ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเพื่อการหยั่งเสียงสาธารณชนเบื้องต้นว่า
ด้วยสถานการณ์การเมืองและการเลือกตั้ง โดยศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 33 จังหวัด ทุกภาคของประเทศ ทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขต
เทศบาล จำนวนทั้งสิ้น 11,091 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 10 — 29 กรกฎาคม ที่ผ่านมา พบว่า
เมื่อสอบถามถึงการติดตามข่าวการเมืองช่วง 30 วันที่ผ่านมาก่อนวันสำรวจ พบว่า ร้อยละ 53.9 ติดตามเป็นประจำ อย่างน้อย 3
วันขึ้นไปต่อสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 27.1 ติดตาม 1 - 2 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 13.2 ติดตามน้อยกว่า 1 วัน ต่อสัปดาห์ หรือบางสัปดาห์ไม่
ได้ติดตาม และร้อยละ 5.8 ที่ไม่ได้ติดตามเลย
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ความคิดเห็นของประชาชนต่อเหตุการณ์ที่ลดทอนความนิยมต่อรัฐบาล เมื่อถามและเปิดกว้างให้ประชาชนตอบเอง
ผลสำรวจพบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 27.8 ระบุเป็นเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองและความแตกแยกของ คนในสังคม อันดับสองหรือร้อยละ
17.4 เป็นเรื่องปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสินค้าราคาสูงขึ้น ร้อยละ 15.1 ระบุเป็นเรื่องการทุจริต คอรัปชั่น ร้อยละ 13.2 เป็นเรื่องปัญหาความสงสัยคน
ใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 7.2 ระบุเป็นเรื่องการไม่ระมัดระวังคำพูดของนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 6.4 เป็นเรื่องปัญหาด้านคุณธรรมของนายก
รัฐมนตรี ร้อยละ 5.7 เป็นเรื่องการไม่ได้ทำตามนโยบายปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 5.2 ระบุเรื่องการกล่าวพาดพิงผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ
ร้อยละ 5.2 ระบุเรื่องปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรม และร้อยละ 4.9 ระบุเป็นปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้
ดร.นพดล กล่าวว่า เป็นที่น่าสังเกตว่า ปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้เป็นปัญหาสำคัญอันดับแรกที่ลดความนิยมของประชาชนต่อรัฐบาล แต่กลายเป็น
เรื่องของความขัดแย้งทางการเมืองและความแตกแยกของคนในสังคม ซึ่งหากเหตุการณ์ยืดเยื้อยาวนานย่อมจะส่งผลทำให้ภาพลักษณ์ของรัฐบาลในสายตา
ประชาชนจะแย่ลงมากกว่าเดิม ดังนั้นรัฐบาลจำเป็นต้องแสดงความจริงใจและเอาจริง เอาจังในการสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน
ไม่ใช่ความสมานฉันท์ในเรื่องผลประโยชน์ทางการเมืองกับ พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจครั้งนี้ยัง พบว่า ผลงานของรัฐบาลที่ประชาชนให้ความนิยม อันดับแรกหรือร้อยละ 33.3 ได้แก่ การแก้ปัญหายา
เสพติด รองลงมาคือร้อยละ 30.3 เป็นการปราบปรามผู้มีอิทธิพล ร้อยละ 21.1 ได้แก่ การแก้ปัญหาความยากจน ร้อยละ 12.8 เป็นผลงานที่รัฐบาล
จัดงานเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบรอบ 60 ปีของในหลวง ร้อยละ 8.2 เป็นโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ร้อยละ 5.6 ได้แก่ โครงการสามสิบ
บาทรักษาทุกโรค ร้อยละ 4.2 ได้แก่ การเปิดสนามบินสุวรรณภูมิ และสามอันดับสุดท้ายได้แก่ ผลงานด้านการศึกษา การแก้ปัญหาหนี้สินของประชาชน
และการส่งเสริมคุณภาพเยาวชนไทย ได้ร้อยละ 3.5 เท่ากัน
เมื่อสอบถามถึงความตั้งใจที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ผลประมาณการตามหลักสถิติแบบการสุ่มหลายชั้นพบว่าประชาชนจะ
ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสูงถึง 37,946,238 คน หรือเกือบสามสิบแปดล้านคน คิดเป็นร้อยละ 84.3 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด ในขณะที่ไม่ไปเลือกตั้ง
