ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” ที่เป็นการ สำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อทำ การสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไว จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจ เรื่อง ท่าทีรัฐบาล ไทยและนายกรัฐมนตรีต่อกรณีความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชา กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 17 จังหวัดของประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปทุมธานี เพชรบุรี ขอนแก่น ศรีสะเกษ สกลนคร หนองบัวลำภู พัทลุง ระนอง และสุราษฏ์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,344 ครัวเรือน ดำเนินการสำรวจในวันที่ 13 — 14 พฤศจิกายน ผลการ สำรวจพบว่า ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนเป็นประจำทุกสัปดาห์
เมื่อถามว่า นักการเมืองนึกถึงอะไรมากกว่ากัน ระหว่างผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง กับผลประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนทั้ง ประเทศ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.2 คิดว่า นักการเมืองนึกถึงผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องมากกว่า ในขณะที่ร้อยละ 24.8 คิดว่า นึก ถึงประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนทั้งประเทศมากกว่า นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.5 คิดว่า ความขัดแย้งระหว่าง รัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาขณะนี้ เป็นไปตามแผนที่ฝ่ายการเมืองวางไว้ล่วงหน้า ในขณะที่ร้อยละ 42.5 คิดว่าเกิดขึ้นเองตามสถานการณ์
ที่น่าสนใจคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.9 คิดว่า ท่าทีของรัฐบาลไทยที่ควรแสดงออกคือ ใช้ความนิ่งสงบ แต่มุ่งทำงานเพื่อแก้ไข ปัญหาเดือดร้อนของประชาชนต่อไป ในขณะที่ร้อยละ 41.1 คิดว่าควรตอบโต้ด้วยวิธีการรุนแรงตามสถานการณ์ โดยร้อยละ 51.9 เห็นว่า นายก รัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะมีท่าทีที่เหมาะสมแล้วต่อรัฐบาลกัมพูชา ในขณะที่ร้อยละ 24.8 คิดว่า อ่อนเกินไป และร้อยละ 23.4 คิดว่าแข็งกร้าว เกินไป
และเมื่อขอให้ประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามประเมินให้คะแนนตัวเองในการแสดงออกเพื่อแก้ไขปัญหาการเมือง พบว่า ในเรื่องความ สามารถออกมาต่อต้านฝ่ายการเมืองที่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวในที่สาธารณ ประชาชนให้คะแนนตัวเอง 6.70 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน และเรื่องความพร้อมออกมาแสดงพลังรวมตัวกันกับคนอื่นๆ ในที่แจ้ง ต่อต้านความชั่วร้าย ไม่ถูกต้องในสังคมไทย ให้คะแนนตัวเอง 6.89 คะแนน
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ประชาชนผู้ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.5 มองว่า กลุ่มเกษตรกร ผู้ใช้แรงงานทั่วไป เป็นกลุ่มคนที่มีความ สามัคคี รักประเทศชาติอย่างแท้จริง รองลงมาคือ ร้อยละ 58.6 ระบุเป็นกลุ่มเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ร้อยละ 51.9 ระบุเป็นกลุ่มผู้เกษียณอายุ ที่น่าเป็นห่วงคือ แค่ครึ่งหนึ่งเท่านั้นหรือร้อยละ 50.2 ที่มองว่า กลุ่มข้าราชการเป็นกลุ่มที่มีความสามัคคี รักประเทศชาติอย่างแท้จริง และร้อยละ 48.4 ระบุเป็นกลุ่มพนักงานบริษัทเอกชน ส่วนสามกลุ่มสุดท้ายที่ประชาชนมองว่าสามัคคี รักประเทศชาติอย่างแท้จริง ได้แก่ ร้อยละ 44.4 ระบุเป็นพ่อ ค้า นักธุรกิจ ร้อยละ 38.3 กลุ่มนักการเมืองคนสำคัญ และร้อยละ 35.4 กลุ่มนักการเมืองแกนนำกลุ่มผู้ชุมนุม
ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.6 อยากเห็นการนำภาพ “ไทยสามัคคี ไทยเข้มแข็ง” ร่วมร้องเพลงชาติของแต่ละ จังหวัดในช่วงเวลาตอนเย็น 18.00 น.ของแต่ละวัน มาออกอากาศอีกครั้งในช่วงเวลา 08.00 น.ของวันรุ่งขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 21.4 ไม่อยากเห็น
ผ.อ.เอแบคโพลล์ กล่าวสรุปว่า เป็นที่ชัดเจนและสอดคล้องกับผลวิจัยหลายครั้งที่ผ่านมาแล้วว่า ทัศนคติของประชานส่วนใหญ่ที่เคยอยู่ตรง กลางกำลังหันมาแสดงจุดยืนที่จะเลือกข้างอยู่กับฝ่ายที่ต่อต้านกลุ่มการเมืองที่ทำเพื่อคนใดคนหนึ่ง และทำให้ประเทศชาติเกิดความวุ่นวาย ประชาชนส่วน ใหญ่กำลังให้การสนับสนุนท่าทีใดๆ ของฝ่ายที่ทำให้บ้านเมืองอยู่ในความสงบเรียบร้อย และต้องแสดงผลงานมุ่งมั่นแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชนที่รวด เร็วฉับไว และขับเคลื่อนให้สาธารณชนสามัคคีและรักประเทศชาติมากขึ้นเรื่อยๆ จึงมีบทสรุปที่ให้สังคมไทยช่วยพิจารณาอย่างน้อยสี่ประการคือ
ประการแรก รัฐบาลเป็นรัฐบาลของผู้เจริญแล้ว และคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศก็รวมตัวกันสนับสนุนความถูกต้องแสดงออกว่า คนไทย เป็นผู้ที่ได้รับการศึกษา ใช้เหตุใช้ผล ในการตอบโต้ตามความเป็นจริงที่ปรากฏตามสถานการณ์ เพราะสังคมโลกปัจจุบันมีสายตาของนานาประเทศช่วย กันจับจ้องมองอยู่ ไม่มีใครใหญ่ที่สุดและจะใช้อำนาจกับอารมณ์ได้ตามอำเภอใจ
ประการที่สอง รัฐบาลน่าจะมุ่งมั่นเร่งแก้ไขปัญหาเดือดร้อนโดยเริ่มเปลี่ยนแปลงที่รัฐบาลให้เป็น “รัฐบาลสามัญชน” ที่เน้นการกระจาย ทรัพยากรไปยังกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐส่วนหน้า (front-line officers) หน่วยงานต่างๆ ของรัฐที่ต้องทำงานสัมผัสกับประชาชนทั้งประเทศในชีวิต ประจำวัน แทนการรวมศูนย์การบริหารจัดการทรัพยากรที่ส่วนกลาง และมีการติดตามประเมินผลงานอย่างเข้มข้นในระดับท้องถิ่นจากประชาชนในพื้นที่
ประการที่สาม รัฐบาลต้องทำให้การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ผลงานของรัฐบาลที่ “หน้าจอ” กับ “หน้าบ้าน ในบ้าน” ของประชาชนเป็นอัน เดียวกัน เพราะโครงการตามนโยบายของรัฐบาลหลายโครงการดูดีที่หน้าจอ แต่ไปไม่ถึงมือชาวบ้านทั้งหน้าบ้านและในบ้านของประชาชนระดับชุมชน เช่น การแก้ปัญหายาเสพติดที่มีผลงานปราบปรามมากมายที่ “หน้าจอ” แต่ “หน้าบ้าน” ของประชาชนในชุมชนยังมีปัญหายาเสพติดที่รุนแรง และ โครงการถนนไร้ฝุ่นที่หน้าจอ กับถนนหน้าบ้านของประชาชน เป็นต้น
ประการที่สี่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจพิจารณาความเห็นของประชาชนที่ค้นพบเกี่ยวกับ โครงการไทยสามัคคี ไทยเข้มแข็งที่ร่วมร้องเพลง ชาติของแต่ละจังหวัดไป “รีรัน” ในช่วงเช้าของวันรุ่งขึ้นช่วงเวลาเคารพธงชาติ 8.00 น. ของแต่ละวัน
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.6 เป็นหญิง
ร้อยละ 46.4 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.5 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.5 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 20.4 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 24.9 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 26.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 78.1 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 20.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.8 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 29.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 13.2 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 8.8 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.0 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 8.9 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ในขณะที่ร้อยละ 2.5 ระบุว่างงาน
