ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “สำรวจบรรยากาศภายในชุมชนที่
พักอาศัยและข้อเสนอต่อนโยบายสาธารณะของรัฐบาลชุดใหม่: กรณีศึกษาตัวอย่างแกนนำชุมชนใน 18 จังหวัดของประเทศ และประชาชนทั่วไปใน
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,917 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 23-28 กันยายน 2549 ประเด็น
สำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ผลสำรวจการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์พบว่าในกลุ่มแกนนำชุมชนมีการติดตามข่าวการเมืองมากกว่าประชาชนทั่วไปโดยพบ
ว่า แกนนำชุมชนร้อยละ 97.8 ระบุติดตามอย่างน้อย 1-2 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่กลุ่มประชาชนทั่วไปร้อยละ 89.7 ระบุติดตามอย่างน้อย 1-2 วันต่อ
สัปดาห์
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างทั้งสองกลุ่มต่อการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศภายในชุมชนที่พักอาศัยของตนภายหลังปฏิบัติการของคณะปฏิรูป
การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้นพบว่า ด้านการช่วยกันสอดส่องดูแลของคนในชุมชน (ร้อยละ 16.9 ระบุดี
ขึ้น/ร้อยละ 64.2 ระบุดีเหมือนเดิม) ด้านการช่วยเหลือกันในชุมชน (ร้อยละ 16.7 ระบุดีขึ้น/ร้อยละ 66.9 ระบุดีเหมือนเดิม ) ด้านบทบาทหน้าที่
ของผู้นำชุมชนในการดูแลป้องกันและแก้ไขปัญหาของคนในหมู่บ้าน/ชุมชน (ร้อยละ 15.2 ระบุดีขึ้น/ร้อยละ 63.4 ระบุดีเหมือนเดิม) ด้านการแก้ปัญหา
ยาเสพติด (ร้อยละ 14.2 ระบุดีขึ้น/ร้อยละ 55.5 ระบุดีเหมือนเดิม) และด้านการแก้ปัญหาอาชญากรรม (ร้อยละ 13.4 ระบุดีขึ้น/ร้อยละ 58.5
ระบุดีเหมือนเดิม)
สำหรับทรรศนะของแกนนำชุมชนพบว่า ด้านบทบาทหน้าที่ของผู้นำชุมชนในการดูแลป้องกันและแก้ไขปัญหาของคนในหมู่บ้าน/ชุมชน (ร้อยละ
25.1 ระบุดีขึ้น/ร้อยละ 69.9 ระบุดีเหมือนเดิม) การช่วยกันสอดส่องดูแลของคนในชุมชน (ร้อยละ 22.4 ระบุดีขึ้น/ร้อยละ 71.4 ระบุดีเหมือน
เดิม) การแก้ปัญหายาเสพติด (ร้อยละ 19.9 ระบุดีขึ้น /ร้อยละ 66.2 ระบุดีเหมือนเดิม) ด้านการแก้ปัญหาอาชญากรรม (ร้อยละ 17.2 ระบุดี
ขึ้น/ร้อยละ 72.8 ระบุดีเหมือนเดิม) และด้านการช่วยเหลือกันในชุมชน (ร้อยละ 16.5 ระบุดีขึ้น/ร้อยละ 77.1 ระบุดีเหมือนเดิม)
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการสนับสนุนรัฐบาลชุดใหม่ในการบริหารประเทศภายหลังการถอนตัวของคณะปฏิรูปการปกครองฯ
นั้นพบว่า แกนนำชุมชนร้อยละ 66.6 ระบุจะให้การสนับสนุนรัฐบาลชุดใหม่ ในขณะที่ในกลุ่มประชาชนทั่วไปนั้นมีตัวอย่างร้อยละ 53.9 ระบุจะสนับ
สนุน อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่า ประชาชนร้อยละ 42.7 และร้อยละ 31.1 ของแกนนำชุมชนยังลังเลไม่แน่ใจและไม่มีความเห็นที่จะสนับสนุน
รัฐบาลชุดเฉพาะกิจ
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ทั้งตัวอย่างประชาชนกับแกนนำชุมชนร้อยละ 50.1 และร้อยละ 55.0 เห็นว่ารัฐบาลชุดใหม่ควรสานต่อนโยบาย
เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพประชาชน นอกจากนี้ ประชาชนร้อยละ 35.3 แกนนำชุมชนร้อยละ 27.9 ระบุเป็นเรื่องการแก้ปัญหายาเสพติด ในขณะ
ที่ประชาชนร้อยละ 16.6 แกนนำชุมชนร้อยละ 43.6 ระบุเป็นนโยบายกองทุนหมู่บ้านชุมชนเมือง และประชาชนร้อยละ 21.5 แกนนำชุมชนร้อยละ
16.7 ระบุเป็นนโยบายแก้ปัญหาความยากจน เป็นต้น
สำหรับผลสำวรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาประเทศนั้นพบว่าทั้งประชาชนทั่วไปและแกน
นำชุมชนมีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกัน คือประชาชนร้อยละ 98.5 แกนนำชุมชนร้อยละ 99.3 ต้องการให้รัฐบาลกำหนดนโยบายเพื่อส่งเสริมให้
ประชาชนใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และประชาชนร้อยละ 97.2 แกนนำชุมชนร้อยละ 97.5 เห็นควรให้มีการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาเพื่อรับผิด
ชอบผลักดันนโยบายหลักเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้ทั้งประชาชนร้อยละ 61.6 และแกนนำชุมชนร้อยละ 63.5 คิดว่าควรเน้นทั้งหลักเศรษฐกิจพอเพียง
และระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ควบคู่กันไป
ประเด็นสำคัญสุดท้าย คือความคิดเห็นของตัวอย่างต่อบุคคลที่มีความเหมาะสมจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มระบุความคิด
เห็นไปในทิศทางเดียวกันโดยมีสัดส่วนไม่แตกต่างกันนักระหว่าง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล กับ พลเอกสุรยุทธ จุลานนทร์ คือร้อยละ 24.7 ของแกนนำ
