ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยว่า ศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และ วิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) หรือ เอแบคโพลล์ ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป. ท.) ดำเนินโครงการความร่วมมือทางวิชาการ วิจัยเรื่อง ประเมินสถานการณ์ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในภาครัฐ และประสบการณ์ในการถูกเรียกรับผล ประโยชน์จากเจ้าหน้าที่รัฐ กรณีศึกษาประชาชนทั่วไป กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจ และสมาชิกรัฐสภา ดำเนินการศึกษาระหว่างวันที่ 19 ตุลาคม ถึง 19 พฤศจิกายน 2552 รวมจำนวนทั้งสิ้น 2,129 ตัวอย่าง
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยได้พบสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.2 และ กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจส่วนใหญ่หรือร้อย ละ 65.1 มองว่าปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในสังคมไทยอยู่ในระดับที่รุนแรงมากถึงมากที่สุด โดยประชาชนทั่วไปที่มีประสบการณ์ปัญหาต้องจ่ายเงิน เลี้ยงดูปู เสื่อ สินบน ส่วย และ เงินใต้โต๊ะให้เจ้าหน้าที่รัฐตลอดประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมามีอยู่ ร้อยละ 39.8 ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมามีอยู่ร้อยละ 23.6 และในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมามีอยู่ร้อยละ 18.4 ในขณะที่กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจจะประสบปัญหาหนักมากกว่า คือ ร้อยละ 50.6 เคยต้องจ่ายในช่วง ประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา ร้อยละ 34.6 เคยจ่ายในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และร้อยละ 26.0 เคยจ่ายในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เมื่อ ดูกรอบเวลาของปัญหา จะเห็นได้ว่าสถานการณ์ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นมีแนวโน้มลดลง จากช่วงเวลาประสบการณ์ชีวิตของคนตอบ จนถึงช่วง 6 เดือนที่ผ่าน มา หมายความว่า ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา สถานการณ์ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นน้อยกว่าในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
โดยทั้งประชาชนทั่วไปและกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจ ประสบปัญหาต้องจ่ายให้กับ “ตำรวจ” มากกว่ากลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐอื่นๆ แต่สถานการณ์ ปัญหาเริ่มลดลงเช่นกัน คือ ในกลุ่มประชาชนตลอดประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมาเคยต้องจ่ายให้ตำรวจร้อยละ 27.8 ลดลงเหลือร้อยละ 12.3 ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา รองลงมาคือ กลุ่มเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน ลดลงจากร้อยละ 11.1 เหลือร้อยละ 3.0 และเจ้าหน้าที่อำเภอ หรือสำนักงานเขต ลดลงจาก ร้อยละ 10.9 เหลือร้อยละ 3.9 ข้าราชการส่วนท้องถิ่น เช่น อบต. เทศบาล และ อบจ. ลดลงจากร้อยละ 9.8 เหลือร้อยละ 4.7 แต่ที่น่าสังเกต จะพบว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกกระทรวง ทบวง กรม มีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นทั้งสิ้น กล่าวคือทั้งประชาชนและผู้ประกอบการธุรกิจต่างก็ประสบปัญหาทุจริต คอรัปชั่นกับเจ้าหน้าที่รัฐในทุกหน่วยงาน
โดยผลสำรวจพบด้วยว่า กลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐที่ประชาชนทั่วไปเคยจ่ายเงิน เลี้ยงดูปูเสื่อ เป็นกลุ่มข้าราชการชั้นผู้น้อย ให้อันดับแรก หรือ ร้อยละ 86.6 ของคนที่เคยจ่ายระบุเป็น ตำรวจ รองลงมาคือ ร้อยละ 77.0 จ่ายให้ข้าราชการส่วนท้องถิ่น เช่น อบต. เทศบาล อบจ. เป็นต้น ร้อย ละ 76.9 จ่ายให้เจ้าหน้าที่กรมที่ดิน ร้อยละ 73.5 จ่ายให้เจ้าหน้าที่กรมขนส่ง และร้อยละ 71.6 จ่ายให้เจ้าหน้าที่อำเภอ หรือสำนักงานเขต
