ที่มาของโครงการ
คงเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า สถานการณ์การเมืองของประเทศไทยในขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะหันเหไปในทิศทางใด และอะไรจะเกิด
ขึ้นในอนาคตอันใกล้ ซึ่งแต่ละเหตุการณ์ทางการเมืองที่ปรากฏในขณะนี้ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกนึกคิดของประชาชน เช่น การกลับมาทำงาน
ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรในฐานะนายกรัฐมนตรี การเรียกร้องให้ กกต. ลาออก และการสนับสนุนให้ทำงานต่อ บทบาทของศาลต่างๆ ในการคลี่
คลายสถานการณ์ร้อนแรงทางการเมือง เป็นต้น
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปใน 21 จังหวัดทั่ว
ประเทศ ถึงประเด็นความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้และการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นใหม่ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และ
พนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อปัญหาที่ต้องการให้นายกรัฐมนตรีเร่งแก้ไข
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ความคิดเห็นของสาธารณชนต่อสถานการณ์
การเมืองในขณะนี้และการเลือกตั้งครั้งใหม่: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด” ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่
22 — 30 พฤษภาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจาก 21 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ
ปทุมธานี เชียงใหม่ ลำปาง นครสวรรค์ น่าน พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ หนองคาย สกลนคร ขอนแก่น สุรินทร์ นครราชสีมา
อุบลราชธานี ระนอง นครศรีธรรมราช และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 4,167 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.6 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 46.4 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 21.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 31.3 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 19.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 74.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.7 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 28.8 ระบุอาชีพเกษตรกร
ตัวอย่าง ร้อยละ 20.5 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 13.6 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 11.9 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 10.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.4 เป็นพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.5 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
และร้อยละ 1.9 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นของสาธารณชน
ต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้และการเลือกตั้งครั้งใหม่: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด” จำนวนทั้งสิ้น 4,167
ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 22 - 30 พฤษภาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ผลสำรวจครั้งนี้พบว่า ประชาชนผู้ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.4 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ในขณะที่
ร้อยละ 27.5 ติดตามบ้าง และร้อยละ 4.1 ไม่ได้ติดตามเลย ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.9 คิดว่าการเมืองไทยไม่ใสสะอาด
เพราะมีแต่ความขัดแย้งแย่งอำนาจกัน แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง ใส่ร้ายป้ายสีกัน จ้องทำร้ายทำลายกัน ปลุกปั่นกระแสให้สังคมแตกแยก
แทรกแซงสื่อมวลชน แทรกแซงองค์กรอิสระ และทะเลาะกันไม่เลือกกาลเทศะ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 19.3 คิดว่าการเมืองไทยใสสะอาด และร้อย
ละ 17.8 ไม่มีความเห็น อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.1 คาดหวังต่อศาลต่างๆ เช่น ศาลฎีกา ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญใน
การทำให้การเมืองไทยดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 18.2 ไม่คาดหวัง และร้อยละ 11.7 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามถึงความเป็นไปได้ที่พรรคการเมืองใหญ่จะถูกยุบพรรค ผลสำรวจพบว่า ประชาชนเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 52.8 คิดว่า
