แท็ก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
พลังงานแสงอาทิตย์
วิกฤตพลังงาน
แก๊สโซฮอล์
พระราชดำริ
โพลล์ชี้พสกนิกรปลื้มปิติแก้วิกฤตพลังงานตามแนวทางพระราชดำริ ร้อยละ 52.8 ปลื้มปิติประทับใจการพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ ร้อยละ
52.0 ปลื้มโรงกลั่นเชื้อเพลิงแก๊สโซฮอล์ และร้อยละ 35.5 ปลื้มการพัฒนาพลังลมเพื่อการเกษตร ราชบัณฑิตจับมือทุกภาคส่วนของสังคมร่วมผลักดัน
โครงการแก้วิกฤตพลังงานตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนคนไทยทั้งประเทศ
ศ.ดร.กำจร มนุญปิจุ ราชบัณฑิต ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และสมาชิก
เครือข่ายสำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน เปิดเผยว่า สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ทำสำรวจการรับรู้และความประทับใจของ
ประชาชนคนไทยต่อโครงการต่างๆ ตามแนวทางพระราชดำริเพื่อแก้วิกฤตพลังงานของประเทศ โดยสำรวจประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและต่าง
จังหวัดทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล จำนวนทั้งสิ้น 2,794 ตัวอย่าง ระหว่งวันที่ 13 — 25 พฤษภาคมที่ผ่านมา
ดร.นพดล กล่าวว่า จากการสำรวจการรับรู้ของประชาชนต่อโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจำนวน 8 โครงการ โดยภาพรวม
คือ ด้านสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา ด้านการพัฒนาการเกษตร ด้านวิศวกรรม ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ด้านอุตสาหกรรม ด้านธรณีวิทยา ด้านพลังงาน
และด้านโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ ซึ่งในด้านพลังงานนั้น ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.6 รับรู้โครงการพัฒนาพลังงาน
ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ รองลงมาคือร้อยละ 71.1 รับรู้โครงการโรงกลั่นเชื้อเพลิงแก๊สโซฮอล์ ร้อยละ 63.2 รับรู้การพัฒนาพลังลมเพื่อการเกษตร ร้อย
ละ 54.3 รับรู้การพัฒนาพลังงานแก๊สชีวภาพ และร้อยละ 41.6 รับรู้การพัฒนาเชื้อเพลิงสีเขียว เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างถึงความปลื้มปิติประทับใจต่อ
โครงการต่างๆ อันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านพลังงาน ผลสำรวจพบว่าความประทับใจของประชาชนใน 3 อันดับแรกได้แก่ ร้อยละ 52.8 ปลื้มปิ
ติประทับใจการพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ ร้อยละ 52.0 ปลื้มปิติประทับใจโรงกลั่นเชื้อเพลิงแก๊สโซฮอล์ และร้อยละ 35.5 ปลื้มปิติประทับใจการพัฒนา
พลังลมเพื่อการเกษตร
ศ.ดร.กำจร กล่าวว่า ถึงแม้ว่าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาด้านพลังงานจะได้รับการรับรู้จากประชาชนที่ถูก
สำรวจน้อยกว่าหลายโครงการ แต่เมื่อประเทศไทยกำลังประสบปัญหาด้านพลังงานค่อนข้างรุนแรงจนกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจระดับครัวเรือนของ
ประชาชน จึงควรที่จะหาทางร่วมมือกันในหมู่สมาชิกสมาคมต่างๆ ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนักวิชาการทั่วไปที่กำลังทำวิจัยหรือมีแนวคิดประดิษฐ์
เทคโนโลยีใหม่ในการหาพลังงานทางเลือกเช่น แสงอาทิตย์ แก๊สชีวภาพ ลม และน้ำ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
ศ.ดร.กำจร กล่าวต่อว่า ความเป็นไปได้ในการทำให้โครงการต่างๆ อันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระองค์ท่านจะสำเร็จลุล่วงไปได้
เป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศก็ขึ้นอยู่กับประชาชนทุกหมู่เหล่าและรัฐบาลที่จะมีนโยบายสาธารณะผลักดันให้เกิดความสำเร็จอย่างทั่วถึง