ประมาณเกือบห้าล้านคน หรือร้อยละ 10.3 และไม่แน่ใจ 2.4 ล้านคน หรือร้อยละ 5.4 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด (ขอบเขตความคลาดเคลื่อน +/-
ร้อยละ 7)
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ในกลุ่มคนที่ระบุจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งเกินกว่า 1 ใน 4 หรือร้อยละ 29.2 ระบุว่าจะกาช่องไม่ลงคะแนน ในขณะ
ที่ร้อยละ 70.8 ระบุจะเลือกพรรคการเมืองที่ชอบ
ดร.นพดล กล่าวว่า ถึงแม้พรรคการเมืองต่างๆ แสดงความประสงค์ชัดเจนลงสมัครรับเลือกตั้งในสนามแข่งขันที่จะมาถึงวันที่ 15 ตุลาคม
นี้ แต่ประชาชนจำนวนมากยังจะกาในช่องไม่ลงคะแนน (vote for no vote) ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ประชาชนจำนวนมาก ไม่เลือกพรรครัฐบาลและไม่
เลือกพรรคร่วมฝ่ายค้าน สาเหตุสำคัญที่สัมภาษณ์เพิ่มเติมมีอย่างน้อยสามประการคือ ประการแรก ประชาชนกลุ่มนี้ยังไม่มีพรรคการเมืองที่ชอบหรือไว้วาง
ใจ ประการที่สอง นโยบายต่างๆ ของพรรคการเมืองขณะนี้ไม่ตรงกับ ความต้องการ และประการที่สาม ประชาชนมองว่านักการเมืองมีแต่จะสร้าง
ความวุ่นวายให้เกิดขึ้นกับประเทศ
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง พรรคการเมืองเดิมน่าจะได้จัดตั้งรัฐบาล แต่เสียงสนับสนุนจากประชาชน ผู้มีสิทธิเลือก
ตั้งลดลงไปอย่างมาก จากการประมาณการจำนวนผู้สนับสนุนให้รัฐบาลทำงานต่อไปในการสำรวจล่าสุดพบว่า มีอยู่ประมาณ 13.1 ล้านคน ในขณะที่สนับ
สนุนพรรคร่วมฝ่ายค้านตรวจสอบรัฐบาลมีมากถึง 11.4 ล้านคน ภาพที่ค้นพบครั้งนี้น่าจะบอกสังคมไทยโดยภาพรวมว่า ความสมดุลทางการเมืองกำลังจะ
เกิด รัฐบาลจะทำอะไรจะพูดอะไรตามอำเภอใจหรือตามอารมณ์ส่วนตัวต่อไปไม่ได้อีกแล้ว อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่อยู่กลางๆ หรือตั้งใจจะกาช่องไม่
ลงคะแนนก็มีสูงมากถึง 11 ล้านคนเช่นกัน คนกลุ่มนี้จึงเป็นฐานมวลชนที่สำคัญในการกำหนดชี้ชะตาประเทศไทย
สำหรับประเด็นที่น่าพิจารณาอีกประการหนึ่งคือ เหตุผลที่ประชาชนใช้ในการตัดสินใจเลือกพรรคการเมือง ซึ่งผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือ
ร้อยละ 56.8 ใช้ผลงานที่ผ่านมา เช่น ผลงานแก้ปัญหาให้ประชาชน และการตรวจสอบรัฐบาลเป็นเหตุผลสำคัญที่ประชาชนใช้ในการตัดสินใจเลือกพรรค
การเมือง รองลงมาคือร้อยละ 50.9 ดูที่นโยบายว่ามีนโยบายดี เป็นรูปธรรม ตรงความต้องการ ร้อยละ 47.2 ดูที่ตัวบุคคลเช่นทำงานดี เข้าถึงชาว
บ้าน ร้อยละ 28.5 ดูที่อนาคตหลังเลือกตั้งว่าจะวุ่นวายอีกหรือไม่ ความรักความสามัคคีของคนในชาติ และการยอมรับได้ของทุกฝ่าย ในขณะที่ร้อย
ละ 27.1 ตั้งใจจะกาช่องไม่ลงคะแนน เพราะยังไม่มีตัวเลือกที่ดี ยังไม่เห็นนโยบายชัดเจน และเลือกไปก็ทะเลาะกันอีก เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า สถานการณ์การเมืองขณะนี้ส่งผลทำให้ประชาชนตื่นตัวจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างมาก ถ้าสภาพแวดล้อมทางการเมือง
เป็นเช่นปัจจุบัน คาดว่าคนจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากเป็นประวัติการณ์เลยทีเดียว แต่ที่น่าเป็นห่วงคือกลุ่มคนที่ตั้งใจ จะกาช่องไม่ลงคะแนน เพราะจะ
ทำให้คะแนนเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ในการคิดคำนวนจำนวนที่นั่ง ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อ อาจทำให้จำนวนที่นั่ง ส.ส. ไม่เป็นตัวแทนประชาชน
ได้อย่างแท้จริง ดังนั้นประชาชนควรติดตามข่าวการเมืองใกล้ชิด ถ้าอ่านหนังสือพิมพ์ก็ควรอ่านในรายละเอียดมากขึ้นไม่ควรฟัง ดู และไม่ควรอ่านเฉพาะ
หัวข้อข่าวหรือฟังเขาเล่ามาเท่านั้น เพราะจะทำให้ขาดข้อมูลอย่างครบถ้วนประกอบการตัดสินใจในวันเลือกตั้ง
