ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง
อารมณ์ ความรู้สึกของสาธารณชนต่อสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้น
ไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งสิ้น 1,637 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 17-20 สิงหาคม ที่ผ่านมา
ผลสำรวจของเอแบคโพลล์ค้นพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 71.1 ติดตามข่าวการเมืองตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป
ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ร้อยละ 20.4 ติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 8.5 ไม่ได้ติดตามเลย ทั้งนี้ เมื่อสอบถาม
ความรู้สึกของตัวอย่างต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้นั้น พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.7 ระบุว่าการเมืองเป็น
เรื่องสำคัญของประเทศ ร้อยละ 92.0 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันด้วยสันติวิธี ร้อยละ 75.5 ระบุรู้สึกเบื่อหน่ายต่อ
เรื่องการเมือง ร้อยละ 71.8 ระบุวิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง และร้อยละ 37.1 ระบุรู้สึกเครียดต่อเรื่องการเมือง
ที่น่าเป็นห่วงคือ อารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนขณะนี้กำลังกลับเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง ในหลายมิติเมื่อเปรียบเทียบ
กับผลสำรวจเดือนเมษายน เดือนที่มีบรรยากาศของความขัดแย้งทางการเมืองรุนแรง เช่น ความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์
การเมืองเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 46.1 มาเป็นร้อยละ 71.8 ความเครียดต่อเรื่องการเมืองเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 29.3 มาเป็นร้อยละ
37.1 และความเบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 69.1 เป็นร้อยละ 75.5 นอกจากนี้ยังพบว่า ความขัดแย้ง
ของประชาชนกับคนรอบข้างกำลังเข้าสู่สภาวะเช่นเดียวกับเดือนเมษายนที่มีบรรยากาศทางการเมืองที่ไม่ดีต่อสังคมไทย เช่น
ประมาณร้อยละ 5 - 10 ที่มีความขัดแย้งกันกับคนในครอบครัว ร้อยละ 10 - 15 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้าน และร้อยละ 10 -15
เช่นกันขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง
ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อสอบถามถึงเรื่องที่ตัวอย่างให้ความสนใจกับสถานการณ์การเมืองขณะนี้ พบว่า 5 อันดับแรก คือ
การเลือกคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. (ร้อยละ 60.7) การเลือกตั้ง ส.ส. (ร้อยละ 52.4) ท่าทีของ พ.ต.ท.ดร.
ทักษิณ ชินวัตร ในการลงสมัครรับเลือกตั้ง (ร้อยละ 52.4) การเลือกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
แห่งชาติ หรือ ปปช. (ร้อยละ 41.6) และการยุบพรรคการเมืองใหญ่ (ร้อยละ 31.0) ตามลำดับ
ผลการสำรวจยังค้นพบต่อไปว่า ถ้า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ยังคงอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น ตัวอย่างได้
ระบุ "ผลดี" ไว้ดังนี้ เป็นที่น่าเชื่อถือสำหรับนักลงทุนทั้งชาวไทย และต่างชาติ (ร้อยละ 33.7) มีนโยบายในการพัฒนา
ประเทศอย่างต่อเนื่อง หรือสานต่อนโยบายต่างๆ ที่ค้างไว้ (ร้อยละ 26.5) สามารถปราบปรามยาเสพติดได้ (ร้อยละ 25.5)
ทำให้คนจนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น / ความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น (ร้อยละ 21.5) และมีระบบการบริหารบ้านเมืองที่ดี/ทำ
ให้บ้านเมืองเจริญ และประเทศพัฒนาขึ้น (ร้อยละ 14.6) ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบ "ผลเสีย" ถ้า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ยังคงอยู่ในตำแหน่ง คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.8
คิดว่าจะทำให้สังคมไทยมีความขัดแย้งมากขึ้น/ เกิดความแตกแยกท่ามกลางประชาชน ร้อยละ 17.2 คิดว่าทำให้เศรษฐกิจ
แย่ลง/การลงทุนจากชาวไทยและชาวต่างชาติหยุดชะงัก ร้อยละ 14.7 คิดว่าจะมีการทุจริตคอรัปชั่นเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.7 คิด
ว่าทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น / ราคาสินค้าแพงขึ้น และร้อยละ 4.8 คิดว่าทำให้ประเทศชาติแย่ลง / ระบบการปกครองจะมี
ความเสียหายเกิดขึ้น เป็นต้น
ประเด็นที่น่าพิจารณาก็คือ ความคิดเห็นต่อการจัดการเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคมนี้ ซึ่งพบว่า คนที่เห็นด้วยกับการ
จัดการเลือกตั้งวันที่ 15 ตุลาคมมีจำนวนลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจช่วงปลายเดือนกรกฎาคมหรือประมาณสาม
สัปดาห์ที่ผ่านมา จากร้อยละ 74.1 ที่บอกว่าเห็นด้วยกับการจัดการเลือกตั้งวันที่ 15 ตุลาคม ลดลงเหลือร้อยละ 60.8
ในขณะที่ กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยมีอยู่ร้อยละ 12.4 และร้อยละ 26.8 ไม่มีความเห็น แสดงให้เห็นว่าคนที่ไม่เห็นด้วยกำลังเปลี่ยน