ถ้าทำได้ตามโครงการต่างๆ ตามแนวพระราชดำริก็น่าจะทำให้ประเทศไทยพ้นวิกฤตพลังงานและประชาชนคนไทยส่วนใหญ่น่าจะมีความมั่นคงทาง
เศรษฐกิจอย่างยั่งยืนต่อไปได้ไม่ยากนัก
สำหรับงานสัมมนาระดมความคิดเห็นและความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคมฝ่าวิกฤตพลังงานนี้ จะมีขึ้นในวันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม
2549 เวลา 09.00 — 16.00 น. ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยหวังว่าจะมีผู้เข้าร่วมประชุมจากสมาชิกสมาคมต่างๆ ด้านวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี นักวิชาการ สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไปประมาณ 100 — 150 คน
รายละเอียดผลการสำรวจ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับโครงการอันเนื่อง
มาจากพระราชดำริด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขวิกฤตพลังงาน :
กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี และ สงขลา” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 13 -
25 พฤษภาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,794 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 การรับรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในด้านต่างๆ โดยภาพรวม (เรียงลำดับจากมากไปน้อย)
ลำดับที่ การรับรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในด้านต่างๆ โดยภาพรวม ค่าร้อยละ
1 โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา 71.6
2 โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาการเกษตร 67.3
3 โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาด้านวิศวกรรม 62.7
4 โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์สุขภาพ 62.0
5 โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรม 58.3
6 โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาธรณีวิทยา 57.4
7 โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาด้านพลังงาน 56.6
8 โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ 47.1
ตารางที่ 2 การรับทราบเกี่ยวกับวิกฤตพลังงานที่เกิดขึ้นภายในประเทศ
ลำดับที่ การรับทราบเกี่ยวกับวิกฤตพลังงานที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ค่าร้อยละ
1 เคยทราบ 84.5
2 ไม่เคยทราบ 15.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 ความคิดเห็นต่อระดับภาวะวิกฤตพลังงานในประเทศไทย
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อระดับภาวะวิกฤตพลังงานในประเทศไทย ค่าร้อยละ
1 วิกฤตมากที่สุด 17.8
2 วิกฤตมาก 44.2
3 วิกฤตปานกลาง 32.6
4 วิกฤตน้อย 3.1
5 ยังไม่วิกฤต 2.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 ประเภทของพลังงานในประเทศไทยที่คิดว่ากำลังจะตกอยู่ในภาวะวิกฤต (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทของพลังงานที่คิดว่ากำลังจะตกอยู่ในภาวะวิกฤต ค่าร้อยละ
1 น้ำมัน 94.6
2 ไฟฟ้า 49.4
3 น้ำ 29.4
4 แก๊สธรรมชาติ 24.6
5 ถ่านหิน 6.9
6 แสงอาทิตย์ 2.0
7 ไม่มีพลังงานใดอยู่ในภาวะวิกฤต 2.2
ตารางที่ 5 ผลกระทบที่ได้รับจากวิกฤตพลังงาน
ลำดับที่ ผลกระทบที่ได้รับจากวิกฤตพลังงาน ค่าร้อยละ
1 ราคาน้ำมันสูงขึ้น / ผู้ประกอบการน้ำมันต้องปิดตัว 49.9
2 ราคาสินค้าสูงขึ้น / สินค้าอุปโภค บริโภค ราคาสูงขึ้น 31.8
3 ค่าครองชีพสูงขึ้น / ค่าใช้จ่ายทุกอย่างเพิ่มขึ้น 20.6
4 ไฟฟ้าขึ้นราคา 14.4
