ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ “เอแบคเรียลไทม์ โพลล์” ที่เป็นการสำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่ เป็นตัวอย่างเพื่อทำการสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไว จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยครั้งนี้ได้ทำการ สำรวจ เรื่อง การรับรู้และแรงอธิษฐานของประชาชนในวันลอยกระทง กรณีศึกษาตัวอย่างครัวเรือนใน 17 จังหวัดของประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร อยุธยา ชลบุรี สมุทรสงคราม อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ ยโสธร มหาสารคาม สกลนคร ศรีสะเกษ อุดรธานี ขอนแก่น ชุมพร สงขลา และนครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 1,145 ครัวเรือน ดำเนินการสำรวจในวันที่ 31 ตุลาคม 2552 พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.9 ทราบว่าวันลอยกระทงปีนี้ตรงกับวันที่ 2 พฤศจิกายน
เมื่อถามถึงความเข้าใจต่อวัตถุประสงค์ของประเพณีลอยกระทง พบว่า อันดับแรกคือ ร้อยละ 96.6 เข้าใจว่าเป็นการขอบคุณแม่น้ำที่ทำ ประโยชน์ต่างๆ ให้มนุษย์ และร้อยละ 96.6 เท่ากันเข้าใจว่าเป็นการขอขมาแม่น้ำที่มนุษย์ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในน้ำ ในขณะที่ร้อยละ 84.3 เข้า ใจว่าเป็นการอธิษฐานตามที่ปรารถนา ร้อยละ 72.2 เข้าใจว่าเป็นการลอยเคราะห์ สะเดาะเคราะห์ ร้อยละ 52.1 เข้าใจว่าเป็นการบูชาเทพเจ้า ตามความเชื่อของแต่ละคน รองๆ ลงไป เข้าใจว่า เป็นการบูชารอยพระพุทธบาท ณ หาดทรายฝั่งแม่น้ำนัมมทา เข้าใจว่าเป็นการบูชาพระเกศแก้ว จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นการลอยส่งของให้ญาติที่ห่างไกลในสมัยโบราณ และเป็นการรำลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.0 ตั้งใจจะไปลอยกระทง ในขณะที่ร้อยละ 42.0 ไม่ไปเพราะ ไม่ใช่ วันหยุด ต้องทำงาน มีธุระ เศรษฐกิจไม่ดี ไม่ชอบ กลัวดอกไม้ไฟ กลัวเสียงดัง เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า ที่น่าพิจารณาคือ ถึงแม้ประชาชนกำลังประสบปัญหาเดือดร้อนเรื่องปากท้องและสภาวะเศรษฐกิจในเวลานี้ แต่ผล สำรวจพบว่า อันดับหนึ่งหรือ ร้อยละ 94.7 อธิษฐานขอให้ในหลวงทรงหายจากพระอาการประชวร ทรงพระเจริญ ในขณะที่ อันดับสองหรือร้อยละ 94.6 ขอให้ครอบครัวมีความสุข อันดับสามหรือร้อยละ 88.9 ขอให้คนไทยรักกันไม่แตกแยก อันดับสี่หรือร้อยละ 88.5 ขอให้หมดทุกข์หมดโศก อันดับ ห้าหรือร้อยละ 85.3 อธิษฐานเรื่องสุขภาพ ในขณะที่เรื่อง เงินๆ ทองๆ กลับมาอยู่ในอันดับที่หก คือ ร้อยละ 72.5 อธิษฐานเรื่องเงินทอง อันดับเจ็ด หรือร้อยละ 67.7 อธิษฐานเรื่องงาน และร้อยละ 38.8 อธิษฐานเรื่องเรียน
ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ในกลุ่มคนที่ไปลอยกระทง ร้อยละ 27.8 จะไปสังสรรค์ต่อ ในขณะที่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.2 บอกลอยกระทง แล้วกลับบ้านเลย เพราะ วันรุ่งขึ้นต้องทำงาน ช่วงนี้เศรษฐกิจยังไม่ดี กลัวอันตรายต่างๆ เช่น อุบัติเหตุ กลุ่มแกงค์ซิ่ง พวกมิฉาชีพต่างๆ เป็นต้น
เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นของประชาชนต่อมาตรการรักษาความปลอดภัยของหน่วยงานต่างๆ พบสิ่งที่น่าสนใจคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อย ละ 81.6 กลับให้ความเชื่อมั่นต่อกลุ่มอาสาสมัคร หน่วยกู้ภัยต่างๆ รองลงมาคือร้อยละ 76.7 เชื่อมั่นตำรวจ และร้อยละ 74.9 เชื่อมั่นต่อเจ้าหน้าที่ ฝ่ายปกครอง เช่น กทม. จังหวัด อำเภอ แกนนำชุมชน เป็นต้น
แต่เมื่อสอบถามถึงความจำเป็นอยากให้ตำรวจตั้งด่านตรวจ และเพิ่มกำลังตรวจตราในหมู่บ้าน /ชุมชน หรือจุดต่างๆ ในคืนวันลอย กระทง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.7 เห็นว่าจำเป็นต้องตั้งด่านตรวจตามถนนสายหลัก ร้อยละ 90.1 จำเป็นต้องเพิ่มกำลังตรวจตรา ส่ง ประชาชนกลับบ้านอย่างปลอดภัย และร้อยละ 87.2 จำเป็นต้องตั้งด่านตรวจตามถนนสายรอง ตามลำดับ
แต่สิ่งที่ประชาชนกังวลในคืนวันลอยกระทงอันดับแรก คือร้อยละ 86.4 กังวลอุบัติเหตุ อันดับสองหรือร้อยละ 78.1 กังวลอันตรายจาก การเล่นดอกไม้ไฟ ร้อยละ 76.7 กังวลการทะเลาะวิวาท ร้อยละ 72.7 กังวลพฤติกรรมแกงค์ซิ่ง ร้อยละ 72.1 กังวลการโจรกรรมทรัพย์สิน ร้อย ละ 71.6 กังวลการลักลอบมีเพศสัมพันธ์ของเด็ก/เยาวชนก่อนวัยอันควร ร้อยละ 68.8 กังวลการเสพยาเสพติดเช่น กัญชา ยาบ้า ยาไอซ์ และร้อย ละ 66.3 กังวลปัญหาการลวนลามทางเพศ ตามลำดับ
นอกจากนี้ สิ่งที่ประชาชนกังวล ในวันหลังคืนวันลอยกระทง พบว่า ร้อยละ 80.8 ระบุความสกปรกของแม่น้ำ ลำคลอง ร้อยละ 73.2 ตื่นขึ้นมาเจอข่าวร้าย เช่น อุบัติเหตุ ไฟไหม้ ฆาตกรรม แกงค์ซิ่ง ข่มขืน อาชญากรรมต่างๆ ร้อยละ 50.8 กังวลเศรษฐกิจไม่ดี ร้อยละ 50.0 ลูก หลานจะเสียเนื้อเสียตัว รวมถึงตัวเองด้วย ร้อยละ 43.3 กังวลปัญหาทุกอย่างกลับมาเหมือนเดิม ไม่มีอะไรดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 42.3 กังวลว่าเงิน จะหมด และร้อยละ 33.8 กังวลปัญหาครอบครัว
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ประชาชนอยากเห็นมากที่สุดในวันต่อๆ ไป หลังคืนวันลอยกระทงคือ ร้อยละ 92.8 อยากเห็นการรณรงค์รักษาสิ่งแวด ล้อมของทุกฝ่าย เช่น ผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่รัฐ แกนนำชุมชนและประชาชนทั่วไป รองลงมาคือ ร้อยละ 92.5 อยากเห็นภาพประชาชนทั่วไปช่วยกัน ทำความสะอาด แม่น้ำลำคลอง และร้อยละ 91.0 อยากเห็นประชาชนเกิดความสำนึกในประโยชน์ของน้ำ ตามลำดับ
ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า โอกาสวันลอยกระทงปีนี้น่าจะถือเป็นวาระที่หนุนเสริมจิตสำนึกของประชาชนในการอนุรักษ์สิ่งแวด ล้อมและนำไปสู่นโยบายสาธารณะที่เน้นไปที่ความร่วมมือของคนในชุมชนด้านวัฒนธรรมประเพณีที่ปลอดภัยจากอันตรายและอาชญากรรมต่างๆ และการ กระตุ้นให้ประชาชนแสดงออกด้วยพลังสร้างสรรค์สามัคคีกันในการดูแลแหล่งน้ำ ทำความสะอาดแม่น้ำ ลำคลอง เพื่อประโยชน์ของการใช้สอยในชีวิต ประจำวันของประชาชนเอง นอกจากนี้ ประชาชนกังวลเรื่องอะไร ก็น่าจะมีมาตรการที่ตรงไปตรงมาลดทอนความกังวลของประชาชน ที่เจ้าหน้าที่ของ รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องทำตามหน้าที่อยู่แล้ว เช่น กังวลเรื่องอุบัติเหตุ อาชญากรรม ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน กลุ่มแกงค์ซิ่ง ยา เสพติด และการถูกละเมิดทางเพศ เป็นต้น
