ที่มาของโครงการ
ในช่วงเริ่มต้นศักราชใหม่ ปี พ.ศ. 2549 นี้ นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของกระแสความร้อนแรงทางการเมืองไทยเกิดขึ้นหลายกระแส
ทั้งการประกาศอย่างชัดเจนจากทางพรรคประชาธิปัตย์กรณีความพร้อมของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในการเป็นนายกรัฐมนตรี ตลอดจนการโต้เถียงกัน
ไปมาผ่านทางสื่อมวลชนระหว่าง ส.ส.ภายในพรรคไทยรักไทยด้วยกันเอง ซึ่งทำท่าจะบานปลายมากขึ้น สถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นต่างๆ
เหล่านี้ต่างได้รับความสนใจและเฝ้าติดตามจากประชาชนและสื่อมวลชนเป็นอย่างยิ่งว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงทิศทางของการ
เมืองไทยในปี 2549 ได้หรือไม่
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปใน
กรุงเทพมหานคร ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทาง
สังคมศาสตร์ เพื่อทำการสำรวจทรรศนะของประชาชนที่มีต่อปรากฏการณ์ทางการเมืองดังกล่าว รวมทั้งตัวบ่งชี้คุณสมบัติเด่นระหว่าง พ.ต.ท.ดร.
ทักษิณ ชินวัตร กับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของบุคคลทั้งสองในสายตาของประชาชน ทั้งนี้
คาดหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิรูปปรับปรุงคุณสมบัติของผู้นำพรรคการเมืองใหญ่ทั้งสองพรรคให้สอดคล้องกับความคาดหวังของประชาชนและส่งผล
ต่อการปฏิรูปการเมืองที่ยั่งยืนต่อไป
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารการเมืองของประชาชนคนกรุงเทพมหานคร
2. เพื่อเปรียบเทียบตัวบ่งชี้คุณสมบัติเด่นระหว่าง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
3. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความมั่นคงทางการเมืองในปี 2549
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “เปรียบเทียบ ตัวบ่งชี้คุณสมบัติเด่นระหว่างหัว
หน้าพรรคไทยรักไทยกับพรรคประชาธิปัตย์ในทรรศนะของประชาชนและความนิยมต่อพรรคการเมือง:กรณีศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่ง
ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 6-7 มกราคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่
ตัวอย่างและใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,251 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 50.7 เป็นหญิง
ร้อยละ 49.3 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.0 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
รองลงมาร้อยละ 26.0 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 22.7 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
ร้อยละ 15.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 4.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 71.4 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือ ร้อยละ 27.0 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 36.1 อาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 20.8 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 19.8 อาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 10.2 เป็นนักศึกษา/นักเรียน
ร้อยละ 3.8 อาชีพข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 9.3 อาชีพอื่นๆ เช่น แม่บ้าน พ่อบ้าน เกษียณอายุ ว่างงาน เกษตรกร
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เผยผลสำรวจเรื่อง “เปรียบเทียบตัวบ่งชี้คุณสมบัติเด่นระหว่างหัวหน้าพรรคไทยรักไทย
กับพรรคประชาธิปัตย์ในทรรศนะของประชาชน และความนิยมต่อพรรคการเมือง: กรณีศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินการสำรวจ
ความคิดเห็นจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 6-7 มกราคม 2549 จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 1,251
ตัวอย่าง ซึ่งมีประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
จากการสอบถามตัวอย่างถึงการติดตามข่าวเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวต่างๆ ทางการเมืองในรอบ 1 เดือน ที่ผ่านมา พบว่าตัวอย่างส่วน
ใหญ่ ร้อยละ 61.2 ติดตามบ้างบางครั้ง ร้อยละ 30.9 ติดตามประจำ และมีเพียงร้อยละ 7.9 เท่านั้นที่ระบุไม่ได้ติดตาม / ติดตามน้อยมาก
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงคุณสมบัติเด่นของผู้นำฝ่ายรัฐบาล พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร พบว่า คุณสมบัติเด่นที่มีค่าร้อยละของ
ประชาชนผู้ถูกศึกษาสูงสุด 5 อันดับแรกได้แก่ ความรู้/ความสามารถ (ร้อยละ 97.4) การเป็นที่ยอมรับของนักลงทุนต่างชาติ (ร้อยละ 92.5)
กล้าคิดกล้าตัดสินใจ (ร้อยละ 91.7) มีประสบการณ์ในการทำงาน (ร้อยละ 89.1) และมีปฏิภาณไหวพริบ (ร้อยละ 88.5) ตามลำดับ ส่วน
คุณสมบัติเด่นที่มีค่าร้อยละต่ำสุด 5 อันดับแรกได้แก่ ความอดทนอดกลั้น (ร้อยละ 43.6) ความซื่อสัตย์สุจริต (ร้อยละ 45.4) การรับฟังความคิด
เห็นของผู้อื่น (ร้อยละ 47.8) ความสุภาพ (ร้อยละ 49.3) และความเป็นประชาธิปไตย (ร้อยละ 51.6) ตามลำดับ
ขณะเดียวกันเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงคุณสมบัติเด่นของผู้นำฝ่ายค้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พบว่า คุณสมบัติเด่นที่มีค่าร้อยละ
ของประชาชนผู้ถูกศึกษาสูงสุด 5 อันดับแรกได้แก่ ความสุภาพ (ร้อยละ 89.7) ความสุขุมรอบคอบ (ร้อยละ 80.7) ความมีมนุษยสัมพันธ์ (ร้อย
ละ 80.6) มีวาทศิลป์ในการพูด และมีความเป็นประชาธิปไตยซึ่งมีค่าร้อยละเท่ากัน (ร้อยละ 78.2) ตามลำดับ ส่วนคุณสมบัติเด่นที่มีค่าร้อยละต่ำ
สุด 5 อันดับแรกได้แก่ การเป็นที่ยอมรับของนักลงทุนต่างชาติ (ร้อยละ 30.1) กล้าคิดกล้าตัดสินใจ (ร้อยละ 52.3) ประสบการณ์ในการทำงาน
(ร้อยละ 52.9) การเข้าถึงปัญหาของประชาชน (ร้อยละ 57.8) และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (ร้อยละ 58.9) ตามลำดับ
และเมื่อสอบถามถึงความเหมาะสมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสถานการณ์ปัญหาปัจจุบันของประเทศ ผลสำรวจพบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษา
ในการสำรวจครั้งนี้ระบุว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร มีความเหมาะสมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสถานการณ์ปัญหาปัจจุบันของประเทศ มากกว่า
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างร้อยละ 53.9 ระบุ ไม่ค่อยเชื่อมั่นและไม่เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยจะมั่นคงในปี 2549 นี้ ในขณะที่ร้อยละ 26.8
ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 10.3 เชื่อมั่น และร้อยละ 9.1 ไม่มีความเห็น
ขณะเดียวกันตัวอย่างร้อยละ 54.0 ไม่ค่อยเชื่อมั่นและไม่เชื่อมั่นว่าการเมืองไทยจะมั่นคงในปี 2549 นี้ ในขณะที่ร้อยละ 26.3 ค่อนข้าง
เชื่อมั่น ร้อยละ 11.5 เชื่อมั่น และร้อยละ 8.2 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวว่า จากการเปรียบเทียบจำนวนตัวอย่างประชาชนที่ระบุตัวบ่งชี้คุณสมบัติเด่น
ระหว่าง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พบว่า คุณสมบัติเด่นที่มีความห่างกันอย่างมากเลยทีเดียวคืออันดับแรกเรื่อง การเป็น
ที่ยอมรับของนักลงทุนต่างชาติ (พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ มีร้อยละ 92.5 นายอภิสิทธิ์มีร้อยละ 30.1) รองลงมาคือเรื่อง การกล้าคิดกล้าตัดสินใจ(พ.ต.ท.