ใจไปอยู่กลางๆ เพื่อรอดูข้อมูลข่าวสารก่อนมีท่าทีอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับวันเลือกตั้ง
เมื่อสอบถามถึง ผลดี และ ผลเสีย ของการกำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันที่ 15 ตุลาคมนี้ กลุ่มตัวอย่างได้ระบุ "ผลดี"
คือ จะได้มีรัฐบาลมาสานต่อนโยบายต่างๆ/ทำให้ประเทศสามารถเดินหน้าได้อย่างรวดเร็ว/การเมืองมั่นคง (ร้อยละ 46.4)
ทำให้บ้านเมืองไม่วุ่นวาย/เหตุการณ์จะได้สงบเรียบร้อย / ปรองดองกัน (ร้อยละ 22.6) ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น ไม่แย่ลงไปกว่า
นี้ (ร้อยละ 19.0) การทำงานจะได้เป็นระบบมากขึ้น (ร้อยละ 7.6) และประชาชนจะได้ไม่เบื่อหน่ายการเลือกตั้ง
(ร้อยละ 5.4) ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม สำหรับ "ผลเสีย" ถ้าจัดการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 15 ตุลาคมนี้ พบว่า ร้อยละ 51.9 คิดว่าเป็นเรื่อง
ความไม่พร้อมของคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่ ร้อยละ 19.7 คิดว่าต้นเหตุของปัญหายังคงมีอยู่ ความขัดแย้ง
บาดหมาง วุ่นวายยังไม่หยุด ร้อยละ 10.2 คิดว่ายังไม่มีแผนจัดการเลือกตั้งที่ดี ร้อยละ 7.1 คิดว่าจะเสียเวลาเลือกตั้งใหม่กัน
อีก ร้อยละ 4.9 คิดว่ายังไม่มีความโปร่งใสยุติธรรมเพียงพอ ร้อยละ 4.0 คิดว่าจะได้คนไม่ดีเข้าสภาอีก เป็นต้น
และเมื่อสอบถามถึงความมั่นใจต่อการทำหน้าที่ของวุฒิสมาชิกในการเลือกคนดีเข้ามาทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ปปช. ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 42.6 ระบุว่ามั่นใจ ในขณะที่
ร้อยละ 22.5 ระบุว่าไม่มั่นใจ เพราะ ไม่มีความโปร่งใส / ยังมีระบบแบ่งพรรคแบ่งพวกอยู่ / หาคนที่เป็นกลางและน่าเชื่อถือ
ได้ยาก และร้อยละ 34.9 ไม่มีความคิดเห็น ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อสอบถามถึงความมั่นใจต่อการทำหน้าที่ของวุฒิสมาชิกในการ
เลือกคนดี ที่เป็นกลาง และเที่ยงธรรมมาทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 43.2
ระบุว่ามั่นใจต่อการทำหน้าที่ดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 20.9 ระบุว่าไม่มั่นใจ เพราะ ยังมีระบบแบ่งพรรคแบ่งพวกอยู่ / ไม่มี
ความโปร่งใส / หาคนที่เป็นกลาง และน่าเชื่อถือได้ยาก และร้อยละ 35.9 ไม่มีความคิดเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า สถานการณ์การเมืองขณะนี้กำลังทำให้สังคมไทยกลับเข้าสู่บรรยากาศ
เดิมๆ เหมือนในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน นั่นคือ ความกังวลใจของประชาชนต่อวิกฤตการเมือง ความเบื่อหน่าย
ความเครียด และความขัดแย้งเรื่องการเมืองในหมู่ประชาชน แต่ประชาชนส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 90 ยังคงให้ความสำคัญ
และเรียกร้องให้ทุกฝ่ายช่วยกันหาทางออกของวิกฤตการเมืองด้วยสันติวิธี
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ดูเหมือนว่า การอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ กำลังเป็นเป้าหมาย
สำคัญของกลุ่มคนที่ต่อต้านรัฐบาลที่มีอยู่ประมาณร้อยละ 30 ของคนในพื้นที่ที่ศึกษา (อ้างอิงผลสำรวจก่อนหน้านี้) ซึ่งถือว่า
เป็นจำนวนมากพอสมควร คนกลุ่มนี้ไม่เอาทักษิณและกำลังเผชิญหน้าด้วยแนวคิด การวางแผนและปฏิบัติการกับคนที่
สนับสนุนทักษิณ ความขัดแย้งและการเผชิญหน้ากำลังมีพัฒนาการไปสู่การใช้กำลังปะทะด้วยร่างกาย และอาจถึงขั้นการใช้
อาวุธเข้าทำร้ายกัน สถานการณ์ความแตกแยกของคนไทยจึงกำลังจะตกอยู่ในสภาพที่น่าเป็นห่วงและอาจถึงขั้นเกิดเหตุการณ์
ที่ไม่มีใครคาดถึงได้ ดังนั้นทางออกของวิกฤตการเมืองของสังคมไทยขณะนี้ที่น่าจะเป็นไปได้คือ
ประการแรก แก้ปมการเมืองอย่างน้อยสามจุดได้แก่ ปมแรกเป็นปมการเมืองที่ระบบตามกลไกของระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ซึ่ง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เคยประกาศว่าจะยอมรับทุกอย่างที่เป็นไป
ตามกติกาของระบบการปกครองประชาธิปไตย ปมที่สองเป็นปมที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ และบุคคลใกล้ชิด และปมที่สามเป็น
การเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มต่างๆ นอกสภา
การแก้ไขวิกฤตการเมืองโดยฝ่ายตุลาการ ผ่านกระบวนการของศาลอาญาและศาลฎีกาได้คลี่คลายวิกฤตการเมืองไป
ได้บางส่วน แต่ก็ยังมาติดอยู่ที่วุฒิสภาที่เป็นตัวแทนแบบเข้มข้นของกลุ่มสนับสนุนและไม่สนับสนุนรัฐบาล ดังนั้นความหวัง
จากแนวทางนี้จึงค่อนข้างเลือนลาง ทางออกโดยผ่านกระบวนการของศาลจึงน่าจะอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญ ในทางเลือกสุดท้าย
เกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง โดยวันประกาศผลวินิจฉัยอาจเป็นวันที่สังคมไทยวุ่นวายที่สุด ฝ่ายความมั่นคงต้องเตรียม
รับมือให้ดี แต่ถ้าผลวินิจฉัยเป็นแบบประนีประนอม ทางออกของวิกฤตการเมืองจึงน่าจะมุ่งไปที่การตัดสินใจของ พ.ต.ท.ดร.
