ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “การจัดอันดับมหาวิทยาลัยไทย
ในทรรศนะนักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐเขตกรุงเทพมหานคร” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐจำนวนทั้งสิ้น
1,152 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 1-2 กันยายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ผลการสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.2 ระบุติดตามข่าวการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ขณะที่มีเพียงร้อยละ 31.8 ระบุไม่ได้ติดตามข่าว แต่เมื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบที่มีต่อตัวเองหากมหาวิทยาลัยที่กำลังศึกษาอยู่ถูกจัดให้
อยู่ในอันดับท้ายๆ พบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 72.8 คิดว่าจะทำให้หางานทำได้ยากขึ้นหลังเรียนจบ ในขณะที่ จำนวนมากหรือร้อยละ 46.4 คิดว่าจะ
ทำให้สังคมไม่ยอมรับตัวนักศึกษา แต่เมื่อคณะผู้วิจัยสอบถามตัวอย่างถึงความภูมิใจและความเชื่อมั่นต่อสถาบันการศึกษาของตนเองหากถูกจัดอยู่ในอันดับ
ท้ายๆ พบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่ยังมีความภูมิใจในสถาบัน รวมทั้งภูมิใจในตัวเอง และยังเชื่อมั่นต่อสถาบันที่ตนเองศึกษาอยู่เท่าเดิม คิดเป็นร้อยละ 66.5
ร้อยละ 69.0 และ ร้อยละ 63.7 ตามลำดับ
ในเรื่องของความเชื่อมั่นต่อการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) พบว่า นักศึกษาจำนวนมากหรือร้อยละ
39.3 ไม่เชื่อมั่นต่อการจัดอันดับดังกล่าว โดยให้เหตุผลสำคัญคือ เกณฑ์ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยไม่มีความชัดเจน ไม่ครอบคลุม ไม่เชื่อถือหน่วยงานที่
ทำการจัดอันดับ ใช้หน่วยงาน/คนกลุ่มเดียวเป็นผู้ตัดสินประเมิน เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 23.6 ระบุเชื่อมั่น และร้อยละ 37.1 ไม่ระบุความคิดเห็น
ในประเด็นสุดท้ายที่ค้นพบคือแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อคุณภาพทางการศึกษาไทยโดยตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 37.3 เห็นว่าการศึกษา
ของไทยควรปรับปรุงในด้านหลักสูตรและพัฒนาคุณภาพการศึกษา รองลงมาคือร้อยละ 27.5 ระบุควรเพิ่มจำนวนบุคลากรทางการศึกษาให้เพียงพอต่อ
ความต้องการ ร้อยละ 15.1 ระบุควรจัดระบบการศึกษาให้ได้มาตรฐานเท่าเทียมกัน ร้อยละ 14.8 ระบุรัฐบาลควรให้การสนับสนุนทางด้านการศึกษา
อย่างจริงจัง ร้อยละ 13.5 ระบุควรพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีที่ใช้ในการเรียนการสอน ร้อยละ 10.4 ระบุให้เน้นการปฏิบัติงานจริงมากกว่าการศึกษา
ในห้องเรียน นอกจากนี้ตัวอย่างยังระบุให้พัฒนาด้านจริยธรรม คุณธรรมให้กับนักศึกษา เพิ่มมาตรฐานการวัดและประเมินผลทางด้านการศึกษา เพิ่มทุนใน
การทำวิจัย เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้แสดงให้เห็นชัดเจนถึงผลกระทบด้านจิตวิทยาต่อตัวนักศึกษาอย่างน่าเป็นห่วง ทั้งๆ ที่กลุ่มนักศึกษาที่ถูก
สำรวจส่วนใหญ่ไม่ได้แสดงความกังวลต่อผลการจัดอันดับที่มีต่อสถาบันการศึกษาของตนเพราะยังคงเชื่อมั่นและภูมิใจต่อสถาบันที่พวกเขากำลังศึกษาอยู่ แต่
แสดงความกังวลต่อการหางานทำและการยอมรับจากสังคม ถ้ามหาวิทยาลัยของตนเองถูกประกาศออกไปว่าสถาบันของตนอยู่ในอันดับท้ายๆ ของการจัด
อันดับ คณะทำงานด้านการจัดอันดับจึงควรพิจารณาตนเองและน่าจะออกมาขอโทษนักศึกษาเหล่านี้หรือแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย
“เจตนาที่ดีอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อผลการกระทำที่สร้างผลกระทบต่อความรู้สึกของเด็กนักศึกษาส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งการที่พวก
เขาเหล่านั้นเขาไปรับการศึกษาตามสถาบันการศึกษาที่ถูกจัดอันดับท้ายๆ อาจเป็นเพราะบรรดาผู้ใหญ่ในสังคมที่ไม่สามารถปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จลง
ได้ ทำให้คุณภาพและโอกาสทางการศึกษาไม่ได้ถูกกระจายไปยังพื้นที่และภูมิภาคต่างๆ ของประเทศอย่างเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ เด็กนักศึกษาส่วน
ใหญ่อาจได้รับผลกระทบจากการสร้างมาตรฐานทดสอบแบบโอเน็ต — เอเน็ตหรือการสอบเอ็นทรานซ์ในอดีตที่มีปัญหาทำให้พวกเขาต้องไปเข้าสู่สถาบัน
การศึกษาบางแห่งที่เป็นทางเลือกที่สองหรือที่สามโดยจำเป็น ทั้งๆ ที่นักศึกษาทุกคนอาจต้องการเข้าสู่ระบบการศึกษาผ่านสถาบันที่ได้รับความเชื่อถือจาก
สังคมในอันดับต้นๆ การออกมาประกาศผลการจัดอันดับครั้งนี้จึงไม่ค่อยจะเป็นธรรมกับบรรดานักศึกษาที่ได้รับผลกระทบโดยตรงเท่าใดนัก แนวทางที่น่าจะ
เหมาะสมกว่าคือ ในระยะแรกกระทรวงศึกษาธิการควรใช้วิธีการจัดอันดับที่จะทำให้สถาบันการศึกษาต่างๆ แข่งขันกับตัวเอง ก่อนที่จะไปสร้างแรงกดดัน
ให้เกิดการแข่งขันระหว่างสถาบัน การสร้างการแข่งขันภายในตัวสถาบันแต่ละแห่งคือ การส่งเสริมด้วยวิธีวัดประเมินจากกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องของ
สถาบันนั้นๆ เช่น วัดจากผู้บริหาร บุคลากรทางวิชาการ นักศึกษา และสังคมที่ใช้นักศึกษาที่เป็นผลผลิตจากสถาบันการศึกษาเหล่านั้น โดยไม่ต้องมีการจัด
อันดับระหว่างสถาบัน เป็นต้น” ดร.นพดล กล่าว
รายละเอียดโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อให้ทราบถึงแนวความคิด และทัศนคติของนักศึกษาที่มีต่อการศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบัน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดอันดับมหาวิทยาลัย
3. เพื่อสำรวจความมั่นใจและความเชื่อมั่นในสถาบันอุดมศึกษาที่นักศึกษากำลังศึกษาอยู่
4. เพื่อสำรวจปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัย
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง การจัดอันดับมหาวิทยาลัยไทยในทรรศนะนักศึกษา
มหาวิทยาลัยของรัฐเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 1-2 กันยายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐ ในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับ
ประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,152 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ + / - ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 44.6 ระบุเป็นชาย
ในขณะที่ ร้อยละ 55.4 ระบุเป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 49.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 39.7 อายุระหว่าง 20-22 ปี
และร้อยละ 10.7 อายุมากกว่า 22 ปี
ระดับการศึกษากลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 45.0 ระบุว่าเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1
ร้อยละ 22.2 ระบุเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2
ร้อยละ 16.6 เป็นนักเรียนชั้นปีที่ 3
และร้อยละ 16.2 ระบุว่าเป็นที่กำลังศึกษาในระดับชั้นปีที่ 4
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ของคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.)
