โพลล์ชี้คนกรุงเทพฯ และปริมณฑลมองหลักของประชาธิปไตยแบบไทยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขสูงสุดคือทำอะไรตามใจคือไทย
แท้แต่ ขณะที่นึกถึงการมีรัฐธรรมนูญเป็นอันดับรั้งท้าย ส่วนใหญ่คิดว่าการเลือกตั้ง 15 ตุลาคมเป็นทางออกที่ดีของวิกฤตการเมืองแต่ประชาชนจำนวนมาก
เห็นว่า กกต.สามท่านควรลาออกเพื่อให้เกิดความเที่ยงธรรม
ดร.นพดล กรรณิการ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง หลักการประชาธิปไตย
แบบไทยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขสูงสุดกับการเลือกตั้งในทรรศนะของประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,502 คน ระหว่างวันที่ 21-22 กรกฎาคม 2549
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวการเมืองตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาเป็นประจำ เมื่อสอบถามถึงหลัก
ประชาธิปไตยของไทยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขสูงสุด พบว่าประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลนึกถึงการทำอะไรตามใจคือไทย
แท้/อิสรภาพ ภายใต้กฎหมายที่มีอยู่มาเป็นอันดับแรกหรือร้อยละ 30.3 รองลงมาคือร้อยละ 23.0 ระบุเป็นเรื่องของความเสมอภาค ความเท่าเทียม
กัน ความยุติธรรม ร้อยละ 18.2 นึกถึงการมีสภาผู้แทนราษฎร ร้อยละ 9.1 นึกถึงความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ ร้อยละ 8.4 นึกถึงการใช้
เสียงข้างมากในการตัดสิน ร้อยละ 8.0 นึกถึงประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ร้อยละ 5.1 นึกถึงความถูกต้อง ร้อยละ 3.8 นึกถึงการเมืองการ
ปกครองที่มั่นคง ร้อยละ 3.4 นึกถึงความอยู่ดีกินดี และมีเพียงร้อยละ 3.4 เช่นกันที่กลุ่มตัวอย่างนึกถึงการมีรัฐธรรมนูญมาเป็นอันดับสุดท้าย
ดร.นพดล กล่าวว่า ที่น่าเป็นห่วงเพราะการมีรัฐธรรมนูญกลับเป็นสิ่งที่ประชาชนนึกถึงเป็นอันดับท้ายๆ อาจจะแสดงนัยทางการเมืองว่า รัฐ
ธรรมนูญยังไม่ได้เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง เพราะรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีความซับซ้อนเกินไป เข้าใจยาก อาจทำให้ประชาชนรู้สึกว่าเป็นเรื่อง
ไกลตัวเกินไป ดังนั้นถ้ามีการปฏิรูปการเมืองใหม่ กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องควรทำให้รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องที่เรียบง่ายและประชาชนเข้าใจเข้าถึงได้ง่าย แต่
ต้องทำให้กระบวนการยุติธรรมทางการเมืองเข้มแข็งอย่างแท้จริง ปลอดการล็อบบี้ทางการเมือง และถ้านักการเมืองหรือข้าราชการท่านใดมีพฤติการณ์
อันเชื่อได้ว่าเกี่ยวข้องกับปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ไม่ต้องรอให้มีใบเสร็จก็สามารถใช้กระบวนการยุติธรรมกันคนเหล่านี้ออกไปจากระบบการเมืองได้
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบอีกว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.9 ระบุว่าได้นำหลักประชาธิปไตยมาใช้ในครอบครัวมากที่สุด รองลง
มาคือร้อยละ 26.2 นำมาใช้กับเพื่อน ร้อยละ 22.7 นำมาใช้กับคนในที่ทำงานเดียวกัน และเพียงร้อยละ 8.5 เท่านั้นนำมาใช้กับบุคคลทั่วไป ตาม
ลำดับ
เมื่อสอบถามถึงความสำเร็จที่นำหลักประชาธิปไตยมาใช้ในชีวิตประจำวัน พบว่า ร้อยละ 52.6 ระบุว่าประสบความสำเร็จค่อนข้างมาก
และร้อยละ 19.2 ระบุประสบความสำเร็จมากถึงมากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 14.6 ระบุประสบความสำเร็จค่อนข้างน้อย และเพียงร้อยละ 2.6 ระบุ
ประสบความสำเร็จน้อยถึงไม่ประสบความสำเร็จเลย ที่น่าสนใจคือมีตัวอย่างถึงร้อยละ 11.0 ที่ระบุไม่เคยนำหลักประชาธิปไตยมาใช้ในชีวิตประจำวัน
