ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยว่า สำนักวิจัยฯ ร่วมกับโรงพยาบาลศิริราชนำยาสามัญประจำบ้านแจก
จ่ายให้กับครัวเรือนที่ประสบภัยน้ำท่วมและทำสำรวจเรื่อง “รายงานดัชนีความทุกข์ของประชาชนเมื่อประสบภัยน้ำท่วม กรณีศึกษาครัวเรือนที่ประสบภัยน้ำ
ท่วมในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทนที่ประสบปัญหาน้ำท่วมใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,017 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 16-21 ตุลาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้น
พบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
คณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการเกิดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ที่พักอาศัยในช่วงที่ผ่านมาพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 39.3 ระบุน้ำท่วมทุกปี ร้อย
ละ 19.8 ระบุน้ำท่วมเกือบทุกปี ร้อยละ 36.4 ระบุน้ำท่วมเป็นบางปี และร้อยละ 4.5 ระบุไม่เคยเกิดปัญหาน้ำท่วมมาก่อนเพิ่งจะมาท่วมปีนี้ ทั้งนี้
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบผู้ที่มีบ้านพักอาศัยอยู่ในซอยกับผู้ที่พักอยู่ใกล้ถนนใหญ่ พบว่า ผู้ที่พักอาศัยอยู่ในซอยจะประสบปัญหาน้ำท่วมมากกว่า โดยร้อยละ
41.2 ระบุประสบปัญหาน้ำท่วมทุกปี
สำหรับปัญหาที่เกิดจากภัยน้ำท่วมในครั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษา ปัญหาต่างๆ ออกเป็น 4 ด้านได้แก่ ปัญหาด้านที่พักอาศัย ปัญหาด้าน
สภาพแวดล้อม ปัญหาสุขภาพและความปลอดภัย ปัญหาปากท้องและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งผลสำรวจพบว่า ประชาชนที่พักอาศัยทั้งในซอยและใกล้ถนน
ใหญ่ ประสบปัญหาความเดือดร้อนในลักษณะเดียวกัน ทั้งนี้ปัญหาที่สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนมากที่สุดได้แก่ ปัญหาด้านสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะ
อย่างยื่งปัญหา น้ำท่วมขัง/น้ำเน่าเสีย ถนนหนทางได้รับความเสียหาย เดินทางสัญจรไปมาลำบาก และปัญหาขยะมูลฝอย เป็นต้น นอกจากปัญหา
สภาพแวดล้อมแล้วประชาชนยังได้รับความเดือดร้อนในเรื่องปัญหาปากท้องและชีวิตความเป็นอยู่ โดยผลสำรวจพบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80
ระบุของกินของใช้มีราคาสูงขึ้น และกว่าร้อยละ 70 ระบุสภาพชีวิตความเป็นอยู่โดยรวมแย่ลง และเป็นที่น่าสังเกตว่า มีตัวอย่างประมาณ 1 ใน 3
ต้องกู้หนี้ยืมสินมาเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม
นอกจากนี้ เมือสอบถามตัวอย่างถึงการได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล หน่วยงานราชการ หรือองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยภาพรวมนั้น
พบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 65.4 ระบุความช่วยเหลือไม่ทั่วถึงและไม่เท่าเทียม ร้อยละ 19.6 ระบุทั่วถึงแต่ไม่เท่าเทียม อย่างไรก็
ตามตัวอย่างร้อยละ 15.0 ระบุทั่วถึงและเท่าเทียม
สำหรับผลกระทบทางด้านอารมณ์และความรู้สึกของประชาชนที่เกิดขึ้นจากการประสบปัญหาน้ำท่วมในครั้งนี้พบว่า ตัวอย่างกว่าร้อยละ 50
รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า ถูกทอดทิ้งจากหน่วยงานของรัฐ นอกจากนี้ยังรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า ถูกทอดทิ้งจากญาติพี่น้อง คนรู้จัก และเกินกว่า 1 ใน 3
รู้สึกว่าตนเองถูกทอดทิ้งจากแกนนำชุมชน ทั้งนี้เมื่อสอบถามถึงสภาพจิตใจโดยรวมของตัวอย่างพบว่า เกินกว่า 2 ใน 3 ระบุสภาพจิตใจโดยรวมแย่
ลง โดยมีตัวอย่างเพียงไม่ถึง 1 ใน 5 เท่านั้นที่ระบุว่าตนเองมีความมั่นใจที่จะสามารถเผชิญกับเหตุการณ์ร้ายแรงในชีวิตต่อไปได้
สำหรับความช่วยเหลือที่ผู้ประสบภัยกำลังต้องการนั้นได้แก่ ความช่วยเหลือเกี่ยวกับปัญหาการเจ็บไข้ได้ป่วย โดยผลสำรวจพบว่า ตัวอย่าง
เกินกว่าครึ่งหนึ่งมีความรู้สึกว่าจำเป็นต้องไปพบแพทย์ พยาบาล และต้องการยาสามัญประจำบ้าน นอกจากนี้ยังพบว่าประชาชนต้องการความช่วยเหลือ
ในด้านที่พักอาศัย อาหาร เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม และความช่วยเหลือในเรื่องการประกอบอาชีพตามลำดับ
