ที่มาของโครงการ
นอกเหนือไปจากความร้อนแรงของการเคลี่อนไหวชุมนุมเพื่อโจมตีนายกรัฐมนตรีนั้น การเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็เป็น
สถานการณ์ร้อนทางการเมืองที่ยังถกเถียงกันไม่จบและไม่สามารถหาข้อยุติที่ลงตัวได้ ตลอดเวลาที่ผ่านมา ทั้งฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน สมาชิกวุฒิสภา (ส.
ว.) ตลอดจนนักวิชาการ ได้ออกมาแสดงทรรศนะที่แตกต่างกันไปในเรื่องความจำเป็นของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตลอดจนเนื้อสาระของรัฐธรรมนูญฉบับ
ปัจจุบันที่ควรได้รับการแก้ไขปรับปรุง บางส่วนให้ทรรศนะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) บางส่วนต้องการให้แก้ไขเพื่อให้
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ไม่ต้องยึดติดอยู่ในกรอบของพรรคมากเกินไป และก็มีจำนวนไม่น้อยที่คิดว่าควรแก้ไขส่วนที่ว่าด้วยการสรรหา
กรรมการองค์กรอิสระ และที่น่าสนใจคือการเรียกร้องให้มีการแก้ไขในส่วนที่เกี่ยวข้องกับนายกรัฐมนตรีด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามในการตัดสินใจเพื่อ
ดำเนินการใดๆเกี่ยวกับเรื่องนี้นั้น รัฐบาลและสถาบันการเมืองที่เกี่ยวข้องควรเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนรวมในการแสดงความคิดเห็นในเรื่องดัง
กล่าวอย่างเต็มที่ และรัฐบาลเองก็ควรรับฟังเสียงประชาชน เพื่อดำรงไว้ซึ่งการเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนอย่างแท้จริง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มี
สิทธิเลือกตั้งใน 22 จังหวัดทั่วประเทศที่มีต่อประเด็นสำคัญต่างๆในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวม
ข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
2. เพื่อสำรวจความมั่นใจของประชาชนต่อความมั่นคงของการเมืองไทย
3. เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับหน่วยงานและสถาบันทางการเมืองที่เกี่ยวข้องนำไปเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจดำเนินการใดๆ
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ :
กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 23 จังหวัดทั่วประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 5-10 กุมภาพันธ์ 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 23 จังหวัดทั่วประเทศ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่
ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน จาก 23 จังหวัดทั่วทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงราย อุตรดิตถ์ ลำปาง เชียงใหม่ ลำพูน อุทัยธานี สมุทรปราการ อ่างทอง สิงห์บุรี ระยอง อยุธยา สุพรรณบุรี
อุดรธานี นครราชสีมา อุบลราชธานี นครพนม เลย สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต ประจวบคีรีขันธ์ พังงา และนครศรีธรรมราช
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 4,210 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ไม่เกินร้อยละ 2.5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 57.5 เป็นหญิง
ร้อยละ 42.5 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 11.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.0 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 21.6 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 23.6 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 20.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 72.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 24.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.7 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 21.1 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 18.2 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 12.6 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.5 ระบุเป็นนักศึกษา ร้อยละ 8.6 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 2.3 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไร
ต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 23 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,210
ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 5-10 กุมภาพันธ์ 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ผลสำรวจการติดตามข่าวการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 10.7 ระบุติดตามเป็นประจำ ในขณะที่ร้อยละ 65.3 ระบุ
ติดตามบ้างเป็นบางครั้ง และร้อยละ 24.0 ระบุติดตามน้อยมาก/ไม่ได้ติดตาม ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการเคลื่อน
ไหวเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 44.4 ระบุเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์/การขัดผลประโยชน์ของคน
