ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความรู้สึกของสาธารณชนต่อสถานการณ์การเมืองไทย
ปัจจุบันและอีก 6 เดือนข้างหน้า: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนคนไทยและชาวต่างชาติในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” จำนวนทั้งสิ้น 3,419
ตัวอย่าง โดยแยกเป็นคนไทย 2,744 คนและชาวต่างชาติ 675 คน ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 25-30 กันยายน 2549
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
เมื่อสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ พบว่า คนไทยส่วนใหญ่หรือเกือบร้อยละ 90 ติดตาม
ข่าวการเมืองตั้งแต่ 3-4 วันต่อสัปดาห์และทุกวัน/เกือบทุกวันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ชาวต่างชาติมีสัดส่วนน้อยกว่าคนไทยหรือร้อยละ 39.7 ที่ติดตามข่าว
การเมืองของไทยตั้งแต่ 3-4 วันต่อสัปดาห์และทุกวัน/เกือบทุกวัน
ดร.นพดล กล่าวว่า เมื่อสอบถามถึงความรู้สึกของสาธารณชนต่อสถานการณ์การเมืองไทยปัจจุบัน จำแนกออกเป็นคนไทยและชาวต่างชาติ
พบประเด็นที่น่าสนใจคือ ทั้งคนไทยส่วนใหญ่ร้อยละ 93.9 และชาวต่างชาติร้อยละ 98.7 รู้สึกว่าคนไทยยังคงรักสามัคคีกัน และคนไทยร้อยละ 94.4
ชาวต่างชาติร้อยละ 99.2 หวังว่าเมืองไทยจะสงบสุขอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าชาวต่างชาติกลับมีสัดส่วนมากกว่าคนไทยเล็กน้อยที่รู้สึกว่าคนไทย
ยังรักสามัคคีกันและหวังว่าเมืองไทยจะสงบสุข ในขณะที่คนไทยร้อยละ 15.4 ยังรู้สึกวิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง อย่างไรก็ตามชาวต่างชาติที่วิตก
กังวลต่อการเมืองไทยมีเพียงร้อยละ 5.3 เท่านั้น ในทิศทางเดียวกับความรู้สึกเครียดต่อการเมือง พบว่าคนไทยมีอยู่ร้อยละ 12.8 ชาวต่างชาติมีเพียง
ร้อยละ 1.8 และด้านความขัดแย้งกับคนใกล้ชิดเรื่องการเมืองไทย พบว่าคนไทยมีอยู่ร้อยละ 6.5 แต่ชาวต่างชาติมีเพียงร้อยละ 1.2 เท่านั้น
สำหรับความคิดเห็นต่อทิศทางในการพัฒนารูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของการเมืองไทยที่จะดีขึ้นในอนาคตจำแนกออกเป็น
คนไทยและชาวต่างชาติ พบว่า ในกลุ่มประชาชนคนไทยอันดับแรกหรือร้อยละ 58.1 คิดว่าเป็นเรื่องการยอมรับต่อรัฐบาลชุดใหม่ รองลงมาคือร้อยละ
56.2 คิดว่าเป็นเรื่องความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลชุดใหม่ที่จะมีขึ้น ร้อยละ 53.7 คิดว่าเป็นเรื่องการออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชน ร้อยละ 42.0 คิด
ว่าเป็นเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน อย่างไรก็ตาม เพียงร้อยละ 21.6 เท่านั้นที่คิดว่าความยุติธรรมในสังคมจะดีขึ้น
ในความคิดเห็นของชาวต่างชาติต่อทิศทางการพัฒนาการเมืองไทยที่ดีขึ้น พบว่า ร้อยละ 42.3 คิดว่าเป็นเรื่องการออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง
ของคนไทย รองลงมาคือร้อยละ 40.8 คิดว่าเป็นการยอมรับต่อรัฐบาลชุดใหม่ ร้อยละ 39.1 คิดว่าเป็นเรื่องความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลไทย ร้อยละ
36.7 คิดว่าเป็นเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน ร้อยละ 31.2 คิดว่าเป็นเรื่องความยุติธรรมในสังคม
เมื่อสอบถามความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางการเมืองไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้า จำแนกออกเป็นคนไทย นักท่องเที่ยวต่างชาติ และนัก
ธุรกิจต่างชาติ พบว่า คนทั้งสามกลุ่มส่วนใหญ่คือคนไทยร้อยละ 73.1 นักท่องเที่ยวต่างชาติร้อยละ 71.8 และนักธุรกิจต่างชาติร้อยละ 68.5 ค่อนข้าง
เชื่อมั่นและเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพการเมืองไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้า
เมื่อสอบถามความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้า จำแนกออกเป็นคนไทย นักท่องเที่ยวต่างชาติ และ