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างถึงลักษณะของปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในปีนี้นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 52.9 ระบุเป็นเรื่องของภัย
ธรรมชาติ ไม่อยู่ในวิสัยที่จะแก้ไขได้ ในขณะที่ร้อยละ 47.1 ระบุเป็นเรื่องที่แก้ไขได้ถ้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการป้องกันที่ดี และเมื่อคณะผู้วิจัยได้
สอบถามตัวอย่างถึงระดับความพร้อมในการรับมือกับปัญหาน้ำท่วมขององค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 14.1 ระบุมีความพร้อม ร้อย
ละ 28.6 ระบุค่อนข้างพร้อม ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 32.2 ระบุไม่ค่อยพร้อม และร้อยละ 15.4 ระบุไม่พร้อมเลย
นอกจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงวิธีการคลายเครียดที่เกิดขึ้นจากการประสบปัญหาน้ำท่วมนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ
35.4 ระบุพยายามทำใจให้สบายไม่คิดมาก/มองโลกในแง่ดี คิดถึงผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วมที่หนักกว่า ร้อยละ 31.6 ระบุดูหนัง ฟังเพลง ร้องเพลง เล่น
ดนตรี ร้อยละ 10.4 ระบุพูดคุยกับเพื่อนบ้าน ร้อยละ 8.0 ระบุเล่นน้ำ/ว่ายน้ำ /พายเรือเล่น และร้อยละ 8.0 เช่นเดียวกันที่ระบุว่าคลายเครียด
โดยการหาปลา /ตกปลา ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า จากการลงพื้นที่สำรวจผลกระทบที่ประชาชนได้รับจากภัยน้ำท่วมครั้งนี้ พบว่า ประชาชนยังคงอยู่ในสภาพที่น่าเป็นห่วง
ในหลายพื้นที่โดยเฉพาะกลุ่มประชาชนที่อยู่ในซอยหรือห่างไกลจากถนนใหญ่และพื้นที่ที่เข้าถึงยาก เพราะผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่ที่อยู่ห่าง
ไกลจากการเข้าถึงของหน่วยงานราชการและกลุ่มองค์กรต่างๆ ประสบความเดือดร้อนอย่างมากและรู้สึกว่าการช่วยเหลือต่างๆ ไม่ทั่วถึงและไม่เท่า
เทียม
“ที่น่าเป็นห่วงคือ ทั้งสภาพที่อยู่อาศัย วิถีชีวิต และสภาพจิตใจของประชาชนส่วนใหญ่บอกกับคณะผู้วิจัยว่าอยู่ในสภาวะที่แย่ลง มีปัญหาสารพัด
เช่น น้ำท่วมขังเน่าเหม็น ถนนหนทางชำรุดเสียหาย เดินทางสัญจรไปมาไม่สะดวก บ้านเรือนได้รับความเสียหาย ผู้คนในบ้านเจ็บป่วย มีความเครียด
รู้สึกตนเองไร้ค่าถูกทอดทิ้งจากรัฐ และมีความจำเป็นต้องพบแพทย์พยาบาล” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า พื้นที่ที่ถูกศึกษาเป็นพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียงยังพบปัญหามากขนาดนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ความรู้สึกที่ว่าความช่วยเหลือไม่ทั่วถึงและไม่เท่าเทียมกำลังสร้างบรรยากาศที่ไม่ดีเกิดขึ้นในสังคมไทย จำเป็นต้องแก้ไขบูรณะฟื้นฟูให้เห็นอย่างเป็น
รูปธรรมในขณะที่น้ำยังท่วมอยู่ตอนนี้และทันทีหลังจากน้ำลด อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ค้นพบและเป็นภาพที่ดีในขณะนี้คือ คนกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง
ที่มักถูกมองว่าต่างคนต่างอยู่เพราะมุ่งแข่งขันกันทางวัตถุ แต่ผลสำรวจครั้งนี้พบว่าคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลส่วนใหญ่ช่วยเหลือกันและกันมากขึ้น
รัฐบาลจึงควรมีมาตรการสนับสนุนบรรยากาศของประชาชนในชุมชนให้เข้มแข็งและสานต่อความช่วยเหลือความเอื้ออาทรต่อกันอย่างยั่งยืนต่อไป
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความรู้สึกที่มีต่อปัญหาน้ำท่วมในปัจจุบันในประเด็นต่างๆ
2. เพื่อสำรวจผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนที่เกิดจากปัญหาน้ำท่วมในด้านต่างๆ
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับความพร้อมและความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนอันเกิดจากปัญหาน้ำท่วม
4. เพื่อนำข้อมูลและข้อเสนอแนะที่ได้เป็นแนวทางในการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนอันเกิดจากปัญหาน้ำท่วม
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “รายงานดัชนีความทุกข์ของประชาชนเมื่อประสบภัยน้ำ
