ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง ความดีความงามของ
เอกลักษณ์แห่งความเป็นไทยในสภาวะการเมืองปัจจุบัน: กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น
1,411 คน ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 7-9 กันยายน 2549
จากการสำรวจการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่าตัวอย่างประมาณครึ่งหนึ่ง คิดเป็นร้อยละ 72.3 ติดตามข่าว
การเมืองอย่างเข้มข้นคือ 3-4 วันต่อสัปดาห์ จนถึงทุกวัน/เกือบทุกวัน เมื่อสอบถามถึงอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนที่ถูกศึกษาต่อเรื่องการเมืองใน
ปัจจุบันพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.3 เห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.0 วิตกกังวลต่อ
เหตุการณ์ทางการเมือง ร้อยละ 44.3 เครียดเรื่องการเมือง ร้อยละ 12.7 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวในเรื่องการเมือง ร้อยละ 15.9 ขัดแย้งกับ
เพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง ร้อยละ 18.4 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง ซึ่งส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.5 เบื่อหน่ายเรื่องการเมือง แต่ส่วน
ใหญ่เช่นเดียวกันหรือร้อยละ 91.0 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายมาเจรจากันด้วยสันติวิธี
เมื่อทำการเปรียบเทียบผลสำรวจครั้งนี้กับผลสำรวจในช่วงเดือนเมษายน พบว่าอารมณ์ของสาธารณชนในเขตพื้นที่ที่ทำการศึกษาวิตกกังวล
ต่อเหตุการณ์ทางการเมืองเพิ่มสูงขึ้นมาเป็นอันดับแรก รองลงมาเป็นเรื่องความเครียดและเบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามในสภาวะการเมืองที่เข้มข้นร้อนแรงนี้ คณะผู้วิจัยได้ทำการสอบถามถึงลักษณะความเป็นไทยที่รู้สึกรัก
และอยากรักษาไว้ พบประเด็นสำคัญคือ ประชาชนที่ถูกศึกษาเกือบทั้งหมดหรือร้อยละ 100 ที่ระบุภาพลักษณ์ของความเป็นคนไทยในหมู่คณะที่รู้สึกรักและ
อยากรักษาไว้ ได้แก่ การไหว้สวัสดี (99.5%) ยิ้มแย้มแจ่มใส (99.4%) มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ (99.1%) ไมตรีจิต (98.9%) การเคารพผู้อาวุโส
มีสัมมาคารวะ (98.9%) ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน (98.8%) ความซื่อสัตย์ (98.7%) ความเมตตา (98.7%) ความกตัญญูกตเวที (98.7%) ความ
สามัคคี (98.7%) ความสุภาพอ่อนน้อม (98.3%) ความเสียสละ (97.9%) รักความสงบ (97.5%) เชื่อในบาปบุญคุณโทษ (97.2%) การมีอิสระ
เสรี (95.4%) และการรักสันโดษ (72.1%)
แต่เมื่อสอบถามว่าภาพลักษณ์ของความเป็นไทยที่กำลังจะสูญเสียไป ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.0 ระบุเป็นเรื่องความ
สามัคคี รองลงมาคือ ร้อยละ 62.5 ระบุเป็นเรื่องความซื่อสัตย์ ร้อยละ 60.9 เป็นเรื่องความเสียสละ ร้อยละ 57.8 ระบุเป็นเรื่องช่วยเหลือเกื้อกูล
กัน ร้อยละ 57.4 ระบุเป็นเรื่องการรักความสงบ ร้อยละ 57.3 เป็นเรื่องความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ร้อยละ 55.1 คิดว่าเป็นเรื่องไมตรีจิต ร้อย
ละ 52.4 คิดว่าเป็นเรื่องความเชื่อในบาปบุญคุณโทษ ร้อยละ 52.1 คิดว่าเป็นเรื่องความสุภาพอ่อนน้อม และร้อยละ 51.2 คิดว่าเป็นเรื่องความ
เมตตา ตามลำดับ
เมื่อสอบถามสิ่งที่พรรคการเมืองไทยควรทำเพื่อรักษาความเป็นไทยที่ดีๆ เอาไว้คู่กับสังคมไทยตลอดไปคืออะไร ร้อยละ 44.2 ระบุว่า
