ที่มาของโครงการ
สืบเนื่องมาจากสถานการณ์ทางการเมืองของไทยในขณะนี้ ซึ่งอยู่ในสภาวะที่ยังไม่สามารถคาดเดาได้ว่า จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป ทำให้ความ
เคลื่อนไหวของพรรคการเมืองแต่ละพรรคล้วนแล้วแต่ถูกประชาชนและสื่อมวลชนจับตามองเป็นพิเศษ ด้วยเหตุที่อาจมีนัยบางประการที่จะส่งผลต่อการเกิด
เหตุการณ์ทางการเมืองที่สำคัญได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวในระดับหัวหน้าและแกนนำพรรคการเมือง โดย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชิน
วัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ที่นัด นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย เพื่อรับประทานอาหารและพบปะกันเพื่อ
ความสมานฉันท์นั้น ได้มีประชาชนและสื่อมวลชนให้ความสนใจเป็นพิเศษว่า เป็นการพบปะกันเพื่อวัตถุประสงค์ใด และการพบปะนั้นจะนำมาซึ่งผลลัพธ์
อะไรบ้างต่อการเมืองไทยในอนาคต ดังนั้น เพื่อเป็นการศึกษาความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการนัดพบปะกันเพื่อความสมานฉันท์ระหว่าง หัวหน้า
พรรคไทยรักไทย กับ หัวหน้าพรรคชาติไทย เพื่อนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนต่อไป
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชน
เกี่ยวกับการพบปะกันเพื่อความสมานฉันท์ระหว่างหัวหน้าพรรคไทยรักไทยกับหัวหน้าพรรคชาติไทย ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บ
รวบรวมข้อมูล ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการพบปะกันเพื่อความสมานฉันท์ระหว่างหัวหน้าพรรคไทยรักไทยกับหัวหน้าพรรคชาติไทย
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
3. เพื่อสำรวจข้อเสนอแนะของประชาชนเกี่ยวกับการสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับอาหารมื้อ
สมานฉันท์ระหว่างหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กับ หัวหน้าพรรคชาติไทย และการเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป
ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20-21 กรกฎาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,541 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่+ / - ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 48.9 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.3 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 26.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 81.8 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 16.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 42.9 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 19.5 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 14.0 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 7.0 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.8 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 5.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 0.7 ระบุอาชีพเกษตรกร
และร้อยละ 3.8 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับอาหารมื้อสมานฉันท์
ระหว่างหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กับ พรรคชาติไทย และการเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก: กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพ
มหานครและปริมณฑล” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น
1,541 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20-21 กรกฎาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
จากการสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่า ร้อยละ 45.2
ระบุติดตามข่าวการเมืองทุกวัน / เกือบทุกวัน ร้อยละ 18.2 ระบุติดตาม 3-4 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 14.9 ระบุติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ
13.8 ระบุไม่ได้ติดตามเป็นบางสัปดาห์ และอีกร้อยละ 7.9 ระบุไม่ได้ติดตามเลย
เมื่อสอบถามในประเด็นการเคยรับทราบข่าวการนัดรับประทานอาหารเพื่อความสมานฉันท์ระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับ นาย
บรรหาร ศิลปอาชา พบว่าตัวอย่างประมาณ 2 ใน 3 คือ ร้อยละ 62.8 ระบุทราบข่าวดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 37.2 ระบุไม่ทราบ
ส่วนความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับการนัดรับประทานอาหารในครั้งนี้ มีเหตุผลทางการเมืองอื่นๆ อีกหรือไม่ นอกจากเพื่อความ
สมานฉันท์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างได้ระบุถึงเหตุผลทางการเมืองอื่นๆ ใน 5 อันดับแรกไว้ ได้แก่ การปรึกษาเรื่องผลประโยชน์ทางการเมือง (ร้อยละ
23.9 ) รองลงมาคือการปรึกษาปัญหาการเมือง ( 18.0) ปรึกษาเรื่องการยุบรวมพรรคไทยรักไทยกับพรรคชาติไทย (ร้อยละ 16.5) ปรึกษา
เรื่องส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย (ร้อยละ 12.1) และปรึกษาเรื่องแก้ไขปัญหาภายในประเทศ แก้วิกฤตทางการเมืองให้ดีขึ้น (ร้อยละ 12.1) ตามลำดับ
ในเรื่องความเป็นไปได้ที่พรรคไทยรักไทยและพรรคชาติไทยจะตกลงร่วมกันเป็นพันธมิตรทางการเมือง พบว่า ร้อยละ 13.3 ระบุเป็นไป
ได้มาก ร้อยละ 35.6 ระบุน่าจะเป็นไปได้ ร้อยละ 16.7 ระบุไม่น่าจะเป็นไปได้ ร้อยละ 8.9 ระบุเป็นไปไม่ได้ และอีกร้อยละ 25.5 ระบุไม่แน่ใจ
สำหรับการยอมรับของกลุ่มตัวอย่าง หากพรรคไทยรักไทยและพรรคชาติไทยจะร่วมกันเป็นรัฐบาลหลังจากการเลือกตั้งครั้งต่อไป พบว่า
ร้อยละ 31.0 ระบุยอมรับ ร้อยละ 19.1 ระบุค่อนข้างยอมรับ ร้อยละ 12.9 ระบุไม่ค่อยยอมรับ ร้อยละ 13.3 ระบุไม่ยอมรับ และอีกร้อยละ 23.7
ระบุไม่แน่ใจ
ส่วนความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับความจริงใจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่จะสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย พบ
ว่า ร้อยละ 25.0 ระบุจริงใจมาก ร้อยละ 25.7 ระบุค่อนข้างจริงใจ ร้อยละ 15.1 ระบุไม่ค่อยจริงใจ ร้อยละ 12.8 ระบุไม่จริงใจ และอีกร้อย
ละ 21.4 ระบุไม่แน่ใจ
เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับบุคคลที่อยากให้ไปร่วมรับประทานอาหารและพบปะกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพื่อหารือเรื่องการสร้าง
ความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย นอกเหนือจาก นายบรรหาร ศิลปอาชา พบว่า บุคคลที่อยากให้ไปร่วมรับประทานอาหารและพบปะกับ พ.ต.ท.