นักธุรกิจต่างชาติ พบว่า คนทั้งสามกลุ่มส่วนใหญ่คือ คนไทยร้อยละ 64.0 นักท่องเที่ยวต่างชาติร้อยละ 50.6 และนักธุรกิจต่างชาติร้อยละ 57.9 ค่อน
ข้างเชื่อมั่นและเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ประเด็นที่น่าสนใจคือ เมื่อถามว่า ถ้าเกิดใหม่ได้อยากเกิดมาอยู่หรือเที่ยวเมืองไทยอีกหรือไม่ ผลสำรวจพบว่าคนทั้งสามกลุ่มเกือบร้อยละ
ร้อยคือ คนไทยร้อยละ 97.9 นักท่องเที่ยวต่างชาติร้อยละ 96.6 และนักธุรกิจต่างชาติร้อยละ 97.1 ระบุอยากเกิดมาอยู่มาเที่ยวเมืองไทยอีก โดยให้
เหตุผลว่า คนไทยมีสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ทุกคนจงรักภักดีและช่วยเหลือประชาชนเมื่อประชาชนตกทุกข์ได้ยาก คนไทยมีความรักความสามัคคีกัน ชอบ
วัฒนธรรมประเพณีไทย คนไทยรักความสงบ คนไทยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ชอบแหล่งท่องเที่ยวไทย คนไทยยิ้มแย้มแจ่มใส และคนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นแก่
ตัว เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า สำหรับข้อเสนอแนะจากการสำรวจวิจัยที่ผ่านมาต่อรัฐบาลชุดใหม่คือ 1) ควรเป็นรัฐบาลแบบสามัญชน ติดดิน มีวิสัย
ทัศน์กว้างไกล ซื่อสัตย์สุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ รวดเร็วในการแก้ปัญหา กล้าคิดกล้าตัดสินใจแต่ไม่เผด็จการ 2) รักษาบรรยากาศที่ดีแห่งความรักความ
เป็นหนึ่งเดียวกันในหมู่ประชาชนทั้งประเทศ 3) ดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมเพื่อเอาผิดกลุ่มนักการเมือง ข้าราชการประจำและภาคเอกชนที่
ร่วมกันทุจริตคอรัปชั่นทุกระดับชั้นให้สาธารณชนทั่วไปและเด็กเยาวชนได้เห็นเพื่อเกิดจิตสำนึกไม่เอาเยี่ยงอย่าง 4) สานต่อ ปรับปรุงและสร้าง
นโยบายใหม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและวิถีชีวิตแบบไทยบนทางสายกลางที่มีวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม 5) คณะรัฐมนตรีชุดใหม่นำ
โดยนายกรัฐมนตรีคนใหม่น่าจะเข้าวัดฟังธรรมบำเพ็ญศาสนกิจก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดแรก เป็นการแสดงให้เห็นมิติใหม่ของรัฐบาลไทยที่มีรากฐาน
อยู่บนทางแห่งพระธรรมในจิตใจ สร้างเป็นแบบแผนธรรมเนียมปฏิบัติให้แก่รัฐบาลชุดต่อไป เพื่อภารกิจต่างๆ ที่ปฏิบัติจะได้ออกมาจากการคิดดีทำดีเพื่อ
ความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนทั้งประเทศ
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ฝ่ายการเมืองและประชาชนบางส่วนอาจมองว่า คปค. และรัฐบาลชุดใหม่ ไม่ให้อะไรใหม่แก่ประชาชนเพราะไม่
กล้าแตะนโยบายประชานิยม จึงเสนอให้นโยบายความสุขมวลรวม (Gross Domestic Happiness) และหลักเศรษฐกิจพอเพียง เข้ามาแทนนโยบาย
ประชานิยม เนื่องจากนโยบายความสุขมวลรวม(Gross Domestic Happiness) และหลักเศรษฐกิจพอเพียงเน้นการพัฒนาและแก้ปัญหาความเดือด
ร้อนของประชาชนอย่างยั่งยืน เพราะนโยบายประชานิยมที่ผ่านมาส่งผลทำให้เกิดปัญหาตามมาอย่างน้อย 2 ประการ คือ ความนิยมต่อตัวบุคคล และ ก่อ
ให้เกิดภาคนิยมที่ประชาชนแบ่งออกเป็นฝักเป็นฝ่าย แบ่งพรรคแบ่งพวก เกิดความแตกแยกทางสังคม นโยบายความสุขมวลรวม(Gross Domestic
Happiness) และหลักเศรษฐกิจพอเพียง จะอยู่บนพื้นฐานของวัฒนธรรมประเพณี และเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ที่มีความรักความสามัคคีและความ
เป็นปึกแผ่นเดียวกันในสังคม
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองของคนไทยและชาวต่างชาติ
2. เพื่อสำรวจความรู้สึกของคนไทยและชาวต่างชาติที่มีต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
3. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของคนไทยและชาวต่างชาติต่อเสถียรภาพทางการเมือง และเศรษฐกิจในอีก 6 เดือนข้างหน้า
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความรู้สึกของสาธารณชนต่อสถานการณ์การเมืองไทย
