เอแบคโพลล์: แนวโน้มดัชนีความสุขของคนไทยประจำเดือนตุลาคม 2552 กับการตัดสินใจของประชาชนต่อความอยู่รอดของประเทศชาติหรือผลประโยชน์ของตนเอง

ข่าวผลสำรวจ Wednesday November 4, 2009 11:01 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือศูนย์วิจัยความสุขชุมชน(Academic

Network for Community Happiness Observation and Research,  ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย            “เอ
แบคเรียลไทม์โพลล์” ที่เป็นการสำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับ
ครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อทำการสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไวภายในระยะเวลาประมาณ 10 ชั่วโมง จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่าย
คอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจเรื่อง แนวโน้มดัชนีความสุขของคนไทยประจำเดือนตุลาคม 2552 กับการตัดสินใจของประชาชน
ต่อความอยู่รอดของประเทศชาติหรือผลประโยชน์ของตนเอง กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนระดับครัวเรือนใน 17 จังหวัดของประเทศได้แก่ กรุงเทพมหา
นคร  จันทบุรี นครปฐม ชลบุรี นครสวรรค์  น่าน ลำปาง เชียงใหม่ ยโสธร กาฬสินธุ์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุดรธานี ขอนแก่น กระบี่ นราธิวาส และ
สงขลา จำนวนทั้งสิ้น  1,245 ครัวเรือน ดำเนินการสำรวจในวันที่ 3 พฤศจิกายน  2552 พบว่า

ผลการวิจัยแนวโน้มดัชนีความสุขของคนไทยประจำเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยสำรวจล่าสุดเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายนที่ผ่านมา พบว่า ความสุข โดยภาพรวมของคนไทยสูงขึ้นจาก 7.18 ในเดือนสิงหาคม มาอยู่ที่ 7.50 ในการสำรวจครั้งล่าสุด และนอกจากนี้ ดัชนีความสุขของ คนไทยทุกตัวดี ขึ้นโดยเฉพาะความสุขที่เห็นคนไทยแสดงความจงรักภักดีสูงถึง 9.84 จากคะแนนเต็ม 10 และรองลงมาคือความสุขต่อบรรยากาศของคนในครอบครัวสูง ขึ้นจาก 8.44 มาอยู่ที่ 9.00 ความสุขต่อวัฒนธรรมประเพณีสูงขึ้นจาก 8.19 มาอยู่ที่ 8.22 ความสุขต่อสุขภาพใจสูงขึ้นจาก 7.73 มาอยู่ที่ 7.90 ความสุขต่อสุขภาพกาย สูงขึ้นจาก 7.69 มาอยู่ที่ 7.77 ความสุขต่อหน้าที่การงานสูงขึ้นจาก 7.63 มาอยู่ที่ 7.67 ความสุขต่อสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย สูงขึ้นจาก 7.50 มาอยู่ที่ 7.64 ความสุขต่อบรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชนสูงขึ้นจาก 7.17 มาอยู่ที่ 7.54 ความสุขต่อสภาวะเศรษฐกิจของตน เองและครอบครัวสูงขึ้นจาก 6.56 มาอยู่ที่ 6.92 ความสุขต่อความเป็นธรรมทางสังคมสูงขึ้นจาก 6.18 มาอยู่ที่ 6.99 อย่างไรก็ตาม ความสุขของ ประชาชนต่อบรรยากาศทางการเมืองยังต่ำกว่าครึ่งคือได้ 4.74 จากคะแนนเต็ม 10 แต่ก็สูงขึ้นจาก 4.63 มาอยู่ที่ 4.74 คะแนน

ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนที่ได้รับประโยชน์จากผลงานรัฐบาลโดยตรงด้วยตนเองในระดับมากส่งผลให้มีความสุข 7.66 ถ้าได้รับระดับ ปานกลางมีความสุข 7.40 แต่ถ้าได้รับน้อยมีความสุข 7.28 โดยผลงานของรัฐบาลที่ได้รับโดยตรงเช่น เบี้ยยังชีพ ที่ทำกิน อาชีพการงาน ความ ปลอดภัย เป็นต้น เช่นเดียวกันกับ การรับรู้ของประชาชนต่อท่าทีของฝ่ายค้านในการเคลื่อนไหวทางการเมือง เช่น เชิงสร้างสรรค์ ช่วยกันแก้ปัญหาบ้าน เมือง ลงพื้นที่พบชาวบ้าน เป็นต้น ถ้าประชาชนรับรู้มากมีความสุขที่ 7.63 รับรู้ปานกลางมีความสุขที่ 7.52 และรับรู้น้อยมีความสุขที่ 7.42 ตามลำดับ

