ที่มาของโครงการ
ในที่สุดการถ่ายสดเรียลลิตี้โชว์ภารกิจแก้ไขปัญหาความยากจนของนายกรัฐมนตรีที่อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 16 -
20 มกราคม 2549 ก็ได้เสร็จสิ้นลงท่ามกลางการวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่ายทั้งนี้เสียงวิจารณ์หรือทรรศนะที่สะท้อนออกมาต่อการจัดการถ่ายทอดสดดัง
กล่าวนั้น มีทั้งผลดี-ผลเสีย ข้อควรปรับปรุง และที่สำคัญที่สุดซึ่งเป็นที่จับตามองของทุกฝ่ายก็คือการเปลี่ยนแปลงคะแนนนิยมของนายกรัฐมนตรีในสายตา
ประชาชนหลังเสร็จสิ้นภารกิจดังกล่าว
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหา
นครและปริมณฑล ถึงการติดตามข่าว และประเด็นความคิดเห็นที่มีต่อเรียลลิตี้โชว์ภารกิจของนายกรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาความยากจนที่เพิ่งเสร็จ
สิ้นลงไป ด้วยการจัดส่งอาจารย์และเจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัย
ทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการติดตามชมการถ่ายทอดสดภารกิจของนายกรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาความยากจน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อข้อดี-ข้อเสียของการถ่ายทอดสดภารกิจของ
นายกรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาความยากจน
3. เพื่อสำรวจความความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์แก้ไขปัญหาความ
ยากจนและความนิยมของนายกรัฐมนตรี
4. เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับหน่วยงาน/สถาบันการเมืองที่เกี่ยวข้องนำไปเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ
ดำเนินการใดๆที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ปิดฉากเรียลลิตี้โชว์ภารกิจแก้ไขปัญหาความยากจน
กับคะแนนนิยมในตัวนายกรัฐมนตรี: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ระยะเวลาการดำเนินโครงการ 20-21
มกราคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่
ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายที่ได้จากการสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,531 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ไม่เกินร้อยละ 2.5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.3 เป็นหญิง
ร้อยละ 49.7 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 14.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.3 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 26.4 อายุระหว่าง 30—39 ปี
และร้อยละ 14.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 71.6 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 5.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงอาชีพประจำของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 26.9 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.4 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 20.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 12.5 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.7 ระบุเป็นนักศึกษา
ร้อยละ 7.8 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 3.3 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่า ผลสำรวจเรื่อง “ปิดฉากเรียลลิตี้โชว์ภารกิจแก้ไขปัญหาความยากจนกับ
คะแนนนิยมในตัวนายกรัฐมนตรี” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้ง
สิ้น 1,531 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 20-21 มกราคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่าง ถึงการติดตามชมข่าวการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ภารกิจนายกรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาความยากจน
ซึ่งผลสำรวจพบว่าตัวอย่างร้อยละ 56.9 ระบุติดตาม ร้อยละ43.1 ระบุไม่ได้ติดตาม ทั้งนี้ตัวอย่างที่ติดตามชมร้อยละ 75.9 ระบุติดตามข่าวทาง
สถานีโทรทัศน์ที่เป็นฟรีทีวี (ช่อง 3 5 7 9 11 และ itv) ร้อยละ 36.7 ระบุติดตามข่าวทางหนังสือพิมพ์ และร้อยละ 6.8 ระบุติดตามชมผ่านทาง
ยูบีซี ช่อง 16
นอกจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงข้อดีของการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ภารกิจนายกรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาความยากจน
ดังกล่าวนั้นพบว่าตัวอย่างร้อยละ 48.4 ระบุทำให้ได้เห็นสภาพที่แท้จริงของปัญหาความยากจน ร้อยละ 18.0 ระบุทำให้เศรษฐกิจชุมชนของพื้นที่อำเภอ
อาจสามารถดีขึ้น และร้อยละ 12.4 ระบุได้เห็นรูปแบบการทำงานของนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ผลการสำรวจพบว่าผลเสียของการจัดการถ่ายทอดสด
เรียลลิตี้โชว์ภารกิจนายกรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาความยากจนในครั้งนี้ได้แก่ ถูกมองว่าเป็นการสร้างภาพ/ถูกมองว่าเป็นการแสดง/ถูกมองว่ามีการจัด
