ที่มาของโครงการ
ถึงแม้ว่าการชุมนุมเคลื่อนไหวที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ภายใต้การนำของ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ เพื่อถวายฎีกา
คืนพระราชอำนาจและกดดันให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง หรือที่เรียกว่า “ม็อบกู้ชาติ” เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549
ที่ผ่านมา จะผ่านพ้นไปได้โดยที่ไม่เกิดความรุนแรงขึ้น ท่ามกลางความโล่งใจของทุกฝ่าย หากแต่การนัดชุมนุมดังกล่าวได้ทิ้ง “คลื่นการเมืองระลอก
ใหญ่” ที่ยังคงซัดถาโถมเข้าใส่นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อย่างต่อเนื่อง และทำท่าว่าจะมีคลื่นลูกใหม่ซัดมาอีกระลอกหนึ่ง โดยในวันที่
11 กุมภาพันธ์ นี้จะมีการจัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรอีกครั้ง และใช้ชื่อว่า “ปิดบัญชีทักษิณ” และครั้งนี้นายกรัฐมนตรีได้ออกมาตอบโต้การ
นัดชุมนุมดังกล่าวของนายสนธิ ด้วยการไม่อนุญาตให้ใช้ลานพระบรมรูปทรงม้าเป็นสถานที่ในการจัดรายการฯ โดยอ้างว่าเป็นเขตพระราชฐานและทำให้
กีดขวางการจราจร ซึ่งความเคลื่อนไหวของทั้งสองขั้วการเมืองดังกล่าวนี้ ต่างได้รับทั้งการสนับสนุนและการคัดค้านจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน
เขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ถึงความคิดเห็นที่มีต่อการจัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ตอน ปิดบัญชีทักษิณ ที่จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 11
กุมภาพันธ์ 2549 ตลอดจนประเด็นที่สำคัญต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ภายหลังการชุมนุมในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์
สัญจรดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ตอน ปิดบัญชีทักษิณ
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ตอน ปิดบัญชีทักษิณ
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่อาจเกิดขึ้นภายหลังจากการจัดรายการเมืองไทย
รายสัปดาห์สัญจร ตอน ปิดบัญชีทักษิณ
4. เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อรายการเมืองไทย
รายสัปดาห์สัญจรตอนปิดบัญชีทักษิณ : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล” ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวัน
ที่ 7-8 กุมภาพันธ์ 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิหลายขั้น (Stratified Multi-stage Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,798 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 51.8 เป็นหญิง ร้อยละ 48.2 เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 9.0
อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 21.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 23.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 22.5 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 23.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 75.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 23.1 ระบุสำเร็จการศึกษา
ระดับปริญญาตรี และร้อยละ 1.7 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 27.4 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 25.5
ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 18.8 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 12.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.5 ระบุเป็นนักศึกษา ร้อยละ 6.2 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ และร้อยละ 3.4 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลการสำรวจเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อ
รายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ตอนปิดบัญชีทักษิณ” ซึ่งดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและพักอาศัยอยู่ใน
เขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,798 ตัวอย่าง โดยมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 7-8 กุมภาพันธ์ 2549
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
คณะผู้วิจัยได้เริ่มต้นคำถามในครั้งนี้ด้วยการสอบถามถึงการติดตามข่าวการชุมนุมเคลื่อนไหวของนายสนธิ ลิ้มทองกุล เมื่อวันที่ 4 ก.พ.ที่
ผ่านมา ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 72.9 ระบุติดตามข่าวดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 27.1 ระบุไม่ติดตาม และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถาม
ตัวอย่างถึงท่าทีของทหารที่มีต่อการชุมนุมเคลื่อนไหวของนายสนธิ ลิ้มทองกุล เมื่อวันที่ 4 ก.พ.ที่ผ่านมานั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 59.7 ระบุพอใจ
ในขณะที่ร้อยละ 12.0 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 28.3 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับผลสำรวจความพึงพอใจในบทบาทของฝ่ายค้านที่มีต่อการชุมนุมนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 34.9 ระบุพอใจในขณะที่ร้อยละ
34.5 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 30.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับความพึงพอใจของตัวอย่างที่มีต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในการควบคุมดูแลความสงบของกลุ่มผู้ชุมนุมนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 76.5 ระบุ
พอใจ ในขณะที่ร้อยละ 9.9 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 13.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญคือความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อนายสนธิ ลิ้มทองกุล ภายหลังยื่นถวายฎีกา เมื่อวันที่ 4 ก.พ.ที่ผ่านมานั้น พบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 55.4 ระบุนายสนธิ ควรจะยุติบทบาทภายหลังการถวายฎีกา ในขณะที่ร้อยละ 19.0 ระบุไม่ควรยุติบทบาท และร้อยละ 25.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างเกินกว่า 2 ใน 3 คือร้อยละ 76.0 ระบุเห็นด้วยถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและนายสนธิ ลิ้ม
ทองกุล จะมีการเจรจาปรองดองกันเพื่อยุติปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมด ในขณะที่ร้อยละ 14.0 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 10.0 ไม่ระบุความคิดเห็น
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจการรับรู้รับทราบของประชาชนต่อการจัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ตอนปิดบัญชีทักษิณในวันที่ 11 ก.พ.
