ที่มาของโครงการ
ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองและวิกฤตศรัทธาต่อคุณภาพของ ส.ว. และส.ส. ในปัจจุบันที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลาย จนเกิด
ความขัดแย้งและความตึงเครียด กระแสเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมืองจึงเกิดขึ้น ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเรื่องเดียวที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกัน อย่างไรก็
ตาม ในเนื้อหาสาระที่จะมีการปรับปรุงแก้ไข ก็ยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง เช่น ส.ส. ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง ปลดล็อค
90 วันให้ ส.ส. สามารถย้ายพรรคได้ก่อนเลือกตั้ง และลดจำนวน ส.ส. ที่จะสามารถเปิดอภิปรายนายกรัฐมนตรีได้ เป็นต้น
ทางสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้น
ไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงความคิดเห็น ความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมือง และการปฏิรูปการเมือง ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธี
วิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุของวิกฤตศรัทธาต่อวุฒิสมาชิกและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อประเด็นสำคัญในการปฏิรูปการเมือง
4. ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจจะสะท้อนความคิดเห็นทางการเมืองของประชาชนต่อสาธารณชน และเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “สถานการณ์การเมือง วิกฤตศรัทธาต่อ ส.
ว. ส.ส. และการปฏิรูปการเมืองในสายตาของสาธารณชน: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการ
สำรวจ ระหว่างวันที่ 18-22 เมษายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,846 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 57.5 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 42.5 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 25.6 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 21.9 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 24.7 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 20.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 62.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 30.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 7.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 28.0 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 21.8 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 21.5 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 12.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.7 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
ร้อยละ 7.7 เป็นพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
และร้อยละ 2.1 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “สถานการณ์การเมือง วิกฤต
ศรัทธาต่อ ส.ว. ส.ส. และการปฏิรูปการเมืองในสายตาของสาธารณชน” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพ
มหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,846 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ ระหว่างวันที่ 18-22 เมษายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการ
สำรวจดังนี้
ดร.นพดล กล่าวว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ 80 ยังคงให้ความสนใจติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองอย่างใกล้ชิด แต่เมื่อ
พิจารณาแนวโน้มความรู้สึกและอารมณ์ของสาธารณชนในพื้นที่เป้าหมายต่อสถานการณ์การเมืองพบว่า แนวโน้มของประชาชนที่วิตกกังวลต่อปัญหาการ
เมืองกลับเริ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนจากร้อยละ 46.1 ในการสำรวจวันที่ 5 เมษายน (หลังนายกทักษิณประกาศไม่รับตำแหน่ง) มาอยู่ที่ร้อยละ
71.7 ในผลสำรวจครั้งนี้ น่าจะเป็นผลมาจากปัจจัยของความไม่แน่นอนทางการเมืองขณะนี้ว่า ความขัดแย้งทางการเมืองจะรุนแรงขึ้นมาอีกครั้งหรือไม่
วิกฤตศรัทธาของประชาชนต่อคุณภาพของ ส.ส. และ ส.ว. จะมีมากน้อยเพียงไร และการทำงานขององค์กรอิสระจะไม่เอนเอียงเอื้อประโยชน์ต่อฝ่าย
หนึ่งฝ่ายใดหรือไม่
ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อสอบถามความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการทำงานขององค์กรอิสระด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม ผลสำรวจพบว่า ศาล
ปกครองและศาลรัฐธรรมนูญได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชนเกินร้อยละ 50 ในขณะที่ ปปช. วุฒิสภา และ กกต. มีประชาชนไม่ถึงร้อยละ 50 ที่ให้
ความเชื่อมั่น โดยเฉพาะการทำงานของ กกต. ที่พบว่าแนวโน้มของประชาชนที่เชื่อมั่นลดต่ำลงมากที่สุดในการสำรวจทุกครั้งที่ผ่านมา จากร้อยละ
44.9 ในช่วงปลายเดือนมีนาคม เหลือเพียงร้อยละ 31.7 ในการสำรวจครั้งนี้
เมื่อสอบถามถึง เหตุปัจจัยแห่งวิกฤตศรัทธาของประชาชนต่อสมาชิกวุฒิสภาในผลสำรวจครั้งนี้ พบว่า ประชาชนเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อย
ละ 51.5 ระบุว่า การฝักใฝ่เอื้อประโยชน์ให้นักการเมือง เป็นเหตุปัจจัยแห่งวิกฤตศรัทธาของประชาชนต่อสมาชิกวุฒิสภา รองลงมาคือร้อยละ 49.9
ระบุความไม่เป็นกลางของ ส.ว. ร้อยละ 47.7 ระบุความขัดแย้งและการแบ่งพรรคแบ่งพวก ร้อยละ 42.9 ระบุการทุจริต คอรัปชั่นและความไม่โปร่ง
ใสการทำงาน ร้อยละ 40.8 ระบุการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าของประเทศชาติ และร้อยละ 39.7 ระบุ ระบบเครือญาติ ตามลำดับ ในขณะที่
เหตุปัจจัยที่จะทำให้เกิดวิกฤตศรัทธาของประชาชนต่อ ส.ส. ผลสำรวจครั้งนี้พบว่า ร้อยละ 65.6 ระบุเป็นการทุจริต คอรัปชั่นและความไม่โปร่งใส
รองลงมาคือ ร้อยละ 60.0 ระบุเป็นความขัดแย้งและการแบ่งพรรคแบ่งพวก ร้อยละ 53.9 ระบุการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าของประเทศชาติ
ร้อยละ 51.7 ระบุเป็นการเลือกปฏิบัติของ ส.ส. และร้อยละ 50.0 ระบุการผูกขาดทางการเมืองของพรรคการเมืองใหญ่เป็นเหตุปัจจัยแห่งวิกฤต
ศรัทธา ตามลำดับ
เมื่อสอบถามถึงการยอมรับของประชาชนต่อ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ในการเป็นคนกลางเพื่อการปฏิรูปการเมือง ผลสำรวจพบว่า
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 54.1 ยอมรับได้ ในขณะที่ร้อยละ 13.9 ไม่ยอมรับ และร้อยละ 32.0 ไม่มีความเห็น สำหรับเหตุผลที่ตัวอย่างประชาชนยอมรับ
ร.ต.อ.ปุระชัย ได้คือ การเป็นคนดี ซื่อสัตย์ โปร่งใส ทำงานดี มีผลงาน เหมาะสมที่สุดในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ประเทศจะได้สงบ และความ
ชื่นชอบเป็นการส่วนตัว อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ไม่ยอมรับให้เหตุผลว่า เพราะไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เป็นคนตรงเกินไป แข็งกร้าวและเคยอยู่พรรค
ไทยรักไทย
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ความเห็นของประชาชนต่อประเด็นต่างๆ ในการปฏิรูปการเมือง ซึ่งผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อย
ละ 88.6 ต้องการให้ขจัดเครือข่ายของขบวนการทุจริตคอรัปชั่นอย่างมีประสิทธิภาพ รองลงมาคือ ร้อยละ 82.3 ส่งเสริมการเมืองภาคประชาชนให้
เข้มแข็ง ร้อยละ 79.4 ส่งเสริมสื่อภาคประชาชน ร้อยละ 74.8 เพิ่มบทบาทอำนาจองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบอำนาจรัฐ ร้อยละ 72.0 จัดตั้งองค์กร
อิสระเพื่อการพัฒนาการเมือง ร้อยละ 71.8 ทำให้พรรคการเมืองฝ่ายค้านเข้มแข็งตรวจสอบรัฐบาลได้มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 67.2 แก้ไขกระบวนการ
สรรหาคณะกรรมการองค์กรอิสระ ร้อยละ 66.7 แยกกลุ่มนายทุนที่ทำธุรกิจออกจากพรรคการเมือง ร้อยละ 64.6 ป้องกันไม่ให้รัฐบาลแทรกแซงการทำ
งานของสื่อมวลชน และร้อยละ 57.0 ให้กระบวนการงบประมาณขององค์กรอิสระปลอดจากการควบคุมโดยรัฐบาล ตามลำดับ ส่วนประเด็นที่เหลือที่
ประชาชนเห็นด้วยมากกว่าไม่เห็นด้วย ได้แก่ การลดอำนาจนายกรัฐมนตรี ลดจำนวน ส.ส. ที่จะสามารถเปิดอภิปรายนายกรัฐมนตรีได้ ปลดล็อค 90
วันให้ ส.ส. ย้ายพรรคได้ก่อนเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ประชาชนมีจำนวนก้ำกึ่งกันระหว่างเห็นด้วยกับไม่เห็นด้วยคือ ส.ส.ไม่จำเป็นต้องสังกัด
พรรคการเมืองคือร้อยละ 40.0 เห็นด้วย แต่ร้อยละ 41.9 ไม่เห็นด้วย
เมื่อสอบถามถึงระยะเวลาที่เหมาะสมในสายตาของสาธารณชนเรื่องการปฏิรูปการเมืองให้แล้วเสร็จ พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.0
