ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กล่าวว่า สำนักงานเลขานุการกองทัพบกได้มอบหมายให้
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ดำเนินการวิจัยเชิงสำรวจสอบถามความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาทและภารกิจของกองทัพบก ในหัวข้อเรื่อง การรับรู้ ความ
คาดหวัง การเห็นปฏิบัติจริง และความพอใจของสาธารณชนต่อบทบาทและภารกิจของกองทัพบก กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชน 25 จังหวัดในทุกภูมิภาค
ของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,885 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 13 — 29 กรกฎาคม 2549 ที่ผ่านมา
ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 92.5 รับรู้ว่ากองทัพมีภารกิจ “ถวายความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ พระราชินีและพระบรมวงศานุ
วงศ์” รองลงมาร้อยละ 89.6 รับรู้ว่ากองทัพบกมีภารกิจ “ดำเนินงานในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ” และร้อยละ 88.9 รับรู้ว่ากอง
ทัพบก “เป็นหน่วยงานหลักในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” ในทางตรงข้ามภารกิจที่มีการรับรู้น้อยที่สุด 3 อันดับ
คือ “การเตรียมความพร้อมด้านกำลังทหารและอาวุธของกองทัพบก” คิดเป็นร้อยละ 50.9 “การสนับสนุนการขจัดปัญหาการใช้อิทธิพล / อำนาจมืดใน
พื้นที่” คิดเป็นร้อยละ 61.6 และ “การป้องกันประเทศจากการรุกรานจากภายนอกทางบก” คิดเป็นร้อยละ 64.8
อย่างไรก็ตาม เมื่อจำแนกกลุ่มประชาชนออกตามภูมิภาคของประเทศ พบประเด็นที่น่าพิจารณาคือ กลุ่มประชาชนในภาคใต้ร้อยละ 44.9
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 44.6 รับรู้ภารกิจที่กองทัพบกมีส่วนร่วมรับผิดชอบเรื่องการเตรียมความพร้อมของกำลังทหาร/อาวุธ ซึ่งน้อยกว่า
กลุ่มประชาชนในภาคอื่นๆ ที่รับรู้ในเรื่องเดียวกันนี้
ยิ่งไปกว่านั้น กลุ่มประชาชนในภาคใต้ยังรับรู้ภารกิจด้านการป้องกันประเทศจากการรุกราน การสกัดกั้นคนหลบหนีเข้าเมือง การร่วมขจัด
ปัญหาอิทธิพลมืด อำนาจเถื่อน และการสร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในสัดส่วนที่น้อยกว่ากลุ่มประชาชนในภาคอื่นๆ อีกด้วย
“ที่น่าสนใจคือ ถึงแม้กลุ่มประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลถูกมองว่าอยู่ใกล้กับแหล่งข้อมูลข่าวสารมากกว่ากลุ่มประชาชนใน
ภูมิภาคอื่นๆ แต่กลับมีจำนวนคนที่รับรู้ภารกิจของกองทัพบกในการสนับสนุนการขจัดอิทธิพลมืด อำนาจเถื่อน และการสกัดกั้นคนหลบหนีเข้าเมือง น้อยกว่า
กลุ่มประชาชนในภาคอื่นๆ หลายภาค” ดร.นพดล กล่าว
อย่างไรก็ตาม ผลงานความสำเร็จในภารกิจของกองทัพบกได้ปรากฎให้เห็นในหลายด้านที่ประชาชนพึงพอใจ ได้แก่
อันดับแรก ได้แก่ การถวายความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ พระราชินีและพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งกองทัพบกได้คะแนนความพึงพอใจจาก
ประชาชน 4.33 คะแนนจากคะแนนเต็ม 5
อันดับที่สอง ได้แก่ การดำเนินงานตามโครงการพระราชดำริต่างๆ ได้ 3.98 คะแนน
อันดับที่สาม ได้แก่ การช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัยของประชาชนได้ 3.98 คะแนน
อันดับที่สี่ ได้แก่ การสนับสนุนการแก้ปัญหายาเสพติด ได้ 3.90 คะแนน
อันดับที่ห้า ได้แก่ การสนับสนุนการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ได้ 3.81 คะแนน
อันดับที่หก ได้แก่ การสร้างขวัญกำลังใจให้กับข้าราชการกองทัพบกได้ 3.73 คะแนน
อันดับที่เจ็ด ได้แก่ การส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ได้ 3.72 คะแนน
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ภาพรวมของผลวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นไปในทิศทางที่ดีต่อภาพลักษณ์ของกองทัพบกในทรรศนะของ
ประชาชนที่ถูกศึกษา อย่างไรก็ตาม กองทัพบกยังคงประสบปัญหาช่องว่างระหว่างการรับรู้ของประชาชนกับการปฏิบัติจริงในภารกิจต่างๆ ของกองทัพบก
ดังนั้นกองทัพบกควรเร่งปรับปรุงสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักของประชาชนในความสำคัญที่ภารกิจต่างๆ ถูกกองทัพบกดำเนินการ เพื่อให้
ได้มาซึ่งการมีส่วนร่วมและปฏิบัติจริงทั้งในฝ่ายของประชาชนทั่วไปและบุคลากรของกองทัพบก
จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ พบว่า ภารกิจที่กองทัพบกควรเร่งดำเนินการโดยด่วนเพื่อให้กองทัพบกได้รับความวางใจจากประชาชนและเป็น
กองทัพของประชาชนอย่างแท้จริง ดังนี้
1) เร่งแก้ปัญหาความไม่สงบภายในประเทศ
2) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของการปกครองประเทศตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
3) สนับสนุนการขจัดปัญหากลุ่มผู้มีอิทธิพลและอำนาจมืด
4) ส่งเสริมศักยภาพของชุมชนให้พึ่งพาตนเองได้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
5) ร่วมเป็นเจ้าภาพกับทุกภาคส่วนของสังคมไทยในการรักษาความเป็นธรรมและการไม่เลือกปฏิบัติ
6) ควรเป็นผู้ชี้นำชี้แนะสังคมในการแก้ไขปัญหาความไม่มั่นคงด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมด้วยสันติวิธี
7) ควรลดช่องว่างระหว่างประชาชนกับกองทัพบก ด้วยการสร้างการรับรู้รับทราบภารกิจของกองทัพบกในกลุ่มประชาชน โดยใช้สื่อสาร
มวลชนของกองทัพบกอย่างมีประสิทธิภาพและควรเป็นผู้นำคุมเกมสงครามข้อมูลข่าวสารเพื่อกำหนดทิศทางของข่าวสาร มากกว่าเดินตามเกมของฝ่ายหนึ่ง