แต่ในกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจที่ยังคงต้องเลี้ยงดูปูเสื่อ หรือจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่รัฐ ระบุส่วนใหญ่เป็นกลุ่มข้าราชการชั้นผู้น้อย โดยส่วน ใหญ่ หรือร้อยละ 90.4 เป็นตำรวจ ร้อยละ 90.1 เป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร ร้อยละ 87.0 เป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิต ร้อยละ 84.1 เป็นเจ้า หน้าที่สำนักงานเขต ร้อยละ 82.5 เป็นเจ้าหน้าที่กรมขนส่ง ร้อยละ 78.6 เป็นเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน ร้อยละ 76.3 เป็นข้าราชการ กทม. เทศกิจ ร้อย ละ 75.0 เป็นทหาร และร้อยละ 59.1 เป็นเจ้าหน้าที่กรมการค้า ตามลำดับ
เมื่อวิเคราะห์ค่าสถิติเฉลี่ยของเงินที่กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจต้องจ่าย เลี้ยงดูปูเสื่อ เงินสินบน ส่วย ใต้โต๊ะให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ ทุกกลุ่ม พบ ว่า เฉลี่ยเดือนละ 4,803 บาท ค่าต่ำสุดเดือนละ 500 บาท และค่าสูงสุดที่ค้นพบครั้งนี้คือ 40,000 บาทต่อเดือน
ที่น่าเป็นห่วงคือ แม้แต่ในกลุ่มสมาชิกรัฐสภา คือ ส.ส. และ ส.ว. ยังมีทัศนคติอันตรายที่มองว่าการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดา ในการประกอบธุรกิจ มีเกินกว่า 1 ใน 4 ของผู้ถูกศึกษาหรือร้อยละ 28.4 ของกลุ่ม ส.ส. และร้อยละ 30.2 ในกลุ่ม ส.ว. นอกจากนี้ ทัศนคติที่มอง ว่า รัฐบาลทุกรัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นด้วยกันทั้งนั้น แต่ถ้าคอรัปชั่นแล้ว ทำให้ประเทศชาติรุ่งเรือง ประชาชนอยู่ดีกินดี ก็ยอมรับได้ มีเกินกว่า 1 ใน 4 เช่นกันหรือร้อยละ 26.5 ในกลุ่ม ส.ส. แต่ในกลุ่ม ส.ว.จะมีอยู่น้อยกว่าคือ มีอยู่ร้อยละ 15.4 ของผู้ถูกศึกษาที่เป็น ส.ส. และ ส.ว.ทั้งหมด
สำหรับข้อเสนอแนะจากประชาชนในการแก้ปัญหาคอรัปชั่น เกือบร้อยละร้อย เสนอแนะดังต่อไปนี้ อันดับแรก ควรมีระบบฐานข้อมูลเฝ้า ระวังปัญหาทุจริตคอรัปชั่น รัฐบาลไทยและหน่วยงานรัฐต้องพร้อมถูกตรวจสอบจากภาคประชาชนอย่างโปร่งใส และทุกหน่วยงานของรัฐมีศูนย์รับเรื่องราว ร้องทุกข์ที่เป็นองค์กรอิสระภายนอกประจำกระทรวง หรือ หน่วยงานหลักต่างๆ และรณรงค์ปลูกจิตสำนึกความตระหนักต่อผลร้ายของปัญหาคอรัปชั่นแก่ เด็กและเยาวชน ตามลำดับ
ผ.อ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า จากผลสำรวจชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า สาธารณชนมองสถานการณ์ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นอยู่ในระดับรุนแรงกว่าปัญหา ยาเสพติดประมาณ 4 ถึง 5 เท่า ทั้งในแง่ทัศนคติและประสบการณ์ปัญหาที่ประสบด้วยตัวเอง ดังนั้น รัฐบาลชุดปัจจุบันที่มีนายกรัฐมนตรีมีภาพลักษณ์ความดี ควรใช้จุดแข็งด้านความซื่อสัตย์สุจริตเป็นตัวนำทางสู่การปฏิบัติการกวาดล้างปัญหาทุจริตคอรัปชั่นให้ลดน้อยลงไปจากสังคมไทยอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยนายกรัฐมนตรีน่าจะนั่งเป็นประธานแก้ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นด้วยตนเอง เพราะประชาชนส่วนใหญ่ในสังคมไทยทราบดีว่า การทุจริตคอรัปชั่นเป็น ปัญหาสำคัญที่กระทบต่อความมั่นคงทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของชาติ
รายละเอียดงานวิจัย
1. เพื่อประเมินสถานการณ์ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในภาครัฐและประสบการณ์ในการถูกเรียกรับผลประโยชน์จากเจ้าหน้าที่รัฐจากประชาชนทั่วไป และผู้ประกอบการธุรกิจ
2. เพื่อสำรวจทัศนคติต่อการทุจริตคอรัปชั่นจากประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบการธุรกิจ และสมาชิกรัฐสภา
