ที่มาของโครงการ
สืบเนื่องจากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการในระดับชาติของแกนนำเครือข่ายญาติผู้ป่วยจิตเวชขึ้น
ในวันที่ 18-19 ธันวาคม 2549 ซึ่งการประชุมในครั้งนี้จะเน้นความสำคัญไปที่สื่อฯ กับปัญหาสุขภาพจิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นใน
สังคมไทยปัจจุบัน จากการสำรวจในต่างประเทศ พบว่า คนส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตที่ถูกต้อง ส่งผลให้เกิดการรับรู้ที่ไม่
ถูกต้อง และมีทัศนคติในทางลบต่อผู้ป่วยทางจิต ประกอบกับสื่อฯ ต่างๆ ได้นำเสนอภาพลักษณ์ของผู้ป่วยทางจิตไม่ตรงตามความเป็นจริง (น่ากลัวเกิน
จริง) จึงทำให้ภาพลักษณ์ของผู้ป่วยทางจิตถูกบิดเบือนไปในทางที่ไม่ดี ทั้งที่จริงๆ แล้ว การป่วยทางจิตเป็นสิ่งที่ไม่น่ากลัว สามารถรักษาให้หายได้ และ
คนทั่วๆ ไปก็อาจป่วยเป็นโรคทางจิตได้เช่นกัน ดังนั้น เพื่อเป็นการศึกษาความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว จึงจำเป็นที่จะต้องทำการ
สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการรับรู้และทัศนคติที่มีต่อผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) ในสังคมไทยปัจจุบัน เพื่อนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์
แก่สาธารณชนต่อไป
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชน
เกี่ยวกับการรับรู้และทัศนคติที่มีต่อผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) ในสังคมไทยปัจจุบัน ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล
ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจการรับรู้และทัศนคติที่มีต่อผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) ในประเด็นต่างๆ
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นที่มีต่อผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) ในประเด็นต่างๆ
3. เพื่อสำรวจปัจจัยและข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาลผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) ให้ดีขึ้น
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการรับรู้และ
ทัศนคติที่มีต่อผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) ในสังคมไทยปัจจุบัน : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนิน
โครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 11-13 ธันวาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,578 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้น คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 54.6 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 45.4 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อย
ละ 8.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 21.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 24.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 21.5 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 24.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 86.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 12.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ
1.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 40.5 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 20.1 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 16.3 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้าง
เอกชน ร้อยละ 9.2 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 6.7 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 3.5 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ
0.3 ระบุอาชีพเกษตรกร และร้อยละ 3.4 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการรับรู้และทัศนคติ
ที่มีต่อผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) ในสังคมไทยปัจจุบัน : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ในครั้งนี้ได้
ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,578 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการ
สำรวจในระหว่างวันที่ 11-13 ธันวาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป่วยทางจิตหรือโรคจิตนั้น พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีความรู้ความเข้าใจ
เกี่ยวกับอาการป่วยดังกล่าว โดยร้อยละ 38.5 ระบุรู้บ้างไม่รู้บ้าง ร้อยละ 35.1 ระบุรู้เพียงเล็กน้อย ร้อยละ 18.4 ระบุไม่รู้เลย ในขณะที่มี
ตัวอย่างเพียงร้อยละ 6.7 ระบุรู้ค่อนข้างดี และร้อยละ 1.3 ระบุรู้เป็นอย่างดี
สำหรับผลสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีสิ่งที่ตัวอย่างระบุนึกถึงเป็นอันดับแรกเมื่อกล่าวถึงโรคจิตหรือผู้ป่วยทางจิต นั้นพบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 44.4 ระบุนึกถึงคนบ้า ร้อยละ 15.2 ระบุนึกถึงความน่ากลัว / กลัวจะมาทำร้าย ร้อยละ 14.0 ระบุนึกถึงคนไม่เต็มบาท / คนไม่