5 รายได้น้อยลง แต่ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น / เงินออมลดลง 8.5
6 การขึ้นราคาค่าโดยสาร ค่าขนส่ง 5.9
7 ขาดแคลนพลังงาน เช่น น้ำ น้ำมัน ไฟฟ้า แร่ธรรมชาติถ่านหิน ฯลฯ 5.8
8 มลภาวะเป็นพิษทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย / อากาศ และ น้ำเป็นพิษ 5.0
9 การค้าและเศรษฐกิจไม่ดี ขาดความมั่นคง / เสียดุลการค้ากับต่างประเทศ 4.1
10 ราคาน้ำตาลสูงขึ้น 3.0
11 แก๊สหุงต้มราคาสูงขึ้น 2.9
12 ขาดแคลนน้ำทำการเกษตรลำบาก 2.2
13 ขายของได้ยากขึ้น 1.8
14 ความเป็นอยู่แย่ลง 1.1
15 อื่นๆ อาทิเช่น เกิดปัญหาอาชญากรรม เกิดความเครียด มีความเห็นแก่ตัวมากขึ้น
จ่ายเงินเยอะขึ้น แต่ซื้อสินค้าได้น้อยลง ขาดแคลนสินค้าบางประเภท ต้องทำงานหนักขึ้น
สินค้าราคาผันผวน เป็นต้น 5.6
ตารางที่ 6 ความเชื่อมั่นต่อการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาวิกฤตพลังงาน
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าแก้ไขได้ 66.4
2 ไม่เชื่อว่าแก้ไขได้ 11.4
3 ไม่มีความเห็น 22.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 ข้อเสนอแนะในการแก้ไขวิกฤตพลังงานโดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะในการแก้ไขวิกฤตพลังงาน ค่าร้อยละ
1 รณรงค์ให้ประชาชนใช้พลังงานอย่างประหยัด 71.5
2 คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการประหยัดพลังงาน 69.3
3 ใช้เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ น้ำ ลม ความร้อน 58.5
4 ค้นคว้าเพื่อสร้างพลังงานใหม่ที่ดีกว่าจากทรัพยากรที่มีอยู่ 43.8
5 ใช้เทคโนโลยีเพื่อแสวงหาแหล่งพลังงานใหม่ๆ 42.8
6 ประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวันเพื่อประหยัดพลังงาน 42.3
7 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง 40.5
8 ใช้เทคโนโลยีพลังงานชีวภาพ 39.1
9 ใช้เทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์ 17.1
ตารางที่ 8 การรับรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาด้านพลังงาน
ลำดับที่ รายละเอียดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาด้านพลังงาน การรับรู้
รับรู้ ไม่รับรู้ ไม่แน่ใจ
1 การพัฒนาพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ (การศึกษาค้นคว้าและการนำเอาพลังงาน
แสงอาทิตย์และพลังลมมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า) 75.6 13.9 10.5
2 โรงกลั่นเชื้อเพลิงทำแก๊สโซฮอล์ (การศึกษาค้นคว้าและผลิตเชื้อเพลิงแก๊สโซฮอล์จากอ้อย) 71.1 16.8 12.1
3 การพัฒนาพลังลมเพื่อการเกษตร (การนำเอาพลังลมไปใช้ประโยชน์ในงานของโครงการ
ตามแนวพระราชดำริ เช่น การใช้กังหันลมสูบน้ำขึ้นพื้นที่ทำการเกษตร) 63.2 21.2 15.6
4 การพัฒนาพลังงานแก๊สชีวภาพ (การทดลองและผลิตแก๊สชีวภาพจากมูลโค เพื่อทดแทน
เชื้อเพลิงประเภทถ่าน ไม้ฟืน และเชื้อเพลิงอื่นๆ) 54.3 26.6 19.1
5 การพัฒนาเชื้อเพลิงสีเขียว (การนำวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรมาพัฒนาและผลิต
เป็นแท่งเชื้อเพลิง เพื่อลดการตัดไม้ทำลายป่า และช่วยลดการขาดแคลนพลังงานในรูปแบบอื่น) 41.6 36.0 22.4
6 การพัฒนาระบบแก๊สชีวภาพขนาดใหญ่ (การค้นคว้าเพื่อพัฒนาระบบแก๊สชีวภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น) 33.7 39.1 27.2
ตารางที่ 9 โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาด้านพลังงานที่ปลื้มปิติประทับใจมากที่สุด
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาด้านพลังงานที่ปลื้มปิติประทับใจมากที่สุด ค่าร้อยละ