เห็นว่าไม่ควรเกิน 6 เดือน ในขณะที่ร้อยละ 20.3 เห็นว่าน่าจะอยู่ตั้งแต่ 6 เดือนถึง 1 ปี และร้อยละ 5.7 เท่านั้นที่เห็นว่าควรมากกว่า 1 ปีขึ้นไป
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนในพื้นที่ที่ถูกศึกษาประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.8 ไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลยถ้ารัฐบาลจะมาเป็น
ผู้นำในการปฏิรูปการเมือง ในขณะที่ร้อยละ 13.8 ค่อนข้างเชื่อมั่น และร้อยละ 13.2 เชื่อมั่น ส่วนที่เหลือร้อยละ 22.2 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวสรุปว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า อารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนกำลังตีกลับมาสู่สภาวะเดิมที่มีความวิตกกังวลต่อ
สถานการณ์การเมืองแต่อยู่ในบริบททางการเมืองอีกรูปแบบหนึ่งนั่นคือ บรรยากาศของความอึมครึมในการปฏิรูปการเมือง ปัจจัยหลายอย่างที่กำลังซ้ำเติม
ความรู้สึกของประชาชนคือความไม่เชื่อมั่นต่อการทำงานขององค์กรอิสระ และความไม่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการยอมรับได้หรือไม่ได้ของประชาชนต่อ
สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา สภาวะเช่นนี้อาจส่งผลทำให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองอีกได้ ดังนั้นต้องสร้างบรรยากาศของความเป็นหนึ่งเดียวกันของ
คนในประเทศก่อน ซึ่งการชูเป้าหมายของการปฏิรูปการเมืองน่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งในการสร้างกระแสให้สังคมเป็นหนึ่งเดียวกันก่อนเข้าสู่การเปลี่ยน
ถ่ายอนาคตการเมืองไทย
“การปฏิรูปการเมืองจะต้องทำให้สาธารณชนทั่วไปเชื่อมั่นศรัทธาได้ว่า การเลือกตั้งระดับต่างๆ ของประเทศเกิดขึ้นอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม
และตรวจสอบได้ปราศจากความเคลือบแคลงสงสัยในการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ข้อมูลและหลักฐานต่างๆ ที่เพียงบ่งชี้ถึงพฤติการณ์ของ
ฝ่ายการเมืองที่เข้าไปแทรกแซงหรือทำให้ความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการเลือกตั้งของประชาชนผิดเพี้ยนไปจากธรรมชาติและแก่นแท้ของการปกครองตาม
ระบอบประชาธิปไตย เช่น ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจ้างพรรคการเมืองเล็กๆ เพื่อทำให้ผู้สมัครของพรรคการเมืองใหญ่พ้นจากการแข่งขันกับตัวเองที่ให้
ได้ความเป็นตัวแทนของประชาชนถึงร้อยละ 20 น่าจะถือได้ว่าพฤติการณ์ของพรรคการเมืองเหล่านี้เป็นพฤติการณ์ของอาชญากรทางการเมืองที่กำลังบั่น
ทอนความมั่นคงทางการปกครองในระบอบประชาธิปไตยจึงสมควรถูกนำตัวเข้าสู่กระบวนของศาลสถิตยุติธรรมเพื่อสามารถไต่สวนพรรคการเมืองขนาด
ใหญ่มากกว่าการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่สาธารณชนกำลังมีความเคลือบแคลงสงสัยในความเป็นอิสระจากการเมือง” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า การปฏิรูปการเมืองที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ควรที่จะทำให้กระบวนการไต่สวนเข้มแข็งและโปร่งใสสามารถ
ถูกตรวจสอบได้โดยสาธารณชนทั่วไป การไต่สวนและความโปร่งใสโดยภาคประชาชนมีส่วนร่วมต้องได้รับการปกป้องอย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งไปกว่านั้น
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ มาตรการและพลังขับเคลื่อนกลไกต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นหลังการปฏิรูปการเมืองจะต้องมีหลักประกันได้ว่า “ปลอดจากพวกล็อบบี้ยิสต์” และ
ความฝักใฝ่ส่วนตัวของคณะทำงานในองค์กรอิสระที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับฝ่ายการเมือง นอกจากนี้ การปฏิรูปทางการเมืองต้องปฏิรูประบบงบประมาณ
และทรัพยากรต่างๆ ขององค์กรอิสระด้วย เพื่อจะไม่ทำให้องค์กรอิสระตกอยู่ภายใต้อาณัติทางการเมืองของผู้มีอำนาจในรัฐบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 61.5
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 17.6
4 1-2 วันต่อสัปดาห์ 10.7
5 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 1.9
6 ไม่ได้ติดตาม 8.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์บ้านเมือง
ความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์บ้านเมือง 4 มี.ค. 22 มี.ค. 1 เม.ย 2-3 เม.ย. 4 เม.ย. 5 เม.ย. 22 เม.ย.