ดร.ทักษิณ ชินวัตร ใน 5 อันดับแรก ได้แก่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ร้อยละ 54.3) นายสนธิ ลิ้มทองกุล (ร้อยละ 15.7) นายชวน หลีกภัย
(ร้อยละ 11.2) พลตรีจำลอง ศรีเมือง (ร้อยละ 9.8) และหัวหน้าพรรคการเมืองทุกพรรค (ร้อยละ 8.3) ตามลำดับ
สำหรับข้อเสนอแนะของกลุ่มตัวอย่างเพื่อสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคมไทยนั้น พบว่า ข้อเสนอแนะใน 5 อันดับแรกมีดังนี้ 1) ทุก
ฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน และร่วมมือกันแก้ปัญหา ยอมรับความคิดเห็นและจุดยืนซึ่งกันและกัน / สามัคคีกัน คิดเป็นร้อยละ 52.2 2) คำนึงถึงประโยชน์
ส่วนรวมของประเทศเป็นหลัก ไม่ยึดประโยชน์ส่วนตัว เสียสละ คิดเป็นร้อยละ 19.4 3) ให้นายกรัฐมนตรีลาออก/เปลี่ยนนายกรัฐมนตรี/รัฐบาลลา
ออก คิดเป็นร้อยละ 12.7 4) ทุกฝ่ายควรหยุดโจมตีซึ่งกันและกัน/เลิกทะเลาะกัน ไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 12.4
และ 5) ให้ กกต. ลาออก คิดเป็นร้อยละ 5.9 ตามลำดับ
ในประเด็นสุดท้ายได้สอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ควรลาออกจากตำแหน่งหรือไม่ พบว่า ร้อยละ
40.6 ระบุไม่ควรลาออก ร้อยละ 29.1 ระบุควรลาออก และอีกร้อยละ 30.3 ไม่มีความเห็น
ทั้งนี้ผู้ที่ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ควรลาออกจากตำแหน่ง ได้ให้เหตุผลดังนี้ 1) จะได้ยุติความขัดแย้ง เหตุการณ์สงบ เพื่อความสงบ
สุขของประเทศ คิดเป็นร้อยละ 31.7 2) เป็นนายกรัฐมนตรีแล้วมีปัญหามาก คิดเป็นร้อยละ 13.0 3) ขาดความชอบธรรมในการบริหาร
ประเทศ คิดเป็นร้อยละ 11.6 4) ไม่น่าไว้วางใจ คิดเป็นร้อยละ 9.2 และ 5) เปิดโอกาสให้ผู้อื่นที่มีความเหมาะสมขึ้นดำรงตำแหน่งแทน
คิดเป็นร้อยละ 8.5
สำหรับผู้ที่ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ควรลาออกจากตำแหน่งนั้น ได้ให้เหตุผลดังนี้ 1) ทำงานดี ดูแลบ้านเมืองมาดี คิดเป็นร้อย
ละ 29.9 2) ไม่มีใครเหมาะสมเท่า คิดเป็นร้อยละ 15.2 3) มีนโยบายที่ดี ช่วยเหลือประชาชน เช่น ปราบยาเสพติด มาเฟีย ช่วยคน
จน คิดเป็นร้อยละ 13.5 4) มีผลงาน เอาจริงเอาจังในการทำงาน คิดเป็นร้อยละ 11.8 และ 5) อยากให้ทำงานต่อไป คิดเป็นร้อยละ
8.4 ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจล่าสุดครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า กระแสความรู้สึกนึกคิดของประชาชนกลับไปสู่สภาพเดิมที่เคยเกิดขึ้นเมื่อประมาณ
ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งกลุ่มคนในสังคมที่ถูกศึกษามีสัดส่วนกระจายออกไปเป็นสามกลุ่มคือกลุ่มที่ไม่สนับสนุน กลุ่มที่สนับสนุน พ.ต.