ชุมชนและร้อยละ 20.4 ของประชาชนทั่วไประบุ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ในขณะที่ร้อยละ 20.3 ของประชาชนทั่วไป/ร้อยละ 19.0 ของแกน
นำชุมชน ระบุ พลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ ร้อยละ 17.5 ของแกนนำชุมชน/ร้อยละ 17.3 ของประชาชนทั่วไป ระบุนายศุภชัย พานิชภักดิ์ ร้อยละ
17.1 ของแกนนำชุมชน /ร้อยละ 13.1 ของประชาชนทั่วไประบุ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ และร้อยละ 14.8 ของแกนนำชุมชน/ร้อยละ
13.2 ของประชาชนทั่วไประบุ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวเพิ่มเติมว่า ถ้ามองจากผลสำรวจอย่างคร่าวๆ ก็อาจคิดว่าสถานการณ์ต่างๆ อยู่ในสภาวะที่ดี แต่เมื่อพิจารณาในราย
ละเอียดพบว่าทั้งประชาชนทั่วไปและแกนนำชุมชนที่บอกว่าสถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้นยังไม่ใช่คนส่วนใหญ่ ดังนั้น หลังจากการยึดอำนาจจากรัฐบาลชุดก่อนผ่าน
ไปในช่วงเวลาสั้นๆ กระแสความรู้สึกนึกคิดของประชาชนยังอยู่ในขั้นที่ควรติดตามใกล้ชิด และภารกิจที่ท้าทายสำหรับคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงอยู่ที่การทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าการเข้ามาปฏิบัติการยึดอำนาจจากรัฐบาลชุดที่แล้ว
ประชาชนจะอยู่เย็นเป็นสุขมากขึ้น ไม่ใช่เพียงรู้สึกว่าดีเหมือนเดิม เพราะถ้าคนส่วนใหญ่รู้สึกว่าดีเหมือนเดิมก็อาจมีคำถามตามมาว่า ทำไมต้องยึด
อำนาจของรัฐบาลชุดก่อนหน้านี้ด้วย ทั้งนี้ข้อที่ควรพิจารณา คือ
ประการแรก คณะปฏิรูปการปกครองฯ และรัฐบาลเฉพาะกิจควรเร่งทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าทุกอย่างดีขึ้นไม่ใช่ดีเหมือนเดิม ด้วย
การทำให้ชุมชนส่วนใหญ่ของประเทศเข้มแข็งอย่างแท้จริง และเร่งปรับปรุงแก้ไขนโยบายสาธารณะต่างๆ ที่มีจุดอ่อน เช่น นโยบายกองทุนหมู่บ้านและ
ชุมชนเมืองที่ก่อให้เกิดเงินกู้นอกระบบจากแกนนำชุมชนบางส่วนที่หาผลประชาชนจากภาระหนี้สินของชาวบ้าน และปัญหายาเสพติดและกลุ่มผู้มีอิทธิพลที่
สามารถจัดการอย่างเข้มข้นได้ทันทีและต่อเนื่อง เป็นต้น
ประการที่สอง นโยบายสาธารณะใหม่ๆ ควรเกิดขึ้นอย่างสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ เช่น การสร้างความยุติธรรม
ทางสังคม/ไม่เลือกปฏิบัติ และหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่ควรได้รับการพิจารณาให้มีหน่วยงานหลักรับผิดชอบในการบูรณาการทุกภาคส่วนของสังคมผลักดันให้
เป็นยุทธศาสตร์ชาติ และมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่ความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศ โดยสามารถอยู่ร่วมกันได้กับระบบการค้าเสรีใน
กระแสโลกาภิวัฒน์
ประการที่สาม คุณลักษณะของผู้นำประเทศหรือนายกรัฐมนตรีควรสอดคล้องกับความต้องการของสาธารณชนที่เคยติดอยู่กับความกล้าในการ
ตัดสินใจ ความรวดเร็วในการเข้าถึงและแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ซึ่งดูเหมือนว่านายกรัฐมนตรีคนเก่าเคยมีให้ปรากฏ
แต่มีปัญหาเพราะไม่สามารถลดความเคลือบแคลงสงสัยของสาธารณชนเรื่องความไม่โปร่งใสและการไม่ยอมให้ตรวจสอบได้อย่างตรงไปตรงมา ดังนั้น
การคัดเลือกบุคคลที่เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปควรมีลักษณะที่คล้ายคลึงคนเก่าบ้างบางส่วนและถูกซ่อมด้วยบางส่วนที่ขาดหายไป นั่นหมายถึงควร
เป็นทั้งคนเก่งและคนดี ไม่ใช่อย่างใดอย่างหนึ่ง เนื่องจากผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่ารายชื่อบุคคลที่ปรากฏเป็นข่าวยังได้รับการสนับสนุนจากประชาชน
ที่ถูกศึกษาและแกนนำชุมชนไม่มากพอที่จะขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะได้อย่างราบรื่น
ประการที่สี่ เนื่องจากสำรวจพบว่าประชาชนจำนวนมากยังลังเลในการให้การสนับสนุนรัฐบาลเฉพาะกิจ จึงเสนอให้ รัฐบาลเฉพาะกิจไม่
ควรใหญ่เทอะทะ ควรเป็น “รัฐบาลแบบสามัญชน” คือเป็นรัฐบาลที่ติดดิน เล็กกระทัดรัด รวดเร็ว แต่ไม่เผด็จการ โปร่งใสทุกขั้นตอนก่อนตัดสินใจ
(transparency) และยอมให้ตรวจสอบได้หลังจากตัดสินใจไปแล้ว (accountability) โดยมีภารกิจแรกๆ สามประการให้เห็นเป็นรูปธรรม
ชัดเจน คือ 1) จัดการปัญหาทุจริตคอรัปชั่นทั้งในกลุ่มนักการเมืองและข้าราชการประจำระดับสูงที่ยังคงลอยนวลอยู่ในขณะนี้ ไม่ใช่จัดการเฉพาะนักการ
เมืองเท่านั้น มิฉะนั้นอาจถูกมองว่าเป็นการผลัดอำนาจเข้าแสวงหาผลประโยชน์ 2) ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์เที่ยงธรรม และ