พรรคการเมืองควรส่งเสริมความสามัคคี ความรักใคร่ปรองดองของคนในชาติ เป็นอันดับแรก รองลงมาคือร้อยละ 37.6 ระบุควรส่งเสริมความซื่อ
สัตย์ อันดับที่สาม ร้อยละ 31.1 ระบุควรตั้งใจทำงานรับใช้ประชาชนไม่เห็นแก่พวกพ้องและประโยชน์ส่วนตัว อันดับที่สี่ ร้อยละ 10.5 ส่ง
เสริมความเสียสละ และอันดับที่ห้า ร้อยละ 8.8 ปลูกฝังให้คนยึดมั่นในคุณธรรมความดี พรหมวิหาร 4 ตามลำดับ
“อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าสิ่งที่ประชาชนกำลังเรียกร้องบรรดาพรรคการเมืองต่างๆ ในขณะนี้เป็นเพียงแค่ความฝัน เพราะเมื่อสอบถาม
ว่า พรรคการเมืองที่จริงใจต่อการสร้างเสริมรักษาความดีความงามของความเป็นไทยไว้คู่กับสังคมไทย ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 47.7 ระบุไม่มีพรรค
การเมืองใดจริงใจเลย รองลงมาคือร้อยละ 35.5 ระบุเป็นพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 18.0 ระบุเป็นพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 8.1 ระบุเป็นพรรค
ชาติไทย และร้อยละ 3.2 ระบุเป็นพรรคอื่นๆ เช่น มหาชน ประชาราช เป็นต้น” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า สังคมไทยควรคิดถึงแนวทางการแก้วิกฤตการเมือง เศรษฐกิจและสังคม แบบเรียบง่ายไม่ต้องยุ่งยากซับซ้อนเพียง
สองประการที่น่าจะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ของประเทศได้ คือ
ประการแรกเป็นมิติบุคคลนั่นคือ นายกรัฐมนตรี และกลุ่มเคลื่อนไหวในขณะนี้ทั้งหมดควรนำวิถีชีวิตของคนไทยในอดีตมาปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
เป็นเวลาไม่เกินสามเดือนสถานการณ์บ้านเมืองดีขึ้นแน่ นั่นคือเรื่อง ความสามัคคี ความรักใคร่ปรองดองกัน ความซื่อสัตย์ ความเสียสละ และการช่วย
เหลือเกื้อกูลกัน การรักความสงบ ความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความมีไมตรีจิต และความเชื่อในบาปบุญคุณโทษ
ประการที่สองเป็นมิติหลักปฏิบัติ คือ การนำหลักการใช้ชีวิตแบบพอเพียงมาใช้ โดยแต่ละคนรู้จักการยับยั้งชั่งใจ มีเหตุมีผล รู้จักคำ
ว่า “พอ” และการเดินตามสายกลาง
ซึ่งแนวทางสองประการทั้งมิติบุคคลและมิติหลักปฏิบัติเหล่านี้ บรรดาผู้นำสังคมไทยในอดีตเคยใช้เพื่อนำพาประเทศพ้นวิกฤตมาแล้ว ตัวอย่าง
เช่น นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ที่เป็นบรรพตุลาการยึดแนวทางการผสมผสานระหว่างวิถีชีวิตแบบไทยที่มีพื้นฐานอยู่บนหลักธรรมและกฎหมายได้อย่างลงตัว
สมบูรณ์ โดยมิได้เพียงแต่กอดตัวบทกฎหมายหรือ “กติกา” ของสังคมเพียงอย่างเดียวแตกต่างไปจาก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ และหลายฝ่ายขณะนี้ที่กล่าวอ้าง
มาตลอดว่าต้องยึดกติกา ซึ่งถ้ายึดกติกาเพียงอย่างเดียวสังคมไทยไปไม่รอดแน่เพราะ “กติกามีไว้เพื่อความผาสุขของคนไทยทุกคน ไม่ใช่ชะตาชีวิตของ
คนไทยทั้งประเทศมีไว้เพื่อตัวกติกา” นอกจากนี้ บุคคลตัวอย่างอีกท่านหนึ่งที่ยังคงมีบทบาทสำคัญในการคลี่คลายสถานการณ์ขณะนี้คือ พลเอกเปรม ติณสูลา
นนท์ ที่เคยปฏิเสธตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยกล่าวอย่างชัดเจนด้วยคำว่า “พอแล้ว”
“ดังนั้นบุคคลตัวอย่างอย่างน้อยสองท่านนี้ น่าจะเพียงพอที่คนไทยทุกคนผู้กำลังเคลื่อนไหวขณะนี้ควรนำมาใคร่ครวญอย่างมีสติและปฏิบัติจริง
จัง ซึ่งเชื่อว่าไม่เกินสามเดือน ประเทศไทยผ่านพ้นปัญหาต่างๆ ขณะนี้ไปได้อย่างแน่นอน ประชาชนทั่วทุกหย่อมหญ้าของประเทศคงหายใจทั่วท้องทานอิ่ม
หลับสบายและมีความสุขตลอดไป” ดร.นพดล กล่าว
รายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์ในการทำวิจัย
1. เพื่อสำรวจอารมณ์ ความรู้สึก และความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
2. เพื่อสำรวจผลกระทบของสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบันที่มีต่อค่านิยม และลักษณะของความเป็นไทย
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความดีความงามของเอกลักษณ์แห่งความเป็นไทยใน
สภาวะการเมืองปัจจุบัน: กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 7-9
กันยายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,411 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/-
ร้อยละ 5
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 50.3 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 49.7 ระบุเป็นชาย ตัวอย่าง
ร้อยละ 10.5 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 23.7 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 24.3 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 21.4 อายุระหว่าง 40-
49 ปี และร้อยละ 20.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 48.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า ร้อยละ 23.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยม
ศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 17.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญา
ตรี และร้อยละ 1.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 38.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 28.3 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป/เกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 13.3
ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 8.3 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 5.8 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 5.0 เป็น
นักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 1.3 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพใด ๆ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 50.3
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 22.0
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 18.4
4 ไม่ได้ติดตามเลย 9.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ อารมณ์ความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
ลำดับที่ อารมณ์ความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ เม.ย.ร้อยละ กันยายนร้อยละ ส่วนต่าง ร้อยละ
1 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 96.9 95.3 -1.6
2 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 46.1 74.0 +27.3
3 เครียดต่อเรื่องการเมือง 29.3 44.3 +15.0
4 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวในเรื่องการเมือง 8.4 12.7 +4.3
5 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง 16.2 15.9 -0.3
6 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง 17.2 18.4 +1.2
7 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 69.1 79.5 +10.4
8 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันด้วยสันติวิธี 91.4 91.0 -0.4
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ลักษณะของความเป็นไทยที่รู้สึกรักและอยากรักษาไว้