ทักษิณ ว่าจะเป็นวีรบุรุษของประวัติศาสตร์ชาติไทยด้านการเมืองหรือไม่
นั่นคือ ถ้า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ประกาศเดินหน้าหาเสียง ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรีหลังชนะการเลือกตั้งอีก พรรคไทย
รักไทยน่าจะได้ตามเป้าหมายนั้น แต่อาจไม่ได้รับการสนับสนุนจากมวลชนมากพอในการผลักดันนโยบายสาธารณะ
และความขัดแย้งแตกแยกของคนไทยในสังคมอาจมีอยู่ต่อไป เป็นหอกข้างแคร่ของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย แต่ถ้า พ.ต.ท.
ดร.ทักษิณ ประกาศเดินหน้าหาเสียงว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปเพียงเพื่อขวัญกำลังใจ ความสงบในพรรคไทยรักไทยและ
ฐานเสียงเดิมจากประชาชนสักระยะหนึ่ง แล้วสรรหาคนมาดำรงตำแหน่งแทน ก็น่าจะพอมีความหวังต่อความสงบเรียบร้อย
ของสังคมไทย ขึ้นอยู่กับว่าใครจะมาเป็นนายกรัฐมนตรีต่อ โดยจะมาเป็นเพียงสัญลักษณ์ของพรรคหรือมาแบบ ดร.สมคิด
ซึ่งเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปในกลุ่มคอการเมืองว่า ดร.สมคิดไม่ต้องการให้การเมืองในพรรคมายุ่งหรือก้าวก่ายการทำงานของตน
ถ้าได้คนแบบประเภทหลังนี้ก็น่าจะทำให้เกิดการยอมรับในสายตาของสาธารณชน แต่ถ้าใช้วิธีเหล่านี้อาจมีภาพของคนไทย
ทำร้ายกันและกันอีกซ้ำแล้วซ้ำเล่า กว่าจะถึงวันเลือกตั้ง และภาพลักษณ์ของคนไทยจะถูกนำเสนอต่อสายตาชาวโลก ว่า
ดินแดนสยามแห่งนี้ ที่ครั้งหนึ่งมีแต่รอยยิ้มเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ อาจกลายเป็นเสียงกัดฟันกรามและสายตาที่เกรี้ยว
กราดคำราม มุ่งหมายทำร้ายชีวิตแก่กันและกัน อันเนื่องมาจากกลุ่มการเมืองที่ดื้อด้านและการเคลื่อนไหวทางการเมือง
นอกสภาที่เข้มข้นของปมการเมืองที่สาม คือการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรและกลุ่มอื่นๆ เพราะไม่มีระบบสังคมและ
ธรรมาภิบาลรองรับเป็นเหตุปัจจัย
ประการที่สอง สิ่งที่สังคมไทยอาจหลงลืมไปในบรรยากาศการเมืองขณะนี้คือ ความงดงามของคนไทยที่รู้จักการให้
อภัย ถ้าปมต่างๆ ทางการเมืองที่กล่าวมาข้างต้นพร้อมช่วยกันนำพาประเทศให้พ้นวิกฤตไปได้อย่างสันติวิธีแล้ว คนไทยทั้ง
ประเทศควรให้อภัยแก่กันและกัน เป็นหนึ่งเดียวกันเหมือนช่วงต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก มี
ความรู้สึกและความหวังร่วมกันทั้งในกลุ่มคนไทยและชาวต่างชาติว่า ประเทศไทยอยู่ได้ และประเทศไทยต้องฝ่าวิกฤต
ทั้งหมดที่กำลังเกิดขึ้นนี้ไปได้
รายละเอียดโครงการสำรวจ
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง "อารมณ์ ความรู้สึกของ
สาธารณชนต่อสถานการณ์การเมืองไทยในขณะนี้: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และ
ปริมณฑล"
ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 17-20 สิงหาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่าง
ให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,637 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 48.9 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 51.1 ระบุ
เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 5.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 26.9 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 24.1 อายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 21.6 อายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 21.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 80.4 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 18.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญา
ตรี และร้อยละ 1.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 46.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 25.0 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 9.0 ระบุอาชีพ
พนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 6.6 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 6.1 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 4.4
ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 1.5 ระบุว่างงาน และร้อยละ 0.6 ระบุอาชีพเกษตรกร
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ พฤติกรรมในการติดตามข่าวการเมือง ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน เกือบทุกวัน 49.6
2 3 - 4 วันต่อสัปดาห์ 21.5
3 1 - 2 วันต่อสัปดาห์ 20.4
4 ไม่ได้ติดตามเลย 8.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
ความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ เม.ย. สิงหาคม ส่วนต่าง
ลำดับที่ ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ
1 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 96.9 95.7 - 1.2
2 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 46.1 71.8 +25.7
3 เครียดต่อเรื่องการเมือง 29.3 37.1 + 7.8
4 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวในเรื่องการเมือง 8.4 8.2 - 0.2
5 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง 16.2 13.6 - 2.6
6 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง 17.2 13.7 - 3.5
7 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 69.1 75.5 + 6.4
