ที่มาของโครงการ
ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมามีข่าวสำคัญๆ ทางการเมืองเกิดขึ้นมากมายโดยเฉพาะข่าวสินบนจากการซื้อ
เครื่องตรวจระเบิดที่สนามบินหนองงูเห่า ขณะเดียวกันข่าวการแต่งตั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคนใหม่ก็เป็นประเด็น
สำคัญทางการเมืองส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิดของประชาชนอย่างกว้างขวาง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จาก
ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เกี่ยวกับทัศนคติและความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นข่าว
สำคัญเรื่องการแต่งตั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคนใหม่ขึ้น ด้วยการส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวม
ข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็น ทัศนคติของประชาชนต่อประเด็นข่าวการแต่งตั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
คนใหม่
2. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อความเป็นอิสระในการทำงานขององค์กรอิสระ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ประชาชนคิด
อย่างไรต่อข่าวการแต่งตั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคนใหม่: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 26 — 27 พฤษภาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster
Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมาย
จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,146 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูล งบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.8 เป็นหญิง
ร้อยละ 48.2 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.9 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ26.4 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 22.7 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
ร้อยละ 18.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 4.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 21.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 28.7 อาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
รองลงมาคือร้อยละ 24.3 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 22.9 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 12.6 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.1 เป็นนักศึกษา/นักเรียน
ร้อยละ 3.4 ระบุอื่นๆ อาทิ แม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
โปรดพิจารณาบทสรุปประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง “ประชาชนคิดอย่าง
ไรต่อข่าวการแต่งตั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคนใหม่” ซึ่งได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนทั่วไปใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,146 ตัวอย่าง ในระหว่างวันที่ 26 — 27 พฤษภาคม 2548
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจเป็นดังนี้
ผลสำรวจการติดตามพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 58.2 ระบุติดตามข่าว
การเมืองเป็นประจำ ในขณะที่ร้อยละ 40.6 ระบุติดตามเป็นบางวันและร้อยละ 1.2 ระบุไม่ได้ติดตามเลย ทั้งนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นกรณีความไม่ชอบมาพากลในข่าวปลดผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินนั้นพบว่า
ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 66.8 ระบุเชื่อว่ามีความไม่ชอบมาพากล ในขณะที่ ร้อยละ 22.7 ระบุไม่
เชื่อ และร้อยละ 10.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีการให้องค์กร/คณะบุคคล ทบทวนการ
ปลดผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคนปัจจุบันนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 65.4 ระบุควรทบทวน ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ
17.5 ระบุไม่ควร และร้อยละ 17.1 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ผลการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่าง กรณี ส.ส.ร่วมกันลงชื่อคัดค้านการแต่งตั้งผู้ว่าการ
ตรวจเงินแผ่นดินคนใหม่ นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 60.3 ระบุเห็นด้วยกับการลงชื่อคัดค้านดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ
19.8 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 19.9 ไม่ระบุความคิดเห็น
อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อความเกี่ยวข้องของรัฐบาลในการ
แต่งตั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคนใหม่ พบว่า มีตัวอย่างเพียงร้อยละ 12.6 เท่านั้นที่ระบุว่ารัฐบาลควรเข้าไปเกี่ยว
ข้องกับเรื่องนี้ด้วย โดยตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 72.8 ระบุรัฐบาลไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้อง ในขณะที่ร้อยละ