ลำดับที่ ลักษณะของความเป็นไทยที่รู้สึกรักและอยากรักษาไว้ รู้สึกรักและอยากรักษาไว้ ไม่รู้สึกรักและไม่อยากรักษาไว้ รวมทั้งสิ้น
1 การไหว้สวัสดี 99.5 0.5 100.0
2 ยิ้มแย้มแจ่มใส 99.4 0.6 100.0
3 มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 99.1 0.9 100.0
4 ไมตรีจิต 98.9 1.1 100.0
5 การเคารพผู้อาวุโส มีสัมมาคารวะ 98.9 1.1 100.0
6 ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน 98.8 1.2 100.0
7 ความซื่อสัตย์ 98.7 1.3 100.0
8 ความเมตตา 98.7 1.3 100.0
9 ความกตัญญูกตเวที 98.7 1.3 100.0
10 ความสามัคคี 98.7 1.3 100.0
11 สุภาพอ่อนน้อม 98.3 1.7 100.0
12 ความเสียสละ 97.9 2.1 100.0
13 รักสงบ 97.5 2.5 100.0
14 เชื่อในบาปบุญคุณโทษ 97.2 2.8 100.0
15 การมีอิสระเสรี 95.4 4.6 100.0
16 รักสันโดษ 72.1 27.9 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ลักษณะของความเป็นไทยที่รู้สึกว่ากำลังจะสูญเสีย
ลำดับที่ ลักษณะของความเป็นไทยที่รู้สึกว่ากำลังจะสูญเสีย คิดว่ากำลังสูญเสีย/กำลังจะสูญเสียไป คิดว่ายังไม่สูญเสียไป รวมทั้งสิ้น
1 ความสามัคคี 64.0 36.0 100.0
2 ความซื่อสัตย์ 62.5 37.5 100.0
3 ความเสียสละ 60.9 39.1 100.0
4 ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน 57.8 42.2 100.0
5 รักสงบ 57.4 42.6 100.0
6 มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 57.3 42.7 100.0
7 ไมตรีจิต 55.1 44.9 100.0
8 เชื่อในบาปบุญคุณโทษ 52.4 47.6 100.0
9 สุภาพอ่อนน้อม 52.1 47.9 100.0
10 ความเมตตา 51.2 48.8 100.0
11 การเคารพผู้อาวุโส มีสัมมาคารวะ 48.1 51.9 100.0
12 ความกตัญญูกตเวที 46.7 53.3 100.0
13 รักสันโดษ 44.1 55.9 100.0
14 ยิ้มแย้มแจ่มใส 43.3 56.7 100.0
15 การมีอิสระเสรี 38.6 61.4 100.0
16 การไหว้สวัสดี 37.4 62.6 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สิ่งที่พรรคการเมืองควรทำเพื่อรักษาความเป็นไทยที่ดีๆ เอาไว้คู่กับสังคมไทย
ตลอดไป (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่พรรคการเมืองควรทำเพื่อรักษาความเป็นไทยที่ดีๆเอาไว้คู่กับสังคมไทยตลอดไป ค่าร้อยละ
1 ส่งเสริมความสามัคคี/ความรักใคร่ปรองดองของคนในชาติ 44.2
2 ส่งเสริมความซื่อสัตย์ 37.6
3 ตั้งใจทำงาน รับใช้ประชาชนไม่เห็นแก่พวกพ้อง/ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว 31.1
4 ส่งเสริมความเสียสละ 10.5
5 ปลูกฝังให้คนยึดมั่นในคุณธรรมความดี/พรหมวิหาร4 8.8
6 อนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีไทย 7.5
7 ส่งเสริมการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน 4.3
8 ส่งเสริมความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 4.2
9 อื่นๆ อาทิ ส่งเสริมความรับผิดชอบ การไหว้สวัสดี ยิ้มแย้มแจ่มใส การแต่งกาย
การใช้ภาษาไทย การเคารพกฎหมาย รักษาประชาธิปไตย ปฏิรูปการศึกษา 14.6
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พรรคการเมืองที่จริงใจต่อการสร้างเสริมรักษาความเป็นไทยที่ดีๆ
เอาไว้คู่กับสังคมไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ พรรคการเมืองที่จริงใจต่อการสร้างเสริมรักษาความเป็นไทยที่ดีๆ เอาไว้คู่กับสังคมไทย ค่าร้อยละ
1 พรรคไทยรักไทย 35.5
2 พรรคประชาธิปัตย์ 18.0
3 พรรคชาติไทย 8.1
4 พรรคมหาชน 1.8
5 พรรคประชาราช 1.4
6 ไม่มีพรรคการเมืองใดจริงใจเลย 47.7
