ที่มาของโครงการ
ณ วันนี้ คงไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้ว่า การเมืองไทยได้เดินทางมาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญ โดยจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เกิดขึ้น
เมื่อ ศาลฎีกา ศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ ได้หารือร่วมกันตามกระแสพระราชดำรัส เพื่อหาทางออกให้กับปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเมืองของ
ประเทศ อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ปัญหาต่างๆ กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของทั้ง 3 ศาลนี้ เป็นที่น่าจับตามองว่า กลุ่มการเมืองที่เคยออกมา
เคลื่อนไหวนั้น จะดำเนินบทบาทของตนเองต่อไปอย่างไร และประชาชนมีความคิดเห็นอย่างไรต่อบทบาทในการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ดังกล่าว
ทั้งกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กลุ่มพรรคร่วมฝ่ายค้าน คณะกรรมการการเลือกตั้ง และแม้แต่ฝ่ายรัฐบาลเองก็ตาม และที่น่าสนใจอย่าง
ยิ่งก็คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะกลับมาลงสนามเลือกตั้งเพื่อกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีใหม่อีกครั้งหรือไม่
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงความคิดเห็น และความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองในช่วงจุดพลิกผันที่สำคัญในครั้งนี้ โดยสำนักวิจัยเอแบ
คโพลล์ได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาทของพรรคการเมืองต่างๆ ในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการกลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อประเด็นสำคัญในการนำเสนอบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรี
5. ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจจะสะท้อนความคิดเห็นทางการเมืองของประชาชนต่อสาธารณชน และเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อการกลับมาสู่สนาม
การเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ ระหว่างวันที่ 1-
2 พฤษภาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,266 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.4 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.6 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 33.1 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.6 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 19.5 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 15.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 71.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 26.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 33.2 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 25.1 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 15.4 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 11.3 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
ร้อยละ 7.6 เป็นพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.6 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 0.8 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อการ
กลับมาสู่สนามการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
จำนวนทั้งสิ้น 1,266 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ ระหว่างวันที่ 1-2 พฤษภาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ผลสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 56.6 ติดตามข่าว
การเมืองทุกวัน/เกือบทุกวัน ร้อยละ 22.3 ติดตาม 3-4 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 13.5 ติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 4.2 ติดตามน้อยกว่า 1 วัน
ต่อสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 3.4 ไม่ได้ติดตามข่าวการเมืองเลย
เมื่อสอบถามความรู้สึกของตัวอย่างต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้นั้น พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 96.5 ระบุการเมืองเป็น
เรื่องสำคัญของประเทศ ร้อยละ 89.4 ระบุเรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันถึงที่สุด ร้อยละ 73.7 ระบุวิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง ร้อยละ
73.4 ระบุเบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง และร้อยละ 44.7 ระบุรู้สึกเครียดต่อเรื่องการเมือง ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นต่อบทบาทของพรรคการเมืองภายหลังการตัดสินชี้ขาดของศาลในปัญหาทางการเมืองขณะนี้ พบ
ว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 87.3 ระบุว่า พรรคการเมืองควรยอรมรับการตัดสินชี้ขาดของศาล โดยให้เหตุผลว่า น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด /
เป็นสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ / เป็นกติกาสูงสุดที่ทุกคนควรปฏิบัติตาม / เพื่อเป็นการยุติปัญหาในเบื้องต้นก่อน เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 7.3 ระบุไม่