8 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันด้วยสันติวิธี 91.4 92.0 + 0.6
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเรื่องที่ให้ความสนใจในสถานการณ์การเมืองขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เรื่องที่ให้ความสนใจ ค่าร้อยละ
1 การเลือกคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 60.7
2 การเลือกตั้ง ส.ส. 52.4
3 ท่าทีของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ในการลงสมัครรับเลือกตั้ง 52.4
4 การเลือกคณะกรรมการป้องกันและปราบรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) 41.6
5 การยุบพรรคการเมืองใหญ่ 31.0
6 การทำหน้าที่ของวุฒิสมาชิก 26.6
7 สปอตโฆษณาหาเสียงของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 24.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ "ผลดี" ถ้า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ยังคงอยู่ในตำแหน่ง
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ "ผลดี" ถ้า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ยังคงอยู่ในตำแหน่ง ค่าร้อยละ
1 เป็นที่น่าเชื่อถือสำหรับนักลงทุนทั้งชาวไทย และต่างชาติ ทำให้สามารถแก้ปัญหา 33.7
เศรษฐกิจได้
2 มีนโยบายในการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง หรือสานต่อนโยบายต่างๆ ที่ค้างไว้ 26.5
เช่น โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค / จัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น
3 สามารถปราบปรามยาเสพติดได้ 25.5
4 ทำให้คนจนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น / ความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น 21.5
5 มีระบบการบริหารบ้านเมืองที่ดี/ทำให้บ้านเมืองเจริญ และประเทศพัฒนาขึ้น 14.6
6 เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ตั้งใจทำงาน ทำให้เห็นผลงานต่างๆ ได้อย่างชัดเจน 11.2
7 อื่นๆ อาทิ สามารถพัฒนาระบบการศึกษาให้ดีขึ้นกว่านี้ / สามารถปราบปรามผู้มี
อิทธิพลให้หมดไปได้ / สามารถปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นให้หมดไปได้ 9.3
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ "ผลเสีย" ถ้า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ยังคงอยู่ในตำแหน่ง
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ "ผลเสีย" ถ้า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ยังคงอยู่ในตำแหน่ง ค่าร้อยละ
1 ทำให้สังคมไทยขัดแย้งแตกแยกมากขึ้น /เกิดความแตกแยกท่ามกลางประชาชน 57.8
2 ทำให้เศรษฐกิจแย่ลง/การลงทุนจากชาวไทยและชาวต่างชาติหยุดชะงัก /
ประเทศชาติเป็นหนี้เพิ่มขึ้น 17.2
3 จะมีการทุจริตคอรัปชั่นเพิ่มชึ้น 14.7
4 ทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น / ราคาสินค้าแพงขึ้น อาทิ ราคาน้ำมัน ค่ารถ เป็นต้น 13.7
5 ทำให้ประเทศชาติแย่ลง / ระบบการปกครองจะมีความเสียหายเกิดขึ้น 4.8
6 ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงไม่จบสิ้น 3.6
7 อื่นๆ อาทิ เป็นการผูกขาดอำนาจมากเกินไป / ยาเสพติดจะกลับมา / ผู้มี 5.9
อิทธิพลมากขึ้น เป็นต้น
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อวันเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคมนี้
25-26 กรกฎาคม 17-20 สิงหาคม
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วยที่จะมีวันเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม 74.1 60.8
2 ไม่เห็นด้วย 10.7 12.4
3 ไม่มีความเห็น 15.2 26.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ "ผลดี" ถ้าวันเลือกตั้งเป็นวันที่ 15 ตุลาคม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ "ผลดี" ถ้าวันเลือกตั้งเป็นวันที่ 15 ตุลาคม ค่าร้อยละ
1 จะได้มีรัฐบาลมาสานต่อนโยบายต่างๆ/ทำให้ประเทศสามารถเดินหน้าได้อย่าง
รวดเร็ว/การเมืองมั่นคง 46.4
2 ทำให้บ้านเมืองไม่วุ่นวาย / เหตุการณ์จะได้สงบเรียบร้อย / ปรองดองกัน 22.6
3 ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น ไม่แย่ลงไปกว่านี้ / สามารถเรียกความเชื่อมั่นจากนัก
ลงทุนชาวต่างชาติได้ 19.0
4 การทำงานจะได้เป็นระบบมากขึ้น 7.6
5 ประชาชนจะได้ไม่เบื่อหน่ายการเลือกตั้ง 5.4
6 อื่นๆ อาทิ จะได้ไม่เสียงบประมาณของรัฐบาล / จะได้เลือกคนดีเข้าสภา /
จะได้ไม่มีปัญหาการเรียกร้อง ระงับข้อพิพาทต่างๆ เป็นต้น 4.7
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ "ผลเสีย"ถ้าวันเลือกตั้งเป็นวันที่ 15 ตุลาคม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ "ผลเสีย" ถ้าวันเลือกตั้งเป็นวันที่ 15 ตุลาคม ค่าร้อยละ
1 จะเกิดความไม่พร้อมของคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่
2 ต้นตอของปัญหายังอยู่จะทำให้มีความขัดแย้ง / ความบาดหมาง / 51.9
มีความวุ่นวายไม่หยุด 19.7
3 ยังไม่มีกำหนดแผนการเลือกตั้งที่ดี และมีความพร้อม 10.2
4 เสียเวลาเลือกตั้งใหม่ 7.1
5 ยังมีความไม่โปร่งใส / ไม่ยุติธรรม 4.9
6 จะได้คนที่ไม่ดีเข้าสภา 4.0
7 สถานการณ์ต่างๆ ยังคลุมเครือ ไม่ชัดเจน 2.7
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อการทำหน้าที่ของวุฒิสมาชิกในการเลือกคนดีจริงๆ
เข้ามาทำหน้าที่เป็น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.)