ปัจจุบันและอีก 6 เดือนข้างหน้า: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนคนไทยและชาวต่างชาติในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนิน
โครงการในระหว่างวันที่ 25-30 กันยายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนคนไทย และ
ชาวต่างชาติที่เดินทางมาพักอาศัยในประเทศไทย เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิเลือกคนไทย และแบบเฉพาะ
เจาะจง (Purposive Sampling) เลือกชาวต่างชาติ ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวนทั้งสิ้น 3,419 ตัวอย่าง โดยแยกเป็นคนไทย 2,744
คนและชาวต่างชาติ 675 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้
วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของ มหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนคนไทยพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.5 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.5 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.1 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.4 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 20.9 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 23.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 73.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.9 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 24.6 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 23.7 ระบุอาชีพรับจ้างแรงงานทั่วไป
ร้อยละ 12.9 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 4.6 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 4.5 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 2.5 ระบุว่างงาน
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างชาวต่างชาติ พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 58.2 ระบุเป็นชาย
ในขณะที่ร้อยละ 41.8 ระบุเป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 42.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 21.3 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 15.2 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 16.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 23.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 49.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 27.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 20.9 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 19.7 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 15.8 เป็นนักศึกษา
ร้อยละ 11.7 ระบุเป็นนักท่องเที่ยว
ร้อยละ 10.9 ระบุเป็นอาสาสมัคร
ร้อยละ 6.3 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 8.8 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 3.2 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 1.1 ระบุอาชีพเกษตรกรรม
และร้อยละ 1.6 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ จำแนกระหว่าง
คนไทยและชาวต่างชาติ
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ คนไทยค่าร้อยละ ชาวต่างชาติ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 54.8 20.1
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 32.7 19.6
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 7.9 26.9
4 ไม่ได้ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 3.2 13.2
5 ไม่ได้ติดตามเลย 1.4 20.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ อารมณ์ความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน จำแนกระหว่าง
คนไทยและชาวต่างชาติ
ลำดับที่ อารมณ์ความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน คนไทยค่าร้อยละ ชาวต่างชาติค่าร้อยละ