ฉาก (ร้อยละ36.2 ) รองลงมาคือ ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณและบุคลากรโดยใช่เหตุ (ร้อยละ32.6 ) และไม่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนได้
ทั้งหมด/แก้ปัญหาได้เฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น (ร้อยละ 16.5) ทั้งนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้ให้ตัวอย่างเปรียบเทียบผลดี-ผลเสียของการถ่ายทอดสดเรียลลิ
ตี้โชว์ภารกิจนายกรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาความยากจน พบว่าตัวอย่างร้อยละ 56.5 ระบุมีผลดีมากกว่า ในขณะที่ร้อยละ 13.4 ระบุมีผลเสีย
มากกว่า และร้อยละ 30.1 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญอย่างยิ่งที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งคือความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ภารกิจของนายกรัฐมนตรี
ในการแก้ไขปัญหาความยากจน กับความนิยมในตัวนายกรัฐมนตรีนั้น พบว่าตัวอย่างร้อยละ 44.3 ระบุทำให้ความนิยมดีขึ้น ร้อยละ 27.5 ระบุเหมือน
เดิม ร้อยละ 7.6 ระบุแย่ลง และร้อยละ 20.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีภารกิจของนายกรัฐมนตรีเรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจนที่ อ.อาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ดที่ควรต้อง
แก้ไขปรับปรุงนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 25.4 ระบุต้องปรับปรุงรูปแบบการทำงานให้ข้าราชการแต่ละพื้นที่ สามารถปฏิบัติได้จริงๆ ร้อยละ
23.9 ระบุนายกรัฐมนตรีไม่ควรแจกเงินให้ประชาชนเพราะเป็นภาพที่ไม่เหมาะสม และร้อยละ 22.1 ระบุนายกรัฐมนตรีต้องระมัดระวังคำพูดให้
มากกว่านี้ ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงกรณีควรมีการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ภารกิจของนายกรัฐมนตรีเรื่องการแก้ไข
ปัญหาความยากจนในพื้นที่อื่นด้วยหรือไม่นั้น พบว่า ตัวอย่างเกินกว่า 2 ใน 3 คือร้อยละ 73.7 ระบุควร ในขณะที่ร้อยละ 11.1 ระบุไม่ควร และ
ร้อยละ 15.2 ไม่ระบุความคิดเห็น
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ภารกิจ
ของนายกรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาความยากจน
ลำดับที่ การติดตามชม ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 56.9
2 ไม่ได้ติดตาม 43.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสื่อที่ติดตามข่าวการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์
ภารกิจของนายกรัฐมนตรีเรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สื่อที่ติดตามชม ค่าร้อยละ
1 สถานีโทรทัศน์ที่เป็นฟรีทีวี (ช่อง 3 5 7 9 11 และไอทีวี) 75.9
2 หนังสือพิมพ์ 36.7
3 วิทยุ 9.1
4 ยูบีซี ช่อง 16 6.8
5 อินเทอร์เน็ต 2.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผลดีของการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ภารกิจ
ของนายกรัฐมนตรีเรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจน(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ผลดีของการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ภารกิจของนายกรัฐมนตรีเรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจน ค่าร้อยละ
1 ได้เห็นสภาพที่แท้จริงของปัญหาความยากจน 48.4
2 ทำให้เศรษฐกิจชุมชนของพื้นที่อำเภออาจสามารถดีขึ้น 18.0
3 ได้เห็นรูปแบบการทำงานของนายกรัฐมนตรี 12.4
4 ทำให้ข้าราชการได้ศึกษาวิธีการทำงานเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนของนายกรัฐมนตรี 18.9
5 ทำให้ประชาชนมีทัศนคติที่ดีต่อนายกรัฐมนตรีมากขึ้น 9.8
6 ทำให้ประชาชนมีความเข้าใจการใช้ชีวิตแบบพอเพียงมากขึ้น 9.8
7 อื่นๆอาทิ ทำให้ข้าราชการมีความตั้งใจในการทำงานมากขึ้น /ข้าราชการมีตัวอย่างในการทำงาน เป็นต้น 4.5
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผลเสียของการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ภารกิจ
ของนายกรัฐมนตรีเรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจน(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ผลเสียของการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ภารกิจของนายกรัฐมนตรีเรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจน ค่าร้อยละ
1 ถูกมองว่าเป็นการสร้างภาพ/ถูกมองว่าเป็นการแสดง/ถูกมองว่ามีการจัดฉาก 36.2
2 ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณและบุคลากรโดยใช่เหตุ 32.6
3 ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนได้ทั้งหมด/แก้ปัญหาได้เฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น 16.5
