เอแบคโพลล์: ความเชื่อมั่นของสาธารณชนต่ออายุการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ข่าวผลสำรวจ Monday November 2, 2009 08:41 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ความเชื่อมั่นของ สาธารณชนต่ออายุการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 27 จังหวัดของประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ปทุมธานี ลพบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี สระแก้ว ยโสธร ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ขอนแก่น อุดรธานี สกลนคร หนองคาย น่าน เชียงใหม่ เชียงราย นครสวรรค์ สุโขทัย พิษณุโลก สมุทรสาคร กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สุราษฎร์ ธานี นครศรีธรรมราช ยะลา และนราธิวาส จำนวนทั้งสิ้น 8,686 ตัวอย่าง ดำเนินการสำรวจในวันที่ 21 ตุลาคม — 1 พฤศจิกายน 2552 ผลการสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวเป็นประจำทุกสัปดาห์

เมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง ผลสำรวจพบว่า แนวโน้มของกลุ่มคนที่เห็น ด้วยกับการแก้ไขมาตรานี้ลดลงจากร้อยละ 77.6 ในเดือนกันยายน มาอยู่ที่ร้อยละ 60.6 ในการสำรวจครั้งล่าสุด ส่วนเหตุผลของผู้ที่เห็นด้วยกับการ แก้ไขรัฐธรรมนูญคือ ทำให้เปลี่ยนรัฐบาลบ่อย ทำงานไม่ต่อเนื่อง ฝ่ายการเมืองอ่อนแอเกินไป เกิดความขัดแย้งในสังคม บ้านเมืองแตกแยก เป็นต้น ในขณะที่ผู้ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 22.4 ในเดือนกันยายน มาอยู่ที่ร้อยละ 39.4 ในเดือนตุลาคม เพราะ ดีอยู่แล้ว ช่วยขจัดคนไม่ดีที่แอบแฝงออกไป และต้องการให้พรรคอื่นโดนยุบบ้าง เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.7 เห็นว่าควรทำประชามติก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในขณะที่ร้อยละ 7.9 เห็นว่าควรทำ ประชามติหลังรัฐธรรมนูญ และร้อยละ 10.4 มองว่าไม่ควรทำประชามติ

เมื่อสอบถามความเชื่อมั่นของสาธารณชนต่ออายุการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน พบว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 54.3 เชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะ อยู่เกินกว่า 6 เดือนขึ้นไป ในขณะที่ร้อยละ 45.7 เชื่อว่าจะไม่เกิน 6 เดือน เมื่อจำแนกประชาชนออกตามภูมิภาค พบว่า ประชาชนในทุกภาคเกิน กว่าครึ่งยกเว้น ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เชื่อมั่นว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันจะมีอายุการทำงานเกินกว่า 6 เดือนขึ้นไป โดยคนภาคเหนือร้อย ละ 55.6 ภาคกลางร้อยละ 56.2 ภาคใต้ร้อยละ 78.7 และคนกรุงเทพฯ ร้อยละ 52.4 เชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะมีอายุการทำงานเกินกว่า 6 เดือนขึ้น ไป แต่ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.5 เชื่อว่ารัฐบาลจะทำงานต่อไปไม่เกิน 6 เดือน

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 51.0 เป็นหญิง

ร้อยละ 49.0 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 8.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 23.1 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 27.2 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 23.1 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และร้อยละ 17.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 82.6 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 16.2 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 1.2 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 40.2 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 31.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 7.3 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 5.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 7.0 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ร้อยละ 6.0 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ในขณะที่ร้อยละ 2.5 ระบุว่างงาน

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่          การติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา       ค่าร้อยละ
1          ทุกวัน/เกือบทุกวัน                                        46.3
2          3-4 วันต่อสัปดาห์                                        23.9
3          1-2 วันต่อสัปดาห์                                        14.3
4          ติดตามเป็นบางสัปดาห์                                     13.0
5          ไม่ได้ติดตามเลย                                          2.5
          รวมทั้งสิ้น                                              100.0

ตารางที่ 2   แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตรา เกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
ลำดับที่          ความเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง   สิงหาคมค่าร้อยละ  กันยายนค่าร้อยละ  ตุลาคมค่าร้อยละ
1          ควรแก้ไข เพราะทำให้เปลี่ยนรัฐบาลบ่อย ทำงานไม่ต่อเนื่องฝ่ายการเมืองอ่อนแอ
           เกินไปเกิดความขัดแย้งในสังคม บ้านเมืองแตกแยก เป็นต้น                      74.1           77.6          60.6
2          ไม่ควรแก้ไข เพราะ ดีอยู่แล้ว ช่วยขจัดคนไม่ดีที่แอบแฝงออกไป และต้องการ
           ให้พรรคอื่นโดนยุบบ้าง เป็นต้น                                           25.9           22.4          39.4
          รวมทั้งสิ้น                                                          100.0          100.0         100.0

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการลงมติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่          ความคิดเห็น                                        ค่าร้อยละ
1          ควรทำประชามติก่อนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ                        81.7
2          ควรทำประชามติหลังการแก้ไขรัฐธรรมนูญ                         7.9
3          ไม่ควรทำประชามติ                                        10.4
          รวมทั้งสิ้น                                               100.0

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่ออายุการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ลำดับที่          ความเชื่อมั่นในการอยู่ในวาระของรัฐบาลชุดปัจจุบัน            ค่าร้อยละ
1          ไม่เกิน 6 เดือน                                          45.7
2          มากกว่า 6 เดือนขึ้นไป                                     54.3
          รวมทั้งสิ้น                                               100.0

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่ออายุการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน (จำแนกตามภูมิภาค)
ลำดับที่          ความเชื่อมั่นของประชาชน        เหนือ          กลาง          อีสาน          ใต้        กรุงเทพฯ
1          ไม่เกิน 6 เดือน                    44.4         43.8          57.5         21.3         47.6
2          มากกว่า 6 เดือนขึ้นไป               55.6         56.2          42.5         78.7         52.4
          รวมทั้งสิ้น                         100.0        100.0         100.0        100.0        100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