บางกลุ่ม รองลงมาคือ ร้อยละ 23.6 ระบุความไม่มั่นคงทางการเมือง /ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ในปัจจุบัน และร้อยละ 13.8 ระบุ การไม่
ได้รับความเป็นธรรม/มีความไม่เสมอภาคเกิดขึ้น ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 61.6 ระบุควรมี
การแก้ไข โดยระบุเหตุผลว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีความซับซ้อน/ไม่ทันสมัย/มีช่องว่างมีบางส่วนที่ต้องปรับปรุง เป็นต้น ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ
24.9 ระบุไม่ควรแก้ไขโดยระบุเหตุผลว่า ของเดิมดีอยู่แล้ว/หากแก้ไขใหม่จะเอื้อประโยชน์ให้กับคนบางกลุ่ม และร้อยละ 13.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นที่มีต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นต่างๆ ที่กำลังมีการเคลื่อนไหวเรียกร้องอยู่นั้น พบ
ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจหลายประการ โดยเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยนายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องเป็นนักการ
เมืองนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 31.5 ระบุเห็นด้วยกับการแก้ไขดังกล่าว ร้อยละ 24.4 ระบุไม่เห็นด้วย ในขณะที่ตัวอย่างมากกว่า 1 ใน 3 คือ
ร้อยละ 44.1 ไม่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีดังกล่าว และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความคิดเห็น หากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยการ
ให้นายกรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 สมัยนั้นพบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 56.0 ระบุเห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 39.5 ระบุไม่
เห็นด้วย และร้อยละ 4.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 29.9 ระบุเห็นด้วยหากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดย ส.ส.ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง ในขณะที่ร้อย
ละ 26.0 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 44.1 ไม่ระบุความคิดเห็น อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 43.2 ระบุเห็นด้วยหากจะให้มี
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยยกเลิกการกำหนดให้ผู้สมัครเลือกตั้ง ส.ส. ต้องสังกัดพรรคการเมืองก่อนวันเลือกตั้ง 90 วัน ในขณะที่ตัวอย่างในสัดส่วน
ใกล้เคียงกันคือ ร้อยละ 44.2 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 12.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับผลสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่าง กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยให้สมาชิกวุฒิสภาอยู่ในตำแหน่งเพิ่มขึ้นเป็น 2 สมัยนั้นพบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 31.4 ระบุเห็นด้วย ในขณะที่ตัวอย่างเกือบ 2 ใน 3 คือร้อยละ 60.6 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 8.0 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ และกำลังอยู่ในความสนใจของประชาชนอีกประการหนึ่งก็คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่อง
การสรรหาคณะกรรมการองค์กรอิสระ ซึ่งพบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 53.9 ระบุควรมีการแก้ไขในเรื่องนี้ ในขณะที่ร้อยละ
14.1ระบุไม่ควรมีการแก้ไข และร้อยละ 32.0 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความคิดเห็นกรณี ความเป็นอิสระ
ขององค์กรอิสระหากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 51.0 ระบุเห็นด้วยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะทำให้องค์กรอิสระมี
ความเป็นอิสระอย่างแท้จริง ในขณะที่ร้อยละ 16.2 ระบุไม่เห็นด้วย และ ร้อยละ 32.8 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญอย่างยิ่งที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้และเป็นสิ่งที่รัฐบาลหรือสถาบันการเมืองที่เกี่ยวข้องควรนำไปพิจารณาก็คือ ความคิด
เห็นของตัวอย่างต่อการให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 91.8 ระบุควร
ให้เข้ามีส่วนร่วม โดยระบุเหตุผลว่า เป็นสิทธิของประชาชน/ประชาชนเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง /จะได้มีความคิดที่หลากหลายประกอบ
การพิจารณา/เกิดความยุติธรรมและโปร่งใส ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 4.9 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 3.3 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ คือความมั่นใจของประชาชนต่อความมั่นคงทางการเมืองของประเทศภายหลังการ
แก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 21.7 ระบุมั่นใจ ร้อยละ 27.0 ระบุค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 32.1 ระบุไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ
16.6 ระบุไม่มั่นใจ และร้อยละ 2.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
ผลสำรวจในครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าการแสวงหาผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม ความไม่มั่นคงทางการเมือง การไม่ได้รับความเป็นธรรม
การเรียกร้องสิทธิของประชาชน และการทุจริตในองค์กร น่าจะมีผลทำให้ประชาชนคิดว่าเป็นสาเหตุของการเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐ
ธรรมนูญ โดยประชาชนส่วนใหญเห็นว่าควรมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
“อย่างไรก็ตาม มีประเด็นสำคัญ 3 ประเด็นที่ดูเหมือนว่าประชาชนยังต้องการข้อมูลความรู้เพิ่มเติม เนื่องจากมีประชาชนจำนวนมากไม่
แสดงความคิดเห็นในประเด็นเหล่านั้น ได้แก่ ประเด็นที่ว่านายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องเป็นนักการเมือง และ ส.ส.ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการ
เมือง ส่วนเรื่องของการปลดล็อค 90 วันนั้น ประชาชนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย มีสัดส่วนไม่ต่างกัน ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับบุคคลในสถาบันการเมือง
และนักวิชาการ ต้องให้ความรู้และข้อมูลที่ชัดเจนถึงผลดี-ผลเสีย กรณี ส.ส.ไม่ต้องสังกัดพรรค การปลดล็อค 90 วัน และนายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้อง
เป็นนักการเมือง” ดร.นพดลกล่าว
ดร.นพดล กล่าวปิดท้ายว่า สถานการณ์ทางการเมืองและสังคมในขณะนี้น่าจะส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่ เห็นด้วยว่านายกรัฐมนตรีควรอยู่
ในตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 สมัย และไม่เห็นด้วยกับแนวคิดที่จะให้ ส.ว.อยู่ในตำแหน่งเพิ่มขึ้นเป็น 2 สมัย ยิ่งไปกว่านั้นประชาชนเกินกว่าครึ่งหนึ่ง
เห็นว่าควรมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนของการสรรหาคณะกรรมการองค์กรอิสระ ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการรับรู้ของประชาชน เกี่ยวกับการเข้าไป
แทรกแซงของฝ่ายการเมือง หรือความไม่เป็นธรรม ในการทำงานขององค์กรอิสระ
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ การติดตามข่าวการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
1 ติดตามเป็นประจำ 10.7
2 ติดตามบ้างเป็นบางครั้ง 65.3
3 ไม่ได้ติดตาม / ติดตามน้อยมาก 24.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สาเหตุที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
1 เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์/การขัดผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม 44.4
2 ความไม่มั่นคงทางการเมือง /ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ในปัจจุบัน 23.6
3 การไม่ได้รับความเป็นธรรม/มีความไม่เสมอภาคเกิดขึ้น 13.8
4 การเรียกร้องสิทธิของประชาชน 10.9
5 การทุจริตในองค์กร 9.4
6 รัฐธรรมนูญเดิมไม่รัดกุม ยังมีช่องโหว่ 8.0
7 อื่นๆ อาทิ เพื่อให้มีความโปร่งใสมากขึ้น/องค์กรอิสระไม่มีประสิทธิภาพ/การแทรกแซงจากฝ่ายรัฐบาล 9.8
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
1 ควรมีการแก้ไข เพราะ..รัฐธรรมนูญมีความซับซ้อน/ไม่ทันสมัย/มีช่องว่างมีบางส่วนที่ต้องปรับปรุง เป็นต้น 61.6
2 ไม่ควร เพราะ....ของเดิมดีอยู่แล้ว/หากแก้ไขใหม่จะเอื้อประโยชน์ให้กับคนบางกลุ่ม 24.9
3 ไม่มีความเห็น 13.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีหากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดย
นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องเป็นนักการเมือง
ลำดับที่ ความคิดเห็นหากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยนายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องเป็นนักการเมือง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 31.5
2 ไม่เห็นด้วย 24.4
3 ไม่มีความคิดเห็น 44.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีหากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยให้
นายกรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 สมัย
ลำดับที่ ความคิดเห็นหากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยให้ นายกรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 สมัย ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 56.0
2 ไม่เห็นด้วย 39.5
3 ไม่มีความเห็น 4.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีหากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง
ลำดับที่ ความคิดเห็นหากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดย ส.ส.ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 29.9
2 ไม่เห็นด้วย 26.0
3 ไม่มีความคิดเห็น 44.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีหากจะการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยยกเลิกการให้ผู้สมัครเลือกตั้ง ส.ส.
