ที่มาของโครงการ
เนื่องจากผลการวิเคราะห์สถานการณ์ยาเสพติดของศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ (ศตส.) พบว่า หลังปฎิบัติการพลัง
แผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด ครั้งที่ 3 สามารถลดขนาดและระดับความรุนแรงของสถานการณ์ปัญหาลงได้จนถึงระดับที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต
โดยปกติสุขของประชาชนโดยทั่วไป แต่สถานะปัญหาเริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ผู้ค้า ผู้เสพ/ผู้ติด กลุ่มใหม่เริ่มมีบทบาท และมีปัญหาที่ดำรงอยู่เฉพาะจุด จาก
สถานการณ์ดังกล่าว ศตส. จึงได้กำหนดให้มีการปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด ครั้งที่ 4 ขึ้น เพื่อป้องกันการพลิกกลับของปัญหายาเสพติด
และส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชน
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการประเมินการปฏิบัติกากรพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด ครั้งที่ 4 จาก
ประชาชนทั่วไป และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ 27 จังหวัดทั่วประเทศ ด้วยการให้อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงาน เก็บรวบรวมข้อมูล ตามหลัก
วิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์ในการศึกษา
1. เพื่อประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของปฏิบัติการพลังแผ่นดิน ร่วมกวาดล้างยาเสพติด ครั้งที่ 4
2. เพื่อประเมินสถานการณ์ปัญหายาเสพติด โดยเฉพาะในพื้นที่/กลุ่มเป้าหมายที่กำหนด
3. เพื่อสำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่อผลการแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาล
4. เพื่อสำรวจขวัญ และกำลังใจของเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติงานในพื้นที่
5. เพื่อสำรวจปัญหา และอุปสรรค รวมถึงแนวทางที่ประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ต้องการให้ดำเนินการต่อการแก้ไข
ปัญหายาเสพติดในระยะต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในระหว่างวันที่ 1 — 15 มกราคม 2549 จากตัวอย่างประชากรที่มีอายุ 18 —
60 ปี จำนวน 7,699 ตัวอย่างจาก 27 จังหวัดทั่วประเทศ
บทสรุปผลการสำรวจ
ผลการสำรวจประเมินการปฏิบัติการพลังแผ่นดิน ร่วมกวาดล้างยาเสพติด ครั้งที่ 4 (1 ตุลาคม - 31 ธันวาคม 2548) ในภาพรวมสรุปได้ดังนี้
-สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนยังไม่หยุดนิ่ง
ตัวอย่างร้อยละ 38.2 ระบุว่ายังคงมีการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนอยู่ ร้อยละ 38.2 ระบุว่าไม่มีการ
เปลี่ยนแปลง ในขณะที่ร้อยละ 23.6 ระบุว่าไม่ทราบ ทั้งนี้ผลการสำรวจการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ปัญหายาเสพติดที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน/ชุมชน พบ
ว่า ตัวอย่างร้อยละละ 38.6 ระบุมีผู้เสพ/ผู้ติดรายใหม่เกิดขึ้น ร้อยละ 31.3 ระบุมีแหล่งมั่วสุมยาเสพติดเกิดขึ้น ร้อยละ 26.4 ระบุผู้เสพ/ผู้ติดยา
เสพติดรายเดิมยังไม่ได้รับการบำบัด
-สถานการณ์ความรุนแรงของยาเสพติดในทรรศนะของประชาชน: 3 จังหวัดชายแดนใต้น่าเป็นห่วง
สถานการณ์ความรุนแรงของสถานการณ์ปัญหายาเสพติดโดยภาพรวมของประชาชนพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 44.9 ระบุว่าสถานการณ์ปัญหายา
เสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนของตนในปัจจุบันอยู่ในระดับที่เรียกได้ว่าไม่รุนแรงหรือไม่มีปัญหาเลย ในขณะที่ร้อยละ 31.0 ระบุว่ามีปัญหาในระดับไม่ค่อย
รุนแรง ร้อยละ 9.4 ระบุว่ามีปัญหาค่อนข้างรุนแรง และร้อยละ 5.5 ระบุว่ามีปัญหาในระดับที่รุนแรง ทั้งนี้ตัวอย่างร้อยละ 9.2 ระบุว่าไม่ทราบถึง
สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในปัจจุบัน
สำหรับความรุนแรงของสถานการณ์ปัญหายาเสพติดใน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ตัวอย่างร้อยละ 12.8 ระบุสถานการณ์อยู่ใน
ระดับรุนแรง ร้อยละ 25.2 ระบุค่อนข้างรุนแรง ร้อยละ 40.4 ระบุไม่ค่อยรุนแรง ร้อยละ 13.3 ระบุไม่รุนแรง/ไม่มีปัญหาเลย และร้อยละ 8.3
ระบุไม่ทราบ
-การรับรู้ว่ามีคนในหมู่บ้าน/ชุมชนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548
ผลการสำรวจพบว่าตัวอย่างร้อยละ 14.3 ระบุว่ามีการรับรู้ว่ามีผู้เสพ/ผู้ติดในหมู่บ้าน/ชุมชนของตน ร้อยละ 7.7 ระบุว่ามีแหล่งมั่วสุมเสพ
ยาเสพติดอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน ร้อยละ 6.0 ระบุว่ามีผู้ค้า/ผู้ผลิตยาเสพติดอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน และร้อยละ 4.1 ระบุว่ามีแหล่งมั่วสุมยาเสพติด
นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบสถานการณ์ยาเสพติดในพื้นที่กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1-9 และกรุงเทพมหานครในด้านการรับรู้ว่ามีผู้
เสพ/ผู้ติดนั้นพบว่า กรุงเทพมหานครมีสัดส่วนของผู้ที่ระบุรับรู้ว่ามีผู้เสพ/ผู้ติดในหมู่บ้านชุมชนของตน สูงกว่าพื้นที่อื่น ๆ (ร้อยละ 28.3 ) รองลงมาคือ
พื้นที่กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 (ร้อยละ 23.4) และพื้นที่ของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 (ร้อยละ 22.0) ตามลำดับ สำหรับสัดส่วนของ
การรับรู้ว่ามีผู้ค้า/ผู้ผลิตในหมู่บ้าน/ชุมชนของตนนั้น พบว่า กรุงเทพมหานครยังคงเป็นพื้นที่มีสัดส่วนดังกล่าวสูงที่สุด (ร้อยละ 17.9) รองลงมาคือพื้นที่
กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 (ร้อยละ 13.7) และพื้นที่ของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 (ร้อยละ 8.0) ตามลำดับ
สำหรับผลการสำรวจในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 19.5 ระบุว่ามีการรับรู้ว่ามีผู้เสพ/ผู้ติดในหมู่บ้าน/ชุมชน
ของตน ร้อยละ 10.6 ระบุว่ามีแหล่งมั่วสุมเสพยาเสพติดอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน ร้อยละ 6.4 ระบุว่ามีผู้ค้า/ผู้ผลิตยาเสพติดอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน และร้อย
ละ 6.4 เช่นเดียวกันที่ระบุว่ามีแหล่งมั่วสุมยาเสพติด
-เปรียบเทียบปฏิบัติการพลังแผ่นดินกับสภาวะการณ์ปกติในปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดเป็นการประเมินปัญหายาเสพติดในสภาวะ
การณ์ปกติรอบ 3 เดือนที่ผ่านมาก่อนหน้าที่จะมีปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด ครั้งที่ 4 (ประมาณช่วงเดือนกรกฎาคม - กันยายน
2548) ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 46.6 ระบุว่ายังคงมีการแพร่ระบาดของยาเสพติดอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชนอยู่ ในขณะที่ร้อยละ 30.3 ระบุ
ว่าไม่มีการแพร่ระบาดของยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนแล้ว และร้อยละ 23.1 ระบุไม่ทราบ ทั้งนี้ ยาเสพติดที่ตัวอย่างระบุพบเห็นในหมู่บ้าน/ชุมชนของ
ตนเองมากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่
ประชาชนร้อยละ 71.2 ระบุเป็น ยาบ้า
ประชาชนร้อยละ 28.3 ระบุเป็นกัญชา
ประชาชนร้อยละ 24.9 ระบุเป็นสารระเหย
อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจสถานการณ์ปัญหาด้านชนิดของยาเสพติดที่มีการแพร่ระบาดในหมู่บ้าน/ชุมชน ตั้งแต่เดือนตุลาคม — ธันวาคม
2548 นั้น พบว่าตัวอย่างร้อยละ 44.4 ระบุว่ายังคงมียาเสพติดแพร่ระบาดอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชนของตนอยู่ ในขณะที่ร้อยละ 31.4 ระบุว่าไม่มีปัญหาการ
แพร่ระบาดของยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนแล้ว และร้อยละ 24.2 ระบุว่าไม่ทราบ โดยเมื่อพิจารณาการแพร่ระบาดตามชนิดของยาเสพติดแล้ว พบว่า
ยาบ้ายังคงมีการแพร่ระบาดมากเป็นอันดับ 1 เช่นเดิม (ร้อยละ 67.2) รองลงมาคือ กัญชา (ร้อยละ 26.1) และสารระเหย (ร้อยละ 24.2) ตาม
ลำดับ
จึงกล่าวได้ว่า สถานการณ์ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบหลังปฏิบัติการพลัง
แผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด ครั้งที่ 4 กับช่วงเวลาในสภาวการณ์ปกติก่อนที่จะมีปฏิบัติการฯ โดยผลสำรวจพบว่า ในสภาวะการณ์ปกตินั้น
ตัวอย่างร้อยละ 46.6 ระบุมีการแพร่ระบาดของยาเสพติด ในขณะที่เมื่อเริ่มมีปฏิบัติการพลังแผ่นดินครั้งที่ 4 นั้นพบว่าสัดส่วนของตัวอย่างดังกล่าวลด
ลงเหลือร้อยละ 44.4
-3 พื้นที่ปฏิบัติการที่ประชาชนไม่เห็นความแตกต่างของผลปฏิบัติการระหว่างช่วงกวาดล้างครั้งที่ 4 กับช่วงก่อนปฏิบัติการ: ภาค8 /
กทม./ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ใน 3 พื้นที่ได้แก่พื้นที่ของสำนักงาน ปปส. ภาค/กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 กรุงเทพมหานคร/
สำนักงาน ปปส. กทม. และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นพื้นที่ที่ประชาชนมองไม่เห็นความแตกต่างของผลปฏิบัติการระหว่างช่วงปฏิบัติการพลังแผ่นดิน
ร่วมกวาดล้างยาเสพติดครั้งที่ 4 และช่วงก่อนปฏิบัติการ เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่เหล่านี้มองว่ายังคงมีการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชน
อยู่ ซึ่งพบว่า พื้นที่สำนักงาน ปปส. ภาค/ กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 (ร้อยละ 48.1 ในช่วงก่อนปฏิบัติการ และร้อยละ 48.5 ในช่วงหลังปฏิบัติ
การ) พื้นที่กรุงเทพมหานคร/ สำนักงาน ปปส. กทม. (ร้อยละ 70.9 ในช่วงก่อนปฏิบัติการ และร้อยละ 69.7 ในช่วงหลังปฏิบัติการ) และพื้นที่ 3
จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งผลสำรวจพบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.0 ในช่วงก่อนปฏิบัติการระบุว่ามีการแพร่ระบาดของยาเสพติด และร้อยละ
69.7 ในช่วงหลังปฏิบัติการ
อย่างไรก็ตาม สำนักงาน ปปส. ภาค/ กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 เป็นพื้นที่ที่ประชาชนในพื้นที่ระบุว่ามีการแพร่ระบาดของยาเสพติด
ในชุมชนต่ำที่สุด (ร้อยละ 22.4 ในช่วงก่อนปฏิบัติการ และร้อยละ 22.3 ในช่วงหลังปฏิบัติการ)
-การรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ปัญหายาเสพติดเป็นปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จของการปฏิบัติการพลังแผ่นดินฯ จำแนก
ตามพื้นที่ปฏิบัติการ
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ในทุกพื้นที่รับรู้ต่อการปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติดครั้งที่ 4 อย่าง
ไรก็ตาม เมื่อพิจารณาการมีส่วนร่วมของประชาชนพบว่า ประชาชนในพื้นที่สำนักงาน ปปส. ภาค/กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 มีส่วนร่วมในหลาย
กิจกรรมที่นำไปสู่การแก้ปัญหายาเสพติดสูงกว่าพื้นที่อื่นๆ ดังปรากฎในตารางข้างล่างนี้
การรับรู้/การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหา ภาค ๓ กทม. ๓ จังหวัดใต้
การรับรู้ต่อ มีปฏิบัติการพลังแผ่นดิน 86.3 84.2 72.9
การมีส่วนร่วมด้านต่างๆ ในการแก้ปัญหายาเสพติด
1. การดูแลตนเอง/บุตรหลาน/เพื่อนฝูงไม่ให้เข้าไปยุ่งกับยาเสพติดโดยเด็ดขาด 92.1 82.1 71.8
2. ช่วยสอดส่องดูแลกลุ่มเสี่ยงในหมู่บ้าน/ชุมชน 69.0 40.4 37.5
3. เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ / ป้องกันยาเสพติด 63.0 40.0 41.6
4. ช่วยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับยาเสพติด 56.5 31.6 35.6
5. ช่วยในการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน 28.1 23.2 19.9
6 การเข้าร่วมเป็นแกนนำในการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด 36.8 23.1 23.2
7.การเข้าร่วมกลุ่มสมาชิกหมู่บ้าน/ชุมชนเพื่อทำกิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 52.1 30.0 33.7
-ประชาชนยังคงมีการพบเห็นคนในหมู่บ้าน/ชุมชนเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
นอกจากนี้ผลการสำรวจยังพบว่า ประชาชนมีการรับรู้ว่ามีคนในหมู่บ้าน/ชุมชนของตนเกี่ยวข้องกับยาเสพติดในลักษณะต่างๆ โดยร้อยละ
14.3 ระบุว่ามีผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ร้อยละ 7.7 ระบุมีแหล่งมั่วสุมเสพยาเสพติด ร้อยละ 6.0 มีผู้ค้า/ผู้ผลิตยาเสพติด และร้อยละ 4.1 ระบุมี
แหล่งมั่วสุมค้ายาเสพติด
-สถานการณ์ยาเสพติดโดยภาพรวมในหมู่บ้าน/ชุมชนยังไม่น่าไว้วางใจ
ผลสำรวจความรุนแรงของสถานการณ์ปัญหายาเสพติดโดยภาพรวม พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 44.9
ระบุว่าสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนของตนในปัจจุบันอยู่ในระดับที่เรียกได้ว่าไม่รุนแรงหรือไม่มีปัญหาเลย อย่างไรก็ตาม
ตัวอย่างร้อยละ 31.0 ระบุว่าในหมู่บ้าน/ชุมชนของตนมีปัญหาในระดับไม่ค่อยรุนแรง ร้อยละ 9.4 ระบุว่ามีปัญหาค่อนข้างรุนแรง และร้อยละ
5.5 ระบุว่ามีปัญหาในระดับที่รุนแรง ตามลำดับ ทั้งนี้ตัวอย่างร้อยละ 9.2 ระบุว่าไม่ทราบถึงสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในปัจจุบัน
-ประชาชนเกินกว่า 2 ใน 3 รับรู้ว่ามีปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติดครั้งที่ 4 ในหมู่บ้าน/ชุมชนของตน
ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ระบุรับรู้/รับทราบว่ามีปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน ร้อยละ
79.6 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการสำรวจฯ ครั้งที่ 3 และครั้งที่ 2 (ร้อยละ 74.6 และ ร้อยละ 53.3 ตามลำดับ) ทั้งนี้ปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้าง
ยาเสพติดที่พบเห็นได้แก่ การส่งเสริมกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ของเยาวชน การปราบปรามจับกุมผู้ค้า/ผู้ผลิต และการจัดกิจกรรมรณรงค์การมีส่วนร่วม
ของประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามลำดับ
-ตัวอย่างประชาชนเกินครึ่งระบุปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติดครั้งที่ 4 ทำให้ภาพรวมการแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/
ชุมชนของตนเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น
ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งคือร้อยละ 51.5 ระบุภาพรวมการแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น นับตั้งแต่เริ่ม
ปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติดครั้งที่4 (1ตุลาคม-31 ธันวาคม 2548) เป็นต้นมา ในขณะที่ร้อยละ 25.6 ระบุดีเหมือนเดิม ร้อยละ
8.8 ระบุแย่เหมือนเดิม ร้อยละ 2.7 ระบุแย่ลง และร้อยละ 11.4 ระบุไม่ทราบ ทั้งนี้ปฏิบัติการที่ได้รับการประเมินว่า “ดีขึ้น” มากที่สุดใน 3
อันดับแรก ได้แก่ การปราบปรามจับกุมผู้ค้า/ผู้ผลิต การให้ข่าวสาร/ความรู้เรื่องยาเสพติดแก่ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน และการป้องกันไม่ให้กลุ่ม
เสี่ยง (ผู้ที่มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้อง) เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
และเมื่อเปรียบเทียบผลปฏิบัติการใน “สภาวการณ์ปกติ” กับ “ปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด” ของรัฐบาลในการแก้ไข
ปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน โดยภาพรวมของประชาชนและเจ้าหน้าที่ พบว่าตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 52.3 ระบุว่าการปฏิบัติการ
พลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติดครั้งที่ 4 มีผลทำให้การแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน ได้ผลเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ในขณะที่ร้อยละ 25.8
ระบุได้เท่าเดิม ร้อยละ 8.7 ระบุลดลง และร้อยละ 13.2 ระบุไม่แน่ใจ
-ความเชื่อมั่นต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาล
ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของตัวอย่างที่มีต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาลในด้านต่างๆ นั้นพบว่าการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลที่
ตัวอย่างระบุเชื่อมั่น-ค่อนข้างเชื่อมั่น 3 อันดับแรก ได้แก่ ความเอาจริงเอาจังในการแก้ไขปัญหา (ร้อยละ 72.0 ระบุเชื่อมั่น-ค่อนข้างเชื่อมั่น)
การปราบปรามยาเสพติด (ร้อยละ 64.9 ระบุเชื่อมั่น-ค่อนข้างเชื่อมั่น) และการให้ความสำคัญกับปัญหาอย่างต่อเนื่องในระยะยาว (ร้อยละ 63.9
ระบุเชื่อมั่น-ค่อนข้างเชื่อมั่น)
-ความพึงพอใจต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาล
ตัวอย่างร้อยละ 89.7 ระบุมีความพึงพอใจต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาลในระดับปานกลาง-มากที่สุด ร้อยละ 10.3 ระบุน้อย-
ไม่พอใจเลย
-การมีส่วนร่วม ปัญหาอุปสรรค และแนวทางที่ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการเพื่อ แก้ไขปัญหายาเสพติด
การมีส่วนร่วมของประชาชน
ผลการสำรวจพบว่ากิจกรรมที่ตัวอย่างระบุเคยมีส่วนร่วม 3 อันดับแรกมีดังนี้
อันดับที่ 1 การดูแลตนเอง/บุตรหลาน/เพื่อนฝูง ไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดโดยเด็ดขาด (ร้อยละ 86.4)
อันดับที่ 2 การช่วยสอดส่องดูแลกลุ่มเสี่ยงในหมู่บ้าน/ชุมชน (ร้อยละ 53.0)
อันดับที่ 3 การเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ป้องกันยาเสพติด (ร้อยละ 51.2)
ความพร้อมในการร่วมมือกับภาครัฐ
ผลการสำรวจพบว่าสิ่งที่ตัวอย่างพร้อมให้ความร่วมมือกับภาครัฐ 3 อันดับแรกมีดังนี้
อันดับที่ 1 การดูแลตนเอง/บุตรหลาน/เพื่อนฝูง ไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดโดยเด็ดขาด (ร้อยละ 90.7)
อันดับที่ 2 การช่วยสอดส่องดูแลกลุ่มเสี่ยงในหมู่บ้าน/ชุมชน (ร้อยละ 51.3)
อันดับที่ 3 การเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ป้องกันยาเสพติด (ร้อยละ 46.2)
-ปัญหาอุปสรรคในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน
ปัญหาเก่าที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข
อันดับที่ 1 ปัญหาความยากจน/ตกงาน/ไม่มีงานทำแล้วหันมาค้ายาเสพติด (ร้อยละ 16.1)
อันดับที่ 2 การไม่มีการติดตามผู้เข้ารับการบำบัดอย่างต่อเนื่องทำให้หันมาติดซ้ำ (ร้อยละ 15.2)
อันดับที่ 3 ประชาชนไม่ทราบช่องทางที่จะเข้ามาร่วมมือกับภาครัฐ (ร้อยละ 13.4)
ปัญหาใหม่
อันดับที่ 1 ปัญหาความยากจน/ตกงาน/ไม่มีงานทำแล้วหันมาค้ายาเสพติด (ร้อยละ 26.1)
อันดับที่ 2 การไม่มีการติดตามผู้เข้ารับการบำบัดอย่างต่อเนื่องทำให้หันมาติดซ้ำ (ร้อยละ 22.6)
อันดับที่ 3 ประชาชนไม่ทราบช่องทางที่จะเข้ามาร่วมมือกับภาครัฐ (ร้อยละ 20.7)
-สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืนในหมู่บ้าน/ชุมชน
อันดับที่ 1 ปราบปรามจับกุมผู้ค้า/ผู้ผลิต (ร้อยละ 68.8)
อันดับที่ 2 ยึดทรัพย์ผู้ค้า/ผู้ผลิต (ร้อยละ 61.1)
อันดับที่ 3 ลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด (ร้อยละ 55.8)
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50 www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
