ที่มาของโครงการ
สาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณภาพของเยาวชนไทยตกต่ำลงไปมากในปัจจุบัน จนกลายเป็นปัญหาวิกฤตคุณภาพเยาวชนไทยนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ
เยาวชนอยู่ใกล้แหล่งอบายมุขและสิ่งเสพติดมากจนเกินไป ซึ่งจากผลวิจัยในโครงการเฝ้าระวังรักษาคุณภาพอนาคตเยาวชนไทยทุกครั้งที่ผ่านมาชี้ชัดให้
เห็นว่า สาเหตุที่เยาวชนเกี่ยวข้องกับอบายมุขและสิ่งเสพติดคือ การอยากลอง และการชักชวนของเพื่อน รวมทั้งการมีค่านิยมในการดำเนินชีวิตที่
ผิดๆ ซึ่งสถาบันครอบครัว/สถาบันการศึกษาต่างๆ ควรเร่งปรับทัศนคติและพฤติกรรมของเยาวชนให้อยู่ในแนวทางที่สร้างสรรค์และหันมาทำกิจกรรมที่พึง
ประสงค์ต่อสังคมให้มากขึ้น
ดังนั้นโครงการเฝ้าระวังรักษาคุณภาพเยาวชนไทยของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ในครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลง รูป
แบบการดำเนินชีวิต การศึกษาเล่าเรียน การใช้เวลาว่าง การเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดของเยาวชนที่มีอายุ 12-24 ปีในเขตกรุงเทพมหานคร
นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ ทั้งนี้เพื่อทำให้เห็นทิศทางและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเยาวชน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถที่จะ
นำผลการศึกษาที่ได้ไปประกอบการพิจารณาวางแผน เพื่อดำเนินการป้องกัน และแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างเร่งด่วนต่อไป
วัตถุประสงค์ในการทำวิจัย
1. เพื่อศึกษาถึงรูปแบบการดำเนินชีวิต ค่านิยม และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเยาวชนทางด้านการศึกษา การใช้เวลา
ว่าง และ การใช้สิ่งเสพติด
2. เพื่อประมาณการจำนวนเยาวชนที่มีอายุ 12-24 ปี ที่พักอาศัยในระดับครัวเรือน หอพัก อพาร์ตเมนต์ และคอนโดมิเนี่ยม ที่ใช้สิ่ง
เสพติด
3. เพื่อเป็นข้อมูลสำคัญและนำเสนอต่อรัฐบาล หน่วยงานราชการ และองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจดำเนิน
นโยบายหรือมาตรการที่เหมาะสมในการรักษาคุณภาพที่ดีของเยาวชนไทย
ระเบียบวิธีวิจัย
การวิจัยภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “โครงการวิจัยพฤติกรรมและประมาณการจำนวนเยาวชนทั้งใน
ระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษาที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด: กรณีศึกษาตัวอย่างเยาวชนที่มีอายุ 12-24 ปี ที่พักอาศัยในระดับครัวเรือน หอ
พัก อพาร์ตเมนต์ และคอนโดมิเนียม ในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ” ซึ่งคณะผู้วิจัยได้ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20
เมษายน — 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือเยาวชนที่มีอายุ 12 — 24 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ จำนวนทั้ง
สิ้น 1,562,986 คน (หนึ่งล้านห้าแสนหกหมื่นสองพันเก้าร้อยแปดสิบหกคน)
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Sampling) ในการเลือกพื้นที่ตัวอย่างในเขตกรุงเทพ
มหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ และการสุ่มตัวอย่างแบบความเป็นไปได้ตามสัดส่วนของขนาดประชากร (Probability
Proportionate to Size Sampling) ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายระดับครัวเรือน (household) และแหล่งที่พักอาศัยอื่นๆ อาทิ หอพัก
อพาร์ตเมนต์ และคอนโดมิเนียม เป็นต้น
ขนาดของตัวอย่าง คือ 4,078 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.4 เป็นเพศชาย
ร้อยละ 49.6 เป็นเพศหญิง
ร้อยละ 31.9 ระบุอายุ 12-15 ปี
ร้อยละ 29.9 ระบุอายุ 16-19 ปี
และร้อยละ 38.2 ระบุอายุ 20-24 ปี
เมื่อพิจารณาสถานภาพทางการศึกษาของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.6 ระบุไม่ได้เรียนหนังสือเลย
ในขณะที่ร้อยละ 71.9 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 23.5 ระบุสำเร็จการศึกษาแล้ว และไม่ได้ศึกษาต่อ
ตัวอย่าง ร้อยละ 71.3 ระบุประเภทที่พักอาศัยเป็นบ้านเดี่ยว/ทาวน์เฮาส์/อาคารพานิชย์
ร้อยละ 15.2 ระบุเป็นหอพัก
ร้อยละ 8.0 ระบุเป็นอพาร์ตเมนต์/แมนชั่น/คอนโดมิเนียม
และร้อยละ 5.5 ระบุที่พักอาศัยประเภทอื่นอาทิ วัด/โบสถ์ /มัสยิด
และเมื่อพิจารณาถึงบุคคลที่ตัวอย่างพักอาศัยอยู่ด้วยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมานั้นพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 61.9 พักอาศัยกับบิดามารดา
รองลงมาคือร้อยละ 16.5 พักอาศัยกับญาติ/พี่น้อง
ร้อยละ 7.9 พักอาศัยเพียงลำพังคนเดียว
ในขณะที่ร้อยละ 10.7 พักอาศัยอยู่กับเพื่อน
และร้อยละ 3.0 ระบุพักอาศัยอยู่กับคู่รัก/แฟน/ครูอาจารย์ และผู้ปกครองที่ไม่ใช่ญาติ เป็นต้น
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในฐานะที่ปรึกษาเครือข่ายวิชาการสารเสพติดของสำนัก
งาน ปปส. และหัวหน้าโครงการวิจัย ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “โครงการวิจัยพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ และประมาณการจำนวนเยาวชนทั้งใน
ระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษาที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเยาวชนที่มีอายุ 12-24 ปี ที่พัก
อาศัยในระดับครัวเรือน และที่พักอาศัยประเภทอื่นๆ อาทิ หอพัก อพาร์ตเมนต์ และคอนโดมิเนียม ในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และ
สมุทรปราการ จำนวนทั้งสิ้น 4,078 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ ในวันที่ 20 เมษายน - 9 พฤษภาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการ
สำรวจดังนี้
ดร.นพดล กล่าวว่า เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงบุคคล/แหล่งที่ให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 70.1 ระบุบุคคล/แหล่งที่ให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน คือพ่อ/แม่ รองลงมาคือร้อยละ 32.0 ระบุทำงานหารายได้