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
เอกลักษณ์แห่งความเป็นไทยในสภาวะการเมืองปัจจุบัน: กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น
1,411 คน ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 7-9 กันยายน 2549
จากการสำรวจการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่าตัวอย่างประมาณครึ่งหนึ่ง คิดเป็นร้อยละ 72.3 ติดตามข่าว
การเมืองอย่างเข้มข้นคือ 3-4 วันต่อสัปดาห์ จนถึงทุกวัน/เกือบทุกวัน เมื่อสอบถามถึงอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนที่ถูกศึกษาต่อเรื่องการเมืองใน
ปัจจุบันพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.3 เห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.0 วิตกกังวลต่อ
เหตุการณ์ทางการเมือง ร้อยละ 44.3 เครียดเรื่องการเมือง ร้อยละ 12.7 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวในเรื่องการเมือง ร้อยละ 15.9 ขัดแย้งกับ
เพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง ร้อยละ 18.4 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง ซึ่งส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.5 เบื่อหน่ายเรื่องการเมือง แต่ส่วน
ใหญ่เช่นเดียวกันหรือร้อยละ 91.0 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายมาเจรจากันด้วยสันติวิธี
เมื่อทำการเปรียบเทียบผลสำรวจครั้งนี้กับผลสำรวจในช่วงเดือนเมษายน พบว่าอารมณ์ของสาธารณชนในเขตพื้นที่ที่ทำการศึกษาวิตกกังวล
ต่อเหตุการณ์ทางการเมืองเพิ่มสูงขึ้นมาเป็นอันดับแรก รองลงมาเป็นเรื่องความเครียดและเบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามในสภาวะการเมืองที่เข้มข้นร้อนแรงนี้ คณะผู้วิจัยได้ทำการสอบถามถึงลักษณะความเป็นไทยที่รู้สึกรัก
และอยากรักษาไว้ พบประเด็นสำคัญคือ ประชาชนที่ถูกศึกษาเกือบทั้งหมดหรือร้อยละ 100 ที่ระบุภาพลักษณ์ของความเป็นคนไทยในหมู่คณะที่รู้สึกรักและ
อยากรักษาไว้ ได้แก่ การไหว้สวัสดี (99.5%) ยิ้มแย้มแจ่มใส (99.4%) มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ (99.1%) ไมตรีจิต (98.9%) การเคารพผู้อาวุโส
มีสัมมาคารวะ (98.9%) ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน (98.8%) ความซื่อสัตย์ (98.7%) ความเมตตา (98.7%) ความกตัญญูกตเวที (98.7%) ความ
สามัคคี (98.7%) ความสุภาพอ่อนน้อม (98.3%) ความเสียสละ (97.9%) รักความสงบ (97.5%) เชื่อในบาปบุญคุณโทษ (97.2%) การมีอิสระ
เสรี (95.4%) และการรักสันโดษ (72.1%)
แต่เมื่อสอบถามว่าภาพลักษณ์ของความเป็นไทยที่กำลังจะสูญเสียไป ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.0 ระบุเป็นเรื่องความ
สามัคคี รองลงมาคือ ร้อยละ 62.5 ระบุเป็นเรื่องความซื่อสัตย์ ร้อยละ 60.9 เป็นเรื่องความเสียสละ ร้อยละ 57.8 ระบุเป็นเรื่องช่วยเหลือเกื้อกูล
กัน ร้อยละ 57.4 ระบุเป็นเรื่องการรักความสงบ ร้อยละ 57.3 เป็นเรื่องความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ร้อยละ 55.1 คิดว่าเป็นเรื่องไมตรีจิต ร้อย
ละ 52.4 คิดว่าเป็นเรื่องความเชื่อในบาปบุญคุณโทษ ร้อยละ 52.1 คิดว่าเป็นเรื่องความสุภาพอ่อนน้อม และร้อยละ 51.2 คิดว่าเป็นเรื่องความ
เมตตา ตามลำดับ
เมื่อสอบถามสิ่งที่พรรคการเมืองไทยควรทำเพื่อรักษาความเป็นไทยที่ดีๆ เอาไว้คู่กับสังคมไทยตลอดไปคืออะไร ร้อยละ 44.2 ระบุว่า
พรรคการเมืองควรส่งเสริมความสามัคคี ความรักใคร่ปรองดองของคนในชาติ เป็นอันดับแรก รองลงมาคือร้อยละ 37.6 ระบุควรส่งเสริมความซื่อ
