ที่มาของโครงการ
สืบเนื่องจากการศึกษาไทยในอดีตนั้นมีการกำหนดให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าสู่ระดับอุดมศึกษาโดยใช้ระบบการสอบคัดเลือกซึ่ง
ระบบดังกล่าวถือว่าเป็นความล้มเหลวของการศึกษาไทยที่ไม่ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นในปัจจุบันจึงได้เปลี่ยนการคัดเลือกเยาวชนเข้าสู่
ระดับอุดมศึกษามาเป็นระบบ Admission ซึ่งกำลังเป็นกระแส ถูกวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางอยู่ในขณะนี้ ปัญหาในการประกาศผล
การสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ ขั้นพื้นฐาน (O- NET) และผลการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (A-NET) ซึ่ง
ปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่มีนักเรียนบางรายได้คะแนนเป็นศูนย์ หรือการประกาศผลออกมาเป็นคะแนน (T-Score) แต่จริง ๆ แล้วนักเรียนต้อง
ใช้คะแนนดิบเพื่อใช้ในการคัดเลือก Admission และประการสุดท้ายคือเว็บไซต์ในการประกาศผลล่ม ไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งปัญหาต่าง ๆ
เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นต่อระบบ Admission ความรู้สึกนึกคิดของเด็กนักเรียน ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากเยาวชน ที่มีกำลังศึกษา
หรือพึ่งจะสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร ถึงความคิดเห็น ของเยาวชนที่มีต่อระบบ Admission
และการประกาศผลการสอบ O-NET, A-NET ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัย ทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนที่กำลังศึกษาหรือพึ่งสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีต่อระบบ Admission
ในการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
2. เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องสนใจและศึกษาเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “เยาวชนคิดอย่างไรต่อวิธีการวัดความรู้แบบ O-Net
และ A-Net : กรณีศึกษานักเรียนที่กำลังศึกษาหรือพึ่งจะสำเร็จการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร ” ซึ่งดำเนิน
โครงการสำรวจในวันที่ 11 เมษายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาหรือพึ่งจะสำเร็จการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบเชิงระบบเวลาและลำดับคนในกลุ่มเป้าหมาย
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,403 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า เป็นเพศชายร้อยละ 36.5
เพศหญิง ร้อยละ 63.5
และเมื่อพิจารณาช่วงอายุของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ร้อยละ 16.9 ระบุอายุต่ำกว่า 15 ปี
ร้อยละ 65.1 ระบุอายุระหว่าง 16-17 ปี
และ ร้อยละ 18.0 ระบุอายุมากกว่า 17 ปี
สำหรับระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างนั้น พบว่าเป็นผู้ที่กำลังจะศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 คิดเป็นร้อยละ 40.1 รองลงมาเป็นผู้
ที่กำลังจะศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 คิดเป็นร้อยละ 31.0 เป็นผู้ที่กำลังจะศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 20.3 และผู้ที่
กำลังจะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 8.6
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “เยาวชนคิดอย่างไรต่อวิธีการวัดความรู้แบบ O-Net
และ A-Net” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียนที่กำลังศึกษาหรือพึ่งจะสำเร็จการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายใน
เขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,403 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 11 เมษายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้ง
นี้ เป็นดังนี้
ผลสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างต่อความเข้าใจในระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาปี 2549 พบว่า ตัวอย่างส่วน
ใหญ่ยังเข้าใจไม่ชัดเจน โดยร้อยละ 80.9 ยังเข้าใจไม่ชัดเจนในเรื่องของ คะแนน T-Score รองลงมายังเข้าใจไม่ชัดเจนในระบบ
Admission กลาง (ร้อยละ 75.4) การใช้ GPA และ GPAX ในการสอบคัดเลือก (ร้อยละ 66.8) การสอบ A-Net (ร้อยละ
64.8) การสอบ O-Net (ร้อยละ 61.4) และระบบ Admission ตรง (ร้อยละ 56.9) ตามลำดับ
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นต่อมาตรฐานความแตกต่างของผลการเรียน GPA และ GPAX ในแต่ละสถาบัน พบว่าส่วน
ใหญ่คือร้อยละ 83.7 เห็นว่ามาตรฐานการให้คะแนน GPA และ GPAX ของแต่ละสถาบันมีความแตกต่างกัน ร้อยละ 10.3 เห็นว่าไม่แตกต่างกัน
และร้อยละ 6.0 ไม่มีความคิดเห็น นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 52.9 ยังเห็นว่าการใช้คะแนน GPA (20%) และคะแนน GPAX (10%) มาเป็นส่วน
ประกอบในการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษานั้นไม่เหมาะสม ร้อยละ 39.1 เห็นว่าเหมาะสมแล้ว และร้อยละ 8.0 ไม่มีความคิดเห็น
ขณะเดียวกันตัวอย่างส่วนใหญ่ยังเห็นว่าการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสอบ A-Net และ O-Net ยังขาดความพร้อม โดย
ร้อยละ 73.4 เห็นว่ายังขาดความพร้อมในเรื่องการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร รองลงมา เห็นว่าขาดความพร้อมในเรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตและเว็ปไซต์
รายงานผล (ร้อยละ 69.5) ระบบการตรวจสอบคุณภาพการทำงาน (ร้อยละ 66.0) คุณภาพของเจ้าหน้าที่ (ร้อยละ 60.1) การประสานงาน
ภายในของเจ้าหน้าที่ (ร้อยละ 59.7) และจำนวนเจ้าหน้าที่ (ร้อยละ 59.1) ตามลำดับ
นอกจากนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นต่อขั้นตอนการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่ควรได้รับ
การปรับปรุงแก้ไข พบว่า อันดับแรก ต้องการให้ปรับปรุงในด้านการประกาศคะแนน (ร้อยละ 58.2) รองลงมาต้องการให้ปรับปรุงเรื่องการตรวจข้อ
สอบ (ร้อยละ 57.4) และต้องการให้ปรับปรุงด้านการใช้อินเทอร์เน็ตและเว็ปไซต์ (ร้อยละ 55.5) ตามลำดับ
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาอีกประการหนึ่งก็คือ เมื่อสอบถามถึงความมั่นใจต่อมาตรฐานการตรวจข้อสอบอัตนัยพบว่า ร้อยละ 2.1 ระบุมั่น
ใจมาก ร้อยละ 18.8 ระบุค่อนข้างมาก ร้อยละ 42.4 ระบุค่อนข้างน้อย ร้อยละ 27.3 ระบุน้อย และร้อยละ 9.4 ระบุไม่มีความเห็น เมื่อ
สอบถามถึงความมั่นใจต่อคะแนน O-Net และ A-Net ที่ประกาศเมื่อ 11 เม.ย. นี้ ว่าจะมีความถูกต้อง พบว่า ร้อยละ 1.8 ระบุมั่นใจมาก ร้อย
ละ 20.4 ระบุค่อนข้างมาก ร้อยละ 40.9 ระบุค่อนข้างน้อย ร้อยละ 23.6 ระบุน้อย และ ร้อยละ 13.3 ระบุไม่มีความเห็น และเมื่อ
สอบถามถึงความมั่นใจต่อระบบ Admission ว่าจะสามารถคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้อย่างแท้จริง พบว่า
ร้อยละ 3.3 ระบุมั่นใจมาก ร้อยละ 19.4 ระบุค่อนข้างมาก ร้อยละ 39.6 ระบุค่อนข้างน้อย ร้อยละ 25.1 ระบุน้อย และร้อยละ
12.6 ระบุไม่มีความเห็น
ร้อยละ 60.0 เห็นว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นต่อระบบ Admission ทำให้ภาพลักษณ์ของ สกอ. เสียหาย ในขณะที่ร้อยละ 12.1 เห็นว่าไม่เสีย
