ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (Real- Time Survey)” ที่เป็นการสำรวจผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบรวดเร็วฉับไวภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมง หลังจากมีสิ่งที่น่าสนใจติดตาม ในหมู่ประชาชน โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจเรื่อง ผลวิจัยประมาณการจำนวนผู้ชม และผู้ติดตามรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ ประจำ วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม 2552: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี เพชรบุรี ฉะเชิงเทรา กาญจนบุรี ชลบุรี อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ หนองบัวลำภู สกลนคร ศรีสะเกษ ขอนแก่น ระนอง พัทลุง และ สุราษฎร์ธานี ในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวนตัวอย่างประชาชนจากทั่วประเทศที่ถูกศึกษา รวมทั้งสิ้น 1,100 ครัวเรือน
จากผลประมาณการทางสถิติพบว่าในช่วงที่มีการออกอากาศรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ มีจำนวนผู้ชมที่ติดตามรับชมรับ ฟังรายการนานอย่างน้อย 5 นาที ผ่านสื่อต่างๆ อาทิ โทรทัศน์ วิทยุ เสียงตามสาย หอกระจายข่าว อินเทอร์เน็ต และสื่ออื่นๆ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 13,252,939 คน (สิบสามล้านสองแสนห้าหมื่นสองพันเก้าร้อยสามสิบเก้าคน) ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อนในวันที่ 27 กันยายน ที่ พบว่ามีอยู่ 6.3 ล้านคน
ทั้งนี้เมื่อถามถึงความน่าสนใจของรูปแบบรายการเชื่อมั่นประเทสไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์ ในวันนี้ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 77.8 ระบุน่า สนใจ ร้อยละ 14.3 ระบุไม่น่าสนใจ ในขณะที่ร้อยละ 7.9 ไม่มีความเห็น ทั้งนี้ประเด็นที่ชื่นชอบจากการพูดคุยในรายการประจำสัปดาห์นี้นั้นพบว่า ร้อยละ 86.7 ระบุชื่นชอบการพูดคุยเกี่ยวกับการปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ร้อยละ 83.1 ระบุชื่นชอบการพูดคุยเกี่ยวกับกรณีที่ดินของยายฮาย ร้อยละ 78.7 ระบุชื่นชอบการพูดคุยเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาภัยพิบัติ น้ำท่วม ร้อยละ 76.7 ระบุชื่นชอบเกี่ยวกับผลการประชุม G20 ที่สหรัฐอเมริกา ร้อย ละ 74.6 ระบุชื่นชอบประเด็นเกี่ยวกับการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 66.1 ระบุชื่นชอบเกี่ยวกับประเด็นการระงับโครงการลงทุนใน นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ร้อยละ 63.9 ระบุชื่นชอบการพูดคุยเกี่ยวกับโครงการรถเมล์ NGV ในขณะที่ ร้อยละ 60.0 ระบุชื่นชอบการพูดคุยเกี่ยว กับการกลับมาของ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ตามลำดับ
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนต่อการให้คะแนนการพูดคุยของนายกรัฐมนตรี ในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ ในวันนี้ จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า การควบคุมอารมณ์ของนายกรัฐมนตรี เมื่อชี้แจงกรณีโดนสื่อมวลชนวิพากษ์วิจารณ์ได้ 7.19 คะแนน ในขณะที่การพูดคุยในรายการโดยภาพรวมได้ 7.35 คะแนน สำหรับการพูดคุยของพิธีกร คือคุณสรยุทธ์ สุทัศนะจินดาพบว่าได้ 7.44 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนต่อความเชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษต่อผลการตัดสินคดีความกับนักการเมือง ที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 53.6 ระบุมีความเชื่อมากขึ้น ร้อยละ 35.2 ระบุเหมือนเดิม ในขณะที่ ร้อยละ 11.2 ระบุน้อยลง และเมื่อถาม ถึงความรู้สึกเสียความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลภายหลังข่าวการลาออกของนายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 48.2 ระบุ ไม่เสียความเชื่อมั่น ร้อยละ 40.2 ระบุเสียความเชื่อมั่น และร้อยละ 11.6 ไม่มีความเห็น อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงความรู้สึกต่อการตัดสินใจ ลาออกของนายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 44.0 ระบุรู้สึกเสียดาย ในขณะที่ร้อยละ 41.3 ระบุไม่รู้สึกเสียดาย และร้อยละ 14.7 ระบุไม่มีความเห็น
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.2 เป็นหญิง