“ฝ่ายการเมืองเองควรปรับวิธีการหาเสียงเป็นไปในเชิงสร้างสรรค์ หลังการเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้ว ควรเร่งปฏิรูปการเมืองใหม่ โดยวาง
ระบบการเมืองที่ประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง ในอนาคตอันใกล้ประชาชนส่วนใหญ่ควรรู้สึกว่า ใครเป็นรัฐบาลก็ได้เพราะ
ระบบโดยรวมเหมือนกัน การเมืองไทยไม่ควรเป็นการเมืองแบบโยนความผิดและทำลายล้าง แต่ควรเป็นการเมืองที่สร้างสรรค์ ไม่สร้างความเคลือบ
แคลงสงสัยให้กับหมู่ประชาชน การเปลี่ยนรัฐบาลไม่ควรทำให้ประชาชนรู้สึกว่ากำลังจะสูญเสียสิ่งที่ตนเองรักและศรัทธา เพราะนั่นจะสร้างความแตกแยก
ของคนในชาติ แต่การเปลี่ยนรัฐบาลน่าจะทำให้ประชาชนรู้สึกว่า ถึงวาระต้องเปลี่ยน แต่นโยบายดีๆ ยังคงอยู่ต่อไปเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของ
ประชาชน” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อข่าวหรือเหตุการณ์บวกและลบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล
2. เพื่อสำรวจลักษณะการเลือกตั้งของประชาชนในพื้นที่ที่ถูกศึกษา
3. เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาตัดสินใจของบุคคลในสถาบันการเมืองใช้ดำเนินการเป็นประโยชน์ต่อการปฏิรูปการ
เมืองและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง ผลการหยั่งเสียงสาธารณชนเบื้องต้นว่าด้วยสถานการณ์
การเมืองและการเลือกตั้ง : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ ทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล โดยมีระยะเวลาการ
ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10 — 29 กรกฎาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 33 จังหวัดทุกภาคของประเทศได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี
สมุทรปราการ ปทุมธานี เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร ลพบุรี อยุธยา ชลบุรี อุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี
เพชรบุรี ตราด ขอนแก่น นครราชสีมา หนองบัวลำภู นครพนม หนองคาย ยโสธร อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ อุดรธานี ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช
สุราษฎร์ธานี และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 11,091 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ ร้อยละ 45.3 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 21.3 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 22.4 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 25.8 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 24.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 74.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.6 อาชีพเกษตรกร
ร้อยละ 15.9 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 13.9 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 14.1 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 10.7 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.2 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.3 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 2.3 ระบุว่างงาน
นอกจากนี้ ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 72.2 อยู่นอกเขตเทศบาล และร้อยละ 27.8 อยู่ในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาบทสรุปประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 40.3
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 13.6
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 27.1
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ / บางสัปดาห์ไม่ได้ติดตาม 13.2
5 ไม่ได้ติดตาม 5.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เหตุการณ์ที่เป็นการลดทอนความนิยมของประชาชนต่อรัฐบาล
ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เหตุการณ์ที่เป็นการลดทอนความนิยมของประชาชนต่อรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 ความขัดแย้งทางการเมือง ความแตกแยกของคนในสังคม 27.8
2 ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสินค้าราคาสูงขึ้น 17.4
3 การทุจริต คอรัปชั่น 15.1
4 ปัญหาความสงสัยต่อคนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี 13.2
5 ปัญหาการไม่ระมัดระวังคำพูดของนายกรัฐมนตรี 7.2
6 ปัญหาด้านคุณธรรมของนายกรัฐมนตรี 6.4
7 การไม่ทำตามนโยบายที่ให้ไว้กับประชาชนเรื่องการปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น 5.7
8 การกล่าวถึงผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ 5.2
9 ปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรม 5.2
10 ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 4.9
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ผลงานรัฐบาลชุดปัจจุบันที่ได้รับความศรัทธาเชื่อถือจากประชาชน
(ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุติดตามข่าวและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ผลงานรัฐบาลชุดปัจจุบันที่ได้รับความศรัทธาเชื่อถือจากประชาชน ค่าร้อยละ
1 การแก้ปัญหายาเสพติด 33.3
2 การปราบปรามผู้มีอิทธิพล 30.3
3 การแก้ปัญหาความยากจน 21.1
4 การจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบรอบ 60 ปี 12.8
5 โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 8.2
6 โครงการสามสิบบาทรักษาทุกโรค 5.6
7 การเปิดสนามบินสุวรรณภูมิ 4.2
8 การศึกษา 3.5
9 การแก้ปัญหาหนี้สินของประชาชน 3.5
10 การส่งเสริมคุณภาพเยาวชนไทย 3.5
ตารางที่ 4 แสดงผลประมาณการจำนวนประชาชนผู้จะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ร้อยละ จำนวนคน
1 ไป 84.3 37,946,238
2 ไม่ไป 10.3 4,636,373
3 ไม่แนใจ 5.4 2,430,720
รวมทั้งสิ้น 100.0 45,013,331
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุลักษณะการเลือก ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง (เฉพาะคนที่ตอบว่าจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง)
ลำดับที่ ลักษณะการเลือก ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ค่าร้อยละ
1 เลือกพรรคการเมืองที่ชอบ 70.8
2 กาช่องไม่ลงคะแนน (No vote) 29.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงผลประมาณการจำนวนประชาชนที่เห็นสนับสนุนให้รัฐบาลทำงานต่อกับเสียงสนับสนุนพรรคร่วมฝ่ายค้าน
ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง (เฉพาะคนที่ตอบว่าจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง)
ลำดับที่ ลักษณะการสนับสนุนของประชาชน ร้อยละ จำนวนคน
1 สนับสนุนรัฐบาลทำงานต่อ 48.7 13,091,453
2 สนับสนุนพรรคร่วมฝ่ายค้าน 42.5 11,421,818
3 สนับสนุนกลุ่มการเมืองอื่นๆ 8.8 2,352,667
รวมทั้งสิ้น 100.0 26,865,938
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเหตุผลที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกพรรคการเมือง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เหตุผลที่ใช้ตัดสินใจเลือกพรรคการเมือง ร้อยละ
1 ดูที่ผลงานที่ผ่านมา เช่น ผลงานแก้ปัญหาให้ประชาชน การตรวจสอบรัฐบาล 56.8
2 ดูที่นโยบาย เช่น นโยบายดี เป็นรูปธรรม ตรงความต้องการ เป็นต้น 50.9
3 ดูที่ตัวบุคคล เช่น ทำงานดี เข้าถึงชาวบ้าน 47.2
4 ดูที่อนาคตหลังเลือกตั้ง เช่น จะวุ่นวายอีกหรือไม่ ความรักความสามัคคีของคนในชาติ การยอมรับได้ของทุกฝ่าย เป็นต้น 28.5
5 กาช่องไม่ลงคะแนน เพราะ ยังไม่มีตัวเลือกที่ดี ยังไม่เห็นนโยบายชัดเจน เลือกไปทะเลาะกันอีก เป็นต้น 27.1