นี้ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 67.9 ระบุทราบข่าวดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 32.1 ระบุไม่ทราบข่าว ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัย ได้สอบถามต่อไปถึงความ
สนใจเข้าร่วมชุมนุมในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรในครั้งนี้นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 57.1 ระบุสนใจ ในขณะที่ร้อยละ 42.9 ระบุไม่สนใจ
โดยในกลุ่มผู้ที่ระบุสนใจนั้นคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปถึงความตั้งใจในการเข้าร่วมชุมนุมในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์โดยเปรียบเทียบผลสำรวจความ
ตั้งใจของตัวอย่างในการเข้าร่วมชุมนุมเมื่อวันที่ 4 ก.พ.ที่ผ่านมา กับความตั้งใจเข้าร่วมชุมนุมในวันที่ 11 ก.พ.ที่จะถึงนี้ ซึ่งพบว่าสัดส่วนของ
ตัวอย่างที่ระบุตั้งใจร่วมชุมนุมแน่นอนนั้น เพิ่มขึ้นจากการสำรวจเมื่อมีการชุมนุมครั้งแรก (ครั้งแรกร้อยละ 5.3 ครั้งที่ 2 ร้อยละ 7.5)
อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นต่อรูปแบบรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ที่จะจัดขึ้นนี้ พบว่า ตัวอย่างเกิน
กว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 39.4 ระบุอยากให้จัดเป็นแบบปกติเหมือนที่ผ่านมา โดยรัฐบาลเข้าไปสนับสนุนให้มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ (คืนรายการ
กลับมาที่ช่อง 9) ในขณะที่ร้อยละ 13.0 ระบุจัดเป็นแบบปกติเหมือนที่ผ่านมา โดยรัฐบาลไม่ต้องเข้าไปสนับสนุน (จัดที่สวนลุม) ร้อยละ 12.0 ระบุ
จัดรูปแบบเดิมเหมือนที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ร้อยละ 6.9 จัดรูปแบบอื่นๆ และร้อยละ 28.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจจากหลายๆ ฝ่ายก็คือ การที่นายกรัฐมนตรีไม่อนุญาตให้มีการชุมนุมที่ลานพระบรมรูป
ทรงม้า โดยให้เหตุผลว่าเป็นเขตพระราชฐาน แต่ให้ไปหาสถานที่อื่นจัดการชุมนุมแทน นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 49.0 ระบุเห็นด้วย ในขณะที่ร้อย
ละ 38.3 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 12.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับรายชื่อคณะรัฐมนตรีที่ตัวอย่างระบุต้องการให้นายสนธิ ลิ้มทองกุลเปิดเผยข้อมูล 3 อันดับแรก พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 50.5 ระบุ
ต้องการให้เปิดเผยข้อมูลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 25.5 ระบุเปิดเผยข้อมูลของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจและร้อยละ 15.3 ระบุเปิดเผย
ข้อมูลของคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ตามลำดับ
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความคิดเห็นต่อแกนนำผู้ชุมนุมในการควบคุมฝูงชนให้มีการชุมนุมอย่างสงบนั้น พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 53.8 ระบุเชื่อว่าสามารถควบคุมได้ ในขณะที่ร้อยละ 23.3 ระบุไม่เชื่อว่าจะสามารถควบคุมได้ และร้อยละ 22.9 ไม่ระบุ
ความคิดเห็น สำหรับความเชื่อมั่นต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในการควบคุมดูแลความสงบของกลุ่มผู้ร่วมชุมนุมนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 60.2 ระบุเชื่อมั่น
ในขณะที่ร้อยละ 20.4 ระบุไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 19.4 ไม่ระบุความคิดเห็น
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้วิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นของตัวอย่างต่อ การตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีในขณะนี้ นั้นพบว่า ตัวอย่าง
มีแนวโน้มการเปลี่ยนของตัวเลขที่น่าสนใจเกิดขึ้นจากการสำรวจเมื่อวันที่ 3-4 ก.พ. เปรียบเทียบกับการสำรวจในครั้งนี้ โดยพบว่า สัดส่วน
ของตัวอย่างที่ระบุต้องการให้นายกรัฐมนตรีทำงานต่อไปนั้นเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 33.6 ในการสำรวจครั้งก่อน เป็นร้อยละ 59.3 ในการสำรวจ
เมื่อวันที่ 5-6 ก.พ. และมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยในการสำรวจครั้งล่าสุด (ร้อยละ 54.9) ซึ่งผลการวิเคราะห์พบว่าส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวนี้
น่าจะมาจากการเปลี่ยนแปลงทางความคิดของตัวอย่างที่ไม่ระบุความคิดเห็นในการสำรวจครั้งก่อนหน้านี้ เป็นสำคัญ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวต่อว่า ผลสำรวจล่าสุดพบว่าประชาชนที่สนใจการชุมนุมกับกลุ่มของ
นายสนธิลดลงเพียงเล็กน้อยแต่เมื่อพิจารณาดูในกลุ่มที่สนใจเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มของนายสนธิจะพบว่าความเข้มข้นของความตั้งใจที่จะเข้าร่วม
ไม่แตกต่างไปจากการชุมนุมวันที่ 4 กุมภาพันธ์
สาเหตุอาจจะมาจากการที่นายกรัฐมนตรีใช้เวลาไปกับกลุ่มผู้สนับสนุนที่ทำเนียบรัฐบาลมากเกินไป ควรใช้เวลาบางส่วนให้สัมภาษณ์
ชี้แจงให้ประชาชนหายความสงสัยแคลงใจที่ยังคงมีอยู่จำนวนมาก เช่น เรื่องจริยธรรมนายกรัฐมนตรีจากการซื้อขายหุ้นฯ ของคนใกล้ชิด
ข่าวแอมเพิลริชคู่แฝดที่มีสองสัญชาติ และความรู้สึกที่ไม่ดีในกลุ่มประชาชนกรณีนายกฯ กล่าวพาดพิงเบื้องสูง
“การที่นายกรัฐมนตรีใช้เวลาไปกับการรับดอกไม้ของประชาชนกลุ่มต่างๆ โดยไม่มีการชี้แจงข้อกล่าวหาต่างๆ ตรงกันข้ามนายกรัฐมนตรี
