ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ร่วมกับ ดร.สุชามา คาสเบการ์ (Dr.Sushama
Kasbekar) คณะศิลปศาสตร์ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง สัญญาณของสื่ออันตรายกับวัยรุ่นวัยใสเมืองกรุง กรณีศึกษานิสิต / นักศึกษาใน
เขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,262 ตัวอย่างระหว่างวันที่ 26 ตุลาคม ถึง 2 ธันวาคม 2549
ดร.นพดล กล่าวว่า นิสิต/นักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.7 ใช้โทรศัพท์มือถือ เฉลี่ย 3 ชั่วโมงต่อวัน
แซงหน้าการใช้สื่อโทรทัศน์ที่มีอยู่ร้อยละ 94.6 เฉลี่ย 4 ชั่วโมงต่อวัน รองลงมาคือร้อยละ 88.3 ใช้คอมพิวเตอร์ เฉลี่ย 3 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ
79.9 ใช้อินเตอร์เนต เฉลี่ย 3 ชั่วโมงต่อวัน และร้อยละ 77.4 ใช้สื่อวิทยุ เฉลี่ย 3 ชั่วโมงต่อวัน
ที่น่าเป็นห่วงคือ นิสิต/นักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครใช้เวลาอ่านหนังสือพิมพ์ เพียง 16 นาทีต่อวัน ถึงแม้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.1 จะ
ระบุว่าได้อ่านหนังสือพิมพ์ก็ตามและส่วนใหญ่อ่านเฉพาะข่าวหน้าหนึ่งบางข่าว เช่นเดียวกับร้อยละ 51.6 ที่บอกว่าอ่านนิตยสารซึ่งใช้เวลาอ่านนิตยสาร
เพียง 26 นาทีต่อวัน ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานครไม่ค่อยสนใจอ่านหนังสือแต่ใช้เวลาในการพูด ดู และ
ฟัง มากกว่าจะอ่านติดตามข่าวสารด้วยตนเอง
ยิ่งไปกว่านั้น ร้อยละ 48.3 ระบุสนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือ แชท (chat) เฉลี่ย 2 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 45.4 ระบุส่งข้อ
ความ รูปภาพผ่านมือถือ เฉลี่ย 2 ครั้งต่อวัน และร้อยละ 9.4 ใช้เว็ปแคม เฉลี่ย 13 นาทีต่อครั้ง ตามลำดับ นอกจากนี้ ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ
86.7 ทราบค่าใช้จ่ายมือถือแต่ละเดือนเฉลี่ย 423.50 บาท ในขณะที่ ร้อยละ 13.3 ไม่ทราบเพราะไม่ได้เป็นผู้จ่ายค่ามือถือเอง
เมื่อสอบถามถึงประเภทรายการโทรทัศน์ที่ชอบดู พบว่ารายการโทรทัศน์ยอดนิยมของวัยรุ่นและเกือบทุกวัยในกลุ่มคนไทยคือ ละคร ซึ่งพบ
ว่า ร้อยละ 74.9 ดูละคร รองลงมาคือร้อยละ 66.2 ดูรายการเพลง ร้อยละ 65.7 ดูรายการข่าว/ วิเคราะห์ข่าว และร้อยละ 57.3 ดูเกมส์โชว์
ตามลำดับ
สำหรับพฤติกรรมการอ่านหนังสือพิมพ์ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.1 อ่านข่าวหน้าหนึ่ง รองลงมาคือร้อยละ 75.8 อ่านข่าว
บันเทิง ร้อยละ 36.1 อ่านข่าวกีฬา ร้อยละ 31.3 อ่านข่าวการเมือง ร้อยละ 26.8 อ่านโปรแกรมโทรทัศน์ ภาพยนตร์ ร้อยละ 23.4 อ่านข่าว
สังคม ที่น่าเป็นห่วงคือ มีเพียงร้อยละ 19.7 ในกลุ่มนิสิต/นักศึกษาที่อ่านข่าวการศึกษา
เมื่อสอบถามถึงเว็ปไซด์ที่นิยมเข้าไปเป็นประจำ ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 54.2 นิยมเข้าเว็ป google.com ร้อยละ 39.3 นิยมเข้า
เว็ป sanook.com ร้อยละ 29.3 นิยมเข้าเว็ป hotmail.com เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ที่น่าเป็นห่วงคือ ผลประมาณการจำนวนนิสิต/นักศึกษาในแต่ละ
สัปดาห์ที่เข้าไปมีประสบการณ์ดูเว็ปโป๊/ลามก พบว่า มีนิสิต/นักศึกษาเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครเข้าไปดูเว็ปโป๊/ลามก เช่น www.ohosexy.com,
www.sex.com, www.xxx.com มากถึง 273,596 คน ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา หรือคิดเป็นร้อยละ 32.4 ของจำนวนนิสิต/นักศึกษาทั้งหมด ขณะที่มี
เพียงร้อยละ 8 เท่านั้นที่เข้าดูเว็ป www.dekdee.com ซึ่งเป็นเว็ปที่สร้างสรรค์
เมื่อสอบถามถึงพฤติกรรมการสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ตหรือ Chat พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.4 เคยใช้ โดยร้อยละ 90.0 ของผู้ที่
เคยใช้/นิยมใช้ MSN ในขณะที่ร้อยละ 11.9 ใช้ PIRCH และร้อยละ 10.5 ใช้ Yahoo ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.9 เคยสนทนามา