14.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจคือสาเหตที่คาดว่าทำให้มีการพยายามปลดผู้ว่าการตรวจเงิน
แผ่นดิน ซึ่งพบว่า สาเหตุสำคัญ 3 อันดับแรกที่ตัวอย่างระบุว่าน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความพยายามดังกล่าว
ได้แก่ ร้อยละ 62.8 ระบุ ฝ่ายการเมืองกลัวการตรวจสอบเรื่องทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 60.3 มีใบสั่งทาง
การเมือง และร้อยละ 56.1 คิดว่าเป็นเกมทางการเมือง ตามลำดับ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมการติดตามข่าวการเมือง
ลำดับที่ พฤติกรรมการติดตามข่าวการเมือง ค่าร้อยละ
1 ติดตามทุกวัน 58.2
2 ติดตามบางวัน 40.6
3 ไม่ได้ติดตามเลย 1.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความไม่ชอบมาพากลในข่าวปลดผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
คนปัจจุบัน
ลำดับที่ ความเชื่อของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามีความไม่ชอบมาพากล 66.8
2 ไม่เชื่อ 22.7
3 ไม่มีความเห็น 10.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีการให้องค์กร/คณะบุคคล
ทบทวนการปลดผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคนปัจจุบัน
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ควรทบทวน 65.4
2 ไม่ควร 17.5
3 ไม่มีความเห็น 17.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อ ส.ส.ที่ร่วมกันลงชื่อคัดค้านการแต่งตั้ง ผู้ว่าการฯ
คนใหม่
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 60.3
2 ไม่เห็นด้วย 19.8
3 ไม่มีความเห็น 19.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อความเกี่ยวข้องของรัฐบาลในเรื่องการแต่งตั้งผู้ว่า
การตรวจเงินแผ่นดินคนใหม่
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 รัฐบาลควรเข้าไปเกี่ยวข้อง 12.6
2 รัฐบาลไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้อง 72.8
3 ไม่มีความเห็น 14.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สาเหตุที่คาดว่าทำให้มีความพยายามปลดผู้ว่าการตรวจเงิน
แผ่นดินคนปัจจุบัน
ลำดับที่ สาเหตุ ค่าร้อยละ
1 ฝ่ายการเมืองกลัวการตรวจสอบเรื่องทุจริตคอรัปชั่น 62.8
2 มีใบสั่งทางการเมือง 60.3
3 เป็นเกมการเมือง 56.1
4 ความบกพร่องในกระบวนการสรรหา 50.2
5 มีการแทรกแซงการทำงานขององค์กรอิสระ 48.9
6 นักการเมืองมีจิตสำนึกทางจริยธรรมไม่เพียงพอ 44.2
7 ความขัดแย้งทางการเมือง 43.1
8 ความขัดแย้งระหว่างตัวบุคคล 36.6
9 อื่นๆ เช่น เป็นแผนทางการเมือง/ ผลประโยชน์พวกพ้อง เป็นต้น 11.8
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมามีข่าวสำคัญๆ ทางการเมืองเกิดขึ้นมากมายโดยเฉพาะข่าวสินบนจากการซื้อ
เครื่องตรวจระเบิดที่สนามบินหนองงูเห่า ขณะเดียวกันข่าวการแต่งตั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคนใหม่ก็เป็นประเด็น
สำคัญทางการเมืองส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิดของประชาชนอย่างกว้างขวาง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จาก
ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เกี่ยวกับทัศนคติและความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นข่าว
สำคัญเรื่องการแต่งตั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคนใหม่ขึ้น ด้วยการส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวม
ข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็น ทัศนคติของประชาชนต่อประเด็นข่าวการแต่งตั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
คนใหม่
2. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อความเป็นอิสระในการทำงานขององค์กรอิสระ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ประชาชนคิด
อย่างไรต่อข่าวการแต่งตั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคนใหม่: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 26 — 27 พฤษภาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster
Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมาย
จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,146 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูล งบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.8 เป็นหญิง
ร้อยละ 48.2 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.9 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ26.4 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 22.7 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
ร้อยละ 18.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 4.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 21.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 28.7 อาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
รองลงมาคือร้อยละ 24.3 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 22.9 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 12.6 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.1 เป็นนักศึกษา/นักเรียน