กลับใช้โอกาสนั้นตอบโต้โจมตีคณาจารย์รัฐศาสตร์จุฬาฯ ที่ออกมาเรียกร้องให้ลาออกว่าทำไปโดยขาดสติ ยิ่งไม่เกิดประโยชน์ต่อการสร้างบรรยากาศ
ของความสงบในสังคมที่คนไทยส่วนใหญ่กำลังต้องการอยู่ในขณะนี้ อารมณ์ของสังคมที่ยังไม่เย็นไปเสียทีเดียวอาจจะกลับร้อนแรงมากกว่าเดิมยิ่งขึ้น
ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์อาจมีคนมาร่วมชุมนุมมากไปกว่าวันที่ 4 กุมภาพันธ์อีกด้วย” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า การประกาศของนายกรัฐมนตรีที่ระบุไม่ให้มีการชุมนุม ณ ลานพระบรมรูปทรงม้าอีกแล้ว แม้ว่าประชาชนเกือบครึ่งหนึ่ง
ตอบรับการสั่งห้ามของนายกรัฐมนตรี แต่ประชาชนเกินกว่าหนึ่งในสามซึ่งถือว่าเป็นจำนวนมากไม่เห็นด้วยกับการห้ามชุมนุม ถ้าคนกลุ่มนี้ลุกฮือออกมา
ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ผลการชุมนุมคงไม่จบลงอย่างสงบเหมือนในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เพราะท่าทีของรัฐมนตรีหลายคนยังแสดงออกในลักษณะ
ของการตอบโต้โจมตียั่วยุฝ่ายตรงข้ามและการจุดประเด็นใส่ร้ายป้ายสีกันผ่านสื่อมวลชนอีก ดูเหมือนว่า น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี จะเป็นผู้เดียวในรัฐบาล
ที่มีท่าทีประนีประนอม ถ้านายกรัฐมนตรีมีท่าทีเหมือนโฆษกรัฐบาลผู้นี้คงทำให้ประชาชนมีความหวังอย่างยิ่งว่าความสงบสุขในสถานการณ์ทางการเมือง
ขณะนี้น่าจะเกิดขึ้นโดยเร็ว
“ประชาชนกำลังมีความหวังว่าบุคคลสำคัญสองท่านในขณะนี้คือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรและนายสนธิ ลิ้มทองกุล จะสามารถหันมาเจรจา
กันได้โดยสันติและช่วยกันแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ประกาศว่าจะเป็นหัวเรือใหญ่แก้ปัญหานี้ ก็น่าจะดึงนายสนธิมาเป็นนายท้ายเรือ
ทำหน้าที่เหมือนกับพันท้ายนรสิงห์เพราะนายสนธิเป็นผู้ที่รณรงค์ปลุกกระแสประชาชนให้ต่อต้านทุจริตคอรัปชั่นมาโดยตลอด” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการชุมนุมเคลื่อนไหว “ม็อบสนธิ”
ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549 ที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวการชุมนุมเคลื่อนไหว “ม็อบสนธิ” ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 72.9
2 ไม่ได้ติดตาม 27.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพอใจในท่าทีของทหารที่มีต่อการชุมนุมเคลื่อนไหวของ
นายสนธิ ลิ้มทองกุล ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความพอใจในท่าทีของทหารที่มีต่อการชุมนุมเคลื่อนไหว ค่าร้อยละ
1 พอใจ 59.7
2 ไม่พอใจ 12.0
3 ไม่มีความคิดเห็น 28.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจในบทบาทของฝ่ายค้านที่มีต่อการชุมนุมเคลื่อนไหว
ของนายสนธิ ลิ้มทองกุล เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความพึงพอใจในบทบาทของฝ่ายค้านที่มีต่อการชุมนุมเคลื่อนไหวของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ค่าร้อยละ
1 พอใจ 34.9
2 ไม่พอใจ 34.5
3 ไม่มีความคิดเห็น 30.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพอใจต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการควบคุม
ดูแลความสงบของกลุ่มผู้ชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ค่าร้อยละ
1 พอใจ 76.5
2 ไม่พอใจ 9.9
3 ไม่มีความคิดเห็น 13.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการยุติบทบาทของนายสนธิ ลิ้มทองกุล
หลังถวายฎีกา
ลำดับที่ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการยุติบทบาทของนายสนธิ ลิ้มทองกุล หลังถวายฎีกา ค่าร้อยละ
1 ควรยุติบทบาท 55.4
2 ไม่ควรยุติบทบาท 19.0
3 ไม่มีความคิดเห็น 25.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และนายสนธิ ลิ้มทองกุล
ควรจะมีการเจรจาปรองดองกันเพื่อยุติปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมด
ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และนายสนธิ ลิ้มทองกุลควรจะมีการเจรจาปรองดองกัน ค่าร้อยละ
เพื่อยุติปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมด
1 เห็นด้วย 76.0
2 ไม่เห็นด้วย 14.0
3 ไม่มีความคิดเห็น 10.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวการจัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร
ในวันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2549
ลำดับที่ การรับทราบข่าวการจัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ค่าร้อยละ
1 ทราบ 67.9
2 ไม่ทราบ 32.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสนใจเข้าร่วมชุมนุมในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร
ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2549
ลำดับที่ ความสนใจเข้าร่วมชุมนุมในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2549 ค่าร้อยละ
1 สนใจ 57.1
2 ไม่สนใจ 42.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างเฉพาะผู้ที่สนใจระบุความตั้งใจจะไปเข้าร่วมชุมนุมในรายการเมืองไทย
รายสัปดาห์สัญจรในครั้งนี้ เปรียบเทียบกับการนัดชุมนุมเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความตั้งใจจะไปเข้าร่วมชุมนุมในรายการเมืองไทย 3-4 กุมภาพันธ์ 7-8 กุมภาพันธ์
