ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความคาดหวังและความรู้สึกของ
ประชาชนหลังจากมีกระแสข่าวเกี่ยวกับรายชื่อคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลชุดใหม่: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ในครั้งนี้
ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,214 ตัวอย่าง ซึ่งมี
ระยะเวลาในการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 4-5 ตุลาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ผลสำรวจการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 61.7 ระบุติดตามทุกวัน/เกือบทุกวัน ร้อยละ
15.4 ระบุติดตาม3-4 วัน/สัปดาห์ ร้อยละ 12.1 ระบุติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 6.1 ระบุไม่ได้ติดตามเป็นบางสัปดาห์ และร้อยละ
4.7 ระบุไม่ได้ติดตามเลย
เมื่อคณะผู้วิจัยสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีความคาดหวังต่อภาพลักษณ์ของคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดใหม่นั้นพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 75.7 ระบุคาดหวังว่าคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะมีภาพลักษณ์ที่ดี ในขณะที่ร้อยละ 17.8 ระบุไม่คาดหวัง และร้อยละ 6.5 ไม่ระบุความคิด
เห็น สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการวิ่งเต้นขอตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดใหม่นี้ พบว่าตัวอย่างจำนวนมากร้อยละ 42.5 ระบุคิดว่ามีการวิ่ง
เต้นขอตำแหน่งจริง ในขณะที่ร้อยละ 37.9 ระบุไม่คิดว่ามีการวิ่งเต้น และร้อยละ 19.6 ไม่ระบุความคิดเห็น อย่างไรก็ตามเมื่อสอบถามถึงผล
กระทบที่เกิดขึ้นกับจิตใจถ้ามีรายชื่อบางคนในรัฐบาลชุดใหม่ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมนั้นพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.5 ระบุเสียความรู้สึก
ในขณะที่ร้อยละ 35.5 ระบุไม่เสียความรู้สึก
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามความคิดเห็นกรณีความต้องการออกมาเคลื่อนไหวถ้าหากรายชื่อรัฐมนตรีออกมาไม่เป็นที่ยอมรับ พบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 14.9 ระบุต้องการเคลื่อนไหวอย่างใดอย่างหนึ่ง ในขณะที่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.0 ระบุไม่ต้องการ ร้อยละ 13.1 ระบุไม่แน่ใจ และ
ร้อยละ 10.0 ไม่ระบุความคิดเห็น และเมื่อสอบถามความเชื่อมั่นของตัวอย่างต่อภาพลักษณ์ของคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ว่าจะออกมาเป็นที่ยอมรับของ
สังคม ซึ่งผลสำรวจพบว่าตัวอย่างร้อยละ 78.5 ระบุเชื่อมั่น ในขณะที่ร้อยละ 11.2 ระบุไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 10.3 ไม่ระบุความคิดเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าประชาชนส่วนใหญ่คาดหวังต่อภาพลักษณ์ที่ดีของคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดใหม่ แต่เริ่ม
เสียความรู้สึกเมื่อทราบข่าวการวิ่งเต้นขอตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดปัจจุบัน ดังนั้นสถานการณ์การเมืองไทยขณะนี้ยังคงอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ สังคม
อาจจะไปไม่รอดเพราะมีเหตุปัจจัยล่อแหลมหลายประการให้พิจารณาคือ
ประการแรก ข้อมูลข่าวสารที่ผ่านมาปรากฏให้เห็นว่าบุคคลที่สังคมยอมรับต่างก็บอกปัดไม่รับตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดปัจจุบัน อาจก่อให้
เกิดความไม่สบายใจในหมู่ประชาชนได้
ประการที่สอง กลุ่มคนที่กำลังตรวจสอบความไม่ชอบธรรมของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้ออกมาชี้ให้เห็นพยานหลักฐานอย่างเป็นวิทยา