3) สานต่อและปรับปรุงนโยบายสาธารณะให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อบรรยากาศภายในชุมชนที่พักอาศัยภายหลังปฏิบัติการของ คปค.
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “สำรวจบรรยากาศภายในชุมชนที่พักอาศัยและข้อเสนอ
ต่อนโยบายสาธารณะของรัฐบาลชุดใหม่:กรณีศึกษาตัวอย่างแกนนำชุมชนใน 18 จังหวัดของประเทศ และประชาชนทั่วไปในกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล ” ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการในระหว่างวันที่ 23-28 กันยายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ แกนนำชุมชนใน 18 จังหวัดของประเทศได้แก่ กรุงเทพมหานคร พระนครศรีอยุธยา สระแก้ว ชลบุรี
อุบลราชธานี นครราชสีมา ศรีสะเกษ เลย ขอนแก่น เชียงราย เชียงใหม่ ตาก กำแพงเพชร สุพรรณบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี พัทลุง
และสงขลา และประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างสำหรับกลุ่มประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ การเลือกตัวอย่างด้วยวิธีแบ่งกลุ่มเชิงชั้น
ภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการเลือกพื้นที่ตัวอย่างและการสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดลักษณะทั่วไปของตัวอย่างมีความสอดคล้องกับ
ลักษณะของประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน สำหรับกลุ่มแกนนำชุมชนใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (systematic sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวนทั้งสิ้น 1,917 ตัวอย่าง โดยจำแนกเป็นแกนนำชุมชนจำนวน 696 ตัวอย่างและประชาชนทั่วไป
จำนวน 1,221 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้
ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของ
มหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า พบว่าตัวอย่างร้อยละ 53.0 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 47.0 ระบุ
เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 8.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 22.1 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 24.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 22.4
อายุระหว่าง 40—49 ปี และร้อยละ 22.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 79.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 18.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ
1.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 26.8 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างแรงงานทั่วไป ร้อยละ 28.7 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 18.8 ระบุ
อาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 13.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 7.0 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 4.9 เป็นนัก
เรียน/นักศึกษา และร้อยละ 0.7 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ประชาชนทั่วไปค่าร้อยละ แกนนำชุมชนค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 64.1 73.5
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 16.2 17.4
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 9.4 6.9
4 ไม่ได้ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 6.6 1.7
5 ไม่ได้ติดตามเลย 3.7 0.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศภายในชุมชนที่พักอาศัยภายหลัง
ปฏิบัติการของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(ค่าร้อยละเฉพาะประชาชนทั่วไป)
บรรยากาศในชุมชนที่พักอาศัย ทิศทางการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งสิ้น
ดีขึ้น ดีเหมือนเดิม แย่เหมือนเดิม แย่ลง
1. การช่วยเหลือกันในชุมชน 16.7 66.9 13.6 2.8 100.0
2. การแก้ปัญหายาเสพติด 14.2 55.5 21.3 9.0 100.0
3. การแก้ปัญหาอาชญากรรม 13.4 58.5 22.1 6.0 100.0
4. การรักษาทรัพย์สินส่วนรวม เช่น
ไฟฟ้าส่องทางเดินตู้โทรศัพท์ 11.8 67.3 17.5 3.4 100.0
5. การช่วยกันสอดส่องดูแลของคนในชุมชน 16.9 64.2 15.4 3.5 100.0
6. การช่วยกันทำความสะอาด 13.5 67.2 16.4 2.9 100.0
7. บทบาทหน้าที่ของผู้นำชุมชนในการ
ดูแลป้องกันและแก้ปัญหาของคนในหมู่บ้าน/ชุมชน 15.2 63.4 17.7 3.7 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศภายในชุมชนที่พักอาศัยภายหลังปฏิบัติการ
ของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ค่าร้อยละเฉพาะแกนนำชุมชน)
บรรยากาศในชุมชนที่พักอาศัย ทิศทางการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งสิ้น
ดีขึ้น ดีเหมือนเดิม แย่เหมือนเดิม แย่ลง
1. การช่วยเหลือกันในชุมชน 16.5 77.1 4.3 2.1 100.0
2. การแก้ปัญหายาเสพติด 19.9 66.2 6.6 7.3 100.0
3. การแก้ปัญหาอาชญากรรม 17.2 72.8 6.8 3.2 100.0
4. การรักษาทรัพย์สินส่วนรวม เช่น
ไฟฟ้าส่องทางเดินตู้โทรศัพท์ 13.7 77.0 6.8 2.5 100.0
5. การช่วยกันสอดส่องดูแลของคนในชุมชน 22.4 71.4 4.8 1.4 100.0
6. การช่วยกันทำความสะอาด 18.2 74.7 6.5 0.6 100.0
7. บทบาทหน้าที่ของผู้นำชุมชนในการดูแลป้องกัน
และแก้ปัญหาของคนในหมู่บ้าน/ชุมชน 25.1 69.9 3.8 1.2 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทึ่ความคิดเห็นกรณีการสนับสนุนรัฐบาลชุดใหม่ในการบริหารประเทศ
ภายหลังคณะปฏิรูปการปกครองฯ ถอนตัว
ลำดับที่ ความคิดเห็น ประชาชนทั่วไปค่าร้อยละ แกนนำชุมชนค่าร้อยละ
1 สนับสนุน 53.9 66.6
2 ไม่สนับสนุน 3.4 2.3
3 ไม่แน่ใจ ไม่มีความเห็น 42.7 31.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุนโยบายที่ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่สานต่อจากรัฐบาลเดิม
(ค่าร้อยละของประชาชนทั่วไปและแกนนำชุมชน โดยตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ นโยบายที่ต้องการให้สานต่อ ประชาชน แกนนนำชุมชน
1 นโยบายเกี่ยวกับรักษาพยาบาลและการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน 50.1 55.0
2 นโยบายการปราบปรามยาเสพติด 35.3 27.9
3 นโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน อาทิ การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ/
การปลดหนี้/การพักชำระหนี้เกษตรกร /โครงการเอื้ออาทรต่าง ๆ เป็นต้น 21.5 16.7
4 นโยบายเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้าน /การจัดตั้งธนาคารประชาชน/ เป็นต้น 16.6 43.6
5 การปฏิรูปการศึกษา 13.9 9.7
6 นโยบายทางด้านเศรษฐกิจ อาทิ การส่งออก/การส่งเสริมการตลาด 13.5 30.4
7 อื่นๆ อาทิ การปราบปรามคอรัปชั่น การพัฒนาด้านการคมนาคมขนส่งภายในประเทศ
และการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม เป็นต้น 18.6 7.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลชุดใหม่ในการกำหนดนโยบายเพื่อส่งเสริมให้
ประชาชนใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ประชาชนทั่วไปค่าร้อยละ แกนนำชุมชนค่าร้อยละ
1 ควรกำหนดนโยบาย 98.5 99.3
2 ไม่ควร 1.5 0.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลชุดใหม่ในการจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบ
ในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ประชาชนทั่วไปค่าร้อยละ แกนนำชุมชนค่าร้อยละ
1 ควรจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง 97.2 97.5
2 ไม่ควร 2.8 2.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นทิศทางการพํฒนาประเทศด้วยระบบทุนนิยม/การค้า
เสรีกับการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ประชาชนทั่วไปค่าร้อยละ แกนนำชุมชนค่าร้อยละ
1 ควรเน้นระบบทุนนิยม/การค้าเสรี 3.8 2.9
2 ควรเน้นการใช้หลักเศรษบกิจพอเพียง 34.6 33.6
3 ควรเน้นทั้งสองอย่างควบคู่กันไป 61.6 63.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่เหมาะสมจะเป็นนากยรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดใหม่
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลที่เหมาะสมเป็นนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดใหม่ ประชาชนทั่วไปค่าร้อยละ แกนนำชุมชนค่าร้อยละ
1 ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล 20.4 24.7
2 พลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ 20.3 19.0
3 นายศุภชัย พานิชภักดิ์ 17.3 17.5
4 ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ 13.1 17.1
5 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 13.2 14.8
6 นายอักขราธร จุฬารัตน 6.6 6.5
7 นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ 2.6 3.6
8 อื่นๆ อาทิ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย / นายอานันท์ ปันยารชุน /
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ / นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นต้น 12.0 10.5
