ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือศูนย์วิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย “เอแบคเรียลไทม์ โพลล์” ที่เป็นการสำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็น ตัวอย่างเพื่อทำการสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไวภายในระยะเวลาประมาณ 10 ชั่วโมง จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียล ไทม์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจเรื่อง หลักแนวการใช้ชีวิตพอเพียง กับ ความสุขมวลรวมวันนี้ของประชาชนภายในประเทศ (Gross Domestic Happiness, GDH Indexes) กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 17 จังหวัดของประเทศได้แก่ กรุงเทพมหานคร อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ ปทุมธานี เพชรบุรี ฉะเชิงเทรา กาญจนบุรี ชลบุรี หนองบัวลำภู สกลนคร ศรีสะเกษ ขอนแก่น ระนอง พัทลุง และสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้ง สิ้น 1,245 ครัวเรือน ดำเนินโครงการในวันที่ 3 ตุลาคม 2552 พบว่า
ประชาชนคนไทยที่ถูกศึกษาร้อยละ 47.2 กำลังใช้ชีวิตพอเพียงระดับปานกลาง ในขณะที่ร้อยละ 29.2 กำลังใช้ชีวิตแบบไม่พอเพียง และ ร้อยละ 23.6 ที่กำลังใช้ชีวิตแบบพอเพียงอย่างเคร่งครัดในการสำรวจล่าสุด แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ คนไทยร้อยละ 25.0 กำลังมีพฤติกรรมที่คิดอยากจะซื้อ อะไรก็ซื้อ โดยขาดการยับยั้งชั่งใจ และร้อยละ 47.9 ที่ซื้อสินค้ามาแล้ว ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากสินค้าเหล่านั้นเท่าใดนัก อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 83.4 รู้จักรักษาสิ่งของต่างๆ ให้คงอยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับการใช้งานได้นานๆ
ดร.นพดล กล่าวว่า เป็นไปได้ที่กระแสข่าวว่าเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวกำลังมีผลทางจิตวิทยาให้ประชาชนจำนวนหนึ่งเริ่มกลับไปใช้ชีวิตใน การจับจ่ายใช้สอยที่ไม่มีการวางแผนอย่างรัดกุม และเมื่อซื้อสินค้ามาแล้วไม่ได้ใช้สอยอย่างเต็มที่ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้กำลังเริ่มหวนกลับคืนมาในรูปแบบ การใช้ชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ของคนไทย ผลที่ตามมาคือ คนไทยจำนวนมากจะตกอยู่ในสภาวะเงินขาดมือ ชักหน้าไม่ถึงหลัง อาจตกเป็นวงรอบของสภาวะ วิกฤตเศรษฐกิจระดับครัวเรือนและระดับชาติได้ นอกจากนี้ การใช้ชีวิตที่ยึดเอาอารมณ์เกลียดชังและอคติมาก่อนเหตุผล และไม่อยู่บนทางสายกลาง ไม่ ซื่อสัตย์สุจริต ก็จะทำให้เกิดวิกฤตต่อตัวเองและผู้อื่นเป็นผลกระทบต่อปัญหาสังคมและการเมืองได้เช่นกัน ดังนั้น เมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว คนไทยต้องปรับ ตัวและดำรงไว้บนหลักเศรษฐกิจพอเพียง ใช้ชีวิตที่มีวินัย มีความสมดุล ขยันหมั่นเพียร และวางแผนใช้จ่ายอย่างรัดกุมไม่หลงไปตามกระแสโดยขาดการ ยับยั้งชั่งใจ
นอกจากนี้ ที่น่าพิจารณาคือ ผลวิจัยพบว่า กลุ่มประชาชนที่ใช้ชีวิตพอเพียงมีค่าเฉลี่ยความสุขมวลรวม หรือ จีดีเอช (GDH) สูงกว่า กลุ่มคน ที่ใช้ชีวิตแบบไม่พอเพียง คือ คนที่ใช้ชีวิตพอเพียงมีค่าเฉลี่ยความสุขอยู่ที่ 7.05 ในขณะที่กลุ่มคนที่ใช้ชีวิตไม่พอเพียงมีค่าความสุขอยู่ที่ 6.30 จากคะแนน เต็ม 10 คะแนน นอกจากนี้ เมื่อถามถึงระดับความเชื่อมั่นที่จะอยู่รอดในทุกสถานการณ์ ไม่ว่าการเมืองจะขัดแย้งรุนแรงบานปลาย เศรษฐกิจตกต่ำ และ ปัญหาสังคมมากมาย ผลวิจัยพบว่า ความเชื่อมั่นที่จะอยู่ได้ทุกสถานการณ์ของคนไทยโดยภาพรวมอยู่ที่ 5.85 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน และเมื่อ วิเคราะห์ในรายละเอียดพบว่า กลุ่มคนที่ใช้ชีวิตพอเพียงมีความเชื่อมั่นว่าจะอยู่รอดได้ทุกสถานการณ์มากกว่า กลุ่มคนที่ใช้ชีวิตไม่พอเพียง คือ กลุ่มคนที่ใช้ ชีวิตพอเพียงมีความเชื่อมั่นว่าจะอยู่รอดได้ทุกสถานการณ์เฉลี่ยอยู่ที่ 5.98 คะแนน ในขณะที่กลุ่มคนที่ใช้ชีวิตไม่พอเพียงมีความเชื่อมั่นเฉลี่ยเพียง 2.00 เท่านั้น