ศาสตร์ในกระบวนการยุติธรรม มักออกมาชี้นำสังคมล่วงหน้าถึงความผิดความถูก และยังมีภาพของความขัดแย้งกันภายในกลุ่มผู้ตรวจสอบให้ปรากฎ
ประการที่สาม การหล่อหลอมคนไทยเวลานี้ยังไม่เป็นเนื้อเดียวกันเสียทีเดียว จากผลวิจัยที่ผ่านมาพบว่าเสียงสนับสนุนรัฐบาลชุดปัจจุบันเป็น
การรวมตัวกันของกลุ่มพลังเงียบกับคนที่ไม่สนับสนุนรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งกลุ่มพลังเงียบมักเปลี่ยนแปลงได้ง่ายตามกระแสสังคม ส่วนคนที่สนับสนุน
รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ยังคงมีอยู่จำนวนพอสมควร
ข้อเสนอทางออกของสถานการณ์ต่อรัฐบาล คือ
หนึ่ง รัฐบาลชุดปัจจุบันต้องไม่ทำให้สังคมผิดหวังและคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ต้องไม่มียี้แม้แต่
คนเดียว เพราะถ้ามีรูรั่วเพียงรูเดียวในสถานการณ์การเมืองแบบนี้เรือลำนี้จมน้ำแน่ การออกมาบอกสังคมว่ารัฐมนตรีที่ประชาชนจะได้คงไม่บริสุทธิ์ทั้ง
หมด ทำให้ความไม่เชื่อมั่น ความอึดอัดและสงสัยของประชาชนในความชอบธรรมของรัฐบาลเริ่มก่อตัวขึ้น
สอง รัฐบาลและกลไกของรัฐควรทำให้คนไทยภายในประเทศเป็นหนึ่งเดียวกันก่อนที่จะชี้ถูกชี้ผิดฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด และก่อนขับเคลื่อนใดๆ ที่
เป็นประเด็นละเอียดอ่อนทางการเมือง บรรดาผู้ใหญ่ในสังคมควรเก็บอาการ เพราะสถานการณ์ขณะนี้ไม่ต้องการเห็นผู้ชนะและไม่อยากเห็นผู้แพ้เนื่อง
จากเป็นคนไทยด้วยกันทั้งนั้นจึงต้องการความสมานฉันท์มากกว่า
สาม พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีน่าจะแสดงให้ปรากฏต่อสาธารณชนเห็นความเป็นผู้นำในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนเฉพาะ
หน้าของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ใช่เพียงบรรเทาด้านจิตวิทยาเท่านั้น เพราะประชาชนหมู่มากยังยึดติดกับสิ่งที่จับต้องได้มากกว่าความสุขทางใจ
คนไทยส่วนใหญ่ยังติดกับภาพของผู้นำประเทศที่สั่งการเร่งด่วนระดมทุกหน่วยงานได้อย่างรวดเร็วแก้ปัญหาที่เป็นวาระแห่งชาติ เช่นภัยพิบัติ ปัญหาค่าครอง
ชีพ ปัญหาความไม่สงบ ปัญหายาเสพติด คุณภาพเยาวชน และความยากจน เป็นต้น
สี่ เร่งสนับสนุนให้มีรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขปรับปรุง ที่ทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจเข้าถึงได้ง่ายไม่ซับซ้อน เป็นรัฐธรรมนูญบนหลักเสรีภาพ
ความรับผิดชอบ ความเป็นธรรมในสังคม และหลักธรรมาภิบาล เช่น กลไกของรัฐสามารถเอาผิดนักการเมืองได้เพียงมีเหตุอันเชื่อได้ว่าทุจริตคอรัปชั่น
นำจุดอ่อนของแนวคิดผู้นำประเทศคนก่อนที่บอกว่า การเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องธรรมดา มาเป็นจุดตั้งต้นให้เอาผิดได้ เพื่อให้
การเมืองไทยในรัฐบาลชุดต่อๆ ไป “ปลอดจากการล็อบบี้” ระหว่างกลุ่มนายทุนกับข้าราชการและนักการเมือง ถ้าพบความผิดให้ยึดทรัพย์ของคนเหล่านี้
ตกเป็นของแผ่นดิน
ห้า เร่งสนับสนุนคณะกรรมการการเลือกตั้งจัดวางกติกาและตัวบุคคลเพื่อให้การเลือกตั้งใหม่เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์เที่ยงธรรม
ประการสุดท้าย อาจคืนอำนาจให้ประชาชนเร็วกว่าเวลาที่กำหนดไว้คือน้อยกว่า 1 ปี เพื่อแสดงให้ประชาชนคนไทยและนานาชาติเชื่อมั่น
ว่าทุกคนที่เข้ามาสู่ฝ่ายบริหารประเทศของรัฐบาลชุดนี้ไม่ยึดติดกับ “ตำแหน่ง อำนาจและผลประโยชน์” แต่เข้ามาเพื่อจัดระเบียบใหม่ของประเทศเท่า
นั้น เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจก็รีบถอนตัวกลับไปเป็นผู้ใหญ่ที่ดีน่าเคารพนับถือของเด็กและเยาวชนรุ่นลูกรุ่นหลานที่พวกเขาอาจพบเจอพวกท่านโดยบังเอิญและ
ยินดียกมือไหว้ได้อย่างสนิทใจ
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อภาพลักษณ์คณะรัฐมนตรีชุดใหม่
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคาดหวังและความรู้สึกของประชาชนหลังจากมี