เลย
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจออกมาเช่นนี้ก็ยังเป็นการยืนยันว่า ไม่มีการปกครองใดสมบูรณ์ที่สุดหรือทำให้ประชาชนรู้สึกว่าเมื่อนำมาใช้ใน
ชีวิตประจำวันจะพบกับความสำเร็จมากที่สุด แต่การปกครองแบบประชาธิปไตยก็น่าจะเหมาะสมกับคนไทยมากที่สุดแล้วในสถานการณ์ขณะนี้
เนื่องจากประชาชนเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 51.4 ระบุว่าประเทศชาติจะเกิดความวุ่นวาย แตกแยก และร้อยละ 20.3 บอกว่า อาจ
เกิดระบบคอมมิวนิสต์ การก่อการร้าย รัฐประหาร กบฎมากขึ้นตามมาในสังคม ถ้าประเทศไทยไม่ใช้หลักการปกครองแบบประชาธิปไตย นอกจากนี้
ประชาชนร้อยละ 11.2 ยังมองว่าจะเกิดการยึดอำนาจทางการเมืองซ้ำซาก ร้อยละ 9.3 คิดว่า ประชาชนจะเห็นแก่ตัวเอารัดเอาเปรียบกันมากขึ้น
รองๆ ลงไปคือ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เกิดการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของประชาชน ประสบปัญหาการแบ่งชนชั้นมากขึ้น และการไม่สามารถแสดงความคิด
เห็นของประชาชนได้ เป็นต้น
ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.3 จึงระบุว่า หลักการปกครองแบบประชาธิปไตยจึงเหมาะสมกับประเทศไทยแน่นอน รองลงมาคือร้อย
ละ 19.6 ระบุว่าเหมาะสมแต่ควรปรับปรุงเรื่อง อำนาจผู้บริหารบ้านเมือง มีกฎหมายที่ทันต่อเหตุการณ์ การเปิดเผยข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา
เป็นต้น ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 3.1 ที่บอกว่าไม่ค่อยเหมาะสม และร้อยละ 1.5 เท่านั้นที่บอกว่าไม่เหมาะสม ที่เหลือร้อยละ 7.5 ไม่มีความเห็น
สำหรับการเลือกตั้งวันที่ 15 ต.ค.ที่จะมาถึงนี้ ประชาชนเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 54.0 เห็นว่าเป็นทางออกที่ดี เพราะประชาชนจะได้ใช้
สิทธิของตัวเองตามระบอบประชาธิปไตย ให้โอกาสได้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาบริหารประเทศ และเห็นว่าเป็นการยุติการชุมนุมวิกฤตการเมืองเป็นต้น ใน
ขณะที่ร้อยละ 12.3 คิดว่าไม่ใช่ทางออกที่ดี เพราะปัญหาเดิมๆ ยังไม่ได้รับการแก้ไข ผู้สมัครของพรรคการเมืองยังคงเป็นคนเดิมๆ และเป็นการสิ้น
เปลืองงบประมาณหากเลือกตั้งมาก็มีปัญหาชุมนุมกันอีก เป็นต้น และร้อยละ 33.7 ยังไม่มีความเห็นเรื่องนี้
ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 37.8 ที่เห็นว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งที่เหลือควรลาออก เพราะมองว่าขาด
ความเที่ยงธรรม ขาดความชอบธรรม ไม่เป็นกลางในการทำงาน ทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย และขาดความเชื่อถือจากประชาชนเป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ
22.3 ไม่ควรลาออก เพราะประเด็นความผิดยังไม่ชัดเจน ทำตามหน้าที่ได้ดีแล้ว ควรให้โอกาสทำงานที่ยังค้างอยู่ และเกรงจะมีผลต่อการจัดการเลือก
ตั้งครั้งต่อไป และร้อยละ 39.9 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ทางออกของวิกฤตการเมืองขณะนี้ ควรเร่งทำอย่างน้อยสองแนวทางในเวลาเดียวกัน คือ 1) อาศัยกระบวนการ
ยุติธรรมทางการเมืองในการลดตัวละครทางการเมืองที่เป็นตัวการของปัญหาวิกฤต และ 2) การเจราจาร่วมของพรรคการเมืองทุกพรรคและกลุ่มต่อ
ต้านรัฐบาล ด้วยสันติวิธีโดยฝ่ายการเมืองควรยอมเสียสละบางส่วนที่เป็นตัวปัญหาของความไม่สงบขณะนี้ และฝ่ายต่อต้านรัฐบาลก็ควรลดฐานคติข้อเรียก
ร้องบางประการด้วย เช่น ควรเรียกร้องเพียงให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เว้นวรรคการเมืองชั่วคราวและควรกลับเข้ามาภายใต้ระบบการเมืองที่ปฏิรูปใหม่
แล้ว เป็นต้น
รายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์ในการทำวิจัย
1. เพื่อให้คนไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
2. เพื่อให้ทราบถึง แนวความคิด และทัศนคติของประชาชนที่มีต่อสถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบัน
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาขนต่อการเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม 2549
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “หลักของประชาธิปไตยแบบไทยๆ กับการเลือกตั้งใน
ทรรศนะของประชาชน : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 21-
22 กรกฎาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีสิทธิเลือกตั้งภายในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,502 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/-
ร้อยละ 5
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 49.8 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 50.2 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 25.9 อายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 25.5 อายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 19.9 อายุระหว่าง 40-49 ปี
และร้อยละ 23.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 43.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 23.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 10.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 20.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 42.4 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 18.8 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 13.9 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 7.2 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 6.9 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.4 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 3.5 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพใด ๆ
และร้อยละ 0.9 ระบุอาชีพเกษตรกร/ชาวนา/ชาวประมง
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 47.5
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 19.7
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 13.5
4 ไม่ได้ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 13.5
5 ไม่ได้ติดตามเลย 5.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงการจัด 10 อันดับค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สิ่งที่นึกถึงเมื่อพูดถึงประชาธิปไตยแบบไทยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นพระประมุขสูงสุด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่นึกถึงเมื่อพูดถึงประชาธิปไตยแบบไทยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขสูงสุด ค่าร้อยละ
1 ทำอะไรตามใจคือไทยแท้/อิสรภาพภายใต้กฎหมายที่มีอยู่ 30.3
2 ความเสมอภาค ความเท่าเทียมกัน ความยุติธรรม 23.0
3 มีสภาผู้แทนราษฎร 18.2
4 ความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ 9.1
5 การใช้เสียงข้างมากในการตัดสิน / การฟังเสียงข้างมาก 8.4
6 นึกถึงประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ 8.0
7 ความถูกต้อง 5.1
8 ระบบการเมืองการปกครองที่มั่นคง 3.8
9 ความอยู่ดีกินดี 3.4
10 การมีรัฐธรรมนูญ 3.4
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การนำหลักหรือวิธีการใช้ชีวิตแบบประชาธิปไตยมาใช้กับใคร
ในชีวิตประจำวัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การนำหลักหรือวิธีการใช้ชีวิตแบบประชาธิปไตยมาใช้ ค่าร้อยละ
1 คนในครอบครัว ญาติพี่น้อง 88.9
2 เพื่อน 26.2
3 คนที่ทำงานเดียวกัน 22.7
4 บุคคลทั่วไป 8.5
5 ตัวเอง 4.1
6 อื่น ๆ เช่น ครู-อาจารย์ แฟน เป็นต้น 2.7
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสำเร็จในการนำหลักหรือวิธีการแบบประชาธิปไตยมาใช้
ในชีวิตประจำวัน
ลำดับที่ ความสำเร็จในการนำหลักหรือวิธีการแบบประชาธิปไตยมาใช้ในชีวิตประจำวัน ค่าร้อยละ
1 มาก / มากที่สุด 19.2
2 ค่อนข้างมาก 52.6
3 ค่อนข้างน้อย 14.6
4 น้อย / ไม่ประสบความสำเร็จเลย 2.6
5 ไม่เคยนำมาใช้ 11.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัญหาที่ประสบหากประเทศไทยไม่ใช้หลักการปกครองประเทศ
แบบประชาธิปไตย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาที่ประสบหากประเทศไทยไม่ใช้หลักการปกครองประเทศแบบประชาธิปไตย ค่าร้อยละ
1 ประเทศชาติเกิดความวุ่นวาย แตกแยก 51.4
2 เกิดระบบคอมมิวนิสต์ การก่อการร้าย รัฐประหาร กบฏ เกิดขึ้นในสังคม 20.3
3 การยึดอำนาจทางการเมืองซ้ำซาก 11.2
4 ประชาชนเกิดการเห็นแก่ตัว เอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน 9.3
5 ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ 7.6
6 เกิดการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของประชาชน 7.2
7 ประสบปัญหาการแบ่งชนชั้น 5.1
8 การไม่สามารถแสดงความคิดเห็นของประชาชน 4.5
9 เกิดสงคราม 4.1
10 อื่น ๆ เช่น ขาดความเชื่อมั่นจากต่างประเทศ การคอรัปชั่น สิ่งเสพติดแพร่หลาย
สถาบันครอบครัวแตกแยก เป็นต้น 7.2
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเหมาะสมในการปกครองแบบประชาธิปไตยกับประเทศไทย
ลำดับที่ ความเหมาะสมในการปกครองแบบประชาธิปไตยกับประเทศไทย ค่าร้อยละ
1 เหมาะสมอย่างแน่นอน 68.3
2 เหมาะสมแต่ควรปรับปรุงในเรื่อง อำนาจของผู้บริหารบ้านเมือง มีกฎหมายที่ทันต่อเหตุการณ์
การเปิดเผยข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา เป็นต้น 19.6
3 ไม่ค่อยเหมาะสม เพราะ การกำหนดอำนาจหน้าที่ไม่ชัดเจน บุคคลบางกลุ่มอยู่เหนือกฎหมาย
จุดอ่อนในโครงสร้างการปกครอง เป็นต้น 3.1
4 ไม่เหมาะสมเลย เพราะ ประเทศไทยไม่ได้นำประชาธิปไตยที่แท้จริงมาใช้ ไม่สามารถ
แก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ เป็นต้น 1.5
5 ไม่มีความเห็น 7.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการเลือกตั้งวันที่ 15 ตุลาคม 2549
เป็นทางออกที่ดีในช่วงวิกฤตการเมืองขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่าเป็นทางออกที่ดี เพราะ ประชาชนได้ใช้สิทธิของตัวเองตามระบบประชาธิปไตย
ให้โอกาสได้รัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศ ยุติการชุมนุมวิกฤตการเมือง เป็นต้น 54.0
2 คิดว่าไม่เป็นทางออกที่ดี เพราะ ปัญหาเดิมๆ ยังไม่ได้รับการแก้ไข ผู้สมัครพรรคการเมือง
ยังเป็นคนเดิม ๆ และสิ้นเปลืองงบประมาณถ้าเลือกตั้งมาก็ชุมนุมกันอีก เป็นต้น 12.3
3 ไม่มีความเห็น 33.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นว่า กกต. ทั้ง 3 คน ควรลาออกหรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรลาออก เพราะ ขาดความเที่ยงธรรม ขาดความชอบธรรม / ไม่เป็นกลางในการทำงาน
ทำให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย ขาดความเชื่อถือจากประชาชน เป็นต้น 37.8
2 ไม่ควรลาออก เพราะ ประเด็นความผิดยังไม่ชัดเจน ทำตามหน้าที่ได้ดีแล้ว ควรให้โอกาสทำงาน
ที่ยังค้างอยู่ มีผลต่อการจัดการเลือกตั้งครั้งต่อไป เป็นต้น 22.3