ดร.ทักษิณ มีร้อยละ 91.7 นายอภิสิทธิ์ มีร้อยละ 52.3) และเรื่องประสบการณ์ในการทำงาน (พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ มีร้อยละ 89.1 นายอภิสิทธิ์ มีร้อย
ละ 52.9)
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า คุณสมบัติของพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่มีประชาชนที่ระบุว่ามีคุณสมบัติเด่นน้อยกว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คือ
อันดับแรก เรื่อง ความสุภาพ (นายอภิสิทธิ์ มีร้อยละ 89.7 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ มี ร้อยละ 49.3) รองลงมาคือเรื่อง ความอดทนอดกลั้น (นาย
อภิสิทธิ์ มีร้อยละ 73.7 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ มีร้อยละ 43.6) และเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต (นายอภิสิทธิ์ มีร้อยละ 74.4 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ มีร้อย
ละ 45.4)
“อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่าประชาชนที่ระบุว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เหมาะสมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสถานการณ์ปัญหา
ปัจจุบันของประเทศ (ร้อยละ 42.8) มีมากกว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ร้อยละ 28.1)” ดร.นพดล กล่าว
นอกจากนี้ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ขอตอบข้อสงสัยของ นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนัก
นายกรัฐมนตรี กรณีให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อมวลชนช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยระบุมี ข้อสงสัยอย่างน้อย 3 ประการคือ 1) สงสัยว่าโพลล์เอแบคทำให้
ประชาธิปัตย์ดูดีในการสำรวจเมื่อช่วงปลายเดือนธันวาคม 2) สงสัยที่โพลล์ประเมินผลงานกรุงเทพมหานครทำไมถามเรื่องความนิยมพรรคการเมือง
ด้วย และ 3) สงสัยที่ ผอ.เอแบคโพลล์ประเมินผลงาน กทม. แต่สรุปเป็นเรื่องการเมืองระดับชาติไปทั้งหมด
ซึ่ง ผอ.เอแบคโพลล์ ขอตอบข้อสงสัยข้อแรกว่า เอแบคโพลล์ไม่ต้องการทำโพลล์เพื่อให้พรรคการเมืองพรรคหนึ่งพรรคใดดูดี และไม่
เคยคิดทำงานเอาใจฝ่ายการเมือง ทุกกระบวนการสำรวจเป็นไปอย่างเคร่งครัดตามระเบียบวิธีวิจัย ซึ่งที่ผ่านมาเอแบคโพลล์เคยทำการประเมินผล
งานรัฐบาลและมีการถามเรื่องความนิยมต่อพรรคการเมืองกว่า 10 ครั้งในช่วงรัฐบาลของพรรคไทยรักไทยเป็นต้นมา และพบว่า พรรคไทยรักไทยได้
ความนิยมจากประชาชนเหนือพรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด ตามจริงเอแบคโพลล์น่าจะถูกตั้งข้อสงสัยว่า ทำไมเอแบคโพลล์ทำให้พรรคไทยรักไทยดูดี
จึงจะเหมาะสมกว่า
ผอ.เอแบคโพลล์ยังตอบข้อสงสัยประการที่สองของนายสุรนันทน์ ว่า การทำโพลล์ประเมินผลงานกรุงเทพมหานครและถามความนิยมต่อ
พรรคการเมืองในช่วงปลายเดือนธันวาคมปีที่แล้วนั้นเพราะว่า ต้องการศึกษาในลักษณะคล้ายๆ กับการประเมินผลงานรัฐบาลและถามความนิยมต่อพรรค
การเมืองแต่เน้นมาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานครที่มีผู้บริหารงานสูงสุดมาจากพรรคการเมือง และเห็นว่ากรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่การแข่งขันทำงานทาง
การเมืองของพรรคการเมืองใหญ่สองพรรคอย่างเข้มข้น คนกรุงเทพฯ ก็อยู่ใกล้ชิดกับแหล่งข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก ทีมวิจัยจึงมีความเห็นว่าน่าจะ
สามารถสอบถามเรื่องของความนิยมต่อพรรคการเมืองได้
และข้อสงสัยประการที่สามคือ การสรุปผลการประเมินการทำงานของกรุงเทพมหานครเป็นเรื่องการเมืองระดับชาติไปทั้งหมด ซึ่ง ดร.นพ
ดล ชี้แจงว่า การสรุปอยู่ในขอบเขตที่เป็นวงจำกัดในพื้นที่กรุงเทพมหานครเท่านั้นจะมีอยู่ส่วนหนึ่งที่กล่าวถึงจังหวัดเมืองใหญ่ แต่ในทางวิจัยไม่ได้เป็นการ
ยืนยันว่ากำลังกล่าวถึงการเมืองระดับชาติเพราะผลงานวิจัยประเมินผลกรุงเทพมหานครไม่สามารถเป็นตัวแทนประชาชนทั้งประเทศได้ จึงขอให้นายสุ