ฝ่ายใดโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกมที่ฝ่ายการเมืองเปิดประเด็นต่างๆ เอาไว้เพื่อประโยชน์ทางการเมือง
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อศึกษาถึงการรับรู้ของประชาชนต่อบทบาทและภารกิจต่างๆ ของกองทัพบก
2. เพื่อศึกษาถึงความคาดหวังของประชาชนต่อบทบาทและภารกิจต่างๆ ของกองทัพบก
3. เพื่อศึกษาถึงระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินภารกิจต่างๆ ของกองทัพบก
4. เพื่อศึกษาถึงความต้องการของประชาชนต่อการดำเนินภารกิจของกองทัพบก
5. เพื่อศึกษาถึงประเด็นสำคัญอื่นๆ
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
การวิจัยครั้งนี้คณะผู้วิจัยจะประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบสำรวจภาคสนามโดยการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ซึ่งมีระเบียบ
วิธีเชิงปริมาณ (Quantitative Methodology) ในการวัดและประเมินผล กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง การคัดเลือกตัวอย่าง การเก็บรวบรวม
ข้อมูล การวิเคราะห์และการประมวลผล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (Measurement)
การสำรวจครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งกำหนดโครงสร้างของระดับการวัด และข้อคำถามตามวัตถุ
ประสงค์ของการสำรวจแต่ละครั้งตามความต้องการของกองทัพบก และมีการควบคุมคุณภาพของเครื่องมือวัดในลักษณะต่าง ๆ อาทิเช่น ความเที่ยง
ตรง (validity) ความเชื่อมั่น (reliability) หรือคุณภาพด้านอื่น ๆ ตามความเหมาะสมสำหรับการสำรวจแต่ละโครงการ โดยกำหนดขั้นตอน
ในการจัดทำดังนี้
1. ค้นคว้าแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำ (ร่าง) แบบสอบถาม
2. พิจารณาร่วมกับกองทัพบก
3. นำร่างแบบสอบไปทดสอบกับกลุ่มเป้าหมาย
4. ปรับปรุงแบบสอบถามเพื่อนำไปใช้จริง
สำหรับกรอบเนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้จำแนกเป็น 4 ตอนดังรายละเอียด
1. ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับตัวผู้ตอบและชุมชน
2. การรับรู้ต่อการทำงาน / ปฏิบัติหน้าที่ของกองทัพบก
3. ความคาดหวัง การรับรู้ต่อการปฏิบัติจริง และความพึงพอใจต่อการทำงานหรือปฏิบัติหน้าที่ของ กองทัพบก
4. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ประชากรเป้าหมาย (Target Population) และขนาดตัวอย่าง (Sample Allocation)
ประชากรเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้คือประชาชนทั่วประเทศที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ทำการสุ่มตัวอย่างจาก 25 จังหวัดทั่วประเทศ
โดยกำหนดขนาดตัวอย่างที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % และขอบเขตของความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ระดับ +/- 1.0165 และนำมาปรับค่าด้วย อัตราการไม่
ตอบ (non - response rate) โดยประมาณได้จากโครงการที่มีลักษณะใกล้เคียง เท่ากับร้อยละ 15 รวมจำนวนตัวอย่างที่ต้องเก็บข้อมูลทั้งสิ้น
3,885 ตัวอย่าง
การเลือกตัวอย่าง (Sampling )
การสุ่มตัวอย่างใช้เทคนิคการสุ่มเชิงช่วงชั้น (Stratified Sampling) เพื่อเลือกพื้นที่ตัวอย่างในระดับจังหวัด (ชั้น) และอำเภอ
(เขต) และใช้การกำหนดสัดส่วนโดยอ้างอิงจากสัดส่วนที่แท้จริงของประชากรตามฐานข้อมูลของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
(Probability Proportionate to Size Sampling) ใน 3 คุณลักษณะคือเขตที่พักอาศัย (ในเขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล) เพศ และ
อายุ
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษระทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.2 เป็นเพศหญิง
และร้อยละ 48.8 เป็นเพศชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 23.3 อยู่ในช่วงระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 21.9 อยู่ในช่วงระหว่าง 20-29 ปี
และร้อยละ 20.6 อยู่ในช่วงระหว่าง 40-49 ปี ส่วนกลุ่มที่ระบุต่ำกว่า 20 ปี และ 50 ปีขึ้นไปมีอยู่ ร้อยละ 8.0 และ
26.2 ตามลำดับ
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.7 ระบุมีรายได้ไม่แน่นอน
ขณะที่ร้อยละ 27.9 ระบุรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 5,000 บาท
และร้อยละ 27.2 ระบุรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 5,001 -10,000 บาท ส่วนกลุ่มที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเกินกว่า
10,000 บาทมีอยู่รวมกันคิดเป็นร้อยละ 15.6
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 65.9 สมรสและมีบุตรแล้ว
ขณะที่ร้อยละ 27.5 ระบุโสด ส่วนกลุ่มที่ระบุว่าสมรสแล้วแต่ยังไม่มีบุตร และสถานภาพอื่นๆ อาทิม่าย แยกกันอยู่ มีอยู่ร้อย
ละ 4.3 และ ร้อยละ 1.5 ตามลำดับ
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.0 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
รองลงมาร้อยละ 23.2 รับจ้างทั่วไป / ใช้แรงงาน
และร้อยละ 14.1 ระบุอาชีพเกษตรกร / เลี้ยงสัตว์ / ประมง ส่วนที่ระบุอาชีพอื่นๆ อาทิข้าราชการ พนักงาน/ลูกจ้าง
บริษัทเอกชน นักเรียน / นักศึกษา ฯลฯ มีอยู่รวมกันคิดเป็นร้อยละ 25.6
ตัวอย่าง ร้อยละ 44.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับประถม 6 หรือต่ำกว่า
ขณะที่ร้อยละ 18.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมต้น ส่วนกลุ่มที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลายจนถึงอนุปริญญา/ปวส.