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ประเมินสถานการณ์ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นใน ภาครัฐและประสบการณ์ในการถูกเรียกรับผลประโยชน์จากเจ้าหน้าที่รัฐ : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบการธุรกิจ และสมาชิกรัฐสภา” ดำเนิน การศึกษาระหว่างวันที่ 19 ตุลาคม - 19 พฤศจิกายน 2552 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม โดยมีกระบวนการเลือกตัวอย่าง และวิธีการเก็บข้อมูลที่แตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้
1. กลุ่มประชาชนทั่วไป จาก 17 จังหวัดทั่วประเทศ สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอด คล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,290 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 เก็บ ข้อมูลโดยใช้เรียลไทม์โพลล์ (Real-Time Survey) ซึ่งเป็นการสำรวจแบบรวดเร็วฉับไว ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์
2. กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจในเขตกรุงเทพมหานคร สุ่มตัวอย่างแบบโควต้า (Quota Sampling) ตามประเภทของสถานประกอบ การ อาทิ สถานบริการ /สถานบันเทิง/ร้านอาหาร คอนโดมิเนียม อพาร์ทเม้นท์ ร้านเกม/ร้านอินเทอร์เน็ต สถานบริการน้ำมัน (ปั๊มน้ำมัน/ปั๊มแก๊ส) และโต๊ะสนุกเกอร์ ในพื้นที่ที่ได้จากการสุ่ม ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 630 ตัวอย่าง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเข้าถึงตัว
3. กลุ่มสมาชิกรัฐสภา ทั้ง ส.ส. และ ส.ว. จำนวนทั้งสิ้น 209 ราย
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นองมหาวิทยาลัย มีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 90 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง กลุ่มประชาชนทั่วไป
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างร้อยละ 61.2 เป็นเพศหญิง
ร้อยละ 38.8 เป็นเพศชาย
ร้อยละ 4.7 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 13.6 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 18.1 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 25.1 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 38.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.9 สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 21.7 สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช.
ร้อยละ 9.8 สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา/ปวส.
ร้อยละ 31.5 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 6.1 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 14.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 9.1 ระบุอาชีพลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 21.0 ระบุอาชีพค้าขายรายย่อย/อิสระ
ร้อยละ 8.9 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา
ร้อยละ 6.6 ระบุอาชีพรับจ้างใช้แรงงานทั่วไป
ร้อยละ 10.0 ระบุอาชีพเกษตรกร/ประมง
ร้อยละ 18.9 ระบุอาชีพพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.9 ระบุว่างงาน ร้อยละ 4.2 ระบุอาชีพอื่น ๆ
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง ร้อยละ 50.2 เป็นเพศชาย
ร้อยละ 49.8 เป็นเพศหญิง
ร้อยละ 0.6 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 30.6 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 31.6 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 22.6 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 14.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 26.6 สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 25.4 สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช.
ร้อยละ 7.3 สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา/ปวส.
ร้อยละ 36.7 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