สัตย์ อันดับที่สาม ร้อยละ 31.1 ระบุควรตั้งใจทำงานรับใช้ประชาชนไม่เห็นแก่พวกพ้องและประโยชน์ส่วนตัว อันดับที่สี่ ร้อยละ 10.5 ส่ง
เสริมความเสียสละ และอันดับที่ห้า ร้อยละ 8.8 ปลูกฝังให้คนยึดมั่นในคุณธรรมความดี พรหมวิหาร 4 ตามลำดับ
“อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าสิ่งที่ประชาชนกำลังเรียกร้องบรรดาพรรคการเมืองต่างๆ ในขณะนี้เป็นเพียงแค่ความฝัน เพราะเมื่อสอบถาม
ว่า พรรคการเมืองที่จริงใจต่อการสร้างเสริมรักษาความดีความงามของความเป็นไทยไว้คู่กับสังคมไทย ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 47.7 ระบุไม่มีพรรค
การเมืองใดจริงใจเลย รองลงมาคือร้อยละ 35.5 ระบุเป็นพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 18.0 ระบุเป็นพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 8.1 ระบุเป็นพรรค
ชาติไทย และร้อยละ 3.2 ระบุเป็นพรรคอื่นๆ เช่น มหาชน ประชาราช เป็นต้น” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า สังคมไทยควรคิดถึงแนวทางการแก้วิกฤตการเมือง เศรษฐกิจและสังคม แบบเรียบง่ายไม่ต้องยุ่งยากซับซ้อนเพียง
สองประการที่น่าจะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ของประเทศได้ คือ
ประการแรกเป็นมิติบุคคลนั่นคือ นายกรัฐมนตรี และกลุ่มเคลื่อนไหวในขณะนี้ทั้งหมดควรนำวิถีชีวิตของคนไทยในอดีตมาปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
เป็นเวลาไม่เกินสามเดือนสถานการณ์บ้านเมืองดีขึ้นแน่ นั่นคือเรื่อง ความสามัคคี ความรักใคร่ปรองดองกัน ความซื่อสัตย์ ความเสียสละ และการช่วย
เหลือเกื้อกูลกัน การรักความสงบ ความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความมีไมตรีจิต และความเชื่อในบาปบุญคุณโทษ
ประการที่สองเป็นมิติหลักปฏิบัติ คือ การนำหลักการใช้ชีวิตแบบพอเพียงมาใช้ โดยแต่ละคนรู้จักการยับยั้งชั่งใจ มีเหตุมีผล รู้จักคำ
ว่า “พอ” และการเดินตามสายกลาง
ซึ่งแนวทางสองประการทั้งมิติบุคคลและมิติหลักปฏิบัติเหล่านี้ บรรดาผู้นำสังคมไทยในอดีตเคยใช้เพื่อนำพาประเทศพ้นวิกฤตมาแล้ว ตัวอย่าง
เช่น นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ที่เป็นบรรพตุลาการยึดแนวทางการผสมผสานระหว่างวิถีชีวิตแบบไทยที่มีพื้นฐานอยู่บนหลักธรรมและกฎหมายได้อย่างลงตัว
สมบูรณ์ โดยมิได้เพียงแต่กอดตัวบทกฎหมายหรือ “กติกา” ของสังคมเพียงอย่างเดียวแตกต่างไปจาก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ และหลายฝ่ายขณะนี้ที่กล่าวอ้าง
มาตลอดว่าต้องยึดกติกา ซึ่งถ้ายึดกติกาเพียงอย่างเดียวสังคมไทยไปไม่รอดแน่เพราะ “กติกามีไว้เพื่อความผาสุขของคนไทยทุกคน ไม่ใช่ชะตาชีวิตของ
คนไทยทั้งประเทศมีไว้เพื่อตัวกติกา” นอกจากนี้ บุคคลตัวอย่างอีกท่านหนึ่งที่ยังคงมีบทบาทสำคัญในการคลี่คลายสถานการณ์ขณะนี้คือ พลเอกเปรม ติณสูลา
นนท์ ที่เคยปฏิเสธตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยกล่าวอย่างชัดเจนด้วยคำว่า “พอแล้ว”
“ดังนั้นบุคคลตัวอย่างอย่างน้อยสองท่านนี้ น่าจะเพียงพอที่คนไทยทุกคนผู้กำลังเคลื่อนไหวขณะนี้ควรนำมาใคร่ครวญอย่างมีสติและปฏิบัติจริง
จัง ซึ่งเชื่อว่าไม่เกินสามเดือน ประเทศไทยผ่านพ้นปัญหาต่างๆ ขณะนี้ไปได้อย่างแน่นอน ประชาชนทั่วทุกหย่อมหญ้าของประเทศคงหายใจทั่วท้องทานอิ่ม
หลับสบายและมีความสุขตลอดไป” ดร.นพดล กล่าว
รายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์ในการทำวิจัย