1 รู้สึกว่าคนไทยยังคงรักสามัคคีกัน 93.9 98.7
2 หวังว่าเมืองไทยจะสงบสุขอย่างยั่งยืน 94.4 99.2
3 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 15.4 5.3
4 เครียดต่อเรื่องการเมือง 12.8 1.8
5 ขัดแย้งกับคนใกล้ชิดเรื่องการเมือง 6.5 1.2
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างชาวต่างชาติที่ระบุทิศทางในการพัฒนารูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ของการเมืองไทยในอนาคต (ความเห็นเฉพาะชาวต่างชาติ)
รูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในมุมมองของชาวต่างชาติ ดีขึ้น เหมือนเดิม แย่ลง ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลไทย 39.1 28.7 3.8 28.4 100.0
2. การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเมือง 36.7 31.5 6.1 25.7 100.0
3. ประชาชนจะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 42.3 24.1 4.6 29.0 100.0
4. ความยุติธรรมในสังคม 31.2 35.3 4.9 28.6 100.0
5. ให้การยอมรับต่อรัฐบาลใหม่ 40.8 25.1 6.8 27.3 100.0
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างคนไทยที่ระบุทิศทางในการพัฒนารูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของ
การเมืองไทยในอนาคต (ความเห็นเฉพาะคนไทย)
รูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในมุมมองของคนไทย ดีขึ้น เหมือนเดิม แย่ลง ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลใหม่ 56.2 23.8 4.9 15.1 100.0
2. การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเมือง 42.0 45.1 7.4 5.5 100.0
3. ประชาชนจะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 53.7 30.4 12.9 3.0 100.0
4. ความยุติธรรมในสังคม 21.6 41.7 22.9 13.8 100.0
5. ให้ความยอมรับต่อรัฐบาลใหม่ 58.1 25.9 5.7 10.3 100.0
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางการเมืองของไทย ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
จำแนกออกเป็น คนไทย นักท่องเที่ยวต่างชาติ และนักธุรกิจต่างชาติ
ลำดับที่ ระดับความเชื่อมั่น คนไทย นักท่องเที่ยวต่างชาติ นักธุรกิจต่างชาติ
1 เชื่อมั่น 26.3 30.8 23.4
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 46.8 41.0 45.1
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 14.9 20.5 16.9
4 ไม่เชื่อมั่น 8.2 2.6 4.3
5 ไม่มีความเห็น 4.0 5.1 10.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางด้านเศรษฐกิจของไทย
ในอีก 6 เดือนข้างหน้า จำแนกออกเป็น คนไทย นักท่องเที่ยวต่างชาติ และนักธุรกิจต่างชาติ
ลำดับที่ ระดับความเชื่อมั่น คนไทย นักท่องเที่ยวต่างชาติ นักธุรกิจต่างชาติ
1 เชื่อมั่น 23.1 8.8 21.1
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 40.9 41.8 36.8
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 14.2 24.8 23.7
4 ไม่เชื่อมั่น 11.7 5.3 7.9
5 ไม่มีความเห็น 10.1 19.3 10.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า ถ้าเกิดใหม่ได้ อยากเกิดมาอยู่/เที่ยวเมืองไทยอีกหรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็น คนไทย นักท่องเที่ยวต่างชาติ นักธุรกิจต่างชาติ
1 อยากเกิดมาอยู่/เที่ยวเมืองไทยอีก 97.9 96.6 97.1
2 ไม่อยาก 0.6 1.8 1.0
3 ไม่แน่ใจ 1.5 1.6 1.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
เหตุผลที่อยากเกิดมาอยู่/เที่ยวเมืองไทยอีกได้แก่ คนไทยมีสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ทุกคนจงรักภักดีและช่วยเหลือประชาชนเมื่อประชาชนตก
ทุกข์ได้ยาก/ คนไทยมีความรักความสามัคคีกัน / ชอบวัฒนธรรมประเพณีไทย / คนไทยรักความสงบ / คนไทยช่วยเหลือกเกื้อกูลกัน / ชอบแหล่งท่อง
เที่ยวไทย อาหารไทย / คนไทยยิ้มแย้มแจ่มใส / คนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นแก่ตัว เป็นต้น