ครบ / คนไม่สมประกอบ / คนสติไม่ค่อยจะดี ร้อยละ 11.4 ระบุนึกถึงคนที่จิตไม่ปกติ และร้อยละ 4.0 ระบุนึกถึงความผิดปกติทางสมอง ตาม
ลำดับ นอกเหนือจากนี้ ตัวอย่างยังนึกถึง คนบ้ากาม / คนลามก / คนที่มีพฤติกรรมลวนลามทางเพศ คนที่แปลกๆ / ไม่เหมือนคนอื่นๆ เป็นต้น
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความหมายของผู้ป่วยจิตเวช/ผู้ป่วยทางจิต นั้นผลสำวรจพบว่าตัวอย่างร้อยละ 23.5 ระบุหมาย
ถึงคนไม่เต็มบาท /คนไม่สมประกอบ / คนสติไม่ค่อยจะดี ร้อยละ 17.2 ระบุหมายถึงคนที่จิตไม่ปกติ ร้อยละ 13.9 ระบุหมายถึงคนบ้า/คนใกล้
บ้า ร้อยละ 9.8 ระบุหมายถึงคนที่มีความเครียด / จิตฟุ้งซ่าน ประสาทหลอน ร้อยละ 9.5 ระบุคนที่ทำอะไรโดยไม่รู้ตัว/ไม่สามารถควบคุมตนเอง
ได้/ทำตามใจตนเอง นอกจากนี้ตัวอย่างยังระบุว่าผู้ป่วยจิตเวช/ผู้ป่วยโรคจิต หมายถึง คนที่มีปัญหาทางสมอง/ปัญญาอ่อน คนที่ชอบเดินเหม่อลอย /
แก้ผ้า / พูดคนเดียว / หวาดกลัวสิ่งต่างๆ คนป่วย ต้องมีผู้อื่นคอยดูแลใกล้ชิด คนที่มีความคิดและพฤติกรรมในทางที่ไม่ดี /คนน่ากลัว อันตราย
ตามลำดับ
และเมื่อพิจารณาแง่มุมต่อผู้ป่วยจิตเวช/ผู้ป่วยทางจิตที่เคยรับรู้ผ่านสื่อหรือจากคนรอบข้างนั้น พบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่งคือร้อยละ
52.5 ระบุรับรู้มาทั้งแง่ที่ดีและไม่ดี พอๆ กัน ในขณะที่ร้อยละ 37.7 ระบุรับรู้มาในแง่ที่ไม่ดีมากกว่าร้อยละ 9.8 ระบุรับรู้มาในแง่ที่ดีมากกว่า
และเป็นที่น่าสังเกตว่าผลการสำรวจดังกล่าวมีความสอดคล้องกันเมื่อพิจารณามุมมองโดยส่วนของตัวอย่างที่มีต่อผู้ป่วยจิตเวช/ผู้ป่วยทางจิต ซึ่งพบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 55.2 ระบุตนเองมองทั้งในแง่ที่ดีและไม่ดี พอๆ กัน ในขณะที่ร้อยละ 28.6 ระบุมองในแง่ที่ไม่ดีมากกว่า และร้อยละ 16.2 ระบุ
มองในแง่ที่ดีมากกว่า
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจความกังวลใจของตัวอย่างที่มีต่อผู้ป่วยทางจิตทั้งที่ปรากฏอาการและไม่ปรากฏอาการทำร้ายผู้อื่น เมื่อพิจารณาตาม
ระยะห่างทางสังคมในการอยู่ร่วมกับผู้ป่วยนั้นพบว่า ตัวอย่างโดยส่วนใหญ่มีความกังวลกับผู้ป่วยที่ปรากฎอาการมากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ปรากฏอาการ ไม่ว่าจะ
มีระยะห่างทางสังคมในการอยู่ร่วมกับผู้ป่วยเป็นอย่างไรก็ตาม โดยในความกังวลต่อผู้ป่วยที่ปรากฏอาการนั้น พบว่าร้อยละ 74.6 ระบุรู้สึกกังวลถ้า
จะต้องอยู่ร่วมห้องเดียวกัน ร้อยละ 71.9 ระบุรู้สึกกังวลถ้าจะอยู่ร่วมในบ้านเดียวกัน ร้อยละ 68.4 ระบุรู้สึกกังวลถ้ามีผู้ป่วยอยู่ติดกับบ้านที่พัก
อาศัย ร้อยละ 61.0 ระบุกงัวลถ้าอาศัยอยู่ในชุมชนหรือหมู่บ้านเดียวกัน ร้อยละ 60.5 กังวลถ้าอยู่ในละแวกใกล้เคียงกับบ้านที่พักอาศัย ตามลำดับ
สำหรับความกังวลใจของผู้ป่วยที่ไม่ปรากฎอาการนั้นพบว่า ร้อยละ 46.8 ระบุรู้สึกกังวลถ้าจะต้องอยู่ร่วมห้องเดียวกัน ร้อยละ 39.3
ระบุรู้สึกกังวลถ้าจะอยู่ร่วมในบ้านเดียวกัน ร้อยละ 34.7ระบุรู้สึกกังวลถ้ามีผู้ป่วยอยู่ติดกับบ้านที่พักอาศัย ร้อยละ 27.5 ระบุกังวลถ้าต้องทำงาน/
เรียนในที่เดียวกัน ร้อยละ 25.6 กังวลถ้าอยู่ในละแวกใกล้เคียงกับบ้านที่พักอาศัย ตามลำดับ
นอกจากนี้ ผลการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีสาเหตุของโรคจิตหรือการป่วยทางจิตนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 80.8 ระบุเกิด
จากความเครียด ร้อยละ 55.9 เกิดจากเหตุการณ์สะเทือนใจ เช่น ถูกข่มขืน อุบัติเหตุ คนใกล้ชิดเสียชีวิต ร้อยละ 53.8 ระบุเกิดจากการติดยา
เสพติด ร้อยละ 52.3 ระบุเกิดจากความผิดปกติภายในสมอง ร้อยละ 50.9 ระบุเกิดจากการถูกทารุณกรรมทางร่างกาย ร้อยละ 43.1 ระบุเกิด
จาก ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี ตามลำดับ นอกจากนี้ตัวอย่างยังระบุว่าน่าจะเกิดจากสาเหตุอื่นๆ อีก อาทิ โรคทางสมอง การเลี้ยงดูที่ไม่ดี
ไม่เหมาะสม กรรมพันธุ์ ความไม่เข้าใจจากคนในสังคม และความยากจน เป็นต้น
ผลสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อผู้ป่วยโรคจิตในประเด็นต่างๆ นั้นพบว่า ตัวอย่างสูงถึงร้อยละ 92.3 เห็นด้วยว่า คนทั่วๆ ไปก็
สามารถมีปัญหาทางสุขภาพจิตได้ ในขณะที่ร้อยละ 4.3 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 3.4 ไม่ระบุความคิดเห็น นอกจากนี้ยังพบว่า ร้อยละ 89.8
ระบุเห็นด้วยว่า ผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) ควรได้รับการเอาใจใส่จากสังคม ไม่ใช่การรังเกียจ ร้อยละ 87.9 เห็นด้วยว่า การไปพบจิตแพทย์
เพื่อปรึกษาปัญหาทางจิตเป็นเรื่องปกติธรรมดาในปัจจุบัน ร้อยละ 87.5 ระบุเห็นด้วยว่า โรคจิต (การป่วยทางจิต) สามารถรักษาให้หายได้ ร้อย
ละ 82.3 ระบุผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) ควรได้รับโอกาสในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามความคิดเห็น