รู้สึกวิตกกังวล 50.7 74.7 60.8 54.1 67.6 46.1 71.7
ไม่รู้สึกวิตกกังวล/ไม่มีความเห็น 49.3 25.3 39.2 45.9 32.4 53.9 28.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อองค์กรอิสระและสมาชิกวุฒิสภาที่จะทำหน้าที่ด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม
ลำดับที่ องค์กรอิสระ เชื่อมั่น ไม่เชื่อมั่น ไม่มีความเห็น รวม
1 ศาลปกครอง 53.9 23.4 22.7 100.0
2 ศาลรัฐธรรมนูญ 53.9 24.8 21.3 100.0
3 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) 39.6 37.4 23.0 100.0
4 สมาชิกวุฒิสภ 33.2 39.7 27.1 100.0
5 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 31.7 47.3 21.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เหตุปัจจัยที่จะทำให้เกิดวิกฤตศรัทธาต่อสมาชิกวุฒิสภา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เหตุปัจจัยแห่งวิกฤตศรัทธาของประชาชนต่อ ส.ว. ค่าร้อยละ
1 การมีส่วนเกี่ยวข้องฝักใฝ่เอื้อประโยชน์ให้นักการเมือง 51.5
2 ความไม่เป็นกลางของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 49.9
3 ความขัดแย้งและการแบ่งพรรคแบ่งพวก 47.7
4 การทุจริต คอรัปชั่น และความไม่โปร่งใสในการทำงาน 42.9
5 การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ 40.8
6 ระบบเครือญาติ 39.7
7 ความไม่น่าเชื่อถือ 37.0
8 อื่นๆ อาทิ ความไม่เป็นธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ ความเบื่อหน่าย
ของประชาชน และความไม่มีประสบการณ์การทำงาน 35.2
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เหตุปัจจัยที่จะทำให้เกิดวิกฤตศรัทธาต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เหตุปัจจัยแห่งวิกฤตศรัทธาของประชาชนต่อ ส.ส. ค่าร้อยละ
1 การทุจริต คอรัปชั่น และความไม่โปร่งใสในการทำงาน 65.6
2 ความขัดแย้งและการแบ่งพรรคแบ่งพวก 60.0
3 การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ 53.9
4 การเลือกปฏิบัติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 51.7
5 การผูกขาดทางการเมืองของพรรคการเมืองใหญ่ 50.0
6 อื่นๆ อาทิ ไม่มีผลงานเป็นที่ยอมรับของประชาชน /เล่นการเมืองมากเกินไป /
ความไม่เป็นธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ และความไม่โปร่งใสในการเลือกตั้ง เป็นต้น 29.7
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการยอมรับที่จะให้ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ มาเป็น
คนกลางที่จะเข้ามาเพื่อปฎิรูปการเมือง
ลำดับที่ การยอมรับ ค่าร้อยละ
1 ยอมรับได้ 54.1
2 ไม่ยอมรับ 13.9
3 ไม่มีความเห็น 32.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่ยอมรับได้ ให้เหตุผลดังนี้
1. เป็นคนดี ซื่อสัตย์ โปร่งใส
2. ทำงานดี มีผลงาน
3. เหมาะสมที่สุดในสถานการณ์ปัจจุบัน
4. ประเทศจะได้สงบ คลี่คลายสถานการณ์
5. ชื่นชอบเป็นการส่วนตัว
6. อื่นๆ อาทิ เป็นชั่วคราวไม่น่าจะมีปัญหาอะไร / ชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก
ตัวอย่างที่ไม่ยอมรับ ให้เหตุผลดังนี้
1. ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
2. ความสามารถไม่ถึง
3. ไม่ชอบเป็นการส่วนตัว
4. เป็นคนตรงเกินไป แข็งกร้าว
5. เคยอยู่พรรคไทยรักไทย
6. นายกฯ ทักษิณ ทำงานดีแล้ว
7. อื่นๆ อาทิ ยังมีคนอื่นดีกว่า / ไม่โปร่งใส
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อประเด็นต่างๆ ในการปฏิรูปการเมือง
ลำดับที่ ประเด็นต่างๆ ในการปฏิรูปการเมือง เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1 ขจัดเครือข่ายของขบวนการทุจริตคอรัปชั่น 88.6 3.9 7.5 100.0