4 เป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ/แก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด 17.0
5 ไม่สามารถนำไปใช้เป็นแบบอย่างในการทำงานจริงได้/ปฏิบัติได้ยาก 5.8
6 อื่นๆ อาทิ ทำให้ประชาชนสับสนในการทำงานของรัฐบาล/ทำให้เกิดความขัดแย้งในกลุ่มข้าราชการ 7.9
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นในการเปรียบเทียบผลดีและผลเสียของ
การถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ภารกิจของนายกรัฐมนตรีเรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจน
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 มีผลดีมากกว่า 56.5
2 มีผลเสียมากกว่า 13.4
3 ไม่มีความเห็น 30.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีผลของการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์
ภารกิจของนายกรัฐมนตรีเรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจนต่อความนิยมในตัว
นายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ทำให้ความนิยมดีขึ้น 44.3
2 เหมือนเดิม 27.5
3 แย่ลง 7.6
4 ไม่มีความเห็น 20.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุภารกิจของนายกรัฐมนตรีเรื่องการแก้ไขปัญหาความ
ยากจนที่ อ.อาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ดที่ควรต้องแก้ไขปรับปรุง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ควรต้องแก้ไขปรับปรุง ค่าร้อยละ
1 ต้องปรับปรุงรูปแบบการทำงานให้ข้าราชการแต่ละพื้นที่ สามารถปฏิบัติได้จริงๆ 25.4
2 นายกรัฐมนตรีไม่ควรแจกเงินให้ประชาชนเพราะเป็นภาพที่ไม่เหมาะสม 23.9
3 นายกรัฐมนตรีต้องระมัดระวังคำพูดให้มากกว่านี้ 22.1
4 นายกรัฐมนตรีและคณะจะต้องปฏิบัติตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดีกับประชาชนในทุกๆด้าน 15.2
5 การเดินทางลงพื้นที่ไม่ควรเอิกเกริกเพื่อจะได้ให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ที่แท้จริงของชาวบ้าน 11.2
6 อื่นๆ อาทิ ควรเข้าถึงประชาชนให้มากกว่านี้ /ให้ข้าราชการได้มีโอกาสทดลองแก้ไขปัญหาให้มากขึ้น 8.7
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ภารกิจ
ของนายกรัฐมนตรีเรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจนควรจัดขึ้นในพื้นที่อื่นด้วยหรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควร 73.7
2 ไม่ควร 11.1
3 ไม่มีความคิดเห็น 15.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ในที่สุดการถ่ายสดเรียลลิตี้โชว์ภารกิจแก้ไขปัญหาความยากจนของนายกรัฐมนตรีที่อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 16 -
20 มกราคม 2549 ก็ได้เสร็จสิ้นลงท่ามกลางการวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่ายทั้งนี้เสียงวิจารณ์หรือทรรศนะที่สะท้อนออกมาต่อการจัดการถ่ายทอดสดดัง
กล่าวนั้น มีทั้งผลดี-ผลเสีย ข้อควรปรับปรุง และที่สำคัญที่สุดซึ่งเป็นที่จับตามองของทุกฝ่ายก็คือการเปลี่ยนแปลงคะแนนนิยมของนายกรัฐมนตรีในสายตา
ประชาชนหลังเสร็จสิ้นภารกิจดังกล่าว
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหา
นครและปริมณฑล ถึงการติดตามข่าว และประเด็นความคิดเห็นที่มีต่อเรียลลิตี้โชว์ภารกิจของนายกรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาความยากจนที่เพิ่งเสร็จ
สิ้นลงไป ด้วยการจัดส่งอาจารย์และเจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัย
ทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการติดตามชมการถ่ายทอดสดภารกิจของนายกรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาความยากจน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อข้อดี-ข้อเสียของการถ่ายทอดสดภารกิจของ
นายกรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาความยากจน
3. เพื่อสำรวจความความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์แก้ไขปัญหาความ
ยากจนและความนิยมของนายกรัฐมนตรี
4. เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับหน่วยงาน/สถาบันการเมืองที่เกี่ยวข้องนำไปเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ
ดำเนินการใดๆที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ปิดฉากเรียลลิตี้โชว์ภารกิจแก้ไขปัญหาความยากจน
กับคะแนนนิยมในตัวนายกรัฐมนตรี: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ระยะเวลาการดำเนินโครงการ 20-21
มกราคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่
ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายที่ได้จากการสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,531 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ไม่เกินร้อยละ 2.5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.3 เป็นหญิง