แล้วกว่า 2 ปี และมีค่าเฉลี่ยจำนวนปีในการสนทนาในกลุ่มนิสิต/นักศึกษาสูงถึง 3 ปี 4 เดือน และจำนวนชั่วโมงเฉลี่ยสูงถึง 2 ชั่วโมงต่อครั้ง
เหตุผลสำคัญของกลุ่มนิสิต/นักศึกษาที่ chat กันผ่านเน็ต ผลสำรวจพบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.2 ต้องการคุยกับเพื่อน ร้อยละ 50.9
บอกว่ามีเวลาว่างและต้องการฆ่าเวลา ร้อยละ 37.1 ระบุติดต่อเรื่องงาน แต่ที่น่าเป็นห่วงคือเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 34.3 ต้องการรู้จักเพื่อน
คนไทยใหม่ๆ และร้อยละ 9.8 ต้องการรู้จักเพื่อนต่างชาติใหม่ๆ และร้อยละ 5.6 ต้องการหาคู่รักคนไทย ขณะที่ร้อยละ 3.1 ต้องการหาคู่รักต่างชาติ
ที่น่าพิจารณาคือ นิสิต/นักศึกษา 1 คนมีจำนวนเพื่อนคนไทยที่รู้จักกันผ่านเน็ต 11 คน และรู้จักเพื่อนต่างชาติเฉลี่ย 3 คน ซึ่งประมาณ 1
ใน 5 หรือร้อยละ 21.5 ระบุเคยนัดพบกันแล้ว โดยร้อยละ 61.0 ของกลุ่มที่เคยนัดพบกันแล้วบอกนัดพบกันที่ห้างสรรพสินค้า รองลงมาคือร้อยละ
10.3 นัดพบกันที่มหาวิทยาลัย ร้อยละ 5.1 นัดพบกันที่ร้านอาหาร ร้อยละ 4.5 นัดพบกันแถวบ้านหรือหอพัก และร้อยละ 3.8 นัดพบกันที่อนุสาวรีย์ชัย
สมรภูมิ
ที่น่าเศร้าใจคือ นิสิต/นักศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.2 จะบอกกับเพื่อนว่าได้นัดพบกับเพื่อนใหม่ที่รู้จักกันทางเน็ตแต่มีเพียงร้อยละ
10.2 เท่านั้นที่จะบอกให้พ่อแม่รู้ ร้อยละ 26.7 จะบอกให้พี่หรือน้องรู้ และร้อยละ 3.2 จะบอกให้อาจารย์รู้ และ มีอยู่ ร้อยละ 15.5 ที่ไม่บอกให้
ใครรู้เลย
คณะผู้วิจัยยังได้สอบถามถึงแนวโน้มการตัดสินใจของนิสิต/นักศึกษา 3 อันดับแรก ในสถานการณ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้
ถ้าน้องมีเวลาว่าง น้องมักจะ ... ซึ่งผลสำรวจพบว่า อันดับแรก หรือร้อยละ 45.8 บอกดูโทรทัศน์ ร้อยละ 14.2 บอกฟังวิทยุ และ
ร้อยละ 9.7 บอกเล่นอินเทอร์เน็ต
ถ้าน้องเบื่อ น้องมักจะ ... ร้อยละ 30.8 บอกฟังวิทยุ ร้อยละ 17.2 บอกดูโทรทัศน์ และร้อยละ 11.0 บอกอ่านการ์ตูน
ถ้าน้องรู้สึกไม่สบายใจ น้องมักจะ ... ร้อยละ 34.9 คุยโทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 20.6 ฟังวิทยุ และ ร้อยละ 17.2 บอกอ่านการ์ตูน
ถ้าน้องรู้สึกเหงา น้องมักจะ... ร้อยละ 28.4 บอกคุยโทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 17.3 บอกฟังวิทยุ และ ร้อยละ 12.9 บอกอ่านการ์ตูน
ถ้าน้องรู้สึกหงุดหงิด น้องมักจะ... ร้อยละ 30.7 บอกฟังวิทยุ ร้อยละ 16.4 บอกดูโทรทัศน์ และร้อยละ 9.1 บอกเล่นวีดีโอเกม
ถ้าน้องต้องการเล่าเรื่องให้ใครสักคนฟัง น้องมักจะ... ร้อยละ 85.6 บอกคุยโทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 6.7 บอกเล่นอินเทอร์เน็ต และ
ร้อยละ 5.9 บอก chat ทางอินเทอร์เน็ต
ถ้าน้องต้องการทราบเหตุการณ์เด่นประจำวัน น้องมักจะ... ร้อยละ 48.9 บอกดูโทรทัศน์ ร้อยละ 18.0 บอกเล่นอินเทอร์เน็ต และร้อย
ละ 16.3 บอกอ่านหนังสือพิมพ์
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าสื่อกับวิถีชีวิตของนิสิต/นักศึกษาเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออก สื่อมีบทบาทสำคัญมากต่อรูปแบบการ
ดำเนินชีวิตประจำวันของเยาวชนเหล่านี้ โดยแบ่งออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ ประเภทแรกเป็นสื่อที่มุ่งเข้าหาเยาวชนโดยเยาวชนเป็นผู้รับ
(receiver) เช่นโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ ประเภทที่สองเป็นสื่อที่เยาวชนกลายเป็นผู้รุก (navigator) เช่น โทรศัพท์มือถือ และอินเทอร์เน็ต
เป็นต้น ซึ่งผลวิจัยครั้งนี้พบว่าสื่อที่อาจกลายเป็นปัจจัยสำคัญทำให้เกิดปัญหาสังคมได้อย่างมากมายในอนาคตอันใกล้นี้คือ โทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ต
เพราะสื่อสองอย่างนี้กำลังมาแรงและฉุดกระชากเยาวชนของประเทศให้ออกไปจากวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของไทย ตามผลวิจัยครั้งนี้พบว่า