เป็นไปได้ ในขณะที่ร้อยละ 31.7 ไม่คิดว่าเป็นไปได้ และร้อยละ 15.5 ไม่มีความเห็น ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นด้วยว่าประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ
44.9 คิดว่าไม่น่าตำหนิ ส.ส.พรรคการเมืองที่คิดย้ายพรรคเมื่อรู้สึกไม่มั่นใจต่ออนาคตทางการเมืองของพรรค ในขณะที่ร้อยละ 37.9 คิดว่าน่าตำหนิ
และร้อยละ 17.2 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามถึงระดับความรุนแรงของสถานการณ์การเมืองในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.3 คิดว่าจะ
รุนแรงมากขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 25.4 คิดว่าจะรุนแรงเหมือนเดิม ร้อยละ 6.1 คิดว่าจะลดลง และร้อยละ 10.2 ไม่มีความเห็น อย่างไรก็ตาม
สำหรับปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างประชาชนคิดว่าจะพิจารณาตัดสินใจเลือกผู้สมัคร ส.ส. ระหว่าง ตัวบุคคล นโยบายพรรค และผลงาน เมื่อตอบได้มากกว่า
1 ข้อ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.8 ดูที่ผลงานของผู้สมัคร ร้อยละ 66.4 ดูที่ผลงานภาพรวมของพรรคการเมือง และร้อยละ 59.3 ดูที่
นโยบายพรรค
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ความคิดเห็นของประชาชนต่อ การกลับมาทำงานของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ในฐานะนายกรัฐมนตรี กับการรักษาคำพูด
เรื่องลาพัก เมื่อจำแนกระหว่างกลุ่มประชาชนในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด พบความแตกต่างกัน คือจำนวนคนกรุงเทพมากกว่าคนต่างจังหวัดที่คิด
ว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ควรรักษาคำพูด ร้อยละ 57.2 ต่อร้อยละ 44.8 ในทางตรงกันข้าม คนต่างจังหวัดมีจำนวนมากกว่าคนกรุงเทพมหานครที่คิดว่า
ไม่ต้องรักษาคำพูดแต่ให้กลับมาทำงานในฐานะนายกรัฐมนตรีร้อยละ 55.2 ต่อร้อยละ 42.8
สำหรับปัญหาที่ประชาชนต้องการให้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เร่งแก้ไข อันดับที่ 1 ได้แก่ ยาเสพติด (ร้อยละ 75.3) อันดับที่ 2 ได้แก่ปัญหา
เศรษฐกิจ (ร้อยละ 70.3) อันดับที่ 3 ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ร้อยละ 69.2) อันดับที่ 4 ปัญหาความยากจน (ร้อยละ
63.6) อันดับที่ 5 ภัยพิบัติ น้ำท่วม พายุ ดินถล่ม (ร้อยละ 57.7) อันดับที่ 6 ปัญหาความแตกแยกของคนในชาติ (ร้อยละ 53.7) อันดับที่ 7 ปัญหาผู้มี
อิทธิพล (ร้อยละ 51.8) อันดับที่ 8 ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น (ร้อยละ 50.2) อันดับที่ 9 ปัญหาภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีและคนใกล้ชิด (ร้อยละ
42.6) และอันดับที่ 10 ปัญหาอื่นๆ เช่น ราคาพืชผลทางการเกษตร ปัญหาจราจร ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นต้น (ร้อยละ 33.9)
เกล็ดความรู้เรื่องโพลล์
“เมื่ออ่านผลโพลล์ควรบวกลบค่าความคลาดเคลื่อนที่กำหนดไว้ทุกครั้ง และสิ่งหนึ่งที่คนอ่านโพลล์ควรถามนักทำโพลล์คือมีวิธีการสุ่มตัวอย่าง
อย่างไร ไม่ควรดูเพียงแค่ขนาดตัวอย่างจำนวนเยอะๆ เท่านั้น”
จุดยืนเอแบคโพลล์
“ให้และรับการศึกษา เคร่งครัดเรื่องระเบียบวิธีวิจัย ไม่ฝักใฝ่และไม่ลงสนามแข่งขันทางการเมือง”
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ พฤติกรรมการติดตามข่าวการเมือง ค่าร้อยละ
1 ติดตามเป็นประจำ 68.4
2 ติดตามบ้าง 27.5
3 ไม่ได้ติดตามเลย 4.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อการเมืองไทยโดยภาพรวมระหว่างเป็นเรื่องใสสะอาด
กับไม่ใสสะอาด (สกปรก)
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อการเมืองไทย ค่าร้อยละ
1 เป็นเรื่องใสสะอาด 19.3
2 คิดว่าไม่ใสสะอาด (สกปรก) เพราะมีแต่ความขัดแย้งแก่งแย่งอำนาจกัน
แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง ใส่ร้ายป้ายสีกัน จ้องทำร้ายทำลายกัน
ปลุกปั่นกระแสให้สังคมแตกแยก วุ่นวายไม่จบสิ้น แทรกแซงสื่อมวลชน
แทรกแซงองค์กรอิสระ และทะเลาะกันโดยไม่เลือกกาลเทศะ เป็นต้น 62.9
3 ไม่มีความเห็น 17.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคาดหวังต่อศาลต่างๆ ในการทำให้การเมืองไทยดีขึ้น
ลำดับที่ ความคาดหวัง ค่าร้อยละ
1 คาดหวัง 70.1
2 ไม่คาดหวัง 18.2
3 ไม่มีความเห็น 11.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเป็นไปได้ที่พรรคการเมืองใหญ่จะถูกยุบพรรค
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าเป็นไปได้ 52.8
2 ไม่คิดว่าเป็นไปได้ 31.7
