรู้จักหลีกเลี่ยงการใช้สินค้า /
บริการจากเครือชินคอร์ป
ลำดับที่ การเคยชักชวนให้ญาติพี่น้องหรือคนรู้จักหลีกเลี่ยงการใช้สินค้า / บริการจากเครือชินคอร์ป ร้อยละ
1 เคยชักชวน 12.1
2 ไม่เคยชักชวน 87.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ในตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมาข่าวที่ยังถูกกระแสวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากในขณะนี้ คือ เรื่องข่าวครอบครัวของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่
ขายหุ้นใน “ชินคอร์ป” ของตระกูลชินวัตร ให้กับบริษัทเทเลคอมต่างชาติ ในราคาหุ้นละประมาณ 46 บาท คิดเป็นเงินไม่ต่ำกว่า 70,000 ล้านบาท
ซึ่งบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ถือเป็น “บริษัทโฮลดิ้ง” หรือ “บริษัทแม่” ของ ตระกูลชินวัตร สาย นายกฯทักษิณชินคอร์ป เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
ใน บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส เจ้าของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือจีเอสเอ็ม และจีเอสเอ็ม 1800 และ 3 จีในอนาคต เป็นผู้ถือ
หุ้นใหญ่ บริษัทชิน แซทเทิลไลท์ เจ้าของดาวเทียมไทยคม 1-5 ที่ครองความเป็นเจ้าอวกาศอยู่ในภูมิภาคเอเชีย เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน สถานีโทรทัศน์ไอ
ทีวี เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซีเอส ล็อกอินไฟ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน สายการบินต้นทุนต่ำ แอร์เอเชีย และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทการ
เงินที่เป็นนอนแบงก์ คือ แคปปิตอล โอเค ฯลฯ จากข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ประชาชนคิดอย่างไรต่อข่าวความเคลื่อนไหวของตระกูลชินวัตรในครั้งนี้
และจากกระแสทางการเมืองทำให้การใช้สินค้า/บริการในเครือของ “ชินคอร์ป” จะมีการเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงใด
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจผลกระทบที่มีต่อประชาชนจาก
สถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน และสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีการหลีกเลี่ยงใช้สินค้า / บริการในเครือชินคอร์ป ด้วยการจัดส่ง
อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล ลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจข่าวการเมืองที่ประชาชนติดตามในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการออกมาเรียกร้องให้ยุติความขัดแย้งของโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการชุมนุมเรียกร้องให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการใช้สินค้า / บริการ เครือชินคอร์ป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “สาธารณชน คิดอย่างไรต่อบรรยากาศการ
เมืองขณะนี้และแนวคิดเลิกใช้สินค้าในเครือชินคอร์ป : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการ
สำรวจในวันที่ 10-12 มีนาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,481 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.1 เป็นหญิง
ร้อยละ 49.9 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.9 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 29.0 อายุ 20-29 ปี
ร้อยละ 25.6 อายุ 30-39 ปี
ร้อยละ 20.6 อายุ 40-49 ปี
และร้อยละ 17.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 81.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 17.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 0.7 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 47.5 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 26.8 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 7.8 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 6.9 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 4.9 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 4.6 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 1.5 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “สาธารณชนคิดอย่างไรต่อบรรยากาศการเมืองขณะนี้
และแนวคิดเลิกใช้สินค้าในเครือชินคอร์ป” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหา
นครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,481 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 10-12 มีนาคม 2549 พบว่า
ผลสำรวจของเอแบคโพลล์ พบว่า ข่าวการเมืองที่ประชาชนกำลังติดตามในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา 3 อันดับแรก คือ ข่าวการชุมนุมของกลุ่ม
สนับสนุนและไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรี (ร้อยละ 86.0) รองลงมา ได้แก่ ข่าวระเบิดบ้าน ป๋าเปรม (ร้อยละ 46.1) และข่าวเลือกตั้งส.ส. 2
เม.ย. 49 (ร้อยละ 40.6) ตามลำดับ
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นต่อการที่โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (พล.ต.ท.อชิรวิทย์ สุพรรณเภสัช) ออกมา
เรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติความขัดแย้งทางการเมือง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.3 เห็นด้วยกับการเรียกร้องดังกล่าว ร้อยละ 11.7 ไม่เห็นด้วย
ร้อยละ 15.0 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่เอแบคโพลล์ค้นพบต่อไป คือ สถานการณ์การเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา มีผลกระทบกับตัวอย่างหรือไม่ พบว่า
ตัวอย่างเกินกว่า 3 ใน 4 หรือร้อยละ 79.8 รู้สึกเบื่อหน่ายต่อการเมืองไทย และร้อยละ 20.2 ไม่รู้สึกเบื่อหน่าย
สำหรับผลกระทบที่ว่าทำให้ตัวอย่างรู้สึกขาดความเชื่อมั่นต่อการลงทุน/ค้าขาย พบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ
58.0 รู้สึกขาดความเชื่อมั่น และร้อยละ 42.0 ไม่รู้สึกเช่นนั้น
เมื่อสอบถามถึงความรู้สึกการขาดความมั่นใจในการวางแผนชีวิตในอนาคตนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 52.8 ไม่รู้สึกขาด
ความมั่นใจดังกล่าว และร้อยละ 47.2 รู้สึกเช่นนั้น
ตัวอย่างร้อยละ 55.1 ไม่รู้สึกเครียดกับสถานการณ์การเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา และร้อยละ 44.9 รู้สึกเครียด และ
เมื่อกล่าวถึงว่าสถานการณ์การเมืองทำให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดกับบุคคลรอบข้างนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 56.3 ระบุว่าไม่ทำให้เกิดความขัด
แย้ง และร้อยละ 43.7 ทำให้เกิดความขัดแย้ง
ตัวอย่างร้อยละ 56.3 มีความรู้สึกว่าปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจากสถานการณ์การเมืองที่ผ่านมา และร้อยละ 43.7 ทำ
ให้รู้สึกว่าไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 26.5 มีความต้องการที่จะให้เทมาเส็กจากสิงคโปร์ยกเลิกการซื้อหุ้นชินคอร์ป ร้อยละ 17.7 ไม่
ต้องการ และร้อยละ 55.8 ไม่มีความคิดเห็น อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อความเหมาะสมที่ทำการประท้วงเพื่อให้ประชาชน
เลิกใช้สินค้าในเครือชินคอร์ป พบว่า ตัวอย่างเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 41.2 มีความเห็นว่าไม่เหมาะสม ร้อยละ 15.8 เห็นว่าเหมาะสม และ
ร้อยละ 43.0 ไม่มีความเห็น
ตัวอย่างเกินครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 53.9 ได้ใช้/เคยโทรศัพท์มือถือเครือข่ายเอไอเอส ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่ง
ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.6 ได้ใช้แบบเติมเงิน หรือวันทูคอล ส่วนที่เหลือร้อยละ 18.4 ใช้แบบรายเดือน ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบ
ถามถึงการเปลี่ยนแปลงการใช้เครือข่ายเอไอเอสหลังข่าวการขายหุ้นชินคอร์ปนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 77.9 จะยังคงใช้เหมือนเดิม หรือไม่ส่งผล
ใดๆ เลย ในขณะที่ร้อยละ 11.6 ระบุว่าได้เปลี่ยนไปใช้บริการเครือข่ายอื่นๆ แล้ว และร้อยละ 10.5 ตั้งใจจะเลิกใช้เร็วๆ นี้
สำหรับความคิดเห็นต่อการหลีกเลี่ยงใช้สินค้า / บริการจากเครือชินคอร์ป หลังจากข่าวการขายหุ้นชินคอร์ป พบว่า ตัวอย่าง
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.3 คิดว่าจะไม่หลีกเลี่ยงการใช้สินค้าดังกล่าว และร้อยละ 19.7 คิดว่าจะหลีกเลี่ยง
นอกจากนี้ ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.9 ไม่เคยชักชวนให้ญาติพี่น้อง หรือคนรู้จักหลีกเลี่ยงการใช้สินค้า / บริการจาก
เครือชินคอร์ป และร้อยละ 12.1 เคยชักชวน
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดง 10 อันดับแรกของข่าวการเมืองที่ประชาชนกำลังติดตามในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ 10 อันดับแรกของข่าวการเมืองที่ประชาชนกำลังติดตาม ร้อยละ