โทรศัพท์มือถือกลายเป็นสื่อที่ถูกใช้เป็นอันดับหนึ่งสูงกว่าโทรทัศน์เสียอีก ซึ่งในอดีตโทรทัศน์อาจถูกมองว่าเป็นสื่อที่ทำให้ประชาชนคนไทยต่างคนต่างอยู่
แต่โทรทัศน์ก็ทำให้คนไทยมาชมร่วมกันได้ทั้งร้านชากาแฟ สถานบันเทิง ร้านอาหาร ลานกลางแจ้งและแม้แต่ในครัวเรือนเวลามีรายการทีวีที่ทุกคนชอบ
ตรงกัน
“ตรงกันข้าม โทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ตกำลังกลายเป็นสื่อที่แยกเยาวชนของชาติออกไปสู่โลกเพียงไม่กี่คน และกำลังกลายเป็นสื่อ
อันตรายต่อชีวิตและคุณภาพโดยรวมของพวกเขาได้ เพราะโทรศัพท์มือถือกลายเป็นที่พึ่งของเยาวชนเวลาเหงาและอยากเล่าให้ใครฟังสักคน ซึ่งพ่อแม่
ญาติพี่น้องกลายเป็นบุคคลที่ถูกมองข้าม ในขณะที่คนแปลกหน้าที่เพิ่งรู้จักกันทางอินเทอร์เน็ตกลับได้รับความไว้วางใจจนกระทั่งไปแอบเจอกันโดยไม่บอกให้
พ่อแม่รู้ จึงฝากข้อมูลผลวิจัยครั้งนี้ให้เยาวชนและผู้ใหญ่ในสังคมช่วยกันพิจารณาป้องกันแก้ไขอย่างรอบด้านต่อไป” ดร.นพดล กล่าว
รายละเอียดของผลวิจัย
วัตถุประสงค์โครงการวิจัย
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อของนิสิต / นักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมประสบการณ์การใช้โปรแกรมสนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Chat)
3. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกปฏิสัมพันธ์กับสื่อในสถานการณ์ต่างๆ
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง สัญญาณของสื่ออันตรายกับวัยรุ่นวัยใสเมืองกรุง :
กรณีศึกษานิสิต / นักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ ระหว่างวันที่ 26 ตุลาคม — 2 ธันวาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ นิสิต / นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีกับมหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร เทคนิควิธีการสุ่ม
ตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ทางสถิติในการเป็นตัวแทนประชากรเป้าหมายนิสิต/นักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยใน
เขตกรุงเทพมหานคร ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,262 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บ
รวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบ
ประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 46.1 เป็นเพศชาย ร้อยละ 53.9 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ
29.5 กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีปีที่ 1 ร้อยละ 19.3 กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีปีที่ 2 ร้อยละ 26.6 กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีปีที่
3 และร้อยละ 24.6 กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีปีที่ 4 ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 39.4 สังกัดมหาวิทยาลัยรัฐบาล ร้อยละ 35.9 สังกัด
มหาวิทยาลัยเอกชน ร้อยละ 23.0 สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ ร้อยละ 1.7 สังกัดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 54.3 ได้ค่า
ขนมรายเดือนไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 38.3 ได้ค่าขนม รายเดือน 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 4.4 ได้ค่าขนมรายเดือน 10,001-
15,000 และร้อยละ 3.0 ได้ค่าขนมรายเดือนมากกว่า 15,000 บาท
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพฤติกรรมการใช้สื่อต่างๆ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ประเภทสื่อ ร้อยละ ปริมาณการใช้ (เฉลี่ย)
1 โทรศัพท์มือถือ 95.7 3 ชม./วัน
2 โทรทัศน์ 94.6 4 ชม./วัน
3 คอมพิวเตอร์ 88.3 3 ชม./วัน
4 อินเทอร์เน็ต 79.9 3 ชม./วัน
5 วิทยุ 77.4 3 ชม./วัน
6 หนังสือพิมพ์ 75.1 16 นาที/วัน
