เอแบคโพลล์: ประชาชนคิดอย่างไรต่อจุดจบของปัญหาการรถไฟแห่งประเทศไทยและแนวทางการปฏิรูปฟื้นฟูการรถไฟแห่งประเทศไทย

ข่าวผลสำรวจ Friday October 30, 2009 07:54 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผล สำรวจ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (ABAC Real-Time Survey)” ที่เป็นการสำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่ม เชิงชั้นภูมิหลายชั้น (Stratified Multi-Stage Sampling) จากนั้นได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อทำการสัมภาษณ์ได้อย่างรวด เร็วฉับไวภายในระยะเวลาประมาณ 5 ชั่วโมง จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจเรื่อง ประชาชนคิดอย่างไรต่อจุดจบของปัญหาการรถไฟแห่งประเทศไทย และแนวทางการปฏิรูปฟื้นฟูการรถไฟแห่งประเทศไทย กรณีศึกษาประชาชนใน 17 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร น่าน พิษณุโลก เชียงใหม่ ตราด ประจวบคีรีขันธ์ ลพบุรี สุพรรณบุรี ชลบุรี หนองคาย ชัยภูมิ สุรินทร์ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี ขอนแก่น พังงา และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 1,209 ครัวเรือน ในวันที่ 29 ตุลาคม 2552

ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ 90 ทราบข่าวการหยุดเดินรถไฟของพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยในช่วง 7 วันที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.3 มองว่าสาเหตุการหยุดเดินรถไฟคือ ความขัดแย้งภายในองค์กร รองลงมาคือ ร้อยละ 53.9 มองว่าเป็น เรื่องผลประโยชน์ของพนักงานการรถไฟ ร้อยละ 52.8 มองว่าเป็นเรื่องผลประโยชน์ของฝ่ายบริหาร และร้อยละ 46.1 มองว่าเป็นเพราะเห็นแก่ ความปลอดภัยของประชาชน

สิ่งที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.5 เห็นด้วยที่รัฐบาลจะปฏิรูปฟื้นฟูการรถไฟใหม่ทั้งระบบ ร้อยละ 88.2 เห็นด้วยที่รัฐบาลควร เพิ่มงบประมาณในการฟื้นฟูการรถไฟแห่งประเทศไทย ร้อยละ 73.6 เห็นด้วยกับการตั้งบริษัทบริหารกิจการด้านต่างๆ ของการรถไฟ แต่ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 83.1 ไม่เห็นด้วยกับการหยุดเดินรถของพนักงานการรถไฟที่ผ่านมา

ส่วนสิ่งที่ประชาชนอยากให้การรถไฟฯ ควรเร่งปฏิรูปฟื้นฟูคือ เกือบร้อยละร้อยหรือร้อยละ 98.9 ระบุเป็นเรื่องความปลอดภัย ร้อยละ 98.2 ระบุเป็นเรื่องการตรงต่อเวลา ร้อยละ 97.8 ระบุเป็นเรื่องการปรับปรุงภาพลักษณ์องค์กร ร้อยละ 97.4 ระบุควรปรับปรุงหัวรถจักรให้ทันสมัย ร้อยละ 97.1 ระบุควรเร่งแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 90.8 ระบุควรเพิ่มจำนวนบุคลากร และร้อยละ 81.5 ควรเปลี่ยนแปลงคณะผู้บริหารการ รถไฟ

อย่างไรก็ตาม ประชาชนก่ำกึ่งกันคือ ร้อยละ 49.7 เชื่อว่าจุดจบของปัญหาในการรถไฟแห่งประเทศไทยคือ ปัญหาจะยังมีอยู่เหมือนเดิม เป็นแค่กระแส ไม่มีใครคิดแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ในขณะที่ร้อยละ 50.3 เชื่อว่าจะมีการปฏิรูปฟื้นฟูอย่างจริงจัง

ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.4 ระบุประเทศญี่ปุ่น ควรเป็นประเทศต้นแบบที่อยากให้นำมาปฏิรูปฟื้นฟูการรถไฟของ ประเทศไทย รองลงมาคือ ร้อยละ 12.7 ระบุประเทศสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 9.4 ระบุประเทศจีน และร้อยละ 8.5 ระบุเป็นกลุ่มประเทศในยุโรป ตามลำดับ

ส่วนกรณีความเห็นต่อการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับปัญหาการรถไฟ เช่น กลุ่มการเมืองต่างๆ พบว่า ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 71.2 ไม่เห็นด้วย เพราะ เป็นการทำให้ปัญหาบานปลายมากขึ้น ไม่อยากให้วุ่นวายไปกว่านี้ ควรเป็นเรื่องของคนภายในช่วยแก้ปัญหากัน และ มองว่าการเคลื่อนไหวเหล่านั้นไม่ก่อเกิดประโยชน์ต่อการรถไฟอย่างแท้จริง เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 28.8 เห็นด้วย เพราะจะได้ช่วยกันแก้ปัญหาได้ เร็วขึ้น จะได้ช่วยกันไกล่เกลี่ย และร่วมกันตรวจสอบให้มีความโปร่งใส