มีอยู่รวมกันร้อยละ 27.1
ในขณะที่ร้อยละ 10.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุการรับรู้เกี่ยวกับภารกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองทัพบก
ภารกิจ ร้อยละ
1. ถวายความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ 92.5
2. ดำเนินงานในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ 89.6
3. เป็นหน่วยงานหลักในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 88.9
4. สนับสนุนการช่วยพัฒนาประเทศ 88.2
5. จัดกำลังเข้าช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัย 87.4
6. สนับสนุนการป้องกันปราบปรามยาเสพติด 85.0
7. สนับสนุนการเลือกตั้ง 82.6
8. สนับสนุนการสร้าง / ซ่อมแซมสาธารณูปโภคให้กับชุมชน 82.3
9. สนับสนุนการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด 78.4
10. จัดกำลังสนับสนุนการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ 78.0
11. ส่งเสริม/สนับสนุนให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแล รักษาชุมชน 74.1
12. เป็นหน่วยงานหลักในการปฏิบัติงานรักษาความมั่นคงภายในประเทศ 73.5
13. เป็นหน่วยหลักในการสกัดกั้นปัญหาแรงงานต่างด้าว / ผู้หลบหนีเข้าเมือง 70.5
14. มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ 67.5
15. การป้องกันประเทศจากการรุกรานภายนอกประเทศทางบก 64.8
16. สนับสนุนการขจัดปัญหาการใช้อิทธิพล / อำนาจมืดในพื้นที่ 61.6
17. การเตรียมพร้อมด้านกำลังทหารและอาวุธของกองทัพบก 50.9
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุการรับรู้เกี่ยวกับภารกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองทัพบก
จำแนกตามพื้นที่
ภารกิจ กรุงเทพฯ/ปริมณฑล เหนือ ต.อ./น กลาง ใต้ Chi—Square(Sig)
1. การเตรียมพร้อมด้านกำลังทหารและอาวุธของกองทัพบก 55.4 56.6 44.6 54.6 44.9 0.000
2. การป้องกันประเทศจากการรุกรานภายนอกประเทศทางบก 69.8 70.6 60.1 68.1 55.6 0.000
3. เป็นหน่วยงานหลักในการปฏิบัติงานรักษาความมั่นคงภายในประเทศ 74.9 82.2 69.2 75.7 64.0 0.000
4. จัดกำลังสนับสนุนการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ 78.1 86.0 74.9 78.6 71.4 0.000
5. สนับสนุนการป้องกันปราบปรามยาเสพติด 82.4 91.8 87.4 78.7 81.3 0.000
6. สนับสนุนการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด 73.0 85.6 83.5 71.6 71.2 0.000
7. เป็นหน่วยงานหลักในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 90.2 90.0 87.7 89.8 87.0 0.162
8. เป็นหน่วยหลักในการสกัดกั้นปัญหาแรงงานต่างด้าว/ผู้หลบหนีเข้าเมือง 64.6 78.7 73.3 67.3 61.8 0.000
9. จัดกำลังเข้าช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัย 88.6 91.2 89.0 86.7 77.4 0.000
10. สนับสนุนการขจัดปัญหาการใช้อิทธิพล / อำนาจมืดในพื้นที่ 54.7 68.6 64.0 59.2 56.3 0.000
11. มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ 62.0 76.4 70.0 64.4 58.2 0.000
12. ส่งเสริม/สนับสนุนให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาชุมชน 61.5 84.3 80.5 66.2 69.2 0.000
13. สนับสนุนการเลือกตั้ง 73.5 88.2 88.6 76.8 79.0 0.000
14. ดำเนินงานในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ 88.2 93.4 91.5 89.1 81.5 0.000
15. สนับสนุนการสร้าง/ซ่อมแซมสาธารณูปโภคให้ชุมชน 73.6 89.3 86.3 76.2 80.3 0.000
16. ถวายความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ 92.7 96.0 93.2 91.3 86.5 0.000
17. สนับสนุนการช่วยพัฒนาประเทศ 85.1 93.6 90.4 88.2 77.6 0.000
ตารางที่ 3 แสดงการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคาดหวัง กับการรับรู้จากการปฏิบัติจริง และความพึงพอใจ
ต่อภารกิจด้านการเตรียมกำลังทหาร อาวุธ และเครื่องมือที่ใช้ในกองทัพบก
ภารกิจด้านการเตรียมกำลังทหาร อาวุธ และเครื่องมือที่ใช้ในกองทัพบก E P (E-P) t-test(Sig.) S การแปลผล
1. การลดจำนวนข้าราชการกองทัพบก โดยหันไปเพิ่มประสิทธิภาพของทหารกองหนุน /
กำลังสำรองทดแทน 3.23 2.77 0.46 .000 3.26 ปานกลาง
2. การลดจำนวนข้าราชการกองทัพบก โดยหันไปเพิ่มประสิทธิภาพของอาวุธหรือ
เครื่องมือที่ใช้ในกองทัพบกทดแทน 3.22 2.74 0.48 .000 3.21 ปานกลาง
3. การลดจำนวนข้าราชการกองทัพบก โดยเน้นการส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชน
มีส่วนร่วมในการดูแลชุมชนของตนเองเช่น กลุ่ม อ.ป.พ.ร. 3.63 3.03 0.6 .000 3.43 ปานกลาง
4. การฝึก / ซ้อมรบร่วมกับทหารพันธมิตรต่างชาติ เพื่อเรียนรู้วิธีการรบสมัยใหม่ 3.82 3.06 0.76 .000 3.55 พอใจ
5. การฝึกทหารเกณฑ์/ทหารกองหนุน/เครือข่ายภาคประชาชนเพื่อทบทวน และ
เพิ่มเติมความรู้ใหม่ๆ ที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง 3.90 3.13 0.77 .000 3.57 พอใจ
