เอแบคโพลล์: เสียงสะท้อนของสาธารณชนต่อการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 15 และบทบาทของผู้หญิงไทยในเวทีการเมือง

ข่าวผลสำรวจ Monday October 19, 2009 08:30 —เอแบคโพลล์

เสียงสะท้อนของสาธารณชนต่อการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 15 และบทบาทของผู้หญิงไทยในเวทีการเมือง กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” ที่เป็นการสำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิง ชั้นภูมิหลายชั้น และได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อทำการสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไว จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจ เรื่อง เสียงสะท้อน ของสาธารณชนต่อการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 15 และบทบาทของผู้หญิงไทยในเวทีการเมือง กรณีศึกษา ตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ หนองคาย ชัยภูมิ สุรินทร์ อุดรธานี ขอนแก่น นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 1,208 ครัวเรือน ดำเนินการสำรวจในวันที่ 17 ตุลาคมที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.6 ทราบข่าวการประชุม สุดยอดอาเซียนครั้งที่ 15 ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

และเมื่อถามถึงประโยชน์ความร่วมมือระหว่างประเทศที่สาธารณชนคนไทยอยากเห็นจากการประชุม ครั้งนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.9 อยากได้ประโยชน์แก้ปัญหาเศรษฐกิจร่วมกัน รองลงมาคือ ร้อยละ 84.8 พัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ร่วมกัน ร้อยละ 76.2 แก้ปัญหาแรงงานร่วมกัน ร้อยละ 70.8 พัฒนาพื้นที่ชายแดน ทำคุณประโยชน์ร่วมกัน ร้อยละ 69.0 แก้ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติร่วมกัน ร้อยละ 68.2 ระบุเรื่องการส่งออก สินค้าระหว่างกลุ่ม ร้อยละ 67.1 อยากให้แก้ปัญหาผู้อพยพ ผู้ลี้ภัยร่วมกัน ร้อยละ 65.4 อยากเห็นประโยชน์ด้าน วัฒนธรรม ประเพณีร่วมกัน และร้อยละ 55.1 อยากให้แก้ปัญหาการค้าอาวุธข้ามชาติร่วมกัน ตามลำดับ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.5 ยังระบุถึงความจำเป็นต้องมีการร่วมมือกันของกลุ่มผู้นำอาเซียนเพื่อพัฒนา ประเทศ ในขณะที่ร้อยละ 3.2 เท่านั้นที่ไม่เห็นถึงความจำเป็น และร้อยละ 2.3 ระบุเฉยๆ และเมื่อถามถึง ความคาดหวังในความสำเร็จของการรวมตัวของกลุ่มผู้นำอาเซียนครั้งนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.5 ระบุ มีความหวังว่าจะประสบความสำเร็จ และร้อยละ 15.5 ไม่คิดว่าจะประสบความสำเร็จ

เมื่อถามว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจะเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้ได้ หรือไม่อย่างไร พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.4 คิดว่า ตนเองจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้การประชุมครั้งนี้สำเร็จ ลุล่วงไปด้วยดี โดยในกลุ่มนี้ร้อยละ 95.4 จะไม่ก่อความวุ่นวาย ร้อยละ 81.8 จะช่วยสอดส่องดูแล ร้อยละ 80.5 จะชักชวนคนอื่นให้นึกถึงประโยชน์ประเทศชาติ และร้อยละ 78.0 จะช่วยแจ้งเบาะแส ตามลำดับ อย่างไร ก็ตาม กว่า 1 ใน 5 หรือร้อยละ 22.6 ไม่คิดว่าตนเองจะเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนการประชุมสุดยอด อาเซียนครั้งนี้ให้สำเร็จลงไปได้

แต่เมื่อให้ประเมินความพอใจเบื้องต้นในการจัดเตรียมการประชุมครั้งนี้ จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้คะแนนความพอใจต่อประชาชนคนไทยทุกคนรวมทั้งสิ้น 8.10 คะแนน รองลงมาคือ ประชาชนในพื้นที่ได้ 7.82 คะแนน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้ 7.64 คะแนน ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนได้ 7.54 คะแนน และนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีต่างประเทศ ได้ 6.51 คะแนน แต่กลุ่มผู้ชุมนุมในช่วงประชุมอาเซียน ได้เพียง 3.71 คะแนน

อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.9 คิดว่าการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 15 นี้จะประสบความสำเร็จลงได้ด้วยดี ในขณะที่ร้อยละ 9.1 คิดว่าไม่ประสบความสำเร็จ ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.2 เห็นด้วยกับการประกาศ พรบ.ความมั่นคงในพื้นที่ ที่มีการ จัดประชุมสุดยอดกลุ่มผู้นำอาเซียนครั้งนี้ ในขณะที่ ร้อยละ 17.5 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 4.3 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ ยังมีการสอบถามประเด็นอื่นในการสำรวจครั้งนี้ ถึงบทบาทสตรีไทยในเวทีการเมือง พบว่า ประชาชน ผู้ตอบแบบสอบถามมีจำนวนก่ำกึ่งกันคือ ร้อยละ 49.6 กับร้อยละ 50.4 ที่คิดว่า ผู้หญิงไทยจะมีบทบาททางการ เมืองทำให้บ้านเมืองสงบขึ้น ถ้ามีตัวแทนจำนวนผู้หญิงที่เป็น ส.ส. และ ส.ว. มากเท่าๆ กับจำนวนสมาชิกรัฐสภา ที่เป็นผู้ชาย แต่อีกครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามไม่คิดเช่นนั้น นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.7 ไม่คิดว่า ถ้าผู้หญิงได้เป็นนายกรัฐมนตรีแล้วจะโกงน้อยกว่าผู้ชาย ในขณะที่ ร้อยละ 40.3 คิดว่านายกรัฐมนตรีหญิงน่าจะโกง น้อยกว่า ผ.อ.เอแบคโพลล์ กล่าวถึงเสียงของประชาชนต่อการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 15 นี้ว่า ทุกอย่างคาดว่า น่าจะได้ผลสำเร็จออกมาดี เพราะประชาชนส่วนใหญ่เล็งเห็นถึงความจำเป็นและรับทราบถึงประโยชน์ที่จะได้รับ เพิ่มมากขึ้น ถ้าเปรียบเทียบผลสำรวจกับครั้งแรกๆ ที่เคยทำมา เพราะตอนแรก ประชาชนยังรู้จักการประชุมกลุ่ม ผู้นำอาเซียนน้อยมาก และแม้แต่เลขาธิการสมาคมอาเซียนคนไทย คือ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ก็ยังไม่เป็นที่รู้จัก กว้างขวาง แต่การสำรวจครั้งนี้พบว่า ส่วนใหญ่รู้จักและยังประเมินให้ความพอใจต่อการทำหน้าที่ในระดับพอใจ มากด้วย “อย่างไรก็ตาม ที่น่าเป็นห่วงคือ ในฝ่ายของเจ้าหน้าที่รัฐผู้ปฏิบัติตาม พรบ. ความมั่นคงในพื้นที่ว่าจะตอบสนอง เป้าหมายและความคาดหวังของประชาชนต่อการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งนี้ได้ดีเพียงไร เพราะฝ่ายของ ประชาชนส่วนใหญ่พร้อมให้ความร่วมมือร่วมแจ้งเบาะแสต่างๆ ถ้าหากเจ้าหน้าที่รัฐใส่ใจต่อการแจ้งเบาะแสของ ประชาชนได้ดีก็น่าจะทำให้การประชุมครั้งนี้สำเร็จลงได้ เพราะสาธารณชนคนไทยส่วนใหญ่รักสงบและไม่อยาก เห็นความวุ่นวายใดๆ เกิดขึ้นในสังคมอีกต่อไป แต่ให้ระวังกลุ่มคนที่นิยมแนวคิดหลักการที่เป็น พาราด็อกซ์ และกลุ่มที่ชอบใช้ทฤษฎีเกม เพื่อประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง” ดร.นพดล กล่าว จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 52.9 เป็นหญิง ร้อยละ 47.1 เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 8.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 22.4 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี ร้อยละ 20.4 อายุ ระหว่าง 30 — 39 ปี ร้อยละ 21.1 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี และ ร้อยละ 28.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 70.8 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี รองลงมาคือร้อยละ 24.7 สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี และร้อยละ 4.5 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 29.2 ระบุอาชีพ เกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 24.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 18.0 ระบุอาชีพพนัก งานบริษัทเอกชน ร้อยละ 11.2 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 7.0 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/ เกษียณอายุ ร้อยละ 6.2 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ในขณะที่ร้อยละ 3.6 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้ ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 15 ที่อำเภอหัวหิน

จ. ประจวบคีรีขันธ์

ลำดับที่          การรับทราบการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 15           ค่าร้อยละ
1          ทราบ           78.6
2          ไม่ทราบ             21.4

          รวมทั้งสิ้น          100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประโยชน์ความร่วมมือระหว่างประเทศที่อยากเห็นจากการประชุมสุดยอดอาเซียน