ด้วยตัวเอง และร้อยละ 15.4 ระบุได้รับการสนับสนุนจากพี่/น้อง/ญาติตามลำดับ ทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึงรูปแบบการใช้จ่ายในแต่ละเดือนในช่วง 3 เดือนที่
ผ่านมานั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 77.3 ระบุจ่ายค่าอาหาร/เครื่องใช้ประจำวัน ร้อยละ 33.8 ระบุค่าเดินทาง ร้อยละ 32.0 ระบุค่าอุปกรณ์
การเรียน ร้อยละ 28.8 ระบุชำระค่าบริการโทรศัพท์/อุปกรณ์สื่อสาร และร้อยละ 28.3 ระบุค่าเครื่องแต่งกาย/เครื่องประดับ ตามลำดับ
สำหรับผลสำรวจความนิยมซื้อ/ใช้สินค้าต่างประเทศของตัวอย่างนั้นพบว่า ตัวอย่างเกินกว่า 2 ใน 3 หรือร้อยละ 73.2 ระบุนิยมซื้อ/
ใช้สินค้าต่างประเทศ ในขณะที่ร้อยละ 26.8 ระบุไม่นิยมซื้อ/ไม่นิยมใช้ ทั้งนี้เมื่อสอบถามตัวอย่างที่ระบุนิยมซื้อ/ใช้สินค้าต่างประเทศต่อไปถึงสินค้า
ต่างประเทศที่นิยมซื้อ/ใช้ นั้นพบว่า สินค้าที่นิยมซื้อ/ใช้ 5 อับดับแรก คือ เสื้อผ้า (ร้อยละ 53.2) รองลงมาคือ อาหาร/ขนม (ร้อยละ 39.1)
รองเท้า (ร้อยละ 24.7) เครื่องสำอาง/น้ำหอม (ร้อยละ 20.9) และหนังสือ (ร้อยละ 17.6) ตามลำดับ สำหรับเหตุผลที่นิยมซื้อ/ใช้สินค้า
ต่างประเทศ นั้นเป็นเพราะสินค้าดีมีคุณภาพ (ร้อยละ 48.5) ซื้อตามแฟชั่น (ร้อยละ 31.2) หาซื้อได้ง่าย (ร้อยละ 21.9) สินค้าลดราคา
(ร้อยละ 21.0) และบุคคลในครอบครัวซื้อ/ใช้ (ร้อยละ 14.6) ตามลำดับ
ประเด็นสำคัญประการหนึ่งที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ได้แก่ ผลสำรวจการทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า
กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ 5 อันดับแรกที่พบว่าตัวอย่างได้ทำเป็นประจำอย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์ นั้น คือ การใช้เวลาว่างอยู่กับครอบครัว/พ่อแม่/
ญาติ/พี่น้อง (ร้อยละ 78.3) รองลงมาคือการติดตามข้อมูลข่าวสารประจำวันผ่านสื่อสารมวลชน (ร้อยละ 70.2) การใช้เวลาว่างอยู่กับเพื่อนๆ
(ร้อยละ 68.9) การเล่นกีฬา (ร้อยละ 53.5) และการทำงานหารายได้/ทำงานพิเศษ (ร้อยละ 48.3) ตามลำดับ ในขณะที่กิจกรรมเชิงไม่
สร้างสรรค์ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่ากิจกรรมเชิงไม่สร้างสรรค์ 5 อันดับแรกที่พบว่าตัวอย่างทำเป็นประจำอย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์ นั้น ได้แก่
การเล่นเกมคอมพิวเตอร์/เกมกด/เกมเพลย์ ที่ไม่ใช่เกมออนไลน์ (ร้อยละ 38.2) รองลงมาคือการเล่นเกมออนไลน์หรือผ่านทางอินเทอร์เน็ต (ร้อย
ละ 28.5) การดื่มเหล้า/เบียร์/ไวน์/สปาย (ร้อยละ 17.2) การสูบบุหรี่ (ร้อยละ 16.9) และการเที่ยวกลางคืน เช่น ผับ/ดิสโก้/คาราโอเกะ
(ร้อยละ 14.7) ตามลำดับ
นอกจากนี้ ผลการสำรวจของเอแบคโพลล์ในประเด็นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งเสพติดประเภทต่างๆนั้นพบประเด็นที่น่าพิจารณา
คือ ความคิดเห็นของตัวอย่างต่อสิ่งเสพติดประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ ซึ่งผลสำรวจพบว่าตัวอย่างร้อยละ 66.2 ระบุคิดว่าเหล้าเป็นสิ่งเสพติด ใน
ขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 22.8 ระบุไม่เป็นสิ่งเสพติด และร้อยละ 11.0 ระบุไม่แน่ใจว่าเหล้าเป็นสิ่งเสพติดหรือไม่ นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 56.5
ระบุคิดว่าเบียร์/ไวน์/สปายเป็นสิ่งเสพติด ในขณะที่ร้อยละ 28.8 ระบุไม่เป็นสิ่งเสพติด และร้อยละ 14.7 ระบุไม่แน่ใจว่าเป็นสิ่งเสพติดหรือไม่
สำหรับเครื่องดื่มประเภทน้ำผลไม้ผสมแอลกอฮอลล์นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 37.3 ระบุคิดว่าเป็นสิ่งเสพติด ในขณะที่ร้อยละ 40.7 ระบุไม่เป็นสิ่ง
เสพติด และร้อยละ 22.0 ระบุไม่แน่ใจว่าเป็นสิ่งเสพติดหรือไม่ และที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งก็คือ ผลการสำรวจพบว่าร้อยละเกือบ 1 ใน 3 หรือร้อย
ละ 27.5 ระบุคิดว่ายานอนหลับ/ยาคลายเครียดไม่เป็นสิ่งเสพติด ในขณะที่ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่งคือ ร้อยละ 53.2 ระบุคิดว่าเป็นสิ่งเสพติด และ
ร้อยละ 19.3 ระบุไม่แน่ใจว่าเป็นสิ่งเสพติดหรือไม่
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อกรณีการกลับมาแพร่ระบาดของยาเสพติดนั้น พบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่ง
หรือร้อยละ 54.3 ระบุคิดว่ายาเสพติดกลับมาแล้ว ในขณะที่ร้อยละ 10.2 คิดว่ายังไม่กลับมา และร้อยละ 35.5 ที่ระบุไม่ทราบ ทั้งนี้เมื่อพิจารณา
ถึงสถานที่ที่คิดว่ายาเสพติดกำลังกลับมาแพร่ระบาดนั้น พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 58.0 ระบุเธค/ผับ/สถานบันเทิง ตัวอย่างร้อยละ 30.1 ระบุ
โรงเรียน/สถานศึกษา ร้อยละ 29.5 ระบุบริเวณใกล้เคียงกับชุมชนที่พักอาศัย ร้อยละ 21.8 ระบุในชุมชนที่พักอาศัย และร้อยละ 15.6 ระบุ
สถานที่ก่อสร้าง ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ประเด็นสำคัญที่ถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษาในครั้งนี้ได้แก่ ผลการประมาณการจำนวนเยาวชนทั้งในระบบ
การศึกษาและนอกระบบการศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 1,562,986 คน พบกลุ่มเยาวชนไทยที่ใช้สิ่งเสพติดประเภทต่างๆ จำแนกตามช่วงเวลาตลอด
ประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา 5 อันดับแรก คือ
- บุหรี่ โดยผลประมาณการพบว่ามีจำนวนเยาวชนที่มีประสบการณ์ในการสูบบุหรี่ตลอดประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมาทั้งสิ้น 403,546 คน
(สี่แสนสามพันห้าร้อยสี่สิบหกคน)
- เบียร์/ไวน์/สปาย โดยผลประมาณการพบว่ามีจำนวนเยาวชนที่มีประสบการณ์ในการดื่มเบียร์ ไวน์ สปาย ตลอดประสบการณ์
ชีวิตที่ผ่านมาทั้งสิ้น 678,950 คน (หกแสนเจ็ดหมื่นแปดพันเก้าร้อยห้าสิบคน)
- เหล้า โดยผลประมาณการพบว่ามีจำนวนเยาวชนที่มีประสบการณ์ในการดื่มเหล้าตลอดประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมาทั้งสิ้น 635,816
คน (หกแสนสามหมื่นห้าพันแปดร้อยสิบหกคน)
- น้ำผลไม้ผสมเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ โดยผลประมาณการพบว่ามีจำนวนเยาวชนที่มีประสบการณ์ในการดื่มน้ำผลไม้ผสมเครื่องดื่มแอลกอ