6. การจัดหาอาวุธที่ทันสมัยมาแทนที่ของเก่าที่เสื่อมสภาพ/ล้าสมัย 4.02 3.05 0.97 .000 3.56 พอใจ
7. การสร้างขวัญ กำลังใจให้กับข้าราชการกองทัพบก 4.15 3.34 0.81 .000 3.73 พอใจ
8. สนับสนุนให้ข้าราชการกองทัพบกได้ศึกษาเรียนรู้ด้านอื่นๆ ที่นอกเหนือจากการรบ 4.07 3.18 0.89 .000 3.65 พอใจ
9. การศึกษาและพัฒนาวิธีการรบให้ทันสมัย สอดคล้องกับ สถานการณ์ และสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน 4.06 3.15 0.91 .000 3.61 พอใจ
10. การพัฒนาความสามารถในการผลิต ดูแลและซ่อมแซมอาวุธ ของกองทัพบก 4.02 3.09 0.93 .000 3.56 พอใจ
ความพึงพอใจโดยรวม 3.61 พอใจ
ตารางที่ 4 แสดงการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคาดหวัง กับการรับรู้จากการปฏิบัติจริง และความพึงพอใจ
ต่อภารกิจด้านการป้องกันประเทศของกองทัพบก
ภารกิจด้านการป้องกันประเทศ E P (E-P) t-test (Sig.) S การแปลผล
1 .ช่วงเหตุการณ์ปกติ (ที่ไม่มีการสู้รบ) การวางกำลังทหาร
ตามแนวชายแดนจุดต่างๆมีจำนวนมากพอ 3.86 3.08 0.78 .000 3.51 พอใจ
2. ความพร้อมของกำลังสนับสนุน กรณีเกิดการรุกล้ำเขตแดน 4.01 3.15 0.86 .000 3.54 พอใจ
3. ความทันสมัยของอาวุธ หรือเครื่องมือที่ใช้ในพื้นที่ชายแดน
(เช่นปืน รถถัง ฯลฯ) 3.96 3.06 0.90 .000 3.44 ปานกลาง
4. ประสิทธิภาพของทหารที่ดูแลพื้นที่ตามแนวชายแดน 4.11 3.25 0.86 .000 3.62 พอใจ
5. วิธีการรบที่ทันสมัย เหมาะสมกับสถานการณ์ และสภาพแวดล้อม 3.98 3.07 0.91 .000 3.47 ปานกลาง
6. ความรวดเร็วในการเข้าดูแล ป้องกันพื้นที่ที่ถูกรุกล้ำ/บุกรุก 4.05 3.14 0.91 .000 3.52 พอใจ
7. ความทันสมัยและแม่นยำด้านการข่าวของกองทัพบก 4.05 3.16 0.89 .000 3.49 ปานกลาง
8. ความรวดเร็วในการประสานด้านการรบร่วมมือกับกองทัพเรือ/
กองทัพอากาศ กรณีเกิดการรบที่รุนแรง 4.08 3.19 0.89 .000 3.59 พอใจ
9. ความพร้อมด้านขวัญ กำลังใจของทหารกรณีที่รบ/ปะทะกัน 4.13 3.30 0.83 .000 3.67 พอใจ
10. ความเชี่ยวชาญ พร้อมรบในสภาพภูมิประเทศที่ประจำการอยู่ 4.05 3.22 0.83 .000 3.59 พอใจ
ความพึงพอใจโดยรวม 3.68 พอใจ
ตารางที่ 5 แสดงการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคาดหวัง กับการรับรู้จากการปฏิบัติจริง และความพึงพอใจ
ต่อภารกิจด้านการพัฒนาประเทศและภารกิจอื่นที่ไม่เกี่ยวกับการรบของกองทัพบก
ภารกิจด้านการพัฒนาประเทศ และภารกิจอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรบ E P (E-P) t-test(Sig.) S การแปลผล
1. สนับสนุนการสร้าง/ซ่อมแซม/พัฒนาด้านสาธาณูปโภคในชุมชน 4.12 3.29 0.83 0 3.64 พอใจ
2. การดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 4.32 3.67 0.65 0 3.98 พอใจ
3. การดำเนินโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงต่างๆ 4.1 3.34 0.76 0 3.68 พอใจ
4. การดำเนินโครงการพัฒนาเพื่อสนับสนุนส่วนราชการอื่นๆ 3.96 3.24 0.72 0 3.58 พอใจ
5. การจัดกำลังเข้าช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัย 4.3 3.71 0.59 0 3.98 พอใจ
6. ถวายความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระบรม 4.55 4.1 0.45 0 4.33 พอใจ
วงศานุวงศ์
7. สนับสนุนการป้องกันปราบปรามยาเสพติด 4.35 3.67 0.68 0 3.9 พอใจ
8. สนับสนุนการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด 4.23 3.53 0.7 0 3.81 พอใจ
9. การสกัดกั้นแรงงานต่างด้าว / ผู้หลบหนีเข้าเมือง 4.06 3.32 0.74 0 3.57 พอใจ
10. มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ 4.12 3.4 0.72 0 3.7 พอใจ
ความพึงพอใจโดยรวม 3.84 พอใจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ดำเนินการวิจัยเชิงสำรวจสอบถามความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาทและภารกิจของกองทัพบก ในหัวข้อเรื่อง การรับรู้ ความ
คาดหวัง การเห็นปฏิบัติจริง และความพอใจของสาธารณชนต่อบทบาทและภารกิจของกองทัพบก กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชน 25 จังหวัดในทุกภูมิภาค
ของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,885 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 13 — 29 กรกฎาคม 2549 ที่ผ่านมา
ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 92.5 รับรู้ว่ากองทัพมีภารกิจ “ถวายความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ พระราชินีและพระบรมวงศานุ
วงศ์” รองลงมาร้อยละ 89.6 รับรู้ว่ากองทัพบกมีภารกิจ “ดำเนินงานในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ” และร้อยละ 88.9 รับรู้ว่ากอง
ทัพบก “เป็นหน่วยงานหลักในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” ในทางตรงข้ามภารกิจที่มีการรับรู้น้อยที่สุด 3 อันดับ