ควรยอมรับ และร้อยละ 5.4 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับความนิยมศรัทธาต่อพรรคการเมืองหากไม่ยอมรับดุลยพินิจของศาล พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 78.8 ความนิยมจะลด
ลง โดยให้เหตุผลว่า ไม่เคารพสถาบันที่ประชาชนให้ความศรัทธาเชื่อถือ / ไม่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม / ไม่เคารพกติกา เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ
13.1 ระบุความนิยมไม่ลดลง โดยได้ระบุเหตุผลว่า ต่างฝ่ายต่างมีเหตุผลของตนเอง / มีความศรัทธาในตัวบุคคล / เป็นสิทธิของแต่ละพรรค เป็นต้น
และร้อยละ 8.1 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ ผลการสำรวจพรรคการเมืองที่กำลังวางตัวเหมาะสม คือ รอคำวินิจฉัยของศาลได้อย่างดี พบว่า ร้อยละ 51.1 ระบุพรรคประ
ชาธิปัตย์ ร้อยละ 43.2 ระบุพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 23.9 ระบุพรรคชาติไทย ร้อยละ 10.3 ระบุพรรคมหาชน และร้อยละ 4.7 ระบุพรรคอื่นๆ
อาทิ พรรคประชากรไทย / พรรครักษ์แผ่นดินไทย / พรรคคนขอปลดหนี้ เป็นต้น
ผลการสำรวจของเอแบคโพลล์ ยังค้นพบว่า ความคิดเห็นต่อพรรคร่วมฝ่ายค้านในการลงสมัครรับเลือกตั้ง หากมีการจัดการเลือกตั้งใหม่
นั้น พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 85.9 เห็นด้วยถ้าฝ่ายค้านจะลงสมัครรับการเลือกตั้ง ในขณะที่ร้อยละ 10.2 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 3.9
ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อความเป็นประชาธิปไตย ถ้าสภาผู้แทนราษฎรจะมี ส.ส.ที่มาจากพรรคการเมืองเดียวเกือบ 500
ที่นั่ง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 60.8 มีความเห็นว่าไม่เป็นประชาธิปไตย ถ้าสภาผู้แทนราษฎรจะมี ส.ส. ที่มาจากพรรคกการเมืองเดียว
เกือบ 500 ที่นั่ง ในขณะที่ประชาชนเกือบ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 32.5 คิดว่าเป็นประชาธิปไตย และร้อยละ 6.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประชาชนจำนวนมาก หรือร้อยละ 44.4 มีความเห็นว่า ควรเสนอคนอื่นในพรรคไทยรักไทยมาเป็นนายกรัฐมนตรีแทน โดยให้เหตุผลว่า
บ้านเมืองจะได้สงบเรียบร้อย / เป็นการรักษาคำพูด / พรรคมีคนอื่นที่เหมาะสมเช่นกัน / เป็นการแสดงความเสียสละไม่ยึดติดกับตำแหน่ง เป็นต้น ใน
ขณะที่สัดส่วนใกล้เคียงกัน คือร้อยละ 42.7 มีความเห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ควรกลับมาลงสมัครเลือกตั้ง โดยให้เหตุผลว่า เป็นผู้ที่มีความเหมาะสมที่สุด
ในขณะนี้ / เป็นสิทธิทางการเมือง เป็นต้น และร้อยละ 12.9 ไม่ระบุความคิดเห็น ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงรายชื่อบุคคลอื่นในพรรค
ไทยรักไทยที่ควรถูกเสนอชื่อให้เข้ามาแทน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้แก่ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (ร้อยละ 84.8) คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (ร้อย
ละ 8.7) นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา (ร้อยละ 6.5) นายโภคิน พลกุล (ร้อยละ 5.4) และบุคคลอื่นๆ คือ นายจาตุรนต์ ฉายแสง / นายกันตธีร์ ศุภ
มงคล (ร้อยละ 17.4) นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญที่ค้นพบเพิ่มเติม คือ ควรจะดำเนินการอย่างไรก่อนระหว่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญกับการจัดการเลือก
ตั้งใหม่ พบว่า ประชาชนจำนวนมาก หรือร้อยละ 43.1 มีความเห็นว่า ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน ร้อยละ 40.1 ควรจัดการเลือกตั้งใหม่ก่อน และร้อย
ละ 16.8 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า อารมณ์ ความรู้สึกและความคิดเห็นของประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้เปลี่ยนแปลง
ไปจากผลสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 30 เมษายน ที่ผ่านมา ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ยังคงวิตกกังวลและจำนวนมากที่รู้สึกเครียดจากสถานการณ์ทางการ
เมืองในขณะนี้ ประชาชนในพื้นที่ที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่ต้องการให้ทุกฝ่ายยอมรับดุลยพินิจของศาลไม่ว่าจะมีผลออกมาอย่างไร และถ้าพรรคการเมืองใดไม่
ยอมรับก็จะส่งผลทำให้เสียความนิยมศรัทธาของประชาชนไปได้ เพราะแสดงว่าไม่เคารพสถาบันที่ประชาชนให้ความศรัทธาเชื่อถือ/ไม่คำนึงถึงประโยชน์
ส่วนรวม/ไม่เคารพกติกา
“ส่วนประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการกลับมาหรือไม่ควรกลับมาของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เพื่อแข่งขันเสนอตัวเป็นนายกรัฐมนตรีอีก หากมีการ
เลือกตั้งใหม่นั้น ผลสำรวจครั้งนี้แสดงให้เห็นสถานการณ์ว่าอยู่ในลักษณะก้ำกึ่งระหว่างกลุ่มที่เห็นว่าควรกลับมากับกลุ่มที่เห็นว่าไม่ควรกลับมาโดยให้ส่งคน
อื่นในพรรคไทยรักไทยมาแทน ผลสำรวจที่ค้นพบเช่นนี้ไม่ได้ให้ความชัดเจนในทิศทางของกระแสสังคมเท่าใดนัก จึงอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางการ
เมืองและสังคมในกลุ่มประชาชนขึ้นมาอีกได้ในทั้งสองทางเลือกไม่ว่าจะกลับมาหรือไม่กลับมาของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ อย่างไรก็ตาม ถ้า พ.ต.ท.ดร.
