เอแบคโพลล์: ความสนใจของผู้บริโภคและความคิดเห็นของผู้ประกอบการต่ออุตสาหกรรมอาหารฮาลาล

ข่าวผลสำรวจ Thursday October 8, 2009 10:52 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social Innovation Management and Business Analysis, Assumption University) ได้รายงานผลสำรวจ เรื่อง ความสนใจของผู้ บริโภค และความคิดเห็นของผู้ประกอบการต่ออุตสาหกรรมอาหารฮาลาล: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปและเจ้าหน้าที่จากสถานประกอบการอาหารฮาลาลที่ ได้รับตรามาตรฐานอาหารฮาลาลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,946 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1-7 ตุลาคม 2552 ผลการสำรวจ พบว่า

ประชาชนร้อยละ 41.7 รู้จักอาหารฮาลาล และในกลุ่มคนที่รู้จักร้อยละ 74.8 ค่อนข้างเชื่อมั่นถึงเชื่อมั่นมากที่สุดต่ออาหารฮาลาลในด้าน คุณค่าอาหาร ถูกสุขอนามัยและความปลอดภัยในอาหาร โดยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.3 มองว่าประโยชน์ของใบรับรองอาหารฮาลาลจะช่วยสร้างความ มั่นใจให้กับผู้บริโภค และแหล่งที่สามารถหาซื้ออาหารฮาลาลได้อันดับแรกหรือ ร้อยละ 37.5 ระบุที่ห้างสรรพสินค้า รองลงมาคือร้อยละ 28.8 ระบุซุป เปอร์มาร์เก็ต ร้อยละ 26.1 ระบุร้านสะดวกซื้อ ร้อยละ 23.1 ระบุตลาดสด ร้อยละ 20.4 ร้านอาหารบริเวณที่พักอาศัย และร้อยละ 12.8 ระบุร้าน อาหารบริเวณที่ทำงาน เป็นต้น นอกจากนี้ ร้อยละ 46.6 ให้ความสนใจถึงสนใจมากที่สุดในการซื้ออาหารที่มีใบประกันอาหารฮาลาล และร้อยละ 28.5 ค่อนข้างสนใจ โดยร้อยละ 57.6 มองว่าข้อดีของการรับประทานอาหารฮาลาลคือ สะอาด ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ และร้อยละ 34.8 มองว่าเป็นอาหารที่มีประโยชน์และคุณค่าทางอาหารสูง ในขณะที่ ร้อยละ 16.2 ระบุถูกต้องตามหลักศาสนา ตามลำดับ

ส่วนผู้ประกอบการส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.9 มองว่า ตลาดปี 2552 ของผู้บริโภคอาหารฮาลาลในประเทศ เพิ่มขึ้น เพราะมีคนนิยมมาก ขึ้น มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์มากขึ้น ผู้บริโภคมั่นใจในมาตรฐานมากขึ้น นอกจากนี้ ร้อยละ 61.7 ยังระบุว่าตลาดปี 2552 ของผู้บริโภคอาหารฮาลา ลในต่างประเทศเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุผลเดียวกัน โดยร้อยละ 58.1 มองว่า ธุรกิจผลิตอาหารฮาลาลในปี 2552 มีการเติบโต ในขณะที่ร้อยละ 32.5 ระบุ ว่าเท่าเดิม และร้อยละ 9.4 ระบุว่าลดลง

สำหรับปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจอาหารฮาลาลเติบโต พบว่า ร้อยละ 38.6 ระบุเป็นเรื่องของมาตรฐานควบคุมคุณภาพ รองลงมาคือ ร้อยละ 26.7 ระบุมีผู้บริโภคมากขึ้น ร้อยละ 21.8 ระบุคุณภาพอาหารที่ดีมีคุณค่า และร้อยละ 9.4 มองว่าเป็นเรื่องการส่งเสริมการขาย เป็นต้น ส่วนปัญหา อุปสรรคที่กำลังเผชิญในการทำธุรกิจอาหารฮาลาล ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 56.1 ระบุเป็นเรื่องวัตถุดิบราคาสูง ร้อยละ 31.8 ระบุรัฐบาลยังไม่ให้ ความสำคัญมากเพียงพอ ร้อยละ 10.6 กลุ่มลูกค้ายังไม่กว้างขวาง และร้อยละ 6.1 ระบุราคาอาหารฮาลาลสูง เป็นต้น

ผอ.ศูนย์วิจัยเอแบคฯ กล่าวว่า พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้และรวมถึงจังหวัดสงขลาน่าจะได้รับการพิจารณาเป็นพื้นที่พิเศษของการส่ง เสริมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลที่ใหญ่ที่สุดของโลกในการผลิตอาหารฮาลาลให้ตลาดทั้งในและต่างประเทศ ที่จะเป็นทางออกได้ทางหนึ่งของการลดปัญหา ความไม่สงบในพื้นที่และนำรายได้จากอุตสาหกรรมนี้เป็นงบประมาณในการป้องกันแก้ไขปัญหาอาชญากรรมและการก่อความไม่สงบในพื้นที่เพื่อลดการใช้งบ ประมาณจากรัฐบาลส่วนกลาง

ลักษณะทั่วไปของกลุ่มผู้บริโภค

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 56.5 เป็นหญิง

ร้อยละ 43.5 เป็นชาย

ร้อยละ 9.2 อายุน้อยกว่า 20 ปี

ร้อยละ 35.3 อายุระหว่าง 21-30 ปี

ร้อยละ 27.5 อายุระหว่าง 31-40 ปี

ร้อยละ 17.5 อายุระหว่าง 41-50 ปี

และร้อยละ 10.5 อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 26.8 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่ามัธยมตอนต้น/ต่ำกว่า

ร้อยละ 28.1 สำเร็จการศึกษามัธยมปลาย/ปวช.

ร้อยละ 10.5 สำเร็จการศึกษาอนุปริญญา/ปวส.

ร้อยละ 30.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 4.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 3.4 อาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 14.5 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 50.5 มีอาชีพค้าขาย/ประกอบธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 11.2 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ร้อยละ 11.4 อาชีพรับจ้างใช้แรงงานทั่วไปและเกษตรกร

ร้อยละ 5.3 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

และร้อยละ 3.7 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพใดๆ

กลุ่มเจ้าหน้าที่จากสถานประกอบการอาหารฮาลาลที่ได้รับตรามาตรฐานอาหารฮาลาล

ตัวอย่าง ร้อยละ 65.6 เป็นหญิง

ร้อยละ 34.4 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 31.8 อายุต่ำกว่า 30 ปี

ร้อยละ 32.2 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 21.8 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

ร้อยละ 14.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 42.3 เป็นเจ้าหน้าที่ระดับผู้บริหาร อาทิ เจ้าของกิจการ กรรมการผู้จัดการ/รองกรรมการผู้จัดการและผู้จัดการทั่วไป

ร้อยละ 29.3 เป็นระดับหัวหน้าฝ่าย หรือหัวหน้าส่วนในบริษัท

ร้อยละ 22.8 เป็นเจ้าหน้าที่ทั่วไปในบริษัท

และร้อยละ 5.6 เป็นผู้ชำนาญการทางวิชาชีพ อาทิ วิศวกรพัฒนา นักวิจัย เป็นต้น

โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างผู้บริโภคที่ระบุการรับรู้ต่ออาหารฮาลาล
ลำดับที่          การรับรู้               ค่าร้อยละ
1          รู้จัก                        41.7
2          ไม่รู้จัก                      58.3
          รวมทั้งสิ้น                    100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างผู้บริโภคที่ระบุระดับความเชื่อมั่นต่ออาหารฮาลาล ในด้านคุณค่าอาหาร ถูกสุขอนามัย
และความปลอดภัยในอาหาร (ค่าร้อยละเฉพาะในกลุ่มคนที่รู้จัก)
ลำดับที่          ระดับความเชื่อมั่น        ค่าร้อยละ
1          ค่อนข้างเชื่อมั่น-เชื่อมั่นมากที่สุด    74.8
2          ไม่ค่อยเชื่อมั่น — ไม่เชื่อมั่นเลย    25.2
          รวมทั้งสิ้น                    100.0