ฮอลล์ ตลอดประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมาทั้งสิ้น 518,364 คน (ห้าแสนหนึ่งหมื่นแปดพันสามร้อยหกสิบสี่คน) และ
- กัญชา ซึ่งผลประมาณการพบว่ามีจำนวนเยาวชนที่มีประสบการณ์ในการใช้กัญชาจำนวนทั้งสิ้น 111,917 คน (หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นหนึ่งพัน
เก้าร้อยสิบเจ็ดคน)
“สิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ กลุ่มเยาวชนที่ใช้ยาบ้าในช่วง 30 วันที่ผ่านมาพบว่ามีอยู่มากถึง 41,666 คน เพิ่มขึ้นถึงกว่า 700% จาก
5,060 คนในการวิจัยที่เคยค้นพบช่วง 3 เดือนหลังประกาศสงครามยาเสพติด” ดร.นพดล กล่าว
สำหรับสาเหตุการกลับมาของยาเสพติดในทรรศนะของเยาวชนนั้น ผลการสำรวจของเอแบคโพลล์ พบว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐปราบปรามยา
เสพติดไม่จริงจัง (ร้อยละ 69.1) รองลงมา คือ ความไม่ต่อเนื่องของนโยบายแก้ไขปัญหายาเสพติด (ร้อยละ 60.7) ปัญหาผู้มีอิทธิพล (ร้อยละ
53.9) บทลงโทษผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดยังไม่รุนแรง (ร้อยละ 42.4) และยังมีแหล่งมั่วสุมของเยาวชน (ร้อยละ 38.8) ตามลำดับ
เมื่อสอบถามต่อไปถึงข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหายาเสพติด นั้น พบว่า รัฐบาลควรมีการปราบปรามอย่างจริงจัง / มีการ
รณรงค์อย่างต่อเนื่อง (ร้อยละ 72.6) รองลงมา คือ ควรให้ความรู้กับเยาวชนเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด (ร้อยละ 70.5) ส่งเสริมการทำกิจกรรม
เชิงสร้างสรรค์ให้กับเยาวชน (ร้อยละ 68.9) แก้ไขปัญหาผู้มีอิทธิพล (ร้อยละ 66.3) และลดพื้นที่เสี่ยงของเยาวชน (ร้อยละ 56.1) ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้น่าสะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลรักษาการกำลังประสบกับความล้มเหลวในการแก้ปัญหายาเสพติดอย่างสิ้นเชิง
ทั้งกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงยุติธรรมและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำเป็นต้องเข้ามารับผิดชอบต่อสถานการณ์ปัญหายาเสพติดที่กำลังกลับมารุนแรง
มากขึ้นกว่าเดิมในขณะนี้ เพราะจำนวนเยาวชนไทยที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดเพิ่มสูงขึ้นในทุกตัวยาโดยเฉพาะยาบ้าที่เพิ่มสูงขึ้นหลายร้อย
เปอร์เซ็นต์ นี่เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเท่านั้น
“ผลวิจัยชิ้นนี้น่าจะเป็นประโยชน์แจ้งเป็นสัญญาณเตือนภัยให้กับสังคมไทยตื่นตัวเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดที่กำลังกลับมาทำลายคุณภาพของ
เยาวชนไทยที่น่ากลัวกว่าทุกครั้งที่ผ่านมาเพราะมัน (ยาเสพติด) กำลังเข้ามาในช่วงที่ประเทศไทยกำลังเผชิญวิกฤตการณ์สามด้านคือ การเมือง
เศรษฐกิจและสังคม ดังนั้น ประชาชนคงต้องดูแลตนเองในครอบครัวและชุมชนอย่างใกล้ชิดเพราะอำนาจทางการเมืองของรัฐบาลกำลังอ่อนแอ ดังนั้น
ข้าราชการประจำ เช่น ตำรวจ ทหาร เจ้าหน้าที่ ป.ป.ส. และหน่วยงานความมั่นคงภายในคงต้องสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนต่อการแก้ไข