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ด้วยสถานการณ์การเมืองและการเลือกตั้ง โดยศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 33 จังหวัด ทุกภาคของประเทศ ทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขต
เทศบาล จำนวนทั้งสิ้น 11,091 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 10 — 29 กรกฎาคม ที่ผ่านมา พบว่า
เมื่อสอบถามถึงการติดตามข่าวการเมืองช่วง 30 วันที่ผ่านมาก่อนวันสำรวจ พบว่า ร้อยละ 53.9 ติดตามเป็นประจำ อย่างน้อย 3
วันขึ้นไปต่อสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 27.1 ติดตาม 1 - 2 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 13.2 ติดตามน้อยกว่า 1 วัน ต่อสัปดาห์ หรือบางสัปดาห์ไม่
ได้ติดตาม และร้อยละ 5.8 ที่ไม่ได้ติดตามเลย
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ความคิดเห็นของประชาชนต่อเหตุการณ์ที่ลดทอนความนิยมต่อรัฐบาล เมื่อถามและเปิดกว้างให้ประชาชนตอบเอง
ผลสำรวจพบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 27.8 ระบุเป็นเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองและความแตกแยกของ คนในสังคม อันดับสองหรือร้อยละ
17.4 เป็นเรื่องปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสินค้าราคาสูงขึ้น ร้อยละ 15.1 ระบุเป็นเรื่องการทุจริต คอรัปชั่น ร้อยละ 13.2 เป็นเรื่องปัญหาความสงสัยคน
ใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 7.2 ระบุเป็นเรื่องการไม่ระมัดระวังคำพูดของนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 6.4 เป็นเรื่องปัญหาด้านคุณธรรมของนายก
รัฐมนตรี ร้อยละ 5.7 เป็นเรื่องการไม่ได้ทำตามนโยบายปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 5.2 ระบุเรื่องการกล่าวพาดพิงผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ
ร้อยละ 5.2 ระบุเรื่องปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรม และร้อยละ 4.9 ระบุเป็นปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้
ดร.นพดล กล่าวว่า เป็นที่น่าสังเกตว่า ปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้เป็นปัญหาสำคัญอันดับแรกที่ลดความนิยมของประชาชนต่อรัฐบาล แต่กลายเป็น
เรื่องของความขัดแย้งทางการเมืองและความแตกแยกของคนในสังคม ซึ่งหากเหตุการณ์ยืดเยื้อยาวนานย่อมจะส่งผลทำให้ภาพลักษณ์ของรัฐบาลในสายตา
ประชาชนจะแย่ลงมากกว่าเดิม ดังนั้นรัฐบาลจำเป็นต้องแสดงความจริงใจและเอาจริง เอาจังในการสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน
ไม่ใช่ความสมานฉันท์ในเรื่องผลประโยชน์ทางการเมืองกับ พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจครั้งนี้ยัง พบว่า ผลงานของรัฐบาลที่ประชาชนให้ความนิยม อันดับแรกหรือร้อยละ 33.3 ได้แก่ การแก้ปัญหายา
เสพติด รองลงมาคือร้อยละ 30.3 เป็นการปราบปรามผู้มีอิทธิพล ร้อยละ 21.1 ได้แก่ การแก้ปัญหาความยากจน ร้อยละ 12.8 เป็นผลงานที่รัฐบาล
จัดงานเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบรอบ 60 ปีของในหลวง ร้อยละ 8.2 เป็นโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ร้อยละ 5.6 ได้แก่ โครงการสามสิบ
บาทรักษาทุกโรค ร้อยละ 4.2 ได้แก่ การเปิดสนามบินสุวรรณภูมิ และสามอันดับสุดท้ายได้แก่ ผลงานด้านการศึกษา การแก้ปัญหาหนี้สินของประชาชน
และการส่งเสริมคุณภาพเยาวชนไทย ได้ร้อยละ 3.5 เท่ากัน
เมื่อสอบถามถึงความตั้งใจที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ผลประมาณการตามหลักสถิติแบบการสุ่มหลายชั้นพบว่าประชาชนจะ
ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสูงถึง 37,946,238 คน หรือเกือบสามสิบแปดล้านคน คิดเป็นร้อยละ 84.3 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด ในขณะที่ไม่ไปเลือกตั้ง