ร้อยละ 49.7 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 14.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.3 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 26.4 อายุระหว่าง 30—39 ปี
และร้อยละ 14.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 71.6 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 5.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงอาชีพประจำของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 26.9 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.4 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 20.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 12.5 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.7 ระบุเป็นนักศึกษา
ร้อยละ 7.8 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 3.3 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่า ผลสำรวจเรื่อง “ปิดฉากเรียลลิตี้โชว์ภารกิจแก้ไขปัญหาความยากจนกับ
คะแนนนิยมในตัวนายกรัฐมนตรี” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้ง
สิ้น 1,531 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 20-21 มกราคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่าง ถึงการติดตามชมข่าวการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ภารกิจนายกรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาความยากจน
ซึ่งผลสำรวจพบว่าตัวอย่างร้อยละ 56.9 ระบุติดตาม ร้อยละ43.1 ระบุไม่ได้ติดตาม ทั้งนี้ตัวอย่างที่ติดตามชมร้อยละ 75.9 ระบุติดตามข่าวทาง
สถานีโทรทัศน์ที่เป็นฟรีทีวี (ช่อง 3 5 7 9 11 และ itv) ร้อยละ 36.7 ระบุติดตามข่าวทางหนังสือพิมพ์ และร้อยละ 6.8 ระบุติดตามชมผ่านทาง
ยูบีซี ช่อง 16
นอกจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงข้อดีของการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ภารกิจนายกรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาความยากจน
ดังกล่าวนั้นพบว่าตัวอย่างร้อยละ 48.4 ระบุทำให้ได้เห็นสภาพที่แท้จริงของปัญหาความยากจน ร้อยละ 18.0 ระบุทำให้เศรษฐกิจชุมชนของพื้นที่อำเภอ
อาจสามารถดีขึ้น และร้อยละ 12.4 ระบุได้เห็นรูปแบบการทำงานของนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ผลการสำรวจพบว่าผลเสียของการจัดการถ่ายทอดสด
เรียลลิตี้โชว์ภารกิจนายกรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาความยากจนในครั้งนี้ได้แก่ ถูกมองว่าเป็นการสร้างภาพ/ถูกมองว่าเป็นการแสดง/ถูกมองว่ามีการจัด
ฉาก (ร้อยละ36.2 ) รองลงมาคือ ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณและบุคลากรโดยใช่เหตุ (ร้อยละ32.6 ) และไม่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนได้
ทั้งหมด/แก้ปัญหาได้เฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น (ร้อยละ 16.5) ทั้งนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้ให้ตัวอย่างเปรียบเทียบผลดี-ผลเสียของการถ่ายทอดสดเรียลลิ
ตี้โชว์ภารกิจนายกรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาความยากจน พบว่าตัวอย่างร้อยละ 56.5 ระบุมีผลดีมากกว่า ในขณะที่ร้อยละ 13.4 ระบุมีผลเสีย
มากกว่า และร้อยละ 30.1 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญอย่างยิ่งที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งคือความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ภารกิจของนายกรัฐมนตรี
ในการแก้ไขปัญหาความยากจน กับความนิยมในตัวนายกรัฐมนตรีนั้น พบว่าตัวอย่างร้อยละ 44.3 ระบุทำให้ความนิยมดีขึ้น ร้อยละ 27.5 ระบุเหมือน
เดิม ร้อยละ 7.6 ระบุแย่ลง และร้อยละ 20.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีภารกิจของนายกรัฐมนตรีเรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจนที่ อ.อาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ดที่ควรต้อง
แก้ไขปรับปรุงนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 25.4 ระบุต้องปรับปรุงรูปแบบการทำงานให้ข้าราชการแต่ละพื้นที่ สามารถปฏิบัติได้จริงๆ ร้อยละ
23.9 ระบุนายกรัฐมนตรีไม่ควรแจกเงินให้ประชาชนเพราะเป็นภาพที่ไม่เหมาะสม และร้อยละ 22.1 ระบุนายกรัฐมนตรีต้องระมัดระวังคำพูดให้
มากกว่านี้ ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงกรณีควรมีการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ภารกิจของนายกรัฐมนตรีเรื่องการแก้ไข
ปัญหาความยากจนในพื้นที่อื่นด้วยหรือไม่นั้น พบว่า ตัวอย่างเกินกว่า 2 ใน 3 คือร้อยละ 73.7 ระบุควร ในขณะที่ร้อยละ 11.1 ระบุไม่ควร และ
ร้อยละ 15.2 ไม่ระบุความคิดเห็น
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ภารกิจ
ของนายกรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาความยากจน
ลำดับที่ การติดตามชม ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 56.9