3 ไม่มีความเห็น 15.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการตำหนิ ส.ส.พรรคการเมืองที่คิดย้ายพรรค
เมื่อรู้สึกไม่มั่นใจต่ออนาคตทางการเมืองของพรรค
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 น่าตำหนิ 37.9
2 ไม่น่าตำหนิ 44.9
3 ไม่มีความเห็น 17.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สถานการณ์ความรุนแรงในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะรุนแรงมากขึ้น 58.3
2 คิดว่าจะเหมือนเดิม 25.4
3 คิดว่าจะลดลง 6.1
4 ไม่มีความเห็น 10.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัจจัยที่จะพิจารณาตัดสินใจเลือกผู้สมัคร ส.ส. ระหว่าง
ตัวบุคคล นโยบาย และผลงาน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ผลงานของผู้สมัคร 75.8
2 ผลงานภาพรวมของพรรคการเมือง 66.4
3 นโยบายพรรค 59.3
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กรณีการรักษาคำพูดและ
การไม่ต้องรักษาคำพูดเพื่อจะกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
ลำดับที่ ความคิดเห็นชอบตัวอย่าง คนกทม.ค่าร้อยละ คนต่างจังหวัดค่าร้อยละ
1 ควรรักษาคำพูดเรื่องลาพัก 57.2 44.8
2 ไม่ต้องรักษาคำพูด เพื่อจะกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีใหม่อีกครั้ง 42.8 55.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดง 10 อันดับค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาที่นายกรัฐมนตรีควรเร่งแก้ไข (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาที่นายกรัฐมนตรีควรเร่งแก้ไข ค่าร้อยละ
1 ยาเสพติด 75.3
2 ปัญหาเศรษฐกิจ 70.3
3 ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ 69.2
4 ปัญหาความยากจน 63.6
5 ภัยพิบัติ น้ำท่วม พายุ ดินถล่ม 57.7
6 ปัญหาความแตกแยกของคนในชาติ 53.7
7 ปัญหาผู้มีอิทธิพล 51.8
8 ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น 50.2
9 ปัญหาภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีและคนใกล้ชิด 42.6
10 อื่นๆ ระบุ อาทิ ปัญหาราคาพืชผลเกษตร ปัญหาจราจร ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นต้น 33.9
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
คงเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า สถานการณ์การเมืองของประเทศไทยในขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะหันเหไปในทิศทางใด และอะไรจะเกิด
ขึ้นในอนาคตอันใกล้ ซึ่งแต่ละเหตุการณ์ทางการเมืองที่ปรากฏในขณะนี้ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกนึกคิดของประชาชน เช่น การกลับมาทำงาน
ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรในฐานะนายกรัฐมนตรี การเรียกร้องให้ กกต. ลาออก และการสนับสนุนให้ทำงานต่อ บทบาทของศาลต่างๆ ในการคลี่
คลายสถานการณ์ร้อนแรงทางการเมือง เป็นต้น
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปใน 21 จังหวัดทั่ว
ประเทศ ถึงประเด็นความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้และการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นใหม่ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และ
พนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อปัญหาที่ต้องการให้นายกรัฐมนตรีเร่งแก้ไข
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ความคิดเห็นของสาธารณชนต่อสถานการณ์
การเมืองในขณะนี้และการเลือกตั้งครั้งใหม่: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด” ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่
22 — 30 พฤษภาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจาก 21 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ
ปทุมธานี เชียงใหม่ ลำปาง นครสวรรค์ น่าน พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ หนองคาย สกลนคร ขอนแก่น สุรินทร์ นครราชสีมา
อุบลราชธานี ระนอง นครศรีธรรมราช และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 4,167 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.6 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 46.4 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 21.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 31.3 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 19.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 74.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.7 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 28.8 ระบุอาชีพเกษตรกร