กระแสข่าวเกี่ยวกับรายชื่อคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลชุดใหม่: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งมีระยะเวลาการ
ดำเนินโครงการในระหว่างวันที่ 4-5 ตุลาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างสำหรับกลุ่ม
ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ การเลือกตัวอย่างด้วยวิธีแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ใน
การเลือกพื้นที่ตัวอย่างและการสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดลักษณะทั่วไปของตัวอย่างมีความสอดคล้องกับลักษณะของประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวนทั้งสิ้น 1,214 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการ
กำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลัง
จากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของ มหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.4 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 46.6 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.5 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.1 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 27.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 20.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 72.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 25.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 25.7 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 24.9 ระบุอาชีพรับจ้างแรงงานทั่วไป
ร้อยละ 21.1 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 13.6 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.5 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 4.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 4.6 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การติดตามข่าวการเมืองในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 61.7
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 15.4
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 12.1
4 ไม่ได้ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 6.1
5 ไม่ได้ติดตามเลย 4.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคาดหวังต่อภาพลักษณ์ที่ดีของคณะรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความคาดหวังของประชาชน ค่าร้อยละ
1 คาดหวัง 75.7
2 ไม่คาดหวัง 17.8
3 ไม่มีความเห็น 6.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการวิ่งเต้นขอตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่ามีการวิ่งเต้นขอตำแหน่ง 42.5
2 ไม่คิดว่ามีการวิ่งเต้น 37.9
3 ไม่มีความเห็น 19.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ผลกระทบต่อจิตใจถ้ามีรายชื่อบางคนในคณะรัฐมนตรีไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม
ลำดับที่ ความรู้สึก ค่าร้อยละ
1 เสียความรู้สึก 64.5
2 ไม่เสียความรู้สึก 35.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการเคลื่อนไหวถ้ารายชื่อรัฐมนตรีออกมาไม่เป็นที่ยอมรับ
ลำดับที่ ความต้องการ ค่าร้อยละ
1 ต้องการเคลื่อนไหวอย่างใดอย่างหนึ่ง 14.9
2 ไม่ต้องการ 62.0
3 ไม่แน่ใจ 13.1
4 ไม่มีความเห็น 10.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อภาพลักษณ์ของคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ว่าจะออกมา
เป็นที่ยอมรับของสังคม
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 78.5
2 ไม่เชื่อมั่น 11.2