“ผลวิจัยครั้งนี้ย้ำให้เห็นอีกครั้งว่า แรงอธิษฐานของประชาชนที่มีจิตใจจดจ่อกับสิ่งที่ทำให้มีความสุขหลายประการที่ไม่ใช่เรื่องเงินทอง เพียงอย่างเดียว ได้แก่ ความสุขที่ทราบข่าวในหลวงทรงหายจากพระอาการประชวร ความสุขในครอบครัว ความสุขที่คนไทยไม่แตกแยกกัน และความ สุขจากสุขภาพกายสุขภาพใจของประชาชน” ดร.นพดล กล่าว
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 57.2 เป็นหญิง
ร้อยละ 42.8 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 14.2 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 22.9 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 25.5 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 27.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 72.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 23.4 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.1 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 34.6 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 24.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 14.4 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 12.7 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 4.8 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.9 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 2.6 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
ลำดับที่ การรับทราบเกี่ยวกับวันลอยกระทงในปีนี้ ค่าร้อยละ 1 ทราบว่าตรงกับวันที่ 2 พฤศจิกายน 2552 87.9 2 ทราบแต่บอกผิดวัน 5.0 3 ไม่ทราบ 7.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเข้าใจต่อวัตถุประสงค์ของประเพณีลอยกระทง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ความเข้าใจต่อวัตถุประสงค์ของประเพณีลอยกระทง ค่าร้อยละ 1 เป็นการขอบคุณแม่น้ำที่ทำประโยชน์ต่างๆ ให้กับมนุษย์ 96.6 2 เป็นการขอขมาแม่น้ำที่มนุษย์ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในน้ำ 96.6 3 เป็นการอธิษฐานตามที่ปรารถนา 84.3 4 เป็นการลอยเคราะห์ สะเดาะเคราะห์ 72.2 5 เป็นการบูชาเทพเจ้าตามความเชื่อของแต่ละคน 52.1 6 เป็นการบูชารอยพระพุทธบาท ณ หาดทรายฝั่งแม่น้ำนัมมทา 47.0 7 เป็นการบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ 40.3 8 เป็นการลอยส่งของให้ญาติที่อยู่ห่างไกลในสมัยโบราณ 35.5 9 เป็นการรำลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว 32.7 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจไปร่วมงานลอยกระทงในปีนี้ ลำดับที่ ความตั้งใจไปร่วมงานลอยกระทงในปีนี้ ค่าร้อยละ 1 ไป 58.0 2 ไม่ไป เพราะ ไม่ใช่วันหยุด ต้องทำงาน มีธุระ เศรษฐกิจไม่ดี ไม่ชอบ กลัวดอกไม้ไฟ กลัวเสียงดัง เป็นต้น 42.0 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ตั้งใจอธิษฐานขอในวันลอยกระทง (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่คิดว่าจะไป/ไปแน่นอน
และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ตั้งใจอธิษฐานขอในวันลอยกระทง ค่าร้อยละ 1 ขอให้ในหลวงทรงหายจากพระอาการประชวร ทรงพระเจริญ 94.7 2 ขอให้ครอบครัวมีความสุข 94.6 3 ขอให้คนไทยรักกันไม่แตกแยก 88.9 4 ขอให้หมดทุกข์หมดโศก 88.5 5 อธิษฐานเรื่องสุขภาพ 85.3 6 อธิษฐานเรื่องเงินทอง 72.5 7 อธิษฐานเรื่องงาน 67.7 8 อธิษฐานเรื่องเรียน 38.8 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจจะไปสังสรรค์กับเพื่อนหลังจากลอยกระทงแล้ว (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ไปลอยกระทง) ลำดับที่ ความตั้งใจจะไปสังสรรค์กับเพื่อน หลังจากลอยกระทงแล้ว ค่าร้อยละ 1 ไปสังสรรค์ต่อ 27.8 2 ไม่ไป กลับบ้านเลย เพราะ วันรุ่งขึ้นต้องทำงาน ช่วงนี้เศรษฐกิจยังไม่ดี กลัวอันตรายต่างๆ เช่น อุบัติเหตุ กลุ่มแกงค์ซิ่ง พวกมิฉาชีพต่างๆ เป็นต้น 72.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นในมาตรการรักษาความปลอดภัยของหน่วยงานต่างๆ ลำดับที่ ความเชื่อมั่นในมาตรการรักษาความปลอดภัยของหน่วยงานต่างๆ เชื่อมั่นค่าร้อยละ ไม่เชื่อมั่นค่าร้อยละ รวมทั้งสิ้น 1 อาสาสมัคร หน่วยกู้ภัยต่างๆ 81.6 18.4 100.0 2 การทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ 76.7 23.3 100.0 3 เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เช่น กทม. จังหวัด อำเภอ แกนนำชุมชน 74.9 25.1 100.0 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นในความจำเป็นที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ จำต้องตั้งด่านตรวจ และเพิ่มกำลังตรวจตราในหมู่บ้าน/ชุมชน หรือตามจุดต่างๆ ในคืนวันลอยกระทง ลำดับที่ การตั้งด่านตรวจตามจุดต่างๆ จำเป็นค่าร้อยละ ไม่จำเป็นค่าร้อยละ รวมทั้งสิ้น 1 ตั้งด่านตรวจตามถนนสายหลัก 90.7 9.3 100.0 2 เพิ่มกำลังตรวจตรา ส่งประชาชนกลับบ้านอย่างปลอดภัย 90.1 9.9 100.0 3 ตั้งด่านตรวจตามถนนสายรอง 87.2 12.8 100.0 ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่กังวลในคืนวันลอยกระทง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ สิ่งที่กังวลในคืนวันลอยกระทง ค่าร้อยละ 1 อุบัติเหตุ 86.4 2 อันตรายจากการเล่นดอกไม้ไฟ 78.1 3 การทะเลาะวิวาท 76.7 4 พฤติกรรมของแกงค์ซิ่ง 72.7 5 การโจรกรรมทรัพย์สิน 72.1 6 การลักลอบมีเพศสัมพันธ์ของเด็ก/เยาวชนก่อนวัยอันควร 71.6 7 การเสพยาเสพติด เช่น กัญชา ยาบ้า ยาไอซ์ 68.8 8 การลวนลามทางเพศ 66.3 ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่กังวลว่าจะเกิดขึ้นหลังคืนวันลอยกระทง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ สิ่งที่กังวลว่าจะเกิดขึ้นหลังคืนวันลอยกระทง ค่าร้อยละ 1 ความสกปรกของแม่น้ำ ลำคลอง 80.8 2 เจอข่าวร้าย เช่น อุบัติเหตุ ไฟไหม้ ฆาตกรรม แกงค์ซิ่ง ข่มขืน อาชญากรรมต่างๆ 73.2 3 เศรษฐกิจไม่ดี 50.8 4 ลูกหลาน เสียเนื้อเสียตัว (รวมถึงตัวเองด้วย) 50.0 5 ปัญหาทุกอย่างกลับมาเหมือนเดิม ไม่มีอะไรดีขึ้น 43.3 6 เงินจะหมด 42.3 7 ปัญหาครอบครัว 33.8 ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่อยากเห็นในวันต่อๆไป หลังคืนวันลอยกระทง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ สิ่งที่อยากเห็นในวันต่อๆไป หลังคืนวันลอยกระทง ค่าร้อยละ 1 การรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อมของทุกฝ่าย เช่นผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่รัฐ แกนนำชุมชน และประชาชนทั่วไป 92.8 2 ภาพของประชาชนทั่วไปช่วยกันทำความสะอาด แม่น้ำลำคลอง 92.5 3 ประชาชนเกิดความสำนึกในประโยชน์ของน้ำ 91.0 --เอแบคโพลล์-- -พห-