1. เพื่อสำรวจอารมณ์ ความรู้สึก และความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
2. เพื่อสำรวจผลกระทบของสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบันที่มีต่อค่านิยม และลักษณะของความเป็นไทย
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความดีความงามของเอกลักษณ์แห่งความเป็นไทยใน
สภาวะการเมืองปัจจุบัน: กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 7-9
กันยายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,411 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/-
ร้อยละ 5
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 50.3 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 49.7 ระบุเป็นชาย ตัวอย่าง
ร้อยละ 10.5 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 23.7 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 24.3 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 21.4 อายุระหว่าง 40-
49 ปี และร้อยละ 20.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 48.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า ร้อยละ 23.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยม
ศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 17.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญา
ตรี และร้อยละ 1.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 38.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 28.3 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป/เกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 13.3
ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 8.3 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 5.8 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 5.0 เป็น
นักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 1.3 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพใด ๆ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 50.3
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 22.0
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 18.4
4 ไม่ได้ติดตามเลย 9.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ อารมณ์ความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
ลำดับที่ อารมณ์ความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ เม.ย.ร้อยละ กันยายนร้อยละ ส่วนต่าง ร้อยละ
1 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 96.9 95.3 -1.6
2 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 46.1 74.0 +27.3
3 เครียดต่อเรื่องการเมือง 29.3 44.3 +15.0
4 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวในเรื่องการเมือง 8.4 12.7 +4.3
5 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง 16.2 15.9 -0.3
6 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง 17.2 18.4 +1.2
7 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 69.1 79.5 +10.4
8 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันด้วยสันติวิธี 91.4 91.0 -0.4
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ลักษณะของความเป็นไทยที่รู้สึกรักและอยากรักษาไว้