คือ “การเตรียมความพร้อมด้านกำลังทหารและอาวุธของกองทัพบก” คิดเป็นร้อยละ 50.9 “การสนับสนุนการขจัดปัญหาการใช้อิทธิพล / อำนาจมืดใน
พื้นที่” คิดเป็นร้อยละ 61.6 และ “การป้องกันประเทศจากการรุกรานจากภายนอกทางบก” คิดเป็นร้อยละ 64.8
อย่างไรก็ตาม เมื่อจำแนกกลุ่มประชาชนออกตามภูมิภาคของประเทศ พบประเด็นที่น่าพิจารณาคือ กลุ่มประชาชนในภาคใต้ร้อยละ 44.9
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 44.6 รับรู้ภารกิจที่กองทัพบกมีส่วนร่วมรับผิดชอบเรื่องการเตรียมความพร้อมของกำลังทหาร/อาวุธ ซึ่งน้อยกว่า
กลุ่มประชาชนในภาคอื่นๆ ที่รับรู้ในเรื่องเดียวกันนี้
ยิ่งไปกว่านั้น กลุ่มประชาชนในภาคใต้ยังรับรู้ภารกิจด้านการป้องกันประเทศจากการรุกราน การสกัดกั้นคนหลบหนีเข้าเมือง การร่วมขจัด
ปัญหาอิทธิพลมืด อำนาจเถื่อน และการสร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในสัดส่วนที่น้อยกว่ากลุ่มประชาชนในภาคอื่นๆ อีกด้วย
“ที่น่าสนใจคือ ถึงแม้กลุ่มประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลถูกมองว่าอยู่ใกล้กับแหล่งข้อมูลข่าวสารมากกว่ากลุ่มประชาชนใน
ภูมิภาคอื่นๆ แต่กลับมีจำนวนคนที่รับรู้ภารกิจของกองทัพบกในการสนับสนุนการขจัดอิทธิพลมืด อำนาจเถื่อน และการสกัดกั้นคนหลบหนีเข้าเมือง น้อยกว่า
กลุ่มประชาชนในภาคอื่นๆ หลายภาค” ดร.นพดล กล่าว
อย่างไรก็ตาม ผลงานความสำเร็จในภารกิจของกองทัพบกได้ปรากฎให้เห็นในหลายด้านที่ประชาชนพึงพอใจ ได้แก่
อันดับแรก ได้แก่ การถวายความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ พระราชินีและพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งกองทัพบกได้คะแนนความพึงพอใจจาก
ประชาชน 4.33 คะแนนจากคะแนนเต็ม 5
อันดับที่สอง ได้แก่ การดำเนินงานตามโครงการพระราชดำริต่างๆ ได้ 3.98 คะแนน
อันดับที่สาม ได้แก่ การช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัยของประชาชนได้ 3.98 คะแนน
อันดับที่สี่ ได้แก่ การสนับสนุนการแก้ปัญหายาเสพติด ได้ 3.90 คะแนน
อันดับที่ห้า ได้แก่ การสนับสนุนการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ได้ 3.81 คะแนน
อันดับที่หก ได้แก่ การสร้างขวัญกำลังใจให้กับข้าราชการกองทัพบกได้ 3.73 คะแนน
อันดับที่เจ็ด ได้แก่ การส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ได้ 3.72 คะแนน
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ภาพรวมของผลวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นไปในทิศทางที่ดีต่อภาพลักษณ์ของกองทัพบกในทรรศนะของ
ประชาชนที่ถูกศึกษา อย่างไรก็ตาม กองทัพบกยังคงประสบปัญหาช่องว่างระหว่างการรับรู้ของประชาชนกับการปฏิบัติจริงในภารกิจต่างๆ ของกองทัพบก
ดังนั้นกองทัพบกควรเร่งปรับปรุงสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักของประชาชนในความสำคัญที่ภารกิจต่างๆ ถูกกองทัพบกดำเนินการ เพื่อให้
ได้มาซึ่งการมีส่วนร่วมและปฏิบัติจริงทั้งในฝ่ายของประชาชนทั่วไปและบุคลากรของกองทัพบก
จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ พบว่า ภารกิจที่กองทัพบกควรเร่งดำเนินการโดยด่วนเพื่อให้กองทัพบกได้รับความวางใจจากประชาชนและเป็น
กองทัพของประชาชนอย่างแท้จริง ดังนี้
1) เร่งแก้ปัญหาความไม่สงบภายในประเทศ
2) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของการปกครองประเทศตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
3) สนับสนุนการขจัดปัญหากลุ่มผู้มีอิทธิพลและอำนาจมืด
4) ส่งเสริมศักยภาพของชุมชนให้พึ่งพาตนเองได้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
5) ร่วมเป็นเจ้าภาพกับทุกภาคส่วนของสังคมไทยในการรักษาความเป็นธรรมและการไม่เลือกปฏิบัติ
6) ควรเป็นผู้ชี้นำชี้แนะสังคมในการแก้ไขปัญหาความไม่มั่นคงด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมด้วยสันติวิธี
7) ควรลดช่องว่างระหว่างประชาชนกับกองทัพบก ด้วยการสร้างการรับรู้รับทราบภารกิจของกองทัพบกในกลุ่มประชาชน โดยใช้สื่อสาร
มวลชนของกองทัพบกอย่างมีประสิทธิภาพและควรเป็นผู้นำคุมเกมสงครามข้อมูลข่าวสารเพื่อกำหนดทิศทางของข่าวสาร มากกว่าเดินตามเกมของฝ่ายหนึ่ง
ฝ่ายใดโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกมที่ฝ่ายการเมืองเปิดประเด็นต่างๆ เอาไว้เพื่อประโยชน์ทางการเมือง
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อศึกษาถึงการรับรู้ของประชาชนต่อบทบาทและภารกิจต่างๆ ของกองทัพบก
2. เพื่อศึกษาถึงความคาดหวังของประชาชนต่อบทบาทและภารกิจต่างๆ ของกองทัพบก
3. เพื่อศึกษาถึงระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินภารกิจต่างๆ ของกองทัพบก
4. เพื่อศึกษาถึงความต้องการของประชาชนต่อการดำเนินภารกิจของกองทัพบก
5. เพื่อศึกษาถึงประเด็นสำคัญอื่นๆ
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