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างผู้บริโภคที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ของใบรับรองฮาลาล  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          ความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ของใบรับรองฮาลาล                                 ค่าร้อยละ
1          สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคอาหาร ที่ถูกสุขอนามัย ปลอดภัยจากสิ่งต้องห้ามทางศาสนาอิสลาม       69.3
2          ผู้บริโภคได้บริโภคอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ                                        37.4
3          ผู้ประกอบการได้รับผลประโยชน์ทางธุรกิจ ขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ                     27.7
4          ผู้ประกอบการสามารถพัฒนามาตรฐานอาหารฮาลาลให้เป็นที่ยอมรับสู่ระดับสากล                   38.9
5          ทำให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัว                                                  19.7

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างผู้บริโภคที่ระบุถึงแหล่งที่สามารถหาซื้ออาหารฮาลาลได้ (ตอบได้มากกว่า  1 ข้อ)
ลำดับที่          แหล่งที่สามารถหาซื้ออาหารฮาลาลได้               ค่าร้อยละ
1          ห้างสรรพสินค้า                                    37.5
2          ซุปเปอร์มาร์เก็ต                                   28.8
3          ร้านสะดวกซื้อ                                     26.1
4          ตลาดสด                                         23.1
5          ร้านอาหารบริเวณที่พักอาศัย                           20.4
6          ร้านอาหารบริเวณที่ทำงาน                            12.8
7          อื่นๆ อาทิ โรงแรม เป็นต้น                           16.3

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างผู้บริโภคที่ระบุความสนใจที่จะซื้ออาหารที่มีประกันสินค้าอาหารฮาลาล
ลำดับที่          ความสนใจที่จะซื้ออาหารที่มีประกันสินค้าอาหารฮาลาล   ค่าร้อยละ
1          สนใจ-สนใจมากที่สุด                                46.6
2          ค่อนข้างสนใจ                                     28.5
3          ไม่ค่อยสนใจ                                      13.5
4          ไม่สนใจ-ไม่สนใจเลย                               11.4
          รวมทั้งสิ้น                                        100.0

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างผู้บริโภคที่ระบุถึงข้อดีของการรับประทานอาหารฮาลาล (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          ข้อดีของการรับประทานอาหารฮาลาล                         ค่าร้อยละ
1          สะอาด ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ                                   57.6
2          เป็นอาหารที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทางอาหารสูง                      34.8
3          ถูกต้องตามหลักศาสนา                                         16.2
4          เป็นอาหารของอิสลาม/เป็นอาหารที่ไม่มีหมู                           6.8
5          รสชาติของอาหารอร่อย                                         4.7
6          อาหารมีคุณภาพ                                               4.0
7          อื่นๆ อาทิ แปลกใหม่/ได้ลองอาหารแปลกใหม่/ป้องกันไขมันจากสัตว์/ราคาถูก  8.9

เจ้าหน้าที่จากสถานประกอบการอาหารฮาลาลที่ได้รับตรามาตรฐานอาหารฮาลาล ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุตลาดปี 2552 ของผู้บริโภคอาหารฮาลาลในประเทศ