หาย และร้อยละ 27.9 ไม่มีความ
ดร.นพดล กล่าวว่า กลุ่มเยาวชนที่ถูกศึกษากำลังอยู่ในสภาวะสับสนและขาดความชัดเจนในความเข้าใจเกือบทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการ
ทดสอบความรู้เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา เช่น ระบบ Admission ตรง ระบบ Admission กลาง การสอบ O-Net การสอบ A-Net
คะแนน T-Score การใช้ GPA และ GPAX เป็นองค์ประกอบในการคัดเลือก ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อกลุ่มเยาวชนมาพบเจอปัญหาด้านการบริหารจัดการของ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ประสบความล้มเหลวซ้ำซาก ยิ่งสร้างความไม่เชื่อมั่นในกลุ่มเยาวชนต่อระบบการทดสอบความรู้เพื่อเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา
แบบใหม่
“ตามจริงแล้ว แนวคิดปรัชญาและกระบวนการทดสอบแบบใหม่เป็นที่ยอมรับทั่วไปว่าน่าจะดีกว่าการสอบเอ็น ทรานซ์แบบเดิม แต่เมื่อสำรวจ
พบว่าเยาวชนส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจในประเด็นสำคัญทุกเรื่องและมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อระบบใหม่เช่นนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรัฐบาลควรเร่ง
เข้ามาแก้ไขสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นก่อนที่กระแสต่อต้านระบบใหม่จะขยายวงกว้างไปมากกว่านี้” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า นี่คือปรากฏการณ์ของการออกแบบ “แบบไม่เสร็จ” ของผู้ใหญ่ในสังคมที่คิดอยากออกแบบด้านการทดสอบความรู้ของ
เยาวชนเพื่อศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา อย่างไรก็ตาม ปัญหาต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นขณะนี้ ควรถูกมองว่าเป็นจุดเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบการทดสอบเยาวชน
และเป็นบทเรียน เพื่อนำไปสู่การพัฒนา หาทางป้องกันแก้ไขการศึกษาต่อในอนาคตที่ดีกว่า จุดที่ต้องเร่งแก้ไขมีอย่างน้อยห้าประการคือ การประชา
สัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจ การสร้างความตระหนักว่าระบบใหม่ดีกว่าระบบเดิมอย่างไร การทำให้เกิดความเป็นมาตรฐานเดียวกันในการทดสอบ
การเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถติดตามตรวจสอบได้ และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยรัฐบาลรักษาการและผู้บริหารระดับสูงของสำนักงาน
คณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ต้องก้าวเข้ามาช่วยแก้ไขก่อนที่จะสายเกินไปในกระแสความรู้สึกของกลุ่มเยาวชนที่จะปฏิเสธสิ่งที่ผู้ใหญ่ในสังคม
วางแผนกำหนดชะตาชีวิตอนาคตการศึกษาของพวกเขา โดยขอให้นำจิตใจของกลุ่มเยาวชนที่กำลังประสบปัญหาเหล่านี้เป็นความรู้สึกของบรรดาผู้ใหญ่และ
นักวิชาการที่ออกแบบระบบทดสอบเหล่านี้ไว้ จะได้รู้สึกว่าเยาวชนเหล่านี้รู้สึกอย่างไรและช่วยกันป้องกันไม่ให้เกิดความล้มเหลวในระบบแบบซ้ำซากเช่นนี้
อีก
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 ความคิดเห็นต่อความเข้าใจในระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ปี 2549
ลำดับที่ หัวข้อ ความคิดเห็น รวมทั้งสิ้น
เข้าใจชัดเจน ยังเข้าใจไม่ชัดเจน
1 ระบบ Admission ตรง 43.1 56.9 100.0
2 ระบบ Admission กลาง 24.6 75.4 100.0
3 การสอบ O-Net 38.6 61.4 100.0
4 การสอบ A-Net 35.2 64.8 100.0
5 คะแนน T-Score 19.1 80.9 100.0
6 การใช้ GPA และ GPAX ในการคัดเลือก ฯ 33.2 66.8 100.0