รายสัปดาห์สัญจร ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2549 ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 ตั้งใจว่าต้องไปร่วมแน่นอน 5.3 7.5
2 คาดว่าจะไป 11.4 10.8
3 อยากไปแต่กลัวอันตราย 24.0 36.3
4 ไม่เคยคิดที่จะไปเลย 59.3 45.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรูปแบบของรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร
ในครั้งนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อรูปแบบของรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ค่าร้อยละ
1 เป็นแบบปกติเหมือนที่ผ่านมา โดยรัฐบาลเข้าไปสนับสนุนให้มีการถ่ายทอดสด
ทางโทรทัศน์ (คืนรายการกลับมาที่ช่อง 9) 39.4
2 เป็นแบบปกติเหมือนที่ผ่านมา โดยรัฐบาลไม่ต้องเข้าไปสนับสนุน (จัดที่สวนลุม) 13.0
3 จัดรูปแบบเดิมเหมือนที่ลานพระบรมรูปทรงม้า 12.0
4 อื่น ๆ เช่น ให้จัดเหมือนเดิมแต่เปลี่ยนไปจัดที่สนามหลวง/ให้ถ่ายทอดสดทีวีทุกช่อง
/ให้จัดรายการโดยไม่ให้มีการปลุกระดม 6.9
5 ไม่มีความเห็น 28.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีนายกรัฐมนตรีไม่อนุญาตให้มีการชุมนุม
ที่ลานพระบรมรูปทรงม้าโดยให้เหตุผลว่าเป็นเขตพระราชฐานแต่ให้ไปหาสถานที่อื่นจัดการชุมนุมแทน
ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณีนายกรัฐมนตรีไม่อนุญาตให้มีการชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 49.0
2 ไม่เห็นด้วย 38.3
3 ไม่มีความคิดเห็น 12.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรายชื่อรัฐมนตรีที่ต้องการให้นายสนธิ ลิ้มทองกุล เปิดเผยข้อมูล
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ รัฐมนตรีที่ต้องการให้นายสนธิ ลิ้มทองกุล เปิดเผยข้อมูลการทำงาน ค่าร้อยละ
1 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 50.5
2 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 25.5
3 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ 15.3
4 นายเนวิน ชิดชอบ 8.4
5 นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ 7.8
6 นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล 6.6
7 พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา 6.0
8 นายวัฒนา เมืองสุข 4.2
9 นายจาตุรนต์ ฉายแสง 3.9
10 อื่นๆ อาทิ นายภูมิธรรม เวชยชัย/
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ /นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นต้น 12.6
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อต่อแกนนำผู้ชุมนุมในการควบคุมฝูงชน
ให้มีการชุมนุมอย่างสงบได้ (ในการชุมนุมวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2549)
ลำดับที่ ความเชื่อต่อแกนนำผู้ชุมนุมในการควบคุมฝูงชนให้มีการชุมนุมอย่างสงบ ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าสามารถควบคุมได้ 53.8
2 ไม่เชื่อว่าสามารถควบคุมได้ 23.3
3 ไม่มีความคิดเห็น 22.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในการควบคุมดูแลความสงบของ
กลุ่มผู้ชุมนุมในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ในวันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2549
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในการควบคุมดูแลความสงบ ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 60.2
2 ไม่เชื่อมั่น 20.4
3 ไม่มีความคิดเห็น 19.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อนายกรัฐมนตรีในการตัดสินใจเพื่อดำเนินการ
ใดๆ ในสถานการณ์ขณะนี้
ความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจ 1-2 ก.พ. 49 3-4 ก.พ. 49 5-6 ก.พ. 49 7-8 ก.พ. 49
ดำเนินการของนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1.ทำงานต่อ 37.3 33.6 59.3 54.9
2.ยุบสภา 7.0 7.2 8.8 9.5
3.ลาออก 15.5 14.6 14.5 14.2
4.อื่นๆ อาทิ
ให้หันหน้ามาเจรจากับนายสนธิ /
ให้ไตร่ตรองการทำงานอย่างรอบคอบ /
ให้แถลงข้อเท็จจริงให้ประชาชนรับทราบ 4.9 6.2 0.9 1.8
5.ไม่มีความคิดเห็น 35.3 38.4 16.5 19.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ถึงแม้ว่าการชุมนุมเคลื่อนไหวที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ภายใต้การนำของ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ เพื่อถวายฎีกา
คืนพระราชอำนาจและกดดันให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง หรือที่เรียกว่า “ม็อบกู้ชาติ” เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549
ที่ผ่านมา จะผ่านพ้นไปได้โดยที่ไม่เกิดความรุนแรงขึ้น ท่ามกลางความโล่งใจของทุกฝ่าย หากแต่การนัดชุมนุมดังกล่าวได้ทิ้ง “คลื่นการเมืองระลอก
ใหญ่” ที่ยังคงซัดถาโถมเข้าใส่นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อย่างต่อเนื่อง และทำท่าว่าจะมีคลื่นลูกใหม่ซัดมาอีกระลอกหนึ่ง โดยในวันที่
11 กุมภาพันธ์ นี้จะมีการจัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรอีกครั้ง และใช้ชื่อว่า “ปิดบัญชีทักษิณ” และครั้งนี้นายกรัฐมนตรีได้ออกมาตอบโต้การ
นัดชุมนุมดังกล่าวของนายสนธิ ด้วยการไม่อนุญาตให้ใช้ลานพระบรมรูปทรงม้าเป็นสถานที่ในการจัดรายการฯ โดยอ้างว่าเป็นเขตพระราชฐานและทำให้
กีดขวางการจราจร ซึ่งความเคลื่อนไหวของทั้งสองขั้วการเมืองดังกล่าวนี้ ต่างได้รับทั้งการสนับสนุนและการคัดค้านจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน
เขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ถึงความคิดเห็นที่มีต่อการจัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ตอน ปิดบัญชีทักษิณ ที่จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 11
กุมภาพันธ์ 2549 ตลอดจนประเด็นที่สำคัญต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ภายหลังการชุมนุมในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์
สัญจรดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ตอน ปิดบัญชีทักษิณ
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ตอน ปิดบัญชีทักษิณ
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่อาจเกิดขึ้นภายหลังจากการจัดรายการเมืองไทย
รายสัปดาห์สัญจร ตอน ปิดบัญชีทักษิณ
4. เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อรายการเมืองไทย
รายสัปดาห์สัญจรตอนปิดบัญชีทักษิณ : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล” ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวัน
ที่ 7-8 กุมภาพันธ์ 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิหลายขั้น (Stratified Multi-stage Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,798 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 51.8 เป็นหญิง ร้อยละ 48.2 เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 9.0
อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 21.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 23.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 22.5 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 23.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 75.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 23.1 ระบุสำเร็จการศึกษา
ระดับปริญญาตรี และร้อยละ 1.7 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 27.4 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 25.5
ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 18.8 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 12.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.5 ระบุเป็นนักศึกษา ร้อยละ 6.2 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ และร้อยละ 3.4 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลการสำรวจเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อ
รายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ตอนปิดบัญชีทักษิณ” ซึ่งดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและพักอาศัยอยู่ใน
เขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,798 ตัวอย่าง โดยมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 7-8 กุมภาพันธ์ 2549
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
คณะผู้วิจัยได้เริ่มต้นคำถามในครั้งนี้ด้วยการสอบถามถึงการติดตามข่าวการชุมนุมเคลื่อนไหวของนายสนธิ ลิ้มทองกุล เมื่อวันที่ 4 ก.พ.ที่
ผ่านมา ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 72.9 ระบุติดตามข่าวดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 27.1 ระบุไม่ติดตาม และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถาม
ตัวอย่างถึงท่าทีของทหารที่มีต่อการชุมนุมเคลื่อนไหวของนายสนธิ ลิ้มทองกุล เมื่อวันที่ 4 ก.พ.ที่ผ่านมานั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 59.7 ระบุพอใจ
ในขณะที่ร้อยละ 12.0 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 28.3 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับผลสำรวจความพึงพอใจในบทบาทของฝ่ายค้านที่มีต่อการชุมนุมนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 34.9 ระบุพอใจในขณะที่ร้อยละ
34.5 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 30.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับความพึงพอใจของตัวอย่างที่มีต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในการควบคุมดูแลความสงบของกลุ่มผู้ชุมนุมนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 76.5 ระบุ
พอใจ ในขณะที่ร้อยละ 9.9 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 13.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญคือความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อนายสนธิ ลิ้มทองกุล ภายหลังยื่นถวายฎีกา เมื่อวันที่ 4 ก.พ.ที่ผ่านมานั้น พบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 55.4 ระบุนายสนธิ ควรจะยุติบทบาทภายหลังการถวายฎีกา ในขณะที่ร้อยละ 19.0 ระบุไม่ควรยุติบทบาท และร้อยละ 25.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างเกินกว่า 2 ใน 3 คือร้อยละ 76.0 ระบุเห็นด้วยถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและนายสนธิ ลิ้ม
ทองกุล จะมีการเจรจาปรองดองกันเพื่อยุติปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมด ในขณะที่ร้อยละ 14.0 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 10.0 ไม่ระบุความคิดเห็น
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจการรับรู้รับทราบของประชาชนต่อการจัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ตอนปิดบัญชีทักษิณในวันที่ 11 ก.พ.