3 ไม่มีความเห็น 39.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
แท้แต่ ขณะที่นึกถึงการมีรัฐธรรมนูญเป็นอันดับรั้งท้าย ส่วนใหญ่คิดว่าการเลือกตั้ง 15 ตุลาคมเป็นทางออกที่ดีของวิกฤตการเมืองแต่ประชาชนจำนวนมาก
เห็นว่า กกต.สามท่านควรลาออกเพื่อให้เกิดความเที่ยงธรรม
ดร.นพดล กรรณิการ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง หลักการประชาธิปไตย
แบบไทยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขสูงสุดกับการเลือกตั้งในทรรศนะของประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,502 คน ระหว่างวันที่ 21-22 กรกฎาคม 2549
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวการเมืองตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาเป็นประจำ เมื่อสอบถามถึงหลัก
ประชาธิปไตยของไทยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขสูงสุด พบว่าประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลนึกถึงการทำอะไรตามใจคือไทย
แท้/อิสรภาพ ภายใต้กฎหมายที่มีอยู่มาเป็นอันดับแรกหรือร้อยละ 30.3 รองลงมาคือร้อยละ 23.0 ระบุเป็นเรื่องของความเสมอภาค ความเท่าเทียม
กัน ความยุติธรรม ร้อยละ 18.2 นึกถึงการมีสภาผู้แทนราษฎร ร้อยละ 9.1 นึกถึงความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ ร้อยละ 8.4 นึกถึงการใช้
เสียงข้างมากในการตัดสิน ร้อยละ 8.0 นึกถึงประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ร้อยละ 5.1 นึกถึงความถูกต้อง ร้อยละ 3.8 นึกถึงการเมืองการ
ปกครองที่มั่นคง ร้อยละ 3.4 นึกถึงความอยู่ดีกินดี และมีเพียงร้อยละ 3.4 เช่นกันที่กลุ่มตัวอย่างนึกถึงการมีรัฐธรรมนูญมาเป็นอันดับสุดท้าย
ดร.นพดล กล่าวว่า ที่น่าเป็นห่วงเพราะการมีรัฐธรรมนูญกลับเป็นสิ่งที่ประชาชนนึกถึงเป็นอันดับท้ายๆ อาจจะแสดงนัยทางการเมืองว่า รัฐ
ธรรมนูญยังไม่ได้เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง เพราะรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีความซับซ้อนเกินไป เข้าใจยาก อาจทำให้ประชาชนรู้สึกว่าเป็นเรื่อง
ไกลตัวเกินไป ดังนั้นถ้ามีการปฏิรูปการเมืองใหม่ กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องควรทำให้รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องที่เรียบง่ายและประชาชนเข้าใจเข้าถึงได้ง่าย แต่
ต้องทำให้กระบวนการยุติธรรมทางการเมืองเข้มแข็งอย่างแท้จริง ปลอดการล็อบบี้ทางการเมือง และถ้านักการเมืองหรือข้าราชการท่านใดมีพฤติการณ์
อันเชื่อได้ว่าเกี่ยวข้องกับปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ไม่ต้องรอให้มีใบเสร็จก็สามารถใช้กระบวนการยุติธรรมกันคนเหล่านี้ออกไปจากระบบการเมืองได้
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบอีกว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.9 ระบุว่าได้นำหลักประชาธิปไตยมาใช้ในครอบครัวมากที่สุด รองลง
มาคือร้อยละ 26.2 นำมาใช้กับเพื่อน ร้อยละ 22.7 นำมาใช้กับคนในที่ทำงานเดียวกัน และเพียงร้อยละ 8.5 เท่านั้นนำมาใช้กับบุคคลทั่วไป ตาม
ลำดับ
เมื่อสอบถามถึงความสำเร็จที่นำหลักประชาธิปไตยมาใช้ในชีวิตประจำวัน พบว่า ร้อยละ 52.6 ระบุว่าประสบความสำเร็จค่อนข้างมาก
และร้อยละ 19.2 ระบุประสบความสำเร็จมากถึงมากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 14.6 ระบุประสบความสำเร็จค่อนข้างน้อย และเพียงร้อยละ 2.6 ระบุ
ประสบความสำเร็จน้อยถึงไม่ประสบความสำเร็จเลย ที่น่าสนใจคือมีตัวอย่างถึงร้อยละ 11.0 ที่ระบุไม่เคยนำหลักประชาธิปไตยมาใช้ในชีวิตประจำวัน
เลย