ท่วม กรณีศึกษาครัวเรือนที่ประสบภัยน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 16-21 ตุลาคม
2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้ประสบปัญหาน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,017 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ และตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณ
เป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 65.8 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 34.2 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 10.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 18.9 อายุระหว่าง 21—30 ปี
ร้อยละ 23.4 อายุระหว่าง 31—40 ปี
ร้อยละ 21.4อายุระหว่าง 41—50 ปี
และร้อยละ 26.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 87.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 11.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ด้านสถานภาพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 61.0 ระบุสถานภาพสมรส
ร้อยละ 29.1 ระบุสถานภาพโสด
และร้อยละ 9.9 ระบุสถานภาพม่าย/หย่าร้าง
ตัวอย่าง ร้อยละ 24.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 17.7 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 13.5 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 19.8 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 10.5 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 2.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 2.1 ระบุอาชีพเกษตรกร
และร้อยละ 10.1 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเกิดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ที่อยู่อาศัยในช่วงที่ผ่านมา
ลำดับที่ การเกิดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ที่อยู่อาศัยในช่วงที่ผ่านมา ใกล้ถนนใหญ่ ในซอย ค่าร้อยละ
1 น้ำท่วมทุกปี 37.1 41.2 39.3
2 น้ำท่วมเกือบทุกปี 22.9 17.5 19.8
3 น้ำท่วมเป็นบางปี 34.9 36.9 36.4
4 น้ำไม่เคยท่วม เพิ่งจะท่วมปีนี้ 5.1 4.4 4.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัญหาต่างๆ เมื่อประสบภัยน้ำท่วม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ปัญหาที่พักอาศัย บ้านอยู่ใกล้ถนนใหญ่ บ้านอยู่ในซอย ส่วนต่าง
1. บ้าน/ที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหาย 57.9 56.3 1.6
2. ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย 45.0 47.5 -2.5
3. ต้องย้ายที่อยู่อาศัยเพื่อหนีน้ำท่วม 21.8 22.1 -0.3
ปัญหาสภาพแวดล้อม บ้านอยู่ใกล้ถนนใหญ่ บ้านอยู่ในซอย ส่วนต่าง
4. น้ำท่วมขัง/น้ำเน่าเสีย 89.6 88.3 1.3
5. ถนนหนทางได้รับความเสียหาย ไปไหนมาไหนลำบาก 79.5 88.0 -8.5
6. การคมนาคมไม่สะดวก การจราจรติดขัด 72.8 79.9 -7.1
7. ขยะมูลฝอยลอยไปมาทั่วบริเวณที่อยู่อาศัย 78.4 78.4 0
8. สาธารณูปโภคขาดแคลน เช่น ไฟฟ้า น้ำกิน/น้ำใช้ 32.6 32.8 -0.2
ปัญหาสุขภาพและความปลอดภัย บ้านอยู่ใกล้ถนนใหญ่ บ้านอยู่ในซอย ส่วนต่าง
9. สัตว์มีพิษและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคเข้ามาในบ้าน/ที่อยู่อาศัย 68.6 69.2 -0.6
10. ตนเองหรือคนในบ้านเจ็บป่วยจากโรคต่างๆ เช่น น้ำกัดเท้าท้องร่วง ตาแดง 63.3 64.9 -1.6
11. สุขอนามัยไม่ดี เช่น สุขา อาหารการกินสกปรก 45.8 49.0 -3.2
12. มีอาชญากรรมเพิ่มมากขึ้น โจรขโมยชุกชุม 29.8 25.8 4
13. สัตว์เลี้ยงได้รับบาดเจ็บ เจ็บป่วย ล้มตาย หรือสูญหาย 26.6 33.2 -6.6
14. ไฟฟ้าดูด/ไฟฟ้าช๊อต 21.6 16.6 5
ปัญหาปากท้องและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ บ้านอยู่ใกล้ถนนใหญ่ บ้านอยู่ในซอย ส่วนต่าง
15. ของกินของใช้มีราคาสูงขึ้น 80.0 82.8 -2.8
16. เสียเวลา/เสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม ดูแลที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น 68.4 67.1 1.3
17. รายได้ลดลง 66.8 70.4 -3.6
18. สภาพความเป็นอยู่โดยรวมแย่ลง 71.4 74.6 -3.2
19. ปัญหาในการทำงาน เช่น ต้องหยุดงาน ไปทำงานสาย 56.1 51.5 4.6