2 การส่งเสริมให้การเมืองภาคประชาชนเข้มแข็ง 82.3 4.7 13.0 100.0
3 ส่งเสริมสื่อภาคประชาชน 79.4 6.6 14.0 100.0
4 เพิ่มบทบาท / อำนาจองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบอำนาจรัฐ 74.8 8.3 16.9 100.0
5 จัดตั้งองค์กรอิสระ เพื่อการพัฒนาการเมือง 72.0 8.5 19.5 100.0
6 ทำให้พรรคการเมืองฝ่ายค้านเข้มแข็งตรวจสอบรัฐบาลได้มีประสิทธิภาพ 71.8 11.6 16.6 100.0
7 แก้ไขกระบวนการสรรหาคณะกรรมการองค์กรอิสระ 67.2 9.9 22.9 100.0
8 แยกกลุ่มนายทุนที่ทำธุรกิจออกจากพรรคการเมือง 66.7 13.8 19.5 100.0
9 ป้องกันไม่ให้รัฐบาลแทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชน 64.6 17.0 18.4 100.0
10 ให้กระบวนการงบประมาณขององค์กรอิสระปลอดจากการควบคุมโดยรัฐบาล 57.0 19.3 23.7 100.0
11 การลดอำนาจนายกรัฐมนตรี 47.8 30.5 21.7 100.0
12 ลดจำนวน ส.ส. ที่จะสามารถเปิดอภิปรายนายกรัฐมนตรีได้ 47.2 29.5 23.3 100.0
13 ปลดล็อค 90 วัน ให้ส.ส. สามารถย้ายพรรคได้ก่อนเลือกตั้ง 45.7 27.9 26.4 100.0
14 ส.ส. ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง 40.0 41.9 18.1 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อระยะเวลาเหมาะสมสำหรับการปฎิรูปการเมือง
ลำดับที่ ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการปฏิรูปการเมือง ค่าร้อยละ
1 ไม่เกิน 6 เดือน 74.0
2 6 เดือน — 1 ปี 20.3
3 มากกว่า 1 ปี 5.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อการปฏิรูปการเมืองโดยรัฐบาลชุดใหม่เป็นผู้นำการปฏิรูป
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่อการปฏิรูปการเมืองโดยรัฐบาลชุดใหม่เป็นผู้นำปฏิรูป ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 13.2
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 13.8
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 31.0
4 ไม่เชื่อมั่น 19.8
5 ไม่มีความเห็น 22.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองและวิกฤตศรัทธาต่อคุณภาพของ ส.ว. และส.ส. ในปัจจุบันที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลาย จนเกิด
ความขัดแย้งและความตึงเครียด กระแสเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมืองจึงเกิดขึ้น ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเรื่องเดียวที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกัน อย่างไรก็
ตาม ในเนื้อหาสาระที่จะมีการปรับปรุงแก้ไข ก็ยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง เช่น ส.ส. ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง ปลดล็อค
90 วันให้ ส.ส. สามารถย้ายพรรคได้ก่อนเลือกตั้ง และลดจำนวน ส.ส. ที่จะสามารถเปิดอภิปรายนายกรัฐมนตรีได้ เป็นต้น
ทางสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้น
ไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงความคิดเห็น ความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมือง และการปฏิรูปการเมือง ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธี
วิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุของวิกฤตศรัทธาต่อวุฒิสมาชิกและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อประเด็นสำคัญในการปฏิรูปการเมือง
4. ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจจะสะท้อนความคิดเห็นทางการเมืองของประชาชนต่อสาธารณชน และเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “สถานการณ์การเมือง วิกฤตศรัทธาต่อ ส.