ของตัวอย่างกรณีผู้ป่วยโรคจิต/ผู้ป่วยทางจิตเป็นผู้มีปัญหาสุขภาพจิตเป็นคนโง่ ไม่ฉลาด พบว่าร้อยละ 62.4 ระบุไม่เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 22.5
ระบุเห็นด้วย และร้อยละ 15.1 ไม่ระบุความคิดเห็น นอกจากนี้ยังพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 48.0 ระบุไม่เห็นด้วยว่าผู้มีปัญหาสุขภาพจิตเป็นคน
อันตรายและดุร้าย ร้อยละ 54.1 ไม่เห็นด้วยว่าผู้มีปัญหาสุขภาพจิตเป็นคนขี้เกียจ ขาดความกระตือรือร้น
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงปัจจัยที่จะช่วยให้ผู้ป่วยจิตเวช/ผู้ป่วยทางจิตในส้งคมไทยได้รับการเอาใจใส่ดีขึ้นนั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 85.5 ระบุความรักความอบอุ่นในครอบครัว ร้อยละ 70.0 ระบุความร่วมมือระหว่างแพทย์ ญาติผู้ป่วย และผู้ป่วยในการรักษา ร้อยละ
69.5 การยอมรับและความเข้าใจจากคนในสังคม ร้อยละ 66.7 ระบุสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการบำบัด ร้อยละ 66.3 ระบุการเลี้ยงดูที่ถูก
ต้องเหมาะสมของพ่อแม่ ผู้ปกครอง และร้อยละ 58.7 ระบุการให้โอกาสผู้ป่วยทางจิตได้ดำเนินชีวิตปกติในสังคม
ประเด็นสำคัญสุดท้ายคือข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาลผู้ป่วยจิตเวช/ผู้ป่วยทางจิตในสังคมไทยให้ดีขึ้น ซึ่งพบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 21.0 ระบุการให้ ความรักความอบอุ่นในครอบครัว ร้อยละ 18.7 ระบุการเลี้ยงดูที่ถูกต้องเหมาะสมของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ร้อยละ
15.1 ระบุการยอมรับและความเข้าใจจากคนในสังคม ร้อยละ 14.3 ระบุให้แพทย์เอาใจใส่ผู้ป่วยมากขึ้น ร้อยละ 12.5 ระบุการให้โอกาสผู้ป่วย
ทางจิตได้ดำเนินชีวิตปกติในสังคม และร้อยละ 11.9 ระบุการพูดคุยให้กำลังใจผู้ป่วย / ไม่พูดหรือทำให้ผู้ป่วยไม่สบายใจและร้อยละ 6.7 ระบุการ
เปลี่ยนทัศนคติและท่าทีต่อผู้ป่วยทางจิตในทางบวก / ไม่ดูถูกเหยียดหยาม
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคจิต (การป่วยทางจิต)
ลำดับที่ ระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคจิต (การป่วยทางจิต) ค่าร้อยละ
1 รู้เป็นอย่างดี 1.3
2 รู้ค่อนข้างดี 6.7
รู้บ้างไม่รู้บ้าง 38.5
4 รู้เพียงเล็กน้อย 35.1
5 ไม่รู้เลย 18.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่นึกถึงเป็นอันดับแรกเมื่อกล่าวถึง “ผู้ป่วยจิตเวช” (ผู้ป่วยทางจิต)
ลำดับที่ สิ่งที่นึกถึงเป็นอันดับแรกเมื่อกล่าวถึง “ผู้ป่วยจิตเวช” (ผู้ป่วยทางจิต) ค่าร้อยละ
1 คนบ้า 44.4
2 ความน่ากลัว / กลัวจะมาทำร้าย 15.2
3 คนไม่เต็มบาท / คนไม่ครบ / คนไม่สมประกอบ / คนสติไม่ค่อยจะดี 14.0
4 คนที่จิตไม่ปกติ 11.4
5 ความผิดปกติทางสมอง 4.0
6 คนบ้ากาม / คนลามก / คนที่มีพฤติกรรมลวนลามทางเพศ 3.8
7 คนแปลกๆ / ไม่เหมือนคนอื่นๆ 2.9
8 คิดถึงในแง่ที่ไม่ดี / แง่ลบ 1.8
9 คนที่ชอบเดินแก้ผ้า / พูดคนเดียว / เดินเหม่อลอย 1.5
10 คนปัญญาอ่อน 1.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความหมายของ “ผู้ป่วยจิตเวช” (ผู้ป่วยทางจิต) ตามความคิดของตน
ลำดับที่ ความหมายของ “ผู้ป่วยจิตเวช” (ผู้ป่วยทางจิต) ตามความคิดของตน ค่าร้อยละ
1 คนไม่เต็มบาท / คนไม่สมประกอบ / คนสติไม่ค่อยจะดี 23.5
2 คนที่จิตไม่ปกติ 17.2
3 คนบ้า / คนใกล้บ้า 13.9
4 คนที่มีความเครียด / จิตฟุ้งซ่าน ประสาทหลอน 9.8
5 คนที่ทำอะไรโดยไม่รู้ตัว / ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ / ทำตามใจตนเอง 9.5
6 คนที่มีปัญหาทางสมอง / ปัญญาอ่อน 6.6
7 คนที่ชอบเดินเหม่อลอย / แก้ผ้า / พูดคนเดียว / หวาดกลัวสิ่งต่างๆ 4.8
8 คนป่วย ต้องมีผู้อื่นคอยดูแลใกล้ชิด 4.5
9 คนที่มีความคิดและพฤติกรรมในทางที่ไม่ดี 4.1
10 คนน่ากลัว อันตราย 2.5
11 คนบ้ากาม ลามก / คนที่มีพฤติกรรมลวนลามทางเพศ 1.3
12 คนที่มีปัญหาในชีวิต ปลงไม่ตก 1.1
13 คนเก็บกดซ่อนเร้น มีปมด้อย 1.0
14 คนที่ขาดความอบอุ่น 0.1
15 คนน่าสงสาร 0.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแง่มุมที่เคยรับรู้เรื่องราวของผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) จากสื่อต่างๆหรือคนรอบข้าง
ค่าร้อยละ
ลำดับที่ แง่มุมเกี่ยวกับผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) เคยรับรู้จากสื่อฯ มุมมองโดยส่วนตัว
และคนรอบข้าง
1 ในแง่ที่ดีมากกว่า 9.8 16.2
2 ในแง่ที่ไม่ดีมากกว่า 37.7 28.6
3 ทั้งแง่ที่ดีและไม่ดี พอๆ กัน 52.5 55.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความกังวลใจกับระยะห่างทางสังคมในการอยู่ร่วมกับผู้ป่วยทางจิต
จำแนกระหว่างผู้ป่วยทางจิตที่ไม่ปรากฎอาการทำร้ายผู้อื่น กับผู้ป่วยทางจิตที่ปรากฎอาการทำร้ายผู้อื่น
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ระยะห่างทางสังคม ความกังวลใจต่อผู้ป่วยทางจิตที่
ไม่ปรากฏอาการ ปรากฏอาการ
1 อาศัยอยู่ในชุมชนหรือหมู่บ้านเดียวกัน 23.5 61.0
2 อยู่ในละแวกใกล้เคียงกับบ้านที่พักอาศัย 25.6 60.5
3 อยู่ติดกับบ้านที่พักอาศัย 34.7 68.4
4 อยู่ร่วมกับคุณในบ้านเดียวกัน 39.3 71.9