ตารางที่ 2 ความคิดเห็นต่อผลการเรียนเฉลี่ยในแต่ละสาขาวิชา (GPA) และ ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX)
ของแต่ละสถาบันการศึกษา ว่ามีมาตรฐานแตกต่างกันหรือไม่
ลำดับที่ GPA และ GPAX ในแต่ละสถาบันการศึกษามีมาตรฐานแตกต่างกันหรือไม่ ค่าร้อยละ
1 แตกต่าง 83.7
2 ไม่แตกต่าง 10.3
3 ไม่มีความคิดเห็น 6.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 ความคิดเห็นต่อความเหมาะสมในการใช้ค่าน้ำหนักของคะแนน GPA (20%) และ GPAX (10%)
มาเป็นองค์ประกอบการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เหมาะสม 39.1
2 ไม่เหมาะสม โดย
- ควรเปลี่ยนค่าน้ำหนักคะแนน GPA และ GPAX ใหม่ ร้อยละ 31.4
โดยค่าน้ำหนักคะแนนที่เหมาะสมคือ GPA 10 % และ GPAX 10 % 52.9
- ควรยกเลิกการใช้ คะแนน GPA และ GPAX ร้อยละ 68.6
3 ไม่มีความคิดเห็น 8.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 ความคิดเห็นต่อความพร้อมในการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสอบ O-Net และ A-Net
ลำดับที่ หัวข้อ ความคิดเห็น รวมทั้งสิ้น
มีความพร้อม ยังไม่พร้อม ไม่มีความเห็น
1 การประชาสัมพันธ์ข่าวสาร 19.6 73.4 7.0 100.0
2 จำนวนของเจ้าหน้าที่ 17.9 59.1 23.0 100.0
3 คุณภาพของเจ้าหน้าที่ 16.2 60.1 23.7 100.0
4 การใช้อินเทอร์เน็ตและเว็ปไซต์รายงานผล 23.1 69.5 7.4 100.0
5 การประสานงานภายในของเจ้าหน้าที่ 14.9 59.7 25.4 100.0
6 ระบบการตรวจสอบคุณภาพการทำงานเพื่อความถูกต้องแม่นยำ 14.2 66.0 19.8 100.0
7 อื่น ๆ เช่น คุณภาพการศึกษาได้มาตรฐาน/การวางแผนในการใช้ระบบ เป็นต้น 16.1 64.5 19.4 100.0
ตารางที่ 5 ความคิดเห็นต่อขั้นตอนการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
ที่ควรได้รับการปรับปรุงแก้ไข (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 การประกาศคะแนน 58.2
2 การตรวจข้อสอบ 57.4
3 การใช้อินเทอร์เน็ตและเว็ปไซต์ 55.5
4 การประกาศผลการคัดเลือก 53.2
5 การรับสมัครสอบ O-Net , A-Net 52.7
6 การรับสมัครคัดเลือกเข้าศึกษา 44.3
7 คำชี้แจงในการทำข้อสอบ 39.1
8 การประกาศสถานที่สอบ 33.5
9 อื่น ๆ เช่น การประชาสัมพันธ์ ค่าสมัคร ประสิทธิภาพของเครื่องตรวจ เป็นต้น 1.9
ตารางที่ 6 ความมั่นใจกับมาตรฐานการตรวจข้อสอบอัตนัยว่าจะมีความถูกต้องและเป็นธรรมมากน้อยเพียงใด
ลำดับที่ ระดับความมั่นใจ ค่าร้อยละ
1 มั่นใจมาก 2.1
2 ค่อนข้างมาก 18.8
3 ค่อนข้างน้อย 42.4
4 น้อย 27.3
5 ไม่มีความคิดเห็น 9.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 ความมั่นใจว่าคะแนน O-Net และ A-Net ที่ประกาศในวันที่ 11 เม.ย. 2549 นี้จะมีความถูกต้อง
ลำดับที่ ระดับความมั่นใจ ค่าร้อยละ
1 มั่นใจมาก 1.8
2 ค่อนข้างมาก 20.4
3 ค่อนข้างน้อย 40.9
4 น้อย 23.6
5 ไม่มีความคิดเห็น 13.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 ความมั่นใจต่อระบบ Admission ว่าจะสามารถคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเข้าศึกษาต่อ
ได้อย่างแท้จริง
ลำดับที่ ระดับความมั่นใจ ค่าร้อยละ
1 มั่นใจมาก 3.3
2 ค่อนข้างมาก 19.4
3 ค่อนข้างน้อย 39.6
4 น้อย 25.1
5 ไม่มีความคิดเห็น 12.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 ความคิดเห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นต่อระบบ Admission ทำให้ภาพลักษณ์ของสำนักงานคณะกรรมการ
การอุดมศึกษา (สกอ.) เสียหายหรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เสียหาย 60.0
2 ไม่เสียหาย 12.1
3 ไม่มีความคิดเห็น 27.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