ทักษิณ ประกาศชี้แจงให้กับประชาชนที่นิยมศรัทธาตนเองทราบและเข้าใจถึงเจตนารมณ์ว่าเพื่อความสงบสุขของบ้านเมืองจึงขอเว้นวรรคไปก่อนและ
อาจกลับมาภายหลังที่ประเทศมีกรอบกติกาที่ทุกฝ่ายยอมรับร่วมกัน ก็น่าจะทำให้ประเทศอยู่ในความสงบและประชาชนเหล่านั้นยิ่งนิยมศรัทธาในสปิริตของ
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ มากขึ้น และอาจได้ใจจากประชาชนในกลุ่มอื่นๆ ให้กับพรรคไทยรักไทยมากขึ้นตามไปด้วย” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ในขณะนี้พรรคไทยรักไทยค่อนข้างมีความได้เปรียบอยู่ในหลายประการถึงแม้ว่าจะต้องมีการเลือกตั้งใหม่เพราะ
นโยบายที่ตรงกับความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ มีผลงานหลายอย่างที่ประชาชนพอใจ เช่น หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การแก้ปัญหายาเสพ
ติด 30 บาทรักษาทุกโรค การปราบปรามกลุ่มผู้มีอิทธิพล และการสำรวจหลายครั้งที่ผ่านมาชี้ให้เห็นชัดเจนว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการความสงบใน
สังคม ถ้าพรรคการเมืองใดแสดงท่าทีชัดเจนที่จะไม่ให้เกิดความขัดแย้งวุ่นวายย่อมจะได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชน ตรงกันข้าม ถ้าสังคมวุ่นวายและ
แตกแยก ประชาชนส่วนใหญ่ก็จะหันไปหานายกฯ คนกลาง และรัฐบาลเฉพาะกิจซึ่งพรรคการเมืองต่างๆ ก็จะสูญเสียโอกาสที่จะได้เข้ามาบริหารและ
ระบบโครงสร้างต่างๆ ของประเทศก็จะเสียหายไปเกือบทั้งหมด
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 56.6
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 22.3
4 1-2 วันต่อสัปดาห์ 13.5
5 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 4.2
6 ไม่ได้ติดตาม 3.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
ลำดับที่ ความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ใช่ ไม่ใช่ รวมทั้งสิ้น
1 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 96.5 3.5 100.0
2 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 73.7 26.3 100.0
3 เครียดต่อเรื่องการเมือง 44.7 55.3 100.0
4 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวในเรื่องการเมือง 14.2 85.8 100.0
5 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง 18.3 81.7 100.0
6 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง 18.7 81.3 100.0
7 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 73.4 26.6 100.0
8 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันถึงที่สุด 89.4 10.6 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อบทบาทของพรรคการเมืองภายหลังการตัดสินชี้
ขาดของศาลในปัญหาทางการเมืองขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 พรรการเมืองควรยอมรับการตัดสิน เพราะ ...น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด /
เป็นสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ /เป็นกติกาสูงสุดที่ทุกคนควรปฏิบัติตาม /
เพื่อเป็นการยุติปัญหาในเบื้องต้นก่อน เป็นต้น 87.3
2 ไม่ควรยอมรับ 7.3
3 ไม่มีความเห็น 5.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความนิยมศรัทธาต่อพรรคการเมืองหากไม่ยอมรับดุลยพินิจของศาล
ลำดับที่ ความนิยมศรัทธาต่อพรรคการเมืองหากไม่ยอมรับดุลยพินิจของศาล ค่าร้อยละ
1 ความนิยมลดลง เพราะ ... ไม่เคารพสถาบันที่ประชาชนให้ความศรัทธาเชื่อถือ/
ไม่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม/ไม่เคารพกติกา 78.8
2 ไม่ลดลง เพราะ ... ต่างฝ่ายต่างมีเหตุผลของตนเอง/
มีความศรัทธาในตัวบุคคล/เป็นสิทธิของแต่ละพรรค 13.1
3 ไม่มีความเห็น 8.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่กำลังวางตัวเหมาะสม คือ รอคำวินิจฉัยของศาล
ได้อย่างดี (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ พรรคการเมือง ค่าร้อยละ
1 พรรคประชาธิปัตย์ 51.1
2 พรรคไทยรักไทย 43.2
3 พรรคชาติไทย 23.9
4 พรรคมหาชน 10.3
5 พรรคอื่นๆ อาทิ พรรคประชากรไทย/พรรครักษ์แผ่นดินไทย/พรรคคนขอปลดหนี้ เป็นต้น 4.7
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อพรรคร่วมฝ่ายค้านในการลงสมัครรับเลือกตั้ง
หากมีการจัดการเลือกตั้งใหม่
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วยถ้าฝ่ายค้านจะลงสมัครรับการเลือกตั้ง เพราะ...เป็นการทำในสิ่งที่ถูกต้อง /