5 อยู่ร่วมกับคุณในห้องเดียวกัน 46.8 74.6
6 ทำงาน/เรียนในที่เดียวกัน 27.5 60.0
7 ขึ้นรถประจำทางคันเดียวกัน 23.7 56.4
8 สนทนาพูดคุยกัน 22.8 57.2
9 รับประทานอาหารร่วมโต๊ะเดียวกัน 24.9 58.3
10 ทำกิจกรรมประจำวันอื่นๆ ร่วมกัน 24.1 57.4
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสาเหตุของโรคจิต (การป่วยทางจิต) (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สาเหตุของโรคจิต (การป่วยทางจิต) ค่าร้อยละ
1 ความเครียด 80.8
2 เหตุการณ์สะเทือนใจ เช่น ถูกข่มขืน อุบัติเหตุ คนใกล้ชิดเสียชีวิต 55.9
3 การติดยาเสพติด 53.8
4 ความผิดปกติภายในสมอง 52.3
5 การถูกทารุณกรรมทางร่างกาย 50.9
6 ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี 43.1
7 โรคทางสมอง 37.0
8 การเลี้ยงดูที่ไม่ดี ไม่เหมาะสม 34.3
9 กรรมพันธุ์ 27.9
10 ความไม่เข้าใจจากคนในสังคม 27.2
11 ความยากจน 25.5
12 สารเคมีในสมองไม่สมดุล 13.2
13 การติดเชื้อไวรัสระหว่างตั้งครรภ์ 11.4
14 ถูกผีสิงหรือพระเจ้าลงโทษ 3.9
15 ไม่ทราบ 2.4
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต)
ประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) ความคิดเห็น รวม
เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น
1. โรคจิต (การป่วยทางจิต) สามารถรักษาให้หายได้ 87.5 5.6 6.9 100.0
2. คนทั่วๆ ไปก็สามารถมีปัญหาทางสุขภาพจิตได้ 92.3 4.3 3.4 100.0
3. ผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) เป็นคนธรรมดาเหมือนเราๆ 80.5 12.9 6.6 100.0
4. ผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) ควรได้รับโอกาสในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม 82.3 10.4 7.3 100.0
5. ผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) ควรได้รับการเอาใจใส่จากสังคมไม่ใช่การรังเกียจ 89.8 4.1 6.1 100.0
6. ผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) มีสิทธิที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างปกติสุข 78.4 13.6 8.0 100.0
7. ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตเป็นคนอันตรายและดุร้าย 35.8 48.0 16.2 100.0
8. ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตเป็นคนโง่ ไม่ฉลาด 22.5 62.4 15.1 100.0
9. ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตเป็นคนขี้เกียจ ขาดความกระตือรือร้น 30.3 54.1 15.6 100.0
10. การไปพบจิตแพทย์เพื่อปรึกษาปัญหาทางจิตเป็นเรื่องปกติธรรมดาในปัจจุบัน 87.9 6.4 5.7 100.0
ตารางที่ 8 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัจจัยที่จะช่วยให้ผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) ในสังคมไทยได้รับการเอาใจใส่
ดีขึ้น (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัจจัยที่ช่วยให้ผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) ในสังคมไทยได้รับการเอาใจใส่ดีขึ้น ค่าร้อยละ
1 ความรักความอบอุ่นในครอบครัว 85.5
2 ความร่วมมือระหว่างแพทย์ ญาติผู้ป่วย และผู้ป่วยในการรักษา 70.0
3 การยอมรับและความเข้าใจจากคนในสังคม 69.5
4 สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการบำบัด 66.7
5 การเลี้ยงดูที่ถูกต้องเหมาะสมของพ่อแม่ ผู้ปกครอง 66.3
6 การให้โอกาสผู้ป่วยทางจิตได้ดำเนินชีวิตปกติในสังคม 58.7
7 ส่งเสริมให้เกิดภูมิคุ้มกันทางจิตใจ เช่น ธรรมะ หลักศาสนา 48.1
8 การเปลี่ยนทัศนคติและท่าทีต่อผู้ป่วยทางจิตในทางบวก 42.7
9 ความร่วมมือจากสื่อมวลชน ในการนำเสนอภาพลักษณ์ของผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต)
ตามความเป็นจริง ไม่น่ากลัวเกินจริง 37.1
ตารางที่ 9 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาลผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต)
ในสังคมไทยให้ดีขึ้น (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาลผู้ป่วยจิตเวช(ผู้ป่วยทางจิต) ในสังคมไทยให้ดีขึ้น ค่าร้อยละ
1 ความรักความอบอุ่นในครอบครัว 21.0
2 การเลี้ยงดูที่ถูกต้องเหมาะสมของพ่อแม่ ผู้ปกครอง 18.7
3 การยอมรับและความเข้าใจจากคนในสังคม 15.1
4 ให้แพทย์เอาใจใส่ผู้ป่วยมากขึ้น 14.3
5 การให้โอกาสผู้ป่วยทางจิตได้ดำเนินชีวิตปกติในสังคม 12.5
6 การพูดคุยให้กำลังใจผู้ป่วย / ไม่พูดหรือทำให้ผู้ป่วยไม่สบายใจ 11.9
7 การเปลี่ยนทัศนคติและท่าทีต่อผู้ป่วยทางจิตในทางบวก / ไม่ดูถูกเหยียดหยาม 6.7
8 สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการบำบัด 6.4
9 มีสถานบำบัดมากขึ้น 6.2
10 ความร่วมมือระหว่างแพทย์ ญาติผู้ป่วย และผู้ป่วยในการรักษา 6.0
11 ให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง มีงบประมาณอย่างพอเพียง 6.0
12 ส่งเสริมให้เกิดภูมิคุ้มกันทางจิตใจ เช่น ธรรมะ หลักศาสนา 5.7
13 ความร่วมมือจากสื่อมวลชน ในการนำเสนอภาพลักษณ์ของผู้ป่วยจิตเวชตามความเป็นจริง 2.1
14 ลดปัญหายาเสพติด 0.8
15 ลดการใช้ความรุนแรงในสังคม 0.7
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