สมาชิกรัฐสภาที่รวบรวมข้อมูลได้ ประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จำนวน 154 ท่าน คิดเป็นร้อยละ 73.7 และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จำนวน 55 ท่าน คิดเป็นร้อยละ 26.3 โดยร้อยละ 84.7 เป็นเพศชาย ร้อยละ 15.3 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 12.9 ระบุอายุต่ำกว่า 40 ปี ร้อยละ 28.7 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี ร้อยละ 28.2อายุระหว่าง 50 - 59 ปี ร้อยละ 29.7 อายุ 60 ปีขึ้นไป โดยมีร้อยละ 0.5 ไม่ระบุอายุ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ ระดับความรุนแรง ประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบการธุรกิจ 1 รุนแรงมาก ถึงมากที่สุด 59.2 65.1 2 ค่อนข้างรุนแรง 28.8 25.7 3 ไม่ค่อยรุนแรง 9.7 5.5 4 ไม่รุนแรง ถึงไม่มีปัญหาเลย 2.3 3.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประสบการณ์เคยจ่ายเมื่อถูกรีดไถ เรียกรับผลประโยชน์ สินบน ส่วยให้เจ้าหน้าที่รัฐ ลำดับที่ กลุ่มผู้ถูกศึกษา ตลอดประสบการณ์ในชีวิต ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เคยเจอเคยจ่าย ไม่เคย เคยเจอเคยจ่าย ไม่เคย เคยเจอเคยจ่าย ไม่เคย 1 ประชาชนทั่วไป 39.8 60.2 23.6 76.4 18.4 81.6 2 กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจ 50.6 49.4 34.6 65.4 26.0 74.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนทั่วไป ที่ระบุการเคยเจอเคยจ่าย เมื่อถูกรีดไถ หรือเรียกรับเงินใต้โต๊ะ/สินบน/ส่วย/ผลประโยชน์/ เลี้ยงดูปูเสื่อให้กับกลุ่มข้าราชการในหน่วยงานต่างๆ ลำดับที่ ข้าราชการในสังกัดหน่วยงานต่างๆ ตลอดประสบการณ์ในชีวิต ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
เคยเจอเคยจ่าย ไม่เคย เคยเจอเคยจ่าย ไม่เคย เคยเจอเคยจ่าย ไม่เคย
1 ตำรวจ 27.8 72.2 14.5 85.5 12.3 87.7 2 เจ้าหน้าที่กรมที่ดิน 11.1 88.9 5.2 94.8 3.0 97.0 3 เจ้าหน้าที่อำเภอ หรือ สำนักงานเขต 10.9 89.1 5.6 94.4 3.9 96.1 4 ข้าราชการส่วนท้องถิ่น เช่น อบต. เทศบาล อบจ. 9.8 90.2 5.3 94.7 4.7 95.3 5 ครูอาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา 9.0 91.0 3.7 96.3 2.5 97.5 6 เจ้าหน้าที่กรมขนส่ง 7.9 92.1 3.5 96.5 3.1 96.9 7 ทหาร/สัสดี 4.4 95.6 1.8 98.2 0.5 99.5 8 เจ้าหน้าที่กรมสรรพากร 3.9 96.1 1.2 98.8 1.2 98.8 9 เจ้าหน้าที่สถาบันการเงิน การธนาคารของรัฐ 2.3 97.7 0.7 99.3 0.7 99.3 10 เจ้าหน้าที่กรมการค้า 2.2 97.8 0.9 99.1 0.5 99.5 11 เจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิต 1.4 98.6 0.4 99.6 0.4 99.6 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนทั่วไป ที่ระบุระดับของข้าราชการที่เคยเจอ/เคยจ่ายเงินใต้โต๊ะ (เฉพาะตัวอย่างที่เคยจ่าย และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ข้าราชการในสังกัดหน่วยงานต่างๆ ข้าราชการชั้นผู้น้อย ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ 1 ตำรวจ 86.6 15.9 2 ข้าราชการส่วนท้องถิ่น เช่น อบต. เทศบาล อบจ. 77.0 30.2 3 เจ้าหน้าที่กรมที่ดิน 76.9 18.9 4 เจ้าหน้าที่กรมขนส่ง 73.5 13.7 5 เจ้าหน้าที่อำเภอ หรือ สำนักงานเขต 71.6 24.1 6 ทหาร/สัสดี 61.4 22.8 7 เจ้าหน้าที่กรมการค้า 60.7 14.3 8 เจ้าหน้าที่สถาบันการเงิน การธนาคารของรัฐ 56.7 16.7 9 เจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิต 55.6 11.1 10 ครูอาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา 54.3 42.2 11 เจ้าหน้าที่กรมสรรพากร 48.0 24.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างผู้ประกอบการธุรกิจ ที่ระบุการเคยพบเจอในการติดต่อกับข้าราชการในสังกัดหน่วยงานต่างๆ ที่รีดไถ หรือเรียกรับเงินใต้โต๊ะ/สินบน/ส่วย/ผลประโยชน์/การเลี้ยงดูปูเสื่อให้กับกลุ่มข้าราชการหน่วยงานต่างๆ ลำดับที่ ข้าราชการในสังกัดหน่วยงานต่างๆ ตลอดประสบการณ์ในชีวิต ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
เคยเจอเคยจ่าย ไม่เคย เคยเจอเคยจ่าย ไม่เคย เคยเจอเคยจ่าย ไม่เคย