ต้องสังกัดพรรคการเมืองก่อนวันเลือกตั้ง 90 วัน”
ลำดับที่ ความคิดเห็นหากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยยกเลิกการให้ผู้สมัครเลือกตั้ง ส.ส.ต้องสังกัดพรรคการเมืองก่อนวันเลือกตั้ง 90 วัน ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 43.2
2 ไม่เห็นด้วย 44.2
3 ไม่มีความเห็น 12.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีหากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยให้สมาชิก
วุฒิสภา (ส.ว.) อยู่ในตำแหน่งเพิ่มขึ้นเป็น 2 สมัย
ลำดับที่ ความคิดเห็นหากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยให้ “สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) อยู่ในตำแหน่งเพิ่มขึ้นเป็น 2 สมัย” ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 31.4
2 ไม่เห็นด้วย 60.6
3 ไม่มีความเห็น 8.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนของการ
สรรหาคณะกรรมการองค์กรอิสระ
ลำดับที่ ความคิดเห็นหากจะมีการให้แก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนของการสรรหาคณะกรรมการองค์กรอิสระ ค่าร้อยละ
1 ควร 53.9
2 ไม่ควร 14.1
3 ไม่มีความเห็น 32.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีที่ว่าหากแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วจะทำให้
องค์กรอิสระมีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง
ลำดับที่ ความเห็นต่อกรณีที่ว่าหากแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วจะทำให้องค์กรอิสระมีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 51.0
2 ไม่เห็นด้วย 16.2
3 ไม่มีความเห็น 32.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณีการให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
1 ควรให้เข้ามีส่วนร่วม เพราะ.....เป็นสิทธิของประชาชน/ประชาชนเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง/
จะได้มีความคิดที่หลากหลายประกอบการพิจารณา/ เกิดความยุติธรรมและโปร่งใส 91.8
2 ไม่ควร เพราะ...คิดหลายคนจะวุ่นวาย/น่าจะให้ผู้ที่มีความรู้ดีอย่าง ส.ว. ส.ส. จัดการเอง 4.9
3 ไม่มีความเห็น 3.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อความมั่นคงทางการเมือง
หากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อความมั่นคงทางการเมืองหากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 21.7
2 ค่อนข้างมั่นใจ 27.0
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 32.1
4 ไม่มั่นใจ 16.6
5 ไม่มีความเห็น 2.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
นอกเหนือไปจากความร้อนแรงของการเคลี่อนไหวชุมนุมเพื่อโจมตีนายกรัฐมนตรีนั้น การเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็เป็น
สถานการณ์ร้อนทางการเมืองที่ยังถกเถียงกันไม่จบและไม่สามารถหาข้อยุติที่ลงตัวได้ ตลอดเวลาที่ผ่านมา ทั้งฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน สมาชิกวุฒิสภา (ส.
ว.) ตลอดจนนักวิชาการ ได้ออกมาแสดงทรรศนะที่แตกต่างกันไปในเรื่องความจำเป็นของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตลอดจนเนื้อสาระของรัฐธรรมนูญฉบับ
ปัจจุบันที่ควรได้รับการแก้ไขปรับปรุง บางส่วนให้ทรรศนะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) บางส่วนต้องการให้แก้ไขเพื่อให้
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ไม่ต้องยึดติดอยู่ในกรอบของพรรคมากเกินไป และก็มีจำนวนไม่น้อยที่คิดว่าควรแก้ไขส่วนที่ว่าด้วยการสรรหา
กรรมการองค์กรอิสระ และที่น่าสนใจคือการเรียกร้องให้มีการแก้ไขในส่วนที่เกี่ยวข้องกับนายกรัฐมนตรีด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามในการตัดสินใจเพื่อ
ดำเนินการใดๆเกี่ยวกับเรื่องนี้นั้น รัฐบาลและสถาบันการเมืองที่เกี่ยวข้องควรเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนรวมในการแสดงความคิดเห็นในเรื่องดัง
กล่าวอย่างเต็มที่ และรัฐบาลเองก็ควรรับฟังเสียงประชาชน เพื่อดำรงไว้ซึ่งการเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนอย่างแท้จริง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มี
สิทธิเลือกตั้งใน 22 จังหวัดทั่วประเทศที่มีต่อประเด็นสำคัญต่างๆในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวม
ข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
2. เพื่อสำรวจความมั่นใจของประชาชนต่อความมั่นคงของการเมืองไทย
3. เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับหน่วยงานและสถาบันทางการเมืองที่เกี่ยวข้องนำไปเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจดำเนินการใดๆ
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ :
กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 23 จังหวัดทั่วประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 5-10 กุมภาพันธ์ 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 23 จังหวัดทั่วประเทศ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่
ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน จาก 23 จังหวัดทั่วทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงราย อุตรดิตถ์ ลำปาง เชียงใหม่ ลำพูน อุทัยธานี สมุทรปราการ อ่างทอง สิงห์บุรี ระยอง อยุธยา สุพรรณบุรี
อุดรธานี นครราชสีมา อุบลราชธานี นครพนม เลย สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต ประจวบคีรีขันธ์ พังงา และนครศรีธรรมราช
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 4,210 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ไม่เกินร้อยละ 2.5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 57.5 เป็นหญิง
ร้อยละ 42.5 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 11.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.0 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 21.6 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 23.6 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 20.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 72.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 24.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.7 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 21.1 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 18.2 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 12.6 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.5 ระบุเป็นนักศึกษา ร้อยละ 8.6 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 2.3 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไร
ต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 23 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,210
ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 5-10 กุมภาพันธ์ 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ผลสำรวจการติดตามข่าวการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 10.7 ระบุติดตามเป็นประจำ ในขณะที่ร้อยละ 65.3 ระบุ
ติดตามบ้างเป็นบางครั้ง และร้อยละ 24.0 ระบุติดตามน้อยมาก/ไม่ได้ติดตาม ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการเคลื่อน
ไหวเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 44.4 ระบุเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์/การขัดผลประโยชน์ของคน
บางกลุ่ม รองลงมาคือ ร้อยละ 23.6 ระบุความไม่มั่นคงทางการเมือง /ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ในปัจจุบัน และร้อยละ 13.8 ระบุ การไม่
ได้รับความเป็นธรรม/มีความไม่เสมอภาคเกิดขึ้น ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 61.6 ระบุควรมี
การแก้ไข โดยระบุเหตุผลว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีความซับซ้อน/ไม่ทันสมัย/มีช่องว่างมีบางส่วนที่ต้องปรับปรุง เป็นต้น ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ
24.9 ระบุไม่ควรแก้ไขโดยระบุเหตุผลว่า ของเดิมดีอยู่แล้ว/หากแก้ไขใหม่จะเอื้อประโยชน์ให้กับคนบางกลุ่ม และร้อยละ 13.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นที่มีต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นต่างๆ ที่กำลังมีการเคลื่อนไหวเรียกร้องอยู่นั้น พบ
ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจหลายประการ โดยเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยนายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องเป็นนักการ
เมืองนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 31.5 ระบุเห็นด้วยกับการแก้ไขดังกล่าว ร้อยละ 24.4 ระบุไม่เห็นด้วย ในขณะที่ตัวอย่างมากกว่า 1 ใน 3 คือ
ร้อยละ 44.1 ไม่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีดังกล่าว และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความคิดเห็น หากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยการ
ให้นายกรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 สมัยนั้นพบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 56.0 ระบุเห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 39.5 ระบุไม่
เห็นด้วย และร้อยละ 4.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 29.9 ระบุเห็นด้วยหากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดย ส.ส.ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง ในขณะที่ร้อย
ละ 26.0 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 44.1 ไม่ระบุความคิดเห็น อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 43.2 ระบุเห็นด้วยหากจะให้มี
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยยกเลิกการกำหนดให้ผู้สมัครเลือกตั้ง ส.ส. ต้องสังกัดพรรคการเมืองก่อนวันเลือกตั้ง 90 วัน ในขณะที่ตัวอย่างในสัดส่วน