20. ไม่สามารถทำมาหากิน (เช่น ค้าขาย อาชีพอิสระ) ได้ตามปกติ 50.9 54.4 -3.5
21. ปัญหาในการเรียน เช่น ต้องหยุดเรียน ไปเรียนสาย 43.2 42.4 0.8
22. พืชผลที่ปลูกไว้ได้รับความเสียหาย 42.8 56.3 -13.5
23. ที่ดิน/ที่ทำกินได้รับความเสียหาย 37.2 45.0 -7.8
24. กู้หนี้ยืมสินมาเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม 34.0 36.5 -2.5
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล หน่วยงานราชการหรือองค์กรต่างๆ ที่
เกี่ยวข้องในแง่ของความทั่วถึงและความเท่าเทียมกัน
ลำดับที่ การได้รับความช่วยเหลือในแง่ของความทั่วถึงและความเท่าเทียมกัน บ้านอยู่ใกล้ถนนใหญ่ บ้านอยู่ในซอย ค่าร้อยละ
1 ไม่ทั่วถึงและไม่เท่าเทียม 62.0 67.4 65.4
2 ทั่วถึงแต่ไม่เท่าเทียม 23.1 17.7 19.6
3 ทั่วถึงและเท่าเทียม 14.9 14.9 15.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความรู้สึกที่มีต่อปัญหาน้ำท่วมในปัจจุบันในประเด็นต่างๆ
ความรู้สึกที่มีต่อปัญหาน้ำท่วมในปัจจุบัน พื้นที่
คนกรุงเทพฯ จังหวัดปริมณฑล
1. มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้าน 88.6 89.4
2. มีความต้องการเรื่องยาสามัญประจำบ้าน 53.1 58.9
3. มีความต้องการความช่วยเหลือเรื่องอาหาร 43.1 37.5
4. มีความต้องการเรื่องการประกอบอาชีพ 44.8 30.0
5. รู้สึกปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย 34.3 25.5
6. มั่นใจที่จะสามารถเผชิญกับเหตุการณ์ร้ายแรงในชีวิต 13.6 16.1
7. รู้สึกว่าจำเป็นต้องไปพบแพทย์ พยาบาล 59.7 61.0
8. มีความต้องการความช่วยเหลือเรื่องที่พักอาศัย 46.9 63.0
9. มีความต้องการเรื่องเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม 35.9 41.0
10. รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า ถูกทอดทิ้งจากหน่วยงานของรัฐ 52.4 49.8
12. รู้สึกว่าตนเองถูกทอดทิ้งจากแกนนำชุมชน 35.2 41.6
13. รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า ถูกทอดทิ้งจากญาติพี่น้อง คนรู้จัก 44.6 40.8
14. สภาพจิตใจโดยรวมแย่ลง 63.4 71.4
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุลักษณะของปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในปีนี้
ลำดับที่ ลักษณะของปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในปีนี้ ค่าร้อยละ
1 เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ ถ้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการป้องกันที่ดี 47.1
2 เป็นเรื่องของภัยธรรมชาติ ไม่อยู่ในวิสัยที่จะแก้ไขได้ 52.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความพร้อมในการรับมือกับปัญหาน้ำท่วมในครั้งนี้ของรัฐบาล หน่วยงาน
ราชการหรือองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ลำดับที่ ระดับความพร้อมในการรับมือกับปัญหาน้ำท่วม ค่าร้อยละ
1 พร้อม 14.1
2 ค่อนข้างพร้อม 28.6
3 ไม่ค่อยพร้อม 32.2
4 ไม่พร้อมเลย 15.4
5 ไม่มีความเห็น 9.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีคลายเครียดจากปัญหาน้ำท่วม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ วิธีคลายเครียดจากปัญหาน้ำท่วม ค่าร้อยละ
1 ทำใจให้สบาย ไม่คิดมาก / มองโลกในแง่ดี คิดถึงผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วมที่หนักกว่า 35.4
2 ดูหนังฟังเพลง / ร้องเพลง / เล่นดนตรี 31.6
3 พูดคุยกับเพื่อนบ้าน 10.4
4 เล่นน้ำท่วม / ว่ายน้ำ / พายเรือเล่น 8.0
5 หาปลา / ตกปลา 8.0
6 ไม่ได้ทำอะไร ทำตัวตามปกติ 7.2
7 ไปเที่ยว / ไปทานอาหารนอกบ้าน / ไปบ้านเพื่อน 4.9
8 นอน 4.1
9 สวดมนต์ ภาวนา ละหมาด นั่งสมาธิ 3.9
10 อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ 3.8
11 ออกกำลังกายอยู่ในบ้าน 2.4
12 เล่นเกมส์ 2.2
13 ทำอะไรเรื่อยเปื่อย 1.9
14 หัวเราะ / ทำตัวให้ร่าเริง 1.6
15 อื่นๆ เช่น ทำงาน ช่วยเหลือคนอื่น ทำบุญ เก็บขยะที่ลอยไปมา เลื้ยงลูก
เลี้ยงหลาน ดูแลซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ทรัพย์สินที่เสียหาย ดื่มเหล้า เดินไปเดินมา
กินยาแก้ปวดหัว รับประทานอาหาร ทำงานฝีมือ ปักผ้า เป็นต้น 6.2