ลำดับที่ ความมั่นใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 42.6
2 ไม่มั่นใจ เพราะ ไม่มีความโปร่งใส / ระบบแบ่งพรรคแบ่งพวกยังคงอยู่ /
หาคนที่เป็นกลาง และน่าเชื่อถือได้ยาก เป็นต้น 22.5
3 ไม่มีความเห็น 34.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อการทำหน้าที่ของวุฒิสมาชิกในการเลือกคนดีจริงๆ
ที่เป็นกลาง และเที่ยงธรรมในการเป็น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
ลำดับที่ ความมั่นใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 43.2
2 ไม่มั่นใจ เพราะ ระบบแบ่งพรรคแบ่งพวกยังคงอยู่ / ไม่มีความโปร่งใส / หา
คนที่เป็นกลาง และน่าเชื่อถือได้ยาก เป็นต้น 20.9
3 ไม่มีความเห็น 35.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
อารมณ์ ความรู้สึกของสาธารณชนต่อสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้น
ไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งสิ้น 1,637 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 17-20 สิงหาคม ที่ผ่านมา
ผลสำรวจของเอแบคโพลล์ค้นพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 71.1 ติดตามข่าวการเมืองตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป
ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ร้อยละ 20.4 ติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 8.5 ไม่ได้ติดตามเลย ทั้งนี้ เมื่อสอบถาม
ความรู้สึกของตัวอย่างต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้นั้น พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.7 ระบุว่าการเมืองเป็น
เรื่องสำคัญของประเทศ ร้อยละ 92.0 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันด้วยสันติวิธี ร้อยละ 75.5 ระบุรู้สึกเบื่อหน่ายต่อ
เรื่องการเมือง ร้อยละ 71.8 ระบุวิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง และร้อยละ 37.1 ระบุรู้สึกเครียดต่อเรื่องการเมือง
ที่น่าเป็นห่วงคือ อารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนขณะนี้กำลังกลับเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง ในหลายมิติเมื่อเปรียบเทียบ
กับผลสำรวจเดือนเมษายน เดือนที่มีบรรยากาศของความขัดแย้งทางการเมืองรุนแรง เช่น ความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์
การเมืองเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 46.1 มาเป็นร้อยละ 71.8 ความเครียดต่อเรื่องการเมืองเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 29.3 มาเป็นร้อยละ
37.1 และความเบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 69.1 เป็นร้อยละ 75.5 นอกจากนี้ยังพบว่า ความขัดแย้ง
ของประชาชนกับคนรอบข้างกำลังเข้าสู่สภาวะเช่นเดียวกับเดือนเมษายนที่มีบรรยากาศทางการเมืองที่ไม่ดีต่อสังคมไทย เช่น
ประมาณร้อยละ 5 - 10 ที่มีความขัดแย้งกันกับคนในครอบครัว ร้อยละ 10 - 15 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้าน และร้อยละ 10 -15
เช่นกันขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง
ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อสอบถามถึงเรื่องที่ตัวอย่างให้ความสนใจกับสถานการณ์การเมืองขณะนี้ พบว่า 5 อันดับแรก คือ
การเลือกคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. (ร้อยละ 60.7) การเลือกตั้ง ส.ส. (ร้อยละ 52.4) ท่าทีของ พ.ต.ท.ดร.
ทักษิณ ชินวัตร ในการลงสมัครรับเลือกตั้ง (ร้อยละ 52.4) การเลือกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
แห่งชาติ หรือ ปปช. (ร้อยละ 41.6) และการยุบพรรคการเมืองใหญ่ (ร้อยละ 31.0) ตามลำดับ
ผลการสำรวจยังค้นพบต่อไปว่า ถ้า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ยังคงอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น ตัวอย่างได้
ระบุ "ผลดี" ไว้ดังนี้ เป็นที่น่าเชื่อถือสำหรับนักลงทุนทั้งชาวไทย และต่างชาติ (ร้อยละ 33.7) มีนโยบายในการพัฒนา
ประเทศอย่างต่อเนื่อง หรือสานต่อนโยบายต่างๆ ที่ค้างไว้ (ร้อยละ 26.5) สามารถปราบปรามยาเสพติดได้ (ร้อยละ 25.5)
ทำให้คนจนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น / ความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น (ร้อยละ 21.5) และมีระบบการบริหารบ้านเมืองที่ดี/ทำ
ให้บ้านเมืองเจริญ และประเทศพัฒนาขึ้น (ร้อยละ 14.6) ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบ "ผลเสีย" ถ้า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ยังคงอยู่ในตำแหน่ง คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.8
คิดว่าจะทำให้สังคมไทยมีความขัดแย้งมากขึ้น/ เกิดความแตกแยกท่ามกลางประชาชน ร้อยละ 17.2 คิดว่าทำให้เศรษฐกิจ
แย่ลง/การลงทุนจากชาวไทยและชาวต่างชาติหยุดชะงัก ร้อยละ 14.7 คิดว่าจะมีการทุจริตคอรัปชั่นเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.7 คิด
ว่าทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น / ราคาสินค้าแพงขึ้น และร้อยละ 4.8 คิดว่าทำให้ประเทศชาติแย่ลง / ระบบการปกครองจะมี
ความเสียหายเกิดขึ้น เป็นต้น
ประเด็นที่น่าพิจารณาก็คือ ความคิดเห็นต่อการจัดการเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคมนี้ ซึ่งพบว่า คนที่เห็นด้วยกับการ