ใกล้เคียงกันคือ ร้อยละ 44.2 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 12.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับผลสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่าง กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยให้สมาชิกวุฒิสภาอยู่ในตำแหน่งเพิ่มขึ้นเป็น 2 สมัยนั้นพบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 31.4 ระบุเห็นด้วย ในขณะที่ตัวอย่างเกือบ 2 ใน 3 คือร้อยละ 60.6 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 8.0 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ และกำลังอยู่ในความสนใจของประชาชนอีกประการหนึ่งก็คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่อง
การสรรหาคณะกรรมการองค์กรอิสระ ซึ่งพบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 53.9 ระบุควรมีการแก้ไขในเรื่องนี้ ในขณะที่ร้อยละ
14.1ระบุไม่ควรมีการแก้ไข และร้อยละ 32.0 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความคิดเห็นกรณี ความเป็นอิสระ
ขององค์กรอิสระหากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 51.0 ระบุเห็นด้วยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะทำให้องค์กรอิสระมี
ความเป็นอิสระอย่างแท้จริง ในขณะที่ร้อยละ 16.2 ระบุไม่เห็นด้วย และ ร้อยละ 32.8 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญอย่างยิ่งที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้และเป็นสิ่งที่รัฐบาลหรือสถาบันการเมืองที่เกี่ยวข้องควรนำไปพิจารณาก็คือ ความคิด
เห็นของตัวอย่างต่อการให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 91.8 ระบุควร
ให้เข้ามีส่วนร่วม โดยระบุเหตุผลว่า เป็นสิทธิของประชาชน/ประชาชนเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง /จะได้มีความคิดที่หลากหลายประกอบ
การพิจารณา/เกิดความยุติธรรมและโปร่งใส ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 4.9 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 3.3 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ คือความมั่นใจของประชาชนต่อความมั่นคงทางการเมืองของประเทศภายหลังการ
แก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 21.7 ระบุมั่นใจ ร้อยละ 27.0 ระบุค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 32.1 ระบุไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ
16.6 ระบุไม่มั่นใจ และร้อยละ 2.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
ผลสำรวจในครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าการแสวงหาผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม ความไม่มั่นคงทางการเมือง การไม่ได้รับความเป็นธรรม
การเรียกร้องสิทธิของประชาชน และการทุจริตในองค์กร น่าจะมีผลทำให้ประชาชนคิดว่าเป็นสาเหตุของการเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐ
ธรรมนูญ โดยประชาชนส่วนใหญเห็นว่าควรมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
“อย่างไรก็ตาม มีประเด็นสำคัญ 3 ประเด็นที่ดูเหมือนว่าประชาชนยังต้องการข้อมูลความรู้เพิ่มเติม เนื่องจากมีประชาชนจำนวนมากไม่
แสดงความคิดเห็นในประเด็นเหล่านั้น ได้แก่ ประเด็นที่ว่านายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องเป็นนักการเมือง และ ส.ส.ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการ
เมือง ส่วนเรื่องของการปลดล็อค 90 วันนั้น ประชาชนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย มีสัดส่วนไม่ต่างกัน ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับบุคคลในสถาบันการเมือง
และนักวิชาการ ต้องให้ความรู้และข้อมูลที่ชัดเจนถึงผลดี-ผลเสีย กรณี ส.ส.ไม่ต้องสังกัดพรรค การปลดล็อค 90 วัน และนายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้อง
เป็นนักการเมือง” ดร.นพดลกล่าว
ดร.นพดล กล่าวปิดท้ายว่า สถานการณ์ทางการเมืองและสังคมในขณะนี้น่าจะส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่ เห็นด้วยว่านายกรัฐมนตรีควรอยู่
ในตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 สมัย และไม่เห็นด้วยกับแนวคิดที่จะให้ ส.ว.อยู่ในตำแหน่งเพิ่มขึ้นเป็น 2 สมัย ยิ่งไปกว่านั้นประชาชนเกินกว่าครึ่งหนึ่ง
เห็นว่าควรมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนของการสรรหาคณะกรรมการองค์กรอิสระ ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการรับรู้ของประชาชน เกี่ยวกับการเข้าไป
แทรกแซงของฝ่ายการเมือง หรือความไม่เป็นธรรม ในการทำงานขององค์กรอิสระ
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ การติดตามข่าวการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
1 ติดตามเป็นประจำ 10.7
2 ติดตามบ้างเป็นบางครั้ง 65.3
3 ไม่ได้ติดตาม / ติดตามน้อยมาก 24.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สาเหตุที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