การวิจัยครั้งนี้คณะผู้วิจัยจะประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบสำรวจภาคสนามโดยการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ซึ่งมีระเบียบ
วิธีเชิงปริมาณ (Quantitative Methodology) ในการวัดและประเมินผล กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง การคัดเลือกตัวอย่าง การเก็บรวบรวม
ข้อมูล การวิเคราะห์และการประมวลผล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (Measurement)
การสำรวจครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งกำหนดโครงสร้างของระดับการวัด และข้อคำถามตามวัตถุ
ประสงค์ของการสำรวจแต่ละครั้งตามความต้องการของกองทัพบก และมีการควบคุมคุณภาพของเครื่องมือวัดในลักษณะต่าง ๆ อาทิเช่น ความเที่ยง
ตรง (validity) ความเชื่อมั่น (reliability) หรือคุณภาพด้านอื่น ๆ ตามความเหมาะสมสำหรับการสำรวจแต่ละโครงการ โดยกำหนดขั้นตอน
ในการจัดทำดังนี้
1. ค้นคว้าแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำ (ร่าง) แบบสอบถาม
2. พิจารณาร่วมกับกองทัพบก
3. นำร่างแบบสอบไปทดสอบกับกลุ่มเป้าหมาย
4. ปรับปรุงแบบสอบถามเพื่อนำไปใช้จริง
สำหรับกรอบเนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้จำแนกเป็น 4 ตอนดังรายละเอียด
1. ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับตัวผู้ตอบและชุมชน
2. การรับรู้ต่อการทำงาน / ปฏิบัติหน้าที่ของกองทัพบก
3. ความคาดหวัง การรับรู้ต่อการปฏิบัติจริง และความพึงพอใจต่อการทำงานหรือปฏิบัติหน้าที่ของ กองทัพบก
4. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ประชากรเป้าหมาย (Target Population) และขนาดตัวอย่าง (Sample Allocation)
ประชากรเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้คือประชาชนทั่วประเทศที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ทำการสุ่มตัวอย่างจาก 25 จังหวัดทั่วประเทศ
โดยกำหนดขนาดตัวอย่างที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % และขอบเขตของความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ระดับ +/- 1.0165 และนำมาปรับค่าด้วย อัตราการไม่
ตอบ (non - response rate) โดยประมาณได้จากโครงการที่มีลักษณะใกล้เคียง เท่ากับร้อยละ 15 รวมจำนวนตัวอย่างที่ต้องเก็บข้อมูลทั้งสิ้น
3,885 ตัวอย่าง
การเลือกตัวอย่าง (Sampling )
การสุ่มตัวอย่างใช้เทคนิคการสุ่มเชิงช่วงชั้น (Stratified Sampling) เพื่อเลือกพื้นที่ตัวอย่างในระดับจังหวัด (ชั้น) และอำเภอ
(เขต) และใช้การกำหนดสัดส่วนโดยอ้างอิงจากสัดส่วนที่แท้จริงของประชากรตามฐานข้อมูลของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
(Probability Proportionate to Size Sampling) ใน 3 คุณลักษณะคือเขตที่พักอาศัย (ในเขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล) เพศ และ
อายุ
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษระทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.2 เป็นเพศหญิง
และร้อยละ 48.8 เป็นเพศชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 23.3 อยู่ในช่วงระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 21.9 อยู่ในช่วงระหว่าง 20-29 ปี
และร้อยละ 20.6 อยู่ในช่วงระหว่าง 40-49 ปี ส่วนกลุ่มที่ระบุต่ำกว่า 20 ปี และ 50 ปีขึ้นไปมีอยู่ ร้อยละ 8.0 และ
26.2 ตามลำดับ
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.7 ระบุมีรายได้ไม่แน่นอน
ขณะที่ร้อยละ 27.9 ระบุรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 5,000 บาท
และร้อยละ 27.2 ระบุรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 5,001 -10,000 บาท ส่วนกลุ่มที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเกินกว่า
10,000 บาทมีอยู่รวมกันคิดเป็นร้อยละ 15.6
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 65.9 สมรสและมีบุตรแล้ว
ขณะที่ร้อยละ 27.5 ระบุโสด ส่วนกลุ่มที่ระบุว่าสมรสแล้วแต่ยังไม่มีบุตร และสถานภาพอื่นๆ อาทิม่าย แยกกันอยู่ มีอยู่ร้อย
ละ 4.3 และ ร้อยละ 1.5 ตามลำดับ
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.0 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
รองลงมาร้อยละ 23.2 รับจ้างทั่วไป / ใช้แรงงาน
และร้อยละ 14.1 ระบุอาชีพเกษตรกร / เลี้ยงสัตว์ / ประมง ส่วนที่ระบุอาชีพอื่นๆ อาทิข้าราชการ พนักงาน/ลูกจ้าง
บริษัทเอกชน นักเรียน / นักศึกษา ฯลฯ มีอยู่รวมกันคิดเป็นร้อยละ 25.6
ตัวอย่าง ร้อยละ 44.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับประถม 6 หรือต่ำกว่า
ขณะที่ร้อยละ 18.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมต้น ส่วนกลุ่มที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลายจนถึงอนุปริญญา/ปวส.