3 ไม่มีความเห็น 10.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ประชาชนหลังจากมีกระแสข่าวเกี่ยวกับรายชื่อคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลชุดใหม่: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ในครั้งนี้
ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,214 ตัวอย่าง ซึ่งมี
ระยะเวลาในการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 4-5 ตุลาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ผลสำรวจการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 61.7 ระบุติดตามทุกวัน/เกือบทุกวัน ร้อยละ
15.4 ระบุติดตาม3-4 วัน/สัปดาห์ ร้อยละ 12.1 ระบุติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 6.1 ระบุไม่ได้ติดตามเป็นบางสัปดาห์ และร้อยละ
4.7 ระบุไม่ได้ติดตามเลย
เมื่อคณะผู้วิจัยสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีความคาดหวังต่อภาพลักษณ์ของคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดใหม่นั้นพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 75.7 ระบุคาดหวังว่าคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะมีภาพลักษณ์ที่ดี ในขณะที่ร้อยละ 17.8 ระบุไม่คาดหวัง และร้อยละ 6.5 ไม่ระบุความคิด
เห็น สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการวิ่งเต้นขอตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดใหม่นี้ พบว่าตัวอย่างจำนวนมากร้อยละ 42.5 ระบุคิดว่ามีการวิ่ง
เต้นขอตำแหน่งจริง ในขณะที่ร้อยละ 37.9 ระบุไม่คิดว่ามีการวิ่งเต้น และร้อยละ 19.6 ไม่ระบุความคิดเห็น อย่างไรก็ตามเมื่อสอบถามถึงผล
กระทบที่เกิดขึ้นกับจิตใจถ้ามีรายชื่อบางคนในรัฐบาลชุดใหม่ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมนั้นพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.5 ระบุเสียความรู้สึก
ในขณะที่ร้อยละ 35.5 ระบุไม่เสียความรู้สึก
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามความคิดเห็นกรณีความต้องการออกมาเคลื่อนไหวถ้าหากรายชื่อรัฐมนตรีออกมาไม่เป็นที่ยอมรับ พบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 14.9 ระบุต้องการเคลื่อนไหวอย่างใดอย่างหนึ่ง ในขณะที่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.0 ระบุไม่ต้องการ ร้อยละ 13.1 ระบุไม่แน่ใจ และ
ร้อยละ 10.0 ไม่ระบุความคิดเห็น และเมื่อสอบถามความเชื่อมั่นของตัวอย่างต่อภาพลักษณ์ของคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ว่าจะออกมาเป็นที่ยอมรับของ
สังคม ซึ่งผลสำรวจพบว่าตัวอย่างร้อยละ 78.5 ระบุเชื่อมั่น ในขณะที่ร้อยละ 11.2 ระบุไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 10.3 ไม่ระบุความคิดเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าประชาชนส่วนใหญ่คาดหวังต่อภาพลักษณ์ที่ดีของคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดใหม่ แต่เริ่ม
เสียความรู้สึกเมื่อทราบข่าวการวิ่งเต้นขอตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดปัจจุบัน ดังนั้นสถานการณ์การเมืองไทยขณะนี้ยังคงอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ สังคม
อาจจะไปไม่รอดเพราะมีเหตุปัจจัยล่อแหลมหลายประการให้พิจารณาคือ
ประการแรก ข้อมูลข่าวสารที่ผ่านมาปรากฏให้เห็นว่าบุคคลที่สังคมยอมรับต่างก็บอกปัดไม่รับตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดปัจจุบัน อาจก่อให้
เกิดความไม่สบายใจในหมู่ประชาชนได้
ประการที่สอง กลุ่มคนที่กำลังตรวจสอบความไม่ชอบธรรมของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้ออกมาชี้ให้เห็นพยานหลักฐานอย่างเป็นวิทยา
ศาสตร์ในกระบวนการยุติธรรม มักออกมาชี้นำสังคมล่วงหน้าถึงความผิดความถูก และยังมีภาพของความขัดแย้งกันภายในกลุ่มผู้ตรวจสอบให้ปรากฎ