สืบเนื่องจากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการในระดับชาติของแกนนำเครือข่ายญาติผู้ป่วยจิตเวชขึ้น
ในวันที่ 18-19 ธันวาคม 2549 ซึ่งการประชุมในครั้งนี้จะเน้นความสำคัญไปที่สื่อฯ กับปัญหาสุขภาพจิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นใน
สังคมไทยปัจจุบัน จากการสำรวจในต่างประเทศ พบว่า คนส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตที่ถูกต้อง ส่งผลให้เกิดการรับรู้ที่ไม่
ถูกต้อง และมีทัศนคติในทางลบต่อผู้ป่วยทางจิต ประกอบกับสื่อฯ ต่างๆ ได้นำเสนอภาพลักษณ์ของผู้ป่วยทางจิตไม่ตรงตามความเป็นจริง (น่ากลัวเกิน
จริง) จึงทำให้ภาพลักษณ์ของผู้ป่วยทางจิตถูกบิดเบือนไปในทางที่ไม่ดี ทั้งที่จริงๆ แล้ว การป่วยทางจิตเป็นสิ่งที่ไม่น่ากลัว สามารถรักษาให้หายได้ และ
คนทั่วๆ ไปก็อาจป่วยเป็นโรคทางจิตได้เช่นกัน ดังนั้น เพื่อเป็นการศึกษาความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว จึงจำเป็นที่จะต้องทำการ
สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการรับรู้และทัศนคติที่มีต่อผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) ในสังคมไทยปัจจุบัน เพื่อนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์
แก่สาธารณชนต่อไป
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชน
เกี่ยวกับการรับรู้และทัศนคติที่มีต่อผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) ในสังคมไทยปัจจุบัน ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล
ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจการรับรู้และทัศนคติที่มีต่อผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) ในประเด็นต่างๆ
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นที่มีต่อผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) ในประเด็นต่างๆ
3. เพื่อสำรวจปัจจัยและข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาลผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) ให้ดีขึ้น
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการรับรู้และ
ทัศนคติที่มีต่อผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) ในสังคมไทยปัจจุบัน : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนิน
โครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 11-13 ธันวาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,578 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้น คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 54.6 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 45.4 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อย
ละ 8.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 21.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 24.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 21.5 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 24.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 86.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 12.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ
1.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 40.5 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 20.1 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 16.3 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้าง
เอกชน ร้อยละ 9.2 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 6.7 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 3.5 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ
0.3 ระบุอาชีพเกษตรกร และร้อยละ 3.4 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการรับรู้และทัศนคติ
ที่มีต่อผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) ในสังคมไทยปัจจุบัน : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ในครั้งนี้ได้
ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,578 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการ
สำรวจในระหว่างวันที่ 11-13 ธันวาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป่วยทางจิตหรือโรคจิตนั้น พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีความรู้ความเข้าใจ
เกี่ยวกับอาการป่วยดังกล่าว โดยร้อยละ 38.5 ระบุรู้บ้างไม่รู้บ้าง ร้อยละ 35.1 ระบุรู้เพียงเล็กน้อย ร้อยละ 18.4 ระบุไม่รู้เลย ในขณะที่มี
ตัวอย่างเพียงร้อยละ 6.7 ระบุรู้ค่อนข้างดี และร้อยละ 1.3 ระบุรู้เป็นอย่างดี
สำหรับผลสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีสิ่งที่ตัวอย่างระบุนึกถึงเป็นอันดับแรกเมื่อกล่าวถึงโรคจิตหรือผู้ป่วยทางจิต นั้นพบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 44.4 ระบุนึกถึงคนบ้า ร้อยละ 15.2 ระบุนึกถึงความน่ากลัว / กลัวจะมาทำร้าย ร้อยละ 14.0 ระบุนึกถึงคนไม่เต็มบาท / คนไม่