ประมาณเกือบห้าล้านคน หรือร้อยละ 10.3 และไม่แน่ใจ 2.4 ล้านคน หรือร้อยละ 5.4 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด (ขอบเขตความคลาดเคลื่อน +/-
ร้อยละ 7)
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ในกลุ่มคนที่ระบุจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งเกินกว่า 1 ใน 4 หรือร้อยละ 29.2 ระบุว่าจะกาช่องไม่ลงคะแนน ในขณะ
ที่ร้อยละ 70.8 ระบุจะเลือกพรรคการเมืองที่ชอบ
ดร.นพดล กล่าวว่า ถึงแม้พรรคการเมืองต่างๆ แสดงความประสงค์ชัดเจนลงสมัครรับเลือกตั้งในสนามแข่งขันที่จะมาถึงวันที่ 15 ตุลาคม
นี้ แต่ประชาชนจำนวนมากยังจะกาในช่องไม่ลงคะแนน (vote for no vote) ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ประชาชนจำนวนมาก ไม่เลือกพรรครัฐบาลและไม่
เลือกพรรคร่วมฝ่ายค้าน สาเหตุสำคัญที่สัมภาษณ์เพิ่มเติมมีอย่างน้อยสามประการคือ ประการแรก ประชาชนกลุ่มนี้ยังไม่มีพรรคการเมืองที่ชอบหรือไว้วาง
ใจ ประการที่สอง นโยบายต่างๆ ของพรรคการเมืองขณะนี้ไม่ตรงกับ ความต้องการ และประการที่สาม ประชาชนมองว่านักการเมืองมีแต่จะสร้าง
ความวุ่นวายให้เกิดขึ้นกับประเทศ
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง พรรคการเมืองเดิมน่าจะได้จัดตั้งรัฐบาล แต่เสียงสนับสนุนจากประชาชน ผู้มีสิทธิเลือก
ตั้งลดลงไปอย่างมาก จากการประมาณการจำนวนผู้สนับสนุนให้รัฐบาลทำงานต่อไปในการสำรวจล่าสุดพบว่า มีอยู่ประมาณ 13.1 ล้านคน ในขณะที่สนับ
สนุนพรรคร่วมฝ่ายค้านตรวจสอบรัฐบาลมีมากถึง 11.4 ล้านคน ภาพที่ค้นพบครั้งนี้น่าจะบอกสังคมไทยโดยภาพรวมว่า ความสมดุลทางการเมืองกำลังจะ
เกิด รัฐบาลจะทำอะไรจะพูดอะไรตามอำเภอใจหรือตามอารมณ์ส่วนตัวต่อไปไม่ได้อีกแล้ว อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่อยู่กลางๆ หรือตั้งใจจะกาช่องไม่
ลงคะแนนก็มีสูงมากถึง 11 ล้านคนเช่นกัน คนกลุ่มนี้จึงเป็นฐานมวลชนที่สำคัญในการกำหนดชี้ชะตาประเทศไทย
สำหรับประเด็นที่น่าพิจารณาอีกประการหนึ่งคือ เหตุผลที่ประชาชนใช้ในการตัดสินใจเลือกพรรคการเมือง ซึ่งผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือ
ร้อยละ 56.8 ใช้ผลงานที่ผ่านมา เช่น ผลงานแก้ปัญหาให้ประชาชน และการตรวจสอบรัฐบาลเป็นเหตุผลสำคัญที่ประชาชนใช้ในการตัดสินใจเลือกพรรค
การเมือง รองลงมาคือร้อยละ 50.9 ดูที่นโยบายว่ามีนโยบายดี เป็นรูปธรรม ตรงความต้องการ ร้อยละ 47.2 ดูที่ตัวบุคคลเช่นทำงานดี เข้าถึงชาว
บ้าน ร้อยละ 28.5 ดูที่อนาคตหลังเลือกตั้งว่าจะวุ่นวายอีกหรือไม่ ความรักความสามัคคีของคนในชาติ และการยอมรับได้ของทุกฝ่าย ในขณะที่ร้อย
ละ 27.1 ตั้งใจจะกาช่องไม่ลงคะแนน เพราะยังไม่มีตัวเลือกที่ดี ยังไม่เห็นนโยบายชัดเจน และเลือกไปก็ทะเลาะกันอีก เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า สถานการณ์การเมืองขณะนี้ส่งผลทำให้ประชาชนตื่นตัวจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างมาก ถ้าสภาพแวดล้อมทางการเมือง
เป็นเช่นปัจจุบัน คาดว่าคนจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากเป็นประวัติการณ์เลยทีเดียว แต่ที่น่าเป็นห่วงคือกลุ่มคนที่ตั้งใจ จะกาช่องไม่ลงคะแนน เพราะจะ
ทำให้คะแนนเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ในการคิดคำนวนจำนวนที่นั่ง ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อ อาจทำให้จำนวนที่นั่ง ส.ส. ไม่เป็นตัวแทนประชาชน
ได้อย่างแท้จริง ดังนั้นประชาชนควรติดตามข่าวการเมืองใกล้ชิด ถ้าอ่านหนังสือพิมพ์ก็ควรอ่านในรายละเอียดมากขึ้นไม่ควรฟัง ดู และไม่ควรอ่านเฉพาะ
หัวข้อข่าวหรือฟังเขาเล่ามาเท่านั้น เพราะจะทำให้ขาดข้อมูลอย่างครบถ้วนประกอบการตัดสินใจในวันเลือกตั้ง
“ฝ่ายการเมืองเองควรปรับวิธีการหาเสียงเป็นไปในเชิงสร้างสรรค์ หลังการเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้ว ควรเร่งปฏิรูปการเมืองใหม่ โดยวาง