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ปัจจุบันและอีก 6 เดือนข้างหน้า: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนคนไทยและชาวต่างชาติในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” จำนวนทั้งสิ้น 3,419
ตัวอย่าง โดยแยกเป็นคนไทย 2,744 คนและชาวต่างชาติ 675 คน ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 25-30 กันยายน 2549
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
เมื่อสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ พบว่า คนไทยส่วนใหญ่หรือเกือบร้อยละ 90 ติดตาม
ข่าวการเมืองตั้งแต่ 3-4 วันต่อสัปดาห์และทุกวัน/เกือบทุกวันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ชาวต่างชาติมีสัดส่วนน้อยกว่าคนไทยหรือร้อยละ 39.7 ที่ติดตามข่าว
การเมืองของไทยตั้งแต่ 3-4 วันต่อสัปดาห์และทุกวัน/เกือบทุกวัน
ดร.นพดล กล่าวว่า เมื่อสอบถามถึงความรู้สึกของสาธารณชนต่อสถานการณ์การเมืองไทยปัจจุบัน จำแนกออกเป็นคนไทยและชาวต่างชาติ
พบประเด็นที่น่าสนใจคือ ทั้งคนไทยส่วนใหญ่ร้อยละ 93.9 และชาวต่างชาติร้อยละ 98.7 รู้สึกว่าคนไทยยังคงรักสามัคคีกัน และคนไทยร้อยละ 94.4
ชาวต่างชาติร้อยละ 99.2 หวังว่าเมืองไทยจะสงบสุขอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าชาวต่างชาติกลับมีสัดส่วนมากกว่าคนไทยเล็กน้อยที่รู้สึกว่าคนไทย
ยังรักสามัคคีกันและหวังว่าเมืองไทยจะสงบสุข ในขณะที่คนไทยร้อยละ 15.4 ยังรู้สึกวิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง อย่างไรก็ตามชาวต่างชาติที่วิตก
กังวลต่อการเมืองไทยมีเพียงร้อยละ 5.3 เท่านั้น ในทิศทางเดียวกับความรู้สึกเครียดต่อการเมือง พบว่าคนไทยมีอยู่ร้อยละ 12.8 ชาวต่างชาติมีเพียง
ร้อยละ 1.8 และด้านความขัดแย้งกับคนใกล้ชิดเรื่องการเมืองไทย พบว่าคนไทยมีอยู่ร้อยละ 6.5 แต่ชาวต่างชาติมีเพียงร้อยละ 1.2 เท่านั้น
สำหรับความคิดเห็นต่อทิศทางในการพัฒนารูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของการเมืองไทยที่จะดีขึ้นในอนาคตจำแนกออกเป็น
คนไทยและชาวต่างชาติ พบว่า ในกลุ่มประชาชนคนไทยอันดับแรกหรือร้อยละ 58.1 คิดว่าเป็นเรื่องการยอมรับต่อรัฐบาลชุดใหม่ รองลงมาคือร้อยละ
56.2 คิดว่าเป็นเรื่องความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลชุดใหม่ที่จะมีขึ้น ร้อยละ 53.7 คิดว่าเป็นเรื่องการออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชน ร้อยละ 42.0 คิด
ว่าเป็นเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน อย่างไรก็ตาม เพียงร้อยละ 21.6 เท่านั้นที่คิดว่าความยุติธรรมในสังคมจะดีขึ้น
ในความคิดเห็นของชาวต่างชาติต่อทิศทางการพัฒนาการเมืองไทยที่ดีขึ้น พบว่า ร้อยละ 42.3 คิดว่าเป็นเรื่องการออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง
ของคนไทย รองลงมาคือร้อยละ 40.8 คิดว่าเป็นการยอมรับต่อรัฐบาลชุดใหม่ ร้อยละ 39.1 คิดว่าเป็นเรื่องความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลไทย ร้อยละ
36.7 คิดว่าเป็นเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน ร้อยละ 31.2 คิดว่าเป็นเรื่องความยุติธรรมในสังคม
เมื่อสอบถามความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางการเมืองไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้า จำแนกออกเป็นคนไทย นักท่องเที่ยวต่างชาติ และนัก
ธุรกิจต่างชาติ พบว่า คนทั้งสามกลุ่มส่วนใหญ่คือคนไทยร้อยละ 73.1 นักท่องเที่ยวต่างชาติร้อยละ 71.8 และนักธุรกิจต่างชาติร้อยละ 68.5 ค่อนข้าง
เชื่อมั่นและเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพการเมืองไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้า
เมื่อสอบถามความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้า จำแนกออกเป็นคนไทย นักท่องเที่ยวต่างชาติ และ