ครบ / คนไม่สมประกอบ / คนสติไม่ค่อยจะดี ร้อยละ 11.4 ระบุนึกถึงคนที่จิตไม่ปกติ และร้อยละ 4.0 ระบุนึกถึงความผิดปกติทางสมอง ตาม
ลำดับ นอกเหนือจากนี้ ตัวอย่างยังนึกถึง คนบ้ากาม / คนลามก / คนที่มีพฤติกรรมลวนลามทางเพศ คนที่แปลกๆ / ไม่เหมือนคนอื่นๆ เป็นต้น
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความหมายของผู้ป่วยจิตเวช/ผู้ป่วยทางจิต นั้นผลสำวรจพบว่าตัวอย่างร้อยละ 23.5 ระบุหมาย
ถึงคนไม่เต็มบาท /คนไม่สมประกอบ / คนสติไม่ค่อยจะดี ร้อยละ 17.2 ระบุหมายถึงคนที่จิตไม่ปกติ ร้อยละ 13.9 ระบุหมายถึงคนบ้า/คนใกล้
บ้า ร้อยละ 9.8 ระบุหมายถึงคนที่มีความเครียด / จิตฟุ้งซ่าน ประสาทหลอน ร้อยละ 9.5 ระบุคนที่ทำอะไรโดยไม่รู้ตัว/ไม่สามารถควบคุมตนเอง
ได้/ทำตามใจตนเอง นอกจากนี้ตัวอย่างยังระบุว่าผู้ป่วยจิตเวช/ผู้ป่วยโรคจิต หมายถึง คนที่มีปัญหาทางสมอง/ปัญญาอ่อน คนที่ชอบเดินเหม่อลอย /
แก้ผ้า / พูดคนเดียว / หวาดกลัวสิ่งต่างๆ คนป่วย ต้องมีผู้อื่นคอยดูแลใกล้ชิด คนที่มีความคิดและพฤติกรรมในทางที่ไม่ดี /คนน่ากลัว อันตราย
ตามลำดับ
และเมื่อพิจารณาแง่มุมต่อผู้ป่วยจิตเวช/ผู้ป่วยทางจิตที่เคยรับรู้ผ่านสื่อหรือจากคนรอบข้างนั้น พบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่งคือร้อยละ
52.5 ระบุรับรู้มาทั้งแง่ที่ดีและไม่ดี พอๆ กัน ในขณะที่ร้อยละ 37.7 ระบุรับรู้มาในแง่ที่ไม่ดีมากกว่าร้อยละ 9.8 ระบุรับรู้มาในแง่ที่ดีมากกว่า
และเป็นที่น่าสังเกตว่าผลการสำรวจดังกล่าวมีความสอดคล้องกันเมื่อพิจารณามุมมองโดยส่วนของตัวอย่างที่มีต่อผู้ป่วยจิตเวช/ผู้ป่วยทางจิต ซึ่งพบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 55.2 ระบุตนเองมองทั้งในแง่ที่ดีและไม่ดี พอๆ กัน ในขณะที่ร้อยละ 28.6 ระบุมองในแง่ที่ไม่ดีมากกว่า และร้อยละ 16.2 ระบุ
มองในแง่ที่ดีมากกว่า
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจความกังวลใจของตัวอย่างที่มีต่อผู้ป่วยทางจิตทั้งที่ปรากฏอาการและไม่ปรากฏอาการทำร้ายผู้อื่น เมื่อพิจารณาตาม
ระยะห่างทางสังคมในการอยู่ร่วมกับผู้ป่วยนั้นพบว่า ตัวอย่างโดยส่วนใหญ่มีความกังวลกับผู้ป่วยที่ปรากฎอาการมากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ปรากฏอาการ ไม่ว่าจะ
มีระยะห่างทางสังคมในการอยู่ร่วมกับผู้ป่วยเป็นอย่างไรก็ตาม โดยในความกังวลต่อผู้ป่วยที่ปรากฏอาการนั้น พบว่าร้อยละ 74.6 ระบุรู้สึกกังวลถ้า
จะต้องอยู่ร่วมห้องเดียวกัน ร้อยละ 71.9 ระบุรู้สึกกังวลถ้าจะอยู่ร่วมในบ้านเดียวกัน ร้อยละ 68.4 ระบุรู้สึกกังวลถ้ามีผู้ป่วยอยู่ติดกับบ้านที่พัก
อาศัย ร้อยละ 61.0 ระบุกงัวลถ้าอาศัยอยู่ในชุมชนหรือหมู่บ้านเดียวกัน ร้อยละ 60.5 กังวลถ้าอยู่ในละแวกใกล้เคียงกับบ้านที่พักอาศัย ตามลำดับ
สำหรับความกังวลใจของผู้ป่วยที่ไม่ปรากฎอาการนั้นพบว่า ร้อยละ 46.8 ระบุรู้สึกกังวลถ้าจะต้องอยู่ร่วมห้องเดียวกัน ร้อยละ 39.3
ระบุรู้สึกกังวลถ้าจะอยู่ร่วมในบ้านเดียวกัน ร้อยละ 34.7ระบุรู้สึกกังวลถ้ามีผู้ป่วยอยู่ติดกับบ้านที่พักอาศัย ร้อยละ 27.5 ระบุกังวลถ้าต้องทำงาน/
เรียนในที่เดียวกัน ร้อยละ 25.6 กังวลถ้าอยู่ในละแวกใกล้เคียงกับบ้านที่พักอาศัย ตามลำดับ
นอกจากนี้ ผลการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีสาเหตุของโรคจิตหรือการป่วยทางจิตนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 80.8 ระบุเกิด
จากความเครียด ร้อยละ 55.9 เกิดจากเหตุการณ์สะเทือนใจ เช่น ถูกข่มขืน อุบัติเหตุ คนใกล้ชิดเสียชีวิต ร้อยละ 53.8 ระบุเกิดจากการติดยา
เสพติด ร้อยละ 52.3 ระบุเกิดจากความผิดปกติภายในสมอง ร้อยละ 50.9 ระบุเกิดจากการถูกทารุณกรรมทางร่างกาย ร้อยละ 43.1 ระบุเกิด
จาก ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี ตามลำดับ นอกจากนี้ตัวอย่างยังระบุว่าน่าจะเกิดจากสาเหตุอื่นๆ อีก อาทิ โรคทางสมอง การเลี้ยงดูที่ไม่ดี
ไม่เหมาะสม กรรมพันธุ์ ความไม่เข้าใจจากคนในสังคม และความยากจน เป็นต้น
ผลสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อผู้ป่วยโรคจิตในประเด็นต่างๆ นั้นพบว่า ตัวอย่างสูงถึงร้อยละ 92.3 เห็นด้วยว่า คนทั่วๆ ไปก็
สามารถมีปัญหาทางสุขภาพจิตได้ ในขณะที่ร้อยละ 4.3 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 3.4 ไม่ระบุความคิดเห็น นอกจากนี้ยังพบว่า ร้อยละ 89.8
ระบุเห็นด้วยว่า ผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) ควรได้รับการเอาใจใส่จากสังคม ไม่ใช่การรังเกียจ ร้อยละ 87.9 เห็นด้วยว่า การไปพบจิตแพทย์
เพื่อปรึกษาปัญหาทางจิตเป็นเรื่องปกติธรรมดาในปัจจุบัน ร้อยละ 87.5 ระบุเห็นด้วยว่า โรคจิต (การป่วยทางจิต) สามารถรักษาให้หายได้ ร้อย
ละ 82.3 ระบุผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) ควรได้รับโอกาสในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามความคิดเห็น