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
จ่ายให้กับครัวเรือนที่ประสบภัยน้ำท่วมและทำสำรวจเรื่อง “รายงานดัชนีความทุกข์ของประชาชนเมื่อประสบภัยน้ำท่วม กรณีศึกษาครัวเรือนที่ประสบภัยน้ำ
ท่วมในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทนที่ประสบปัญหาน้ำท่วมใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,017 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 16-21 ตุลาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้น
พบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
คณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการเกิดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ที่พักอาศัยในช่วงที่ผ่านมาพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 39.3 ระบุน้ำท่วมทุกปี ร้อย
ละ 19.8 ระบุน้ำท่วมเกือบทุกปี ร้อยละ 36.4 ระบุน้ำท่วมเป็นบางปี และร้อยละ 4.5 ระบุไม่เคยเกิดปัญหาน้ำท่วมมาก่อนเพิ่งจะมาท่วมปีนี้ ทั้งนี้
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบผู้ที่มีบ้านพักอาศัยอยู่ในซอยกับผู้ที่พักอยู่ใกล้ถนนใหญ่ พบว่า ผู้ที่พักอาศัยอยู่ในซอยจะประสบปัญหาน้ำท่วมมากกว่า โดยร้อยละ
41.2 ระบุประสบปัญหาน้ำท่วมทุกปี
สำหรับปัญหาที่เกิดจากภัยน้ำท่วมในครั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษา ปัญหาต่างๆ ออกเป็น 4 ด้านได้แก่ ปัญหาด้านที่พักอาศัย ปัญหาด้าน
สภาพแวดล้อม ปัญหาสุขภาพและความปลอดภัย ปัญหาปากท้องและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งผลสำรวจพบว่า ประชาชนที่พักอาศัยทั้งในซอยและใกล้ถนน
ใหญ่ ประสบปัญหาความเดือดร้อนในลักษณะเดียวกัน ทั้งนี้ปัญหาที่สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนมากที่สุดได้แก่ ปัญหาด้านสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะ
อย่างยื่งปัญหา น้ำท่วมขัง/น้ำเน่าเสีย ถนนหนทางได้รับความเสียหาย เดินทางสัญจรไปมาลำบาก และปัญหาขยะมูลฝอย เป็นต้น นอกจากปัญหา
สภาพแวดล้อมแล้วประชาชนยังได้รับความเดือดร้อนในเรื่องปัญหาปากท้องและชีวิตความเป็นอยู่ โดยผลสำรวจพบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80
ระบุของกินของใช้มีราคาสูงขึ้น และกว่าร้อยละ 70 ระบุสภาพชีวิตความเป็นอยู่โดยรวมแย่ลง และเป็นที่น่าสังเกตว่า มีตัวอย่างประมาณ 1 ใน 3
ต้องกู้หนี้ยืมสินมาเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม
นอกจากนี้ เมือสอบถามตัวอย่างถึงการได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล หน่วยงานราชการ หรือองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยภาพรวมนั้น
พบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 65.4 ระบุความช่วยเหลือไม่ทั่วถึงและไม่เท่าเทียม ร้อยละ 19.6 ระบุทั่วถึงแต่ไม่เท่าเทียม อย่างไรก็
ตามตัวอย่างร้อยละ 15.0 ระบุทั่วถึงและเท่าเทียม
สำหรับผลกระทบทางด้านอารมณ์และความรู้สึกของประชาชนที่เกิดขึ้นจากการประสบปัญหาน้ำท่วมในครั้งนี้พบว่า ตัวอย่างกว่าร้อยละ 50
รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า ถูกทอดทิ้งจากหน่วยงานของรัฐ นอกจากนี้ยังรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า ถูกทอดทิ้งจากญาติพี่น้อง คนรู้จัก และเกินกว่า 1 ใน 3
รู้สึกว่าตนเองถูกทอดทิ้งจากแกนนำชุมชน ทั้งนี้เมื่อสอบถามถึงสภาพจิตใจโดยรวมของตัวอย่างพบว่า เกินกว่า 2 ใน 3 ระบุสภาพจิตใจโดยรวมแย่
ลง โดยมีตัวอย่างเพียงไม่ถึง 1 ใน 5 เท่านั้นที่ระบุว่าตนเองมีความมั่นใจที่จะสามารถเผชิญกับเหตุการณ์ร้ายแรงในชีวิตต่อไปได้
สำหรับความช่วยเหลือที่ผู้ประสบภัยกำลังต้องการนั้นได้แก่ ความช่วยเหลือเกี่ยวกับปัญหาการเจ็บไข้ได้ป่วย โดยผลสำรวจพบว่า ตัวอย่าง
เกินกว่าครึ่งหนึ่งมีความรู้สึกว่าจำเป็นต้องไปพบแพทย์ พยาบาล และต้องการยาสามัญประจำบ้าน นอกจากนี้ยังพบว่าประชาชนต้องการความช่วยเหลือ
ในด้านที่พักอาศัย อาหาร เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม และความช่วยเหลือในเรื่องการประกอบอาชีพตามลำดับ
