ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” ที่เป็นการ สำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อทำ การสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไว จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจ เรื่อง เสียงสะท้อน ของสาธารณชนต่อบทบาททางการเมืองของบุคคลนัยสำคัญทางการเมืองของประเทศในปัจจุบัน กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 17 จังหวัด ของประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา จันทบุรี ชลบุรี เชียงใหม่ พิจิตร เพชรบูรณ์ นครพนม ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ ขอนแก่น นครราชสีมา นครศรีธรรมราช สงขลา และยะลา จำนวนทั้งสิ้น 1,127 ครัวเรือน ดำเนินการสำรวจในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2552 ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 90 ติดตามข่าวสารเป็นประจำทุกสัปดาห์
เมื่อสอบถามถึงบทบาททางการเมืองระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชาของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.1 มองว่าเป็นผลเสียต่อประเทศไทย ในขณะที่ร้อยละ 16.9 มองว่าเป็นผลดีต่อประเทศไทย นอกจากนี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.1 ยังมองว่า พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ กำลังทำเพื่อประโยชน์ให้กับตนเอง แต่ร้อยละ 11.9 คิดว่าเป็นการทำประโยชน์ให้กับประเทศ และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.6 ระบุไม่เคยได้รับ ประโยชน์อะไรโดยตรงจาก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ในขณะที่ร้อยละ 17.4 บอกว่าเคยได้รับผลประโยชน์โดยตรงจาก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
และเมื่อถามถึงแนวคิดของ พล.อ.ชวลิต เกี่ยวกับ นครปัตตานี ในการแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.7 ไม่เห็น ด้วย แต่ ร้อยละ 19.3 เห็นด้วย ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.7 ระบุว่าการเคลื่อนไหวทางการเมืองของทั้ง พล.อ.ชวลิต และ พ.ต. ท.ดร.ทักษิณ ครั้งล่าสุด ไม่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย แต่ร้อยละ 15.1 ระบุทั้งสองคนกำลังทำเพื่อประเทศไทย ร้อยละ 7.5 ระบุ พล.อ.ชวลิต กำลังพยายามทำเพื่อประเทศชาติ และร้อยละ 6.7 มองว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ กำลังทำเพื่อประเทศชาติเช่นกัน
ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.3 กังวลว่า การแต่งตั้ง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เป็นที่ปรึกษาผู้นำกัมพูชา จะกลายเป็น สาเหตุไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงบานปลายระหว่างประเทศ ในขณะที่ร้อยละ 28.7 ไม่คิดเช่นนั้น นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.7 เห็นด้วยกับ รัฐบาลที่เรียกเอกอัครราชทูตไทยประจำกัมพูชากลับประเทศ ในขณะที่ร้อยละ 35.3 ไม่เห็นด้วย อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.7 หวังว่าทั้งสองประเทศจะหันมาร่วมมือกันด้วยดี ในขณะที่ร้อยละ 41.3 ไม่ได้หวังเช่นนั้น
เมื่อพิจารณาแนวโน้มความนิยมของสาธารณชนต่อนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พบว่า อยู่ที่ร้อยละ 60.0 ในขณะที่ความนิยม ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ยังคงไม่แตกต่างไปจากการสำรวจครั้งก่อนเท่าใดนักคือร้อยละ 21.0 ที่เหลือไม่มีความเห็น นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.9 ยังคงให้โอกาสรัฐบาลชุดปัจจุบันทำงานต่อไป ในขณะที่ร้อยละ 14.5 ไม่ให้โอกาสแล้ว และร้อยละ 7.6 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า บทบาททางการเมืองทั้งภายในและระหว่างประเทศของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ กำลังเพลี่ยงพล้ำจนส่งผลให้ พ.ต.ท. ดร.ทักษิณจะประสบความยากลำบากในการได้รับฐานสนับสนุนจากสาธารณชนมากขึ้น ถึงแม้กลุ่มคนที่ยังคงรัก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ จะเหนียวแน่นเหมือน เดิม แต่ยังมีจำนวนไม่มากพอที่จะทำให้เกิดกระแสคล้อยตามบทบาททางการเมืองทั้งของ พล.อ.ชวลิต และ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ในเวลานี้ แต่ถ้ามีการ ปรับเปลี่ยนการทำงานทางการเมือง เช่น เปิดศูนย์ข้อมูลรื้อฟื้นความทรงจำของประชาชนต่อผลงานของอดีตนายกรัฐมนตรี และเน้นการทำงานเชิงสร้าง สรรค์เสนอแนะเป็น “ที่ปรึกษาประเทศไทย” น่าจะเป็นผลดีต่อฐานสนับสนุนทางการเมืองของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ และพรรคเพื่อไทยมากกว่า แต่ สิ่งที่น่ากังวลคือ แนวคิดที่จะให้กลุ่มคนที่นิยมศรัทธาอย่างเหนียวแน่นเป็นเครื่องมือนำไปสู่การตัดสินใจใช้ความรุนแรงต่างๆ ห่ำหั่นกันเพื่อเดินเกมช่วงชิง อำนาจทางการเมืองกันโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายต่อประเทศชาติ
“ในขณะเดียวกัน รัฐบาลชุดปัจจุบันน่าจะใช้โอกาสนี้รักษาฐานสนับสนุนไว้ให้ยั่งยืนโดยลดการตอบโต้ทางการเมืองเพือไม่ให้กระแสความ เห็นใจฝ่ายที่ถูกโจมตีย้อนกลับเพราะธรรมชาติคนไทยมักจะเห็นใจผู้ที่เพลี่ยงพล้ำ นอกจากนี้รัฐบาลต้องเร่งสร้างผลงาน แก้ไขปัญหาเดือดร้อนของ ประชาชนที่เห็นเป็นรูปธรรม เพราะฐานสนับสนุนที่ค้นพบเวลานี้อาจเป็นเพียงกระแสที่ขึ้นลงได้ง่าย จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนกระแสให้เป็นตะกอนที่เหนียว แน่นในการร่วมขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนไม่ใช่เพื่อคนใดหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง” ผอ. เอแบคโพลล์กล่าว