1 การพัฒนาพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ 52.8
2 โรงกลั่นเชื้อเพลิงทำแก๊สโซฮอล์ 52.0
3 การพัฒนาพลังลมเพื่อการเกษตร 35.5
4 การพัฒนาพลังงานแก๊สชีวภาพ 29.3
5 การพัฒนาเชื้อเพลิงสีเขียว 19.1
6 การพัฒนาระบบแก๊สชีวภาพขนาดใหญ่ 7.2
ตารางที่ 10 เหตุผลที่ปลื้มปิติประทับใจกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาด้านพลังงาน
ลำดับที่ เหตุผลที่ปลื้มปิติประทับใจกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาด้านพลังงาน ค่าร้อยละ
1 ประหยัดพลังงาน สร้างพลังงานทดแทน / มีประโยชน์เป็นผลิตภัณฑ์ทดแทนพลังงาน /
ประหยัดค่าใช้จ่าย / ช่วยให้ใช้พลังงานจากวัตถุดิบน้อยลง 60.2
2 ใช้ทดแทนน้ำมันได้ / ไม่ต้องพึ่งพาน้ำมันอย่างเดียว / ทำให้น้ำมันราคาถูก 16.8
3 นำพลังงานจากธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ 13.1
4 ลดการทำลายป่าไม้ / จะได้ลดการตัดต้นไม้เพื่อนำมาทำเชื้อเพลิง 9.5
5 ลดต้นทุนการสั่งซื้อและการนำเข้าจากต่างประเทศ ประเทศพึ่งพาตนเองได้ 9.1
6 เป็นโครงการที่ดี จึงรู้สึกประทับใจ 8.1
7 เป็นการกำจัดขยะที่ไม่ต้องการ ให้มีประโยชน์ 5.9
8 เน้นสิ่งจำเป็น / ทันสมัย / มีประโยชน์ / น่าสนใจ 5.7
9 ทำให้ประชาชนที่อยู่ไกลได้ใช้ไฟฟ้า 4.9
10 เพื่อพัฒนาทางการเกษตร 3.5
11 ลดการทำลายสิ่งแวดล้อม / แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม / ทำให้อากาศไม่เป็นพิษ 3.2
12 เพราะพลังงานแสงอาทิตย์ไม่มีหมด 3.2
13 ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 2.8
14 เกษตรกรสามารถผลิตเองได้ / ไม่ต้องลงทุนมาก 2.7
15 อื่นๆ อาทิเช่น พัฒนาจากมูลสัตว์มาเป็นแก๊สชีวภาพ ลดการขาดแคลนพลังงาน พัฒนาพลังงานได้
พัฒนาความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน ทำให้ประชาชนมีความรู้ดีขึ้น ใช้พลังงานธรรมชาติให้เกิดประโยชน์
สะดวกรวดเร็ว เป็นต้น 16.7
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
52.0 ปลื้มโรงกลั่นเชื้อเพลิงแก๊สโซฮอล์ และร้อยละ 35.5 ปลื้มการพัฒนาพลังลมเพื่อการเกษตร ราชบัณฑิตจับมือทุกภาคส่วนของสังคมร่วมผลักดัน
โครงการแก้วิกฤตพลังงานตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนคนไทยทั้งประเทศ
ศ.ดร.กำจร มนุญปิจุ ราชบัณฑิต ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และสมาชิก
เครือข่ายสำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน เปิดเผยว่า สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ทำสำรวจการรับรู้และความประทับใจของ
ประชาชนคนไทยต่อโครงการต่างๆ ตามแนวทางพระราชดำริเพื่อแก้วิกฤตพลังงานของประเทศ โดยสำรวจประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและต่าง
จังหวัดทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล จำนวนทั้งสิ้น 2,794 ตัวอย่าง ระหว่งวันที่ 13 — 25 พฤษภาคมที่ผ่านมา
ดร.นพดล กล่าวว่า จากการสำรวจการรับรู้ของประชาชนต่อโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจำนวน 8 โครงการ โดยภาพรวม
คือ ด้านสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา ด้านการพัฒนาการเกษตร ด้านวิศวกรรม ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ด้านอุตสาหกรรม ด้านธรณีวิทยา ด้านพลังงาน
และด้านโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ ซึ่งในด้านพลังงานนั้น ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.6 รับรู้โครงการพัฒนาพลังงาน
ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ รองลงมาคือร้อยละ 71.1 รับรู้โครงการโรงกลั่นเชื้อเพลิงแก๊สโซฮอล์ ร้อยละ 63.2 รับรู้การพัฒนาพลังลมเพื่อการเกษตร ร้อย