ของตัวอย่างกรณีผู้ป่วยโรคจิต/ผู้ป่วยทางจิตเป็นผู้มีปัญหาสุขภาพจิตเป็นคนโง่ ไม่ฉลาด พบว่าร้อยละ 62.4 ระบุไม่เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 22.5
ระบุเห็นด้วย และร้อยละ 15.1 ไม่ระบุความคิดเห็น นอกจากนี้ยังพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 48.0 ระบุไม่เห็นด้วยว่าผู้มีปัญหาสุขภาพจิตเป็นคน
อันตรายและดุร้าย ร้อยละ 54.1 ไม่เห็นด้วยว่าผู้มีปัญหาสุขภาพจิตเป็นคนขี้เกียจ ขาดความกระตือรือร้น
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงปัจจัยที่จะช่วยให้ผู้ป่วยจิตเวช/ผู้ป่วยทางจิตในส้งคมไทยได้รับการเอาใจใส่ดีขึ้นนั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 85.5 ระบุความรักความอบอุ่นในครอบครัว ร้อยละ 70.0 ระบุความร่วมมือระหว่างแพทย์ ญาติผู้ป่วย และผู้ป่วยในการรักษา ร้อยละ
69.5 การยอมรับและความเข้าใจจากคนในสังคม ร้อยละ 66.7 ระบุสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการบำบัด ร้อยละ 66.3 ระบุการเลี้ยงดูที่ถูก
ต้องเหมาะสมของพ่อแม่ ผู้ปกครอง และร้อยละ 58.7 ระบุการให้โอกาสผู้ป่วยทางจิตได้ดำเนินชีวิตปกติในสังคม
ประเด็นสำคัญสุดท้ายคือข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาลผู้ป่วยจิตเวช/ผู้ป่วยทางจิตในสังคมไทยให้ดีขึ้น ซึ่งพบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 21.0 ระบุการให้ ความรักความอบอุ่นในครอบครัว ร้อยละ 18.7 ระบุการเลี้ยงดูที่ถูกต้องเหมาะสมของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ร้อยละ
15.1 ระบุการยอมรับและความเข้าใจจากคนในสังคม ร้อยละ 14.3 ระบุให้แพทย์เอาใจใส่ผู้ป่วยมากขึ้น ร้อยละ 12.5 ระบุการให้โอกาสผู้ป่วย
ทางจิตได้ดำเนินชีวิตปกติในสังคม และร้อยละ 11.9 ระบุการพูดคุยให้กำลังใจผู้ป่วย / ไม่พูดหรือทำให้ผู้ป่วยไม่สบายใจและร้อยละ 6.7 ระบุการ
เปลี่ยนทัศนคติและท่าทีต่อผู้ป่วยทางจิตในทางบวก / ไม่ดูถูกเหยียดหยาม
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคจิต (การป่วยทางจิต)
ลำดับที่ ระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคจิต (การป่วยทางจิต) ค่าร้อยละ
1 รู้เป็นอย่างดี 1.3
2 รู้ค่อนข้างดี 6.7
รู้บ้างไม่รู้บ้าง 38.5
4 รู้เพียงเล็กน้อย 35.1
5 ไม่รู้เลย 18.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่นึกถึงเป็นอันดับแรกเมื่อกล่าวถึง “ผู้ป่วยจิตเวช” (ผู้ป่วยทางจิต)
ลำดับที่ สิ่งที่นึกถึงเป็นอันดับแรกเมื่อกล่าวถึง “ผู้ป่วยจิตเวช” (ผู้ป่วยทางจิต) ค่าร้อยละ
1 คนบ้า 44.4
2 ความน่ากลัว / กลัวจะมาทำร้าย 15.2
3 คนไม่เต็มบาท / คนไม่ครบ / คนไม่สมประกอบ / คนสติไม่ค่อยจะดี 14.0
4 คนที่จิตไม่ปกติ 11.4
5 ความผิดปกติทางสมอง 4.0
6 คนบ้ากาม / คนลามก / คนที่มีพฤติกรรมลวนลามทางเพศ 3.8
7 คนแปลกๆ / ไม่เหมือนคนอื่นๆ 2.9
8 คิดถึงในแง่ที่ไม่ดี / แง่ลบ 1.8
9 คนที่ชอบเดินแก้ผ้า / พูดคนเดียว / เดินเหม่อลอย 1.5
10 คนปัญญาอ่อน 1.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความหมายของ “ผู้ป่วยจิตเวช” (ผู้ป่วยทางจิต) ตามความคิดของตน
ลำดับที่ ความหมายของ “ผู้ป่วยจิตเวช” (ผู้ป่วยทางจิต) ตามความคิดของตน ค่าร้อยละ
1 คนไม่เต็มบาท / คนไม่สมประกอบ / คนสติไม่ค่อยจะดี 23.5
2 คนที่จิตไม่ปกติ 17.2
3 คนบ้า / คนใกล้บ้า 13.9
4 คนที่มีความเครียด / จิตฟุ้งซ่าน ประสาทหลอน 9.8
5 คนที่ทำอะไรโดยไม่รู้ตัว / ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ / ทำตามใจตนเอง 9.5
6 คนที่มีปัญหาทางสมอง / ปัญญาอ่อน 6.6
7 คนที่ชอบเดินเหม่อลอย / แก้ผ้า / พูดคนเดียว / หวาดกลัวสิ่งต่างๆ 4.8
8 คนป่วย ต้องมีผู้อื่นคอยดูแลใกล้ชิด 4.5
9 คนที่มีความคิดและพฤติกรรมในทางที่ไม่ดี 4.1
10 คนน่ากลัว อันตราย 2.5
11 คนบ้ากาม ลามก / คนที่มีพฤติกรรมลวนลามทางเพศ 1.3
12 คนที่มีปัญหาในชีวิต ปลงไม่ตก 1.1
13 คนเก็บกดซ่อนเร้น มีปมด้อย 1.0
14 คนที่ขาดความอบอุ่น 0.1
15 คนน่าสงสาร 0.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแง่มุมที่เคยรับรู้เรื่องราวของผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) จากสื่อต่างๆหรือคนรอบข้าง
ค่าร้อยละ
ลำดับที่ แง่มุมเกี่ยวกับผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) เคยรับรู้จากสื่อฯ มุมมองโดยส่วนตัว
และคนรอบข้าง
1 ในแง่ที่ดีมากกว่า 9.8 16.2
2 ในแง่ที่ไม่ดีมากกว่า 37.7 28.6
3 ทั้งแง่ที่ดีและไม่ดี พอๆ กัน 52.5 55.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความกังวลใจกับระยะห่างทางสังคมในการอยู่ร่วมกับผู้ป่วยทางจิต
จำแนกระหว่างผู้ป่วยทางจิตที่ไม่ปรากฎอาการทำร้ายผู้อื่น กับผู้ป่วยทางจิตที่ปรากฎอาการทำร้ายผู้อื่น
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ระยะห่างทางสังคม ความกังวลใจต่อผู้ป่วยทางจิตที่
ไม่ปรากฏอาการ ปรากฏอาการ
1 อาศัยอยู่ในชุมชนหรือหมู่บ้านเดียวกัน 23.5 61.0
2 อยู่ในละแวกใกล้เคียงกับบ้านที่พักอาศัย 25.6 60.5
3 อยู่ติดกับบ้านที่พักอาศัย 34.7 68.4
4 อยู่ร่วมกับคุณในบ้านเดียวกัน 39.3 71.9