ที่น่ายินดีคือ ความสุขของประชาชนที่รับรู้ภาพลักษณ์ของคนไทย เด็กเยาวชนไทย ประเทศไทยที่เก่ง ดี ในสายตาชาวโลก พบว่า ถ้ารับรู้มาก มีความสุขระดับมากเช่นกันอยู่ที่ 7.80 รับรู้ปานกลางมีความสุขที่ 7.35 รับรู้น้อยมีความสุขที่ 6.76 เช่นเดียวกับการรับรู้ต่อความสัมพันธ์ที่ดี ของคนไทยภายในประเทศ เช่น มีน้ำใจต่อกัน เกื้อกูลกัน มีไมตรีจิตต่อกัน ช่วยกันประคับประคองประเทศให้พ้นปัญหาต่างๆ พบว่า รับรู้มากมีความสุขอยู่ ที่ 7.85 รับรู้ปานกลางมีความสุขที่ 7.50 และรับรู้น้อยมีความสุขที่ 6.85 คะแนน

แต่ปัจจัยที่พบความแตกต่างและสำคัญมากอย่างชัดเจนคือ การรับรู้ของประชาชนต่อความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันของคนในชุมชน ถ้ารับรู้ มากมีความสุขที่ 7.61 รับรู้ปานกลางมีความสุขที่ 7.18 และรับรู้น้อยมีความสุขที่ 5.64 ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวดี เช่น ร่วม ทุกข์ร่วมสุขกัน เห็นอกเห็นใจกัน ซื่อสัตย์ต่อกัน ช่วยกันแก้ไขปัญหาต่างๆ มีความสุขอยู่ที่ 7.57 ถ้ามีความสัมพันธ์ดีปานกลางมีความสุขที่ 6.20 แต่ถ้ามี ความสัมพันธ์ดีต่อกันเพียงเล็กน้อยของคนในครอบครัว จะมีความสุขเพียง 3.33 เท่านั้น

ที่น่าสนใจคือ ฐานะทางการเงินไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เห็นความแตกต่างของระดับความสุข คือ คนที่มีฐานการเงินดี มีความสุขที่ 7.55 ฐานะปานกลางมีความสุขที่ 7.50 และฐานะการเงินไม่ดีมีความสุขที่ 7.49 ตรงกันข้าม คนที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงมีความสุขที่ 7.69 สุขภาพแข็ง แรงปานกลางมีความสุขที่ 6.36 และกลุ่มที่แข็งแรงน้อยมีความสุขที่ 6.20 เช่นเดียวกับคนที่มีสุขภาพใจดีมีความสุขที่ 7.76 สุขภาพใจดีระดับปานกลางมี ความสุขที่ 6.22 และกลุ่มที่มีสุขภาพใจดีเพียงเล็กน้อยมีความสุขที่ 5.23 เท่านั้น

ที่น่าพิจารณาคือ กลุ่มคนที่ได้รับความเป็นธรรมจากสังคมมาก มีความสุขสูงอยู่ที่ 7.77 ถ้าได้รับความเป็นธรรมระดับปานกลางมีความสุขที่ 6.77 และได้รับความเป็นธรรมทางสังคมระดับน้อยมีความสุขที่ 6.65 นอกจากนี้กลุ่มประชาชนที่อยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อม สภาพอากาศ สภาพ น้ำ สภาพดินที่ดีมาก จะมีความสุขอยู่ที่ 7.65 แต่ถ้าระดับปานกลางจะมีความสุขที่ 6.59 และระดับน้อยจะมีความสุขอยู่ที่ 6.20 ตามลำดับ