7 นิตยสาร 51.6 26 นาที/วัน
8 สนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต (chat) 48.3 2 ชม./วัน
9 ส่งข้อความ รูปภาพ ผ่านมือถือ 45.4 2 ครั้ง/วัน
10 ใช้เว็ปแคม 9.4 13 นาที/ครั้ง
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุค่าโทรศัพท์มือถือในเดือนที่ผ่านมา (ค่าร้อยละของกลุ่มที่ใช้มือถือ)
ลำดับที่ ค่าโทรศัพท์มือถือในเดือนที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทราบ โดยระบุเฉลี่ยเดือนละ 423.50 บาท 86.7
2 ไม่ทราบ / ไม่ได้เป็นผู้จ่ายค่าโทรศัพท์เอง 13.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทของรายการโทรทัศน์ที่ชอบดู ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทของรายการโทรทัศน์ที่ชอบดู ค่าร้อยละ
1 ละคร 74.9
2 รายการเพลง 66.2
3 ข่าว / วิเคราะห์ข่าว 65.7
4 เกมโชว์ 57.3
5 การ์ตูน 37.3
6 กีฬา 35.1
7 สารคดี 33.0
8 ทอล์คโชว์ 31.9
9 สุขภาพ 15.4
10 การศึกษา / สอนหนังสือทางไกลผ่านโทรทัศน์ 5.3
11 อื่นๆ อาทิ Reality Show เช่น Academy Fantasia 3 เป็นต้น 1.8
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุหมวดหนังสือพิมพ์ที่ชอบอ่าน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ หมวดหนังสือพิมพ์ที่ชอบอ่าน ประเภทหนังสือพิมพ์
หนังสือพิมพ์ไทย(ค่าร้อยละ) หนังสือพิมพ์ต่างประเทศ(ค่าร้อยละ)
1 ข่าวหน้าหนึ่ง 78.1 48.2
2 ข่าวบันเทิง 75.8 37.5
3 ข่าวกีฬา 36.1 25.0
4 ข่าวการเมือง 31.3 22.6
5 โปรแกรมโทรทัศน์ / ภาพยนตร์ 26.8 16.1
6 ข่าวสังคม 23.4 19.6
7 ข่าวการศึกษา 19.7 28.0
8 ข่าวต่างประเทศ 16.9 26.2
9 เรื่องย่อละคร 12.4 2.4
10 รับสมัครงาน 8.7 16.1
11 อื่นๆ อาทิ เทคโนโลยี / IT 2.8 8.3
ตารางที่ 5 แสดง 5 อันดับแรกเว็บไซด์ (www.) ที่นิยมเข้าไปชมเป็นประจำ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เว็บไซด์ที่นิยมเข้าไปชมเป็นประจำ ค่าร้อยละ
1 www.google.com 54.2
2 www.sanook.com 39.3
3 www.hotmail.com 29.3
4 www.kapook.com 23.8
5 www.dekdee.com 8.1
ตารางที่ 6 แสดงผลประมาณการจำนวนนิสิต/นักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครที่เข้าไปหดูเว็บโป้ ลามก
อาทิ www.ohosexy.com , www.sex.com , www.xxx.com ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
ผลประมาณการ ค่าร้อยละ
-ผลประมาณการจำนวนนิสิต/นักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครที่เข้าไปดูเว็บโป๊ ลามก
ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีจำนวนทั้งสิ้น 273,596 คน 32.4
-ผลประมาณการจำนวนนิสิต/นักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครที่ไม่เคยเข้าไปดูเว็บโป๊ ลามก
ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีจำนวนทั้งสิ้น 570,835 คน 67.6
-รวมจำนวนนิสิตนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน ทั้งสิ้น 844,431 คน 100.0
หมายเหตุ ฐานข้อมูลจาก สำนักงาคณะกรรมการการอุดมศึกษา ปี พ.ศ. 2548
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์การสนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Chat)
ลำดับที่ ประสบการณ์การสนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Chat) ค่าร้อยละ
1 เคย โดยใช้โปรแกรมสนทนา ... 75.4
- MSN Messenger ร้อยละ 90.0
- PIRCH ร้อยละ 11.9
- Yahoo Messenger ร้อยละ 10.5
- Google ร้อยละ 8.4
- ICQ ร้อยละ 6.2
- อื่นๆ เช่น QQ ร้อยละ 1.7
2 ไม่เคยสนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ตเลย 24.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระยะเวลาที่เริ่มสนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Chat)
ลำดับที่ ระยะเวลาที่เริ่มสนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Chat) ค่าร้อยละ
1 น้อยกว่า 1 ปี 10.2
2 1 ปี — น้อยกว่า 2 ปี 11.9