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.2 เป็นหญิง
ร้อยละ 49.8 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.1 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 21.3 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 23.3 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 27.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 69.6 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 24.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 6.3 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.8 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 29.7 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 15.2 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 11.0 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.7 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 4.9 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ในขณะที่ร้อยละ 2.7 ระบุว่างงาน
ลำดับที่ การติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ 1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 65.6 2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 13.1 3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 9.5 4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 7.6 5 ไม่ได้ติดตามเลย 4.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อบทบาททางการเมืองระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ 1 คิดว่าเป็นผลดีต่อประเทศไทย 16.9 2 เป็นผลเสียต่อประเทศไทย 83.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการกระทำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 คิดว่าเป็นการทำประโยชน์ให้กับประเทศ 11.9 2 เป็นการทำประโยชน์ให้กับตนเอง 88.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเคยได้รับผลประโยชน์โดยตรงจาก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ลำดับที่ การเคยได้รับผลประโยชน์โดยตรงจาก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ค่าร้อยละ 1 เคยได้รับผลประโยชน์โดยตรงจาก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 17.4 2 ไม่เคย 82.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวคิดของ พล.อ.ชวลิต เกี่ยวกับ “นครปัตตานี” ในปัญหาชายแดนใต้ ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 เห็นด้วยกับแนวคิด 19.3 2 ไม่เห็นด้วย 80.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีใครคือผู้ที่กำลังเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อประโยชน์ของประเทศไทย
ระหว่าง พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร และ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 คิดว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร กำลังเคลื่อนไหวเพื่อประโยชน์ของประเทศไทย 6.7 2 คิดว่า พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ 7.5 3 ทั้งสองคน 15.1 4 ไม่มีใครทำเพื่อประเทศไทยแลย 70.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความกังวลต่อกรณีการแต่งตั้ง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เป็นที่ปรึกษาผู้นำกัมพูชา ที่อาจจะเป็น
สาเหตุไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงระหว่างสองประเทศ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 กังวลว่าจะนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงบานปลายระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา 71.3 2 ไม่รู้สึกกังวลอะไร 28.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีรัฐบาลเรียกเอกอัครราชทูตไทยประจำกัมพูชา กลับประเทศไทย ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณีรัฐบาลเรียกเอกอัครราชทูตไทยประจำกัมพูชา กลับประเทศไทย ค่าร้อยละ 1 เห็นด้วย 64.7 2 ไม่เห็นด้วย 35.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคาดหวังในการจับมือร่วมกันพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศระหว่างไทยกับกัมพูชา ลำดับที่ ความคาดหวังในการจับมือร่วมกันพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศระหว่างไทยกับกัมพูชา ค่าร้อยละ 1 คาดหวังว่าจะหันมาร่วมมือกันด้วยดี 58.7 2 ไม่มีความหวัง 41.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่สนับสุนนให้เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ระหว่าง
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร กับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ลำดับที่ บุคคลที่สนับสุนนให้เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ระหว่างพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร กับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ค่าร้อยละ 1 สนับสนุน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินัวตร 21.0 2 สนับสนุน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 60.0 3 ไม่มีความเห็น 19.0 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้โอกาสรัฐบาลชุดปัจจุบันทำงานต่อไป ลำดับที่ การให้โอกาสรัฐบาลชุดปัจจุบันทำงานต่อไป ค่าร้อยละ 1 ยังให้โอกาสทำงานต่อไป 77.9 2 ไม่ให้โอกาสแล้ว 14.5 3 ไม่มีความเห็น 7.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 --เอแบคโพลล์-- -พห-