นักธุรกิจต่างชาติ พบว่า คนทั้งสามกลุ่มส่วนใหญ่คือ คนไทยร้อยละ 64.0 นักท่องเที่ยวต่างชาติร้อยละ 50.6 และนักธุรกิจต่างชาติร้อยละ 57.9 ค่อน
ข้างเชื่อมั่นและเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ประเด็นที่น่าสนใจคือ เมื่อถามว่า ถ้าเกิดใหม่ได้อยากเกิดมาอยู่หรือเที่ยวเมืองไทยอีกหรือไม่ ผลสำรวจพบว่าคนทั้งสามกลุ่มเกือบร้อยละ
ร้อยคือ คนไทยร้อยละ 97.9 นักท่องเที่ยวต่างชาติร้อยละ 96.6 และนักธุรกิจต่างชาติร้อยละ 97.1 ระบุอยากเกิดมาอยู่มาเที่ยวเมืองไทยอีก โดยให้
เหตุผลว่า คนไทยมีสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ทุกคนจงรักภักดีและช่วยเหลือประชาชนเมื่อประชาชนตกทุกข์ได้ยาก คนไทยมีความรักความสามัคคีกัน ชอบ
วัฒนธรรมประเพณีไทย คนไทยรักความสงบ คนไทยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ชอบแหล่งท่องเที่ยวไทย คนไทยยิ้มแย้มแจ่มใส และคนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นแก่
ตัว เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า สำหรับข้อเสนอแนะจากการสำรวจวิจัยที่ผ่านมาต่อรัฐบาลชุดใหม่คือ 1) ควรเป็นรัฐบาลแบบสามัญชน ติดดิน มีวิสัย
ทัศน์กว้างไกล ซื่อสัตย์สุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ รวดเร็วในการแก้ปัญหา กล้าคิดกล้าตัดสินใจแต่ไม่เผด็จการ 2) รักษาบรรยากาศที่ดีแห่งความรักความ
เป็นหนึ่งเดียวกันในหมู่ประชาชนทั้งประเทศ 3) ดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมเพื่อเอาผิดกลุ่มนักการเมือง ข้าราชการประจำและภาคเอกชนที่
ร่วมกันทุจริตคอรัปชั่นทุกระดับชั้นให้สาธารณชนทั่วไปและเด็กเยาวชนได้เห็นเพื่อเกิดจิตสำนึกไม่เอาเยี่ยงอย่าง 4) สานต่อ ปรับปรุงและสร้าง
นโยบายใหม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและวิถีชีวิตแบบไทยบนทางสายกลางที่มีวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม 5) คณะรัฐมนตรีชุดใหม่นำ
โดยนายกรัฐมนตรีคนใหม่น่าจะเข้าวัดฟังธรรมบำเพ็ญศาสนกิจก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดแรก เป็นการแสดงให้เห็นมิติใหม่ของรัฐบาลไทยที่มีรากฐาน
อยู่บนทางแห่งพระธรรมในจิตใจ สร้างเป็นแบบแผนธรรมเนียมปฏิบัติให้แก่รัฐบาลชุดต่อไป เพื่อภารกิจต่างๆ ที่ปฏิบัติจะได้ออกมาจากการคิดดีทำดีเพื่อ
ความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนทั้งประเทศ
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ฝ่ายการเมืองและประชาชนบางส่วนอาจมองว่า คปค. และรัฐบาลชุดใหม่ ไม่ให้อะไรใหม่แก่ประชาชนเพราะไม่
กล้าแตะนโยบายประชานิยม จึงเสนอให้นโยบายความสุขมวลรวม (Gross Domestic Happiness) และหลักเศรษฐกิจพอเพียง เข้ามาแทนนโยบาย
ประชานิยม เนื่องจากนโยบายความสุขมวลรวม(Gross Domestic Happiness) และหลักเศรษฐกิจพอเพียงเน้นการพัฒนาและแก้ปัญหาความเดือด
ร้อนของประชาชนอย่างยั่งยืน เพราะนโยบายประชานิยมที่ผ่านมาส่งผลทำให้เกิดปัญหาตามมาอย่างน้อย 2 ประการ คือ ความนิยมต่อตัวบุคคล และ ก่อ
ให้เกิดภาคนิยมที่ประชาชนแบ่งออกเป็นฝักเป็นฝ่าย แบ่งพรรคแบ่งพวก เกิดความแตกแยกทางสังคม นโยบายความสุขมวลรวม(Gross Domestic
Happiness) และหลักเศรษฐกิจพอเพียง จะอยู่บนพื้นฐานของวัฒนธรรมประเพณี และเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ที่มีความรักความสามัคคีและความ
เป็นปึกแผ่นเดียวกันในสังคม
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองของคนไทยและชาวต่างชาติ
2. เพื่อสำรวจความรู้สึกของคนไทยและชาวต่างชาติที่มีต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
3. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของคนไทยและชาวต่างชาติต่อเสถียรภาพทางการเมือง และเศรษฐกิจในอีก 6 เดือนข้างหน้า
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความรู้สึกของสาธารณชนต่อสถานการณ์การเมืองไทย