2 ไม่ได้ติดตาม 43.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสื่อที่ติดตามข่าวการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์
ภารกิจของนายกรัฐมนตรีเรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สื่อที่ติดตามชม ค่าร้อยละ
1 สถานีโทรทัศน์ที่เป็นฟรีทีวี (ช่อง 3 5 7 9 11 และไอทีวี) 75.9
2 หนังสือพิมพ์ 36.7
3 วิทยุ 9.1
4 ยูบีซี ช่อง 16 6.8
5 อินเทอร์เน็ต 2.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผลดีของการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ภารกิจ
ของนายกรัฐมนตรีเรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจน(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ผลดีของการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ภารกิจของนายกรัฐมนตรีเรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจน ค่าร้อยละ
1 ได้เห็นสภาพที่แท้จริงของปัญหาความยากจน 48.4
2 ทำให้เศรษฐกิจชุมชนของพื้นที่อำเภออาจสามารถดีขึ้น 18.0
3 ได้เห็นรูปแบบการทำงานของนายกรัฐมนตรี 12.4
4 ทำให้ข้าราชการได้ศึกษาวิธีการทำงานเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนของนายกรัฐมนตรี 18.9
5 ทำให้ประชาชนมีทัศนคติที่ดีต่อนายกรัฐมนตรีมากขึ้น 9.8
6 ทำให้ประชาชนมีความเข้าใจการใช้ชีวิตแบบพอเพียงมากขึ้น 9.8
7 อื่นๆอาทิ ทำให้ข้าราชการมีความตั้งใจในการทำงานมากขึ้น /ข้าราชการมีตัวอย่างในการทำงาน เป็นต้น 4.5
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผลเสียของการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ภารกิจ
ของนายกรัฐมนตรีเรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจน(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ผลเสียของการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ภารกิจของนายกรัฐมนตรีเรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจน ค่าร้อยละ
1 ถูกมองว่าเป็นการสร้างภาพ/ถูกมองว่าเป็นการแสดง/ถูกมองว่ามีการจัดฉาก 36.2
2 ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณและบุคลากรโดยใช่เหตุ 32.6
3 ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนได้ทั้งหมด/แก้ปัญหาได้เฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น 16.5
4 เป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ/แก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด 17.0
5 ไม่สามารถนำไปใช้เป็นแบบอย่างในการทำงานจริงได้/ปฏิบัติได้ยาก 5.8
6 อื่นๆ อาทิ ทำให้ประชาชนสับสนในการทำงานของรัฐบาล/ทำให้เกิดความขัดแย้งในกลุ่มข้าราชการ 7.9
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นในการเปรียบเทียบผลดีและผลเสียของ
การถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ภารกิจของนายกรัฐมนตรีเรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจน
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 มีผลดีมากกว่า 56.5
2 มีผลเสียมากกว่า 13.4
3 ไม่มีความเห็น 30.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีผลของการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์
ภารกิจของนายกรัฐมนตรีเรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจนต่อความนิยมในตัว
นายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ทำให้ความนิยมดีขึ้น 44.3
2 เหมือนเดิม 27.5
3 แย่ลง 7.6
4 ไม่มีความเห็น 20.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุภารกิจของนายกรัฐมนตรีเรื่องการแก้ไขปัญหาความ
ยากจนที่ อ.อาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ดที่ควรต้องแก้ไขปรับปรุง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ควรต้องแก้ไขปรับปรุง ค่าร้อยละ
1 ต้องปรับปรุงรูปแบบการทำงานให้ข้าราชการแต่ละพื้นที่ สามารถปฏิบัติได้จริงๆ 25.4
2 นายกรัฐมนตรีไม่ควรแจกเงินให้ประชาชนเพราะเป็นภาพที่ไม่เหมาะสม 23.9
3 นายกรัฐมนตรีต้องระมัดระวังคำพูดให้มากกว่านี้ 22.1
4 นายกรัฐมนตรีและคณะจะต้องปฏิบัติตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดีกับประชาชนในทุกๆด้าน 15.2
5 การเดินทางลงพื้นที่ไม่ควรเอิกเกริกเพื่อจะได้ให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ที่แท้จริงของชาวบ้าน 11.2
6 อื่นๆ อาทิ ควรเข้าถึงประชาชนให้มากกว่านี้ /ให้ข้าราชการได้มีโอกาสทดลองแก้ไขปัญหาให้มากขึ้น 8.7
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ภารกิจ
ของนายกรัฐมนตรีเรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจนควรจัดขึ้นในพื้นที่อื่นด้วยหรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควร 73.7
2 ไม่ควร 11.1
3 ไม่มีความคิดเห็น 15.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-