5 อยู่ร่วมกับคุณในห้องเดียวกัน 46.8 74.6
6 ทำงาน/เรียนในที่เดียวกัน 27.5 60.0
7 ขึ้นรถประจำทางคันเดียวกัน 23.7 56.4
8 สนทนาพูดคุยกัน 22.8 57.2
9 รับประทานอาหารร่วมโต๊ะเดียวกัน 24.9 58.3
10 ทำกิจกรรมประจำวันอื่นๆ ร่วมกัน 24.1 57.4
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสาเหตุของโรคจิต (การป่วยทางจิต) (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สาเหตุของโรคจิต (การป่วยทางจิต) ค่าร้อยละ
1 ความเครียด 80.8
2 เหตุการณ์สะเทือนใจ เช่น ถูกข่มขืน อุบัติเหตุ คนใกล้ชิดเสียชีวิต 55.9
3 การติดยาเสพติด 53.8
4 ความผิดปกติภายในสมอง 52.3
5 การถูกทารุณกรรมทางร่างกาย 50.9
6 ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี 43.1
7 โรคทางสมอง 37.0
8 การเลี้ยงดูที่ไม่ดี ไม่เหมาะสม 34.3
9 กรรมพันธุ์ 27.9
10 ความไม่เข้าใจจากคนในสังคม 27.2
11 ความยากจน 25.5
12 สารเคมีในสมองไม่สมดุล 13.2
13 การติดเชื้อไวรัสระหว่างตั้งครรภ์ 11.4
14 ถูกผีสิงหรือพระเจ้าลงโทษ 3.9
15 ไม่ทราบ 2.4
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต)
ประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) ความคิดเห็น รวม
เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น
1. โรคจิต (การป่วยทางจิต) สามารถรักษาให้หายได้ 87.5 5.6 6.9 100.0
2. คนทั่วๆ ไปก็สามารถมีปัญหาทางสุขภาพจิตได้ 92.3 4.3 3.4 100.0
3. ผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) เป็นคนธรรมดาเหมือนเราๆ 80.5 12.9 6.6 100.0
4. ผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) ควรได้รับโอกาสในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม 82.3 10.4 7.3 100.0
5. ผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) ควรได้รับการเอาใจใส่จากสังคมไม่ใช่การรังเกียจ 89.8 4.1 6.1 100.0
6. ผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) มีสิทธิที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างปกติสุข 78.4 13.6 8.0 100.0
7. ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตเป็นคนอันตรายและดุร้าย 35.8 48.0 16.2 100.0
8. ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตเป็นคนโง่ ไม่ฉลาด 22.5 62.4 15.1 100.0
9. ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตเป็นคนขี้เกียจ ขาดความกระตือรือร้น 30.3 54.1 15.6 100.0
10. การไปพบจิตแพทย์เพื่อปรึกษาปัญหาทางจิตเป็นเรื่องปกติธรรมดาในปัจจุบัน 87.9 6.4 5.7 100.0
ตารางที่ 8 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัจจัยที่จะช่วยให้ผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) ในสังคมไทยได้รับการเอาใจใส่
ดีขึ้น (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัจจัยที่ช่วยให้ผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต) ในสังคมไทยได้รับการเอาใจใส่ดีขึ้น ค่าร้อยละ
1 ความรักความอบอุ่นในครอบครัว 85.5
2 ความร่วมมือระหว่างแพทย์ ญาติผู้ป่วย และผู้ป่วยในการรักษา 70.0
3 การยอมรับและความเข้าใจจากคนในสังคม 69.5
4 สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการบำบัด 66.7
5 การเลี้ยงดูที่ถูกต้องเหมาะสมของพ่อแม่ ผู้ปกครอง 66.3
6 การให้โอกาสผู้ป่วยทางจิตได้ดำเนินชีวิตปกติในสังคม 58.7
7 ส่งเสริมให้เกิดภูมิคุ้มกันทางจิตใจ เช่น ธรรมะ หลักศาสนา 48.1
8 การเปลี่ยนทัศนคติและท่าทีต่อผู้ป่วยทางจิตในทางบวก 42.7
9 ความร่วมมือจากสื่อมวลชน ในการนำเสนอภาพลักษณ์ของผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต)
ตามความเป็นจริง ไม่น่ากลัวเกินจริง 37.1
ตารางที่ 9 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาลผู้ป่วยจิตเวช (ผู้ป่วยทางจิต)
ในสังคมไทยให้ดีขึ้น (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาลผู้ป่วยจิตเวช(ผู้ป่วยทางจิต) ในสังคมไทยให้ดีขึ้น ค่าร้อยละ
1 ความรักความอบอุ่นในครอบครัว 21.0
2 การเลี้ยงดูที่ถูกต้องเหมาะสมของพ่อแม่ ผู้ปกครอง 18.7
3 การยอมรับและความเข้าใจจากคนในสังคม 15.1
4 ให้แพทย์เอาใจใส่ผู้ป่วยมากขึ้น 14.3
5 การให้โอกาสผู้ป่วยทางจิตได้ดำเนินชีวิตปกติในสังคม 12.5
6 การพูดคุยให้กำลังใจผู้ป่วย / ไม่พูดหรือทำให้ผู้ป่วยไม่สบายใจ 11.9
7 การเปลี่ยนทัศนคติและท่าทีต่อผู้ป่วยทางจิตในทางบวก / ไม่ดูถูกเหยียดหยาม 6.7
8 สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการบำบัด 6.4
9 มีสถานบำบัดมากขึ้น 6.2
10 ความร่วมมือระหว่างแพทย์ ญาติผู้ป่วย และผู้ป่วยในการรักษา 6.0
11 ให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง มีงบประมาณอย่างพอเพียง 6.0
12 ส่งเสริมให้เกิดภูมิคุ้มกันทางจิตใจ เช่น ธรรมะ หลักศาสนา 5.7
13 ความร่วมมือจากสื่อมวลชน ในการนำเสนอภาพลักษณ์ของผู้ป่วยจิตเวชตามความเป็นจริง 2.1
14 ลดปัญหายาเสพติด 0.8
15 ลดการใช้ความรุนแรงในสังคม 0.7
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-