ปัจจุบันและอีก 6 เดือนข้างหน้า: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนคนไทยและชาวต่างชาติในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนิน
โครงการในระหว่างวันที่ 25-30 กันยายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนคนไทย และ
ชาวต่างชาติที่เดินทางมาพักอาศัยในประเทศไทย เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิเลือกคนไทย และแบบเฉพาะ
เจาะจง (Purposive Sampling) เลือกชาวต่างชาติ ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวนทั้งสิ้น 3,419 ตัวอย่าง โดยแยกเป็นคนไทย 2,744
คนและชาวต่างชาติ 675 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้
วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของ มหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนคนไทยพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.5 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.5 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.1 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.4 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 20.9 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 23.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 73.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.9 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 24.6 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 23.7 ระบุอาชีพรับจ้างแรงงานทั่วไป
ร้อยละ 12.9 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 4.6 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 4.5 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 2.5 ระบุว่างงาน
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างชาวต่างชาติ พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 58.2 ระบุเป็นชาย
ในขณะที่ร้อยละ 41.8 ระบุเป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 42.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 21.3 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 15.2 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 16.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 23.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 49.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 27.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 20.9 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 19.7 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 15.8 เป็นนักศึกษา
ร้อยละ 11.7 ระบุเป็นนักท่องเที่ยว
ร้อยละ 10.9 ระบุเป็นอาสาสมัคร
ร้อยละ 6.3 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 8.8 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 3.2 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 1.1 ระบุอาชีพเกษตรกรรม
และร้อยละ 1.6 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ จำแนกระหว่าง
คนไทยและชาวต่างชาติ
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ คนไทยค่าร้อยละ ชาวต่างชาติ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 54.8 20.1
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 32.7 19.6
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 7.9 26.9
4 ไม่ได้ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 3.2 13.2
5 ไม่ได้ติดตามเลย 1.4 20.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ อารมณ์ความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน จำแนกระหว่าง
คนไทยและชาวต่างชาติ
ลำดับที่ อารมณ์ความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน คนไทยค่าร้อยละ ชาวต่างชาติค่าร้อยละ
1 รู้สึกว่าคนไทยยังคงรักสามัคคีกัน 93.9 98.7