จัดการเลือกตั้งวันที่ 15 ตุลาคมมีจำนวนลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจช่วงปลายเดือนกรกฎาคมหรือประมาณสาม
สัปดาห์ที่ผ่านมา จากร้อยละ 74.1 ที่บอกว่าเห็นด้วยกับการจัดการเลือกตั้งวันที่ 15 ตุลาคม ลดลงเหลือร้อยละ 60.8
ในขณะที่ กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยมีอยู่ร้อยละ 12.4 และร้อยละ 26.8 ไม่มีความเห็น แสดงให้เห็นว่าคนที่ไม่เห็นด้วยกำลังเปลี่ยน
ใจไปอยู่กลางๆ เพื่อรอดูข้อมูลข่าวสารก่อนมีท่าทีอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับวันเลือกตั้ง
เมื่อสอบถามถึง ผลดี และ ผลเสีย ของการกำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันที่ 15 ตุลาคมนี้ กลุ่มตัวอย่างได้ระบุ "ผลดี"
คือ จะได้มีรัฐบาลมาสานต่อนโยบายต่างๆ/ทำให้ประเทศสามารถเดินหน้าได้อย่างรวดเร็ว/การเมืองมั่นคง (ร้อยละ 46.4)
ทำให้บ้านเมืองไม่วุ่นวาย/เหตุการณ์จะได้สงบเรียบร้อย / ปรองดองกัน (ร้อยละ 22.6) ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น ไม่แย่ลงไปกว่า
นี้ (ร้อยละ 19.0) การทำงานจะได้เป็นระบบมากขึ้น (ร้อยละ 7.6) และประชาชนจะได้ไม่เบื่อหน่ายการเลือกตั้ง
(ร้อยละ 5.4) ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม สำหรับ "ผลเสีย" ถ้าจัดการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 15 ตุลาคมนี้ พบว่า ร้อยละ 51.9 คิดว่าเป็นเรื่อง
ความไม่พร้อมของคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่ ร้อยละ 19.7 คิดว่าต้นเหตุของปัญหายังคงมีอยู่ ความขัดแย้ง
บาดหมาง วุ่นวายยังไม่หยุด ร้อยละ 10.2 คิดว่ายังไม่มีแผนจัดการเลือกตั้งที่ดี ร้อยละ 7.1 คิดว่าจะเสียเวลาเลือกตั้งใหม่กัน
อีก ร้อยละ 4.9 คิดว่ายังไม่มีความโปร่งใสยุติธรรมเพียงพอ ร้อยละ 4.0 คิดว่าจะได้คนไม่ดีเข้าสภาอีก เป็นต้น
และเมื่อสอบถามถึงความมั่นใจต่อการทำหน้าที่ของวุฒิสมาชิกในการเลือกคนดีเข้ามาทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ปปช. ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 42.6 ระบุว่ามั่นใจ ในขณะที่
ร้อยละ 22.5 ระบุว่าไม่มั่นใจ เพราะ ไม่มีความโปร่งใส / ยังมีระบบแบ่งพรรคแบ่งพวกอยู่ / หาคนที่เป็นกลางและน่าเชื่อถือ
ได้ยาก และร้อยละ 34.9 ไม่มีความคิดเห็น ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อสอบถามถึงความมั่นใจต่อการทำหน้าที่ของวุฒิสมาชิกในการ
เลือกคนดี ที่เป็นกลาง และเที่ยงธรรมมาทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 43.2
ระบุว่ามั่นใจต่อการทำหน้าที่ดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 20.9 ระบุว่าไม่มั่นใจ เพราะ ยังมีระบบแบ่งพรรคแบ่งพวกอยู่ / ไม่มี
ความโปร่งใส / หาคนที่เป็นกลาง และน่าเชื่อถือได้ยาก และร้อยละ 35.9 ไม่มีความคิดเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า สถานการณ์การเมืองขณะนี้กำลังทำให้สังคมไทยกลับเข้าสู่บรรยากาศ
เดิมๆ เหมือนในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน นั่นคือ ความกังวลใจของประชาชนต่อวิกฤตการเมือง ความเบื่อหน่าย
ความเครียด และความขัดแย้งเรื่องการเมืองในหมู่ประชาชน แต่ประชาชนส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 90 ยังคงให้ความสำคัญ
และเรียกร้องให้ทุกฝ่ายช่วยกันหาทางออกของวิกฤตการเมืองด้วยสันติวิธี
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ดูเหมือนว่า การอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ กำลังเป็นเป้าหมาย
สำคัญของกลุ่มคนที่ต่อต้านรัฐบาลที่มีอยู่ประมาณร้อยละ 30 ของคนในพื้นที่ที่ศึกษา (อ้างอิงผลสำรวจก่อนหน้านี้) ซึ่งถือว่า
เป็นจำนวนมากพอสมควร คนกลุ่มนี้ไม่เอาทักษิณและกำลังเผชิญหน้าด้วยแนวคิด การวางแผนและปฏิบัติการกับคนที่
สนับสนุนทักษิณ ความขัดแย้งและการเผชิญหน้ากำลังมีพัฒนาการไปสู่การใช้กำลังปะทะด้วยร่างกาย และอาจถึงขั้นการใช้
อาวุธเข้าทำร้ายกัน สถานการณ์ความแตกแยกของคนไทยจึงกำลังจะตกอยู่ในสภาพที่น่าเป็นห่วงและอาจถึงขั้นเกิดเหตุการณ์
ที่ไม่มีใครคาดถึงได้ ดังนั้นทางออกของวิกฤตการเมืองของสังคมไทยขณะนี้ที่น่าจะเป็นไปได้คือ
ประการแรก แก้ปมการเมืองอย่างน้อยสามจุดได้แก่ ปมแรกเป็นปมการเมืองที่ระบบตามกลไกของระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ซึ่ง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เคยประกาศว่าจะยอมรับทุกอย่างที่เป็นไป
ตามกติกาของระบบการปกครองประชาธิปไตย ปมที่สองเป็นปมที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ และบุคคลใกล้ชิด และปมที่สามเป็น
การเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มต่างๆ นอกสภา
การแก้ไขวิกฤตการเมืองโดยฝ่ายตุลาการ ผ่านกระบวนการของศาลอาญาและศาลฎีกาได้คลี่คลายวิกฤตการเมืองไป
ได้บางส่วน แต่ก็ยังมาติดอยู่ที่วุฒิสภาที่เป็นตัวแทนแบบเข้มข้นของกลุ่มสนับสนุนและไม่สนับสนุนรัฐบาล ดังนั้นความหวัง
จากแนวทางนี้จึงค่อนข้างเลือนลาง ทางออกโดยผ่านกระบวนการของศาลจึงน่าจะอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญ ในทางเลือกสุดท้าย
เกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง โดยวันประกาศผลวินิจฉัยอาจเป็นวันที่สังคมไทยวุ่นวายที่สุด ฝ่ายความมั่นคงต้องเตรียม
รับมือให้ดี แต่ถ้าผลวินิจฉัยเป็นแบบประนีประนอม ทางออกของวิกฤตการเมืองจึงน่าจะมุ่งไปที่การตัดสินใจของ พ.ต.ท.ดร.