มีอยู่รวมกันร้อยละ 27.1
ในขณะที่ร้อยละ 10.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุการรับรู้เกี่ยวกับภารกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองทัพบก
ภารกิจ ร้อยละ
1. ถวายความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ 92.5
2. ดำเนินงานในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ 89.6
3. เป็นหน่วยงานหลักในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 88.9
4. สนับสนุนการช่วยพัฒนาประเทศ 88.2
5. จัดกำลังเข้าช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัย 87.4
6. สนับสนุนการป้องกันปราบปรามยาเสพติด 85.0
7. สนับสนุนการเลือกตั้ง 82.6
8. สนับสนุนการสร้าง / ซ่อมแซมสาธารณูปโภคให้กับชุมชน 82.3
9. สนับสนุนการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด 78.4
10. จัดกำลังสนับสนุนการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ 78.0
11. ส่งเสริม/สนับสนุนให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแล รักษาชุมชน 74.1
12. เป็นหน่วยงานหลักในการปฏิบัติงานรักษาความมั่นคงภายในประเทศ 73.5
13. เป็นหน่วยหลักในการสกัดกั้นปัญหาแรงงานต่างด้าว / ผู้หลบหนีเข้าเมือง 70.5
14. มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ 67.5
15. การป้องกันประเทศจากการรุกรานภายนอกประเทศทางบก 64.8
16. สนับสนุนการขจัดปัญหาการใช้อิทธิพล / อำนาจมืดในพื้นที่ 61.6
17. การเตรียมพร้อมด้านกำลังทหารและอาวุธของกองทัพบก 50.9
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุการรับรู้เกี่ยวกับภารกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองทัพบก
จำแนกตามพื้นที่
ภารกิจ กรุงเทพฯ/ปริมณฑล เหนือ ต.อ./น กลาง ใต้ Chi—Square(Sig)
1. การเตรียมพร้อมด้านกำลังทหารและอาวุธของกองทัพบก 55.4 56.6 44.6 54.6 44.9 0.000
2. การป้องกันประเทศจากการรุกรานภายนอกประเทศทางบก 69.8 70.6 60.1 68.1 55.6 0.000
3. เป็นหน่วยงานหลักในการปฏิบัติงานรักษาความมั่นคงภายในประเทศ 74.9 82.2 69.2 75.7 64.0 0.000
4. จัดกำลังสนับสนุนการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ 78.1 86.0 74.9 78.6 71.4 0.000
5. สนับสนุนการป้องกันปราบปรามยาเสพติด 82.4 91.8 87.4 78.7 81.3 0.000
6. สนับสนุนการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด 73.0 85.6 83.5 71.6 71.2 0.000
7. เป็นหน่วยงานหลักในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 90.2 90.0 87.7 89.8 87.0 0.162
8. เป็นหน่วยหลักในการสกัดกั้นปัญหาแรงงานต่างด้าว/ผู้หลบหนีเข้าเมือง 64.6 78.7 73.3 67.3 61.8 0.000
9. จัดกำลังเข้าช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัย 88.6 91.2 89.0 86.7 77.4 0.000
10. สนับสนุนการขจัดปัญหาการใช้อิทธิพล / อำนาจมืดในพื้นที่ 54.7 68.6 64.0 59.2 56.3 0.000
11. มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ 62.0 76.4 70.0 64.4 58.2 0.000
12. ส่งเสริม/สนับสนุนให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาชุมชน 61.5 84.3 80.5 66.2 69.2 0.000
13. สนับสนุนการเลือกตั้ง 73.5 88.2 88.6 76.8 79.0 0.000
14. ดำเนินงานในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ 88.2 93.4 91.5 89.1 81.5 0.000
15. สนับสนุนการสร้าง/ซ่อมแซมสาธารณูปโภคให้ชุมชน 73.6 89.3 86.3 76.2 80.3 0.000
16. ถวายความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ 92.7 96.0 93.2 91.3 86.5 0.000
17. สนับสนุนการช่วยพัฒนาประเทศ 85.1 93.6 90.4 88.2 77.6 0.000
ตารางที่ 3 แสดงการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคาดหวัง กับการรับรู้จากการปฏิบัติจริง และความพึงพอใจ
ต่อภารกิจด้านการเตรียมกำลังทหาร อาวุธ และเครื่องมือที่ใช้ในกองทัพบก
ภารกิจด้านการเตรียมกำลังทหาร อาวุธ และเครื่องมือที่ใช้ในกองทัพบก E P (E-P) t-test(Sig.) S การแปลผล
1. การลดจำนวนข้าราชการกองทัพบก โดยหันไปเพิ่มประสิทธิภาพของทหารกองหนุน /
กำลังสำรองทดแทน 3.23 2.77 0.46 .000 3.26 ปานกลาง
2. การลดจำนวนข้าราชการกองทัพบก โดยหันไปเพิ่มประสิทธิภาพของอาวุธหรือ