รนันทน์ ทบทวนข้อสรุปในผลวิจัยนั้นอย่างดีเสียก่อน
“อย่างไรก็ตาม ต้องขอขอบคุณท่านรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) ที่มีข้อสงสัยต่างๆ ตามจริงสำนัก
วิจัยเอแบคโพลล์ เป็นหน่วยงานหนึ่งของสถาบันการศึกษา ผมและคณะผู้วิจัยมีความพร้อมที่จะให้คำแนะนำปรึกษากับทุกฝ่ายทุกส่วนของสังคมในฐานะ
บริการด้านวิชาการที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศโดยส่วนรวม ดังนั้นหากท่านรัฐมนตรีสงสัยอะไรไม่ควรไปวิเคราะห์ตีความเอง
แต่สามารถติดต่อกับคณะผู้วิจัยได้โดยตรง ซึ่งผมและทีมงานขอยืนยันว่าจะให้คำแนะนำปรึกษาตามหลักวิชาด้านการวิจัยโดยไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในทาง
การเมืองอย่างเด็ดขาด หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของพวกเราในฐานะที่เป็นงานวิชาการ ก็ทำได้อย่างเต็มที่ พวกเรายินดีรับมา
ปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้คนทำงานด้านนี้ทำในสิ่งที่ถูกต้องตามหลักวิชาการต่อไปอย่างแท้จริง” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากตารางดังต่อไปนี้
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวต่างๆ ทางการเมือง ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวต่างๆ ทางการเมืองในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ติดตามประจำ 30.9
2 ติดตามบ้างบางครั้ง 61.2
3 ไม่ติดตาม / ติดตามน้อยมาก 7.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคุณสมบัติเด่นของ พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร
และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ผู้ตอบสามารถตอบเรื่องคุณสมบัติเด่นได้ทั้งสองคน)
คุณสมบัติเด่น พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
1. ความรู้ / ความสามารถ 97.4 73.3
2. การเป็นที่ยอมรับของนักลงทุนต่างชาติ 92.5 30.1
3. กล้าคิด กล้าตัดสินใจ 91.7 52.3
4. ประสบการณ์ในการทำงาน 89.1 52.9
5. ปฏิภาณ ไหวพริบ 88.5 67.2
6. มีวิสัยทัศน์ 87.1 66.1
7. ขยันหมั่นเพียร 82.8 73.8
8. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 81.2 58.9
9. ความรับผิดชอบ 74.2 72.4
10. วาทศิลป์ในการพูด 71.3 78.2
11. ความมีมนุษยสัมพันธ์ 71.0 80.6
12. การเข้าถึงปัญหาของประชาชน 67.5 57.8
13. ความฉลาดทางอารมณ์ 57.1 72.2
14. ความสุขุมรอบคอบ 54.6 80.7
15. ความเป็นประชาธิปไตย 51.6 78.2
16. ความสุภาพ 49.3 89.7
17. การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 47.8 73.3
18. ความซื่อสัตย์สุจริต 45.4 74.4
19. ความอดทนอดกลั้น 43.6 73.7
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่มีความเหมาะสมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสถานการณ์
ปัญหาปัจจุบันของประเทศ ระหว่าง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร กับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ลำดับที่ บุคคลที่มีความเหมาะสมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสถานการณ์ปัญหาปัจจุบันของประเทศ ค่าร้อยละ
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 42.8
2 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 28.1
3 ไม่มีความคิดเห็น 29.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2549
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2549 ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 10.3
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 26.8
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 43.4
4 ไม่เชื่อมั่น 10.5
5 ไม่มีความเห็น 9.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อความมั่นคงทางการเมืองไทยในปี 2549