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจออกมาเช่นนี้ก็ยังเป็นการยืนยันว่า ไม่มีการปกครองใดสมบูรณ์ที่สุดหรือทำให้ประชาชนรู้สึกว่าเมื่อนำมาใช้ใน
ชีวิตประจำวันจะพบกับความสำเร็จมากที่สุด แต่การปกครองแบบประชาธิปไตยก็น่าจะเหมาะสมกับคนไทยมากที่สุดแล้วในสถานการณ์ขณะนี้
เนื่องจากประชาชนเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 51.4 ระบุว่าประเทศชาติจะเกิดความวุ่นวาย แตกแยก และร้อยละ 20.3 บอกว่า อาจ
เกิดระบบคอมมิวนิสต์ การก่อการร้าย รัฐประหาร กบฎมากขึ้นตามมาในสังคม ถ้าประเทศไทยไม่ใช้หลักการปกครองแบบประชาธิปไตย นอกจากนี้
ประชาชนร้อยละ 11.2 ยังมองว่าจะเกิดการยึดอำนาจทางการเมืองซ้ำซาก ร้อยละ 9.3 คิดว่า ประชาชนจะเห็นแก่ตัวเอารัดเอาเปรียบกันมากขึ้น
รองๆ ลงไปคือ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เกิดการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของประชาชน ประสบปัญหาการแบ่งชนชั้นมากขึ้น และการไม่สามารถแสดงความคิด
เห็นของประชาชนได้ เป็นต้น
ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.3 จึงระบุว่า หลักการปกครองแบบประชาธิปไตยจึงเหมาะสมกับประเทศไทยแน่นอน รองลงมาคือร้อย
ละ 19.6 ระบุว่าเหมาะสมแต่ควรปรับปรุงเรื่อง อำนาจผู้บริหารบ้านเมือง มีกฎหมายที่ทันต่อเหตุการณ์ การเปิดเผยข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา
เป็นต้น ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 3.1 ที่บอกว่าไม่ค่อยเหมาะสม และร้อยละ 1.5 เท่านั้นที่บอกว่าไม่เหมาะสม ที่เหลือร้อยละ 7.5 ไม่มีความเห็น
สำหรับการเลือกตั้งวันที่ 15 ต.ค.ที่จะมาถึงนี้ ประชาชนเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 54.0 เห็นว่าเป็นทางออกที่ดี เพราะประชาชนจะได้ใช้
สิทธิของตัวเองตามระบอบประชาธิปไตย ให้โอกาสได้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาบริหารประเทศ และเห็นว่าเป็นการยุติการชุมนุมวิกฤตการเมืองเป็นต้น ใน
ขณะที่ร้อยละ 12.3 คิดว่าไม่ใช่ทางออกที่ดี เพราะปัญหาเดิมๆ ยังไม่ได้รับการแก้ไข ผู้สมัครของพรรคการเมืองยังคงเป็นคนเดิมๆ และเป็นการสิ้น
เปลืองงบประมาณหากเลือกตั้งมาก็มีปัญหาชุมนุมกันอีก เป็นต้น และร้อยละ 33.7 ยังไม่มีความเห็นเรื่องนี้
ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 37.8 ที่เห็นว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งที่เหลือควรลาออก เพราะมองว่าขาด
ความเที่ยงธรรม ขาดความชอบธรรม ไม่เป็นกลางในการทำงาน ทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย และขาดความเชื่อถือจากประชาชนเป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ
22.3 ไม่ควรลาออก เพราะประเด็นความผิดยังไม่ชัดเจน ทำตามหน้าที่ได้ดีแล้ว ควรให้โอกาสทำงานที่ยังค้างอยู่ และเกรงจะมีผลต่อการจัดการเลือก
ตั้งครั้งต่อไป และร้อยละ 39.9 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ทางออกของวิกฤตการเมืองขณะนี้ ควรเร่งทำอย่างน้อยสองแนวทางในเวลาเดียวกัน คือ 1) อาศัยกระบวนการ
ยุติธรรมทางการเมืองในการลดตัวละครทางการเมืองที่เป็นตัวการของปัญหาวิกฤต และ 2) การเจราจาร่วมของพรรคการเมืองทุกพรรคและกลุ่มต่อ
ต้านรัฐบาล ด้วยสันติวิธีโดยฝ่ายการเมืองควรยอมเสียสละบางส่วนที่เป็นตัวปัญหาของความไม่สงบขณะนี้ และฝ่ายต่อต้านรัฐบาลก็ควรลดฐานคติข้อเรียก
ร้องบางประการด้วย เช่น ควรเรียกร้องเพียงให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เว้นวรรคการเมืองชั่วคราวและควรกลับเข้ามาภายใต้ระบบการเมืองที่ปฏิรูปใหม่
แล้ว เป็นต้น
รายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์ในการทำวิจัย