ละ 54.3 รับรู้การพัฒนาพลังงานแก๊สชีวภาพ และร้อยละ 41.6 รับรู้การพัฒนาเชื้อเพลิงสีเขียว เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างถึงความปลื้มปิติประทับใจต่อ
โครงการต่างๆ อันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านพลังงาน ผลสำรวจพบว่าความประทับใจของประชาชนใน 3 อันดับแรกได้แก่ ร้อยละ 52.8 ปลื้มปิ
ติประทับใจการพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ ร้อยละ 52.0 ปลื้มปิติประทับใจโรงกลั่นเชื้อเพลิงแก๊สโซฮอล์ และร้อยละ 35.5 ปลื้มปิติประทับใจการพัฒนา
พลังลมเพื่อการเกษตร
ศ.ดร.กำจร กล่าวว่า ถึงแม้ว่าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาด้านพลังงานจะได้รับการรับรู้จากประชาชนที่ถูก
สำรวจน้อยกว่าหลายโครงการ แต่เมื่อประเทศไทยกำลังประสบปัญหาด้านพลังงานค่อนข้างรุนแรงจนกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจระดับครัวเรือนของ
ประชาชน จึงควรที่จะหาทางร่วมมือกันในหมู่สมาชิกสมาคมต่างๆ ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนักวิชาการทั่วไปที่กำลังทำวิจัยหรือมีแนวคิดประดิษฐ์
เทคโนโลยีใหม่ในการหาพลังงานทางเลือกเช่น แสงอาทิตย์ แก๊สชีวภาพ ลม และน้ำ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
ศ.ดร.กำจร กล่าวต่อว่า ความเป็นไปได้ในการทำให้โครงการต่างๆ อันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระองค์ท่านจะสำเร็จลุล่วงไปได้
เป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศก็ขึ้นอยู่กับประชาชนทุกหมู่เหล่าและรัฐบาลที่จะมีนโยบายสาธารณะผลักดันให้เกิดความสำเร็จอย่างทั่วถึง
ถ้าทำได้ตามโครงการต่างๆ ตามแนวพระราชดำริก็น่าจะทำให้ประเทศไทยพ้นวิกฤตพลังงานและประชาชนคนไทยส่วนใหญ่น่าจะมีความมั่นคงทาง
เศรษฐกิจอย่างยั่งยืนต่อไปได้ไม่ยากนัก
สำหรับงานสัมมนาระดมความคิดเห็นและความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคมฝ่าวิกฤตพลังงานนี้ จะมีขึ้นในวันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม
2549 เวลา 09.00 — 16.00 น. ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยหวังว่าจะมีผู้เข้าร่วมประชุมจากสมาชิกสมาคมต่างๆ ด้านวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี นักวิชาการ สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไปประมาณ 100 — 150 คน
รายละเอียดผลการสำรวจ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับโครงการอันเนื่อง
มาจากพระราชดำริด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขวิกฤตพลังงาน :
กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี และ สงขลา” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 13 -
25 พฤษภาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,794 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 การรับรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในด้านต่างๆ โดยภาพรวม (เรียงลำดับจากมากไปน้อย)
ลำดับที่ การรับรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในด้านต่างๆ โดยภาพรวม ค่าร้อยละ
1 โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา 71.6
2 โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาการเกษตร 67.3
3 โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาด้านวิศวกรรม 62.7
4 โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์สุขภาพ 62.0
5 โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรม 58.3