นี้ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 67.9 ระบุทราบข่าวดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 32.1 ระบุไม่ทราบข่าว ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัย ได้สอบถามต่อไปถึงความ
สนใจเข้าร่วมชุมนุมในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรในครั้งนี้นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 57.1 ระบุสนใจ ในขณะที่ร้อยละ 42.9 ระบุไม่สนใจ
โดยในกลุ่มผู้ที่ระบุสนใจนั้นคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปถึงความตั้งใจในการเข้าร่วมชุมนุมในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์โดยเปรียบเทียบผลสำรวจความ
ตั้งใจของตัวอย่างในการเข้าร่วมชุมนุมเมื่อวันที่ 4 ก.พ.ที่ผ่านมา กับความตั้งใจเข้าร่วมชุมนุมในวันที่ 11 ก.พ.ที่จะถึงนี้ ซึ่งพบว่าสัดส่วนของ
ตัวอย่างที่ระบุตั้งใจร่วมชุมนุมแน่นอนนั้น เพิ่มขึ้นจากการสำรวจเมื่อมีการชุมนุมครั้งแรก (ครั้งแรกร้อยละ 5.3 ครั้งที่ 2 ร้อยละ 7.5)
อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นต่อรูปแบบรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ที่จะจัดขึ้นนี้ พบว่า ตัวอย่างเกิน
กว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 39.4 ระบุอยากให้จัดเป็นแบบปกติเหมือนที่ผ่านมา โดยรัฐบาลเข้าไปสนับสนุนให้มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ (คืนรายการ
กลับมาที่ช่อง 9) ในขณะที่ร้อยละ 13.0 ระบุจัดเป็นแบบปกติเหมือนที่ผ่านมา โดยรัฐบาลไม่ต้องเข้าไปสนับสนุน (จัดที่สวนลุม) ร้อยละ 12.0 ระบุ
จัดรูปแบบเดิมเหมือนที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ร้อยละ 6.9 จัดรูปแบบอื่นๆ และร้อยละ 28.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจจากหลายๆ ฝ่ายก็คือ การที่นายกรัฐมนตรีไม่อนุญาตให้มีการชุมนุมที่ลานพระบรมรูป
ทรงม้า โดยให้เหตุผลว่าเป็นเขตพระราชฐาน แต่ให้ไปหาสถานที่อื่นจัดการชุมนุมแทน นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 49.0 ระบุเห็นด้วย ในขณะที่ร้อย
ละ 38.3 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 12.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับรายชื่อคณะรัฐมนตรีที่ตัวอย่างระบุต้องการให้นายสนธิ ลิ้มทองกุลเปิดเผยข้อมูล 3 อันดับแรก พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 50.5 ระบุ
ต้องการให้เปิดเผยข้อมูลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 25.5 ระบุเปิดเผยข้อมูลของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจและร้อยละ 15.3 ระบุเปิดเผย
ข้อมูลของคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ตามลำดับ
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความคิดเห็นต่อแกนนำผู้ชุมนุมในการควบคุมฝูงชนให้มีการชุมนุมอย่างสงบนั้น พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 53.8 ระบุเชื่อว่าสามารถควบคุมได้ ในขณะที่ร้อยละ 23.3 ระบุไม่เชื่อว่าจะสามารถควบคุมได้ และร้อยละ 22.9 ไม่ระบุ
ความคิดเห็น สำหรับความเชื่อมั่นต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในการควบคุมดูแลความสงบของกลุ่มผู้ร่วมชุมนุมนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 60.2 ระบุเชื่อมั่น
ในขณะที่ร้อยละ 20.4 ระบุไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 19.4 ไม่ระบุความคิดเห็น
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้วิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นของตัวอย่างต่อ การตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีในขณะนี้ นั้นพบว่า ตัวอย่าง
มีแนวโน้มการเปลี่ยนของตัวเลขที่น่าสนใจเกิดขึ้นจากการสำรวจเมื่อวันที่ 3-4 ก.พ. เปรียบเทียบกับการสำรวจในครั้งนี้ โดยพบว่า สัดส่วน
ของตัวอย่างที่ระบุต้องการให้นายกรัฐมนตรีทำงานต่อไปนั้นเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 33.6 ในการสำรวจครั้งก่อน เป็นร้อยละ 59.3 ในการสำรวจ
เมื่อวันที่ 5-6 ก.พ. และมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยในการสำรวจครั้งล่าสุด (ร้อยละ 54.9) ซึ่งผลการวิเคราะห์พบว่าส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวนี้
น่าจะมาจากการเปลี่ยนแปลงทางความคิดของตัวอย่างที่ไม่ระบุความคิดเห็นในการสำรวจครั้งก่อนหน้านี้ เป็นสำคัญ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวต่อว่า ผลสำรวจล่าสุดพบว่าประชาชนที่สนใจการชุมนุมกับกลุ่มของ
นายสนธิลดลงเพียงเล็กน้อยแต่เมื่อพิจารณาดูในกลุ่มที่สนใจเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มของนายสนธิจะพบว่าความเข้มข้นของความตั้งใจที่จะเข้าร่วม
ไม่แตกต่างไปจากการชุมนุมวันที่ 4 กุมภาพันธ์
สาเหตุอาจจะมาจากการที่นายกรัฐมนตรีใช้เวลาไปกับกลุ่มผู้สนับสนุนที่ทำเนียบรัฐบาลมากเกินไป ควรใช้เวลาบางส่วนให้สัมภาษณ์