3 2 ปีขึ้นไป 77.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ระยะเวลาเฉลี่ยที่เริ่มสนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Chat) 3 ปี 4 เดือน
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจำนวนชั่วโมงที่สนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Chat) ต่อ 1 ครั้ง
ในรอบ 7 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ จำนวนชั่วโมงที่สนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Chat) ต่อ 1 ครั้ง ค่าร้อยละ
1 ไม่น้อยกว่า 30 นาที 7.1
2 มากกว่า 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง 31.5
3 มากกว่า 1 ชั่วโมง ถึง 2 ชั่วโมง 33.7
4 มากกว่า 2 ชั่วโมง ถึง 4 ชั่วโมง 18.1
5 4 ชั่วโมง ขึ้นไป 9.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
จำนวนชั่วโมงเฉลี่ยที่สนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Chat)1.59 ชั่วโมง / 1 ครั้ง
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเว็บสาเหตุที่สนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Chat) (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สาเหตุที่สนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Chat) ค่าร้อยละ
1 ต้องการพูดคุยกับเพื่อน 79.2
2 มีเวลาว่าง / ฆ่าเวลา 50.9
3 ติดต่อสื่อสารเรื่องงาน 37.1
4 ต้องการรู้จักเพื่อนคนไทยใหม่ๆ 34.3
5 ต้องการรู้จักเพื่อนต่างชาติใหม่ๆ 9.8
6 ต้องการหาคู่รักคนไทย 5.6
7 ต้องการเล่าปัญหาที่ไม่สามารถบอกผู้อื่นได้ 4.1
8 ต้องการหาคู่รักต่างชาติ 3.1
9 อื่นๆ อาทิ ฝึกพิมพ์ดีด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เป็นต้น 3.4
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจำนวนเพื่อนที่รู้จักกันผ่านการสนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Chat)
ลำดับที่ จำนวนเพื่อนที่รู้จักกันผ่านการสนทนา เพื่อนชาวไทย(ค่าร้อยละ) เพื่อนชาวต่างชาติ(ค่าร้อยละ) รวม(ค่าร้อยละ)
ผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Chat)
1 1- 5 คน 43.1 81.3 41.9
2 6-10 คน 22.9 12.3 23.0
3 11-15 คน 5.9 1.3 6.1
4 16-20 คน 9.1 1.9 8.9
5 มากกว่า 20 คนขึ้นไป 19.0 3.2 20.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
-จำนวนเพื่อนชาวไทยโดยเฉลี่ยของตัวอย่างที่ระบุว่ารู้จักกันผ่านการสนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต 11 คน
-จำนวนเพื่อนชาวต่างชาติโดยเฉลี่ยของตัวอย่างที่ระบุว่ารู้จักกันผ่านการสนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต 3 คน
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์การนัดพบปะเพื่อนที่รู้จักจากการสนทนา
ผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Chat)
ลำดับที่ ประสบการณ์การนัดพบปะเพื่อนที่รู้จักจากการสนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Chat) ค่าร้อยละ
1 เคย โดยนัดพบกันที่ ... 21.5
- ห้างสรรพสินค้า ร้อยละ 61.0
- มหาวิทยาลัย ร้อยละ 10.3
- ร้านอาหาร ร้อยละ 5.1
- แถวบ้าน หอพัก ร้อยละ 4.5
- อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ร้อยละ 3.8
2 ไม่เคยนัดพบเพื่อนที่รู้จักจากการสนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต 78.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่จะบอกให้ทราบ หากนัดหมายกับเพื่อนใหม่ที่รู้จักทางเน็ต
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลที่จะบอกให้ทราบ หากนัดหมายกับเพื่อนใหม่ที่รู้จักทางเน็ต ค่าร้อยละ
1 เพื่อน 80.2
2 พี่ / น้อง 26.7
3 พ่อแม่ / ผู้ปกครอง 10.2
4 ครูอาจารย์ 3.2
5 ไม่บอกให้ใครทราบเลย 15.5
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการข้องเกี่ยวกับสื่อในสถานการณ์ต่างๆ (เฉพาะ 3 อันดับแรก)
ลำดับที่ สถานการณ์ต่างๆ ค่าร้อยละ
1 เวลาที่น้องว่าง น้องมักจะ ...