1 เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์/การขัดผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม 44.4
2 ความไม่มั่นคงทางการเมือง /ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ในปัจจุบัน 23.6
3 การไม่ได้รับความเป็นธรรม/มีความไม่เสมอภาคเกิดขึ้น 13.8
4 การเรียกร้องสิทธิของประชาชน 10.9
5 การทุจริตในองค์กร 9.4
6 รัฐธรรมนูญเดิมไม่รัดกุม ยังมีช่องโหว่ 8.0
7 อื่นๆ อาทิ เพื่อให้มีความโปร่งใสมากขึ้น/องค์กรอิสระไม่มีประสิทธิภาพ/การแทรกแซงจากฝ่ายรัฐบาล 9.8
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
1 ควรมีการแก้ไข เพราะ..รัฐธรรมนูญมีความซับซ้อน/ไม่ทันสมัย/มีช่องว่างมีบางส่วนที่ต้องปรับปรุง เป็นต้น 61.6
2 ไม่ควร เพราะ....ของเดิมดีอยู่แล้ว/หากแก้ไขใหม่จะเอื้อประโยชน์ให้กับคนบางกลุ่ม 24.9
3 ไม่มีความเห็น 13.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีหากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดย
นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องเป็นนักการเมือง
ลำดับที่ ความคิดเห็นหากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยนายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องเป็นนักการเมือง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 31.5
2 ไม่เห็นด้วย 24.4
3 ไม่มีความคิดเห็น 44.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีหากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยให้
นายกรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 สมัย
ลำดับที่ ความคิดเห็นหากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยให้ นายกรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 สมัย ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 56.0
2 ไม่เห็นด้วย 39.5
3 ไม่มีความเห็น 4.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีหากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง
ลำดับที่ ความคิดเห็นหากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดย ส.ส.ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 29.9
2 ไม่เห็นด้วย 26.0
3 ไม่มีความคิดเห็น 44.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีหากจะการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยยกเลิกการให้ผู้สมัครเลือกตั้ง ส.ส.
ต้องสังกัดพรรคการเมืองก่อนวันเลือกตั้ง 90 วัน”
ลำดับที่ ความคิดเห็นหากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยยกเลิกการให้ผู้สมัครเลือกตั้ง ส.ส.ต้องสังกัดพรรคการเมืองก่อนวันเลือกตั้ง 90 วัน ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 43.2
2 ไม่เห็นด้วย 44.2
3 ไม่มีความเห็น 12.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีหากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยให้สมาชิก
วุฒิสภา (ส.ว.) อยู่ในตำแหน่งเพิ่มขึ้นเป็น 2 สมัย
ลำดับที่ ความคิดเห็นหากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยให้ “สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) อยู่ในตำแหน่งเพิ่มขึ้นเป็น 2 สมัย” ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 31.4
2 ไม่เห็นด้วย 60.6
3 ไม่มีความเห็น 8.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนของการ
สรรหาคณะกรรมการองค์กรอิสระ
ลำดับที่ ความคิดเห็นหากจะมีการให้แก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนของการสรรหาคณะกรรมการองค์กรอิสระ ค่าร้อยละ
1 ควร 53.9
2 ไม่ควร 14.1
3 ไม่มีความเห็น 32.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีที่ว่าหากแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วจะทำให้
องค์กรอิสระมีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง
ลำดับที่ ความเห็นต่อกรณีที่ว่าหากแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วจะทำให้องค์กรอิสระมีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 51.0
2 ไม่เห็นด้วย 16.2
3 ไม่มีความเห็น 32.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณีการให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
1 ควรให้เข้ามีส่วนร่วม เพราะ.....เป็นสิทธิของประชาชน/ประชาชนเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง/
จะได้มีความคิดที่หลากหลายประกอบการพิจารณา/ เกิดความยุติธรรมและโปร่งใส 91.8
2 ไม่ควร เพราะ...คิดหลายคนจะวุ่นวาย/น่าจะให้ผู้ที่มีความรู้ดีอย่าง ส.ว. ส.ส. จัดการเอง 4.9
3 ไม่มีความเห็น 3.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อความมั่นคงทางการเมือง
หากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อความมั่นคงทางการเมืองหากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 21.7
2 ค่อนข้างมั่นใจ 27.0
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 32.1
4 ไม่มั่นใจ 16.6
5 ไม่มีความเห็น 2.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-