2 หวังว่าเมืองไทยจะสงบสุขอย่างยั่งยืน 94.4 99.2
3 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 15.4 5.3
4 เครียดต่อเรื่องการเมือง 12.8 1.8
5 ขัดแย้งกับคนใกล้ชิดเรื่องการเมือง 6.5 1.2
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างชาวต่างชาติที่ระบุทิศทางในการพัฒนารูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ของการเมืองไทยในอนาคต (ความเห็นเฉพาะชาวต่างชาติ)
รูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในมุมมองของชาวต่างชาติ ดีขึ้น เหมือนเดิม แย่ลง ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลไทย 39.1 28.7 3.8 28.4 100.0
2. การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเมือง 36.7 31.5 6.1 25.7 100.0
3. ประชาชนจะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 42.3 24.1 4.6 29.0 100.0
4. ความยุติธรรมในสังคม 31.2 35.3 4.9 28.6 100.0
5. ให้การยอมรับต่อรัฐบาลใหม่ 40.8 25.1 6.8 27.3 100.0
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างคนไทยที่ระบุทิศทางในการพัฒนารูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของ
การเมืองไทยในอนาคต (ความเห็นเฉพาะคนไทย)
รูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในมุมมองของคนไทย ดีขึ้น เหมือนเดิม แย่ลง ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลใหม่ 56.2 23.8 4.9 15.1 100.0
2. การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเมือง 42.0 45.1 7.4 5.5 100.0
3. ประชาชนจะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 53.7 30.4 12.9 3.0 100.0
4. ความยุติธรรมในสังคม 21.6 41.7 22.9 13.8 100.0
5. ให้ความยอมรับต่อรัฐบาลใหม่ 58.1 25.9 5.7 10.3 100.0
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางการเมืองของไทย ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
จำแนกออกเป็น คนไทย นักท่องเที่ยวต่างชาติ และนักธุรกิจต่างชาติ
ลำดับที่ ระดับความเชื่อมั่น คนไทย นักท่องเที่ยวต่างชาติ นักธุรกิจต่างชาติ
1 เชื่อมั่น 26.3 30.8 23.4
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 46.8 41.0 45.1
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 14.9 20.5 16.9
4 ไม่เชื่อมั่น 8.2 2.6 4.3
5 ไม่มีความเห็น 4.0 5.1 10.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางด้านเศรษฐกิจของไทย
ในอีก 6 เดือนข้างหน้า จำแนกออกเป็น คนไทย นักท่องเที่ยวต่างชาติ และนักธุรกิจต่างชาติ
ลำดับที่ ระดับความเชื่อมั่น คนไทย นักท่องเที่ยวต่างชาติ นักธุรกิจต่างชาติ
1 เชื่อมั่น 23.1 8.8 21.1
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 40.9 41.8 36.8
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 14.2 24.8 23.7
4 ไม่เชื่อมั่น 11.7 5.3 7.9
5 ไม่มีความเห็น 10.1 19.3 10.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า ถ้าเกิดใหม่ได้ อยากเกิดมาอยู่/เที่ยวเมืองไทยอีกหรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็น คนไทย นักท่องเที่ยวต่างชาติ นักธุรกิจต่างชาติ
1 อยากเกิดมาอยู่/เที่ยวเมืองไทยอีก 97.9 96.6 97.1
2 ไม่อยาก 0.6 1.8 1.0
3 ไม่แน่ใจ 1.5 1.6 1.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
เหตุผลที่อยากเกิดมาอยู่/เที่ยวเมืองไทยอีกได้แก่ คนไทยมีสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ทุกคนจงรักภักดีและช่วยเหลือประชาชนเมื่อประชาชนตก
ทุกข์ได้ยาก/ คนไทยมีความรักความสามัคคีกัน / ชอบวัฒนธรรมประเพณีไทย / คนไทยรักความสงบ / คนไทยช่วยเหลือกเกื้อกูลกัน / ชอบแหล่งท่อง
เที่ยวไทย อาหารไทย / คนไทยยิ้มแย้มแจ่มใส / คนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นแก่ตัว เป็นต้น
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-