1) ดูโทรทัศน์ 45.8
2) ฟังวิทยุ 14.2
3) เล่นอินเทอร์เน็ต 9.7
2 เวลาที่น้องเบื่อ น้องมักจะ ...
1) ฟังวิทยุ 30.8
2) ดูโทรทัศน์ 17.2
3) อ่านการ์ตูน 11.0
3 เวลาที่น้องรู้สึกไม่สบายใจ น้องมักจะ ...
1) คุยโทรศัพท์มือถือ 34.9
2) ฟังวิทยุ 20.6
3) อ่านการ์ตูน 17.2
4 เวลาที่น้องรู้สึกเหงา น้องมักจะ ...
1) คุยโทรศัพท์มือถือ 28.4
2) ฟังวิทยุ 17.3
3) อ่านการ์ตูน 12.9
5 เวลาที่น้องรู้สึกหงุดหงิด น้องมักจะ ...
1) ฟังวิทยุ 30.7
2) ดูโทรทัศน์ 16.4
3) เล่นวิดีโอเกม 9.1
6 เวลาที่น้องต้องการเล่าเรื่องให้ใครสักคนฟัง น้องมักจะ ...
1) คุยโทรศัพท์มือถือ 85.6
2) เล่นอินเทอร์เน็ต 6.7
3) สนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต 5.9
7 เวลาที่น้องต้องการทราบเหตุการณ์เด่นประจำวัน น้องมักจะ ...
1) ดูโทรทัศน์ 48.9
2) เล่นอินเทอร์เน็ต 18.0
3) อ่านหนังสือพิมพ์ 16.3
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Kasbekar) คณะศิลปศาสตร์ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง สัญญาณของสื่ออันตรายกับวัยรุ่นวัยใสเมืองกรุง กรณีศึกษานิสิต / นักศึกษาใน
เขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,262 ตัวอย่างระหว่างวันที่ 26 ตุลาคม ถึง 2 ธันวาคม 2549
ดร.นพดล กล่าวว่า นิสิต/นักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.7 ใช้โทรศัพท์มือถือ เฉลี่ย 3 ชั่วโมงต่อวัน
แซงหน้าการใช้สื่อโทรทัศน์ที่มีอยู่ร้อยละ 94.6 เฉลี่ย 4 ชั่วโมงต่อวัน รองลงมาคือร้อยละ 88.3 ใช้คอมพิวเตอร์ เฉลี่ย 3 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ
79.9 ใช้อินเตอร์เนต เฉลี่ย 3 ชั่วโมงต่อวัน และร้อยละ 77.4 ใช้สื่อวิทยุ เฉลี่ย 3 ชั่วโมงต่อวัน
ที่น่าเป็นห่วงคือ นิสิต/นักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครใช้เวลาอ่านหนังสือพิมพ์ เพียง 16 นาทีต่อวัน ถึงแม้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.1 จะ
ระบุว่าได้อ่านหนังสือพิมพ์ก็ตามและส่วนใหญ่อ่านเฉพาะข่าวหน้าหนึ่งบางข่าว เช่นเดียวกับร้อยละ 51.6 ที่บอกว่าอ่านนิตยสารซึ่งใช้เวลาอ่านนิตยสาร
เพียง 26 นาทีต่อวัน ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานครไม่ค่อยสนใจอ่านหนังสือแต่ใช้เวลาในการพูด ดู และ
ฟัง มากกว่าจะอ่านติดตามข่าวสารด้วยตนเอง
ยิ่งไปกว่านั้น ร้อยละ 48.3 ระบุสนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือ แชท (chat) เฉลี่ย 2 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 45.4 ระบุส่งข้อ
ความ รูปภาพผ่านมือถือ เฉลี่ย 2 ครั้งต่อวัน และร้อยละ 9.4 ใช้เว็ปแคม เฉลี่ย 13 นาทีต่อครั้ง ตามลำดับ นอกจากนี้ ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ
86.7 ทราบค่าใช้จ่ายมือถือแต่ละเดือนเฉลี่ย 423.50 บาท ในขณะที่ ร้อยละ 13.3 ไม่ทราบเพราะไม่ได้เป็นผู้จ่ายค่ามือถือเอง
เมื่อสอบถามถึงประเภทรายการโทรทัศน์ที่ชอบดู พบว่ารายการโทรทัศน์ยอดนิยมของวัยรุ่นและเกือบทุกวัยในกลุ่มคนไทยคือ ละคร ซึ่งพบ
ว่า ร้อยละ 74.9 ดูละคร รองลงมาคือร้อยละ 66.2 ดูรายการเพลง ร้อยละ 65.7 ดูรายการข่าว/ วิเคราะห์ข่าว และร้อยละ 57.3 ดูเกมส์โชว์
ตามลำดับ