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่อความมั่นคงทางการเมืองไทยในปี 2549 ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 11.5
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 26.3
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 39.4
4 ไม่เชื่อมั่น 14.6
5 ไม่มีความเห็น 8.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ในช่วงเริ่มต้นศักราชใหม่ ปี พ.ศ. 2549 นี้ นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของกระแสความร้อนแรงทางการเมืองไทยเกิดขึ้นหลายกระแส
ทั้งการประกาศอย่างชัดเจนจากทางพรรคประชาธิปัตย์กรณีความพร้อมของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในการเป็นนายกรัฐมนตรี ตลอดจนการโต้เถียงกัน
ไปมาผ่านทางสื่อมวลชนระหว่าง ส.ส.ภายในพรรคไทยรักไทยด้วยกันเอง ซึ่งทำท่าจะบานปลายมากขึ้น สถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นต่างๆ
เหล่านี้ต่างได้รับความสนใจและเฝ้าติดตามจากประชาชนและสื่อมวลชนเป็นอย่างยิ่งว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงทิศทางของการ
เมืองไทยในปี 2549 ได้หรือไม่
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปใน
กรุงเทพมหานคร ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทาง
สังคมศาสตร์ เพื่อทำการสำรวจทรรศนะของประชาชนที่มีต่อปรากฏการณ์ทางการเมืองดังกล่าว รวมทั้งตัวบ่งชี้คุณสมบัติเด่นระหว่าง พ.ต.ท.ดร.
ทักษิณ ชินวัตร กับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของบุคคลทั้งสองในสายตาของประชาชน ทั้งนี้
คาดหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิรูปปรับปรุงคุณสมบัติของผู้นำพรรคการเมืองใหญ่ทั้งสองพรรคให้สอดคล้องกับความคาดหวังของประชาชนและส่งผล
ต่อการปฏิรูปการเมืองที่ยั่งยืนต่อไป
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารการเมืองของประชาชนคนกรุงเทพมหานคร
2. เพื่อเปรียบเทียบตัวบ่งชี้คุณสมบัติเด่นระหว่าง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
3. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความมั่นคงทางการเมืองในปี 2549
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “เปรียบเทียบ ตัวบ่งชี้คุณสมบัติเด่นระหว่างหัว
หน้าพรรคไทยรักไทยกับพรรคประชาธิปัตย์ในทรรศนะของประชาชนและความนิยมต่อพรรคการเมือง:กรณีศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่ง
ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 6-7 มกราคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่
ตัวอย่างและใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,251 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 50.7 เป็นหญิง
ร้อยละ 49.3 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.0 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
รองลงมาร้อยละ 26.0 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 22.7 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
ร้อยละ 15.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 4.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 71.4 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือ ร้อยละ 27.0 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 36.1 อาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 20.8 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 19.8 อาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 10.2 เป็นนักศึกษา/นักเรียน
ร้อยละ 3.8 อาชีพข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 9.3 อาชีพอื่นๆ เช่น แม่บ้าน พ่อบ้าน เกษียณอายุ ว่างงาน เกษตรกร
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เผยผลสำรวจเรื่อง “เปรียบเทียบตัวบ่งชี้คุณสมบัติเด่นระหว่างหัวหน้าพรรคไทยรักไทย
