ที่มาของโครงการ
ข่าวการกลับเข้ามาทำงานในตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อีกครั้งภายหลังการลาพัก ได้รับการวิพากษ์
วิจารณ์จากกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ ถึงเหตุผลที่แท้จริงในการกลับมาทำงานในครั้งนี้ รวมทั้งได้มีการออกมาแสดงท่าทีที่ไม่เห็นด้วยต่อการกลับ
มาดังกล่าว และทำท่าว่าจะกลายเป็นปัญหาความขัดแย้งบานปลายอีกครั้ง ในขณะที่อีกด้านหนึ่งนั้นข้อวิพากษ์เกี่ยวกับคณะกรรมการการเลือกตั้งก็ยังไม่ได้
ข้อสรุปที่ชัดเจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวทางในการสรรหาคณะกรรมการการเลือกตั้งของวุฒิสภาที่ยังไม่ลงตัวว่าจะมีการสรรหาใหม่ทั้งชุดหรือว่าจะสรรหา
เฉพาะตำแหน่งที่ว่างลง 2 ตำแหน่ง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงความคิดเห็นที่มีต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บข้อมูลลงพื้นที่
ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการติดตามข่าวสารของประชาชนในรอบ 7 วันที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการกลับมาทำงานของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดปัจจุบันและแนวทางการสรรหาคณะกรรมการการ
เลือกตั้งชุดใหม่
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรเมื่อ พ.ต.ท.ดร.
ทักษิณ กลับมา : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการในวันที่ 21-22 พฤษภาคม
2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิหลายชั้น (Stratified Multi-stage Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,598 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.1 เป็นหญิง
ร้อยละ 47.9 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 31.0 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.3 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 18.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 18.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 75.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
เมื่อพิจารณาถึงอาชีพประจำของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.2 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.1 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 20.3 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 11.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.1 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 7.1 ระบุเป็นนักศึกษา
และร้อยละ 1.0 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรเมื่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ กลับ
มา” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,598
ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 21-22 พฤษภาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังต่อไปนี้
ผลสำรวจการติดตามข่าวสารต่างๆ ผ่านสื่อมวลชนของประชาชนในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ซึ่งพบว่า สำหรับข่าวประธานวุฒิสภารับให้มีการ
สรรหากรรมการการเลือกตั้งคนใหม่นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 69.4 ระบุติดตาม ในขณะที่ร้อยละ 30.6 ระบุไม่ได้ติดตาม นอกจากนี้ผลการสำรวจยัง
พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 85.0 ระบุติดตามข่าว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะกลับมาทำงานอีกครั้งในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ร้อยละ 15.0 ระบุไม่
ได้ติดตาม
“เมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรว่าควรรักษาคำพูดหรือไม่ต้องรักษาคำพูดเพื่อจะได้กลับมาเป็นนายก
รัฐมนตรีใหม่อีกครั้ง ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.0 ระบุควรรักษาคำพูดมากกว่า ในขณะที่ร้อยละ 44.0 ระบุไม่ต้องรักษาคำพูด ผลสำรวจ
เช่นนี้ชี้ให้เห็นว่าสังคมจะแบ่งออกเป็นสองฝ่ายในสัดส่วนที่มีจำนวนมากพอที่จะสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นในสังคมได้ แต่ทางออกก็คือ ถ้า พ.ต.ท.