ปัญหายาเสพติดแทนกลุ่มนักการเมืองที่ดูเหมือนว่านักการเมืองกำลังให้ความสำคัญกับการช่วงชิงโอกาสเข้าสู่อำนาจและตำแหน่งทางการเมืองเพื่อบริหาร
ประเทศมากกว่าปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในขณะนี้” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคล/แหล่งที่ให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคล/แหล่งที่ให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน ค่าร้อยละ
1 พ่อ/แม่ 70.1
2 ทำงานหารายได้ด้วยตัวเอง 32.0
3 พี่/น้อง/ญาติ 15.4
4 แฟน/คู่รัก 6.4
5 กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา 3.4
6 อื่นๆ อาทิ ทุนการศึกษา/เพื่อน/ครูอาจารย์ 5.3
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรูปแบบการใช้จ่ายแต่ละเดือนในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ รูปแบบการใช้จ่ายแต่ละเดือน ค่าร้อยละ
1 ค่าอาหาร/เครื่องใช้ประจำวัน 77.3
2 ค่าเดินทาง 33.8
3 ค่าอุปกรณ์การเรียน 32.0
4 ชำระค่าบริการโทรศัพท์/อุปกรณ์สื่อสาร 28.8
5 ค่าเครื่องแต่งกาย/เครื่องประดับ 28.3
6 ค่าเช่าที่พักอาศัย 20.4
7 ทำบุญ/บริจาคทาน 11.6
8 แหล่งบันเทิง/สถานบริการด้านบันเทิง 11.0
9 ค่าเกมคอมพิวเตอร์/เกมกด 10.3
10 ค่าชั่วโมงอินเทอร์เน็ต 8.9
11 ฝากธนาคาร/ออมสิน 8.6
12 การเรียนเสริมหลักสูตร 8.5
13 ค่าผ่อนชำระสินค้าต่างๆ 8.1
14 ค่าอุปกรณ์กีฬา 5.8
15 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปตามแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ 5.7
16 เสี่ยงโชค 5.3
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างจำแนกตามความนิยมซื้อ/ใช้สินค้าต่างประเทศ
ลำดับที่ ความนิยมซื้อ/ใช้สินค้าต่างประเทศ ร้อยละ
1 นิยมซื้อ/ใช้ 73.2
2 ไม่นิยมซื้อ/ไม่นิยมใช้ 26.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสินค้าต่างประเทศที่นิยมซื้อ/ใช้
(ค่าร้อยละเฉพาะตัวอย่างที่ระบุนิยมซื้อ/ใช้สินค้าต่างประเทศ และตอบได้มากกกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สินค้าต่างประเทศที่นิยมซื้อ/ใช้ ค่าร้อยละ
1 เสื้อผ้า 53.2
2 อาหาร/ขนม 39.1
3 รองเท้า 24.7
4 เครื่องสำอาง/น้ำหอม 20.9
5 หนังสือ 17.6
6 นาฬิกา 15.9
7 กระเป๋า 13.7
8 เครื่องใช้ไฟฟ้า 11.9
9 อุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ 11.6
10 อุปกรณ์กีฬา 9.3
11 อื่นๆ อาทิ เข็มขัด/ อาหารเสริมสุขภาพ/ยา /ของเล่น /
เครื่องประดับ /อัญมณี/แว่นตา/สินค้าพื้นเมือง เป็นต้น 31.4
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเหตุผลที่นิยมซื้อ/ใช้สินค้าต่างประเทศ
(ค่าร้อยละเฉพาะตัวอย่างที่ระบุนิยมซื้อ/ใช้สินค้าต่างประเทศ และตอบได้มากกกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เหตุผลที่นิยมซื้อ/ใช้สินค้าต่างประเทศ ค่าร้อยละ
1 สินค้าดีมีคุณภาพ 48.5
2 ซื้อตามแฟชั่น 31.2
3 หาซื้อได้ง่าย 21.9
4 สินค้าลดราคา 21.0
5 บุคคลในครอบครัวซื้อ/ใช้ 14.6
6 สินค้ามีชื่อเสียง 13.3
7 ได้รับการยอมรับจากคนรอบข้าง 12.1