กับพรรคประชาธิปัตย์ในทรรศนะของประชาชน และความนิยมต่อพรรคการเมือง: กรณีศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินการสำรวจ
ความคิดเห็นจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 6-7 มกราคม 2549 จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 1,251
ตัวอย่าง ซึ่งมีประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
จากการสอบถามตัวอย่างถึงการติดตามข่าวเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวต่างๆ ทางการเมืองในรอบ 1 เดือน ที่ผ่านมา พบว่าตัวอย่างส่วน
ใหญ่ ร้อยละ 61.2 ติดตามบ้างบางครั้ง ร้อยละ 30.9 ติดตามประจำ และมีเพียงร้อยละ 7.9 เท่านั้นที่ระบุไม่ได้ติดตาม / ติดตามน้อยมาก
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงคุณสมบัติเด่นของผู้นำฝ่ายรัฐบาล พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร พบว่า คุณสมบัติเด่นที่มีค่าร้อยละของ
ประชาชนผู้ถูกศึกษาสูงสุด 5 อันดับแรกได้แก่ ความรู้/ความสามารถ (ร้อยละ 97.4) การเป็นที่ยอมรับของนักลงทุนต่างชาติ (ร้อยละ 92.5)
กล้าคิดกล้าตัดสินใจ (ร้อยละ 91.7) มีประสบการณ์ในการทำงาน (ร้อยละ 89.1) และมีปฏิภาณไหวพริบ (ร้อยละ 88.5) ตามลำดับ ส่วน
คุณสมบัติเด่นที่มีค่าร้อยละต่ำสุด 5 อันดับแรกได้แก่ ความอดทนอดกลั้น (ร้อยละ 43.6) ความซื่อสัตย์สุจริต (ร้อยละ 45.4) การรับฟังความคิด
เห็นของผู้อื่น (ร้อยละ 47.8) ความสุภาพ (ร้อยละ 49.3) และความเป็นประชาธิปไตย (ร้อยละ 51.6) ตามลำดับ
ขณะเดียวกันเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงคุณสมบัติเด่นของผู้นำฝ่ายค้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พบว่า คุณสมบัติเด่นที่มีค่าร้อยละ
ของประชาชนผู้ถูกศึกษาสูงสุด 5 อันดับแรกได้แก่ ความสุภาพ (ร้อยละ 89.7) ความสุขุมรอบคอบ (ร้อยละ 80.7) ความมีมนุษยสัมพันธ์ (ร้อย
ละ 80.6) มีวาทศิลป์ในการพูด และมีความเป็นประชาธิปไตยซึ่งมีค่าร้อยละเท่ากัน (ร้อยละ 78.2) ตามลำดับ ส่วนคุณสมบัติเด่นที่มีค่าร้อยละต่ำ
สุด 5 อันดับแรกได้แก่ การเป็นที่ยอมรับของนักลงทุนต่างชาติ (ร้อยละ 30.1) กล้าคิดกล้าตัดสินใจ (ร้อยละ 52.3) ประสบการณ์ในการทำงาน
(ร้อยละ 52.9) การเข้าถึงปัญหาของประชาชน (ร้อยละ 57.8) และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (ร้อยละ 58.9) ตามลำดับ
และเมื่อสอบถามถึงความเหมาะสมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสถานการณ์ปัญหาปัจจุบันของประเทศ ผลสำรวจพบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษา
ในการสำรวจครั้งนี้ระบุว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร มีความเหมาะสมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสถานการณ์ปัญหาปัจจุบันของประเทศ มากกว่า
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างร้อยละ 53.9 ระบุ ไม่ค่อยเชื่อมั่นและไม่เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยจะมั่นคงในปี 2549 นี้ ในขณะที่ร้อยละ 26.8
ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 10.3 เชื่อมั่น และร้อยละ 9.1 ไม่มีความเห็น
ขณะเดียวกันตัวอย่างร้อยละ 54.0 ไม่ค่อยเชื่อมั่นและไม่เชื่อมั่นว่าการเมืองไทยจะมั่นคงในปี 2549 นี้ ในขณะที่ร้อยละ 26.3 ค่อนข้าง
เชื่อมั่น ร้อยละ 11.5 เชื่อมั่น และร้อยละ 8.2 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวว่า จากการเปรียบเทียบจำนวนตัวอย่างประชาชนที่ระบุตัวบ่งชี้คุณสมบัติเด่น
ระหว่าง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พบว่า คุณสมบัติเด่นที่มีความห่างกันอย่างมากเลยทีเดียวคืออันดับแรกเรื่อง การเป็น
ที่ยอมรับของนักลงทุนต่างชาติ (พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ มีร้อยละ 92.5 นายอภิสิทธิ์มีร้อยละ 30.1) รองลงมาคือเรื่อง การกล้าคิดกล้าตัดสินใจ(พ.ต.ท.