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชน ค่าร้อยละ 1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 46.7 2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 23.8 3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 15.8 4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 8.4 5 ไม่ได้ติดตามเลย 5.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามว่า นักการเมืองนึกถึงอะไรมากกว่ากัน ระหว่าง ผลประโยชน์
ของตนเองและพวกพ้อง กับ ผลประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนทั้งประเทศ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 คิดว่าจะนึกถึงผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องมากกว่า 75.2 2 จะนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนทั้งประเทศมากกว่า 24.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลชุดปัจจุบันของประเทศไทย กับ กัมพูชาขณะนี้
ว่าเป็นไปตามแผนที่ฝ่ายการเมืองวางเอาไว้ล่วงหน้าหรือเกิดขึ้นตามสถานการณ์
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 เป็นแผนที่ฝ่ายการเมืองวางไว้ล่วงหน้า 57.5 2 เกิดขึ้นเองตามสถานการณ์ 42.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อท่าทีที่รัฐบาลไทยควรแสดงออกกรณีปัญหาความขัดแย้งกับประเทศกัมพูชา ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 ใช้ความนิ่งสงบ แต่มุ่งทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนต่อไป 58.9 2 ควรตอบโต้ด้วยวิธีการรุนแรงตามสถานการณ์ 41.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อท่าทีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีที่มีต่อรัฐบาลกัมพูชา ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อท่าทีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีที่มีต่อรัฐบาลกัมพูชา ค่าร้อยละ 1 นายกรัฐมนตรีมีท่าทีที่เหมาะสมแล้ว 51.9 2 อ่อนเกินไป 24.8 3 แข็งกร้าวเกินไป 23.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงการประเมินการให้คะแนนแก่ตนเองของประชาชน ในการแสดงออกเพื่อแก้ไขปัญหาการเมือง (คะแนนเต็ม 10 คะแนน) ลำดับที่ การประเมินตนเองของประชาชน คะแนนเฉลี่ยเต็ม 10 คะแนน 1 ความสามารถออกมาต่อต้านฝ่ายการเมืองที่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวในที่สาธารณะ 6.70 2 ความพร้อมออกมาแสดงพลังรวมตัวกันกับคนอื่นๆ ในที่แจ้ง ในการต่อต้านความชั่วร้าย ไม่ถูกต้องในสังคมไทย 6.89 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ กลุ่มคนที่เห็นว่ามีความสามัคคี รักประเทศชาติอย่างแท้จริง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ กลุ่มคนที่เห็นว่ามีความสามัคคี รักประเทศชาติอย่างแท้จริง ค่าร้อยละ 1 กลุ่มเกษตรกร ผู้ใช้แรงงานทั่วไป 69.5 2 กลุ่มเยาวชน นักเรียน นักศึกษา 58.6 3 กลุ่มผู้เกษียณอายุ 51.9 4 กลุ่มข้าราชการ 50.2 5 กลุ่มพนักงานบริษัทเอกชน 48.4 6 กลุ่มพ่อค้า นักธุรกิจ 44.4 7 กลุ่มนักการเมืองคนสำคัญ 38.3 8 นักการเมืองแกนนำกลุ่มผู้ชุมนุม 35.4 ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อ แนวคิด นำภาพ “ไทยสามัคคี ไทยเข้มแข็ง” ร่วมร้องเพลงชาติ
ของแต่ละจังหวัด ในช่วงเวลา 18.00 น. ของแต่ละวัน ออกอากาศอีกครั้งในช่วงเวลา 08.00 น. ของวันรุ่งขึ้น
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 อยากเห็นนำมาออกอากาศซ้ำในวันรุ่งขึ้น 78.6 2 ไม่อยากเห็น 21.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 --เอแบคโพลล์-- -พห-