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 54.2 เป็นหญิง

ร้อยละ 45.8 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 7.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 25.0 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 23.5 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 22.8 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และร้อยละ 21.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 73.4 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 24.0 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 2.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 30.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 27.7 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 13.9 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 10.9 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 6.7 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 5.8 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ในขณะที่ร้อยละ 4.6 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการหยุดเดินรถไฟของพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่          การติดตามข่าว          ค่าร้อยละ
1          ทุกวัน/เกือบทุกวัน              55.6
2          3-4 วันต่อสัปดาห์              17.4
3          1-2 วันต่อสัปดาห์              18.3
4          ไม่ติดตามเลย                  8.7
          รวมทั้งสิ้น                    100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของการหยุดเดินรถของพนักงานการรถไฟที่ผ่านมา
ลำดับที่          ความคิดเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของการหยุดเดินรถของพนักงานการรถไฟที่ผ่านมา       ค่าร้อยละ
1          ความขัดแย้งภายในองค์กร                                                  68.3
2          เป็นเรื่องผลประโยชน์ของพนักงานการรถไฟ                                     53.9
3          เป็นเรื่องผลประโยชน์ของฝ่ายบริหาร                                          52.8
4          เห็นแก่ความปลอดภัยของประชาชน                                            46.1
5          เป็นเรื่องการเมืองภายนอกองค์กร                                            44.3

ตารางที่ 3  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับการรถไฟแห่งประเทศไทย
ลำดับที่          ความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ
เกี่ยวกับการรถไฟแห่งประเทศไทย                                             เห็นด้วยค่าร้อยละ  ไม่เห็นด้วยค่าร้อยละ รวมทั้งสิ้น
1          รัฐบาลจะปฏิรูปฟื้นฟูการรถไฟใหม่ทั้งระบบ                                  91.5           8.5          100.0
2          รัฐบาลควรเพิ่มงบประมาณในการฟื้นฟูการรถไฟแห่งประเทศไทย                  88.2          11.8          100.0
3          ตั้งบริษัทบริหารกิจการด้านต่างๆของการรถไฟ เช่นบริษัทบริหารทรัพย์สิน ที่ดิน เป็นต้น  73.6          26.4          100.0
4          การหยุดเดินรถของพนักงานการรถไฟฯที่ผ่านมา                              16.9          83.1          100.0

ตารางที่ 4  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่การรถไฟแห่งประเทศไทยควรปฏิรูปฟื้นฟู   (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          สิ่งที่การรถไฟแห่งประเทศไทยควรปฏิรูปฟื้นฟู             ค่าร้อยละ
1          ความปลอดภัย                                         98.9
2          การตรงต่อเวลา                                       98.2
3          ปรับปรุงภาพลักษณ์ขององค์กร                              97.8
4          ปรับปรุงหัวรถจักรให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น                   97.4
5          แก้ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น                                97.1
6          เพิ่มจำนวนบุคลากร                                     90.8
7          เปลี่ยนแปลงคณะผู้บริหารของการรถไฟ                       81.5

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับจุดจบของปัญหาในการรถไฟแห่งประเทศไทย
ลำดับที่          ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับจุดจบของปัญหาในการรถไฟแห่งประเทศไทย             ค่าร้อยละ
1          เชื่อว่าปัญหายังจะมีอยู่เหมือนเดิม เป็นแค่กระแส ไม่มีใครคิดแก้ปํญหาอย่างจริงจัง          49.7
2          เชื่อว่าจะมีการปฏิรูปฟื้นฟูอย่างจริงจัง                                          50.3
          รวมทั้งสิ้น                                                              100.0

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรถไฟของประเทศที่ต้องการให้นำมาใช้เป็นในการปฏิรูปฟื้นฟูการรถไฟของประเทศไทย
หากมีการปฏิรูปฟื้นฟูจริงๆ
ลำดับที่          ประเทศต้นแบบที่อยากให้นำมาปฏิรูปฟื้นฟูการรถไฟของไทย      ค่าร้อยละ
1          ญี่ปุ่น                                                  69.4
2          สหรัฐอเมริกา                                           12.7
3          จีน                                                    9.4
4          กลุ่มประเทศยุโรป                                         8.5
          รวมทั้งสิ้น                                              100.0

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีที่มีกลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องกับปัญหาการรถไฟ เช่น
กลุ่มการเมือง และกลุ่มเคลื่อนไหวทางการสังคม เป็นต้น
ลำดับที่          ความคิดเห็น                                                                           ค่าร้อยละ
1          เห็นด้วย  เพราะ.เพราะจะได้ช่วยกันแก้ปัญหาได้เร็วขึ้น จะได้ช่วยกันไกล่เกลี่ย และร่วมกันตรวจสอบให้มีความโปร่งใส  28.8
2          ไม่เห็นด้วย เพราะ. เป็นการทำให้ปัญหาบานปลายมากขึ้น ไม่อยากให้วุ่นวายไปกว่านี้ ควรเป็นเรื่องของคนภายใน
           ช่วยแก้ปัญหากัน และมองว่าการเคลื่อนไหวเหล่านั้นไม่ก่อเกิดประโยชน์ต่อการรถไฟอย่างแท้จริง เป็นต้น              71.2
          รวมทั้งสิ้น                                                                                  100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