ชี้แจงให้ประชาชนหายความสงสัยแคลงใจที่ยังคงมีอยู่จำนวนมาก เช่น เรื่องจริยธรรมนายกรัฐมนตรีจากการซื้อขายหุ้นฯ ของคนใกล้ชิด
ข่าวแอมเพิลริชคู่แฝดที่มีสองสัญชาติ และความรู้สึกที่ไม่ดีในกลุ่มประชาชนกรณีนายกฯ กล่าวพาดพิงเบื้องสูง
“การที่นายกรัฐมนตรีใช้เวลาไปกับการรับดอกไม้ของประชาชนกลุ่มต่างๆ โดยไม่มีการชี้แจงข้อกล่าวหาต่างๆ ตรงกันข้ามนายกรัฐมนตรี
กลับใช้โอกาสนั้นตอบโต้โจมตีคณาจารย์รัฐศาสตร์จุฬาฯ ที่ออกมาเรียกร้องให้ลาออกว่าทำไปโดยขาดสติ ยิ่งไม่เกิดประโยชน์ต่อการสร้างบรรยากาศ
ของความสงบในสังคมที่คนไทยส่วนใหญ่กำลังต้องการอยู่ในขณะนี้ อารมณ์ของสังคมที่ยังไม่เย็นไปเสียทีเดียวอาจจะกลับร้อนแรงมากกว่าเดิมยิ่งขึ้น
ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์อาจมีคนมาร่วมชุมนุมมากไปกว่าวันที่ 4 กุมภาพันธ์อีกด้วย” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า การประกาศของนายกรัฐมนตรีที่ระบุไม่ให้มีการชุมนุม ณ ลานพระบรมรูปทรงม้าอีกแล้ว แม้ว่าประชาชนเกือบครึ่งหนึ่ง
ตอบรับการสั่งห้ามของนายกรัฐมนตรี แต่ประชาชนเกินกว่าหนึ่งในสามซึ่งถือว่าเป็นจำนวนมากไม่เห็นด้วยกับการห้ามชุมนุม ถ้าคนกลุ่มนี้ลุกฮือออกมา
ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ผลการชุมนุมคงไม่จบลงอย่างสงบเหมือนในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เพราะท่าทีของรัฐมนตรีหลายคนยังแสดงออกในลักษณะ
ของการตอบโต้โจมตียั่วยุฝ่ายตรงข้ามและการจุดประเด็นใส่ร้ายป้ายสีกันผ่านสื่อมวลชนอีก ดูเหมือนว่า น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี จะเป็นผู้เดียวในรัฐบาล
ที่มีท่าทีประนีประนอม ถ้านายกรัฐมนตรีมีท่าทีเหมือนโฆษกรัฐบาลผู้นี้คงทำให้ประชาชนมีความหวังอย่างยิ่งว่าความสงบสุขในสถานการณ์ทางการเมือง
ขณะนี้น่าจะเกิดขึ้นโดยเร็ว
“ประชาชนกำลังมีความหวังว่าบุคคลสำคัญสองท่านในขณะนี้คือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรและนายสนธิ ลิ้มทองกุล จะสามารถหันมาเจรจา
กันได้โดยสันติและช่วยกันแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ประกาศว่าจะเป็นหัวเรือใหญ่แก้ปัญหานี้ ก็น่าจะดึงนายสนธิมาเป็นนายท้ายเรือ
ทำหน้าที่เหมือนกับพันท้ายนรสิงห์เพราะนายสนธิเป็นผู้ที่รณรงค์ปลุกกระแสประชาชนให้ต่อต้านทุจริตคอรัปชั่นมาโดยตลอด” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการชุมนุมเคลื่อนไหว “ม็อบสนธิ”
ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549 ที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวการชุมนุมเคลื่อนไหว “ม็อบสนธิ” ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 72.9
2 ไม่ได้ติดตาม 27.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพอใจในท่าทีของทหารที่มีต่อการชุมนุมเคลื่อนไหวของ
นายสนธิ ลิ้มทองกุล ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความพอใจในท่าทีของทหารที่มีต่อการชุมนุมเคลื่อนไหว ค่าร้อยละ
1 พอใจ 59.7
2 ไม่พอใจ 12.0
3 ไม่มีความคิดเห็น 28.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจในบทบาทของฝ่ายค้านที่มีต่อการชุมนุมเคลื่อนไหว
ของนายสนธิ ลิ้มทองกุล เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความพึงพอใจในบทบาทของฝ่ายค้านที่มีต่อการชุมนุมเคลื่อนไหวของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ค่าร้อยละ
1 พอใจ 34.9
2 ไม่พอใจ 34.5
3 ไม่มีความคิดเห็น 30.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพอใจต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการควบคุม
ดูแลความสงบของกลุ่มผู้ชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ค่าร้อยละ
1 พอใจ 76.5
2 ไม่พอใจ 9.9
3 ไม่มีความคิดเห็น 13.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการยุติบทบาทของนายสนธิ ลิ้มทองกุล
หลังถวายฎีกา
ลำดับที่ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการยุติบทบาทของนายสนธิ ลิ้มทองกุล หลังถวายฎีกา ค่าร้อยละ
1 ควรยุติบทบาท 55.4
2 ไม่ควรยุติบทบาท 19.0
3 ไม่มีความคิดเห็น 25.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และนายสนธิ ลิ้มทองกุล
ควรจะมีการเจรจาปรองดองกันเพื่อยุติปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมด
ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และนายสนธิ ลิ้มทองกุลควรจะมีการเจรจาปรองดองกัน ค่าร้อยละ
เพื่อยุติปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมด
1 เห็นด้วย 76.0
2 ไม่เห็นด้วย 14.0
3 ไม่มีความคิดเห็น 10.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวการจัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร
ในวันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2549
ลำดับที่ การรับทราบข่าวการจัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ค่าร้อยละ