ทักษิณ ว่าจะเป็นวีรบุรุษของประวัติศาสตร์ชาติไทยด้านการเมืองหรือไม่
นั่นคือ ถ้า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ประกาศเดินหน้าหาเสียง ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรีหลังชนะการเลือกตั้งอีก พรรคไทย
รักไทยน่าจะได้ตามเป้าหมายนั้น แต่อาจไม่ได้รับการสนับสนุนจากมวลชนมากพอในการผลักดันนโยบายสาธารณะ
และความขัดแย้งแตกแยกของคนไทยในสังคมอาจมีอยู่ต่อไป เป็นหอกข้างแคร่ของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย แต่ถ้า พ.ต.ท.
ดร.ทักษิณ ประกาศเดินหน้าหาเสียงว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปเพียงเพื่อขวัญกำลังใจ ความสงบในพรรคไทยรักไทยและ
ฐานเสียงเดิมจากประชาชนสักระยะหนึ่ง แล้วสรรหาคนมาดำรงตำแหน่งแทน ก็น่าจะพอมีความหวังต่อความสงบเรียบร้อย
ของสังคมไทย ขึ้นอยู่กับว่าใครจะมาเป็นนายกรัฐมนตรีต่อ โดยจะมาเป็นเพียงสัญลักษณ์ของพรรคหรือมาแบบ ดร.สมคิด
ซึ่งเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปในกลุ่มคอการเมืองว่า ดร.สมคิดไม่ต้องการให้การเมืองในพรรคมายุ่งหรือก้าวก่ายการทำงานของตน
ถ้าได้คนแบบประเภทหลังนี้ก็น่าจะทำให้เกิดการยอมรับในสายตาของสาธารณชน แต่ถ้าใช้วิธีเหล่านี้อาจมีภาพของคนไทย
ทำร้ายกันและกันอีกซ้ำแล้วซ้ำเล่า กว่าจะถึงวันเลือกตั้ง และภาพลักษณ์ของคนไทยจะถูกนำเสนอต่อสายตาชาวโลก ว่า
ดินแดนสยามแห่งนี้ ที่ครั้งหนึ่งมีแต่รอยยิ้มเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ อาจกลายเป็นเสียงกัดฟันกรามและสายตาที่เกรี้ยว
กราดคำราม มุ่งหมายทำร้ายชีวิตแก่กันและกัน อันเนื่องมาจากกลุ่มการเมืองที่ดื้อด้านและการเคลื่อนไหวทางการเมือง
นอกสภาที่เข้มข้นของปมการเมืองที่สาม คือการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรและกลุ่มอื่นๆ เพราะไม่มีระบบสังคมและ
ธรรมาภิบาลรองรับเป็นเหตุปัจจัย
ประการที่สอง สิ่งที่สังคมไทยอาจหลงลืมไปในบรรยากาศการเมืองขณะนี้คือ ความงดงามของคนไทยที่รู้จักการให้
อภัย ถ้าปมต่างๆ ทางการเมืองที่กล่าวมาข้างต้นพร้อมช่วยกันนำพาประเทศให้พ้นวิกฤตไปได้อย่างสันติวิธีแล้ว คนไทยทั้ง
ประเทศควรให้อภัยแก่กันและกัน เป็นหนึ่งเดียวกันเหมือนช่วงต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก มี
ความรู้สึกและความหวังร่วมกันทั้งในกลุ่มคนไทยและชาวต่างชาติว่า ประเทศไทยอยู่ได้ และประเทศไทยต้องฝ่าวิกฤต
ทั้งหมดที่กำลังเกิดขึ้นนี้ไปได้
รายละเอียดโครงการสำรวจ
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง "อารมณ์ ความรู้สึกของ
สาธารณชนต่อสถานการณ์การเมืองไทยในขณะนี้: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และ
ปริมณฑล"
ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 17-20 สิงหาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่าง
ให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,637 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 48.9 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 51.1 ระบุ
เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 5.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 26.9 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 24.1 อายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 21.6 อายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 21.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 80.4 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 18.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญา
ตรี และร้อยละ 1.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 46.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 25.0 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 9.0 ระบุอาชีพ
พนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 6.6 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 6.1 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 4.4
ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 1.5 ระบุว่างงาน และร้อยละ 0.6 ระบุอาชีพเกษตรกร
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ พฤติกรรมในการติดตามข่าวการเมือง ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน เกือบทุกวัน 49.6
2 3 - 4 วันต่อสัปดาห์ 21.5
3 1 - 2 วันต่อสัปดาห์ 20.4
4 ไม่ได้ติดตามเลย 8.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
ความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ เม.ย. สิงหาคม ส่วนต่าง
ลำดับที่ ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ
1 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 96.9 95.7 - 1.2
2 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 46.1 71.8 +25.7
3 เครียดต่อเรื่องการเมือง 29.3 37.1 + 7.8
4 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวในเรื่องการเมือง 8.4 8.2 - 0.2
5 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง 16.2 13.6 - 2.6
6 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง 17.2 13.7 - 3.5
7 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 69.1 75.5 + 6.4
8 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันด้วยสันติวิธี 91.4 92.0 + 0.6
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเรื่องที่ให้ความสนใจในสถานการณ์การเมืองขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เรื่องที่ให้ความสนใจ ค่าร้อยละ
1 การเลือกคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 60.7
