ที่มาของโครงการ
เนื่องจากสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันมีความเคลื่อนไหวเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง สำนัก
วิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์และความ
เคลื่อนไหวต่างๆทางการเมืองในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งข้อมูลที่ได้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจดำเนินการ
ใดๆ ที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่ม
ได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ปัญหาการเมืองในช่วงก่อนการเลือกตั้ง
3. เพื่อสำรวจความตั้งใจที่จะไปเลือกตั้งของประชาชนในวันที่ 2 เมษายน 2549
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวคิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติหลังการเลือกตั้ง 2 เม.ย.
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองที่เกี่ยวข้อง นำไปประกอบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจดำเนินการ
ใดๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อความสงบสุขของประชาชนและความมั่นคงของประเทศต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “สถานการณ์การเมืองไทยโค้งสุดท้ายก่อนการเลือก
ตั้ง : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 29 มีนาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,526 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 46.3 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.0 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.4 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.7 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 28.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 78.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 1.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 28.3 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 21.4 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 20.7 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 13.9 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.1 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
ร้อยละ 7.9 เป็นพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
และ ร้อยละ 1.7 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมือง ร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 64.6
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 15.8
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 14.1
4 ไม่ได้ติดตามเลย 5.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อปัญหาการเมืองในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อปัญหาการเมืองในขณะนี้ ร้อยละ
1 อยู่ในขั้นวิกฤตแล้ว 44.5
2 ยังไม่วิกฤต 36.7
3 ไม่มีความคิดเห็น 18.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้รับทราบต่อวันเลือกตั้ง ส.ส.ในวันที่ 2 เมษายน
ลำดับที่ การรับรู้รับทราบต่อวันเลือกตั้ง ส.ส.ในวันที่ 2 เมษายน ร้อยละ
1 ทราบ 94.0
2 ไม่ทราบ 6.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจจะไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549
ความตั้งใจของตัวอย่าง 1 มี.ค. 49 18 มี.ค. 49 21 มี.ค. 49 25 มี.ค. 49 27 มี.ค. 49 29 มี.ค. 49
1.ไปแน่นอน 57.3 47.8 65.2 41.4 64.8 72.8
2.ไม่ไป 18.0 15.1 18.8 15.0 11.6 13.7
3.ไม่แน่ใจ 24.7 37.1 16.0 43.6 23.6 13.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคที่จะเลือก ถ้าหากว่าไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน
วิธีการลงคะแนน ถ้าหากว่าไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 25 มี.ค.49ค่าร้อยละ 27 มี.ค.49ค่าร้อยละ 29 มี.ค.49ค่าร้อยละ
1.เลือกพรรคที่ตั้งใจจะเลือก 46.0 41.3 38.3
2.งดลงคะแนน 25.6 22.6 22.4
3.ยังไม่ได้ตัดสินใจ 28.4 36.1 39.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อบรรยากาศในช่วงการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อบรรยากาศในช่วงการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ค่าร้อยละ
1 น่าสนใจติดตาม 19.2
2 รู้สึกกระตือรือล้นที่จะไปเลือกตั้ง 18.1
3 เฉยๆ 37.2
4 รู้ว่ามีความขัดแย้งรุนแรง 22.5
5 รู้สึกน่าเบื่อ ไม่น่าสนใจติดตาม 35.8
6 รู้สึกตื่นเต้นเร้าใจ 6.0
7 ขาดข้อมูลประกอบการตัดสินใจ 7.1
8 รู้สึกว่าเป็นเรื่องน้ำเน่า 13.6
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อ กกต. ในการทำหน้าที่ด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 23.4
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 16.7
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 25.2
4 ไม่เชื่อมั่น 17.3
5 ไม่มีความเห็น 17.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวคิดการตั้งรัฐบาลแห่งชาติ
ภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อแนวคิดการตั้งรัฐบาลแห่งชาติภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 27.7
2 ไม่เห็นด้วย 20.8
3 ไม่มีความเห็น 51.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิน ชินวัตร ควรลาออกหลังการเลือกตั้งในวันที่ 2 เม.ย. ทันทีหรือไม่
ลำดับที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิน ชินวัตร ควรลาออกหลังการเลือกตั้ง 11 มี.ค.49ร้อยละ 29 มี.ค. 49ร้อยละ
ในวันที่ 2 เม.ย. 2549 ทันทีหรือไม่
1 ควรลาออกทันที 24.4 21.9
2 ไม่ควรลาออกทันที 45.5 43.2
3 ไม่มีความเห็น 31.1 34.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 10 แสดงการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวคิดการขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี
ความเห็นของตัวอย่าง 1 มี.ค.49ร้อยละ 6 มี.ค. 49ร้อยละ 20 มี.ค.49ร้อยละ 22 มี.ค.49ร้อยละ 25 มี.ค.49ร้อยละ 27 มี.ค.49ร้อยละ 29 มี.ค.49ร้อยละ
1.เห็นด้วย 38.5 46.1 37.0 30.3 27.2 24.1 22.4
2.ไม่เห็นด้วย 24.2 20.2 26.0 23.2 34.3 37.8 34.7
3.ไม่มีความเห็น 37.3 33.7 37.0 46.5 38.5 38.1 42.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
เนื่องจากสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันมีความเคลื่อนไหวเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง สำนัก
วิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์และความ
เคลื่อนไหวต่างๆทางการเมืองในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งข้อมูลที่ได้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจดำเนินการ
ใดๆ ที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่ม
ได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ปัญหาการเมืองในช่วงก่อนการเลือกตั้ง
3. เพื่อสำรวจความตั้งใจที่จะไปเลือกตั้งของประชาชนในวันที่ 2 เมษายน 2549
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวคิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติหลังการเลือกตั้ง 2 เม.ย.