เนื่องจากผลการวิเคราะห์สถานการณ์ยาเสพติดของศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ (ศตส.) พบว่า หลังปฎิบัติการพลัง
แผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด ครั้งที่ 3 สามารถลดขนาดและระดับความรุนแรงของสถานการณ์ปัญหาลงได้จนถึงระดับที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต
โดยปกติสุขของประชาชนโดยทั่วไป แต่สถานะปัญหาเริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ผู้ค้า ผู้เสพ/ผู้ติด กลุ่มใหม่เริ่มมีบทบาท และมีปัญหาที่ดำรงอยู่เฉพาะจุด จาก
สถานการณ์ดังกล่าว ศตส. จึงได้กำหนดให้มีการปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด ครั้งที่ 4 ขึ้น เพื่อป้องกันการพลิกกลับของปัญหายาเสพติด
และส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชน
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการประเมินการปฏิบัติกากรพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด ครั้งที่ 4 จาก
ประชาชนทั่วไป และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ 27 จังหวัดทั่วประเทศ ด้วยการให้อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงาน เก็บรวบรวมข้อมูล ตามหลัก
วิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์ในการศึกษา
1. เพื่อประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของปฏิบัติการพลังแผ่นดิน ร่วมกวาดล้างยาเสพติด ครั้งที่ 4
2. เพื่อประเมินสถานการณ์ปัญหายาเสพติด โดยเฉพาะในพื้นที่/กลุ่มเป้าหมายที่กำหนด
3. เพื่อสำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่อผลการแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาล
4. เพื่อสำรวจขวัญ และกำลังใจของเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติงานในพื้นที่
5. เพื่อสำรวจปัญหา และอุปสรรค รวมถึงแนวทางที่ประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ต้องการให้ดำเนินการต่อการแก้ไข
ปัญหายาเสพติดในระยะต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในระหว่างวันที่ 1 — 15 มกราคม 2549 จากตัวอย่างประชากรที่มีอายุ 18 —
60 ปี จำนวน 7,699 ตัวอย่างจาก 27 จังหวัดทั่วประเทศ
บทสรุปผลการสำรวจ
ผลการสำรวจประเมินการปฏิบัติการพลังแผ่นดิน ร่วมกวาดล้างยาเสพติด ครั้งที่ 4 (1 ตุลาคม - 31 ธันวาคม 2548) ในภาพรวมสรุปได้ดังนี้
-สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนยังไม่หยุดนิ่ง
ตัวอย่างร้อยละ 38.2 ระบุว่ายังคงมีการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนอยู่ ร้อยละ 38.2 ระบุว่าไม่มีการ
เปลี่ยนแปลง ในขณะที่ร้อยละ 23.6 ระบุว่าไม่ทราบ ทั้งนี้ผลการสำรวจการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ปัญหายาเสพติดที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน/ชุมชน พบ
ว่า ตัวอย่างร้อยละละ 38.6 ระบุมีผู้เสพ/ผู้ติดรายใหม่เกิดขึ้น ร้อยละ 31.3 ระบุมีแหล่งมั่วสุมยาเสพติดเกิดขึ้น ร้อยละ 26.4 ระบุผู้เสพ/ผู้ติดยา
เสพติดรายเดิมยังไม่ได้รับการบำบัด
-สถานการณ์ความรุนแรงของยาเสพติดในทรรศนะของประชาชน: 3 จังหวัดชายแดนใต้น่าเป็นห่วง
สถานการณ์ความรุนแรงของสถานการณ์ปัญหายาเสพติดโดยภาพรวมของประชาชนพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 44.9 ระบุว่าสถานการณ์ปัญหายา
เสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนของตนในปัจจุบันอยู่ในระดับที่เรียกได้ว่าไม่รุนแรงหรือไม่มีปัญหาเลย ในขณะที่ร้อยละ 31.0 ระบุว่ามีปัญหาในระดับไม่ค่อย
รุนแรง ร้อยละ 9.4 ระบุว่ามีปัญหาค่อนข้างรุนแรง และร้อยละ 5.5 ระบุว่ามีปัญหาในระดับที่รุนแรง ทั้งนี้ตัวอย่างร้อยละ 9.2 ระบุว่าไม่ทราบถึง
สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในปัจจุบัน
สำหรับความรุนแรงของสถานการณ์ปัญหายาเสพติดใน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ตัวอย่างร้อยละ 12.8 ระบุสถานการณ์อยู่ใน
ระดับรุนแรง ร้อยละ 25.2 ระบุค่อนข้างรุนแรง ร้อยละ 40.4 ระบุไม่ค่อยรุนแรง ร้อยละ 13.3 ระบุไม่รุนแรง/ไม่มีปัญหาเลย และร้อยละ 8.3
ระบุไม่ทราบ
-การรับรู้ว่ามีคนในหมู่บ้าน/ชุมชนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548
ผลการสำรวจพบว่าตัวอย่างร้อยละ 14.3 ระบุว่ามีการรับรู้ว่ามีผู้เสพ/ผู้ติดในหมู่บ้าน/ชุมชนของตน ร้อยละ 7.7 ระบุว่ามีแหล่งมั่วสุมเสพ
ยาเสพติดอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน ร้อยละ 6.0 ระบุว่ามีผู้ค้า/ผู้ผลิตยาเสพติดอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน และร้อยละ 4.1 ระบุว่ามีแหล่งมั่วสุมยาเสพติด
นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบสถานการณ์ยาเสพติดในพื้นที่กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1-9 และกรุงเทพมหานครในด้านการรับรู้ว่ามีผู้
เสพ/ผู้ติดนั้นพบว่า กรุงเทพมหานครมีสัดส่วนของผู้ที่ระบุรับรู้ว่ามีผู้เสพ/ผู้ติดในหมู่บ้านชุมชนของตน สูงกว่าพื้นที่อื่น ๆ (ร้อยละ 28.3 ) รองลงมาคือ
พื้นที่กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 (ร้อยละ 23.4) และพื้นที่ของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 (ร้อยละ 22.0) ตามลำดับ สำหรับสัดส่วนของ
การรับรู้ว่ามีผู้ค้า/ผู้ผลิตในหมู่บ้าน/ชุมชนของตนนั้น พบว่า กรุงเทพมหานครยังคงเป็นพื้นที่มีสัดส่วนดังกล่าวสูงที่สุด (ร้อยละ 17.9) รองลงมาคือพื้นที่
กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 (ร้อยละ 13.7) และพื้นที่ของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 (ร้อยละ 8.0) ตามลำดับ
สำหรับผลการสำรวจในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 19.5 ระบุว่ามีการรับรู้ว่ามีผู้เสพ/ผู้ติดในหมู่บ้าน/ชุมชน
ของตน ร้อยละ 10.6 ระบุว่ามีแหล่งมั่วสุมเสพยาเสพติดอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน ร้อยละ 6.4 ระบุว่ามีผู้ค้า/ผู้ผลิตยาเสพติดอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน และร้อย
ละ 6.4 เช่นเดียวกันที่ระบุว่ามีแหล่งมั่วสุมยาเสพติด
-เปรียบเทียบปฏิบัติการพลังแผ่นดินกับสภาวะการณ์ปกติในปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดเป็นการประเมินปัญหายาเสพติดในสภาวะ
การณ์ปกติรอบ 3 เดือนที่ผ่านมาก่อนหน้าที่จะมีปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด ครั้งที่ 4 (ประมาณช่วงเดือนกรกฎาคม - กันยายน
2548) ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 46.6 ระบุว่ายังคงมีการแพร่ระบาดของยาเสพติดอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชนอยู่ ในขณะที่ร้อยละ 30.3 ระบุ
ว่าไม่มีการแพร่ระบาดของยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนแล้ว และร้อยละ 23.1 ระบุไม่ทราบ ทั้งนี้ ยาเสพติดที่ตัวอย่างระบุพบเห็นในหมู่บ้าน/ชุมชนของ
ตนเองมากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่
ประชาชนร้อยละ 71.2 ระบุเป็น ยาบ้า
ประชาชนร้อยละ 28.3 ระบุเป็นกัญชา
ประชาชนร้อยละ 24.9 ระบุเป็นสารระเหย
อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจสถานการณ์ปัญหาด้านชนิดของยาเสพติดที่มีการแพร่ระบาดในหมู่บ้าน/ชุมชน ตั้งแต่เดือนตุลาคม — ธันวาคม
2548 นั้น พบว่าตัวอย่างร้อยละ 44.4 ระบุว่ายังคงมียาเสพติดแพร่ระบาดอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชนของตนอยู่ ในขณะที่ร้อยละ 31.4 ระบุว่าไม่มีปัญหาการ
แพร่ระบาดของยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนแล้ว และร้อยละ 24.2 ระบุว่าไม่ทราบ โดยเมื่อพิจารณาการแพร่ระบาดตามชนิดของยาเสพติดแล้ว พบว่า
ยาบ้ายังคงมีการแพร่ระบาดมากเป็นอันดับ 1 เช่นเดิม (ร้อยละ 67.2) รองลงมาคือ กัญชา (ร้อยละ 26.1) และสารระเหย (ร้อยละ 24.2) ตาม
ลำดับ
จึงกล่าวได้ว่า สถานการณ์ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบหลังปฏิบัติการพลัง
แผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด ครั้งที่ 4 กับช่วงเวลาในสภาวการณ์ปกติก่อนที่จะมีปฏิบัติการฯ โดยผลสำรวจพบว่า ในสภาวะการณ์ปกตินั้น
ตัวอย่างร้อยละ 46.6 ระบุมีการแพร่ระบาดของยาเสพติด ในขณะที่เมื่อเริ่มมีปฏิบัติการพลังแผ่นดินครั้งที่ 4 นั้นพบว่าสัดส่วนของตัวอย่างดังกล่าวลด
ลงเหลือร้อยละ 44.4
-3 พื้นที่ปฏิบัติการที่ประชาชนไม่เห็นความแตกต่างของผลปฏิบัติการระหว่างช่วงกวาดล้างครั้งที่ 4 กับช่วงก่อนปฏิบัติการ: ภาค8 /
กทม./ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ใน 3 พื้นที่ได้แก่พื้นที่ของสำนักงาน ปปส. ภาค/กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 กรุงเทพมหานคร/
สำนักงาน ปปส. กทม. และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นพื้นที่ที่ประชาชนมองไม่เห็นความแตกต่างของผลปฏิบัติการระหว่างช่วงปฏิบัติการพลังแผ่นดิน
ร่วมกวาดล้างยาเสพติดครั้งที่ 4 และช่วงก่อนปฏิบัติการ เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่เหล่านี้มองว่ายังคงมีการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชน
อยู่ ซึ่งพบว่า พื้นที่สำนักงาน ปปส. ภาค/ กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 (ร้อยละ 48.1 ในช่วงก่อนปฏิบัติการ และร้อยละ 48.5 ในช่วงหลังปฏิบัติ
การ) พื้นที่กรุงเทพมหานคร/ สำนักงาน ปปส. กทม. (ร้อยละ 70.9 ในช่วงก่อนปฏิบัติการ และร้อยละ 69.7 ในช่วงหลังปฏิบัติการ) และพื้นที่ 3
จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งผลสำรวจพบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.0 ในช่วงก่อนปฏิบัติการระบุว่ามีการแพร่ระบาดของยาเสพติด และร้อยละ
69.7 ในช่วงหลังปฏิบัติการ
อย่างไรก็ตาม สำนักงาน ปปส. ภาค/ กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 เป็นพื้นที่ที่ประชาชนในพื้นที่ระบุว่ามีการแพร่ระบาดของยาเสพติด
ในชุมชนต่ำที่สุด (ร้อยละ 22.4 ในช่วงก่อนปฏิบัติการ และร้อยละ 22.3 ในช่วงหลังปฏิบัติการ)
-การรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ปัญหายาเสพติดเป็นปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จของการปฏิบัติการพลังแผ่นดินฯ จำแนก
ตามพื้นที่ปฏิบัติการ
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ในทุกพื้นที่รับรู้ต่อการปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติดครั้งที่ 4 อย่าง
ไรก็ตาม เมื่อพิจารณาการมีส่วนร่วมของประชาชนพบว่า ประชาชนในพื้นที่สำนักงาน ปปส. ภาค/กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 มีส่วนร่วมในหลาย
กิจกรรมที่นำไปสู่การแก้ปัญหายาเสพติดสูงกว่าพื้นที่อื่นๆ ดังปรากฎในตารางข้างล่างนี้
การรับรู้/การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหา ภาค ๓ กทม. ๓ จังหวัดใต้
การรับรู้ต่อ มีปฏิบัติการพลังแผ่นดิน 86.3 84.2 72.9
การมีส่วนร่วมด้านต่างๆ ในการแก้ปัญหายาเสพติด
1. การดูแลตนเอง/บุตรหลาน/เพื่อนฝูงไม่ให้เข้าไปยุ่งกับยาเสพติดโดยเด็ดขาด 92.1 82.1 71.8
2. ช่วยสอดส่องดูแลกลุ่มเสี่ยงในหมู่บ้าน/ชุมชน 69.0 40.4 37.5
3. เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ / ป้องกันยาเสพติด 63.0 40.0 41.6
4. ช่วยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับยาเสพติด 56.5 31.6 35.6
5. ช่วยในการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน 28.1 23.2 19.9
6 การเข้าร่วมเป็นแกนนำในการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด 36.8 23.1 23.2
7.การเข้าร่วมกลุ่มสมาชิกหมู่บ้าน/ชุมชนเพื่อทำกิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 52.1 30.0 33.7
-ประชาชนยังคงมีการพบเห็นคนในหมู่บ้าน/ชุมชนเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
นอกจากนี้ผลการสำรวจยังพบว่า ประชาชนมีการรับรู้ว่ามีคนในหมู่บ้าน/ชุมชนของตนเกี่ยวข้องกับยาเสพติดในลักษณะต่างๆ โดยร้อยละ
14.3 ระบุว่ามีผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ร้อยละ 7.7 ระบุมีแหล่งมั่วสุมเสพยาเสพติด ร้อยละ 6.0 มีผู้ค้า/ผู้ผลิตยาเสพติด และร้อยละ 4.1 ระบุมี
แหล่งมั่วสุมค้ายาเสพติด
-สถานการณ์ยาเสพติดโดยภาพรวมในหมู่บ้าน/ชุมชนยังไม่น่าไว้วางใจ
ผลสำรวจความรุนแรงของสถานการณ์ปัญหายาเสพติดโดยภาพรวม พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 44.9
ระบุว่าสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนของตนในปัจจุบันอยู่ในระดับที่เรียกได้ว่าไม่รุนแรงหรือไม่มีปัญหาเลย อย่างไรก็ตาม
ตัวอย่างร้อยละ 31.0 ระบุว่าในหมู่บ้าน/ชุมชนของตนมีปัญหาในระดับไม่ค่อยรุนแรง ร้อยละ 9.4 ระบุว่ามีปัญหาค่อนข้างรุนแรง และร้อยละ
5.5 ระบุว่ามีปัญหาในระดับที่รุนแรง ตามลำดับ ทั้งนี้ตัวอย่างร้อยละ 9.2 ระบุว่าไม่ทราบถึงสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในปัจจุบัน
-ประชาชนเกินกว่า 2 ใน 3 รับรู้ว่ามีปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติดครั้งที่ 4 ในหมู่บ้าน/ชุมชนของตน
ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ระบุรับรู้/รับทราบว่ามีปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน ร้อยละ
79.6 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการสำรวจฯ ครั้งที่ 3 และครั้งที่ 2 (ร้อยละ 74.6 และ ร้อยละ 53.3 ตามลำดับ) ทั้งนี้ปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้าง
ยาเสพติดที่พบเห็นได้แก่ การส่งเสริมกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ของเยาวชน การปราบปรามจับกุมผู้ค้า/ผู้ผลิต และการจัดกิจกรรมรณรงค์การมีส่วนร่วม
ของประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามลำดับ
-ตัวอย่างประชาชนเกินครึ่งระบุปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติดครั้งที่ 4 ทำให้ภาพรวมการแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/
ชุมชนของตนเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น
ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งคือร้อยละ 51.5 ระบุภาพรวมการแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น นับตั้งแต่เริ่ม
ปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติดครั้งที่4 (1ตุลาคม-31 ธันวาคม 2548) เป็นต้นมา ในขณะที่ร้อยละ 25.6 ระบุดีเหมือนเดิม ร้อยละ
8.8 ระบุแย่เหมือนเดิม ร้อยละ 2.7 ระบุแย่ลง และร้อยละ 11.4 ระบุไม่ทราบ ทั้งนี้ปฏิบัติการที่ได้รับการประเมินว่า “ดีขึ้น” มากที่สุดใน 3
อันดับแรก ได้แก่ การปราบปรามจับกุมผู้ค้า/ผู้ผลิต การให้ข่าวสาร/ความรู้เรื่องยาเสพติดแก่ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน และการป้องกันไม่ให้กลุ่ม
เสี่ยง (ผู้ที่มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้อง) เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
และเมื่อเปรียบเทียบผลปฏิบัติการใน “สภาวการณ์ปกติ” กับ “ปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด” ของรัฐบาลในการแก้ไข
ปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน โดยภาพรวมของประชาชนและเจ้าหน้าที่ พบว่าตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 52.3 ระบุว่าการปฏิบัติการ
พลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติดครั้งที่ 4 มีผลทำให้การแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน ได้ผลเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ในขณะที่ร้อยละ 25.8
ระบุได้เท่าเดิม ร้อยละ 8.7 ระบุลดลง และร้อยละ 13.2 ระบุไม่แน่ใจ
-ความเชื่อมั่นต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาล
ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของตัวอย่างที่มีต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาลในด้านต่างๆ นั้นพบว่าการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลที่
ตัวอย่างระบุเชื่อมั่น-ค่อนข้างเชื่อมั่น 3 อันดับแรก ได้แก่ ความเอาจริงเอาจังในการแก้ไขปัญหา (ร้อยละ 72.0 ระบุเชื่อมั่น-ค่อนข้างเชื่อมั่น)
การปราบปรามยาเสพติด (ร้อยละ 64.9 ระบุเชื่อมั่น-ค่อนข้างเชื่อมั่น) และการให้ความสำคัญกับปัญหาอย่างต่อเนื่องในระยะยาว (ร้อยละ 63.9
ระบุเชื่อมั่น-ค่อนข้างเชื่อมั่น)
-ความพึงพอใจต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาล
ตัวอย่างร้อยละ 89.7 ระบุมีความพึงพอใจต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาลในระดับปานกลาง-มากที่สุด ร้อยละ 10.3 ระบุน้อย-
ไม่พอใจเลย
-การมีส่วนร่วม ปัญหาอุปสรรค และแนวทางที่ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการเพื่อ แก้ไขปัญหายาเสพติด
การมีส่วนร่วมของประชาชน
ผลการสำรวจพบว่ากิจกรรมที่ตัวอย่างระบุเคยมีส่วนร่วม 3 อันดับแรกมีดังนี้
อันดับที่ 1 การดูแลตนเอง/บุตรหลาน/เพื่อนฝูง ไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดโดยเด็ดขาด (ร้อยละ 86.4)
อันดับที่ 2 การช่วยสอดส่องดูแลกลุ่มเสี่ยงในหมู่บ้าน/ชุมชน (ร้อยละ 53.0)
อันดับที่ 3 การเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ป้องกันยาเสพติด (ร้อยละ 51.2)
ความพร้อมในการร่วมมือกับภาครัฐ
ผลการสำรวจพบว่าสิ่งที่ตัวอย่างพร้อมให้ความร่วมมือกับภาครัฐ 3 อันดับแรกมีดังนี้
อันดับที่ 1 การดูแลตนเอง/บุตรหลาน/เพื่อนฝูง ไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดโดยเด็ดขาด (ร้อยละ 90.7)
อันดับที่ 2 การช่วยสอดส่องดูแลกลุ่มเสี่ยงในหมู่บ้าน/ชุมชน (ร้อยละ 51.3)
อันดับที่ 3 การเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ป้องกันยาเสพติด (ร้อยละ 46.2)
-ปัญหาอุปสรรคในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน
ปัญหาเก่าที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข
อันดับที่ 1 ปัญหาความยากจน/ตกงาน/ไม่มีงานทำแล้วหันมาค้ายาเสพติด (ร้อยละ 16.1)
อันดับที่ 2 การไม่มีการติดตามผู้เข้ารับการบำบัดอย่างต่อเนื่องทำให้หันมาติดซ้ำ (ร้อยละ 15.2)
อันดับที่ 3 ประชาชนไม่ทราบช่องทางที่จะเข้ามาร่วมมือกับภาครัฐ (ร้อยละ 13.4)
ปัญหาใหม่
อันดับที่ 1 ปัญหาความยากจน/ตกงาน/ไม่มีงานทำแล้วหันมาค้ายาเสพติด (ร้อยละ 26.1)
อันดับที่ 2 การไม่มีการติดตามผู้เข้ารับการบำบัดอย่างต่อเนื่องทำให้หันมาติดซ้ำ (ร้อยละ 22.6)
อันดับที่ 3 ประชาชนไม่ทราบช่องทางที่จะเข้ามาร่วมมือกับภาครัฐ (ร้อยละ 20.7)
-สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืนในหมู่บ้าน/ชุมชน
อันดับที่ 1 ปราบปรามจับกุมผู้ค้า/ผู้ผลิต (ร้อยละ 68.8)
อันดับที่ 2 ยึดทรัพย์ผู้ค้า/ผู้ผลิต (ร้อยละ 61.1)
อันดับที่ 3 ลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด (ร้อยละ 55.8)
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50 www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-