2 การเลือกตั้ง ส.ส. 52.4
3 ท่าทีของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ในการลงสมัครรับเลือกตั้ง 52.4
4 การเลือกคณะกรรมการป้องกันและปราบรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) 41.6
5 การยุบพรรคการเมืองใหญ่ 31.0
6 การทำหน้าที่ของวุฒิสมาชิก 26.6
7 สปอตโฆษณาหาเสียงของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 24.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ "ผลดี" ถ้า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ยังคงอยู่ในตำแหน่ง
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ "ผลดี" ถ้า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ยังคงอยู่ในตำแหน่ง ค่าร้อยละ
1 เป็นที่น่าเชื่อถือสำหรับนักลงทุนทั้งชาวไทย และต่างชาติ ทำให้สามารถแก้ปัญหา 33.7
เศรษฐกิจได้
2 มีนโยบายในการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง หรือสานต่อนโยบายต่างๆ ที่ค้างไว้ 26.5
เช่น โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค / จัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น
3 สามารถปราบปรามยาเสพติดได้ 25.5
4 ทำให้คนจนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น / ความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น 21.5
5 มีระบบการบริหารบ้านเมืองที่ดี/ทำให้บ้านเมืองเจริญ และประเทศพัฒนาขึ้น 14.6
6 เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ตั้งใจทำงาน ทำให้เห็นผลงานต่างๆ ได้อย่างชัดเจน 11.2
7 อื่นๆ อาทิ สามารถพัฒนาระบบการศึกษาให้ดีขึ้นกว่านี้ / สามารถปราบปรามผู้มี
อิทธิพลให้หมดไปได้ / สามารถปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นให้หมดไปได้ 9.3
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ "ผลเสีย" ถ้า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ยังคงอยู่ในตำแหน่ง
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ "ผลเสีย" ถ้า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ยังคงอยู่ในตำแหน่ง ค่าร้อยละ
1 ทำให้สังคมไทยขัดแย้งแตกแยกมากขึ้น /เกิดความแตกแยกท่ามกลางประชาชน 57.8
2 ทำให้เศรษฐกิจแย่ลง/การลงทุนจากชาวไทยและชาวต่างชาติหยุดชะงัก /
ประเทศชาติเป็นหนี้เพิ่มขึ้น 17.2
3 จะมีการทุจริตคอรัปชั่นเพิ่มชึ้น 14.7
4 ทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น / ราคาสินค้าแพงขึ้น อาทิ ราคาน้ำมัน ค่ารถ เป็นต้น 13.7
5 ทำให้ประเทศชาติแย่ลง / ระบบการปกครองจะมีความเสียหายเกิดขึ้น 4.8
6 ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงไม่จบสิ้น 3.6
7 อื่นๆ อาทิ เป็นการผูกขาดอำนาจมากเกินไป / ยาเสพติดจะกลับมา / ผู้มี 5.9
อิทธิพลมากขึ้น เป็นต้น
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อวันเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคมนี้
25-26 กรกฎาคม 17-20 สิงหาคม
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วยที่จะมีวันเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม 74.1 60.8
2 ไม่เห็นด้วย 10.7 12.4
3 ไม่มีความเห็น 15.2 26.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ "ผลดี" ถ้าวันเลือกตั้งเป็นวันที่ 15 ตุลาคม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ "ผลดี" ถ้าวันเลือกตั้งเป็นวันที่ 15 ตุลาคม ค่าร้อยละ
1 จะได้มีรัฐบาลมาสานต่อนโยบายต่างๆ/ทำให้ประเทศสามารถเดินหน้าได้อย่าง
รวดเร็ว/การเมืองมั่นคง 46.4
2 ทำให้บ้านเมืองไม่วุ่นวาย / เหตุการณ์จะได้สงบเรียบร้อย / ปรองดองกัน 22.6
3 ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น ไม่แย่ลงไปกว่านี้ / สามารถเรียกความเชื่อมั่นจากนัก
ลงทุนชาวต่างชาติได้ 19.0
4 การทำงานจะได้เป็นระบบมากขึ้น 7.6
5 ประชาชนจะได้ไม่เบื่อหน่ายการเลือกตั้ง 5.4
6 อื่นๆ อาทิ จะได้ไม่เสียงบประมาณของรัฐบาล / จะได้เลือกคนดีเข้าสภา /
จะได้ไม่มีปัญหาการเรียกร้อง ระงับข้อพิพาทต่างๆ เป็นต้น 4.7
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ "ผลเสีย"ถ้าวันเลือกตั้งเป็นวันที่ 15 ตุลาคม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ "ผลเสีย" ถ้าวันเลือกตั้งเป็นวันที่ 15 ตุลาคม ค่าร้อยละ
1 จะเกิดความไม่พร้อมของคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่
2 ต้นตอของปัญหายังอยู่จะทำให้มีความขัดแย้ง / ความบาดหมาง / 51.9
มีความวุ่นวายไม่หยุด 19.7
3 ยังไม่มีกำหนดแผนการเลือกตั้งที่ดี และมีความพร้อม 10.2
4 เสียเวลาเลือกตั้งใหม่ 7.1
5 ยังมีความไม่โปร่งใส / ไม่ยุติธรรม 4.9
6 จะได้คนที่ไม่ดีเข้าสภา 4.0
7 สถานการณ์ต่างๆ ยังคลุมเครือ ไม่ชัดเจน 2.7
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อการทำหน้าที่ของวุฒิสมาชิกในการเลือกคนดีจริงๆ
เข้ามาทำหน้าที่เป็น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.)
ลำดับที่ ความมั่นใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 42.6
2 ไม่มั่นใจ เพราะ ไม่มีความโปร่งใส / ระบบแบ่งพรรคแบ่งพวกยังคงอยู่ /
หาคนที่เป็นกลาง และน่าเชื่อถือได้ยาก เป็นต้น 22.5
3 ไม่มีความเห็น 34.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อการทำหน้าที่ของวุฒิสมาชิกในการเลือกคนดีจริงๆ
ที่เป็นกลาง และเที่ยงธรรมในการเป็น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
ลำดับที่ ความมั่นใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 43.2
2 ไม่มั่นใจ เพราะ ระบบแบ่งพรรคแบ่งพวกยังคงอยู่ / ไม่มีความโปร่งใส / หา
คนที่เป็นกลาง และน่าเชื่อถือได้ยาก เป็นต้น 20.9
3 ไม่มีความเห็น 35.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-