1 ทราบ 67.9
2 ไม่ทราบ 32.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสนใจเข้าร่วมชุมนุมในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร
ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2549
ลำดับที่ ความสนใจเข้าร่วมชุมนุมในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2549 ค่าร้อยละ
1 สนใจ 57.1
2 ไม่สนใจ 42.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างเฉพาะผู้ที่สนใจระบุความตั้งใจจะไปเข้าร่วมชุมนุมในรายการเมืองไทย
รายสัปดาห์สัญจรในครั้งนี้ เปรียบเทียบกับการนัดชุมนุมเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความตั้งใจจะไปเข้าร่วมชุมนุมในรายการเมืองไทย 3-4 กุมภาพันธ์ 7-8 กุมภาพันธ์
รายสัปดาห์สัญจร ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2549 ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 ตั้งใจว่าต้องไปร่วมแน่นอน 5.3 7.5
2 คาดว่าจะไป 11.4 10.8
3 อยากไปแต่กลัวอันตราย 24.0 36.3
4 ไม่เคยคิดที่จะไปเลย 59.3 45.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรูปแบบของรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร
ในครั้งนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อรูปแบบของรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ค่าร้อยละ
1 เป็นแบบปกติเหมือนที่ผ่านมา โดยรัฐบาลเข้าไปสนับสนุนให้มีการถ่ายทอดสด
ทางโทรทัศน์ (คืนรายการกลับมาที่ช่อง 9) 39.4
2 เป็นแบบปกติเหมือนที่ผ่านมา โดยรัฐบาลไม่ต้องเข้าไปสนับสนุน (จัดที่สวนลุม) 13.0
3 จัดรูปแบบเดิมเหมือนที่ลานพระบรมรูปทรงม้า 12.0
4 อื่น ๆ เช่น ให้จัดเหมือนเดิมแต่เปลี่ยนไปจัดที่สนามหลวง/ให้ถ่ายทอดสดทีวีทุกช่อง
/ให้จัดรายการโดยไม่ให้มีการปลุกระดม 6.9
5 ไม่มีความเห็น 28.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีนายกรัฐมนตรีไม่อนุญาตให้มีการชุมนุม
ที่ลานพระบรมรูปทรงม้าโดยให้เหตุผลว่าเป็นเขตพระราชฐานแต่ให้ไปหาสถานที่อื่นจัดการชุมนุมแทน
ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณีนายกรัฐมนตรีไม่อนุญาตให้มีการชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 49.0
2 ไม่เห็นด้วย 38.3
3 ไม่มีความคิดเห็น 12.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรายชื่อรัฐมนตรีที่ต้องการให้นายสนธิ ลิ้มทองกุล เปิดเผยข้อมูล
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ รัฐมนตรีที่ต้องการให้นายสนธิ ลิ้มทองกุล เปิดเผยข้อมูลการทำงาน ค่าร้อยละ
1 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 50.5
2 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 25.5
3 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ 15.3
4 นายเนวิน ชิดชอบ 8.4
5 นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ 7.8
6 นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล 6.6
7 พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา 6.0
8 นายวัฒนา เมืองสุข 4.2
9 นายจาตุรนต์ ฉายแสง 3.9
10 อื่นๆ อาทิ นายภูมิธรรม เวชยชัย/
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ /นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นต้น 12.6
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อต่อแกนนำผู้ชุมนุมในการควบคุมฝูงชน
ให้มีการชุมนุมอย่างสงบได้ (ในการชุมนุมวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2549)
ลำดับที่ ความเชื่อต่อแกนนำผู้ชุมนุมในการควบคุมฝูงชนให้มีการชุมนุมอย่างสงบ ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าสามารถควบคุมได้ 53.8
2 ไม่เชื่อว่าสามารถควบคุมได้ 23.3
3 ไม่มีความคิดเห็น 22.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในการควบคุมดูแลความสงบของ
กลุ่มผู้ชุมนุมในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ในวันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2549
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในการควบคุมดูแลความสงบ ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 60.2
2 ไม่เชื่อมั่น 20.4
3 ไม่มีความคิดเห็น 19.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อนายกรัฐมนตรีในการตัดสินใจเพื่อดำเนินการ
ใดๆ ในสถานการณ์ขณะนี้
ความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจ 1-2 ก.พ. 49 3-4 ก.พ. 49 5-6 ก.พ. 49 7-8 ก.พ. 49
ดำเนินการของนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1.ทำงานต่อ 37.3 33.6 59.3 54.9
2.ยุบสภา 7.0 7.2 8.8 9.5
3.ลาออก 15.5 14.6 14.5 14.2
4.อื่นๆ อาทิ
ให้หันหน้ามาเจรจากับนายสนธิ /
ให้ไตร่ตรองการทำงานอย่างรอบคอบ /
ให้แถลงข้อเท็จจริงให้ประชาชนรับทราบ 4.9 6.2 0.9 1.8
5.ไม่มีความคิดเห็น 35.3 38.4 16.5 19.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-