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองที่เกี่ยวข้อง นำไปประกอบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจดำเนินการ
ใดๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อความสงบสุขของประชาชนและความมั่นคงของประเทศต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “สถานการณ์การเมืองไทยโค้งสุดท้ายก่อนการเลือก
ตั้ง : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 29 มีนาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,526 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 46.3 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.0 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.4 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.7 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 28.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 78.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 1.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 28.3 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 21.4 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 20.7 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 13.9 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.1 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
ร้อยละ 7.9 เป็นพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
และ ร้อยละ 1.7 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมือง ร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 64.6
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 15.8
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 14.1
4 ไม่ได้ติดตามเลย 5.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อปัญหาการเมืองในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อปัญหาการเมืองในขณะนี้ ร้อยละ
1 อยู่ในขั้นวิกฤตแล้ว 44.5
2 ยังไม่วิกฤต 36.7
3 ไม่มีความคิดเห็น 18.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้รับทราบต่อวันเลือกตั้ง ส.ส.ในวันที่ 2 เมษายน
ลำดับที่ การรับรู้รับทราบต่อวันเลือกตั้ง ส.ส.ในวันที่ 2 เมษายน ร้อยละ
1 ทราบ 94.0
2 ไม่ทราบ 6.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจจะไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549
ความตั้งใจของตัวอย่าง 1 มี.ค. 49 18 มี.ค. 49 21 มี.ค. 49 25 มี.ค. 49 27 มี.ค. 49 29 มี.ค. 49
1.ไปแน่นอน 57.3 47.8 65.2 41.4 64.8 72.8
2.ไม่ไป 18.0 15.1 18.8 15.0 11.6 13.7
3.ไม่แน่ใจ 24.7 37.1 16.0 43.6 23.6 13.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคที่จะเลือก ถ้าหากว่าไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน
วิธีการลงคะแนน ถ้าหากว่าไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 25 มี.ค.49ค่าร้อยละ 27 มี.ค.49ค่าร้อยละ 29 มี.ค.49ค่าร้อยละ
1.เลือกพรรคที่ตั้งใจจะเลือก 46.0 41.3 38.3
2.งดลงคะแนน 25.6 22.6 22.4
3.ยังไม่ได้ตัดสินใจ 28.4 36.1 39.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อบรรยากาศในช่วงการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อบรรยากาศในช่วงการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ค่าร้อยละ
1 น่าสนใจติดตาม 19.2
2 รู้สึกกระตือรือล้นที่จะไปเลือกตั้ง 18.1
3 เฉยๆ 37.2
4 รู้ว่ามีความขัดแย้งรุนแรง 22.5
5 รู้สึกน่าเบื่อ ไม่น่าสนใจติดตาม 35.8
6 รู้สึกตื่นเต้นเร้าใจ 6.0
7 ขาดข้อมูลประกอบการตัดสินใจ 7.1
8 รู้สึกว่าเป็นเรื่องน้ำเน่า 13.6
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อ กกต. ในการทำหน้าที่ด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 23.4
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 16.7
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 25.2
4 ไม่เชื่อมั่น 17.3
5 ไม่มีความเห็น 17.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวคิดการตั้งรัฐบาลแห่งชาติ
ภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อแนวคิดการตั้งรัฐบาลแห่งชาติภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 27.7
2 ไม่เห็นด้วย 20.8
3 ไม่มีความเห็น 51.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิน ชินวัตร ควรลาออกหลังการเลือกตั้งในวันที่ 2 เม.ย. ทันทีหรือไม่
ลำดับที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิน ชินวัตร ควรลาออกหลังการเลือกตั้ง 11 มี.ค.49ร้อยละ 29 มี.ค. 49ร้อยละ
ในวันที่ 2 เม.ย. 2549 ทันทีหรือไม่
1 ควรลาออกทันที 24.4 21.9
2 ไม่ควรลาออกทันที 45.5 43.2
3 ไม่มีความเห็น 31.1 34.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 10 แสดงการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวคิดการขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี
ความเห็นของตัวอย่าง 1 มี.ค.49ร้อยละ 6 มี.ค. 49ร้อยละ 20 มี.ค.49ร้อยละ 22 มี.ค.49ร้อยละ 25 มี.ค.49ร้อยละ 27 มี.ค.49ร้อยละ 29 มี.ค.49ร้อยละ
1.เห็นด้วย 38.5 46.1 37.0 30.3 27.2 24.1 22.4
2.ไม่เห็นด้วย 24.2 20.2 26.0 23.2 34.3 37.8 34.7
3.ไม่มีความเห็น 37.3 33.7 37.0 46.5 38.5 38.1 42.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-