ตัวอย่าง ร้อยละ 20.5 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 13.6 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 11.9 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 10.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.4 เป็นพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.5 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
และร้อยละ 1.9 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นของสาธารณชน
ต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้และการเลือกตั้งครั้งใหม่: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด” จำนวนทั้งสิ้น 4,167
ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 22 - 30 พฤษภาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ผลสำรวจครั้งนี้พบว่า ประชาชนผู้ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.4 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ในขณะที่
ร้อยละ 27.5 ติดตามบ้าง และร้อยละ 4.1 ไม่ได้ติดตามเลย ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.9 คิดว่าการเมืองไทยไม่ใสสะอาด
เพราะมีแต่ความขัดแย้งแย่งอำนาจกัน แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง ใส่ร้ายป้ายสีกัน จ้องทำร้ายทำลายกัน ปลุกปั่นกระแสให้สังคมแตกแยก
แทรกแซงสื่อมวลชน แทรกแซงองค์กรอิสระ และทะเลาะกันไม่เลือกกาลเทศะ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 19.3 คิดว่าการเมืองไทยใสสะอาด และร้อย
ละ 17.8 ไม่มีความเห็น อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.1 คาดหวังต่อศาลต่างๆ เช่น ศาลฎีกา ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญใน
การทำให้การเมืองไทยดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 18.2 ไม่คาดหวัง และร้อยละ 11.7 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามถึงความเป็นไปได้ที่พรรคการเมืองใหญ่จะถูกยุบพรรค ผลสำรวจพบว่า ประชาชนเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 52.8 คิดว่า
เป็นไปได้ ในขณะที่ร้อยละ 31.7 ไม่คิดว่าเป็นไปได้ และร้อยละ 15.5 ไม่มีความเห็น ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นด้วยว่าประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ
44.9 คิดว่าไม่น่าตำหนิ ส.ส.พรรคการเมืองที่คิดย้ายพรรคเมื่อรู้สึกไม่มั่นใจต่ออนาคตทางการเมืองของพรรค ในขณะที่ร้อยละ 37.9 คิดว่าน่าตำหนิ
และร้อยละ 17.2 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามถึงระดับความรุนแรงของสถานการณ์การเมืองในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.3 คิดว่าจะ
รุนแรงมากขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 25.4 คิดว่าจะรุนแรงเหมือนเดิม ร้อยละ 6.1 คิดว่าจะลดลง และร้อยละ 10.2 ไม่มีความเห็น อย่างไรก็ตาม
สำหรับปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างประชาชนคิดว่าจะพิจารณาตัดสินใจเลือกผู้สมัคร ส.ส. ระหว่าง ตัวบุคคล นโยบายพรรค และผลงาน เมื่อตอบได้มากกว่า
1 ข้อ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.8 ดูที่ผลงานของผู้สมัคร ร้อยละ 66.4 ดูที่ผลงานภาพรวมของพรรคการเมือง และร้อยละ 59.3 ดูที่
นโยบายพรรค
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ความคิดเห็นของประชาชนต่อ การกลับมาทำงานของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ในฐานะนายกรัฐมนตรี กับการรักษาคำพูด
เรื่องลาพัก เมื่อจำแนกระหว่างกลุ่มประชาชนในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด พบความแตกต่างกัน คือจำนวนคนกรุงเทพมากกว่าคนต่างจังหวัดที่คิด
ว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ควรรักษาคำพูด ร้อยละ 57.2 ต่อร้อยละ 44.8 ในทางตรงกันข้าม คนต่างจังหวัดมีจำนวนมากกว่าคนกรุงเทพมหานครที่คิดว่า
ไม่ต้องรักษาคำพูดแต่ให้กลับมาทำงานในฐานะนายกรัฐมนตรีร้อยละ 55.2 ต่อร้อยละ 42.8
สำหรับปัญหาที่ประชาชนต้องการให้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เร่งแก้ไข อันดับที่ 1 ได้แก่ ยาเสพติด (ร้อยละ 75.3) อันดับที่ 2 ได้แก่ปัญหา
เศรษฐกิจ (ร้อยละ 70.3) อันดับที่ 3 ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ร้อยละ 69.2) อันดับที่ 4 ปัญหาความยากจน (ร้อยละ