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างถึงลักษณะของปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในปีนี้นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 52.9 ระบุเป็นเรื่องของภัย
ธรรมชาติ ไม่อยู่ในวิสัยที่จะแก้ไขได้ ในขณะที่ร้อยละ 47.1 ระบุเป็นเรื่องที่แก้ไขได้ถ้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการป้องกันที่ดี และเมื่อคณะผู้วิจัยได้
สอบถามตัวอย่างถึงระดับความพร้อมในการรับมือกับปัญหาน้ำท่วมขององค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 14.1 ระบุมีความพร้อม ร้อย
ละ 28.6 ระบุค่อนข้างพร้อม ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 32.2 ระบุไม่ค่อยพร้อม และร้อยละ 15.4 ระบุไม่พร้อมเลย
นอกจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงวิธีการคลายเครียดที่เกิดขึ้นจากการประสบปัญหาน้ำท่วมนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ
35.4 ระบุพยายามทำใจให้สบายไม่คิดมาก/มองโลกในแง่ดี คิดถึงผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วมที่หนักกว่า ร้อยละ 31.6 ระบุดูหนัง ฟังเพลง ร้องเพลง เล่น
ดนตรี ร้อยละ 10.4 ระบุพูดคุยกับเพื่อนบ้าน ร้อยละ 8.0 ระบุเล่นน้ำ/ว่ายน้ำ /พายเรือเล่น และร้อยละ 8.0 เช่นเดียวกันที่ระบุว่าคลายเครียด
โดยการหาปลา /ตกปลา ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า จากการลงพื้นที่สำรวจผลกระทบที่ประชาชนได้รับจากภัยน้ำท่วมครั้งนี้ พบว่า ประชาชนยังคงอยู่ในสภาพที่น่าเป็นห่วง
ในหลายพื้นที่โดยเฉพาะกลุ่มประชาชนที่อยู่ในซอยหรือห่างไกลจากถนนใหญ่และพื้นที่ที่เข้าถึงยาก เพราะผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่ที่อยู่ห่าง
ไกลจากการเข้าถึงของหน่วยงานราชการและกลุ่มองค์กรต่างๆ ประสบความเดือดร้อนอย่างมากและรู้สึกว่าการช่วยเหลือต่างๆ ไม่ทั่วถึงและไม่เท่า
เทียม
“ที่น่าเป็นห่วงคือ ทั้งสภาพที่อยู่อาศัย วิถีชีวิต และสภาพจิตใจของประชาชนส่วนใหญ่บอกกับคณะผู้วิจัยว่าอยู่ในสภาวะที่แย่ลง มีปัญหาสารพัด
เช่น น้ำท่วมขังเน่าเหม็น ถนนหนทางชำรุดเสียหาย เดินทางสัญจรไปมาไม่สะดวก บ้านเรือนได้รับความเสียหาย ผู้คนในบ้านเจ็บป่วย มีความเครียด
รู้สึกตนเองไร้ค่าถูกทอดทิ้งจากรัฐ และมีความจำเป็นต้องพบแพทย์พยาบาล” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า พื้นที่ที่ถูกศึกษาเป็นพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียงยังพบปัญหามากขนาดนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ความรู้สึกที่ว่าความช่วยเหลือไม่ทั่วถึงและไม่เท่าเทียมกำลังสร้างบรรยากาศที่ไม่ดีเกิดขึ้นในสังคมไทย จำเป็นต้องแก้ไขบูรณะฟื้นฟูให้เห็นอย่างเป็น
รูปธรรมในขณะที่น้ำยังท่วมอยู่ตอนนี้และทันทีหลังจากน้ำลด อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ค้นพบและเป็นภาพที่ดีในขณะนี้คือ คนกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง
ที่มักถูกมองว่าต่างคนต่างอยู่เพราะมุ่งแข่งขันกันทางวัตถุ แต่ผลสำรวจครั้งนี้พบว่าคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลส่วนใหญ่ช่วยเหลือกันและกันมากขึ้น
รัฐบาลจึงควรมีมาตรการสนับสนุนบรรยากาศของประชาชนในชุมชนให้เข้มแข็งและสานต่อความช่วยเหลือความเอื้ออาทรต่อกันอย่างยั่งยืนต่อไป
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความรู้สึกที่มีต่อปัญหาน้ำท่วมในปัจจุบันในประเด็นต่างๆ
2. เพื่อสำรวจผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนที่เกิดจากปัญหาน้ำท่วมในด้านต่างๆ
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับความพร้อมและความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนอันเกิดจากปัญหาน้ำท่วม
4. เพื่อนำข้อมูลและข้อเสนอแนะที่ได้เป็นแนวทางในการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนอันเกิดจากปัญหาน้ำท่วม
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “รายงานดัชนีความทุกข์ของประชาชนเมื่อประสบภัยน้ำ
ท่วม กรณีศึกษาครัวเรือนที่ประสบภัยน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 16-21 ตุลาคม