ประการที่สาม การหล่อหลอมคนไทยเวลานี้ยังไม่เป็นเนื้อเดียวกันเสียทีเดียว จากผลวิจัยที่ผ่านมาพบว่าเสียงสนับสนุนรัฐบาลชุดปัจจุบันเป็น
การรวมตัวกันของกลุ่มพลังเงียบกับคนที่ไม่สนับสนุนรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งกลุ่มพลังเงียบมักเปลี่ยนแปลงได้ง่ายตามกระแสสังคม ส่วนคนที่สนับสนุน
รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ยังคงมีอยู่จำนวนพอสมควร
ข้อเสนอทางออกของสถานการณ์ต่อรัฐบาล คือ
หนึ่ง รัฐบาลชุดปัจจุบันต้องไม่ทำให้สังคมผิดหวังและคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ต้องไม่มียี้แม้แต่
คนเดียว เพราะถ้ามีรูรั่วเพียงรูเดียวในสถานการณ์การเมืองแบบนี้เรือลำนี้จมน้ำแน่ การออกมาบอกสังคมว่ารัฐมนตรีที่ประชาชนจะได้คงไม่บริสุทธิ์ทั้ง
หมด ทำให้ความไม่เชื่อมั่น ความอึดอัดและสงสัยของประชาชนในความชอบธรรมของรัฐบาลเริ่มก่อตัวขึ้น
สอง รัฐบาลและกลไกของรัฐควรทำให้คนไทยภายในประเทศเป็นหนึ่งเดียวกันก่อนที่จะชี้ถูกชี้ผิดฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด และก่อนขับเคลื่อนใดๆ ที่
เป็นประเด็นละเอียดอ่อนทางการเมือง บรรดาผู้ใหญ่ในสังคมควรเก็บอาการ เพราะสถานการณ์ขณะนี้ไม่ต้องการเห็นผู้ชนะและไม่อยากเห็นผู้แพ้เนื่อง
จากเป็นคนไทยด้วยกันทั้งนั้นจึงต้องการความสมานฉันท์มากกว่า
สาม พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีน่าจะแสดงให้ปรากฏต่อสาธารณชนเห็นความเป็นผู้นำในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนเฉพาะ
หน้าของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ใช่เพียงบรรเทาด้านจิตวิทยาเท่านั้น เพราะประชาชนหมู่มากยังยึดติดกับสิ่งที่จับต้องได้มากกว่าความสุขทางใจ
คนไทยส่วนใหญ่ยังติดกับภาพของผู้นำประเทศที่สั่งการเร่งด่วนระดมทุกหน่วยงานได้อย่างรวดเร็วแก้ปัญหาที่เป็นวาระแห่งชาติ เช่นภัยพิบัติ ปัญหาค่าครอง
ชีพ ปัญหาความไม่สงบ ปัญหายาเสพติด คุณภาพเยาวชน และความยากจน เป็นต้น
สี่ เร่งสนับสนุนให้มีรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขปรับปรุง ที่ทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจเข้าถึงได้ง่ายไม่ซับซ้อน เป็นรัฐธรรมนูญบนหลักเสรีภาพ
ความรับผิดชอบ ความเป็นธรรมในสังคม และหลักธรรมาภิบาล เช่น กลไกของรัฐสามารถเอาผิดนักการเมืองได้เพียงมีเหตุอันเชื่อได้ว่าทุจริตคอรัปชั่น
นำจุดอ่อนของแนวคิดผู้นำประเทศคนก่อนที่บอกว่า การเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องธรรมดา มาเป็นจุดตั้งต้นให้เอาผิดได้ เพื่อให้
การเมืองไทยในรัฐบาลชุดต่อๆ ไป “ปลอดจากการล็อบบี้” ระหว่างกลุ่มนายทุนกับข้าราชการและนักการเมือง ถ้าพบความผิดให้ยึดทรัพย์ของคนเหล่านี้
ตกเป็นของแผ่นดิน
ห้า เร่งสนับสนุนคณะกรรมการการเลือกตั้งจัดวางกติกาและตัวบุคคลเพื่อให้การเลือกตั้งใหม่เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์เที่ยงธรรม
ประการสุดท้าย อาจคืนอำนาจให้ประชาชนเร็วกว่าเวลาที่กำหนดไว้คือน้อยกว่า 1 ปี เพื่อแสดงให้ประชาชนคนไทยและนานาชาติเชื่อมั่น
ว่าทุกคนที่เข้ามาสู่ฝ่ายบริหารประเทศของรัฐบาลชุดนี้ไม่ยึดติดกับ “ตำแหน่ง อำนาจและผลประโยชน์” แต่เข้ามาเพื่อจัดระเบียบใหม่ของประเทศเท่า
นั้น เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจก็รีบถอนตัวกลับไปเป็นผู้ใหญ่ที่ดีน่าเคารพนับถือของเด็กและเยาวชนรุ่นลูกรุ่นหลานที่พวกเขาอาจพบเจอพวกท่านโดยบังเอิญและ
ยินดียกมือไหว้ได้อย่างสนิทใจ
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อภาพลักษณ์คณะรัฐมนตรีชุดใหม่
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคาดหวังและความรู้สึกของประชาชนหลังจากมี