ระบบการเมืองที่ประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง ในอนาคตอันใกล้ประชาชนส่วนใหญ่ควรรู้สึกว่า ใครเป็นรัฐบาลก็ได้เพราะ
ระบบโดยรวมเหมือนกัน การเมืองไทยไม่ควรเป็นการเมืองแบบโยนความผิดและทำลายล้าง แต่ควรเป็นการเมืองที่สร้างสรรค์ ไม่สร้างความเคลือบ
แคลงสงสัยให้กับหมู่ประชาชน การเปลี่ยนรัฐบาลไม่ควรทำให้ประชาชนรู้สึกว่ากำลังจะสูญเสียสิ่งที่ตนเองรักและศรัทธา เพราะนั่นจะสร้างความแตกแยก
ของคนในชาติ แต่การเปลี่ยนรัฐบาลน่าจะทำให้ประชาชนรู้สึกว่า ถึงวาระต้องเปลี่ยน แต่นโยบายดีๆ ยังคงอยู่ต่อไปเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของ
ประชาชน” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อข่าวหรือเหตุการณ์บวกและลบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล
2. เพื่อสำรวจลักษณะการเลือกตั้งของประชาชนในพื้นที่ที่ถูกศึกษา
3. เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาตัดสินใจของบุคคลในสถาบันการเมืองใช้ดำเนินการเป็นประโยชน์ต่อการปฏิรูปการ
เมืองและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง ผลการหยั่งเสียงสาธารณชนเบื้องต้นว่าด้วยสถานการณ์
การเมืองและการเลือกตั้ง : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ ทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล โดยมีระยะเวลาการ
ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10 — 29 กรกฎาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 33 จังหวัดทุกภาคของประเทศได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี
สมุทรปราการ ปทุมธานี เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร ลพบุรี อยุธยา ชลบุรี อุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี
เพชรบุรี ตราด ขอนแก่น นครราชสีมา หนองบัวลำภู นครพนม หนองคาย ยโสธร อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ อุดรธานี ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช
สุราษฎร์ธานี และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 11,091 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ ร้อยละ 45.3 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 21.3 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 22.4 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 25.8 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 24.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 74.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.6 อาชีพเกษตรกร
ร้อยละ 15.9 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 13.9 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 14.1 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 10.7 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.2 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.3 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 2.3 ระบุว่างงาน
นอกจากนี้ ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 72.2 อยู่นอกเขตเทศบาล และร้อยละ 27.8 อยู่ในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาบทสรุปประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 40.3
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 13.6
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 27.1
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ / บางสัปดาห์ไม่ได้ติดตาม 13.2
5 ไม่ได้ติดตาม 5.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เหตุการณ์ที่เป็นการลดทอนความนิยมของประชาชนต่อรัฐบาล
ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เหตุการณ์ที่เป็นการลดทอนความนิยมของประชาชนต่อรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 ความขัดแย้งทางการเมือง ความแตกแยกของคนในสังคม 27.8
2 ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสินค้าราคาสูงขึ้น 17.4
3 การทุจริต คอรัปชั่น 15.1
4 ปัญหาความสงสัยต่อคนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี 13.2
5 ปัญหาการไม่ระมัดระวังคำพูดของนายกรัฐมนตรี 7.2
6 ปัญหาด้านคุณธรรมของนายกรัฐมนตรี 6.4
7 การไม่ทำตามนโยบายที่ให้ไว้กับประชาชนเรื่องการปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น 5.7
8 การกล่าวถึงผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ 5.2
9 ปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรม 5.2
10 ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 4.9
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ผลงานรัฐบาลชุดปัจจุบันที่ได้รับความศรัทธาเชื่อถือจากประชาชน
(ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุติดตามข่าวและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ผลงานรัฐบาลชุดปัจจุบันที่ได้รับความศรัทธาเชื่อถือจากประชาชน ค่าร้อยละ
1 การแก้ปัญหายาเสพติด 33.3
2 การปราบปรามผู้มีอิทธิพล 30.3
3 การแก้ปัญหาความยากจน 21.1
4 การจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบรอบ 60 ปี 12.8
5 โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 8.2
6 โครงการสามสิบบาทรักษาทุกโรค 5.6
7 การเปิดสนามบินสุวรรณภูมิ 4.2
8 การศึกษา 3.5
9 การแก้ปัญหาหนี้สินของประชาชน 3.5
10 การส่งเสริมคุณภาพเยาวชนไทย 3.5
ตารางที่ 4 แสดงผลประมาณการจำนวนประชาชนผู้จะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ร้อยละ จำนวนคน
1 ไป 84.3 37,946,238
2 ไม่ไป 10.3 4,636,373
3 ไม่แนใจ 5.4 2,430,720
รวมทั้งสิ้น 100.0 45,013,331
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุลักษณะการเลือก ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง (เฉพาะคนที่ตอบว่าจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง)
ลำดับที่ ลักษณะการเลือก ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ค่าร้อยละ
1 เลือกพรรคการเมืองที่ชอบ 70.8
2 กาช่องไม่ลงคะแนน (No vote) 29.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงผลประมาณการจำนวนประชาชนที่เห็นสนับสนุนให้รัฐบาลทำงานต่อกับเสียงสนับสนุนพรรคร่วมฝ่ายค้าน
ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง (เฉพาะคนที่ตอบว่าจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง)
ลำดับที่ ลักษณะการสนับสนุนของประชาชน ร้อยละ จำนวนคน
1 สนับสนุนรัฐบาลทำงานต่อ 48.7 13,091,453
2 สนับสนุนพรรคร่วมฝ่ายค้าน 42.5 11,421,818
3 สนับสนุนกลุ่มการเมืองอื่นๆ 8.8 2,352,667
รวมทั้งสิ้น 100.0 26,865,938
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเหตุผลที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกพรรคการเมือง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เหตุผลที่ใช้ตัดสินใจเลือกพรรคการเมือง ร้อยละ
1 ดูที่ผลงานที่ผ่านมา เช่น ผลงานแก้ปัญหาให้ประชาชน การตรวจสอบรัฐบาล 56.8
2 ดูที่นโยบาย เช่น นโยบายดี เป็นรูปธรรม ตรงความต้องการ เป็นต้น 50.9
3 ดูที่ตัวบุคคล เช่น ทำงานดี เข้าถึงชาวบ้าน 47.2
4 ดูที่อนาคตหลังเลือกตั้ง เช่น จะวุ่นวายอีกหรือไม่ ความรักความสามัคคีของคนในชาติ การยอมรับได้ของทุกฝ่าย เป็นต้น 28.5
5 กาช่องไม่ลงคะแนน เพราะ ยังไม่มีตัวเลือกที่ดี ยังไม่เห็นนโยบายชัดเจน เลือกไปทะเลาะกันอีก เป็นต้น 27.1
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-