2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้ประสบปัญหาน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,017 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ และตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณ
เป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 65.8 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 34.2 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 10.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 18.9 อายุระหว่าง 21—30 ปี
ร้อยละ 23.4 อายุระหว่าง 31—40 ปี
ร้อยละ 21.4อายุระหว่าง 41—50 ปี
และร้อยละ 26.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 87.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 11.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ด้านสถานภาพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 61.0 ระบุสถานภาพสมรส
ร้อยละ 29.1 ระบุสถานภาพโสด
และร้อยละ 9.9 ระบุสถานภาพม่าย/หย่าร้าง
ตัวอย่าง ร้อยละ 24.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 17.7 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 13.5 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 19.8 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 10.5 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 2.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 2.1 ระบุอาชีพเกษตรกร
และร้อยละ 10.1 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเกิดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ที่อยู่อาศัยในช่วงที่ผ่านมา
ลำดับที่ การเกิดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ที่อยู่อาศัยในช่วงที่ผ่านมา ใกล้ถนนใหญ่ ในซอย ค่าร้อยละ
1 น้ำท่วมทุกปี 37.1 41.2 39.3
2 น้ำท่วมเกือบทุกปี 22.9 17.5 19.8
3 น้ำท่วมเป็นบางปี 34.9 36.9 36.4
4 น้ำไม่เคยท่วม เพิ่งจะท่วมปีนี้ 5.1 4.4 4.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัญหาต่างๆ เมื่อประสบภัยน้ำท่วม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ปัญหาที่พักอาศัย บ้านอยู่ใกล้ถนนใหญ่ บ้านอยู่ในซอย ส่วนต่าง
1. บ้าน/ที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหาย 57.9 56.3 1.6
2. ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย 45.0 47.5 -2.5
3. ต้องย้ายที่อยู่อาศัยเพื่อหนีน้ำท่วม 21.8 22.1 -0.3
ปัญหาสภาพแวดล้อม บ้านอยู่ใกล้ถนนใหญ่ บ้านอยู่ในซอย ส่วนต่าง
4. น้ำท่วมขัง/น้ำเน่าเสีย 89.6 88.3 1.3
5. ถนนหนทางได้รับความเสียหาย ไปไหนมาไหนลำบาก 79.5 88.0 -8.5
6. การคมนาคมไม่สะดวก การจราจรติดขัด 72.8 79.9 -7.1
7. ขยะมูลฝอยลอยไปมาทั่วบริเวณที่อยู่อาศัย 78.4 78.4 0
8. สาธารณูปโภคขาดแคลน เช่น ไฟฟ้า น้ำกิน/น้ำใช้ 32.6 32.8 -0.2
ปัญหาสุขภาพและความปลอดภัย บ้านอยู่ใกล้ถนนใหญ่ บ้านอยู่ในซอย ส่วนต่าง
9. สัตว์มีพิษและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคเข้ามาในบ้าน/ที่อยู่อาศัย 68.6 69.2 -0.6
10. ตนเองหรือคนในบ้านเจ็บป่วยจากโรคต่างๆ เช่น น้ำกัดเท้าท้องร่วง ตาแดง 63.3 64.9 -1.6
11. สุขอนามัยไม่ดี เช่น สุขา อาหารการกินสกปรก 45.8 49.0 -3.2
12. มีอาชญากรรมเพิ่มมากขึ้น โจรขโมยชุกชุม 29.8 25.8 4
13. สัตว์เลี้ยงได้รับบาดเจ็บ เจ็บป่วย ล้มตาย หรือสูญหาย 26.6 33.2 -6.6
14. ไฟฟ้าดูด/ไฟฟ้าช๊อต 21.6 16.6 5
ปัญหาปากท้องและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ บ้านอยู่ใกล้ถนนใหญ่ บ้านอยู่ในซอย ส่วนต่าง
15. ของกินของใช้มีราคาสูงขึ้น 80.0 82.8 -2.8
16. เสียเวลา/เสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม ดูแลที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น 68.4 67.1 1.3
17. รายได้ลดลง 66.8 70.4 -3.6
18. สภาพความเป็นอยู่โดยรวมแย่ลง 71.4 74.6 -3.2
19. ปัญหาในการทำงาน เช่น ต้องหยุดงาน ไปทำงานสาย 56.1 51.5 4.6
20. ไม่สามารถทำมาหากิน (เช่น ค้าขาย อาชีพอิสระ) ได้ตามปกติ 50.9 54.4 -3.5