กระแสข่าวเกี่ยวกับรายชื่อคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลชุดใหม่: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งมีระยะเวลาการ
ดำเนินโครงการในระหว่างวันที่ 4-5 ตุลาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างสำหรับกลุ่ม
ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ การเลือกตัวอย่างด้วยวิธีแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ใน
การเลือกพื้นที่ตัวอย่างและการสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดลักษณะทั่วไปของตัวอย่างมีความสอดคล้องกับลักษณะของประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวนทั้งสิ้น 1,214 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการ
กำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลัง
จากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของ มหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.4 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 46.6 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.5 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.1 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 27.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 20.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 72.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 25.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 25.7 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 24.9 ระบุอาชีพรับจ้างแรงงานทั่วไป
ร้อยละ 21.1 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 13.6 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.5 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 4.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 4.6 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การติดตามข่าวการเมืองในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 61.7
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 15.4
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 12.1
4 ไม่ได้ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 6.1
5 ไม่ได้ติดตามเลย 4.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคาดหวังต่อภาพลักษณ์ที่ดีของคณะรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความคาดหวังของประชาชน ค่าร้อยละ
1 คาดหวัง 75.7
2 ไม่คาดหวัง 17.8
3 ไม่มีความเห็น 6.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการวิ่งเต้นขอตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่ามีการวิ่งเต้นขอตำแหน่ง 42.5
2 ไม่คิดว่ามีการวิ่งเต้น 37.9
3 ไม่มีความเห็น 19.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ผลกระทบต่อจิตใจถ้ามีรายชื่อบางคนในคณะรัฐมนตรีไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม
ลำดับที่ ความรู้สึก ค่าร้อยละ
1 เสียความรู้สึก 64.5
2 ไม่เสียความรู้สึก 35.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการเคลื่อนไหวถ้ารายชื่อรัฐมนตรีออกมาไม่เป็นที่ยอมรับ
ลำดับที่ ความต้องการ ค่าร้อยละ
1 ต้องการเคลื่อนไหวอย่างใดอย่างหนึ่ง 14.9
2 ไม่ต้องการ 62.0
3 ไม่แน่ใจ 13.1
4 ไม่มีความเห็น 10.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อภาพลักษณ์ของคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ว่าจะออกมา
เป็นที่ยอมรับของสังคม
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 78.5
2 ไม่เชื่อมั่น 11.2
3 ไม่มีความเห็น 10.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-