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
พักอาศัยและข้อเสนอต่อนโยบายสาธารณะของรัฐบาลชุดใหม่: กรณีศึกษาตัวอย่างแกนนำชุมชนใน 18 จังหวัดของประเทศ และประชาชนทั่วไปใน
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,917 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 23-28 กันยายน 2549 ประเด็น
สำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ผลสำรวจการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์พบว่าในกลุ่มแกนนำชุมชนมีการติดตามข่าวการเมืองมากกว่าประชาชนทั่วไปโดยพบ
ว่า แกนนำชุมชนร้อยละ 97.8 ระบุติดตามอย่างน้อย 1-2 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่กลุ่มประชาชนทั่วไปร้อยละ 89.7 ระบุติดตามอย่างน้อย 1-2 วันต่อ
สัปดาห์
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างทั้งสองกลุ่มต่อการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศภายในชุมชนที่พักอาศัยของตนภายหลังปฏิบัติการของคณะปฏิรูป
การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้นพบว่า ด้านการช่วยกันสอดส่องดูแลของคนในชุมชน (ร้อยละ 16.9 ระบุดี
ขึ้น/ร้อยละ 64.2 ระบุดีเหมือนเดิม) ด้านการช่วยเหลือกันในชุมชน (ร้อยละ 16.7 ระบุดีขึ้น/ร้อยละ 66.9 ระบุดีเหมือนเดิม ) ด้านบทบาทหน้าที่
ของผู้นำชุมชนในการดูแลป้องกันและแก้ไขปัญหาของคนในหมู่บ้าน/ชุมชน (ร้อยละ 15.2 ระบุดีขึ้น/ร้อยละ 63.4 ระบุดีเหมือนเดิม) ด้านการแก้ปัญหา
ยาเสพติด (ร้อยละ 14.2 ระบุดีขึ้น/ร้อยละ 55.5 ระบุดีเหมือนเดิม) และด้านการแก้ปัญหาอาชญากรรม (ร้อยละ 13.4 ระบุดีขึ้น/ร้อยละ 58.5
ระบุดีเหมือนเดิม)
สำหรับทรรศนะของแกนนำชุมชนพบว่า ด้านบทบาทหน้าที่ของผู้นำชุมชนในการดูแลป้องกันและแก้ไขปัญหาของคนในหมู่บ้าน/ชุมชน (ร้อยละ
25.1 ระบุดีขึ้น/ร้อยละ 69.9 ระบุดีเหมือนเดิม) การช่วยกันสอดส่องดูแลของคนในชุมชน (ร้อยละ 22.4 ระบุดีขึ้น/ร้อยละ 71.4 ระบุดีเหมือน
เดิม) การแก้ปัญหายาเสพติด (ร้อยละ 19.9 ระบุดีขึ้น /ร้อยละ 66.2 ระบุดีเหมือนเดิม) ด้านการแก้ปัญหาอาชญากรรม (ร้อยละ 17.2 ระบุดี
ขึ้น/ร้อยละ 72.8 ระบุดีเหมือนเดิม) และด้านการช่วยเหลือกันในชุมชน (ร้อยละ 16.5 ระบุดีขึ้น/ร้อยละ 77.1 ระบุดีเหมือนเดิม)
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการสนับสนุนรัฐบาลชุดใหม่ในการบริหารประเทศภายหลังการถอนตัวของคณะปฏิรูปการปกครองฯ
นั้นพบว่า แกนนำชุมชนร้อยละ 66.6 ระบุจะให้การสนับสนุนรัฐบาลชุดใหม่ ในขณะที่ในกลุ่มประชาชนทั่วไปนั้นมีตัวอย่างร้อยละ 53.9 ระบุจะสนับ
สนุน อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่า ประชาชนร้อยละ 42.7 และร้อยละ 31.1 ของแกนนำชุมชนยังลังเลไม่แน่ใจและไม่มีความเห็นที่จะสนับสนุน
รัฐบาลชุดเฉพาะกิจ
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ทั้งตัวอย่างประชาชนกับแกนนำชุมชนร้อยละ 50.1 และร้อยละ 55.0 เห็นว่ารัฐบาลชุดใหม่ควรสานต่อนโยบาย
เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพประชาชน นอกจากนี้ ประชาชนร้อยละ 35.3 แกนนำชุมชนร้อยละ 27.9 ระบุเป็นเรื่องการแก้ปัญหายาเสพติด ในขณะ
ที่ประชาชนร้อยละ 16.6 แกนนำชุมชนร้อยละ 43.6 ระบุเป็นนโยบายกองทุนหมู่บ้านชุมชนเมือง และประชาชนร้อยละ 21.5 แกนนำชุมชนร้อยละ
16.7 ระบุเป็นนโยบายแก้ปัญหาความยากจน เป็นต้น
สำหรับผลสำวรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาประเทศนั้นพบว่าทั้งประชาชนทั่วไปและแกน
นำชุมชนมีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกัน คือประชาชนร้อยละ 98.5 แกนนำชุมชนร้อยละ 99.3 ต้องการให้รัฐบาลกำหนดนโยบายเพื่อส่งเสริมให้
ประชาชนใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และประชาชนร้อยละ 97.2 แกนนำชุมชนร้อยละ 97.5 เห็นควรให้มีการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาเพื่อรับผิด
ชอบผลักดันนโยบายหลักเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้ทั้งประชาชนร้อยละ 61.6 และแกนนำชุมชนร้อยละ 63.5 คิดว่าควรเน้นทั้งหลักเศรษฐกิจพอเพียง
และระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ควบคู่กันไป
ประเด็นสำคัญสุดท้าย คือความคิดเห็นของตัวอย่างต่อบุคคลที่มีความเหมาะสมจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มระบุความคิด
เห็นไปในทิศทางเดียวกันโดยมีสัดส่วนไม่แตกต่างกันนักระหว่าง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล กับ พลเอกสุรยุทธ จุลานนทร์ คือร้อยละ 24.7 ของแกนนำ