21. ปัญหาในการเรียน เช่น ต้องหยุดเรียน ไปเรียนสาย 43.2 42.4 0.8
22. พืชผลที่ปลูกไว้ได้รับความเสียหาย 42.8 56.3 -13.5
23. ที่ดิน/ที่ทำกินได้รับความเสียหาย 37.2 45.0 -7.8
24. กู้หนี้ยืมสินมาเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม 34.0 36.5 -2.5
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล หน่วยงานราชการหรือองค์กรต่างๆ ที่
เกี่ยวข้องในแง่ของความทั่วถึงและความเท่าเทียมกัน
ลำดับที่ การได้รับความช่วยเหลือในแง่ของความทั่วถึงและความเท่าเทียมกัน บ้านอยู่ใกล้ถนนใหญ่ บ้านอยู่ในซอย ค่าร้อยละ
1 ไม่ทั่วถึงและไม่เท่าเทียม 62.0 67.4 65.4
2 ทั่วถึงแต่ไม่เท่าเทียม 23.1 17.7 19.6
3 ทั่วถึงและเท่าเทียม 14.9 14.9 15.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความรู้สึกที่มีต่อปัญหาน้ำท่วมในปัจจุบันในประเด็นต่างๆ
ความรู้สึกที่มีต่อปัญหาน้ำท่วมในปัจจุบัน พื้นที่
คนกรุงเทพฯ จังหวัดปริมณฑล
1. มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้าน 88.6 89.4
2. มีความต้องการเรื่องยาสามัญประจำบ้าน 53.1 58.9
3. มีความต้องการความช่วยเหลือเรื่องอาหาร 43.1 37.5
4. มีความต้องการเรื่องการประกอบอาชีพ 44.8 30.0
5. รู้สึกปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย 34.3 25.5
6. มั่นใจที่จะสามารถเผชิญกับเหตุการณ์ร้ายแรงในชีวิต 13.6 16.1
7. รู้สึกว่าจำเป็นต้องไปพบแพทย์ พยาบาล 59.7 61.0
8. มีความต้องการความช่วยเหลือเรื่องที่พักอาศัย 46.9 63.0
9. มีความต้องการเรื่องเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม 35.9 41.0
10. รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า ถูกทอดทิ้งจากหน่วยงานของรัฐ 52.4 49.8
12. รู้สึกว่าตนเองถูกทอดทิ้งจากแกนนำชุมชน 35.2 41.6
13. รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า ถูกทอดทิ้งจากญาติพี่น้อง คนรู้จัก 44.6 40.8
14. สภาพจิตใจโดยรวมแย่ลง 63.4 71.4
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุลักษณะของปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในปีนี้
ลำดับที่ ลักษณะของปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในปีนี้ ค่าร้อยละ
1 เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ ถ้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการป้องกันที่ดี 47.1
2 เป็นเรื่องของภัยธรรมชาติ ไม่อยู่ในวิสัยที่จะแก้ไขได้ 52.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความพร้อมในการรับมือกับปัญหาน้ำท่วมในครั้งนี้ของรัฐบาล หน่วยงาน
ราชการหรือองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ลำดับที่ ระดับความพร้อมในการรับมือกับปัญหาน้ำท่วม ค่าร้อยละ
1 พร้อม 14.1
2 ค่อนข้างพร้อม 28.6
3 ไม่ค่อยพร้อม 32.2
4 ไม่พร้อมเลย 15.4
5 ไม่มีความเห็น 9.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีคลายเครียดจากปัญหาน้ำท่วม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ วิธีคลายเครียดจากปัญหาน้ำท่วม ค่าร้อยละ
1 ทำใจให้สบาย ไม่คิดมาก / มองโลกในแง่ดี คิดถึงผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วมที่หนักกว่า 35.4
2 ดูหนังฟังเพลง / ร้องเพลง / เล่นดนตรี 31.6
3 พูดคุยกับเพื่อนบ้าน 10.4
4 เล่นน้ำท่วม / ว่ายน้ำ / พายเรือเล่น 8.0
5 หาปลา / ตกปลา 8.0
6 ไม่ได้ทำอะไร ทำตัวตามปกติ 7.2
7 ไปเที่ยว / ไปทานอาหารนอกบ้าน / ไปบ้านเพื่อน 4.9
8 นอน 4.1
9 สวดมนต์ ภาวนา ละหมาด นั่งสมาธิ 3.9
10 อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ 3.8
11 ออกกำลังกายอยู่ในบ้าน 2.4
12 เล่นเกมส์ 2.2
13 ทำอะไรเรื่อยเปื่อย 1.9
14 หัวเราะ / ทำตัวให้ร่าเริง 1.6
15 อื่นๆ เช่น ทำงาน ช่วยเหลือคนอื่น ทำบุญ เก็บขยะที่ลอยไปมา เลื้ยงลูก
เลี้ยงหลาน ดูแลซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ทรัพย์สินที่เสียหาย ดื่มเหล้า เดินไปเดินมา
กินยาแก้ปวดหัว รับประทานอาหาร ทำงานฝีมือ ปักผ้า เป็นต้น 6.2
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-