ลำดับที่ การรับทราบข่าว ค่าร้อยละ
1 ทราบ 68.2
2 ไม่ทราบ 31.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ โอกาสหางานทำหลังเรียนจบหากมหาวิทยาลัยที่กำลังศึกษาอยู่ถูกจัด
ให้อยู่อันดับท้ายๆ
ลำดับที่ โอกาสหางานทำหลังเรียนจบ ค่าร้อยละ
1 ไม่มีผล 20.9
2 หางานทำยากขึ้น 72.8
3 ไม่มีความคิดเห็น 6.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ โอกาสหางานทำหลังเรียนจบหากมหาวิทยาลัยที่กำลังศึกษาอยู่ถูกจัด
ให้อยู่อันดับท้ายๆ จำแนกตามกลุ่ม
ลำดับที่ โอกาสหางานทำหลังเรียนจบ มหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐอื่นๆ
1 ไม่มีผล 23.0 19.2 18.5
2 หางานทำยากขึ้น 70.6 73.6 76.5
2 ไม่มีความคิดเห็น 6.4 7.2 5.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
หมายเหตุ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐอื่นๆ เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การยอมรับทางสังคมหากมหาวิทยาลัยที่กำลังศึกษาอยู่ถูกจัดให้อยู่อันดับท้ายๆ
ลำดับที่ การยอมรับทางสังคม ค่าร้อยละ
1 สังคมไม่ยอมรับ 46.4
2 ไม่มีผล 39.3
3 ไม่มีความคิดเห็น 14.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกหากมหาวิทยาลัยที่กำลังศึกษาอยู่ถูกจัดให้อยู่อันดับท้ายๆ
ลำดับที่ ความรู้สึกที่ได้รับ ลดลง เท่าเดิม ไม่มีความเห็น รวมค่าร้อยละ
1 ด้านความภูมิใจในสถาบันการศึกษาที่เรียนอยู่ 26.2 66.5 7.3 100.0
2 ด้านความภูมิใจในตนเอง 23.5 69.0 7.5 100.0
3 ด้านความเชื่อมั่นต่อสถาบันการศึกษาของตนเอง 28.2 63.7 8.1 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ของคณะกรรมการการอุดมศึกษา(กกอ.)
ลำดับที่ ความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 23.6
2 ไม่เชื่อมั่น เพราะ ... เกณฑ์ในการจัดอันดับไม่ชัดเจน / ใช้เกณฑ์การจัดอันดับที่ไม่ครอบคลุม /
หน่วยงานที่ทำการจัดอันดับไม่มีความน่าเชื่อถือขาดประสิทธิภาพ / ใช้หน่วยงานเดียว/
คนกลุ่มเดียวเป็นผู้ตัดสินประเมิน เป็นต้น 39.3
3 ไม่มีความเห็น 37.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ แนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อคุณภาพการศึกษาไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ แนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อคุณภาพการศึกษาไทย ค่าร้อยละ
1 ควรที่จะปรับปรุงหลักสูตรและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น 37.3
2 เพิ่มจำนวนอาจารย์ที่มีคุณภาพให้เพียงพอต่อความต้องการ 27.5
3 จัดระบบการศึกษาให้เท่าเทียมกัน 15.1
4 รัฐบาลควรให้การสนับสนุนทางด้านการศึกษาอย่างจริงจัง 14.8
5 พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีที่ใช้ในการเรียนการสอน 13.5
6 มุ่งเน้นการฝึกปฏิบัติงานจริงมากกว่าการศึกษาภายในห้องเรียน
โดยให้นักศึกษาได้ทำการฝึกปฏิบัติงานจริงและสามารถแสดงออกทางความคิดได้เต็มที่ 10.4
7 พัฒนาทางด้านจริยธรรมให้กับนักศึกษาเพิ่มมากขึ้น 6.8
8 เพิ่มมาตรฐานการวัดและการประเมินผลทางด้านการศึกษา 5.2
9 ให้ทุนในการทำกิจกรรมของนักศึกษา / เพิ่มทุนในการทำวิจัย 5.1
10 การสอบเข้าศึกษาต่อภายในมหาวิทยาลัยของรัฐ (การสอบ Entrance)
ควรมีความโปร่งใสและสามารถใช้วัดผลการเรียนได้อย่างแท้จริง 4.1
11 ควรสนับสนุนและส่งเสริมให้รักการอ่านและกิจกรรมทางด้านการศึกษาให้กับเด็ก 3.7
12 เปลี่ยนค่านิยมทางด้านการศึกษา เลิกยึดติดกับการเรียนต่อมหาวิทยาลัย 3.2