สืบเนื่องจากการศึกษาไทยในอดีตนั้นมีการกำหนดให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าสู่ระดับอุดมศึกษาโดยใช้ระบบการสอบคัดเลือกซึ่ง
ระบบดังกล่าวถือว่าเป็นความล้มเหลวของการศึกษาไทยที่ไม่ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นในปัจจุบันจึงได้เปลี่ยนการคัดเลือกเยาวชนเข้าสู่
ระดับอุดมศึกษามาเป็นระบบ Admission ซึ่งกำลังเป็นกระแส ถูกวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางอยู่ในขณะนี้ ปัญหาในการประกาศผล
การสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ ขั้นพื้นฐาน (O- NET) และผลการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (A-NET) ซึ่ง
ปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่มีนักเรียนบางรายได้คะแนนเป็นศูนย์ หรือการประกาศผลออกมาเป็นคะแนน (T-Score) แต่จริง ๆ แล้วนักเรียนต้อง
ใช้คะแนนดิบเพื่อใช้ในการคัดเลือก Admission และประการสุดท้ายคือเว็บไซต์ในการประกาศผลล่ม ไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งปัญหาต่าง ๆ
เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นต่อระบบ Admission ความรู้สึกนึกคิดของเด็กนักเรียน ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากเยาวชน ที่มีกำลังศึกษา
หรือพึ่งจะสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร ถึงความคิดเห็น ของเยาวชนที่มีต่อระบบ Admission
และการประกาศผลการสอบ O-NET, A-NET ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัย ทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนที่กำลังศึกษาหรือพึ่งสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีต่อระบบ Admission
ในการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
2. เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องสนใจและศึกษาเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “เยาวชนคิดอย่างไรต่อวิธีการวัดความรู้แบบ O-Net
และ A-Net : กรณีศึกษานักเรียนที่กำลังศึกษาหรือพึ่งจะสำเร็จการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร ” ซึ่งดำเนิน
โครงการสำรวจในวันที่ 11 เมษายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาหรือพึ่งจะสำเร็จการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบเชิงระบบเวลาและลำดับคนในกลุ่มเป้าหมาย
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,403 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า เป็นเพศชายร้อยละ 36.5
เพศหญิง ร้อยละ 63.5
และเมื่อพิจารณาช่วงอายุของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ร้อยละ 16.9 ระบุอายุต่ำกว่า 15 ปี
ร้อยละ 65.1 ระบุอายุระหว่าง 16-17 ปี
และ ร้อยละ 18.0 ระบุอายุมากกว่า 17 ปี
สำหรับระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างนั้น พบว่าเป็นผู้ที่กำลังจะศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 คิดเป็นร้อยละ 40.1 รองลงมาเป็นผู้
ที่กำลังจะศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 คิดเป็นร้อยละ 31.0 เป็นผู้ที่กำลังจะศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 20.3 และผู้ที่
กำลังจะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 8.6
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “เยาวชนคิดอย่างไรต่อวิธีการวัดความรู้แบบ O-Net
และ A-Net” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียนที่กำลังศึกษาหรือพึ่งจะสำเร็จการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายใน
เขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,403 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 11 เมษายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้ง
นี้ เป็นดังนี้
ผลสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างต่อความเข้าใจในระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาปี 2549 พบว่า ตัวอย่างส่วน
ใหญ่ยังเข้าใจไม่ชัดเจน โดยร้อยละ 80.9 ยังเข้าใจไม่ชัดเจนในเรื่องของ คะแนน T-Score รองลงมายังเข้าใจไม่ชัดเจนในระบบ
Admission กลาง (ร้อยละ 75.4) การใช้ GPA และ GPAX ในการสอบคัดเลือก (ร้อยละ 66.8) การสอบ A-Net (ร้อยละ
64.8) การสอบ O-Net (ร้อยละ 61.4) และระบบ Admission ตรง (ร้อยละ 56.9) ตามลำดับ
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นต่อมาตรฐานความแตกต่างของผลการเรียน GPA และ GPAX ในแต่ละสถาบัน พบว่าส่วน
ใหญ่คือร้อยละ 83.7 เห็นว่ามาตรฐานการให้คะแนน GPA และ GPAX ของแต่ละสถาบันมีความแตกต่างกัน ร้อยละ 10.3 เห็นว่าไม่แตกต่างกัน
และร้อยละ 6.0 ไม่มีความคิดเห็น นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 52.9 ยังเห็นว่าการใช้คะแนน GPA (20%) และคะแนน GPAX (10%) มาเป็นส่วน
ประกอบในการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษานั้นไม่เหมาะสม ร้อยละ 39.1 เห็นว่าเหมาะสมแล้ว และร้อยละ 8.0 ไม่มีความคิดเห็น
ขณะเดียวกันตัวอย่างส่วนใหญ่ยังเห็นว่าการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสอบ A-Net และ O-Net ยังขาดความพร้อม โดย
ร้อยละ 73.4 เห็นว่ายังขาดความพร้อมในเรื่องการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร รองลงมา เห็นว่าขาดความพร้อมในเรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตและเว็ปไซต์
รายงานผล (ร้อยละ 69.5) ระบบการตรวจสอบคุณภาพการทำงาน (ร้อยละ 66.0) คุณภาพของเจ้าหน้าที่ (ร้อยละ 60.1) การประสานงาน
ภายในของเจ้าหน้าที่ (ร้อยละ 59.7) และจำนวนเจ้าหน้าที่ (ร้อยละ 59.1) ตามลำดับ
นอกจากนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นต่อขั้นตอนการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่ควรได้รับ
การปรับปรุงแก้ไข พบว่า อันดับแรก ต้องการให้ปรับปรุงในด้านการประกาศคะแนน (ร้อยละ 58.2) รองลงมาต้องการให้ปรับปรุงเรื่องการตรวจข้อ
สอบ (ร้อยละ 57.4) และต้องการให้ปรับปรุงด้านการใช้อินเทอร์เน็ตและเว็ปไซต์ (ร้อยละ 55.5) ตามลำดับ
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาอีกประการหนึ่งก็คือ เมื่อสอบถามถึงความมั่นใจต่อมาตรฐานการตรวจข้อสอบอัตนัยพบว่า ร้อยละ 2.1 ระบุมั่น
ใจมาก ร้อยละ 18.8 ระบุค่อนข้างมาก ร้อยละ 42.4 ระบุค่อนข้างน้อย ร้อยละ 27.3 ระบุน้อย และร้อยละ 9.4 ระบุไม่มีความเห็น เมื่อ
สอบถามถึงความมั่นใจต่อคะแนน O-Net และ A-Net ที่ประกาศเมื่อ 11 เม.ย. นี้ ว่าจะมีความถูกต้อง พบว่า ร้อยละ 1.8 ระบุมั่นใจมาก ร้อย
ละ 20.4 ระบุค่อนข้างมาก ร้อยละ 40.9 ระบุค่อนข้างน้อย ร้อยละ 23.6 ระบุน้อย และ ร้อยละ 13.3 ระบุไม่มีความเห็น และเมื่อ
สอบถามถึงความมั่นใจต่อระบบ Admission ว่าจะสามารถคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้อย่างแท้จริง พบว่า
ร้อยละ 3.3 ระบุมั่นใจมาก ร้อยละ 19.4 ระบุค่อนข้างมาก ร้อยละ 39.6 ระบุค่อนข้างน้อย ร้อยละ 25.1 ระบุน้อย และร้อยละ
12.6 ระบุไม่มีความเห็น
ร้อยละ 60.0 เห็นว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นต่อระบบ Admission ทำให้ภาพลักษณ์ของ สกอ. เสียหาย ในขณะที่ร้อยละ 12.1 เห็นว่าไม่เสีย