สำหรับพฤติกรรมการอ่านหนังสือพิมพ์ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.1 อ่านข่าวหน้าหนึ่ง รองลงมาคือร้อยละ 75.8 อ่านข่าว
บันเทิง ร้อยละ 36.1 อ่านข่าวกีฬา ร้อยละ 31.3 อ่านข่าวการเมือง ร้อยละ 26.8 อ่านโปรแกรมโทรทัศน์ ภาพยนตร์ ร้อยละ 23.4 อ่านข่าว
สังคม ที่น่าเป็นห่วงคือ มีเพียงร้อยละ 19.7 ในกลุ่มนิสิต/นักศึกษาที่อ่านข่าวการศึกษา
เมื่อสอบถามถึงเว็ปไซด์ที่นิยมเข้าไปเป็นประจำ ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 54.2 นิยมเข้าเว็ป google.com ร้อยละ 39.3 นิยมเข้า
เว็ป sanook.com ร้อยละ 29.3 นิยมเข้าเว็ป hotmail.com เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ที่น่าเป็นห่วงคือ ผลประมาณการจำนวนนิสิต/นักศึกษาในแต่ละ
สัปดาห์ที่เข้าไปมีประสบการณ์ดูเว็ปโป๊/ลามก พบว่า มีนิสิต/นักศึกษาเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครเข้าไปดูเว็ปโป๊/ลามก เช่น www.ohosexy.com,
www.sex.com, www.xxx.com มากถึง 273,596 คน ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา หรือคิดเป็นร้อยละ 32.4 ของจำนวนนิสิต/นักศึกษาทั้งหมด ขณะที่มี
เพียงร้อยละ 8 เท่านั้นที่เข้าดูเว็ป www.dekdee.com ซึ่งเป็นเว็ปที่สร้างสรรค์
เมื่อสอบถามถึงพฤติกรรมการสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ตหรือ Chat พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.4 เคยใช้ โดยร้อยละ 90.0 ของผู้ที่
เคยใช้/นิยมใช้ MSN ในขณะที่ร้อยละ 11.9 ใช้ PIRCH และร้อยละ 10.5 ใช้ Yahoo ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.9 เคยสนทนามา
แล้วกว่า 2 ปี และมีค่าเฉลี่ยจำนวนปีในการสนทนาในกลุ่มนิสิต/นักศึกษาสูงถึง 3 ปี 4 เดือน และจำนวนชั่วโมงเฉลี่ยสูงถึง 2 ชั่วโมงต่อครั้ง
เหตุผลสำคัญของกลุ่มนิสิต/นักศึกษาที่ chat กันผ่านเน็ต ผลสำรวจพบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.2 ต้องการคุยกับเพื่อน ร้อยละ 50.9
บอกว่ามีเวลาว่างและต้องการฆ่าเวลา ร้อยละ 37.1 ระบุติดต่อเรื่องงาน แต่ที่น่าเป็นห่วงคือเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 34.3 ต้องการรู้จักเพื่อน
คนไทยใหม่ๆ และร้อยละ 9.8 ต้องการรู้จักเพื่อนต่างชาติใหม่ๆ และร้อยละ 5.6 ต้องการหาคู่รักคนไทย ขณะที่ร้อยละ 3.1 ต้องการหาคู่รักต่างชาติ
ที่น่าพิจารณาคือ นิสิต/นักศึกษา 1 คนมีจำนวนเพื่อนคนไทยที่รู้จักกันผ่านเน็ต 11 คน และรู้จักเพื่อนต่างชาติเฉลี่ย 3 คน ซึ่งประมาณ 1
ใน 5 หรือร้อยละ 21.5 ระบุเคยนัดพบกันแล้ว โดยร้อยละ 61.0 ของกลุ่มที่เคยนัดพบกันแล้วบอกนัดพบกันที่ห้างสรรพสินค้า รองลงมาคือร้อยละ
10.3 นัดพบกันที่มหาวิทยาลัย ร้อยละ 5.1 นัดพบกันที่ร้านอาหาร ร้อยละ 4.5 นัดพบกันแถวบ้านหรือหอพัก และร้อยละ 3.8 นัดพบกันที่อนุสาวรีย์ชัย
สมรภูมิ
ที่น่าเศร้าใจคือ นิสิต/นักศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.2 จะบอกกับเพื่อนว่าได้นัดพบกับเพื่อนใหม่ที่รู้จักกันทางเน็ตแต่มีเพียงร้อยละ
10.2 เท่านั้นที่จะบอกให้พ่อแม่รู้ ร้อยละ 26.7 จะบอกให้พี่หรือน้องรู้ และร้อยละ 3.2 จะบอกให้อาจารย์รู้ และ มีอยู่ ร้อยละ 15.5 ที่ไม่บอกให้
ใครรู้เลย