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ในทรรศนะนักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐเขตกรุงเทพมหานคร” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐจำนวนทั้งสิ้น
1,152 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 1-2 กันยายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ผลการสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.2 ระบุติดตามข่าวการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ขณะที่มีเพียงร้อยละ 31.8 ระบุไม่ได้ติดตามข่าว แต่เมื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบที่มีต่อตัวเองหากมหาวิทยาลัยที่กำลังศึกษาอยู่ถูกจัดให้
อยู่ในอันดับท้ายๆ พบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 72.8 คิดว่าจะทำให้หางานทำได้ยากขึ้นหลังเรียนจบ ในขณะที่ จำนวนมากหรือร้อยละ 46.4 คิดว่าจะ
ทำให้สังคมไม่ยอมรับตัวนักศึกษา แต่เมื่อคณะผู้วิจัยสอบถามตัวอย่างถึงความภูมิใจและความเชื่อมั่นต่อสถาบันการศึกษาของตนเองหากถูกจัดอยู่ในอันดับ
ท้ายๆ พบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่ยังมีความภูมิใจในสถาบัน รวมทั้งภูมิใจในตัวเอง และยังเชื่อมั่นต่อสถาบันที่ตนเองศึกษาอยู่เท่าเดิม คิดเป็นร้อยละ 66.5
ร้อยละ 69.0 และ ร้อยละ 63.7 ตามลำดับ
ในเรื่องของความเชื่อมั่นต่อการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) พบว่า นักศึกษาจำนวนมากหรือร้อยละ
39.3 ไม่เชื่อมั่นต่อการจัดอันดับดังกล่าว โดยให้เหตุผลสำคัญคือ เกณฑ์ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยไม่มีความชัดเจน ไม่ครอบคลุม ไม่เชื่อถือหน่วยงานที่
ทำการจัดอันดับ ใช้หน่วยงาน/คนกลุ่มเดียวเป็นผู้ตัดสินประเมิน เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 23.6 ระบุเชื่อมั่น และร้อยละ 37.1 ไม่ระบุความคิดเห็น
ในประเด็นสุดท้ายที่ค้นพบคือแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อคุณภาพทางการศึกษาไทยโดยตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 37.3 เห็นว่าการศึกษา
ของไทยควรปรับปรุงในด้านหลักสูตรและพัฒนาคุณภาพการศึกษา รองลงมาคือร้อยละ 27.5 ระบุควรเพิ่มจำนวนบุคลากรทางการศึกษาให้เพียงพอต่อ
ความต้องการ ร้อยละ 15.1 ระบุควรจัดระบบการศึกษาให้ได้มาตรฐานเท่าเทียมกัน ร้อยละ 14.8 ระบุรัฐบาลควรให้การสนับสนุนทางด้านการศึกษา
อย่างจริงจัง ร้อยละ 13.5 ระบุควรพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีที่ใช้ในการเรียนการสอน ร้อยละ 10.4 ระบุให้เน้นการปฏิบัติงานจริงมากกว่าการศึกษา
ในห้องเรียน นอกจากนี้ตัวอย่างยังระบุให้พัฒนาด้านจริยธรรม คุณธรรมให้กับนักศึกษา เพิ่มมาตรฐานการวัดและประเมินผลทางด้านการศึกษา เพิ่มทุนใน
การทำวิจัย เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้แสดงให้เห็นชัดเจนถึงผลกระทบด้านจิตวิทยาต่อตัวนักศึกษาอย่างน่าเป็นห่วง ทั้งๆ ที่กลุ่มนักศึกษาที่ถูก
สำรวจส่วนใหญ่ไม่ได้แสดงความกังวลต่อผลการจัดอันดับที่มีต่อสถาบันการศึกษาของตนเพราะยังคงเชื่อมั่นและภูมิใจต่อสถาบันที่พวกเขากำลังศึกษาอยู่ แต่
แสดงความกังวลต่อการหางานทำและการยอมรับจากสังคม ถ้ามหาวิทยาลัยของตนเองถูกประกาศออกไปว่าสถาบันของตนอยู่ในอันดับท้ายๆ ของการจัด
อันดับ คณะทำงานด้านการจัดอันดับจึงควรพิจารณาตนเองและน่าจะออกมาขอโทษนักศึกษาเหล่านี้หรือแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย
“เจตนาที่ดีอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อผลการกระทำที่สร้างผลกระทบต่อความรู้สึกของเด็กนักศึกษาส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งการที่พวก
เขาเหล่านั้นเขาไปรับการศึกษาตามสถาบันการศึกษาที่ถูกจัดอันดับท้ายๆ อาจเป็นเพราะบรรดาผู้ใหญ่ในสังคมที่ไม่สามารถปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จลง
ได้ ทำให้คุณภาพและโอกาสทางการศึกษาไม่ได้ถูกกระจายไปยังพื้นที่และภูมิภาคต่างๆ ของประเทศอย่างเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ เด็กนักศึกษาส่วน
ใหญ่อาจได้รับผลกระทบจากการสร้างมาตรฐานทดสอบแบบโอเน็ต — เอเน็ตหรือการสอบเอ็นทรานซ์ในอดีตที่มีปัญหาทำให้พวกเขาต้องไปเข้าสู่สถาบัน
การศึกษาบางแห่งที่เป็นทางเลือกที่สองหรือที่สามโดยจำเป็น ทั้งๆ ที่นักศึกษาทุกคนอาจต้องการเข้าสู่ระบบการศึกษาผ่านสถาบันที่ได้รับความเชื่อถือจาก
สังคมในอันดับต้นๆ การออกมาประกาศผลการจัดอันดับครั้งนี้จึงไม่ค่อยจะเป็นธรรมกับบรรดานักศึกษาที่ได้รับผลกระทบโดยตรงเท่าใดนัก แนวทางที่น่าจะ
เหมาะสมกว่าคือ ในระยะแรกกระทรวงศึกษาธิการควรใช้วิธีการจัดอันดับที่จะทำให้สถาบันการศึกษาต่างๆ แข่งขันกับตัวเอง ก่อนที่จะไปสร้างแรงกดดัน
ให้เกิดการแข่งขันระหว่างสถาบัน การสร้างการแข่งขันภายในตัวสถาบันแต่ละแห่งคือ การส่งเสริมด้วยวิธีวัดประเมินจากกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องของ
สถาบันนั้นๆ เช่น วัดจากผู้บริหาร บุคลากรทางวิชาการ นักศึกษา และสังคมที่ใช้นักศึกษาที่เป็นผลผลิตจากสถาบันการศึกษาเหล่านั้น โดยไม่ต้องมีการจัด
อันดับระหว่างสถาบัน เป็นต้น” ดร.นพดล กล่าว
รายละเอียดโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อให้ทราบถึงแนวความคิด และทัศนคติของนักศึกษาที่มีต่อการศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบัน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดอันดับมหาวิทยาลัย
3. เพื่อสำรวจความมั่นใจและความเชื่อมั่นในสถาบันอุดมศึกษาที่นักศึกษากำลังศึกษาอยู่
4. เพื่อสำรวจปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัย
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง การจัดอันดับมหาวิทยาลัยไทยในทรรศนะนักศึกษา
มหาวิทยาลัยของรัฐเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 1-2 กันยายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐ ในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับ
ประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,152 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ + / - ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 44.6 ระบุเป็นชาย
ในขณะที่ ร้อยละ 55.4 ระบุเป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 49.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 39.7 อายุระหว่าง 20-22 ปี
และร้อยละ 10.7 อายุมากกว่า 22 ปี
ระดับการศึกษากลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 45.0 ระบุว่าเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1
ร้อยละ 22.2 ระบุเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2
ร้อยละ 16.6 เป็นนักเรียนชั้นปีที่ 3
และร้อยละ 16.2 ระบุว่าเป็นที่กำลังศึกษาในระดับชั้นปีที่ 4
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ของคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.)