ว. ส.ส. และการปฏิรูปการเมืองในสายตาของสาธารณชน: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการ
สำรวจ ระหว่างวันที่ 18-22 เมษายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,846 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 57.5 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 42.5 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 25.6 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 21.9 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 24.7 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 20.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 62.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 30.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 7.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 28.0 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 21.8 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 21.5 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 12.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.7 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
ร้อยละ 7.7 เป็นพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
และร้อยละ 2.1 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “สถานการณ์การเมือง วิกฤต
ศรัทธาต่อ ส.ว. ส.ส. และการปฏิรูปการเมืองในสายตาของสาธารณชน” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพ
มหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,846 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ ระหว่างวันที่ 18-22 เมษายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการ
สำรวจดังนี้
ดร.นพดล กล่าวว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ 80 ยังคงให้ความสนใจติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองอย่างใกล้ชิด แต่เมื่อ
พิจารณาแนวโน้มความรู้สึกและอารมณ์ของสาธารณชนในพื้นที่เป้าหมายต่อสถานการณ์การเมืองพบว่า แนวโน้มของประชาชนที่วิตกกังวลต่อปัญหาการ
เมืองกลับเริ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนจากร้อยละ 46.1 ในการสำรวจวันที่ 5 เมษายน (หลังนายกทักษิณประกาศไม่รับตำแหน่ง) มาอยู่ที่ร้อยละ
71.7 ในผลสำรวจครั้งนี้ น่าจะเป็นผลมาจากปัจจัยของความไม่แน่นอนทางการเมืองขณะนี้ว่า ความขัดแย้งทางการเมืองจะรุนแรงขึ้นมาอีกครั้งหรือไม่
วิกฤตศรัทธาของประชาชนต่อคุณภาพของ ส.ส. และ ส.ว. จะมีมากน้อยเพียงไร และการทำงานขององค์กรอิสระจะไม่เอนเอียงเอื้อประโยชน์ต่อฝ่าย
หนึ่งฝ่ายใดหรือไม่
ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อสอบถามความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการทำงานขององค์กรอิสระด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม ผลสำรวจพบว่า ศาล
ปกครองและศาลรัฐธรรมนูญได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชนเกินร้อยละ 50 ในขณะที่ ปปช. วุฒิสภา และ กกต. มีประชาชนไม่ถึงร้อยละ 50 ที่ให้
ความเชื่อมั่น โดยเฉพาะการทำงานของ กกต. ที่พบว่าแนวโน้มของประชาชนที่เชื่อมั่นลดต่ำลงมากที่สุดในการสำรวจทุกครั้งที่ผ่านมา จากร้อยละ
44.9 ในช่วงปลายเดือนมีนาคม เหลือเพียงร้อยละ 31.7 ในการสำรวจครั้งนี้
เมื่อสอบถามถึง เหตุปัจจัยแห่งวิกฤตศรัทธาของประชาชนต่อสมาชิกวุฒิสภาในผลสำรวจครั้งนี้ พบว่า ประชาชนเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อย
ละ 51.5 ระบุว่า การฝักใฝ่เอื้อประโยชน์ให้นักการเมือง เป็นเหตุปัจจัยแห่งวิกฤตศรัทธาของประชาชนต่อสมาชิกวุฒิสภา รองลงมาคือร้อยละ 49.9
ระบุความไม่เป็นกลางของ ส.ว. ร้อยละ 47.7 ระบุความขัดแย้งและการแบ่งพรรคแบ่งพวก ร้อยละ 42.9 ระบุการทุจริต คอรัปชั่นและความไม่โปร่ง
ใสการทำงาน ร้อยละ 40.8 ระบุการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าของประเทศชาติ และร้อยละ 39.7 ระบุ ระบบเครือญาติ ตามลำดับ ในขณะที่
เหตุปัจจัยที่จะทำให้เกิดวิกฤตศรัทธาของประชาชนต่อ ส.ส. ผลสำรวจครั้งนี้พบว่า ร้อยละ 65.6 ระบุเป็นการทุจริต คอรัปชั่นและความไม่โปร่งใส
รองลงมาคือ ร้อยละ 60.0 ระบุเป็นความขัดแย้งและการแบ่งพรรคแบ่งพวก ร้อยละ 53.9 ระบุการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าของประเทศชาติ
ร้อยละ 51.7 ระบุเป็นการเลือกปฏิบัติของ ส.ส. และร้อยละ 50.0 ระบุการผูกขาดทางการเมืองของพรรคการเมืองใหญ่เป็นเหตุปัจจัยแห่งวิกฤต
ศรัทธา ตามลำดับ
เมื่อสอบถามถึงการยอมรับของประชาชนต่อ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ในการเป็นคนกลางเพื่อการปฏิรูปการเมือง ผลสำรวจพบว่า
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 54.1 ยอมรับได้ ในขณะที่ร้อยละ 13.9 ไม่ยอมรับ และร้อยละ 32.0 ไม่มีความเห็น สำหรับเหตุผลที่ตัวอย่างประชาชนยอมรับ
ร.ต.อ.ปุระชัย ได้คือ การเป็นคนดี ซื่อสัตย์ โปร่งใส ทำงานดี มีผลงาน เหมาะสมที่สุดในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ประเทศจะได้สงบ และความ
ชื่นชอบเป็นการส่วนตัว อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ไม่ยอมรับให้เหตุผลว่า เพราะไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เป็นคนตรงเกินไป แข็งกร้าวและเคยอยู่พรรค
ไทยรักไทย
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ความเห็นของประชาชนต่อประเด็นต่างๆ ในการปฏิรูปการเมือง ซึ่งผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อย
ละ 88.6 ต้องการให้ขจัดเครือข่ายของขบวนการทุจริตคอรัปชั่นอย่างมีประสิทธิภาพ รองลงมาคือ ร้อยละ 82.3 ส่งเสริมการเมืองภาคประชาชนให้