ที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อถามถึง ทางเลือกของประชาชนถ้าต้องเลือกระหว่าง ความอยู่รอดของประเทศชาติที่ต้องมาก่อนกับผลประโยชน์ของ ตนเองและครอบครัว พบว่า ประชาชนเพียงครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.5 บอกว่า ความอยู่รอดของประเทศชาติต้องมาก่อน ในขณะที่ประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 33.8 บอกว่าผลประโยชน์ของตัวเองและครอบครัวต้องมาก่อน และร้อยละ 15.7 บอกว่ายังไม่แน่ใจจะเลือกทางใด และเมื่อจำแนกตาม อาชีพ พบว่า กลุ่มข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจเกินครึ่งเพียงเล็กน้อยหรือร้อยละ 54.3 บอกความอยู่รอดของประเทศชาติต้องมาก่อน แต่ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 33.3 บอกผลประโยชน์ของตัวเองและครอบครัวต้องมาก่อน ซึ่งไม่แตกต่างไปจากจิตสำนึกและความเห็นของกลุ่มพนักงานบริษัทเอกชน และนักศึกษา แต่ที่พบความแตกต่างมากๆ คือ กลุ่มพ่อค้าและกลุ่มคนว่างงานที่พบว่าส่วนใหญ่จะเห็นแก่ประโยชน์ของตัวเองและครอบครัวต้องมาก่อน ประโยชน์ของประเทศชาติ ในขณะที่กลุ่มเกษียณอายุส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.7 บอกว่าความอยู่รอดของประเทศชาติต้องมาก่อน

ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ความสุขของคนไทยที่ค้นพบในการวิจัยครั้งนี้สูงกว่าการสำรวจครั้งก่อน ๆ ที่ผ่านมา เพราะคนไทยได้ ทราบข่าวในหลวงทรงมีพระพลานามัยแข็งแรงขึ้น การแสดงความจงรักภักดีของไทย และดัชนีความสุขของคนไทยทุกตัวมีแนวโน้มดีขึ้น ยกเว้นบรรยากาศ ทางการเมือง อย่างไรก็ตามฝ่ายการเมืองสามารถทำให้คนไทยมีความสุขมากขึ้นถ้าเคลื่อนไหวทางการเมืองใน 2 รูปแบบ คือ 1) ฝ่ายรัฐบาลทำให้คน ไทยได้รับประโยชน์จากผลงานรัฐบาลที่จับต้องได้ และ 2) ฝ่ายค้านเคลื่อนไหวทางการเมืองเชิงสร้างสรรค์ ให้ความหวังกับประชาชนที่จะร่วมกันแก้ไข ปัญหาต่าง ๆ ของประเทศให้ผ่านพ้นไปได้

“ผลวิจัยยังค้นพบด้วยว่า กลุ่มคนที่มีจิตสำนึกคำนึงถึงความอยู่รอดของประเทศชาติก่อน ผลประโยชน์ส่วนตัวมีความสุขที่ 7.53 มากกว่า กลุ่มคนที่เอาผลประโยชน์ส่วนตัวและครอบครัวก่อนประเทศ ที่มีสุขอยู่ที่ 7.40 และกลุ่มคนยังลังเลไม่รู้จะเลือกอะไรดีมีสุขอยู่ที่6.57 แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ไม่มีกลุ่มอาชีพใดที่โดดเด่นในเรื่องความรักชาติ เอาความอยู่รอดของประเทศชาติมาก่อนผลประโยชน์ส่วนตัว แม้แต่กลุ่มข้าราชการก็ยังค้นพบเพียงครึ่ง หนึ่งเท่านั้น และถ้ามองไปที่กลุ่มพ่อค้าก็พบว่าส่วนใหญ่จะเอาผลประโยชน์ของตนเองและครอบครัวมากกว่าความอยู่รอดของประเทศ กลุ่มคนที่พอจะพึ่ง ได้ คือ กลุ่มผู้เกษียณอายุที่คำนึงถึงความอยู่รอดของประเทศมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัว แต่ก็เป็นเพียงคนส่วนน้อยเท่านั้น” ดร.นพดล กล่าว

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 55.2 เป็นหญิง

ร้อยละ 44.8 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 7.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 24.5 อายุ 20 — 29 ปี

ร้อยละ 20.0 อายุ 30 — 39 ปี

ร้อยละ 22.2 อายุ 40 — 49 ปี

และร้อยละ 26.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป

โดย ร้อยละ 30.4 อาชีพเกษตรกร/รับจ้างใช้แรงงานทั่วไป

ร้อยละ 25.8 ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว อาชีพอิสระ

ร้อยละ 15.9 พนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 9.4 เป็นข้าราชการ /พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 7.2 เป็นแม่บ้าน เกษียณอายุ

ร้อยละ 8.7 เป็นนักศึกษา

ร้อยละ 2.6 ไม่ประกอบอาชีพ ว่างงาน

นอกจากนี้ ร้อยละ 61.4 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 38.6 มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสารการเมืองผ่านสื่อมวลชน ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่          ความถี่ในการติดตามข่าวสารการเมือง          ค่าร้อยละ
1          ทุกวันเกือบทุกวัน                               47.4
2          3 — 4 วัน / สัปดาห์                           13.5
3          1 — 2 วัน / สัปดาห์                           10.2
4          ติดตามเป็นบางสัปดาห์                           13.8
5          ไม่ได้ติดตามเลย                               15.1
          รวมทั้งสิ้น                                    100.0