1 ตำรวจ 42.9 57.1 28.3 71.7 22.1 77.9 2 ข้าราชการ กทม. / เทศกิจ 15.4 84.6 8.1 91.9 4.8 95.2 3 เจ้าหน้าที่สำนักงานเขต 14.0 86.0 8.3 91.7 4.8 95.2 4 เจ้าหน้าที่กรมสรรพากร 12.9 87.1 7.9 92.1 5.2 94.8 5 เจ้าหน้าที่กรมที่ดิน 8.9 91.1 3.2 96.8 2.1 97.9 6 เจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิต 8.6 91.4 5.4 94.6 4.4 95.6 7 เจ้าหน้าที่กรมขนส่ง 6.3 93.7 2.9 97.1 1.9 98.1 8 ทหาร 3.8 96.2 1.7 98.3 1.1 98.9 9 เจ้าหน้าที่กรมการค้า 3.5 96.5 0.8 99.2 0.6 99.4 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างผู้ประกอบการธุรกิจ ที่ระบุระดับของข้าราชการที่เคยเจอ/เคยจ่ายเงินใต้โต๊ะ/ส่วย/ผลประโยชน์/ การเลี้ยงดูปูเสื่อข้าราชการ (เฉพาะตัวอย่างที่เคยจ่าย และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ข้าราชการในสังกัดหน่วยงานต่างๆ ข้าราชการชั้นผู้น้อย ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ 1 ตำรวจ 90.4 19.3 2 เจ้าหน้าที่กรมสรรพากร 90.1 12.3 3 เจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิต 87.0 13.0 4 เจ้าหน้าที่สำนักงานเขต 84.1 17.0 5 เจ้าหน้าที่กรมขนส่ง 82.5 17.5 6 เจ้าหน้าที่กรมที่ดิน 78.6 10.7 7 ข้าราชการ กทม. / เทศกิจ 76.3 14.4 8 ทหาร 75.0 16.7 9 เจ้าหน้าที่กรมการค้า 59.1 27.2 ตารางที่ 7 แสดงค่าเฉลี่ยของวงเงินสินบน ส่วย ผลประโยชน์ ต่อเดือนที่กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจต้องจ่ายให้เจ้าหน้าที่รัฐ ลำดับที่ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด 1 4,803 บาท 500 บาท 40,000 บาท ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างสมาชิกรัฐสภา ที่ระบุความคิดเห็นต่อการคอรัปชั่นในสังคมไทย ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) การคอรัปชั่นในสังคมไทย ยอมรับ ไม่ยอมรับ ยอมรับ ไม่ยอมรับ 1 การทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการทำธุรกิจ 28.4 71.6 30.2 69.8 2 รัฐบาลทุกรัฐบาลมีทุจริตคอรัปชั่นทั้งนั้น ถ้าทุจริตคอรัปชั่น แล้วทำให้ประเทศชาติรุ่งเรือง ประชาชนกินดีอยู่ดี ก็พอยอมรับได้ 26.5 73.5 15.4 84.6 ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนทั่วไป ที่ระบุความคิดเห็นต่อข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาคอรัปชั่น ลำดับที่ ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาคอรัปชั่น เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย รวมทั้งสิ้น 1 ควรมีระบบฐานข้อมูลเฝ้าระวังปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 97.5 2.5 100.0 2 รัฐบาลไทยและหน่วยงานภาครัฐต้องพร้อมถูกตรวจสอบ จากภาคประชาชนอย่างโปร่งใส 97.1 2.9 100.0 3 ทุกหน่วยงานของรัฐ มีศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ที่เป็นองค์กรอิสระภายนอกประจำกระทรวง หรือ ประจำหน่วยงานหลักนั้นๆ 97.1 2.9 100.0 4 ปลูกฝังจิตสำนึกความตระหนักต่อผลร้ายของปัญหาคอรัปชั่นแก่เด็กและเยาวชนผ่านระบบการศึกษา 95.9 4.1 100.0 5 หน่วยงานราชการควรตรวจสอบข้าราชการในสังกัดไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับธุรกิจที่ผิดกฎหมายหรือ ผิดศีลธรรม เช่น หวย บ่อน อาบอบนวด 94.9 5.1 100.0 6 ให้สื่อมวลชนมีอิสระในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ 94.0 6.0 100.0 7 ไม่ควรรับข้าราชการที่มีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นเข้ารับราชการได้อีก 93.3 6.7 100.0 8 นักการเมืองทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่นที่มีความผิดทุจริตคอรัปชั่น จะไม่สามารถ สมัครรับเลือกตั้งได้อีก 92.7 7.3 100.0 9 รัฐบาลเพิ่มงบประมาณให้หน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบคอรัปชั่น 71.6 28.4 100.0 10 กฎหมายสามารถเอาผิดผู้ที่มีพฤติกรรมที่น่าเชื่อได้ว่าทุจริตคอรัปชั่น โดยไม่ต้องมีใบเสร็จ เป็นหลักฐาน 65.5 34.5 100.0 --เอแบคโพลล์-- -พห-