1. เพื่อให้คนไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
2. เพื่อให้ทราบถึง แนวความคิด และทัศนคติของประชาชนที่มีต่อสถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบัน
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาขนต่อการเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม 2549
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “หลักของประชาธิปไตยแบบไทยๆ กับการเลือกตั้งใน
ทรรศนะของประชาชน : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 21-
22 กรกฎาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีสิทธิเลือกตั้งภายในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,502 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/-
ร้อยละ 5
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 49.8 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 50.2 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 25.9 อายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 25.5 อายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 19.9 อายุระหว่าง 40-49 ปี
และร้อยละ 23.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 43.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 23.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 10.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 20.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 42.4 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 18.8 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 13.9 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 7.2 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 6.9 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.4 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 3.5 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพใด ๆ
และร้อยละ 0.9 ระบุอาชีพเกษตรกร/ชาวนา/ชาวประมง
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 47.5
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 19.7
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 13.5
4 ไม่ได้ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 13.5
5 ไม่ได้ติดตามเลย 5.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงการจัด 10 อันดับค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สิ่งที่นึกถึงเมื่อพูดถึงประชาธิปไตยแบบไทยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นพระประมุขสูงสุด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่นึกถึงเมื่อพูดถึงประชาธิปไตยแบบไทยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขสูงสุด ค่าร้อยละ
1 ทำอะไรตามใจคือไทยแท้/อิสรภาพภายใต้กฎหมายที่มีอยู่ 30.3
2 ความเสมอภาค ความเท่าเทียมกัน ความยุติธรรม 23.0
3 มีสภาผู้แทนราษฎร 18.2
4 ความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ 9.1
5 การใช้เสียงข้างมากในการตัดสิน / การฟังเสียงข้างมาก 8.4
6 นึกถึงประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ 8.0
7 ความถูกต้อง 5.1
8 ระบบการเมืองการปกครองที่มั่นคง 3.8
9 ความอยู่ดีกินดี 3.4
10 การมีรัฐธรรมนูญ 3.4
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การนำหลักหรือวิธีการใช้ชีวิตแบบประชาธิปไตยมาใช้กับใคร
ในชีวิตประจำวัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การนำหลักหรือวิธีการใช้ชีวิตแบบประชาธิปไตยมาใช้ ค่าร้อยละ