ลำดับที่          ตลาดอาหารฮาลาลของผู้บริโภคในประเทศ ปี 2552                                           ค่าร้อยละ
1          เพิ่มขึ้น เพราะ ผู้บริโภคนิยมกันมากขึ้น/มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์มากขึ้น/ผู้บริโภคเชื่อมั่นในมาตรฐานการผลิต/
           คนรู้จักฮาลาลมากขึ้น/หาซื้อได้ง่าย และมีรสชาติอร่อยเป็นต้น                                           60.9
2          เท่าเดิม                                                                                 32.1
3          ลดลง                                                                                    7.0
          รวมทั้งสิ้น                                                                                100.0

ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อตลาดปี 2552 ของผู้บริโภคอาหารฮาลาลต่างประเทศ
ลำดับที่          ตลาดอาหารฮาลาลของผู้บริโภคต่างประเทศ ปี 2552                                          ค่าร้อยละ
1          เพิ่มขึ้น เพราะ.... มีคนรู้จักมากขึ้นและเป็นที่นิยมมากขึ้น/อาหารได้มาตรฐานความสะอาด/ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่น

ในมาตรฐานตราฮาลาล/มีคนอิสลามมากขึ้น/ในแต่ละประเทศมีชนชาวอิสลามอยู่มาก/มีมาตรฐานเดียวกันทุกประเทศ 61.7

2          เท่าเดิม                                                                                 30.2
3          ลดลง เพราะภาวะเศรษฐกิจถดถอย/เศรษฐกิจแย่/เศรษฐกิจโลก /ไม่มีคนสนใจที่จะซื้อ                         8.1
          รวมทั้งสิ้น                                                                                100.0

ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการเติบโตของธุรกิจผลิตอาหารฮาลาลในปี 2552
ลำดับที่          ธุรกิจผลิตอาหารฮาลาลในปี 2552                    ค่าร้อยละ
1          มีการเติบโต                                         58.1
2          เท่าเดิม                                            32.5
3          ลดลง                                               9.4
          รวมทั้งสิ้น                                           100.0

ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุมุมมองในปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจผลิตอาหารฮาลาลเติบโต  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจผลิตอาหารฮาลาลเติบโต                                              ค่าร้อยละ
1          มาตรฐานการควบคุมคุณภาพการผลิตที่ดี และมีระเบียบข้อปฏิบัติเคร่งครัดทำถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม
           และมีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า                                                               38.6
2          กลุ่มผู้บริโภคมากขึ้น ตลาดกว้างขึ้นและมีการส่งออกมากขึ้นทั้งยังมีการขยายออกนอกประเทศในปัจจุบัน         26.7
3          คุณภาพของอาหารที่ดีและมีคุณค่าทางอาหาร                                                   21.8
4          ราคาวัตถุดิบ/การส่งเสริมการขาย/โปรโมทสินค้า                                               9.4
5          ลูกค้ากว้างขึ้นโดยเฉพาะทางประเทศที่นับถือศานาอิสลาม/ชาวมุสลิมทานได้                             6.9
6          มีความมั่นใจในสินค้ามากขึ้น/ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค                                            6.4
7          การสนับสนุนจากภาครัฐ                                                                  5.0
8          สภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศ                                                           5.0
9          อื่นๆ อาทิ ในตลาดมีคู่แข่งขันน้อย/บริโภคได้ทุกคน/ทุกคนสามารถทานได้/สามารถจำหน่ายสินค้าได้ทุกศาสนา     5.5

ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาอุปสรรคที่กำลังเผชิญในการดำเนินธุรกิจผลิตอาหารฮาลาล (ตอบได้มากกว่า  1 ข้อ)
ลำดับที่          ปัญหาอุปสรรคที่กำลังเผชิญในการดำเนินธุรกิจอาหารฮาลาล    ค่าร้อยละ
1          วัตถุดิบราคาสูง                                         56.1
2          รัฐบาลยังไม่ให้ความสำคัญมากเพียงพอ                        31.8
3          กลุ่มลูกค้ายังไม่กว้างขวาง                                 10.6
4          ราคาของอาหารฮาลาลสูง                                  6.1

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