ท.ทักษิณ และกลุ่มที่อยู่กลางๆ คือร้อยละ 30 ร้อยละ 40 และร้อยละ 30 ซึ่งในทางสถิติการวิจัยถือว่าไม่ค่อยแตกต่างกันนัก แสดงให้เห็นว่าตลอดระยะ
เวลาที่ผ่านมาปัจจัยตัวแปรต่างๆ เช่น ความพยายามแก้ปัญหาของศาลสามศาล อัยการ และความเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ ไม่ได้มีผลคลี่คลาย
สถานการณ์การเมืองอย่างแท้จริง เพราะตัวการสำคัญของปัญหาต่างๆ ยังคงมีอยู่เช่นเดิม เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง นายกรัฐมนตรียังคงมีท่าที
เหมือนเดิมและบางครั้งกลับเป็นผู้ก่อคลื่นทางการเมืองเสียเอง และกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
“สาธารณชนขณะนี้จึงกำลังต้องการกลไกบางอย่างของสังคมเข้ามาช่วยดำเนินการลดสัดส่วนของการแบ่งพรรคแบ่งพวกให้เหลือน้อยลงให้
มากที่สุด ซึ่งขณะนี้คงต้องอาศัยกระบวนการยุติธรรมตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข แต่เนื่องจากกระบวนการยุติธรรมไม่ได้
รับการสนับสนุนจากประชาชนเป็นเอกฉันท์อย่างแท้จริง เพราะที่ผ่านมาศาลเองก็โดนฝ่ายการเมืองออกมาท้าทายอำนาจศาล ยิ่งย้อนไปดูคดีซุกหุ้นภาค
แรกยิ่งเห็นชัดเจน เพราะประชาชนจำนวนมากออกมากดดันศาลจนทำให้ตุลาการบางคนตกเป็นข่าวในการพิจารณาคดีให้เป็นไปในทิศทางของกระแส
สังคม ทางออกที่น่าจะเหมาะสมที่สุดของวิกฤตการเมืองของไทยคือ “การเจรจากันอย่างสันติวิธีของกลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ ทั้งหมด” เพราะแต่ละกลุ่มมี
ฐานอำนาจมวลชนสนับสนุนอยู่” ต่างฝ่ายต่างควรยอมเสียสละและลดฐานคติข้อเรียกร้องของกลุ่มต่างๆ ของตนออกไป” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า สังคมไทยควรรีบปฏิรูปการเมืองขึ้นใหม่ โดยทำให้ระบบสังคมไทยมีรัฐธรรมนูญและกลไกต่างๆ ที่ง่ายขึ้นไม่ต้องซับ
ซ้อนเหมือนระบบปัจจุบัน ประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศควรจะเข้าใจเข้าถึงได้ง่าย เพื่อให้เป็นระบบของประชาชนอย่างแท้จริง มิฉะนั้น ฝ่ายการเมือง
อาจเข้าแทรกแซงกลไกต่างๆ ของรัฐผ่านช่องว่างระหว่างประชาชนกับรัฐธรรมนูญได้ ระบบการเมืองใหม่ควรเป็นระบบเรียบง่ายโปร่งใสแต่มีกระบวน
การยุติธรรมทางการเมืองที่เข้มแข็ง “ปลอดการล็อบบี้ทางการเมือง” และสะท้อนถึงจริยธรรมทางการเมืองของฝ่ายการเมืองอย่างแท้จริง นักการ
เมืองคนใดที่มีพฤติการณ์อาจเชื่อได้ว่าจะสร้างความเสื่อมเสียก็ไม่ต้องรอให้มีใบเสร็จ ก็ควรถูกระบบและกลไกกันออกไปจากอำนาจปล่อยให้คนอื่นๆ หมุน
เวียนขึ้นมาทำหน้าที่แทนบ้างเพราะ “สังคมไทยไม่มีวันหมดสิ้นคนดี” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ (ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา)
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 45.2
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 18.2
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 14.9
4 ไม่ได้ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 13.8
5 ไม่ได้ติดตามเลย 7.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบข่าวการนัดรับประทานอาหารเพื่อความสมานฉันท์ระหว่าง
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับ นายบรรหาร ศิลปอาชา
ลำดับที่ การรับทราบข่าว ค่าร้อยละ
1 ทราบ 62.8
2 ไม่ทราบ 37.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเหตุผลทางการเมืองอื่นๆ นอกจากเพื่อความสมานฉันท์ ในการนัดรับประทานอาหาร
ครั้งนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เหตุผลทางการเมืองอื่นๆ ค่าร้อยละ
1 ปรึกษาเรื่องผลประโยชน์ทางการเมือง 23.9
2 ปรึกษาปัญหาการเมือง 18.0
3 ปรึกษาเรื่องการยุบรวมพรรคไทยรักไทยกับพรรคชาติไทย 16.5
4 ปรึกษาเรื่องส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย 12.1
5 ปรึกษาเรื่องแก้ไขปัญหาในประเทศ แก้วิกฤตทางการเมืองให้ดีขึ้น 12.1
6 เจรจาปรับความเข้าใจกัน / หาข้อตกลงร่วมกัน 11.5
7 การจัดการเลือกตั้ง / ล็อบบี้การเลือกตั้ง 8.6
8 ข้อเสนอเกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ / เงื่อนไขการดำรงตำแหน่ง 8.3
9 การเป็นพันธมิตรทางการเมืองหลังจากการเลือกตั้ง 6.5
10 เรื่องการจัดตั้งรัฐบาล / เพื่อให้มีรัฐบาลโดยเร็ว 2.9
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความเป็นไปได้ที่พรรคไทยรักไทยและพรรคชาติไทยจะตกลงร่วมกันเป็น
พันธมิตรทางการเมือง
ลำดับที่ ระดับความเป็นไปได้ ค่าร้อยละ
1 เป็นไปได้มาก 13.3
2 น่าจะเป็นไปได้ 35.6
3 ไม่น่าจะเป็นไปได้ 16.7
4 เป็นไปไม่ได้ 8.9
5 ไม่แน่ใจ 25.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับการยอมรับ หากพรรคไทยรักไทยและพรรคชาติไทยจะร่วมกันเป็นรัฐบาล
หลังจากการเลือกตั้งครั้งต่อไป
ลำดับที่ ระดับการยอมรับ ค่าร้อยละ
1 ยอมรับ 31.0
2 ค่อนข้างยอมรับ 19.1
3 ไม่ค่อยยอมรับ 12.9
4 ไม่ยอมรับ 13.3
5 ไม่แน่ใจ 23.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความจริงใจ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่จะสร้างความสมานฉันท์ให้
เกิดขึ้นในสังคมไทย
ลำดับที่ ระดับความจริงใจ ค่าร้อยละ
1 จริงใจมาก 25.0
2 ค่อนข้างจริงใจ 25.7
3 ไม่ค่อยจริงใจ 15.1
4 ไม่จริงใจ 12.8