ชุมชนและร้อยละ 20.4 ของประชาชนทั่วไประบุ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ในขณะที่ร้อยละ 20.3 ของประชาชนทั่วไป/ร้อยละ 19.0 ของแกน
นำชุมชน ระบุ พลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ ร้อยละ 17.5 ของแกนนำชุมชน/ร้อยละ 17.3 ของประชาชนทั่วไป ระบุนายศุภชัย พานิชภักดิ์ ร้อยละ
17.1 ของแกนนำชุมชน /ร้อยละ 13.1 ของประชาชนทั่วไประบุ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ และร้อยละ 14.8 ของแกนนำชุมชน/ร้อยละ
13.2 ของประชาชนทั่วไประบุ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวเพิ่มเติมว่า ถ้ามองจากผลสำรวจอย่างคร่าวๆ ก็อาจคิดว่าสถานการณ์ต่างๆ อยู่ในสภาวะที่ดี แต่เมื่อพิจารณาในราย
ละเอียดพบว่าทั้งประชาชนทั่วไปและแกนนำชุมชนที่บอกว่าสถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้นยังไม่ใช่คนส่วนใหญ่ ดังนั้น หลังจากการยึดอำนาจจากรัฐบาลชุดก่อนผ่าน
ไปในช่วงเวลาสั้นๆ กระแสความรู้สึกนึกคิดของประชาชนยังอยู่ในขั้นที่ควรติดตามใกล้ชิด และภารกิจที่ท้าทายสำหรับคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงอยู่ที่การทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าการเข้ามาปฏิบัติการยึดอำนาจจากรัฐบาลชุดที่แล้ว
ประชาชนจะอยู่เย็นเป็นสุขมากขึ้น ไม่ใช่เพียงรู้สึกว่าดีเหมือนเดิม เพราะถ้าคนส่วนใหญ่รู้สึกว่าดีเหมือนเดิมก็อาจมีคำถามตามมาว่า ทำไมต้องยึด
อำนาจของรัฐบาลชุดก่อนหน้านี้ด้วย ทั้งนี้ข้อที่ควรพิจารณา คือ
ประการแรก คณะปฏิรูปการปกครองฯ และรัฐบาลเฉพาะกิจควรเร่งทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าทุกอย่างดีขึ้นไม่ใช่ดีเหมือนเดิม ด้วย
การทำให้ชุมชนส่วนใหญ่ของประเทศเข้มแข็งอย่างแท้จริง และเร่งปรับปรุงแก้ไขนโยบายสาธารณะต่างๆ ที่มีจุดอ่อน เช่น นโยบายกองทุนหมู่บ้านและ
ชุมชนเมืองที่ก่อให้เกิดเงินกู้นอกระบบจากแกนนำชุมชนบางส่วนที่หาผลประชาชนจากภาระหนี้สินของชาวบ้าน และปัญหายาเสพติดและกลุ่มผู้มีอิทธิพลที่
สามารถจัดการอย่างเข้มข้นได้ทันทีและต่อเนื่อง เป็นต้น
ประการที่สอง นโยบายสาธารณะใหม่ๆ ควรเกิดขึ้นอย่างสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ เช่น การสร้างความยุติธรรม
ทางสังคม/ไม่เลือกปฏิบัติ และหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่ควรได้รับการพิจารณาให้มีหน่วยงานหลักรับผิดชอบในการบูรณาการทุกภาคส่วนของสังคมผลักดันให้
เป็นยุทธศาสตร์ชาติ และมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่ความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศ โดยสามารถอยู่ร่วมกันได้กับระบบการค้าเสรีใน
กระแสโลกาภิวัฒน์
ประการที่สาม คุณลักษณะของผู้นำประเทศหรือนายกรัฐมนตรีควรสอดคล้องกับความต้องการของสาธารณชนที่เคยติดอยู่กับความกล้าในการ
ตัดสินใจ ความรวดเร็วในการเข้าถึงและแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ซึ่งดูเหมือนว่านายกรัฐมนตรีคนเก่าเคยมีให้ปรากฏ
แต่มีปัญหาเพราะไม่สามารถลดความเคลือบแคลงสงสัยของสาธารณชนเรื่องความไม่โปร่งใสและการไม่ยอมให้ตรวจสอบได้อย่างตรงไปตรงมา ดังนั้น
การคัดเลือกบุคคลที่เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปควรมีลักษณะที่คล้ายคลึงคนเก่าบ้างบางส่วนและถูกซ่อมด้วยบางส่วนที่ขาดหายไป นั่นหมายถึงควร
เป็นทั้งคนเก่งและคนดี ไม่ใช่อย่างใดอย่างหนึ่ง เนื่องจากผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่ารายชื่อบุคคลที่ปรากฏเป็นข่าวยังได้รับการสนับสนุนจากประชาชน
ที่ถูกศึกษาและแกนนำชุมชนไม่มากพอที่จะขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะได้อย่างราบรื่น
ประการที่สี่ เนื่องจากสำรวจพบว่าประชาชนจำนวนมากยังลังเลในการให้การสนับสนุนรัฐบาลเฉพาะกิจ จึงเสนอให้ รัฐบาลเฉพาะกิจไม่
ควรใหญ่เทอะทะ ควรเป็น “รัฐบาลแบบสามัญชน” คือเป็นรัฐบาลที่ติดดิน เล็กกระทัดรัด รวดเร็ว แต่ไม่เผด็จการ โปร่งใสทุกขั้นตอนก่อนตัดสินใจ
(transparency) และยอมให้ตรวจสอบได้หลังจากตัดสินใจไปแล้ว (accountability) โดยมีภารกิจแรกๆ สามประการให้เห็นเป็นรูปธรรม
ชัดเจน คือ 1) จัดการปัญหาทุจริตคอรัปชั่นทั้งในกลุ่มนักการเมืองและข้าราชการประจำระดับสูงที่ยังคงลอยนวลอยู่ในขณะนี้ ไม่ใช่จัดการเฉพาะนักการ
เมืองเท่านั้น มิฉะนั้นอาจถูกมองว่าเป็นการผลัดอำนาจเข้าแสวงหาผลประโยชน์ 2) ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์เที่ยงธรรม และ