ทักษิณ สามารถอธิบายทำความเข้าใจกับฝ่ายสนับสนุนอย่างจริงจังให้คำนึงถึงความสงบแบบไม่ยึดติดที่เคยประกาศไว้หลายๆ ครั้งที่ผ่านมาก็น่าจะทำให้
ฝ่ายสนับสนุนเข้าใจได้และไม่เกิดเหตุรุนแรงบานปลาย” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เพราะเมื่อสอบถามความรู้สึกของประชาชนว่าจะเกิดความขัดแย้งรุนแรงบานปลายในกลุ่มประชาชนผู้สนับสนุนและ
ไม่สนับสนุนหรือไม่ ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับมาทำงานต่อในรัฐบาลรักษาการ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.2 คิดว่าจะเกิดความ
ขัดแย้งรุนแรงบานปลาย ในขณะที่ร้อยละ 42.8 คิดว่าไม่เกิด
แต่ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 46.9 คิดว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งที่เหลือควรลาออกเพื่อสรรหาคณะกรรมการชุดใหม่ทั้งชุด ใน
ขณะที่มีเพียงร้อยละ 16.7 เท่านั้นที่คิดว่าไม่ควรลาออก และที่เหลือร้อยละ 36.4 ไม่มีความเห็น ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ตัวอย่างประชาชนส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 66.9 คิดว่าจะเกิดความขัดแย้งรุนแรงบานปลายถ้าหากคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดเดิมยังคงทำงานต่อไป ในขณะที่ร้อยละ 33.1 คิดว่า
ไม่เกิด และเมื่อสอบถามถึงความเห็นต่อประธานวุฒิสภาในการกำหนดแนวทางเพื่อสรรหากรรมการการเลือกตั้ง ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ
62.3 เห็นว่าควรสรรหาใหม่ทั้งชุด (5 ตำแหน่ง) ในขณะที่ร้อยละ 37.7 ควรสรรหาใหม่เฉพาะตำแหน่งที่ว่างลง
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า หากทำการวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองขณะนี้จะเห็นได้ว่า เงื่อนตายทางการเมืองที่ถูกผูกไว้ขณะนี้กำลังจะมีปม
ใหม่เกิดขึ้นอีกอย่างน้อยสองปมจากเดิมที่ใครๆ คิดว่าอยู่ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเพียงจุดเดียวเท่านั้น คือ การกลับมาทำงานของ พ.ต.ท.ดร.
ทักษิณ และบทบาทของประธานวุฒิสภาที่จะผลักดันให้มีการสรรหาคณะกรรมการการเลือกตั้งขึ้นมาใหม่อีกสองคนแทนตำแหน่งที่ว่างลง ซึ่งถ้ามองสอง
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมานี้จะพบว่า ไม่ได้เป็นเหตุการณ์ที่จะทำให้บ้านเมืองสงบลงได้ ตรงกันข้ามกลับเป็นเหตุการณ์ที่กำลังจะเปรียบเสมือนกองเพลิงทาง
การเมืองที่ลุกโชนขึ้นอีกสองจุด จึงดูเหมือนว่าขณะนี้กำลังมีกองเพลิงทางการเมืองเกิดขึ้นถึงสามจุดที่ยากจะคาดเดาว่าอะไรจะเกิดขึ้นตามมาในอนาคต
อันใกล้นี้
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
ข่าวสารที่ติดตามในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ติดตามค่าร้อยละ ไม่ได้ติดตามค่าร้อยละ รวมทั้งสิ้น
1. ข่าวประธานวุฒิสภารับให้มีการสรรหา กกต.คนใหม่ 69.4 30.6 100.0
2. ข่าว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะกลับมาทำงานอีกครั้งในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 85.0 15.0 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กรณีการรักษาคำพูดและ
การไม่ต้องรักษาคำพูดเพื่อจะกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรรักษาคำพูด 56.0
2 ไม่ต้องรักษาคำพูด เพื่อจะกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีใหม่อีกครั้ง 44.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการเกิดความขัดแย้งรุนแรงบานปลายในกลุ่ม
ประชาชนผู้สนับสนุน/ไม่สนับสนุน ถ้าพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับมาทำงานต่อในรัฐบาลรักษาการ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะเกิดความขัดแย้งรุนแรงบานปลาย 57.2
2 คิดว่าไม่เกิด 42.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งในการลาออกเพื่อสรรหา
คณะกรรมการชุดใหม่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรลาออกเพื่อสรรหาใหม่ทั้งชุด 46.9
2 ไม่ควรลาออก 16.7
3 ไม่มีความเห็น 36.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการเกิดความขัดแย้งรุนแรงบานปลายในกลุ่ม
ประชาชนผู้สนับสนุน/ไม่สนับสนุน ถ้าหากคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดเดิมยังคงทำงานต่อไป
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะเกิดความขัดแย้งรุนแรงบานปลาย 66.9
2 คิดว่าไม่เกิด 33.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อประธานวุฒิสภาในการกำหนดแนวทางเพื่อสรรหา
กรรมการการเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรสรรหาใหม่เฉพาะตำแหน่งที่ว่าง 2 ตำแหน่ง 37.7
2 ควรสรรหาใหม่ทั้งชุด (5 ตำแหน่ง) 62.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ข่าวการกลับเข้ามาทำงานในตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อีกครั้งภายหลังการลาพัก ได้รับการวิพากษ์
วิจารณ์จากกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ ถึงเหตุผลที่แท้จริงในการกลับมาทำงานในครั้งนี้ รวมทั้งได้มีการออกมาแสดงท่าทีที่ไม่เห็นด้วยต่อการกลับ
มาดังกล่าว และทำท่าว่าจะกลายเป็นปัญหาความขัดแย้งบานปลายอีกครั้ง ในขณะที่อีกด้านหนึ่งนั้นข้อวิพากษ์เกี่ยวกับคณะกรรมการการเลือกตั้งก็ยังไม่ได้
ข้อสรุปที่ชัดเจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวทางในการสรรหาคณะกรรมการการเลือกตั้งของวุฒิสภาที่ยังไม่ลงตัวว่าจะมีการสรรหาใหม่ทั้งชุดหรือว่าจะสรรหา
เฉพาะตำแหน่งที่ว่างลง 2 ตำแหน่ง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงความคิดเห็นที่มีต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บข้อมูลลงพื้นที่
ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการติดตามข่าวสารของประชาชนในรอบ 7 วันที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการกลับมาทำงานของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดปัจจุบันและแนวทางการสรรหาคณะกรรมการการ
เลือกตั้งชุดใหม่
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรเมื่อ พ.ต.ท.ดร.
ทักษิณ กลับมา : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการในวันที่ 21-22 พฤษภาคม
2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิหลายชั้น (Stratified Multi-stage Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,598 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.1 เป็นหญิง
ร้อยละ 47.9 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 31.0 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.3 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 18.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 18.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 75.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
เมื่อพิจารณาถึงอาชีพประจำของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.2 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.1 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 20.3 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 11.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.1 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 7.1 ระบุเป็นนักศึกษา
และร้อยละ 1.0 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรเมื่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ กลับ
มา” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,598
ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 21-22 พฤษภาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังต่อไปนี้
ผลสำรวจการติดตามข่าวสารต่างๆ ผ่านสื่อมวลชนของประชาชนในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ซึ่งพบว่า สำหรับข่าวประธานวุฒิสภารับให้มีการ
สรรหากรรมการการเลือกตั้งคนใหม่นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 69.4 ระบุติดตาม ในขณะที่ร้อยละ 30.6 ระบุไม่ได้ติดตาม นอกจากนี้ผลการสำรวจยัง
พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 85.0 ระบุติดตามข่าว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะกลับมาทำงานอีกครั้งในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ร้อยละ 15.0 ระบุไม่
ได้ติดตาม
“เมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรว่าควรรักษาคำพูดหรือไม่ต้องรักษาคำพูดเพื่อจะได้กลับมาเป็นนายก
รัฐมนตรีใหม่อีกครั้ง ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.0 ระบุควรรักษาคำพูดมากกว่า ในขณะที่ร้อยละ 44.0 ระบุไม่ต้องรักษาคำพูด ผลสำรวจ
เช่นนี้ชี้ให้เห็นว่าสังคมจะแบ่งออกเป็นสองฝ่ายในสัดส่วนที่มีจำนวนมากพอที่จะสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นในสังคมได้ แต่ทางออกก็คือ ถ้า พ.ต.ท.