5 ไม่แน่ใจ 21.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรายชื่อบุคคลที่อยากจะให้ไปร่วมรับประทานอาหารและพบปะกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
เพื่อหารือเรื่องการสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ รายชื่อบุคคล ค่าร้อยละ
1 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 54.3
2 นายสนธิ ลิ้มทองกุล 15.7
3 นายชวน หลีกภัย 11.2
4 พลตรีจำลอง ศรีเมือง 9.8
5 หัวหน้าพรรคการเมืองทุกพรรค 8.3
6 ตัวแทนพันธมิตร 5.2
7 นายอานันท์ ปันยารชุน 4.8
8 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ 2.9
9 พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ 2.4
ตารางที่ 8 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะเพื่อสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะ ค่าร้อยละ
1 ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน และร่วมมือกันแก้ปัญหา ยอมรับความคิดเห็นและจุดยืนซึ่งกันและกัน / สามัคคีกัน 52.2
2 คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศเป็นหลัก ไม่ยึดประโยชน์ส่วนตัว เสียสละ 19.4
3 ให้นายกรัฐมนตรีลาออก / เปลี่ยนนายกฯ / รัฐบาลลาออก 12.7
4 ทุกฝ่ายควรหยุดโจมตีซึ่งกันและกัน เลิกทะเลาะกัน ไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา 12.4
5 ให้ กกต. ลาออก 5.9
6 ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของในหลวง 4.1
7 จัดการเลือกตั้งใหม่ / กำหนดวันเลือกตั้งให้แน่นอน 3.8
8 ปรับปรุงด้านเศรษฐกิจ 3.1
9 ทำตามกฎหมาย / เคารพกติกาบ้านเมือง / ลงโทษผู้กระทำผิด 2.7
10 ยอมรับผลการเลือกตั้งของประชาชน 1.3
ตารางที่ 9 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการลาออกจากตำแหน่งของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เนื่องจากสถานการณ์
การเมืองในขณะนี้
ลำดับที่ การลาออกจากตำแหน่งของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ค่าร้อยละ
1 ควรลาออก 29.1
2 ไม่ควรลาออก 40.6
3 ไม่มีความเห็น 30.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
เหตุผลที่ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ควรลาออกจากตำแหน่ง (เป็นค่าร้อยละของคนที่คิดว่าควรลาออก)
1. จะได้ยุติความขัดแย้ง เหตุการณ์สงบ เพื่อความสงบสุขของประเทศ ร้อยละ 31.7
2. เป็นนายกรัฐมนตรี แล้วมีปัญหามาก ร้อยละ 13.0
3. ขาดความชอบธรรมในการบริหารประเทศ ร้อยละ 11.6
4. ไม่น่าไว้วางใจ ร้อยละ 9.2
5. เปิดโอกาสให้ผู้อื่นที่มีความเหมาะสมขึ้นดำรงตำแหน่งแทน ร้อยละ 8.5
6. ทำให้คนไทยแตกแยก ขาดความสามัคคี แบ่งพรรคแบ่งพวก ร้อยละ 7.8
7. ประเทศชาติเสียหายมากแล้ว ร้อยละ 4.8
8. จะได้จัดการเลือกตั้งใหม่ ให้มีความโปร่งใส สุจริต ร้อยละ 3.4
9. ขาดความเป็นผู้นำ ร้อยละ 3.1
10. การเลือกตั้งที่ผ่านมาไม่โปร่งใส ไม่ได้รับการยอมรับ ร้อยละ 2.4
11. ไม่ทำอย่างที่ได้พูดไว้ ร้อยละ 1.7
12. โดยส่วนตัวแล้ว ไม่ชอบนายกฯ ร้อยละ 1.4
13. เว้นวรรคทางการเมือง ร้อยละ 1.4
เหตุผลที่ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ควรลาออกจากตำแหน่ง (เป็นค่าร้อยละของคนที่คิดว่าไม่ควรลาออก)
1. ทำงานดี ดูแลบ้านเมืองมาดี ร้อยละ 29.9
2. ไม่มีใครเหมาะสมเท่า ร้อยละ 15.2
3. มีนโยบายที่ดี ช่วยเหลือประชาชน เช่น ปราบยาเสพติด มาเฟีย ช่วยคนจน ฯลฯ ร้อยละ 13.5
4. มีผลงาน เอาจริงเอาจังในการทำงาน ร้อยละ 11.8
5. อยากให้ทำงานต่อไป ร้อยละ 8.4
6. ให้คนอื่นมาเป็นนายกรัฐมนตรีแทน อาจจะแย่กว่านี้ ร้อยละ 5.5
7. เป็นคนดี ร้อยละ 5.1
8. ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย ร้อยละ 3.2
9. มาจากการเลือกตั้ง ร้อยละ 3.2
10. ขยัน อดทน จริงใจในการทำงาน ร้อยละ 2.3
11. ต้องมีคนรักษาการนายกรัฐมนตรีในตอนนี้ ร้อยละ 1.3
12. ถ้าเลือกตั้งใหม่ก็ให้ประชาชนตัดสินใจแบบประชาธิปไตย ร้อยละ 0.8
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
สืบเนื่องมาจากสถานการณ์ทางการเมืองของไทยในขณะนี้ ซึ่งอยู่ในสภาวะที่ยังไม่สามารถคาดเดาได้ว่า จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป ทำให้ความ
เคลื่อนไหวของพรรคการเมืองแต่ละพรรคล้วนแล้วแต่ถูกประชาชนและสื่อมวลชนจับตามองเป็นพิเศษ ด้วยเหตุที่อาจมีนัยบางประการที่จะส่งผลต่อการเกิด
เหตุการณ์ทางการเมืองที่สำคัญได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวในระดับหัวหน้าและแกนนำพรรคการเมือง โดย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชิน
วัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ที่นัด นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย เพื่อรับประทานอาหารและพบปะกันเพื่อ
ความสมานฉันท์นั้น ได้มีประชาชนและสื่อมวลชนให้ความสนใจเป็นพิเศษว่า เป็นการพบปะกันเพื่อวัตถุประสงค์ใด และการพบปะนั้นจะนำมาซึ่งผลลัพธ์
อะไรบ้างต่อการเมืองไทยในอนาคต ดังนั้น เพื่อเป็นการศึกษาความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการนัดพบปะกันเพื่อความสมานฉันท์ระหว่าง หัวหน้า
พรรคไทยรักไทย กับ หัวหน้าพรรคชาติไทย เพื่อนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนต่อไป
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชน
เกี่ยวกับการพบปะกันเพื่อความสมานฉันท์ระหว่างหัวหน้าพรรคไทยรักไทยกับหัวหน้าพรรคชาติไทย ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บ
รวบรวมข้อมูล ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการพบปะกันเพื่อความสมานฉันท์ระหว่างหัวหน้าพรรคไทยรักไทยกับหัวหน้าพรรคชาติไทย
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
3. เพื่อสำรวจข้อเสนอแนะของประชาชนเกี่ยวกับการสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับอาหารมื้อ
สมานฉันท์ระหว่างหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กับ หัวหน้าพรรคชาติไทย และการเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป
ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20-21 กรกฎาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,541 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่+ / - ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 48.9 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.3 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 26.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 81.8 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 16.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 42.9 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 19.5 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 14.0 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 7.0 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.8 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 5.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 0.7 ระบุอาชีพเกษตรกร
และร้อยละ 3.8 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับอาหารมื้อสมานฉันท์
ระหว่างหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กับ พรรคชาติไทย และการเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก: กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพ
มหานครและปริมณฑล” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น
1,541 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20-21 กรกฎาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
จากการสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่า ร้อยละ 45.2
ระบุติดตามข่าวการเมืองทุกวัน / เกือบทุกวัน ร้อยละ 18.2 ระบุติดตาม 3-4 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 14.9 ระบุติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ
13.8 ระบุไม่ได้ติดตามเป็นบางสัปดาห์ และอีกร้อยละ 7.9 ระบุไม่ได้ติดตามเลย
เมื่อสอบถามในประเด็นการเคยรับทราบข่าวการนัดรับประทานอาหารเพื่อความสมานฉันท์ระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับ นาย
บรรหาร ศิลปอาชา พบว่าตัวอย่างประมาณ 2 ใน 3 คือ ร้อยละ 62.8 ระบุทราบข่าวดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 37.2 ระบุไม่ทราบ
ส่วนความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับการนัดรับประทานอาหารในครั้งนี้ มีเหตุผลทางการเมืองอื่นๆ อีกหรือไม่ นอกจากเพื่อความ
สมานฉันท์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างได้ระบุถึงเหตุผลทางการเมืองอื่นๆ ใน 5 อันดับแรกไว้ ได้แก่ การปรึกษาเรื่องผลประโยชน์ทางการเมือง (ร้อยละ
23.9 ) รองลงมาคือการปรึกษาปัญหาการเมือง ( 18.0) ปรึกษาเรื่องการยุบรวมพรรคไทยรักไทยกับพรรคชาติไทย (ร้อยละ 16.5) ปรึกษา
เรื่องส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย (ร้อยละ 12.1) และปรึกษาเรื่องแก้ไขปัญหาภายในประเทศ แก้วิกฤตทางการเมืองให้ดีขึ้น (ร้อยละ 12.1) ตามลำดับ
ในเรื่องความเป็นไปได้ที่พรรคไทยรักไทยและพรรคชาติไทยจะตกลงร่วมกันเป็นพันธมิตรทางการเมือง พบว่า ร้อยละ 13.3 ระบุเป็นไป
ได้มาก ร้อยละ 35.6 ระบุน่าจะเป็นไปได้ ร้อยละ 16.7 ระบุไม่น่าจะเป็นไปได้ ร้อยละ 8.9 ระบุเป็นไปไม่ได้ และอีกร้อยละ 25.5 ระบุไม่แน่ใจ
สำหรับการยอมรับของกลุ่มตัวอย่าง หากพรรคไทยรักไทยและพรรคชาติไทยจะร่วมกันเป็นรัฐบาลหลังจากการเลือกตั้งครั้งต่อไป พบว่า
ร้อยละ 31.0 ระบุยอมรับ ร้อยละ 19.1 ระบุค่อนข้างยอมรับ ร้อยละ 12.9 ระบุไม่ค่อยยอมรับ ร้อยละ 13.3 ระบุไม่ยอมรับ และอีกร้อยละ 23.7
ระบุไม่แน่ใจ
ส่วนความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับความจริงใจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่จะสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย พบ
ว่า ร้อยละ 25.0 ระบุจริงใจมาก ร้อยละ 25.7 ระบุค่อนข้างจริงใจ ร้อยละ 15.1 ระบุไม่ค่อยจริงใจ ร้อยละ 12.8 ระบุไม่จริงใจ และอีกร้อย
ละ 21.4 ระบุไม่แน่ใจ
เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับบุคคลที่อยากให้ไปร่วมรับประทานอาหารและพบปะกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพื่อหารือเรื่องการสร้าง
ความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย นอกเหนือจาก นายบรรหาร ศิลปอาชา พบว่า บุคคลที่อยากให้ไปร่วมรับประทานอาหารและพบปะกับ พ.ต.ท.