เป็นประชาธิปไตย /เป็นการเริ่มที่ดีในการช่วยลดปัญหาความขัดแย้งในสังคม/
ทำให้สถานการณ์การเมืองดีขึ้น 85.9
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ...ไม่อยากให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ซึ่งจะทำให้เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ 10.2
3 ไม่มีความเห็น 3.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความเป็นประชาธิปไตย ถ้าสภาผู้แทนราษฎรจะมี
ส.ส.ที่มาจาก พรรคการเมืองเดียวเกือบ 500 ที่นั่ง
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าเป็นประชาธิปไตย 32.5
2 คิดว่าไม่เป็น 60.8
3 ไม่มีความเห็น 6.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณี “พ.ต.ท.ทักษิณ ควรจะกลับมาลงสมัครเลือกตั้ง
เพื่อเสนอตัวเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง หรือควรเสนอให้คนอื่นในพรรคไทยรักไทยเข้ามาแทน”
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ควรกลับมา เพราะ ... เป็นผู้ที่มีความเหมาะสมที่สุดในขณะนี้ /เป็นสิทธิทางการเมือง 42.7
2 ควรเสนอคนอื่นในพรรคไทยรักไทยมาเป็นนายกรัฐมนตรีแทน เพราะบ้านเมืองจะได้สงบเรียบร้อย/
เป็นการรักษาคำพูด/ พรรคมีคนอื่นที่เหมาะสมเช่นกัน/ เป็นการแสดงความเสียสละไม่ยึดติดกับตำแหน่ง 44.4
3 ไม่มีความคิดเห็น 12.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำหรับรายชื่อบุคคลอื่นในพรรคไทยรักไทยที่ควรถูกเสนอชื่อให้เข้ามาแทน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรได้แก่(เป็นค่าร้อยละ
ของกลุ่มคนที่เห็นว่าควรเสนอคนอื่นในพรรคไทยรักไทย)
1) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เพราะ...มีความรู้ความสามารถด้านเศรษฐกิจ/มีความน่าเชื่อถือ/มีความโปร่งใสในการทำงาน ร้อยละ 84.8
2) คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เพราะ...มีประสบการณ์ในทางการเมือง/ มีความสามารถอยากให้ผู้หญิงเป็นนายกฯ บ้าง ร้อยละ 8.7
3) นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา เพราะ... มีความสุขุมรอบคอบ/บุคลิกน่าเชื่อถือ /มีคุณธรรม/มีความยุติธรรม/มีความรู้ด้านกฎหมาย ร้อยละ 6.5
4) นายโภคิน พลกุล เพราะ...มีความรู้เรื่องกฎหมาย/ มีความสามารถ ร้อยละ 5.4
5) คนอื่นๆ ได้แก่ นายจาตุรนต์ ฉายแสง/ นายกันตธีร์ ศุภมงคล เป็นต้น ร้อยละ 17.4
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณี “ควรจะดำเนินการอย่างไรก่อนระหว่างการ
แก้ไขรัฐธรรมนูญกับการจัดการเลือกตั้งใหม่”
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน 43.1
2 ควรจัดการเลือกตั้งใหม่ก่อน 40.1
3 ไม่มีความคิดเห็น 16.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ณ วันนี้ คงไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้ว่า การเมืองไทยได้เดินทางมาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญ โดยจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เกิดขึ้น
เมื่อ ศาลฎีกา ศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ ได้หารือร่วมกันตามกระแสพระราชดำรัส เพื่อหาทางออกให้กับปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเมืองของ
ประเทศ อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ปัญหาต่างๆ กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของทั้ง 3 ศาลนี้ เป็นที่น่าจับตามองว่า กลุ่มการเมืองที่เคยออกมา
เคลื่อนไหวนั้น จะดำเนินบทบาทของตนเองต่อไปอย่างไร และประชาชนมีความคิดเห็นอย่างไรต่อบทบาทในการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ดังกล่าว
ทั้งกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กลุ่มพรรคร่วมฝ่ายค้าน คณะกรรมการการเลือกตั้ง และแม้แต่ฝ่ายรัฐบาลเองก็ตาม และที่น่าสนใจอย่าง
ยิ่งก็คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะกลับมาลงสนามเลือกตั้งเพื่อกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีใหม่อีกครั้งหรือไม่
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงความคิดเห็น และความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองในช่วงจุดพลิกผันที่สำคัญในครั้งนี้ โดยสำนักวิจัยเอแบ
คโพลล์ได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาทของพรรคการเมืองต่างๆ ในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการกลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อประเด็นสำคัญในการนำเสนอบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรี
5. ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจจะสะท้อนความคิดเห็นทางการเมืองของประชาชนต่อสาธารณชน และเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อการกลับมาสู่สนาม
การเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ ระหว่างวันที่ 1-
2 พฤษภาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,266 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.4 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.6 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 33.1 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.6 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 19.5 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 15.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 71.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 26.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 33.2 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 25.1 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 15.4 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 11.3 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
ร้อยละ 7.6 เป็นพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.6 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 0.8 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อการ
กลับมาสู่สนามการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
จำนวนทั้งสิ้น 1,266 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ ระหว่างวันที่ 1-2 พฤษภาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ผลสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 56.6 ติดตามข่าว
การเมืองทุกวัน/เกือบทุกวัน ร้อยละ 22.3 ติดตาม 3-4 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 13.5 ติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 4.2 ติดตามน้อยกว่า 1 วัน
ต่อสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 3.4 ไม่ได้ติดตามข่าวการเมืองเลย
เมื่อสอบถามความรู้สึกของตัวอย่างต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้นั้น พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 96.5 ระบุการเมืองเป็น
เรื่องสำคัญของประเทศ ร้อยละ 89.4 ระบุเรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันถึงที่สุด ร้อยละ 73.7 ระบุวิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง ร้อยละ
73.4 ระบุเบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง และร้อยละ 44.7 ระบุรู้สึกเครียดต่อเรื่องการเมือง ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นต่อบทบาทของพรรคการเมืองภายหลังการตัดสินชี้ขาดของศาลในปัญหาทางการเมืองขณะนี้ พบ
ว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 87.3 ระบุว่า พรรคการเมืองควรยอรมรับการตัดสินชี้ขาดของศาล โดยให้เหตุผลว่า น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด /
เป็นสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ / เป็นกติกาสูงสุดที่ทุกคนควรปฏิบัติตาม / เพื่อเป็นการยุติปัญหาในเบื้องต้นก่อน เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 7.3 ระบุไม่
ควรยอมรับ และร้อยละ 5.4 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับความนิยมศรัทธาต่อพรรคการเมืองหากไม่ยอมรับดุลยพินิจของศาล พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 78.8 ความนิยมจะลด
ลง โดยให้เหตุผลว่า ไม่เคารพสถาบันที่ประชาชนให้ความศรัทธาเชื่อถือ / ไม่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม / ไม่เคารพกติกา เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ
13.1 ระบุความนิยมไม่ลดลง โดยได้ระบุเหตุผลว่า ต่างฝ่ายต่างมีเหตุผลของตนเอง / มีความศรัทธาในตัวบุคคล / เป็นสิทธิของแต่ละพรรค เป็นต้น
และร้อยละ 8.1 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ ผลการสำรวจพรรคการเมืองที่กำลังวางตัวเหมาะสม คือ รอคำวินิจฉัยของศาลได้อย่างดี พบว่า ร้อยละ 51.1 ระบุพรรคประ