เข้มแข็ง ร้อยละ 79.4 ส่งเสริมสื่อภาคประชาชน ร้อยละ 74.8 เพิ่มบทบาทอำนาจองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบอำนาจรัฐ ร้อยละ 72.0 จัดตั้งองค์กร
อิสระเพื่อการพัฒนาการเมือง ร้อยละ 71.8 ทำให้พรรคการเมืองฝ่ายค้านเข้มแข็งตรวจสอบรัฐบาลได้มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 67.2 แก้ไขกระบวนการ
สรรหาคณะกรรมการองค์กรอิสระ ร้อยละ 66.7 แยกกลุ่มนายทุนที่ทำธุรกิจออกจากพรรคการเมือง ร้อยละ 64.6 ป้องกันไม่ให้รัฐบาลแทรกแซงการทำ
งานของสื่อมวลชน และร้อยละ 57.0 ให้กระบวนการงบประมาณขององค์กรอิสระปลอดจากการควบคุมโดยรัฐบาล ตามลำดับ ส่วนประเด็นที่เหลือที่
ประชาชนเห็นด้วยมากกว่าไม่เห็นด้วย ได้แก่ การลดอำนาจนายกรัฐมนตรี ลดจำนวน ส.ส. ที่จะสามารถเปิดอภิปรายนายกรัฐมนตรีได้ ปลดล็อค 90
วันให้ ส.ส. ย้ายพรรคได้ก่อนเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ประชาชนมีจำนวนก้ำกึ่งกันระหว่างเห็นด้วยกับไม่เห็นด้วยคือ ส.ส.ไม่จำเป็นต้องสังกัด
พรรคการเมืองคือร้อยละ 40.0 เห็นด้วย แต่ร้อยละ 41.9 ไม่เห็นด้วย
เมื่อสอบถามถึงระยะเวลาที่เหมาะสมในสายตาของสาธารณชนเรื่องการปฏิรูปการเมืองให้แล้วเสร็จ พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.0
เห็นว่าไม่ควรเกิน 6 เดือน ในขณะที่ร้อยละ 20.3 เห็นว่าน่าจะอยู่ตั้งแต่ 6 เดือนถึง 1 ปี และร้อยละ 5.7 เท่านั้นที่เห็นว่าควรมากกว่า 1 ปีขึ้นไป
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนในพื้นที่ที่ถูกศึกษาประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.8 ไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลยถ้ารัฐบาลจะมาเป็น
ผู้นำในการปฏิรูปการเมือง ในขณะที่ร้อยละ 13.8 ค่อนข้างเชื่อมั่น และร้อยละ 13.2 เชื่อมั่น ส่วนที่เหลือร้อยละ 22.2 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวสรุปว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า อารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนกำลังตีกลับมาสู่สภาวะเดิมที่มีความวิตกกังวลต่อ
สถานการณ์การเมืองแต่อยู่ในบริบททางการเมืองอีกรูปแบบหนึ่งนั่นคือ บรรยากาศของความอึมครึมในการปฏิรูปการเมือง ปัจจัยหลายอย่างที่กำลังซ้ำเติม
ความรู้สึกของประชาชนคือความไม่เชื่อมั่นต่อการทำงานขององค์กรอิสระ และความไม่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการยอมรับได้หรือไม่ได้ของประชาชนต่อ
สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา สภาวะเช่นนี้อาจส่งผลทำให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองอีกได้ ดังนั้นต้องสร้างบรรยากาศของความเป็นหนึ่งเดียวกันของ
คนในประเทศก่อน ซึ่งการชูเป้าหมายของการปฏิรูปการเมืองน่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งในการสร้างกระแสให้สังคมเป็นหนึ่งเดียวกันก่อนเข้าสู่การเปลี่ยน
ถ่ายอนาคตการเมืองไทย
“การปฏิรูปการเมืองจะต้องทำให้สาธารณชนทั่วไปเชื่อมั่นศรัทธาได้ว่า การเลือกตั้งระดับต่างๆ ของประเทศเกิดขึ้นอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม
และตรวจสอบได้ปราศจากความเคลือบแคลงสงสัยในการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ข้อมูลและหลักฐานต่างๆ ที่เพียงบ่งชี้ถึงพฤติการณ์ของ
ฝ่ายการเมืองที่เข้าไปแทรกแซงหรือทำให้ความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการเลือกตั้งของประชาชนผิดเพี้ยนไปจากธรรมชาติและแก่นแท้ของการปกครองตาม
ระบอบประชาธิปไตย เช่น ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจ้างพรรคการเมืองเล็กๆ เพื่อทำให้ผู้สมัครของพรรคการเมืองใหญ่พ้นจากการแข่งขันกับตัวเองที่ให้
ได้ความเป็นตัวแทนของประชาชนถึงร้อยละ 20 น่าจะถือได้ว่าพฤติการณ์ของพรรคการเมืองเหล่านี้เป็นพฤติการณ์ของอาชญากรทางการเมืองที่กำลังบั่น
ทอนความมั่นคงทางการปกครองในระบอบประชาธิปไตยจึงสมควรถูกนำตัวเข้าสู่กระบวนของศาลสถิตยุติธรรมเพื่อสามารถไต่สวนพรรคการเมืองขนาด
ใหญ่มากกว่าการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่สาธารณชนกำลังมีความเคลือบแคลงสงสัยในความเป็นอิสระจากการเมือง” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า การปฏิรูปการเมืองที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ควรที่จะทำให้กระบวนการไต่สวนเข้มแข็งและโปร่งใสสามารถ
ถูกตรวจสอบได้โดยสาธารณชนทั่วไป การไต่สวนและความโปร่งใสโดยภาคประชาชนมีส่วนร่วมต้องได้รับการปกป้องอย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งไปกว่านั้น
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ มาตรการและพลังขับเคลื่อนกลไกต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นหลังการปฏิรูปการเมืองจะต้องมีหลักประกันได้ว่า “ปลอดจากพวกล็อบบี้ยิสต์” และ
ความฝักใฝ่ส่วนตัวของคณะทำงานในองค์กรอิสระที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับฝ่ายการเมือง นอกจากนี้ การปฏิรูปทางการเมืองต้องปฏิรูประบบงบประมาณ
และทรัพยากรต่างๆ ขององค์กรอิสระด้วย เพื่อจะไม่ทำให้องค์กรอิสระตกอยู่ภายใต้อาณัติทางการเมืองของผู้มีอำนาจในรัฐบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 61.5
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 17.6
4 1-2 วันต่อสัปดาห์ 10.7
5 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 1.9
6 ไม่ได้ติดตาม 8.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์บ้านเมือง
ความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์บ้านเมือง 4 มี.ค. 22 มี.ค. 1 เม.ย 2-3 เม.ย. 4 เม.ย. 5 เม.ย. 22 เม.ย.