ลำดับที่ การรับทราบข่าว ค่าร้อยละ
1 ทราบ 68.2
2 ไม่ทราบ 31.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ โอกาสหางานทำหลังเรียนจบหากมหาวิทยาลัยที่กำลังศึกษาอยู่ถูกจัด
ให้อยู่อันดับท้ายๆ
ลำดับที่ โอกาสหางานทำหลังเรียนจบ ค่าร้อยละ
1 ไม่มีผล 20.9
2 หางานทำยากขึ้น 72.8
3 ไม่มีความคิดเห็น 6.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ โอกาสหางานทำหลังเรียนจบหากมหาวิทยาลัยที่กำลังศึกษาอยู่ถูกจัด
ให้อยู่อันดับท้ายๆ จำแนกตามกลุ่ม
ลำดับที่ โอกาสหางานทำหลังเรียนจบ มหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐอื่นๆ
1 ไม่มีผล 23.0 19.2 18.5
2 หางานทำยากขึ้น 70.6 73.6 76.5
2 ไม่มีความคิดเห็น 6.4 7.2 5.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
หมายเหตุ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐอื่นๆ เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การยอมรับทางสังคมหากมหาวิทยาลัยที่กำลังศึกษาอยู่ถูกจัดให้อยู่อันดับท้ายๆ
ลำดับที่ การยอมรับทางสังคม ค่าร้อยละ
1 สังคมไม่ยอมรับ 46.4
2 ไม่มีผล 39.3
3 ไม่มีความคิดเห็น 14.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกหากมหาวิทยาลัยที่กำลังศึกษาอยู่ถูกจัดให้อยู่อันดับท้ายๆ
ลำดับที่ ความรู้สึกที่ได้รับ ลดลง เท่าเดิม ไม่มีความเห็น รวมค่าร้อยละ
1 ด้านความภูมิใจในสถาบันการศึกษาที่เรียนอยู่ 26.2 66.5 7.3 100.0
2 ด้านความภูมิใจในตนเอง 23.5 69.0 7.5 100.0
3 ด้านความเชื่อมั่นต่อสถาบันการศึกษาของตนเอง 28.2 63.7 8.1 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ของคณะกรรมการการอุดมศึกษา(กกอ.)
ลำดับที่ ความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 23.6
2 ไม่เชื่อมั่น เพราะ ... เกณฑ์ในการจัดอันดับไม่ชัดเจน / ใช้เกณฑ์การจัดอันดับที่ไม่ครอบคลุม /
หน่วยงานที่ทำการจัดอันดับไม่มีความน่าเชื่อถือขาดประสิทธิภาพ / ใช้หน่วยงานเดียว/
คนกลุ่มเดียวเป็นผู้ตัดสินประเมิน เป็นต้น 39.3
3 ไม่มีความเห็น 37.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ แนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อคุณภาพการศึกษาไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ แนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อคุณภาพการศึกษาไทย ค่าร้อยละ
1 ควรที่จะปรับปรุงหลักสูตรและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น 37.3
2 เพิ่มจำนวนอาจารย์ที่มีคุณภาพให้เพียงพอต่อความต้องการ 27.5
3 จัดระบบการศึกษาให้เท่าเทียมกัน 15.1
4 รัฐบาลควรให้การสนับสนุนทางด้านการศึกษาอย่างจริงจัง 14.8
5 พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีที่ใช้ในการเรียนการสอน 13.5
6 มุ่งเน้นการฝึกปฏิบัติงานจริงมากกว่าการศึกษาภายในห้องเรียน
โดยให้นักศึกษาได้ทำการฝึกปฏิบัติงานจริงและสามารถแสดงออกทางความคิดได้เต็มที่ 10.4
7 พัฒนาทางด้านจริยธรรมให้กับนักศึกษาเพิ่มมากขึ้น 6.8
8 เพิ่มมาตรฐานการวัดและการประเมินผลทางด้านการศึกษา 5.2
9 ให้ทุนในการทำกิจกรรมของนักศึกษา / เพิ่มทุนในการทำวิจัย 5.1
10 การสอบเข้าศึกษาต่อภายในมหาวิทยาลัยของรัฐ (การสอบ Entrance)
ควรมีความโปร่งใสและสามารถใช้วัดผลการเรียนได้อย่างแท้จริง 4.1
11 ควรสนับสนุนและส่งเสริมให้รักการอ่านและกิจกรรมทางด้านการศึกษาให้กับเด็ก 3.7
12 เปลี่ยนค่านิยมทางด้านการศึกษา เลิกยึดติดกับการเรียนต่อมหาวิทยาลัย 3.2
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-