ตารางที่ 2  เปรียบเทียบค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ลำดับที่          กลุ่มปัจจัยต่างๆ                  สิงหาคมค่าเฉลี่ยจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน   ตุลาคมค่าเฉลี่ยจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
1          การได้ข่าวในหลวงทรงหายจากพระอาการประชวร
           และเห็นคนไทยแสดงความจงรักภักดี                    9.20                              9.84
2          บรรยากาศภายในครอบครัว                          8.44                              9.00
3          วัฒนธรรมประเพณีไทย                              8.19                              8.22
4          สุขภาพใจ                                       7.73                              7.90
5          สุขภาพทางกาย                                   7.69                              7.77
6          หน้าที่การงาน /อาชีพ                              7.63                              7.67
7          สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย                             7.50                              7.64
8          บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชนที่พักอาศัย           7.17                              7.54
9          สภาวะเศรษฐกิจของตนเองและครอบครัว                6.56                              6.92
10          ความเป็นธรรมทางสังคมที่ได้รับ                      6.18                              6.99
11          บรรยากาศทางการเมืองของประเทศในปัจจุบัน           4.63                              4.74
          ความสุขมวลรวม ของคนไทยประจำเดือน                 7.18                              7.50

ตารางที่ 4 แสดงค่าคะแนนความสุขของประชาชนจำแนกตาม ระดับการได้รับประโยชน์โดยตรงด้วยตนเองจากผลงานของรัฐบาล
ลำดับที่      การได้รับประโยชน์โดยตรงด้วยตนเองจากผลงานของรัฐบาลเช่น              ค่าคะแนนความสุขโดยเฉลี่ย(คะแนนเต็ม 10)

เบี้ยยังชีพ ที่ทำกิน อาชีพการงาน ความปลอดภัย เป็นต้น

1          ได้รับมาก                                                                       7.66
2          ปานกลาง                                                                       7.40
3          น้อย                                                                           7.28
ตารางที่ 5 แสดงค่าคะแนนความสุขของประชาชนจำแนกตาม ท่าทีของฝ่ายค้านในการเคลื่อนไหวทางการเมือง
ลำดับที่      ท่าทีของฝ่ายค้านในการเคลื่อนไหวทางการเมืองเช่น เชิงสร้างสรรค์           ค่าคะแนนความสุขโดยเฉลี่ย(คะแนนเต็ม 10)

ช่วยกันแก้ปัญหาบ้านเมือง ลงพื้นที่พบปะชาวบ้าน

1          มาก                                                                           7.63
2          ปานกลาง                                                                       7.52
3          น้อย                                                                           7.42
ตารางที่ 6 แสดงค่าคะแนนความสุขของประชาชนจำแนกตาม ระดับการรับรู้ภาพลักษณ์คนไทย เด็กไทย ประเทศไทยเก่ง ดี ในสายตาชาวโลก
ลำดับที่          การรับรู้ภาพลักษณ์ คนไทย เด็กไทย ประเทศไทยเก่ง ดี ในสายตาชาวโลก  ค่าคะแนนความสุขโดยเฉลี่ย(คะแนนเต็ม 10)
1          มาก                                                                           7.80
2          ปานกลาง                                                                       7.35
3          น้อย                                                                           6.76
ตารางที่ 7 แสดงค่าคะแนนความสุขของประชาชนจำแนกตาม ระดับความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันของคนไทยภายในประเทศ เช่น มีน้ำใจต่อกัน
เกื้อกูลกัน มีไมตรีจิตต่อกัน ช่วยกันประคับประคองประเทศให้พ้นปัญหาต่างๆ
ลำดับที่          ระดับความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันของคนไทยภายในประเทศ                   ค่าคะแนนความสุขโดยเฉลี่ย(คะแนนเต็ม 10)
1          มาก                                                                           7.85
2          ปานกลาง                                                                       7.50
3          น้อย                                                                           6.85
ตารางที่ 8 แสดงค่าคะแนนความสุขของประชาชนจำแนกตาม ระดับความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันของคนในชุมชนที่พักอาศัย
ลำดับที่          ระดับความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันของคนในชุมชนที่พักอาศัย                    ค่าคะแนนความสุขโดยเฉลี่ย(คะแนนเต็ม 10)
1          มาก                                                                           7.61
2          ปานกลาง                                                                       7.18
3          น้อย                                                                           5.64
ตารางที่ 9 แสดงค่าคะแนนความสุขของประชาชนจำแนกตาม ระดับความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันของคนในครอบครัวเดียวกัน เช่น ร่วมทุกข์
ร่วมสุขกัน เห็นอกเห็นใจกัน ซื่อสัตย์ต่อกัน ช่วยกันแก้ไขปัญหาต่างๆ
ลำดับที่          ระดับความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันของคนในครอบครัวเดียวกัน                  ค่าคะแนนความสุขโดยเฉลี่ย(คะแนนเต็ม 10)
1          มาก                                                                           7.57
2          ปานกลาง                                                                       6.20
30          น้อย                                                                          3.33
ตารางที่ 10 แสดงค่าคะแนนความสุขของประชาชนจำแนกตาม ฐานะทางการเงิน
ลำดับที่          ฐานะทางการเงิน          ค่าคะแนนความสุขโดยเฉลี่ย(คะแนนเต็ม 10)
1          ดี                                         7.55
2          ปานกลาง                                   7.50
3          ไม่ดี                                       7.49
ตารางที่ 11 แสดงค่าคะแนนความสุขของประชาชนจำแนกตาม สุขภาพกาย
ลำดับที่          สุขภาพกาย               ค่าคะแนนความสุขโดยเฉลี่ย(คะแนนเต็ม 10)
1          แข็งแรงมาก                                 7.69
2          ปานกลาง                                   6.36
3          น้อย                                       6.20