1 คนในครอบครัว ญาติพี่น้อง 88.9
2 เพื่อน 26.2
3 คนที่ทำงานเดียวกัน 22.7
4 บุคคลทั่วไป 8.5
5 ตัวเอง 4.1
6 อื่น ๆ เช่น ครู-อาจารย์ แฟน เป็นต้น 2.7
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสำเร็จในการนำหลักหรือวิธีการแบบประชาธิปไตยมาใช้
ในชีวิตประจำวัน
ลำดับที่ ความสำเร็จในการนำหลักหรือวิธีการแบบประชาธิปไตยมาใช้ในชีวิตประจำวัน ค่าร้อยละ
1 มาก / มากที่สุด 19.2
2 ค่อนข้างมาก 52.6
3 ค่อนข้างน้อย 14.6
4 น้อย / ไม่ประสบความสำเร็จเลย 2.6
5 ไม่เคยนำมาใช้ 11.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัญหาที่ประสบหากประเทศไทยไม่ใช้หลักการปกครองประเทศ
แบบประชาธิปไตย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาที่ประสบหากประเทศไทยไม่ใช้หลักการปกครองประเทศแบบประชาธิปไตย ค่าร้อยละ
1 ประเทศชาติเกิดความวุ่นวาย แตกแยก 51.4
2 เกิดระบบคอมมิวนิสต์ การก่อการร้าย รัฐประหาร กบฏ เกิดขึ้นในสังคม 20.3
3 การยึดอำนาจทางการเมืองซ้ำซาก 11.2
4 ประชาชนเกิดการเห็นแก่ตัว เอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน 9.3
5 ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ 7.6
6 เกิดการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของประชาชน 7.2
7 ประสบปัญหาการแบ่งชนชั้น 5.1
8 การไม่สามารถแสดงความคิดเห็นของประชาชน 4.5
9 เกิดสงคราม 4.1
10 อื่น ๆ เช่น ขาดความเชื่อมั่นจากต่างประเทศ การคอรัปชั่น สิ่งเสพติดแพร่หลาย
สถาบันครอบครัวแตกแยก เป็นต้น 7.2
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเหมาะสมในการปกครองแบบประชาธิปไตยกับประเทศไทย
ลำดับที่ ความเหมาะสมในการปกครองแบบประชาธิปไตยกับประเทศไทย ค่าร้อยละ
1 เหมาะสมอย่างแน่นอน 68.3
2 เหมาะสมแต่ควรปรับปรุงในเรื่อง อำนาจของผู้บริหารบ้านเมือง มีกฎหมายที่ทันต่อเหตุการณ์
การเปิดเผยข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา เป็นต้น 19.6
3 ไม่ค่อยเหมาะสม เพราะ การกำหนดอำนาจหน้าที่ไม่ชัดเจน บุคคลบางกลุ่มอยู่เหนือกฎหมาย
จุดอ่อนในโครงสร้างการปกครอง เป็นต้น 3.1
4 ไม่เหมาะสมเลย เพราะ ประเทศไทยไม่ได้นำประชาธิปไตยที่แท้จริงมาใช้ ไม่สามารถ
แก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ เป็นต้น 1.5
5 ไม่มีความเห็น 7.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการเลือกตั้งวันที่ 15 ตุลาคม 2549
เป็นทางออกที่ดีในช่วงวิกฤตการเมืองขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่าเป็นทางออกที่ดี เพราะ ประชาชนได้ใช้สิทธิของตัวเองตามระบบประชาธิปไตย
ให้โอกาสได้รัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศ ยุติการชุมนุมวิกฤตการเมือง เป็นต้น 54.0
2 คิดว่าไม่เป็นทางออกที่ดี เพราะ ปัญหาเดิมๆ ยังไม่ได้รับการแก้ไข ผู้สมัครพรรคการเมือง
ยังเป็นคนเดิม ๆ และสิ้นเปลืองงบประมาณถ้าเลือกตั้งมาก็ชุมนุมกันอีก เป็นต้น 12.3
3 ไม่มีความเห็น 33.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นว่า กกต. ทั้ง 3 คน ควรลาออกหรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรลาออก เพราะ ขาดความเที่ยงธรรม ขาดความชอบธรรม / ไม่เป็นกลางในการทำงาน
ทำให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย ขาดความเชื่อถือจากประชาชน เป็นต้น 37.8
2 ไม่ควรลาออก เพราะ ประเด็นความผิดยังไม่ชัดเจน ทำตามหน้าที่ได้ดีแล้ว ควรให้โอกาสทำงาน
ที่ยังค้างอยู่ มีผลต่อการจัดการเลือกตั้งครั้งต่อไป เป็นต้น 22.3
3 ไม่มีความเห็น 39.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-