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ประเภทกิจกรรม ทำเป็นประจำอย่างน้อย ไม่ได้ทำเป็นประจำ/ ไม่ได้ทำเลย รวมทั้งสิ้น
1 วัน/สัปดาห์ น้อยกว่าสัปดาห์ละครั้ง
1. ชมภาพยนตร์ที่โรงภาพยนตร์ 16.9 44.9 38.2 100.0
2. ดูการแสดงดนตรี/คอนเสิร์ต 13.8 31.0 55.2 100.0
3. ช็อปปิ้ง เที่ยวห้างสรรพสินค้า 47.5 38.8 13.7 100.0
4. ท่องเที่ยวตามแหล่งธรรมชาติ เช่น ทะเล 13.0 49.9 37.1 100.0
6. เล่นดนตรี 25.6 22.2 52.2 100.0
7. เรียนพิเศษ 21.6 13.9 64.5 100.0
8. เล่นกีฬา 53.5 23.2 23.3 100.0
9.อ่านหนังสือ/เข้าห้องสมุด 47.4 27.2 25.4 100.0
10. กิจกรรมทางศาสนา ทำบุญ/บริจาคทาน 34.1 43.9 22.0 100.0
11.ทำกิจกรรมเพื่อสังคมสาธารณะประโยชน์ 25.5 38.2 36.3 100.0
12.ติดตามข้อมูลข่าวสารประจำวันผ่านสื่อมวลชน 70.2 15.0 14.8 100.0
13. ทำงานหารายได้/ทำงานพิเศษ 48.3 15.5 36.2 100.0
14.ใช้เวลาว่างอยู่เพียงคนเดียว 45.3 26.0 28.7 100.0
15. ใช้เวลาว่างอยู่กับเพื่อน ๆ 68.9 17.6 13.5 100.0
16. ใช้เวลาว่างอยู่กับครอบครัว/พ่อแม่/ญาติ/พี่น้อง 78.3 11.9 9.8 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทำกิจกรรมเชิงไม่สร้างสรรค์ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ประเภทกิจกรรม ทำเป็นประจำอย่างน้อย ไม่ได้ทำเป็นประจำ/ ไม่ได้ทำเลย รวมทั้งสิ้น
1 วัน/สัปดาห์ น้อยกว่าสัปดาห์ละครั้ง
1. การสูบบุหรี่ 16.9 3.7 79.4 100.0
2. การดื่มเหล้า/เบียร์/ไวน์/สปาย 17.2 19.4 63.4 100.0
3. ใช้สิ่งเสพติดประเภทต่าง ๆ (ไม่นับรวมเหล้า/เบียร์/ไวน์/สปาย) 4.0 2.9 93.1 100.0
4. เล่นการพนัน 7.8 11.3 80.9 100.0
5.เล่นเกมคอมพิวเตอร์/เกมกด/เกมเพลย์ (ที่ไม่ใช่เกมออนไลน์) 38.2 21.6 40.2 100.0
6.เล่นเกมออนไลน์หรือผ่านทางอินเทอร์เน็ต 28.5 15.1 56.4 100.0
7. การลักทรัพย์ 2.9 2.6 94.5 100.0
8.ดูหนังสือ/ภาพยนตร์/อินเทอร์เน็ตที่ทำให้เกิดความรู้สึกทางเพศ 11.0 14.4 74.6 100.0
9. การมีเพศสัมพันธ์ 13.5 11.9 74.6 100.0
10. ถ่ายภาพนายแบบ/นางแบบ 2.2 3.1 94.7 100.0
11.ถ่ายภาพนู้ด 2.3 1.6 96.1 100.0
12. การให้บริการทางเพศ 2.6 1.3 96.1 100.0
13. ทะเลาะวิวาทกับผู้อื่นโดยใช้อาวุธสิ่งของ 5.5 7.9 86.6 100.0
14. หนีเรียน/ไม่ไปเรียน 8.1 11.3 80.6 100.0
15. เที่ยวกลางคืน เช่น ผับ/ดิสโก้/คาราโอเกะ 14.7 18.0 67.3 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อสิ่งเสพติดประเภทต่างๆ
ประเภท เป็นสิ่งเสพติดค่าร้อยละ ไม่เป็นสิ่งเสพติดค่าร้อยละ ไม่แน่ใจค่าร้อยละ รวมทั้งสิ้น
1. เหล้า 66.2 22.8 11.0 100.0
2. เบียร์/ไวน์/สปาย 56.5 28.8 14.7 100.0
3. น้ำผลไม้ผสมแอลกอฮอลล์ 37.3 40.7 22.0 100.0
4. บุหรี่ 86.3 10.0 3.7 100.0
5. ยาอี/เอ็กตาซี/ยาเลิฟ 90.2 7.7 2.1 100.0
6. ยาบ้า 91.1 7.6 1.3 100.0
7. กัญชา 90.5 8.0 1.5 100.0
8. สาระเหย/กาว/แล็ค 88.8 8.3 2.9 100.0
9. ยานอนหลับ/ยาคลายเครียด 53.2 27.5 19.3 100.0
10.กระท่อม 83.4 10.9 5.7 100.0
11. ยาเค/เคตามีน 87.3 8.2 4.5 100.0
12. ยาไอซ์ 85.6 8.6 5.8 100.0
(ยังมีต่อ)