หาย และร้อยละ 27.9 ไม่มีความ
ดร.นพดล กล่าวว่า กลุ่มเยาวชนที่ถูกศึกษากำลังอยู่ในสภาวะสับสนและขาดความชัดเจนในความเข้าใจเกือบทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการ
ทดสอบความรู้เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา เช่น ระบบ Admission ตรง ระบบ Admission กลาง การสอบ O-Net การสอบ A-Net
คะแนน T-Score การใช้ GPA และ GPAX เป็นองค์ประกอบในการคัดเลือก ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อกลุ่มเยาวชนมาพบเจอปัญหาด้านการบริหารจัดการของ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ประสบความล้มเหลวซ้ำซาก ยิ่งสร้างความไม่เชื่อมั่นในกลุ่มเยาวชนต่อระบบการทดสอบความรู้เพื่อเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา
แบบใหม่
“ตามจริงแล้ว แนวคิดปรัชญาและกระบวนการทดสอบแบบใหม่เป็นที่ยอมรับทั่วไปว่าน่าจะดีกว่าการสอบเอ็น ทรานซ์แบบเดิม แต่เมื่อสำรวจ
พบว่าเยาวชนส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจในประเด็นสำคัญทุกเรื่องและมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อระบบใหม่เช่นนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรัฐบาลควรเร่ง
เข้ามาแก้ไขสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นก่อนที่กระแสต่อต้านระบบใหม่จะขยายวงกว้างไปมากกว่านี้” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า นี่คือปรากฏการณ์ของการออกแบบ “แบบไม่เสร็จ” ของผู้ใหญ่ในสังคมที่คิดอยากออกแบบด้านการทดสอบความรู้ของ
เยาวชนเพื่อศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา อย่างไรก็ตาม ปัญหาต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นขณะนี้ ควรถูกมองว่าเป็นจุดเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบการทดสอบเยาวชน
และเป็นบทเรียน เพื่อนำไปสู่การพัฒนา หาทางป้องกันแก้ไขการศึกษาต่อในอนาคตที่ดีกว่า จุดที่ต้องเร่งแก้ไขมีอย่างน้อยห้าประการคือ การประชา
สัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจ การสร้างความตระหนักว่าระบบใหม่ดีกว่าระบบเดิมอย่างไร การทำให้เกิดความเป็นมาตรฐานเดียวกันในการทดสอบ
การเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถติดตามตรวจสอบได้ และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยรัฐบาลรักษาการและผู้บริหารระดับสูงของสำนักงาน
คณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ต้องก้าวเข้ามาช่วยแก้ไขก่อนที่จะสายเกินไปในกระแสความรู้สึกของกลุ่มเยาวชนที่จะปฏิเสธสิ่งที่ผู้ใหญ่ในสังคม
วางแผนกำหนดชะตาชีวิตอนาคตการศึกษาของพวกเขา โดยขอให้นำจิตใจของกลุ่มเยาวชนที่กำลังประสบปัญหาเหล่านี้เป็นความรู้สึกของบรรดาผู้ใหญ่และ
นักวิชาการที่ออกแบบระบบทดสอบเหล่านี้ไว้ จะได้รู้สึกว่าเยาวชนเหล่านี้รู้สึกอย่างไรและช่วยกันป้องกันไม่ให้เกิดความล้มเหลวในระบบแบบซ้ำซากเช่นนี้
อีก
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 ความคิดเห็นต่อความเข้าใจในระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ปี 2549
ลำดับที่ หัวข้อ ความคิดเห็น รวมทั้งสิ้น
เข้าใจชัดเจน ยังเข้าใจไม่ชัดเจน
1 ระบบ Admission ตรง 43.1 56.9 100.0
2 ระบบ Admission กลาง 24.6 75.4 100.0
3 การสอบ O-Net 38.6 61.4 100.0
4 การสอบ A-Net 35.2 64.8 100.0
5 คะแนน T-Score 19.1 80.9 100.0
6 การใช้ GPA และ GPAX ในการคัดเลือก ฯ 33.2 66.8 100.0