ชาธิปัตย์ ร้อยละ 43.2 ระบุพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 23.9 ระบุพรรคชาติไทย ร้อยละ 10.3 ระบุพรรคมหาชน และร้อยละ 4.7 ระบุพรรคอื่นๆ
อาทิ พรรคประชากรไทย / พรรครักษ์แผ่นดินไทย / พรรคคนขอปลดหนี้ เป็นต้น
ผลการสำรวจของเอแบคโพลล์ ยังค้นพบว่า ความคิดเห็นต่อพรรคร่วมฝ่ายค้านในการลงสมัครรับเลือกตั้ง หากมีการจัดการเลือกตั้งใหม่
นั้น พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 85.9 เห็นด้วยถ้าฝ่ายค้านจะลงสมัครรับการเลือกตั้ง ในขณะที่ร้อยละ 10.2 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 3.9
ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อความเป็นประชาธิปไตย ถ้าสภาผู้แทนราษฎรจะมี ส.ส.ที่มาจากพรรคการเมืองเดียวเกือบ 500
ที่นั่ง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 60.8 มีความเห็นว่าไม่เป็นประชาธิปไตย ถ้าสภาผู้แทนราษฎรจะมี ส.ส. ที่มาจากพรรคกการเมืองเดียว
เกือบ 500 ที่นั่ง ในขณะที่ประชาชนเกือบ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 32.5 คิดว่าเป็นประชาธิปไตย และร้อยละ 6.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประชาชนจำนวนมาก หรือร้อยละ 44.4 มีความเห็นว่า ควรเสนอคนอื่นในพรรคไทยรักไทยมาเป็นนายกรัฐมนตรีแทน โดยให้เหตุผลว่า
บ้านเมืองจะได้สงบเรียบร้อย / เป็นการรักษาคำพูด / พรรคมีคนอื่นที่เหมาะสมเช่นกัน / เป็นการแสดงความเสียสละไม่ยึดติดกับตำแหน่ง เป็นต้น ใน
ขณะที่สัดส่วนใกล้เคียงกัน คือร้อยละ 42.7 มีความเห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ควรกลับมาลงสมัครเลือกตั้ง โดยให้เหตุผลว่า เป็นผู้ที่มีความเหมาะสมที่สุด
ในขณะนี้ / เป็นสิทธิทางการเมือง เป็นต้น และร้อยละ 12.9 ไม่ระบุความคิดเห็น ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงรายชื่อบุคคลอื่นในพรรค
ไทยรักไทยที่ควรถูกเสนอชื่อให้เข้ามาแทน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้แก่ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (ร้อยละ 84.8) คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (ร้อย
ละ 8.7) นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา (ร้อยละ 6.5) นายโภคิน พลกุล (ร้อยละ 5.4) และบุคคลอื่นๆ คือ นายจาตุรนต์ ฉายแสง / นายกันตธีร์ ศุภ
มงคล (ร้อยละ 17.4) นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญที่ค้นพบเพิ่มเติม คือ ควรจะดำเนินการอย่างไรก่อนระหว่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญกับการจัดการเลือก
ตั้งใหม่ พบว่า ประชาชนจำนวนมาก หรือร้อยละ 43.1 มีความเห็นว่า ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน ร้อยละ 40.1 ควรจัดการเลือกตั้งใหม่ก่อน และร้อย
ละ 16.8 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า อารมณ์ ความรู้สึกและความคิดเห็นของประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้เปลี่ยนแปลง
ไปจากผลสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 30 เมษายน ที่ผ่านมา ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ยังคงวิตกกังวลและจำนวนมากที่รู้สึกเครียดจากสถานการณ์ทางการ
เมืองในขณะนี้ ประชาชนในพื้นที่ที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่ต้องการให้ทุกฝ่ายยอมรับดุลยพินิจของศาลไม่ว่าจะมีผลออกมาอย่างไร และถ้าพรรคการเมืองใดไม่
ยอมรับก็จะส่งผลทำให้เสียความนิยมศรัทธาของประชาชนไปได้ เพราะแสดงว่าไม่เคารพสถาบันที่ประชาชนให้ความศรัทธาเชื่อถือ/ไม่คำนึงถึงประโยชน์
ส่วนรวม/ไม่เคารพกติกา
“ส่วนประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการกลับมาหรือไม่ควรกลับมาของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เพื่อแข่งขันเสนอตัวเป็นนายกรัฐมนตรีอีก หากมีการ
เลือกตั้งใหม่นั้น ผลสำรวจครั้งนี้แสดงให้เห็นสถานการณ์ว่าอยู่ในลักษณะก้ำกึ่งระหว่างกลุ่มที่เห็นว่าควรกลับมากับกลุ่มที่เห็นว่าไม่ควรกลับมาโดยให้ส่งคน
อื่นในพรรคไทยรักไทยมาแทน ผลสำรวจที่ค้นพบเช่นนี้ไม่ได้ให้ความชัดเจนในทิศทางของกระแสสังคมเท่าใดนัก จึงอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางการ
เมืองและสังคมในกลุ่มประชาชนขึ้นมาอีกได้ในทั้งสองทางเลือกไม่ว่าจะกลับมาหรือไม่กลับมาของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ อย่างไรก็ตาม ถ้า พ.ต.ท.ดร.