6 โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาธรณีวิทยา 57.4
7 โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาด้านพลังงาน 56.6
8 โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ 47.1
ตารางที่ 2 การรับทราบเกี่ยวกับวิกฤตพลังงานที่เกิดขึ้นภายในประเทศ
ลำดับที่ การรับทราบเกี่ยวกับวิกฤตพลังงานที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ค่าร้อยละ
1 เคยทราบ 84.5
2 ไม่เคยทราบ 15.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 ความคิดเห็นต่อระดับภาวะวิกฤตพลังงานในประเทศไทย
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อระดับภาวะวิกฤตพลังงานในประเทศไทย ค่าร้อยละ
1 วิกฤตมากที่สุด 17.8
2 วิกฤตมาก 44.2
3 วิกฤตปานกลาง 32.6
4 วิกฤตน้อย 3.1
5 ยังไม่วิกฤต 2.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 ประเภทของพลังงานในประเทศไทยที่คิดว่ากำลังจะตกอยู่ในภาวะวิกฤต (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทของพลังงานที่คิดว่ากำลังจะตกอยู่ในภาวะวิกฤต ค่าร้อยละ
1 น้ำมัน 94.6
2 ไฟฟ้า 49.4
3 น้ำ 29.4
4 แก๊สธรรมชาติ 24.6
5 ถ่านหิน 6.9
6 แสงอาทิตย์ 2.0
7 ไม่มีพลังงานใดอยู่ในภาวะวิกฤต 2.2
ตารางที่ 5 ผลกระทบที่ได้รับจากวิกฤตพลังงาน
ลำดับที่ ผลกระทบที่ได้รับจากวิกฤตพลังงาน ค่าร้อยละ
1 ราคาน้ำมันสูงขึ้น / ผู้ประกอบการน้ำมันต้องปิดตัว 49.9
2 ราคาสินค้าสูงขึ้น / สินค้าอุปโภค บริโภค ราคาสูงขึ้น 31.8
3 ค่าครองชีพสูงขึ้น / ค่าใช้จ่ายทุกอย่างเพิ่มขึ้น 20.6
4 ไฟฟ้าขึ้นราคา 14.4
5 รายได้น้อยลง แต่ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น / เงินออมลดลง 8.5
6 การขึ้นราคาค่าโดยสาร ค่าขนส่ง 5.9
7 ขาดแคลนพลังงาน เช่น น้ำ น้ำมัน ไฟฟ้า แร่ธรรมชาติถ่านหิน ฯลฯ 5.8
8 มลภาวะเป็นพิษทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย / อากาศ และ น้ำเป็นพิษ 5.0
9 การค้าและเศรษฐกิจไม่ดี ขาดความมั่นคง / เสียดุลการค้ากับต่างประเทศ 4.1
10 ราคาน้ำตาลสูงขึ้น 3.0
11 แก๊สหุงต้มราคาสูงขึ้น 2.9
12 ขาดแคลนน้ำทำการเกษตรลำบาก 2.2
13 ขายของได้ยากขึ้น 1.8
14 ความเป็นอยู่แย่ลง 1.1
15 อื่นๆ อาทิเช่น เกิดปัญหาอาชญากรรม เกิดความเครียด มีความเห็นแก่ตัวมากขึ้น
จ่ายเงินเยอะขึ้น แต่ซื้อสินค้าได้น้อยลง ขาดแคลนสินค้าบางประเภท ต้องทำงานหนักขึ้น
สินค้าราคาผันผวน เป็นต้น 5.6
ตารางที่ 6 ความเชื่อมั่นต่อการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาวิกฤตพลังงาน
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าแก้ไขได้ 66.4
2 ไม่เชื่อว่าแก้ไขได้ 11.4
3 ไม่มีความเห็น 22.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 ข้อเสนอแนะในการแก้ไขวิกฤตพลังงานโดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะในการแก้ไขวิกฤตพลังงาน ค่าร้อยละ
1 รณรงค์ให้ประชาชนใช้พลังงานอย่างประหยัด 71.5
2 คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการประหยัดพลังงาน 69.3
3 ใช้เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ น้ำ ลม ความร้อน 58.5
4 ค้นคว้าเพื่อสร้างพลังงานใหม่ที่ดีกว่าจากทรัพยากรที่มีอยู่ 43.8
5 ใช้เทคโนโลยีเพื่อแสวงหาแหล่งพลังงานใหม่ๆ 42.8
6 ประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวันเพื่อประหยัดพลังงาน 42.3
7 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง 40.5
8 ใช้เทคโนโลยีพลังงานชีวภาพ 39.1
9 ใช้เทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์ 17.1