ตารางที่ 12 แสดงค่าคะแนนความสุขของประชาชนจำแนกตาม สุขภาพใจ
ลำดับที่          สุขภาพใจ                ค่าคะแนนความสุขโดยเฉลี่ย(คะแนนเต็ม 10)
1          ดีมาก                                      7.76
2          ปานกลาง                                   6.22
3          น้อย                                       5.23

ตารางที่ 13 แสดงค่าคะแนนความสุขของประชาชนจำแนกตาม ความเป็นธรรมทางสังคมที่ได้รับ
ลำดับที่          ความเป็นธรรมทางสังคม     ค่าคะแนนความสุขโดยเฉลี่ย(คะแนนเต็ม 10)
1          ได้รับมาก                                   7.77
2          ปานกลาง                                   6.77
3          น้อย                                       6.65

ตารางที่ 14 แสดงค่าคะแนนความสุขของประชาชนจำแนกตาม สภาพสิ่งแวดล้อม สภาพน้ำ สภาพอากาศ สภาพดิน
ลำดับที่          สภาพสิ่งแวดล้อม สภาพน้ำ สภาพอากาศ สภาพดิน          ค่าคะแนนความสุขโดยเฉลี่ย(คะแนนเต็ม 10)
1          ดีมาก                                                            7.65
2          ปานกลาง                                                         6.59
3          น้อย                                                             6.20
ตารางที่  15  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับทางเลือกระหว่างความอยู่รอดของประเทศชาติต้องมาก่อน

หรือ ผลประโยชน์ของตนเองและครอบครัวต้องมาก่อน

ลำดับที่          ความคิดเห็น                                                  ค่าร้อยละ
1          ความอยู่รอดของประเทศชาติต้องมาก่อน                                  50.5
2          ผลประโยชน์ของตัวเองและครอบครัวต้องมาก่อน                            33.8
3          ไม่แน่ใจจะเลือกทางใด                                              15.7
          รวมทั้งสิ้น                                                        100.0

ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับทางเลือกระหว่างความอยู่รอดของประเทศชาติต้องมาก่อน

หรือ ผลประโยชน์ของตนเองและครอบครัวต้องมาก่อน จำแนกตามอาชีพ

ลำดับที่          ความคิดเห็น                        ข้าราชการ       พ่อค้า       พนักงาน   นักศึกษา  เกษียณอายุ  ว่างงาน

พนักงานวิสาหกิจ ผู้ประกอบการ บริษัทเอกชน

1          ความอยู่รอดของประเทศชาติต้องมาก่อน          54.3         40.8        50.6     53.0     56.7     32.8
2          ผลประโยชน์ของตัวเองและครอบครัวต้องมาก่อน    33.3         51.2        34.6     27.4     23.3     55.9
3          ไม่แน่ใจจะเลือกทางใด                      12.4          8.0        14.8     19.6     20.0     11.3
          รวมทั้งสิ้น                                100.0        100.0       100.0    100.0     100.0   100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