ดร.ทักษิณ มีร้อยละ 91.7 นายอภิสิทธิ์ มีร้อยละ 52.3) และเรื่องประสบการณ์ในการทำงาน (พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ มีร้อยละ 89.1 นายอภิสิทธิ์ มีร้อย
ละ 52.9)
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า คุณสมบัติของพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่มีประชาชนที่ระบุว่ามีคุณสมบัติเด่นน้อยกว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คือ
อันดับแรก เรื่อง ความสุภาพ (นายอภิสิทธิ์ มีร้อยละ 89.7 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ มี ร้อยละ 49.3) รองลงมาคือเรื่อง ความอดทนอดกลั้น (นาย
อภิสิทธิ์ มีร้อยละ 73.7 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ มีร้อยละ 43.6) และเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต (นายอภิสิทธิ์ มีร้อยละ 74.4 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ มีร้อย
ละ 45.4)
“อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่าประชาชนที่ระบุว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เหมาะสมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสถานการณ์ปัญหา
ปัจจุบันของประเทศ (ร้อยละ 42.8) มีมากกว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ร้อยละ 28.1)” ดร.นพดล กล่าว
นอกจากนี้ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ขอตอบข้อสงสัยของ นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนัก
นายกรัฐมนตรี กรณีให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อมวลชนช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยระบุมี ข้อสงสัยอย่างน้อย 3 ประการคือ 1) สงสัยว่าโพลล์เอแบคทำให้
ประชาธิปัตย์ดูดีในการสำรวจเมื่อช่วงปลายเดือนธันวาคม 2) สงสัยที่โพลล์ประเมินผลงานกรุงเทพมหานครทำไมถามเรื่องความนิยมพรรคการเมือง
ด้วย และ 3) สงสัยที่ ผอ.เอแบคโพลล์ประเมินผลงาน กทม. แต่สรุปเป็นเรื่องการเมืองระดับชาติไปทั้งหมด
ซึ่ง ผอ.เอแบคโพลล์ ขอตอบข้อสงสัยข้อแรกว่า เอแบคโพลล์ไม่ต้องการทำโพลล์เพื่อให้พรรคการเมืองพรรคหนึ่งพรรคใดดูดี และไม่
เคยคิดทำงานเอาใจฝ่ายการเมือง ทุกกระบวนการสำรวจเป็นไปอย่างเคร่งครัดตามระเบียบวิธีวิจัย ซึ่งที่ผ่านมาเอแบคโพลล์เคยทำการประเมินผล
งานรัฐบาลและมีการถามเรื่องความนิยมต่อพรรคการเมืองกว่า 10 ครั้งในช่วงรัฐบาลของพรรคไทยรักไทยเป็นต้นมา และพบว่า พรรคไทยรักไทยได้
ความนิยมจากประชาชนเหนือพรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด ตามจริงเอแบคโพลล์น่าจะถูกตั้งข้อสงสัยว่า ทำไมเอแบคโพลล์ทำให้พรรคไทยรักไทยดูดี
จึงจะเหมาะสมกว่า
ผอ.เอแบคโพลล์ยังตอบข้อสงสัยประการที่สองของนายสุรนันทน์ ว่า การทำโพลล์ประเมินผลงานกรุงเทพมหานครและถามความนิยมต่อ
พรรคการเมืองในช่วงปลายเดือนธันวาคมปีที่แล้วนั้นเพราะว่า ต้องการศึกษาในลักษณะคล้ายๆ กับการประเมินผลงานรัฐบาลและถามความนิยมต่อพรรค
การเมืองแต่เน้นมาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานครที่มีผู้บริหารงานสูงสุดมาจากพรรคการเมือง และเห็นว่ากรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่การแข่งขันทำงานทาง
การเมืองของพรรคการเมืองใหญ่สองพรรคอย่างเข้มข้น คนกรุงเทพฯ ก็อยู่ใกล้ชิดกับแหล่งข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก ทีมวิจัยจึงมีความเห็นว่าน่าจะ
สามารถสอบถามเรื่องของความนิยมต่อพรรคการเมืองได้
และข้อสงสัยประการที่สามคือ การสรุปผลการประเมินการทำงานของกรุงเทพมหานครเป็นเรื่องการเมืองระดับชาติไปทั้งหมด ซึ่ง ดร.นพ
ดล ชี้แจงว่า การสรุปอยู่ในขอบเขตที่เป็นวงจำกัดในพื้นที่กรุงเทพมหานครเท่านั้นจะมีอยู่ส่วนหนึ่งที่กล่าวถึงจังหวัดเมืองใหญ่ แต่ในทางวิจัยไม่ได้เป็นการ
ยืนยันว่ากำลังกล่าวถึงการเมืองระดับชาติเพราะผลงานวิจัยประเมินผลกรุงเทพมหานครไม่สามารถเป็นตัวแทนประชาชนทั้งประเทศได้ จึงขอให้นายสุ
รนันทน์ ทบทวนข้อสรุปในผลวิจัยนั้นอย่างดีเสียก่อน
“อย่างไรก็ตาม ต้องขอขอบคุณท่านรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) ที่มีข้อสงสัยต่างๆ ตามจริงสำนัก