ทักษิณ ประกาศชี้แจงให้กับประชาชนที่นิยมศรัทธาตนเองทราบและเข้าใจถึงเจตนารมณ์ว่าเพื่อความสงบสุขของบ้านเมืองจึงขอเว้นวรรคไปก่อนและ
อาจกลับมาภายหลังที่ประเทศมีกรอบกติกาที่ทุกฝ่ายยอมรับร่วมกัน ก็น่าจะทำให้ประเทศอยู่ในความสงบและประชาชนเหล่านั้นยิ่งนิยมศรัทธาในสปิริตของ
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ มากขึ้น และอาจได้ใจจากประชาชนในกลุ่มอื่นๆ ให้กับพรรคไทยรักไทยมากขึ้นตามไปด้วย” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ในขณะนี้พรรคไทยรักไทยค่อนข้างมีความได้เปรียบอยู่ในหลายประการถึงแม้ว่าจะต้องมีการเลือกตั้งใหม่เพราะ
นโยบายที่ตรงกับความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ มีผลงานหลายอย่างที่ประชาชนพอใจ เช่น หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การแก้ปัญหายาเสพ
ติด 30 บาทรักษาทุกโรค การปราบปรามกลุ่มผู้มีอิทธิพล และการสำรวจหลายครั้งที่ผ่านมาชี้ให้เห็นชัดเจนว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการความสงบใน
สังคม ถ้าพรรคการเมืองใดแสดงท่าทีชัดเจนที่จะไม่ให้เกิดความขัดแย้งวุ่นวายย่อมจะได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชน ตรงกันข้าม ถ้าสังคมวุ่นวายและ
แตกแยก ประชาชนส่วนใหญ่ก็จะหันไปหานายกฯ คนกลาง และรัฐบาลเฉพาะกิจซึ่งพรรคการเมืองต่างๆ ก็จะสูญเสียโอกาสที่จะได้เข้ามาบริหารและ
ระบบโครงสร้างต่างๆ ของประเทศก็จะเสียหายไปเกือบทั้งหมด
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 56.6
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 22.3
4 1-2 วันต่อสัปดาห์ 13.5
5 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 4.2
6 ไม่ได้ติดตาม 3.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
ลำดับที่ ความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ใช่ ไม่ใช่ รวมทั้งสิ้น
1 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 96.5 3.5 100.0
2 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 73.7 26.3 100.0
3 เครียดต่อเรื่องการเมือง 44.7 55.3 100.0
4 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวในเรื่องการเมือง 14.2 85.8 100.0
5 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง 18.3 81.7 100.0
6 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง 18.7 81.3 100.0
7 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 73.4 26.6 100.0
8 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันถึงที่สุด 89.4 10.6 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อบทบาทของพรรคการเมืองภายหลังการตัดสินชี้
ขาดของศาลในปัญหาทางการเมืองขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 พรรการเมืองควรยอมรับการตัดสิน เพราะ ...น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด /
เป็นสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ /เป็นกติกาสูงสุดที่ทุกคนควรปฏิบัติตาม /
เพื่อเป็นการยุติปัญหาในเบื้องต้นก่อน เป็นต้น 87.3
2 ไม่ควรยอมรับ 7.3
3 ไม่มีความเห็น 5.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความนิยมศรัทธาต่อพรรคการเมืองหากไม่ยอมรับดุลยพินิจของศาล
ลำดับที่ ความนิยมศรัทธาต่อพรรคการเมืองหากไม่ยอมรับดุลยพินิจของศาล ค่าร้อยละ
1 ความนิยมลดลง เพราะ ... ไม่เคารพสถาบันที่ประชาชนให้ความศรัทธาเชื่อถือ/
ไม่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม/ไม่เคารพกติกา 78.8