เครื่องมือที่ใช้ในกองทัพบกทดแทน 3.22 2.74 0.48 .000 3.21 ปานกลาง
3. การลดจำนวนข้าราชการกองทัพบก โดยเน้นการส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชน
มีส่วนร่วมในการดูแลชุมชนของตนเองเช่น กลุ่ม อ.ป.พ.ร. 3.63 3.03 0.6 .000 3.43 ปานกลาง
4. การฝึก / ซ้อมรบร่วมกับทหารพันธมิตรต่างชาติ เพื่อเรียนรู้วิธีการรบสมัยใหม่ 3.82 3.06 0.76 .000 3.55 พอใจ
5. การฝึกทหารเกณฑ์/ทหารกองหนุน/เครือข่ายภาคประชาชนเพื่อทบทวน และ
เพิ่มเติมความรู้ใหม่ๆ ที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง 3.90 3.13 0.77 .000 3.57 พอใจ
6. การจัดหาอาวุธที่ทันสมัยมาแทนที่ของเก่าที่เสื่อมสภาพ/ล้าสมัย 4.02 3.05 0.97 .000 3.56 พอใจ
7. การสร้างขวัญ กำลังใจให้กับข้าราชการกองทัพบก 4.15 3.34 0.81 .000 3.73 พอใจ
8. สนับสนุนให้ข้าราชการกองทัพบกได้ศึกษาเรียนรู้ด้านอื่นๆ ที่นอกเหนือจากการรบ 4.07 3.18 0.89 .000 3.65 พอใจ
9. การศึกษาและพัฒนาวิธีการรบให้ทันสมัย สอดคล้องกับ สถานการณ์ และสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน 4.06 3.15 0.91 .000 3.61 พอใจ
10. การพัฒนาความสามารถในการผลิต ดูแลและซ่อมแซมอาวุธ ของกองทัพบก 4.02 3.09 0.93 .000 3.56 พอใจ
ความพึงพอใจโดยรวม 3.61 พอใจ
ตารางที่ 4 แสดงการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคาดหวัง กับการรับรู้จากการปฏิบัติจริง และความพึงพอใจ
ต่อภารกิจด้านการป้องกันประเทศของกองทัพบก
ภารกิจด้านการป้องกันประเทศ E P (E-P) t-test (Sig.) S การแปลผล
1 .ช่วงเหตุการณ์ปกติ (ที่ไม่มีการสู้รบ) การวางกำลังทหาร
ตามแนวชายแดนจุดต่างๆมีจำนวนมากพอ 3.86 3.08 0.78 .000 3.51 พอใจ
2. ความพร้อมของกำลังสนับสนุน กรณีเกิดการรุกล้ำเขตแดน 4.01 3.15 0.86 .000 3.54 พอใจ
3. ความทันสมัยของอาวุธ หรือเครื่องมือที่ใช้ในพื้นที่ชายแดน
(เช่นปืน รถถัง ฯลฯ) 3.96 3.06 0.90 .000 3.44 ปานกลาง
4. ประสิทธิภาพของทหารที่ดูแลพื้นที่ตามแนวชายแดน 4.11 3.25 0.86 .000 3.62 พอใจ
5. วิธีการรบที่ทันสมัย เหมาะสมกับสถานการณ์ และสภาพแวดล้อม 3.98 3.07 0.91 .000 3.47 ปานกลาง
6. ความรวดเร็วในการเข้าดูแล ป้องกันพื้นที่ที่ถูกรุกล้ำ/บุกรุก 4.05 3.14 0.91 .000 3.52 พอใจ
7. ความทันสมัยและแม่นยำด้านการข่าวของกองทัพบก 4.05 3.16 0.89 .000 3.49 ปานกลาง
8. ความรวดเร็วในการประสานด้านการรบร่วมมือกับกองทัพเรือ/
กองทัพอากาศ กรณีเกิดการรบที่รุนแรง 4.08 3.19 0.89 .000 3.59 พอใจ
9. ความพร้อมด้านขวัญ กำลังใจของทหารกรณีที่รบ/ปะทะกัน 4.13 3.30 0.83 .000 3.67 พอใจ
10. ความเชี่ยวชาญ พร้อมรบในสภาพภูมิประเทศที่ประจำการอยู่ 4.05 3.22 0.83 .000 3.59 พอใจ
ความพึงพอใจโดยรวม 3.68 พอใจ
ตารางที่ 5 แสดงการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคาดหวัง กับการรับรู้จากการปฏิบัติจริง และความพึงพอใจ
ต่อภารกิจด้านการพัฒนาประเทศและภารกิจอื่นที่ไม่เกี่ยวกับการรบของกองทัพบก
ภารกิจด้านการพัฒนาประเทศ และภารกิจอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรบ E P (E-P) t-test(Sig.) S การแปลผล
1. สนับสนุนการสร้าง/ซ่อมแซม/พัฒนาด้านสาธาณูปโภคในชุมชน 4.12 3.29 0.83 0 3.64 พอใจ
2. การดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 4.32 3.67 0.65 0 3.98 พอใจ
3. การดำเนินโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงต่างๆ 4.1 3.34 0.76 0 3.68 พอใจ
4. การดำเนินโครงการพัฒนาเพื่อสนับสนุนส่วนราชการอื่นๆ 3.96 3.24 0.72 0 3.58 พอใจ
5. การจัดกำลังเข้าช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัย 4.3 3.71 0.59 0 3.98 พอใจ
6. ถวายความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระบรม 4.55 4.1 0.45 0 4.33 พอใจ
วงศานุวงศ์
7. สนับสนุนการป้องกันปราบปรามยาเสพติด 4.35 3.67 0.68 0 3.9 พอใจ
8. สนับสนุนการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด 4.23 3.53 0.7 0 3.81 พอใจ
9. การสกัดกั้นแรงงานต่างด้าว / ผู้หลบหนีเข้าเมือง 4.06 3.32 0.74 0 3.57 พอใจ
10. มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ 4.12 3.4 0.72 0 3.7 พอใจ
ความพึงพอใจโดยรวม 3.84 พอใจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-