ตารางที่ 8 การรับรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาด้านพลังงาน
ลำดับที่ รายละเอียดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาด้านพลังงาน การรับรู้
รับรู้ ไม่รับรู้ ไม่แน่ใจ
1 การพัฒนาพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ (การศึกษาค้นคว้าและการนำเอาพลังงาน
แสงอาทิตย์และพลังลมมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า) 75.6 13.9 10.5
2 โรงกลั่นเชื้อเพลิงทำแก๊สโซฮอล์ (การศึกษาค้นคว้าและผลิตเชื้อเพลิงแก๊สโซฮอล์จากอ้อย) 71.1 16.8 12.1
3 การพัฒนาพลังลมเพื่อการเกษตร (การนำเอาพลังลมไปใช้ประโยชน์ในงานของโครงการ
ตามแนวพระราชดำริ เช่น การใช้กังหันลมสูบน้ำขึ้นพื้นที่ทำการเกษตร) 63.2 21.2 15.6
4 การพัฒนาพลังงานแก๊สชีวภาพ (การทดลองและผลิตแก๊สชีวภาพจากมูลโค เพื่อทดแทน
เชื้อเพลิงประเภทถ่าน ไม้ฟืน และเชื้อเพลิงอื่นๆ) 54.3 26.6 19.1
5 การพัฒนาเชื้อเพลิงสีเขียว (การนำวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรมาพัฒนาและผลิต
เป็นแท่งเชื้อเพลิง เพื่อลดการตัดไม้ทำลายป่า และช่วยลดการขาดแคลนพลังงานในรูปแบบอื่น) 41.6 36.0 22.4
6 การพัฒนาระบบแก๊สชีวภาพขนาดใหญ่ (การค้นคว้าเพื่อพัฒนาระบบแก๊สชีวภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น) 33.7 39.1 27.2
ตารางที่ 9 โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาด้านพลังงานที่ปลื้มปิติประทับใจมากที่สุด
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาด้านพลังงานที่ปลื้มปิติประทับใจมากที่สุด ค่าร้อยละ
1 การพัฒนาพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ 52.8
2 โรงกลั่นเชื้อเพลิงทำแก๊สโซฮอล์ 52.0
3 การพัฒนาพลังลมเพื่อการเกษตร 35.5
4 การพัฒนาพลังงานแก๊สชีวภาพ 29.3
5 การพัฒนาเชื้อเพลิงสีเขียว 19.1
6 การพัฒนาระบบแก๊สชีวภาพขนาดใหญ่ 7.2
ตารางที่ 10 เหตุผลที่ปลื้มปิติประทับใจกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาด้านพลังงาน
ลำดับที่ เหตุผลที่ปลื้มปิติประทับใจกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาด้านพลังงาน ค่าร้อยละ
1 ประหยัดพลังงาน สร้างพลังงานทดแทน / มีประโยชน์เป็นผลิตภัณฑ์ทดแทนพลังงาน /
ประหยัดค่าใช้จ่าย / ช่วยให้ใช้พลังงานจากวัตถุดิบน้อยลง 60.2
2 ใช้ทดแทนน้ำมันได้ / ไม่ต้องพึ่งพาน้ำมันอย่างเดียว / ทำให้น้ำมันราคาถูก 16.8
3 นำพลังงานจากธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ 13.1
4 ลดการทำลายป่าไม้ / จะได้ลดการตัดต้นไม้เพื่อนำมาทำเชื้อเพลิง 9.5
5 ลดต้นทุนการสั่งซื้อและการนำเข้าจากต่างประเทศ ประเทศพึ่งพาตนเองได้ 9.1
6 เป็นโครงการที่ดี จึงรู้สึกประทับใจ 8.1
7 เป็นการกำจัดขยะที่ไม่ต้องการ ให้มีประโยชน์ 5.9
8 เน้นสิ่งจำเป็น / ทันสมัย / มีประโยชน์ / น่าสนใจ 5.7
9 ทำให้ประชาชนที่อยู่ไกลได้ใช้ไฟฟ้า 4.9
10 เพื่อพัฒนาทางการเกษตร 3.5
11 ลดการทำลายสิ่งแวดล้อม / แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม / ทำให้อากาศไม่เป็นพิษ 3.2
12 เพราะพลังงานแสงอาทิตย์ไม่มีหมด 3.2
13 ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 2.8
14 เกษตรกรสามารถผลิตเองได้ / ไม่ต้องลงทุนมาก 2.7
15 อื่นๆ อาทิเช่น พัฒนาจากมูลสัตว์มาเป็นแก๊สชีวภาพ ลดการขาดแคลนพลังงาน พัฒนาพลังงานได้
พัฒนาความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน ทำให้ประชาชนมีความรู้ดีขึ้น ใช้พลังงานธรรมชาติให้เกิดประโยชน์
สะดวกรวดเร็ว เป็นต้น 16.7
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-