ลำดับที่ ลักษณะของความเป็นไทยที่รู้สึกรักและอยากรักษาไว้ รู้สึกรักและอยากรักษาไว้ ไม่รู้สึกรักและไม่อยากรักษาไว้ รวมทั้งสิ้น
1 การไหว้สวัสดี 99.5 0.5 100.0
2 ยิ้มแย้มแจ่มใส 99.4 0.6 100.0
3 มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 99.1 0.9 100.0
4 ไมตรีจิต 98.9 1.1 100.0
5 การเคารพผู้อาวุโส มีสัมมาคารวะ 98.9 1.1 100.0
6 ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน 98.8 1.2 100.0
7 ความซื่อสัตย์ 98.7 1.3 100.0
8 ความเมตตา 98.7 1.3 100.0
9 ความกตัญญูกตเวที 98.7 1.3 100.0
10 ความสามัคคี 98.7 1.3 100.0
11 สุภาพอ่อนน้อม 98.3 1.7 100.0
12 ความเสียสละ 97.9 2.1 100.0
13 รักสงบ 97.5 2.5 100.0
14 เชื่อในบาปบุญคุณโทษ 97.2 2.8 100.0
15 การมีอิสระเสรี 95.4 4.6 100.0
16 รักสันโดษ 72.1 27.9 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ลักษณะของความเป็นไทยที่รู้สึกว่ากำลังจะสูญเสีย
ลำดับที่ ลักษณะของความเป็นไทยที่รู้สึกว่ากำลังจะสูญเสีย คิดว่ากำลังสูญเสีย/กำลังจะสูญเสียไป คิดว่ายังไม่สูญเสียไป รวมทั้งสิ้น
1 ความสามัคคี 64.0 36.0 100.0
2 ความซื่อสัตย์ 62.5 37.5 100.0
3 ความเสียสละ 60.9 39.1 100.0
4 ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน 57.8 42.2 100.0
5 รักสงบ 57.4 42.6 100.0
6 มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 57.3 42.7 100.0
7 ไมตรีจิต 55.1 44.9 100.0
8 เชื่อในบาปบุญคุณโทษ 52.4 47.6 100.0
9 สุภาพอ่อนน้อม 52.1 47.9 100.0
10 ความเมตตา 51.2 48.8 100.0
11 การเคารพผู้อาวุโส มีสัมมาคารวะ 48.1 51.9 100.0
12 ความกตัญญูกตเวที 46.7 53.3 100.0
13 รักสันโดษ 44.1 55.9 100.0
14 ยิ้มแย้มแจ่มใส 43.3 56.7 100.0
15 การมีอิสระเสรี 38.6 61.4 100.0
16 การไหว้สวัสดี 37.4 62.6 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สิ่งที่พรรคการเมืองควรทำเพื่อรักษาความเป็นไทยที่ดีๆ เอาไว้คู่กับสังคมไทย
ตลอดไป (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่พรรคการเมืองควรทำเพื่อรักษาความเป็นไทยที่ดีๆเอาไว้คู่กับสังคมไทยตลอดไป ค่าร้อยละ
1 ส่งเสริมความสามัคคี/ความรักใคร่ปรองดองของคนในชาติ 44.2
2 ส่งเสริมความซื่อสัตย์ 37.6
3 ตั้งใจทำงาน รับใช้ประชาชนไม่เห็นแก่พวกพ้อง/ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว 31.1
4 ส่งเสริมความเสียสละ 10.5
5 ปลูกฝังให้คนยึดมั่นในคุณธรรมความดี/พรหมวิหาร4 8.8
6 อนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีไทย 7.5
7 ส่งเสริมการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน 4.3
8 ส่งเสริมความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 4.2
9 อื่นๆ อาทิ ส่งเสริมความรับผิดชอบ การไหว้สวัสดี ยิ้มแย้มแจ่มใส การแต่งกาย
การใช้ภาษาไทย การเคารพกฎหมาย รักษาประชาธิปไตย ปฏิรูปการศึกษา 14.6
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พรรคการเมืองที่จริงใจต่อการสร้างเสริมรักษาความเป็นไทยที่ดีๆ
เอาไว้คู่กับสังคมไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ พรรคการเมืองที่จริงใจต่อการสร้างเสริมรักษาความเป็นไทยที่ดีๆ เอาไว้คู่กับสังคมไทย ค่าร้อยละ
1 พรรคไทยรักไทย 35.5
2 พรรคประชาธิปัตย์ 18.0
3 พรรคชาติไทย 8.1
4 พรรคมหาชน 1.8
5 พรรคประชาราช 1.4
6 ไม่มีพรรคการเมืองใดจริงใจเลย 47.7
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-