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ในผลวิจัยครั้งนี้ พบว่า แนวโน้มความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศหรือ ดัชนีชี้ วัด จีดีเอช (GDH Indexes) โดยรวม ลดต่ำลงจาก 7.18 ในเดือนสิงหาคม มาอยู่ที่ 6.83 ในการสำรวจล่าสุด ที่วิเคราะห์จากผลวิจัยก่อนหน้านี้พบ ว่า สิ่งที่ทำให้คนไทยสุขน้อยลงมาจากความขัดแย้งวุ่นวายทางการเมืองที่มักจะมีปมใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอด และการที่ฝ่ายการเมืองกำลังมุ่งเน้นไปที่การ แก้ไขรัฐธรรมนูญ จนอาจทำให้สาธารณชนรู้สึกว่าปัญหาเดือดร้อนสารพัดปัญหาถูกละเลย เช่น ปัญหาปากท้อง ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปัญหาที่ทำกิน ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาอาชญากรรมและยาเสพติด ปัญหาสุขภาพกายและใจ ความเครียด และปัญหาความไม่เป็นธรรมใน สังคม เป็นต้น ดังนั้น รัฐบาลและกลไกต่างๆ จึงต้องหันกลับมาสู่ความสมดุลให้ความสำคัญแก้ปัญหาเดือดร้อนทั้งสิ่งที่จับต้องได้ทำให้ชาวบ้านสัมผัสได้เป็น รูปธรรม และสิ่งที่จับต้องไม่ได้เช่น ความเชื่อและทัศนคติต่อการเมือง รัฐธรรมนูญและประเทศชาติ และสื่อสารให้สาธารณชนรับรู้อย่างกว้างขวางต่อไป
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.4 เป็นหญิง
ร้อยละ 46.6 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 17.1 อายุ 20 — 29 ปี
ร้อยละ 23.4 อายุ 30 — 39 ปี
ร้อยละ 25.8 อายุ 40 — 49 ปี
และร้อยละ 28.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
โดย ร้อยละ 45.9 อาชีพเกษตรกร/รับจ้างใช้แรงงานทั่วไป
ร้อยละ 25.4 ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว อาชีพอิสระ
ร้อยละ 4.4 พนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 4.3 เป็นข้าราชการ /พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 11.7 เป็นแม่บ้าน เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.1 เป็นนักศึกษา
ร้อยละ 2.2 ไม่ประกอบอาชีพ ว่างงาน
นอกจากนี้ ร้อยละ 88.6 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 11.4 มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมือง ค่าร้อยละ 1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 32.3 2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 24.9 3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 21.5 4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 14.7 5 ไม่ได้ติดตามเลย 6.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความเคร่งครัดในการใช้ชีวิตแบบพอเพียง ลำดับที่ ระดับความเคร่งครัดในการใช้ชีวิตพอเพียง ค่าร้อยละ 1 ไม่พอเพียง 29.2 2 ปานกลาง 47.2 3 พอเพียงอย่างเคร่งครัด 23.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยและวิธีการใช้ประโยชน์กับสินค้า (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยและวิธีการใช้ประโยชน์กับสินค้า ค่าร้อยละ 1 คิดอยากจะซื้ออะไรก็ซื้อ 25.0 2 ซื้อสินค้ามาแล้ว ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากสินค้าเหล่านั้นเท่าใดนัก 47.9 3 รู้จักรักษาสิ่งของต่างๆ ให้คงอยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับการใช้งานได้นานๆ 83.4 ตารางที่ 4 แสดงผลเปรียบเทียบระดับความสุขมวลรวมของประชาชนเปรียบเทียบระหว่าง กลุ่มคนที่ใช้ชีวิตแบบพอเพียง กับกลุ่มคนที่ใช้ชีวิต แบบไม่พอเพียง ลำดับที่ รูปแบบการใช้ชีวิตของประชาชน ระดับความสุข GDH เฉลี่ย 1 คนที่ใช้ชีวิตพอเพียง 7.05 2 คนที่ใช้ชีวิตไม่พอเพียง 6.30 ระดับความสุข GDH ภาพรวม 6.83 ตารางที่ 5 แสดงผลเปรียบเทียบระดับความเชื่อมั่นว่าจะอยู่รอดได้ในทุกสถานการณ์ ไม่ว่า การเมืองจะขัดแย้งรุนแรง เศรษฐกิจตกต่ำ และ ปัญหาสังคมมากมาย เปรียบเทียบระหว่าง กลุ่มคนที่ใช้ชีวิตแบบพอเพียง กับกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตแบบไม่พอเพียง ลำดับที่ รูปแบบการใช้ชีวิตของประชาชน ระดับความเชื่อมั่น เฉลี่ย(เต็ม 10 คะแนน) 1 คนที่ใช้ชีวิตพอเพียง 5.98 2 คนที่ใช้ชีวิตไม่พอเพียง 2.00 ระดับความเชื่อมั่นที่จะอยู่ได้ทุกสถานการณ์ของคนไทยโดยภาพรวม 5.85 ตารางที่ 6 แสดงแนวโน้มค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทยตั้งแต่ เดือนกันยายน 2551 จนถึงปัจจุบัน เมื่อคะแนนเต็ม 10 ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวม ก.ย.51 ต.ค.51 พ.ย.— ปลาย ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. ต้น ก.ค. ส.ค. ต้นต.ค. ของคนไทยภายในประเทศ ธ.ค.51 ธ.ค.51 52 52 52 52 มิ.ย.52 52 52 52 (Gross Domestic Happiness) 5.64 4.84 6.55 6.81 6.59 5.78 6.18 7.17 7.15 5.92 7.18 6.83 --เอแบคโพลล์-- -พห-