1 การชุมนุมของกลุ่มสนับสนุนและไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรี 86.0
2 ระเบิดบ้านป๋าเปรม 46.1
3 ข่าวเลือกตั้งส.ส. 2 เม.ย. 49 40.6
4 โฆษกตำรวจเรียกร้องให้ยุติความรุนแรง 33.3
5 ฝ่ายค้านแจงเหตุผลไม่ส่งผู้สมัคร ส.ส. 31.6
6 ถวายฎีกาขอนายกฯพระราชทาน 31.0
7 ทักษิณบุกสุพรรณกินข้าวกับเลขาฯพรรคชาติไทย 27.5
8 ขู่บอยคอตสินค้าสิงคโปร์กดดันเลิกซื้อหุ้นชินคอร์ป 24.1
9 รณรงค์เลิกใช้สินค้าชินคอร์ป 23.3
10 ข่าวเลือกตั้งส.ว. 19 เม.ย.49 22.7
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการที่โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(พล.ต.ท.อชิรวิทย์ สุพรรณเภสัช) ออกมาเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติความขัดแย้งทางการเมือง
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการที่โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติออกมาเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติความขัดแย้งทางการเมือง ร้อยละ
1 เห็นด้วย 73.3
2 ไม่เห็นด้วย 11.7
3 ไม่มีความเห็น 15.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผลกระทบที่ตนเองได้รับจากสถานการณ์การเมืองในช่วง 30 วัน ที่ผ่านมา
ผลกระทบในด้านต่างๆ ใช่ ไม่ใช่ รวมทั้งสิ้น
1. ทำให้รู้สึกเบื่อหน่ายต่อการเมืองไทย 79.8 20.2 100.0
2. รู้สึกขาดความเชื่อมั่นต่อการลงทุน / ค้าขาย 58.0 42.0 100.0
3. รู้สึกขาดความมั่นใจในการวางแผนชีวิตในอนาคต 47.2 52.8 100.0
4. ทำให้เกิดความเครียด 44.9 55.1 100.0
5. เกิดความขัดแย้งทางความคิดกับบุคคลรอบข้าง 43.7 56.3 100.0
6. รู้สึกไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 43.7 56.3 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการที่จะให้เทมาเส็กจากสิงคโปร์ยกเลิการซื้อหุ้นชินคอร์ป
ลำดับที่ ความต้องการที่จะให้เทมาเส็กจากสิงคโปร์ยกเลิการซื้อหุ้นชินคอร์ป ร้อยละ
1 ต้องการ 26.5
2 ไม่ต้องการ 17.7
3 ไม่มีความเห็น 55.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการประท้วงเพื่อให้ประชาชนเลิกใช้สินค้าในเครือ
ชินคอร์ปว่าเป็นสิ่งเหมาะสมหรือไม่
ลำดับที่ การประท้วงเพื่อให้ประชาชนเลิกใช้สินค้าในเครือชินคอร์ปว่าเป็นสิ่งเหมาะสมหรือไม่ ร้อยละ
1 เหมาะสม 15.8
2 ไม่เหมาะสม 41.2
3 ไม่มีความเห็น 43.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการใช้ / เคยใช้โทรศัพท์มือถือเครือข่ายเอไอเอส ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ การใช้ / เคยใช้โทรศัพท์มือถือเครือข่ายเอไอเอส ร้อยละ
1 ใช้ / เคยใช้ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา 53.9
2 ไม่ใช้ 46.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรูปแบบเครือข่ายเอไอเอสที่ใช้ / เคยใช้ ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา
(เฉพาะตัวอย่างที่ใช้ / เคยใช้เครือข่ายเอไอเอสในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา)
ลำดับที่ รูปแบบเครือข่ายเอไอเอสที่ใช้ / เคยใช้ ร้อยละ
1 แบบรายเดือน 18.4
2 แบบเติมเงิน (วันทูคอล) 81.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเปลี่ยนแปลงการใช้เครือข่ายเอไอเอสหลังจากข่าวการขายหุ้น
ชินคอร์ป (เฉพาะตัวอย่างที่ใช้ / เคยใช้เครือข่ายเอไอเอสในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา)
ลำดับที่ การเปลี่ยนแปลงการใช้เครือข่ายเอไอเอสหลังข่าวการขายหุ้นชินคอร์ป ร้อยละ
1 ไม่ส่งผลใดๆ / จะยังใช้เหมือนเดิม 77.9
2 ตั้งใจจะเลิกใช้เร็วๆ นี้ 10.5
3 ได้เปลี่ยนไปใช้บริการเครือข่ายอื่นๆ แล้ว 11.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการหลีกเลี่ยงใช้สินค้า / บริการจากเครือชินคอร์ป หลังจากข่าวการขายหุ้นชินคอร์ป
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ร้อยละ
1 คิดว่าจะหลีกเลี่ยง 19.7
2 คิดว่าจะไม่หลีกเลี่ยง 80.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเคยชักชวนให้ญาติพี่น้องหรือคนรู้จักหลีกเลี่ยงการใช้สินค้า /
บริการจากเครือชินคอร์ป
ลำดับที่ การเคยชักชวนให้ญาติพี่น้องหรือคนรู้จักหลีกเลี่ยงการใช้สินค้า / บริการจากเครือชินคอร์ป ร้อยละ
1 เคยชักชวน 12.1
2 ไม่เคยชักชวน 87.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-