วิจัยเอแบคโพลล์ เป็นหน่วยงานหนึ่งของสถาบันการศึกษา ผมและคณะผู้วิจัยมีความพร้อมที่จะให้คำแนะนำปรึกษากับทุกฝ่ายทุกส่วนของสังคมในฐานะ
บริการด้านวิชาการที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศโดยส่วนรวม ดังนั้นหากท่านรัฐมนตรีสงสัยอะไรไม่ควรไปวิเคราะห์ตีความเอง
แต่สามารถติดต่อกับคณะผู้วิจัยได้โดยตรง ซึ่งผมและทีมงานขอยืนยันว่าจะให้คำแนะนำปรึกษาตามหลักวิชาด้านการวิจัยโดยไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในทาง
การเมืองอย่างเด็ดขาด หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของพวกเราในฐานะที่เป็นงานวิชาการ ก็ทำได้อย่างเต็มที่ พวกเรายินดีรับมา
ปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้คนทำงานด้านนี้ทำในสิ่งที่ถูกต้องตามหลักวิชาการต่อไปอย่างแท้จริง” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากตารางดังต่อไปนี้
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวต่างๆ ทางการเมือง ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวต่างๆ ทางการเมืองในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ติดตามประจำ 30.9
2 ติดตามบ้างบางครั้ง 61.2
3 ไม่ติดตาม / ติดตามน้อยมาก 7.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคุณสมบัติเด่นของ พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร
และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ผู้ตอบสามารถตอบเรื่องคุณสมบัติเด่นได้ทั้งสองคน)
คุณสมบัติเด่น พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
1. ความรู้ / ความสามารถ 97.4 73.3
2. การเป็นที่ยอมรับของนักลงทุนต่างชาติ 92.5 30.1
3. กล้าคิด กล้าตัดสินใจ 91.7 52.3
4. ประสบการณ์ในการทำงาน 89.1 52.9
5. ปฏิภาณ ไหวพริบ 88.5 67.2
6. มีวิสัยทัศน์ 87.1 66.1
7. ขยันหมั่นเพียร 82.8 73.8
8. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 81.2 58.9
9. ความรับผิดชอบ 74.2 72.4
10. วาทศิลป์ในการพูด 71.3 78.2
11. ความมีมนุษยสัมพันธ์ 71.0 80.6
12. การเข้าถึงปัญหาของประชาชน 67.5 57.8
13. ความฉลาดทางอารมณ์ 57.1 72.2
14. ความสุขุมรอบคอบ 54.6 80.7
15. ความเป็นประชาธิปไตย 51.6 78.2
16. ความสุภาพ 49.3 89.7
17. การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 47.8 73.3
18. ความซื่อสัตย์สุจริต 45.4 74.4
19. ความอดทนอดกลั้น 43.6 73.7
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่มีความเหมาะสมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสถานการณ์
ปัญหาปัจจุบันของประเทศ ระหว่าง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร กับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ลำดับที่ บุคคลที่มีความเหมาะสมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสถานการณ์ปัญหาปัจจุบันของประเทศ ค่าร้อยละ
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 42.8
2 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 28.1
3 ไม่มีความคิดเห็น 29.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2549
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2549 ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 10.3
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 26.8
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 43.4
4 ไม่เชื่อมั่น 10.5
5 ไม่มีความเห็น 9.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อความมั่นคงทางการเมืองไทยในปี 2549
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่อความมั่นคงทางการเมืองไทยในปี 2549 ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 11.5
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 26.3
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 39.4
4 ไม่เชื่อมั่น 14.6
5 ไม่มีความเห็น 8.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-