ร้อยละ 46.8 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 18.1 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 21.3 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 26.9 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 28.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.4 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 22.2 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.4 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 37.0 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 25.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 14.2 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 11.5 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 3.3 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.3 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ ร้อยละ 2.9 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 40.0 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 29.9 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 10.0 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 4.0 ระบุมีรายได้ 15,001—20,000 บาท
ร้อยละ 4.2 ระบุมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
และร้อยละ 11.9 ไม่ระบุรายได้ส่วนตัวต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
การประมาณการ ผลประมาณการ 30 ส.ค.52 ผลประมาณการ 27 ก.ย.52 ผลประมาณการ 4 ต.ค.52 (จำนวนคน) (จำนวนคน) (จำนวนคน) จำนวนผู้ชมที่ติดตามรับชม/รับฟังรายการ เชื่อมั่นประเทศไทยฯ นานเกินกว่า 5 นาทีขึ้นไป 5,864,541 6,372,494 13,252,939
หมายเหตุ จากฐานข้อมูลประชากรที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 46,177,487 คน
ลำดับที่ ความน่าสนใจของรูปแบบรายการ ค่าร้อยละ 1 น่าสนใจ 77.8 2 ไม่น่าสนใจ 14.3 3 ไม่มีความเห็น 7.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเด็นที่ชื่นชอบจากการพูดคุยของนายกรัฐมนตรีในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ประจำวันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม 2552 (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ได้ติดตามรับชม/รับฟังและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ประเด็นการพูดคุยที่ชื่นชอบ ค่าร้อยละ 1 ปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 86.7 2 กรณีที่ดินของยายฮาย 83.1 3 สถานการณ์ปัญหาภัยพิบัติ น้ำท่วม 78.7 4 ผลการประชุม G20 ที่สหรัฐอเมริกา 76.7 5 การทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ 74.6 6 การระงับโครงการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 66.1 7 โครงการรถเมล์ NGV 63.9 8 การกลับมาของ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร 60.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้สึกของประชาชนต่อรายการเชื่อมั่นประเทศไทยในวันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม 2552 ลำดับที่ ความรู้สึกของประชาชนต่อรายการเชื่อมั่นประเทศไทยในวันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม 2552 คะแนนเฉลี่ยจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน 1 การควบคุมอารมณ์ของนายกรัฐมนตรีในขณะชี้แจงกรณีโดนสื่อมวลชนวิพากษ์วิจารณ์ 7.19 2 การพูดคุยของนายกรัฐมนตรีในรายการโดยภาพรวม 7.35 3 การดำเนินรายการของคุณสรยุทธ์ สุทัศนะจินดา 7.44 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษหลังจากมีการพิจารณาตัดสินคดีความกับนักการเมืองที่ผ่านมา ลำดับที่ ความเชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษหลังจากมีการพิจารณาตัดสินคดีความกับนักการเมืองที่ผ่านมา ค่าร้อยละ 1 มีความเชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษมากขึ้น 53.6 2 เหมือนเดิม 35.2 3 น้อยลง 11.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลภายหลังข่าวการลาออกของนายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลภายหลังการลาออกของนายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ ค่าร้อยละ 1 เสียความเชื่อมั่น 40.2 2 ไม่เสียความเชื่อมั่น 48.2 3 ไม่มีความเห็น 11.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อการตัดสินใจลาออกของนายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ลำดับที่ ความรู้สึกต่อการตัดสินใจลาออกของนายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ ค่าร้อยละ 1 รู้สึกเสียดาย 44.0 2 ไม่รู้สึกเสียดาย 41.3 3 ไม่มีความเห็น 14.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 --เอแบคโพลล์-- -พห-