ทักษิณ สามารถอธิบายทำความเข้าใจกับฝ่ายสนับสนุนอย่างจริงจังให้คำนึงถึงความสงบแบบไม่ยึดติดที่เคยประกาศไว้หลายๆ ครั้งที่ผ่านมาก็น่าจะทำให้
ฝ่ายสนับสนุนเข้าใจได้และไม่เกิดเหตุรุนแรงบานปลาย” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เพราะเมื่อสอบถามความรู้สึกของประชาชนว่าจะเกิดความขัดแย้งรุนแรงบานปลายในกลุ่มประชาชนผู้สนับสนุนและ
ไม่สนับสนุนหรือไม่ ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับมาทำงานต่อในรัฐบาลรักษาการ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.2 คิดว่าจะเกิดความ
ขัดแย้งรุนแรงบานปลาย ในขณะที่ร้อยละ 42.8 คิดว่าไม่เกิด
แต่ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 46.9 คิดว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งที่เหลือควรลาออกเพื่อสรรหาคณะกรรมการชุดใหม่ทั้งชุด ใน
ขณะที่มีเพียงร้อยละ 16.7 เท่านั้นที่คิดว่าไม่ควรลาออก และที่เหลือร้อยละ 36.4 ไม่มีความเห็น ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ตัวอย่างประชาชนส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 66.9 คิดว่าจะเกิดความขัดแย้งรุนแรงบานปลายถ้าหากคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดเดิมยังคงทำงานต่อไป ในขณะที่ร้อยละ 33.1 คิดว่า
ไม่เกิด และเมื่อสอบถามถึงความเห็นต่อประธานวุฒิสภาในการกำหนดแนวทางเพื่อสรรหากรรมการการเลือกตั้ง ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ
62.3 เห็นว่าควรสรรหาใหม่ทั้งชุด (5 ตำแหน่ง) ในขณะที่ร้อยละ 37.7 ควรสรรหาใหม่เฉพาะตำแหน่งที่ว่างลง
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า หากทำการวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองขณะนี้จะเห็นได้ว่า เงื่อนตายทางการเมืองที่ถูกผูกไว้ขณะนี้กำลังจะมีปม
ใหม่เกิดขึ้นอีกอย่างน้อยสองปมจากเดิมที่ใครๆ คิดว่าอยู่ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเพียงจุดเดียวเท่านั้น คือ การกลับมาทำงานของ พ.ต.ท.ดร.
ทักษิณ และบทบาทของประธานวุฒิสภาที่จะผลักดันให้มีการสรรหาคณะกรรมการการเลือกตั้งขึ้นมาใหม่อีกสองคนแทนตำแหน่งที่ว่างลง ซึ่งถ้ามองสอง
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมานี้จะพบว่า ไม่ได้เป็นเหตุการณ์ที่จะทำให้บ้านเมืองสงบลงได้ ตรงกันข้ามกลับเป็นเหตุการณ์ที่กำลังจะเปรียบเสมือนกองเพลิงทาง
การเมืองที่ลุกโชนขึ้นอีกสองจุด จึงดูเหมือนว่าขณะนี้กำลังมีกองเพลิงทางการเมืองเกิดขึ้นถึงสามจุดที่ยากจะคาดเดาว่าอะไรจะเกิดขึ้นตามมาในอนาคต
อันใกล้นี้
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
ข่าวสารที่ติดตามในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ติดตามค่าร้อยละ ไม่ได้ติดตามค่าร้อยละ รวมทั้งสิ้น
1. ข่าวประธานวุฒิสภารับให้มีการสรรหา กกต.คนใหม่ 69.4 30.6 100.0
2. ข่าว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะกลับมาทำงานอีกครั้งในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 85.0 15.0 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กรณีการรักษาคำพูดและ
การไม่ต้องรักษาคำพูดเพื่อจะกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรรักษาคำพูด 56.0
2 ไม่ต้องรักษาคำพูด เพื่อจะกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีใหม่อีกครั้ง 44.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการเกิดความขัดแย้งรุนแรงบานปลายในกลุ่ม
ประชาชนผู้สนับสนุน/ไม่สนับสนุน ถ้าพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับมาทำงานต่อในรัฐบาลรักษาการ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะเกิดความขัดแย้งรุนแรงบานปลาย 57.2
2 คิดว่าไม่เกิด 42.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งในการลาออกเพื่อสรรหา
คณะกรรมการชุดใหม่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรลาออกเพื่อสรรหาใหม่ทั้งชุด 46.9
2 ไม่ควรลาออก 16.7
3 ไม่มีความเห็น 36.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการเกิดความขัดแย้งรุนแรงบานปลายในกลุ่ม
ประชาชนผู้สนับสนุน/ไม่สนับสนุน ถ้าหากคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดเดิมยังคงทำงานต่อไป
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะเกิดความขัดแย้งรุนแรงบานปลาย 66.9
2 คิดว่าไม่เกิด 33.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อประธานวุฒิสภาในการกำหนดแนวทางเพื่อสรรหา
กรรมการการเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรสรรหาใหม่เฉพาะตำแหน่งที่ว่าง 2 ตำแหน่ง 37.7
2 ควรสรรหาใหม่ทั้งชุด (5 ตำแหน่ง) 62.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-