3) สานต่อและปรับปรุงนโยบายสาธารณะให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อบรรยากาศภายในชุมชนที่พักอาศัยภายหลังปฏิบัติการของ คปค.
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “สำรวจบรรยากาศภายในชุมชนที่พักอาศัยและข้อเสนอ
ต่อนโยบายสาธารณะของรัฐบาลชุดใหม่:กรณีศึกษาตัวอย่างแกนนำชุมชนใน 18 จังหวัดของประเทศ และประชาชนทั่วไปในกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล ” ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการในระหว่างวันที่ 23-28 กันยายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ แกนนำชุมชนใน 18 จังหวัดของประเทศได้แก่ กรุงเทพมหานคร พระนครศรีอยุธยา สระแก้ว ชลบุรี
อุบลราชธานี นครราชสีมา ศรีสะเกษ เลย ขอนแก่น เชียงราย เชียงใหม่ ตาก กำแพงเพชร สุพรรณบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี พัทลุง
และสงขลา และประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างสำหรับกลุ่มประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ การเลือกตัวอย่างด้วยวิธีแบ่งกลุ่มเชิงชั้น
ภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการเลือกพื้นที่ตัวอย่างและการสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดลักษณะทั่วไปของตัวอย่างมีความสอดคล้องกับ
ลักษณะของประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน สำหรับกลุ่มแกนนำชุมชนใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (systematic sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวนทั้งสิ้น 1,917 ตัวอย่าง โดยจำแนกเป็นแกนนำชุมชนจำนวน 696 ตัวอย่างและประชาชนทั่วไป
จำนวน 1,221 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้
ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของ
มหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า พบว่าตัวอย่างร้อยละ 53.0 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 47.0 ระบุ
เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 8.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 22.1 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 24.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 22.4
อายุระหว่าง 40—49 ปี และร้อยละ 22.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 79.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 18.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ
1.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 26.8 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างแรงงานทั่วไป ร้อยละ 28.7 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 18.8 ระบุ
อาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 13.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 7.0 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 4.9 เป็นนัก
เรียน/นักศึกษา และร้อยละ 0.7 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ประชาชนทั่วไปค่าร้อยละ แกนนำชุมชนค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 64.1 73.5
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 16.2 17.4
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 9.4 6.9
4 ไม่ได้ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 6.6 1.7
5 ไม่ได้ติดตามเลย 3.7 0.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศภายในชุมชนที่พักอาศัยภายหลัง
ปฏิบัติการของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(ค่าร้อยละเฉพาะประชาชนทั่วไป)
บรรยากาศในชุมชนที่พักอาศัย ทิศทางการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งสิ้น
ดีขึ้น ดีเหมือนเดิม แย่เหมือนเดิม แย่ลง
1. การช่วยเหลือกันในชุมชน 16.7 66.9 13.6 2.8 100.0
2. การแก้ปัญหายาเสพติด 14.2 55.5 21.3 9.0 100.0
3. การแก้ปัญหาอาชญากรรม 13.4 58.5 22.1 6.0 100.0
4. การรักษาทรัพย์สินส่วนรวม เช่น
ไฟฟ้าส่องทางเดินตู้โทรศัพท์ 11.8 67.3 17.5 3.4 100.0
5. การช่วยกันสอดส่องดูแลของคนในชุมชน 16.9 64.2 15.4 3.5 100.0
6. การช่วยกันทำความสะอาด 13.5 67.2 16.4 2.9 100.0
7. บทบาทหน้าที่ของผู้นำชุมชนในการ
ดูแลป้องกันและแก้ปัญหาของคนในหมู่บ้าน/ชุมชน 15.2 63.4 17.7 3.7 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศภายในชุมชนที่พักอาศัยภายหลังปฏิบัติการ
ของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ค่าร้อยละเฉพาะแกนนำชุมชน)
บรรยากาศในชุมชนที่พักอาศัย ทิศทางการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งสิ้น
ดีขึ้น ดีเหมือนเดิม แย่เหมือนเดิม แย่ลง
1. การช่วยเหลือกันในชุมชน 16.5 77.1 4.3 2.1 100.0
2. การแก้ปัญหายาเสพติด 19.9 66.2 6.6 7.3 100.0
3. การแก้ปัญหาอาชญากรรม 17.2 72.8 6.8 3.2 100.0
4. การรักษาทรัพย์สินส่วนรวม เช่น
ไฟฟ้าส่องทางเดินตู้โทรศัพท์ 13.7 77.0 6.8 2.5 100.0
5. การช่วยกันสอดส่องดูแลของคนในชุมชน 22.4 71.4 4.8 1.4 100.0
6. การช่วยกันทำความสะอาด 18.2 74.7 6.5 0.6 100.0
7. บทบาทหน้าที่ของผู้นำชุมชนในการดูแลป้องกัน
และแก้ปัญหาของคนในหมู่บ้าน/ชุมชน 25.1 69.9 3.8 1.2 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทึ่ความคิดเห็นกรณีการสนับสนุนรัฐบาลชุดใหม่ในการบริหารประเทศ
ภายหลังคณะปฏิรูปการปกครองฯ ถอนตัว
ลำดับที่ ความคิดเห็น ประชาชนทั่วไปค่าร้อยละ แกนนำชุมชนค่าร้อยละ
1 สนับสนุน 53.9 66.6
2 ไม่สนับสนุน 3.4 2.3
3 ไม่แน่ใจ ไม่มีความเห็น 42.7 31.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุนโยบายที่ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่สานต่อจากรัฐบาลเดิม
(ค่าร้อยละของประชาชนทั่วไปและแกนนำชุมชน โดยตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ นโยบายที่ต้องการให้สานต่อ ประชาชน แกนนนำชุมชน
1 นโยบายเกี่ยวกับรักษาพยาบาลและการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน 50.1 55.0
2 นโยบายการปราบปรามยาเสพติด 35.3 27.9
3 นโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน อาทิ การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ/
การปลดหนี้/การพักชำระหนี้เกษตรกร /โครงการเอื้ออาทรต่าง ๆ เป็นต้น 21.5 16.7
4 นโยบายเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้าน /การจัดตั้งธนาคารประชาชน/ เป็นต้น 16.6 43.6
5 การปฏิรูปการศึกษา 13.9 9.7
6 นโยบายทางด้านเศรษฐกิจ อาทิ การส่งออก/การส่งเสริมการตลาด 13.5 30.4
7 อื่นๆ อาทิ การปราบปรามคอรัปชั่น การพัฒนาด้านการคมนาคมขนส่งภายในประเทศ
และการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม เป็นต้น 18.6 7.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลชุดใหม่ในการกำหนดนโยบายเพื่อส่งเสริมให้
ประชาชนใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ประชาชนทั่วไปค่าร้อยละ แกนนำชุมชนค่าร้อยละ
1 ควรกำหนดนโยบาย 98.5 99.3
2 ไม่ควร 1.5 0.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลชุดใหม่ในการจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบ
ในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ประชาชนทั่วไปค่าร้อยละ แกนนำชุมชนค่าร้อยละ
1 ควรจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง 97.2 97.5
2 ไม่ควร 2.8 2.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นทิศทางการพํฒนาประเทศด้วยระบบทุนนิยม/การค้า
เสรีกับการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ประชาชนทั่วไปค่าร้อยละ แกนนำชุมชนค่าร้อยละ
1 ควรเน้นระบบทุนนิยม/การค้าเสรี 3.8 2.9
2 ควรเน้นการใช้หลักเศรษบกิจพอเพียง 34.6 33.6
3 ควรเน้นทั้งสองอย่างควบคู่กันไป 61.6 63.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่เหมาะสมจะเป็นนากยรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดใหม่
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลที่เหมาะสมเป็นนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดใหม่ ประชาชนทั่วไปค่าร้อยละ แกนนำชุมชนค่าร้อยละ
1 ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล 20.4 24.7
2 พลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ 20.3 19.0
3 นายศุภชัย พานิชภักดิ์ 17.3 17.5
4 ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ 13.1 17.1
5 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 13.2 14.8
6 นายอักขราธร จุฬารัตน 6.6 6.5
7 นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ 2.6 3.6
8 อื่นๆ อาทิ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย / นายอานันท์ ปันยารชุน /
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ / นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นต้น 12.0 10.5
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-