63.6) อันดับที่ 5 ภัยพิบัติ น้ำท่วม พายุ ดินถล่ม (ร้อยละ 57.7) อันดับที่ 6 ปัญหาความแตกแยกของคนในชาติ (ร้อยละ 53.7) อันดับที่ 7 ปัญหาผู้มี
อิทธิพล (ร้อยละ 51.8) อันดับที่ 8 ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น (ร้อยละ 50.2) อันดับที่ 9 ปัญหาภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีและคนใกล้ชิด (ร้อยละ
42.6) และอันดับที่ 10 ปัญหาอื่นๆ เช่น ราคาพืชผลทางการเกษตร ปัญหาจราจร ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นต้น (ร้อยละ 33.9)
เกล็ดความรู้เรื่องโพลล์
“เมื่ออ่านผลโพลล์ควรบวกลบค่าความคลาดเคลื่อนที่กำหนดไว้ทุกครั้ง และสิ่งหนึ่งที่คนอ่านโพลล์ควรถามนักทำโพลล์คือมีวิธีการสุ่มตัวอย่าง
อย่างไร ไม่ควรดูเพียงแค่ขนาดตัวอย่างจำนวนเยอะๆ เท่านั้น”
จุดยืนเอแบคโพลล์
“ให้และรับการศึกษา เคร่งครัดเรื่องระเบียบวิธีวิจัย ไม่ฝักใฝ่และไม่ลงสนามแข่งขันทางการเมือง”
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ พฤติกรรมการติดตามข่าวการเมือง ค่าร้อยละ
1 ติดตามเป็นประจำ 68.4
2 ติดตามบ้าง 27.5
3 ไม่ได้ติดตามเลย 4.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อการเมืองไทยโดยภาพรวมระหว่างเป็นเรื่องใสสะอาด
กับไม่ใสสะอาด (สกปรก)
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อการเมืองไทย ค่าร้อยละ
1 เป็นเรื่องใสสะอาด 19.3
2 คิดว่าไม่ใสสะอาด (สกปรก) เพราะมีแต่ความขัดแย้งแก่งแย่งอำนาจกัน
แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง ใส่ร้ายป้ายสีกัน จ้องทำร้ายทำลายกัน
ปลุกปั่นกระแสให้สังคมแตกแยก วุ่นวายไม่จบสิ้น แทรกแซงสื่อมวลชน
แทรกแซงองค์กรอิสระ และทะเลาะกันโดยไม่เลือกกาลเทศะ เป็นต้น 62.9
3 ไม่มีความเห็น 17.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคาดหวังต่อศาลต่างๆ ในการทำให้การเมืองไทยดีขึ้น
ลำดับที่ ความคาดหวัง ค่าร้อยละ
1 คาดหวัง 70.1
2 ไม่คาดหวัง 18.2
3 ไม่มีความเห็น 11.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเป็นไปได้ที่พรรคการเมืองใหญ่จะถูกยุบพรรค
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าเป็นไปได้ 52.8
2 ไม่คิดว่าเป็นไปได้ 31.7
3 ไม่มีความเห็น 15.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการตำหนิ ส.ส.พรรคการเมืองที่คิดย้ายพรรค
เมื่อรู้สึกไม่มั่นใจต่ออนาคตทางการเมืองของพรรค
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 น่าตำหนิ 37.9
2 ไม่น่าตำหนิ 44.9
3 ไม่มีความเห็น 17.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สถานการณ์ความรุนแรงในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะรุนแรงมากขึ้น 58.3
2 คิดว่าจะเหมือนเดิม 25.4
3 คิดว่าจะลดลง 6.1
4 ไม่มีความเห็น 10.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัจจัยที่จะพิจารณาตัดสินใจเลือกผู้สมัคร ส.ส. ระหว่าง
ตัวบุคคล นโยบาย และผลงาน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ผลงานของผู้สมัคร 75.8
2 ผลงานภาพรวมของพรรคการเมือง 66.4
3 นโยบายพรรค 59.3
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กรณีการรักษาคำพูดและ
การไม่ต้องรักษาคำพูดเพื่อจะกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
ลำดับที่ ความคิดเห็นชอบตัวอย่าง คนกทม.ค่าร้อยละ คนต่างจังหวัดค่าร้อยละ
1 ควรรักษาคำพูดเรื่องลาพัก 57.2 44.8
2 ไม่ต้องรักษาคำพูด เพื่อจะกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีใหม่อีกครั้ง 42.8 55.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดง 10 อันดับค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาที่นายกรัฐมนตรีควรเร่งแก้ไข (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาที่นายกรัฐมนตรีควรเร่งแก้ไข ค่าร้อยละ
1 ยาเสพติด 75.3
2 ปัญหาเศรษฐกิจ 70.3
3 ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ 69.2
4 ปัญหาความยากจน 63.6
5 ภัยพิบัติ น้ำท่วม พายุ ดินถล่ม 57.7
6 ปัญหาความแตกแยกของคนในชาติ 53.7
7 ปัญหาผู้มีอิทธิพล 51.8
8 ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น 50.2
9 ปัญหาภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีและคนใกล้ชิด 42.6
10 อื่นๆ ระบุ อาทิ ปัญหาราคาพืชผลเกษตร ปัญหาจราจร ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นต้น 33.9
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-