ร้อยละ 3.4 ระบุอื่นๆ อาทิ แม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
โปรดพิจารณาบทสรุปประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง “ประชาชนคิดอย่าง
ไรต่อข่าวการแต่งตั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคนใหม่” ซึ่งได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนทั่วไปใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,146 ตัวอย่าง ในระหว่างวันที่ 26 — 27 พฤษภาคม 2548
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจเป็นดังนี้
ผลสำรวจการติดตามพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 58.2 ระบุติดตามข่าว
การเมืองเป็นประจำ ในขณะที่ร้อยละ 40.6 ระบุติดตามเป็นบางวันและร้อยละ 1.2 ระบุไม่ได้ติดตามเลย ทั้งนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นกรณีความไม่ชอบมาพากลในข่าวปลดผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินนั้นพบว่า
ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 66.8 ระบุเชื่อว่ามีความไม่ชอบมาพากล ในขณะที่ ร้อยละ 22.7 ระบุไม่
เชื่อ และร้อยละ 10.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีการให้องค์กร/คณะบุคคล ทบทวนการ
ปลดผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคนปัจจุบันนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 65.4 ระบุควรทบทวน ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ
17.5 ระบุไม่ควร และร้อยละ 17.1 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ผลการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่าง กรณี ส.ส.ร่วมกันลงชื่อคัดค้านการแต่งตั้งผู้ว่าการ
ตรวจเงินแผ่นดินคนใหม่ นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 60.3 ระบุเห็นด้วยกับการลงชื่อคัดค้านดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ
19.8 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 19.9 ไม่ระบุความคิดเห็น
อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อความเกี่ยวข้องของรัฐบาลในการ
แต่งตั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคนใหม่ พบว่า มีตัวอย่างเพียงร้อยละ 12.6 เท่านั้นที่ระบุว่ารัฐบาลควรเข้าไปเกี่ยว
ข้องกับเรื่องนี้ด้วย โดยตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 72.8 ระบุรัฐบาลไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้อง ในขณะที่ร้อยละ
14.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจคือสาเหตที่คาดว่าทำให้มีการพยายามปลดผู้ว่าการตรวจเงิน
แผ่นดิน ซึ่งพบว่า สาเหตุสำคัญ 3 อันดับแรกที่ตัวอย่างระบุว่าน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความพยายามดังกล่าว
ได้แก่ ร้อยละ 62.8 ระบุ ฝ่ายการเมืองกลัวการตรวจสอบเรื่องทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 60.3 มีใบสั่งทาง
การเมือง และร้อยละ 56.1 คิดว่าเป็นเกมทางการเมือง ตามลำดับ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมการติดตามข่าวการเมือง
ลำดับที่ พฤติกรรมการติดตามข่าวการเมือง ค่าร้อยละ
1 ติดตามทุกวัน 58.2
2 ติดตามบางวัน 40.6
3 ไม่ได้ติดตามเลย 1.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความไม่ชอบมาพากลในข่าวปลดผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
คนปัจจุบัน
ลำดับที่ ความเชื่อของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามีความไม่ชอบมาพากล 66.8
2 ไม่เชื่อ 22.7
3 ไม่มีความเห็น 10.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีการให้องค์กร/คณะบุคคล
ทบทวนการปลดผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคนปัจจุบัน
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ควรทบทวน 65.4
2 ไม่ควร 17.5
3 ไม่มีความเห็น 17.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อ ส.ส.ที่ร่วมกันลงชื่อคัดค้านการแต่งตั้ง ผู้ว่าการฯ
คนใหม่
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 60.3
2 ไม่เห็นด้วย 19.8
3 ไม่มีความเห็น 19.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อความเกี่ยวข้องของรัฐบาลในเรื่องการแต่งตั้งผู้ว่า
การตรวจเงินแผ่นดินคนใหม่
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 รัฐบาลควรเข้าไปเกี่ยวข้อง 12.6
2 รัฐบาลไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้อง 72.8
3 ไม่มีความเห็น 14.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สาเหตุที่คาดว่าทำให้มีความพยายามปลดผู้ว่าการตรวจเงิน
แผ่นดินคนปัจจุบัน
ลำดับที่ สาเหตุ ค่าร้อยละ
1 ฝ่ายการเมืองกลัวการตรวจสอบเรื่องทุจริตคอรัปชั่น 62.8
2 มีใบสั่งทางการเมือง 60.3
3 เป็นเกมการเมือง 56.1
4 ความบกพร่องในกระบวนการสรรหา 50.2
5 มีการแทรกแซงการทำงานขององค์กรอิสระ 48.9
6 นักการเมืองมีจิตสำนึกทางจริยธรรมไม่เพียงพอ 44.2
7 ความขัดแย้งทางการเมือง 43.1
8 ความขัดแย้งระหว่างตัวบุคคล 36.6
9 อื่นๆ เช่น เป็นแผนทางการเมือง/ ผลประโยชน์พวกพ้อง เป็นต้น 11.8
--เอแบคโพลล์--
-พห-