ดร.ทักษิณ ชินวัตร ใน 5 อันดับแรก ได้แก่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ร้อยละ 54.3) นายสนธิ ลิ้มทองกุล (ร้อยละ 15.7) นายชวน หลีกภัย
(ร้อยละ 11.2) พลตรีจำลอง ศรีเมือง (ร้อยละ 9.8) และหัวหน้าพรรคการเมืองทุกพรรค (ร้อยละ 8.3) ตามลำดับ
สำหรับข้อเสนอแนะของกลุ่มตัวอย่างเพื่อสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคมไทยนั้น พบว่า ข้อเสนอแนะใน 5 อันดับแรกมีดังนี้ 1) ทุก
ฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน และร่วมมือกันแก้ปัญหา ยอมรับความคิดเห็นและจุดยืนซึ่งกันและกัน / สามัคคีกัน คิดเป็นร้อยละ 52.2 2) คำนึงถึงประโยชน์
ส่วนรวมของประเทศเป็นหลัก ไม่ยึดประโยชน์ส่วนตัว เสียสละ คิดเป็นร้อยละ 19.4 3) ให้นายกรัฐมนตรีลาออก/เปลี่ยนนายกรัฐมนตรี/รัฐบาลลา
ออก คิดเป็นร้อยละ 12.7 4) ทุกฝ่ายควรหยุดโจมตีซึ่งกันและกัน/เลิกทะเลาะกัน ไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 12.4
และ 5) ให้ กกต. ลาออก คิดเป็นร้อยละ 5.9 ตามลำดับ
ในประเด็นสุดท้ายได้สอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ควรลาออกจากตำแหน่งหรือไม่ พบว่า ร้อยละ
40.6 ระบุไม่ควรลาออก ร้อยละ 29.1 ระบุควรลาออก และอีกร้อยละ 30.3 ไม่มีความเห็น
ทั้งนี้ผู้ที่ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ควรลาออกจากตำแหน่ง ได้ให้เหตุผลดังนี้ 1) จะได้ยุติความขัดแย้ง เหตุการณ์สงบ เพื่อความสงบ
สุขของประเทศ คิดเป็นร้อยละ 31.7 2) เป็นนายกรัฐมนตรีแล้วมีปัญหามาก คิดเป็นร้อยละ 13.0 3) ขาดความชอบธรรมในการบริหาร
ประเทศ คิดเป็นร้อยละ 11.6 4) ไม่น่าไว้วางใจ คิดเป็นร้อยละ 9.2 และ 5) เปิดโอกาสให้ผู้อื่นที่มีความเหมาะสมขึ้นดำรงตำแหน่งแทน
คิดเป็นร้อยละ 8.5
สำหรับผู้ที่ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ควรลาออกจากตำแหน่งนั้น ได้ให้เหตุผลดังนี้ 1) ทำงานดี ดูแลบ้านเมืองมาดี คิดเป็นร้อย
ละ 29.9 2) ไม่มีใครเหมาะสมเท่า คิดเป็นร้อยละ 15.2 3) มีนโยบายที่ดี ช่วยเหลือประชาชน เช่น ปราบยาเสพติด มาเฟีย ช่วยคน
จน คิดเป็นร้อยละ 13.5 4) มีผลงาน เอาจริงเอาจังในการทำงาน คิดเป็นร้อยละ 11.8 และ 5) อยากให้ทำงานต่อไป คิดเป็นร้อยละ
8.4 ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจล่าสุดครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า กระแสความรู้สึกนึกคิดของประชาชนกลับไปสู่สภาพเดิมที่เคยเกิดขึ้นเมื่อประมาณ
ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งกลุ่มคนในสังคมที่ถูกศึกษามีสัดส่วนกระจายออกไปเป็นสามกลุ่มคือกลุ่มที่ไม่สนับสนุน กลุ่มที่สนับสนุน พ.ต.