ตารางที่ 2 ความคิดเห็นต่อผลการเรียนเฉลี่ยในแต่ละสาขาวิชา (GPA) และ ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX)
ของแต่ละสถาบันการศึกษา ว่ามีมาตรฐานแตกต่างกันหรือไม่
ลำดับที่ GPA และ GPAX ในแต่ละสถาบันการศึกษามีมาตรฐานแตกต่างกันหรือไม่ ค่าร้อยละ
1 แตกต่าง 83.7
2 ไม่แตกต่าง 10.3
3 ไม่มีความคิดเห็น 6.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 ความคิดเห็นต่อความเหมาะสมในการใช้ค่าน้ำหนักของคะแนน GPA (20%) และ GPAX (10%)
มาเป็นองค์ประกอบการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เหมาะสม 39.1
2 ไม่เหมาะสม โดย
- ควรเปลี่ยนค่าน้ำหนักคะแนน GPA และ GPAX ใหม่ ร้อยละ 31.4
โดยค่าน้ำหนักคะแนนที่เหมาะสมคือ GPA 10 % และ GPAX 10 % 52.9
- ควรยกเลิกการใช้ คะแนน GPA และ GPAX ร้อยละ 68.6
3 ไม่มีความคิดเห็น 8.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 ความคิดเห็นต่อความพร้อมในการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสอบ O-Net และ A-Net
ลำดับที่ หัวข้อ ความคิดเห็น รวมทั้งสิ้น
มีความพร้อม ยังไม่พร้อม ไม่มีความเห็น
1 การประชาสัมพันธ์ข่าวสาร 19.6 73.4 7.0 100.0
2 จำนวนของเจ้าหน้าที่ 17.9 59.1 23.0 100.0
3 คุณภาพของเจ้าหน้าที่ 16.2 60.1 23.7 100.0
4 การใช้อินเทอร์เน็ตและเว็ปไซต์รายงานผล 23.1 69.5 7.4 100.0
5 การประสานงานภายในของเจ้าหน้าที่ 14.9 59.7 25.4 100.0
6 ระบบการตรวจสอบคุณภาพการทำงานเพื่อความถูกต้องแม่นยำ 14.2 66.0 19.8 100.0
7 อื่น ๆ เช่น คุณภาพการศึกษาได้มาตรฐาน/การวางแผนในการใช้ระบบ เป็นต้น 16.1 64.5 19.4 100.0
ตารางที่ 5 ความคิดเห็นต่อขั้นตอนการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
ที่ควรได้รับการปรับปรุงแก้ไข (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 การประกาศคะแนน 58.2
2 การตรวจข้อสอบ 57.4
3 การใช้อินเทอร์เน็ตและเว็ปไซต์ 55.5
4 การประกาศผลการคัดเลือก 53.2
5 การรับสมัครสอบ O-Net , A-Net 52.7
6 การรับสมัครคัดเลือกเข้าศึกษา 44.3
7 คำชี้แจงในการทำข้อสอบ 39.1
8 การประกาศสถานที่สอบ 33.5
9 อื่น ๆ เช่น การประชาสัมพันธ์ ค่าสมัคร ประสิทธิภาพของเครื่องตรวจ เป็นต้น 1.9
ตารางที่ 6 ความมั่นใจกับมาตรฐานการตรวจข้อสอบอัตนัยว่าจะมีความถูกต้องและเป็นธรรมมากน้อยเพียงใด
ลำดับที่ ระดับความมั่นใจ ค่าร้อยละ
1 มั่นใจมาก 2.1
2 ค่อนข้างมาก 18.8
3 ค่อนข้างน้อย 42.4
4 น้อย 27.3
5 ไม่มีความคิดเห็น 9.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 ความมั่นใจว่าคะแนน O-Net และ A-Net ที่ประกาศในวันที่ 11 เม.ย. 2549 นี้จะมีความถูกต้อง
ลำดับที่ ระดับความมั่นใจ ค่าร้อยละ
1 มั่นใจมาก 1.8
2 ค่อนข้างมาก 20.4
3 ค่อนข้างน้อย 40.9
4 น้อย 23.6
5 ไม่มีความคิดเห็น 13.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 ความมั่นใจต่อระบบ Admission ว่าจะสามารถคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเข้าศึกษาต่อ
ได้อย่างแท้จริง
ลำดับที่ ระดับความมั่นใจ ค่าร้อยละ
1 มั่นใจมาก 3.3
2 ค่อนข้างมาก 19.4
3 ค่อนข้างน้อย 39.6
4 น้อย 25.1
5 ไม่มีความคิดเห็น 12.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 ความคิดเห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นต่อระบบ Admission ทำให้ภาพลักษณ์ของสำนักงานคณะกรรมการ
การอุดมศึกษา (สกอ.) เสียหายหรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เสียหาย 60.0
2 ไม่เสียหาย 12.1
3 ไม่มีความคิดเห็น 27.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-