ในครั้งนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ลำดับที่                        ประโยชน์ความร่วมมือระหว่างประเทศที่อยากเห็นจากการประชุมสุดยอดอาเซียนในครั้งนี้          ค่าร้อยละ
1          แก้ปัญหาเศรษฐกิจ                              94.9
2          พัฒนาชีวิตความเป็นอยู่                           84.8
3          แก้ปัญหาแรงงาน                               76.2
4          ร่วมพัฒนาพั้นที่ชายแดน ทำคุณประโยชน์ร่วมกัน          70.8
5          แ ก้ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ                     69.0
6          การส่งออกสินค้าระหว่างกลุ่ม                      68.2
7          แก้ปัญหาผู้อพยพ ผู้ลี้ภัย                           67.1
8          ด้านวัฒนธรรม ประเพณี                          65.4
9          แก้การค้าอาวุธข้ามชาติ                          55.1

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีความจำเป็นที่จะต้องมีการร่วมมือกันของกลุ่มผู้นำสมาคม

ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ ผู้นำอาเซียน เพื่อการพัฒนาประเทศ

ลำดับที่          ความคิดเห็น          ค่าร้อยละ
1          คิดว่ามีความจำเป็น          94.5
2          ไม่มีความจำเป็น             3.2
3          เฉยๆ                     2.3

          รวมทั้งสิ้น                 100.0

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคาดหวังในความสำเร็จของการรวมตัวของผู้นำสมาคมประชาชาติ

แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ ผู้นำอาเซียน ในครั้งนี้

ลำดับที่          ความคาดหวัง          ค่าร้อยละ
1          มีความหวังว่าจะประสบความสำเร็จ           84.5
2          ไม่ประสบความสำเร็จ                     15.5

          รวมทั้งสิ้น                              100.0

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการเป็นส่วนหนึ่งที่ได้ช่วยสนับสนุนให้การประชุมสุดยอด

อาเซียนครั้งนี้ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

ลำดับที่          ความคิดเห็น          ค่าร้อยละ
1          คิดว่า ตนเองเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยได้ โดย.......                  77.4
                     -  ไม่ก่อความวุ่นวาย   ร้อยละ                      95.4
                     -  ช่วยสอดส่องดูแล     ร้อยละ                     81.8
  • ชักชวนคนอื่นๆ ให้นึกถึงประโยชน์ประเทศชาติ ร้อยละ 80.5
                     -  ช่วยแจ้งเบาะแสเจ้าหน้าที่รัฐ    ร้อยละ             78.0
2          ไม่คิดเช่นนั้น                                               22.6

          รวมทั้งสิ้น          100.0

ตารางที่ 6 แสดงคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อกลุ่มบุคคลที่มีส่วนในการจัดเตรียมการประชุมสุดยอดอาเซียนที่หัวหินครั้งนี้

(คะแนนความพึงพอใจเต็ม 10 คะแนน)

ลำดับที่          กลุ่มบุคคลที่มีส่วนในการจัดเตรียม
การประชุมสุดยอดอาเซียนที่หัวหินครั้งนี้          คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
1          ประชาชนคนไทยทุกคน                           8.10

2          กลุ่มประชาชนในพื้นที่                            7.82
3          นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี               7.64
4          ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน            7.54
5          นาย กษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีต่างประเทศ               6.51
6          กลุ่มผู้ชุมนุมในช่วงประชุมอาเซียน                   3.71

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความสำเร็จของการประชุมสุดยอดอาเซียนในครั้งนี้

ลำดับที่          ความคิดเห็น          ค่าร้อยละ
1          คิดว่าจะประสบความสำเร็จ           90.9
2          ไม่ประสบความสำเร็จ                9.1

          รวมทั้งสิ้น                        100.0

ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการประกาศกฎหมายความมั่นคงในพื้นที่ ที่มีการจัดประชุม

กลุ่มผู้นำประเทศอาเซียน

ลำดับที่          ความคิดเห็น          ค่าร้อยละ
1          เห็นด้วย                   78.2
2          ไม่เห็นด้วย                 17.5
3          ไม่ความคิดเห็น               4.3

          รวมทั้งสิ้น                  100.0

ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ บทบาทของผู้หญิงไทยที่จะทำให้บ้านเมืองสงบขึ้น

ถ้ามีตัวแทนจำนวนผู้หญิงที่เป็น สส. และ สว. มากเท่าๆ กับผู้ชาย

ลำดับที่          ความคิดเห็น          ค่าร้อยละ
1          คิดว่าทำให้บ้านเมืองสงบขึ้น   49.6
2          ไม่คิดเช่นนั้น              50.4

          รวมทั้งสิ้น                100.0

ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีถ้าผู้หญิงได้เป็นนายกรัฐมนตรี จะโกงน้อยกว่าผู้ชาย

ลำดับที่          ความคิดเห็น                      ค่าร้อยละ
1          คิดว่านายกรัฐมนตรีหญิงจะโกงน้อยกว่า          40.3
2          ไม่คิดเช่นนั้น                             59.7

          รวมทั้งสิ้น                               100.0

--เอแบคโพลล์--

-สส-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