ท.ทักษิณ และกลุ่มที่อยู่กลางๆ คือร้อยละ 30 ร้อยละ 40 และร้อยละ 30 ซึ่งในทางสถิติการวิจัยถือว่าไม่ค่อยแตกต่างกันนัก แสดงให้เห็นว่าตลอดระยะ
เวลาที่ผ่านมาปัจจัยตัวแปรต่างๆ เช่น ความพยายามแก้ปัญหาของศาลสามศาล อัยการ และความเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ ไม่ได้มีผลคลี่คลาย
สถานการณ์การเมืองอย่างแท้จริง เพราะตัวการสำคัญของปัญหาต่างๆ ยังคงมีอยู่เช่นเดิม เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง นายกรัฐมนตรียังคงมีท่าที
เหมือนเดิมและบางครั้งกลับเป็นผู้ก่อคลื่นทางการเมืองเสียเอง และกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
“สาธารณชนขณะนี้จึงกำลังต้องการกลไกบางอย่างของสังคมเข้ามาช่วยดำเนินการลดสัดส่วนของการแบ่งพรรคแบ่งพวกให้เหลือน้อยลงให้
มากที่สุด ซึ่งขณะนี้คงต้องอาศัยกระบวนการยุติธรรมตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข แต่เนื่องจากกระบวนการยุติธรรมไม่ได้
รับการสนับสนุนจากประชาชนเป็นเอกฉันท์อย่างแท้จริง เพราะที่ผ่านมาศาลเองก็โดนฝ่ายการเมืองออกมาท้าทายอำนาจศาล ยิ่งย้อนไปดูคดีซุกหุ้นภาค
แรกยิ่งเห็นชัดเจน เพราะประชาชนจำนวนมากออกมากดดันศาลจนทำให้ตุลาการบางคนตกเป็นข่าวในการพิจารณาคดีให้เป็นไปในทิศทางของกระแส
สังคม ทางออกที่น่าจะเหมาะสมที่สุดของวิกฤตการเมืองของไทยคือ “การเจรจากันอย่างสันติวิธีของกลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ ทั้งหมด” เพราะแต่ละกลุ่มมี
ฐานอำนาจมวลชนสนับสนุนอยู่” ต่างฝ่ายต่างควรยอมเสียสละและลดฐานคติข้อเรียกร้องของกลุ่มต่างๆ ของตนออกไป” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า สังคมไทยควรรีบปฏิรูปการเมืองขึ้นใหม่ โดยทำให้ระบบสังคมไทยมีรัฐธรรมนูญและกลไกต่างๆ ที่ง่ายขึ้นไม่ต้องซับ
ซ้อนเหมือนระบบปัจจุบัน ประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศควรจะเข้าใจเข้าถึงได้ง่าย เพื่อให้เป็นระบบของประชาชนอย่างแท้จริง มิฉะนั้น ฝ่ายการเมือง
อาจเข้าแทรกแซงกลไกต่างๆ ของรัฐผ่านช่องว่างระหว่างประชาชนกับรัฐธรรมนูญได้ ระบบการเมืองใหม่ควรเป็นระบบเรียบง่ายโปร่งใสแต่มีกระบวน
การยุติธรรมทางการเมืองที่เข้มแข็ง “ปลอดการล็อบบี้ทางการเมือง” และสะท้อนถึงจริยธรรมทางการเมืองของฝ่ายการเมืองอย่างแท้จริง นักการ
เมืองคนใดที่มีพฤติการณ์อาจเชื่อได้ว่าจะสร้างความเสื่อมเสียก็ไม่ต้องรอให้มีใบเสร็จ ก็ควรถูกระบบและกลไกกันออกไปจากอำนาจปล่อยให้คนอื่นๆ หมุน
เวียนขึ้นมาทำหน้าที่แทนบ้างเพราะ “สังคมไทยไม่มีวันหมดสิ้นคนดี” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ (ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา)
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 45.2
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 18.2
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 14.9
4 ไม่ได้ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 13.8
5 ไม่ได้ติดตามเลย 7.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบข่าวการนัดรับประทานอาหารเพื่อความสมานฉันท์ระหว่าง
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับ นายบรรหาร ศิลปอาชา
ลำดับที่ การรับทราบข่าว ค่าร้อยละ
1 ทราบ 62.8
2 ไม่ทราบ 37.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเหตุผลทางการเมืองอื่นๆ นอกจากเพื่อความสมานฉันท์ ในการนัดรับประทานอาหาร
ครั้งนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เหตุผลทางการเมืองอื่นๆ ค่าร้อยละ
1 ปรึกษาเรื่องผลประโยชน์ทางการเมือง 23.9
2 ปรึกษาปัญหาการเมือง 18.0
3 ปรึกษาเรื่องการยุบรวมพรรคไทยรักไทยกับพรรคชาติไทย 16.5
4 ปรึกษาเรื่องส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย 12.1
5 ปรึกษาเรื่องแก้ไขปัญหาในประเทศ แก้วิกฤตทางการเมืองให้ดีขึ้น 12.1
6 เจรจาปรับความเข้าใจกัน / หาข้อตกลงร่วมกัน 11.5
7 การจัดการเลือกตั้ง / ล็อบบี้การเลือกตั้ง 8.6
8 ข้อเสนอเกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ / เงื่อนไขการดำรงตำแหน่ง 8.3
9 การเป็นพันธมิตรทางการเมืองหลังจากการเลือกตั้ง 6.5
10 เรื่องการจัดตั้งรัฐบาล / เพื่อให้มีรัฐบาลโดยเร็ว 2.9
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความเป็นไปได้ที่พรรคไทยรักไทยและพรรคชาติไทยจะตกลงร่วมกันเป็น
พันธมิตรทางการเมือง
ลำดับที่ ระดับความเป็นไปได้ ค่าร้อยละ
1 เป็นไปได้มาก 13.3
2 น่าจะเป็นไปได้ 35.6
3 ไม่น่าจะเป็นไปได้ 16.7
4 เป็นไปไม่ได้ 8.9