รู้สึกวิตกกังวล 50.7 74.7 60.8 54.1 67.6 46.1 71.7
ไม่รู้สึกวิตกกังวล/ไม่มีความเห็น 49.3 25.3 39.2 45.9 32.4 53.9 28.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อองค์กรอิสระและสมาชิกวุฒิสภาที่จะทำหน้าที่ด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม
ลำดับที่ องค์กรอิสระ เชื่อมั่น ไม่เชื่อมั่น ไม่มีความเห็น รวม
1 ศาลปกครอง 53.9 23.4 22.7 100.0
2 ศาลรัฐธรรมนูญ 53.9 24.8 21.3 100.0
3 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) 39.6 37.4 23.0 100.0
4 สมาชิกวุฒิสภ 33.2 39.7 27.1 100.0
5 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 31.7 47.3 21.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เหตุปัจจัยที่จะทำให้เกิดวิกฤตศรัทธาต่อสมาชิกวุฒิสภา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เหตุปัจจัยแห่งวิกฤตศรัทธาของประชาชนต่อ ส.ว. ค่าร้อยละ
1 การมีส่วนเกี่ยวข้องฝักใฝ่เอื้อประโยชน์ให้นักการเมือง 51.5
2 ความไม่เป็นกลางของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 49.9
3 ความขัดแย้งและการแบ่งพรรคแบ่งพวก 47.7
4 การทุจริต คอรัปชั่น และความไม่โปร่งใสในการทำงาน 42.9
5 การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ 40.8
6 ระบบเครือญาติ 39.7
7 ความไม่น่าเชื่อถือ 37.0
8 อื่นๆ อาทิ ความไม่เป็นธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ ความเบื่อหน่าย
ของประชาชน และความไม่มีประสบการณ์การทำงาน 35.2
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เหตุปัจจัยที่จะทำให้เกิดวิกฤตศรัทธาต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เหตุปัจจัยแห่งวิกฤตศรัทธาของประชาชนต่อ ส.ส. ค่าร้อยละ
1 การทุจริต คอรัปชั่น และความไม่โปร่งใสในการทำงาน 65.6
2 ความขัดแย้งและการแบ่งพรรคแบ่งพวก 60.0
3 การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ 53.9
4 การเลือกปฏิบัติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 51.7
5 การผูกขาดทางการเมืองของพรรคการเมืองใหญ่ 50.0
6 อื่นๆ อาทิ ไม่มีผลงานเป็นที่ยอมรับของประชาชน /เล่นการเมืองมากเกินไป /
ความไม่เป็นธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ และความไม่โปร่งใสในการเลือกตั้ง เป็นต้น 29.7
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการยอมรับที่จะให้ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ มาเป็น
คนกลางที่จะเข้ามาเพื่อปฎิรูปการเมือง
ลำดับที่ การยอมรับ ค่าร้อยละ
1 ยอมรับได้ 54.1
2 ไม่ยอมรับ 13.9
3 ไม่มีความเห็น 32.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่ยอมรับได้ ให้เหตุผลดังนี้
1. เป็นคนดี ซื่อสัตย์ โปร่งใส
2. ทำงานดี มีผลงาน
3. เหมาะสมที่สุดในสถานการณ์ปัจจุบัน
4. ประเทศจะได้สงบ คลี่คลายสถานการณ์
5. ชื่นชอบเป็นการส่วนตัว
6. อื่นๆ อาทิ เป็นชั่วคราวไม่น่าจะมีปัญหาอะไร / ชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก
ตัวอย่างที่ไม่ยอมรับ ให้เหตุผลดังนี้
1. ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
2. ความสามารถไม่ถึง
3. ไม่ชอบเป็นการส่วนตัว
4. เป็นคนตรงเกินไป แข็งกร้าว
5. เคยอยู่พรรคไทยรักไทย
6. นายกฯ ทักษิณ ทำงานดีแล้ว
7. อื่นๆ อาทิ ยังมีคนอื่นดีกว่า / ไม่โปร่งใส
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อประเด็นต่างๆ ในการปฏิรูปการเมือง
ลำดับที่ ประเด็นต่างๆ ในการปฏิรูปการเมือง เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1 ขจัดเครือข่ายของขบวนการทุจริตคอรัปชั่น 88.6 3.9 7.5 100.0
2 การส่งเสริมให้การเมืองภาคประชาชนเข้มแข็ง 82.3 4.7 13.0 100.0
3 ส่งเสริมสื่อภาคประชาชน 79.4 6.6 14.0 100.0
4 เพิ่มบทบาท / อำนาจองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบอำนาจรัฐ 74.8 8.3 16.9 100.0
5 จัดตั้งองค์กรอิสระ เพื่อการพัฒนาการเมือง 72.0 8.5 19.5 100.0
6 ทำให้พรรคการเมืองฝ่ายค้านเข้มแข็งตรวจสอบรัฐบาลได้มีประสิทธิภาพ 71.8 11.6 16.6 100.0
7 แก้ไขกระบวนการสรรหาคณะกรรมการองค์กรอิสระ 67.2 9.9 22.9 100.0
8 แยกกลุ่มนายทุนที่ทำธุรกิจออกจากพรรคการเมือง 66.7 13.8 19.5 100.0
9 ป้องกันไม่ให้รัฐบาลแทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชน 64.6 17.0 18.4 100.0
10 ให้กระบวนการงบประมาณขององค์กรอิสระปลอดจากการควบคุมโดยรัฐบาล 57.0 19.3 23.7 100.0
11 การลดอำนาจนายกรัฐมนตรี 47.8 30.5 21.7 100.0
12 ลดจำนวน ส.ส. ที่จะสามารถเปิดอภิปรายนายกรัฐมนตรีได้ 47.2 29.5 23.3 100.0
13 ปลดล็อค 90 วัน ให้ส.ส. สามารถย้ายพรรคได้ก่อนเลือกตั้ง 45.7 27.9 26.4 100.0
14 ส.ส. ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง 40.0 41.9 18.1 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อระยะเวลาเหมาะสมสำหรับการปฎิรูปการเมือง
ลำดับที่ ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการปฏิรูปการเมือง ค่าร้อยละ
1 ไม่เกิน 6 เดือน 74.0
2 6 เดือน — 1 ปี 20.3
3 มากกว่า 1 ปี 5.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อการปฏิรูปการเมืองโดยรัฐบาลชุดใหม่เป็นผู้นำการปฏิรูป
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่อการปฏิรูปการเมืองโดยรัฐบาลชุดใหม่เป็นผู้นำปฏิรูป ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 13.2
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 13.8
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 31.0
4 ไม่เชื่อมั่น 19.8
5 ไม่มีความเห็น 22.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-