2 ไม่ลดลง เพราะ ... ต่างฝ่ายต่างมีเหตุผลของตนเอง/
มีความศรัทธาในตัวบุคคล/เป็นสิทธิของแต่ละพรรค 13.1
3 ไม่มีความเห็น 8.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่กำลังวางตัวเหมาะสม คือ รอคำวินิจฉัยของศาล
ได้อย่างดี (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ พรรคการเมือง ค่าร้อยละ
1 พรรคประชาธิปัตย์ 51.1
2 พรรคไทยรักไทย 43.2
3 พรรคชาติไทย 23.9
4 พรรคมหาชน 10.3
5 พรรคอื่นๆ อาทิ พรรคประชากรไทย/พรรครักษ์แผ่นดินไทย/พรรคคนขอปลดหนี้ เป็นต้น 4.7
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อพรรคร่วมฝ่ายค้านในการลงสมัครรับเลือกตั้ง
หากมีการจัดการเลือกตั้งใหม่
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วยถ้าฝ่ายค้านจะลงสมัครรับการเลือกตั้ง เพราะ...เป็นการทำในสิ่งที่ถูกต้อง /
เป็นประชาธิปไตย /เป็นการเริ่มที่ดีในการช่วยลดปัญหาความขัดแย้งในสังคม/
ทำให้สถานการณ์การเมืองดีขึ้น 85.9
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ...ไม่อยากให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ซึ่งจะทำให้เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ 10.2
3 ไม่มีความเห็น 3.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความเป็นประชาธิปไตย ถ้าสภาผู้แทนราษฎรจะมี
ส.ส.ที่มาจาก พรรคการเมืองเดียวเกือบ 500 ที่นั่ง
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าเป็นประชาธิปไตย 32.5
2 คิดว่าไม่เป็น 60.8
3 ไม่มีความเห็น 6.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณี “พ.ต.ท.ทักษิณ ควรจะกลับมาลงสมัครเลือกตั้ง
เพื่อเสนอตัวเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง หรือควรเสนอให้คนอื่นในพรรคไทยรักไทยเข้ามาแทน”
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ควรกลับมา เพราะ ... เป็นผู้ที่มีความเหมาะสมที่สุดในขณะนี้ /เป็นสิทธิทางการเมือง 42.7
2 ควรเสนอคนอื่นในพรรคไทยรักไทยมาเป็นนายกรัฐมนตรีแทน เพราะบ้านเมืองจะได้สงบเรียบร้อย/
เป็นการรักษาคำพูด/ พรรคมีคนอื่นที่เหมาะสมเช่นกัน/ เป็นการแสดงความเสียสละไม่ยึดติดกับตำแหน่ง 44.4
3 ไม่มีความคิดเห็น 12.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำหรับรายชื่อบุคคลอื่นในพรรคไทยรักไทยที่ควรถูกเสนอชื่อให้เข้ามาแทน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรได้แก่(เป็นค่าร้อยละ
ของกลุ่มคนที่เห็นว่าควรเสนอคนอื่นในพรรคไทยรักไทย)
1) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เพราะ...มีความรู้ความสามารถด้านเศรษฐกิจ/มีความน่าเชื่อถือ/มีความโปร่งใสในการทำงาน ร้อยละ 84.8
2) คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เพราะ...มีประสบการณ์ในทางการเมือง/ มีความสามารถอยากให้ผู้หญิงเป็นนายกฯ บ้าง ร้อยละ 8.7
3) นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา เพราะ... มีความสุขุมรอบคอบ/บุคลิกน่าเชื่อถือ /มีคุณธรรม/มีความยุติธรรม/มีความรู้ด้านกฎหมาย ร้อยละ 6.5
4) นายโภคิน พลกุล เพราะ...มีความรู้เรื่องกฎหมาย/ มีความสามารถ ร้อยละ 5.4
5) คนอื่นๆ ได้แก่ นายจาตุรนต์ ฉายแสง/ นายกันตธีร์ ศุภมงคล เป็นต้น ร้อยละ 17.4
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณี “ควรจะดำเนินการอย่างไรก่อนระหว่างการ
แก้ไขรัฐธรรมนูญกับการจัดการเลือกตั้งใหม่”
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน 43.1
2 ควรจัดการเลือกตั้งใหม่ก่อน 40.1
3 ไม่มีความคิดเห็น 16.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-