5 ไม่แน่ใจ 25.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับการยอมรับ หากพรรคไทยรักไทยและพรรคชาติไทยจะร่วมกันเป็นรัฐบาล
หลังจากการเลือกตั้งครั้งต่อไป
ลำดับที่ ระดับการยอมรับ ค่าร้อยละ
1 ยอมรับ 31.0
2 ค่อนข้างยอมรับ 19.1
3 ไม่ค่อยยอมรับ 12.9
4 ไม่ยอมรับ 13.3
5 ไม่แน่ใจ 23.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความจริงใจ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่จะสร้างความสมานฉันท์ให้
เกิดขึ้นในสังคมไทย
ลำดับที่ ระดับความจริงใจ ค่าร้อยละ
1 จริงใจมาก 25.0
2 ค่อนข้างจริงใจ 25.7
3 ไม่ค่อยจริงใจ 15.1
4 ไม่จริงใจ 12.8
5 ไม่แน่ใจ 21.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรายชื่อบุคคลที่อยากจะให้ไปร่วมรับประทานอาหารและพบปะกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
เพื่อหารือเรื่องการสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ รายชื่อบุคคล ค่าร้อยละ
1 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 54.3
2 นายสนธิ ลิ้มทองกุล 15.7
3 นายชวน หลีกภัย 11.2
4 พลตรีจำลอง ศรีเมือง 9.8
5 หัวหน้าพรรคการเมืองทุกพรรค 8.3
6 ตัวแทนพันธมิตร 5.2
7 นายอานันท์ ปันยารชุน 4.8
8 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ 2.9
9 พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ 2.4
ตารางที่ 8 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะเพื่อสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะ ค่าร้อยละ
1 ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน และร่วมมือกันแก้ปัญหา ยอมรับความคิดเห็นและจุดยืนซึ่งกันและกัน / สามัคคีกัน 52.2
2 คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศเป็นหลัก ไม่ยึดประโยชน์ส่วนตัว เสียสละ 19.4
3 ให้นายกรัฐมนตรีลาออก / เปลี่ยนนายกฯ / รัฐบาลลาออก 12.7
4 ทุกฝ่ายควรหยุดโจมตีซึ่งกันและกัน เลิกทะเลาะกัน ไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา 12.4
5 ให้ กกต. ลาออก 5.9
6 ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของในหลวง 4.1
7 จัดการเลือกตั้งใหม่ / กำหนดวันเลือกตั้งให้แน่นอน 3.8
8 ปรับปรุงด้านเศรษฐกิจ 3.1
9 ทำตามกฎหมาย / เคารพกติกาบ้านเมือง / ลงโทษผู้กระทำผิด 2.7
10 ยอมรับผลการเลือกตั้งของประชาชน 1.3
ตารางที่ 9 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการลาออกจากตำแหน่งของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เนื่องจากสถานการณ์
การเมืองในขณะนี้
ลำดับที่ การลาออกจากตำแหน่งของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ค่าร้อยละ
1 ควรลาออก 29.1
2 ไม่ควรลาออก 40.6
3 ไม่มีความเห็น 30.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
เหตุผลที่ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ควรลาออกจากตำแหน่ง (เป็นค่าร้อยละของคนที่คิดว่าควรลาออก)
1. จะได้ยุติความขัดแย้ง เหตุการณ์สงบ เพื่อความสงบสุขของประเทศ ร้อยละ 31.7
2. เป็นนายกรัฐมนตรี แล้วมีปัญหามาก ร้อยละ 13.0
3. ขาดความชอบธรรมในการบริหารประเทศ ร้อยละ 11.6
4. ไม่น่าไว้วางใจ ร้อยละ 9.2
5. เปิดโอกาสให้ผู้อื่นที่มีความเหมาะสมขึ้นดำรงตำแหน่งแทน ร้อยละ 8.5
6. ทำให้คนไทยแตกแยก ขาดความสามัคคี แบ่งพรรคแบ่งพวก ร้อยละ 7.8
7. ประเทศชาติเสียหายมากแล้ว ร้อยละ 4.8
8. จะได้จัดการเลือกตั้งใหม่ ให้มีความโปร่งใส สุจริต ร้อยละ 3.4
9. ขาดความเป็นผู้นำ ร้อยละ 3.1
10. การเลือกตั้งที่ผ่านมาไม่โปร่งใส ไม่ได้รับการยอมรับ ร้อยละ 2.4
11. ไม่ทำอย่างที่ได้พูดไว้ ร้อยละ 1.7
12. โดยส่วนตัวแล้ว ไม่ชอบนายกฯ ร้อยละ 1.4
13. เว้นวรรคทางการเมือง ร้อยละ 1.4
เหตุผลที่ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ควรลาออกจากตำแหน่ง (เป็นค่าร้อยละของคนที่คิดว่าไม่ควรลาออก)
1. ทำงานดี ดูแลบ้านเมืองมาดี ร้อยละ 29.9
2. ไม่มีใครเหมาะสมเท่า ร้อยละ 15.2
3. มีนโยบายที่ดี ช่วยเหลือประชาชน เช่น ปราบยาเสพติด มาเฟีย ช่วยคนจน ฯลฯ ร้อยละ 13.5
4. มีผลงาน เอาจริงเอาจังในการทำงาน ร้อยละ 11.8
5. อยากให้ทำงานต่อไป ร้อยละ 8.4
6. ให้คนอื่นมาเป็นนายกรัฐมนตรีแทน อาจจะแย่กว่านี้ ร้อยละ 5.5
7. เป็นคนดี ร้อยละ 5.1
8. ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย ร้อยละ 3.2
9. มาจากการเลือกตั้ง ร้อยละ 3.2
10. ขยัน อดทน จริงใจในการทำงาน ร้อยละ 2.3
11. ต้องมีคนรักษาการนายกรัฐมนตรีในตอนนี้ ร้อยละ 1.3
12. ถ้าเลือกตั้งใหม่ก็ให้ประชาชนตัดสินใจแบบประชาธิปไตย ร้อยละ 0.8
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-