คณะผู้วิจัยยังได้สอบถามถึงแนวโน้มการตัดสินใจของนิสิต/นักศึกษา 3 อันดับแรก ในสถานการณ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้
ถ้าน้องมีเวลาว่าง น้องมักจะ ... ซึ่งผลสำรวจพบว่า อันดับแรก หรือร้อยละ 45.8 บอกดูโทรทัศน์ ร้อยละ 14.2 บอกฟังวิทยุ และ
ร้อยละ 9.7 บอกเล่นอินเทอร์เน็ต
ถ้าน้องเบื่อ น้องมักจะ ... ร้อยละ 30.8 บอกฟังวิทยุ ร้อยละ 17.2 บอกดูโทรทัศน์ และร้อยละ 11.0 บอกอ่านการ์ตูน
ถ้าน้องรู้สึกไม่สบายใจ น้องมักจะ ... ร้อยละ 34.9 คุยโทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 20.6 ฟังวิทยุ และ ร้อยละ 17.2 บอกอ่านการ์ตูน
ถ้าน้องรู้สึกเหงา น้องมักจะ... ร้อยละ 28.4 บอกคุยโทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 17.3 บอกฟังวิทยุ และ ร้อยละ 12.9 บอกอ่านการ์ตูน
ถ้าน้องรู้สึกหงุดหงิด น้องมักจะ... ร้อยละ 30.7 บอกฟังวิทยุ ร้อยละ 16.4 บอกดูโทรทัศน์ และร้อยละ 9.1 บอกเล่นวีดีโอเกม
ถ้าน้องต้องการเล่าเรื่องให้ใครสักคนฟัง น้องมักจะ... ร้อยละ 85.6 บอกคุยโทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 6.7 บอกเล่นอินเทอร์เน็ต และ
ร้อยละ 5.9 บอก chat ทางอินเทอร์เน็ต
ถ้าน้องต้องการทราบเหตุการณ์เด่นประจำวัน น้องมักจะ... ร้อยละ 48.9 บอกดูโทรทัศน์ ร้อยละ 18.0 บอกเล่นอินเทอร์เน็ต และร้อย
ละ 16.3 บอกอ่านหนังสือพิมพ์
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าสื่อกับวิถีชีวิตของนิสิต/นักศึกษาเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออก สื่อมีบทบาทสำคัญมากต่อรูปแบบการ
ดำเนินชีวิตประจำวันของเยาวชนเหล่านี้ โดยแบ่งออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ ประเภทแรกเป็นสื่อที่มุ่งเข้าหาเยาวชนโดยเยาวชนเป็นผู้รับ
(receiver) เช่นโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ ประเภทที่สองเป็นสื่อที่เยาวชนกลายเป็นผู้รุก (navigator) เช่น โทรศัพท์มือถือ และอินเทอร์เน็ต
เป็นต้น ซึ่งผลวิจัยครั้งนี้พบว่าสื่อที่อาจกลายเป็นปัจจัยสำคัญทำให้เกิดปัญหาสังคมได้อย่างมากมายในอนาคตอันใกล้นี้คือ โทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ต
เพราะสื่อสองอย่างนี้กำลังมาแรงและฉุดกระชากเยาวชนของประเทศให้ออกไปจากวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของไทย ตามผลวิจัยครั้งนี้พบว่า
โทรศัพท์มือถือกลายเป็นสื่อที่ถูกใช้เป็นอันดับหนึ่งสูงกว่าโทรทัศน์เสียอีก ซึ่งในอดีตโทรทัศน์อาจถูกมองว่าเป็นสื่อที่ทำให้ประชาชนคนไทยต่างคนต่างอยู่
แต่โทรทัศน์ก็ทำให้คนไทยมาชมร่วมกันได้ทั้งร้านชากาแฟ สถานบันเทิง ร้านอาหาร ลานกลางแจ้งและแม้แต่ในครัวเรือนเวลามีรายการทีวีที่ทุกคนชอบ
ตรงกัน
“ตรงกันข้าม โทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ตกำลังกลายเป็นสื่อที่แยกเยาวชนของชาติออกไปสู่โลกเพียงไม่กี่คน และกำลังกลายเป็นสื่อ
อันตรายต่อชีวิตและคุณภาพโดยรวมของพวกเขาได้ เพราะโทรศัพท์มือถือกลายเป็นที่พึ่งของเยาวชนเวลาเหงาและอยากเล่าให้ใครฟังสักคน ซึ่งพ่อแม่
ญาติพี่น้องกลายเป็นบุคคลที่ถูกมองข้าม ในขณะที่คนแปลกหน้าที่เพิ่งรู้จักกันทางอินเทอร์เน็ตกลับได้รับความไว้วางใจจนกระทั่งไปแอบเจอกันโดยไม่บอกให้
พ่อแม่รู้ จึงฝากข้อมูลผลวิจัยครั้งนี้ให้เยาวชนและผู้ใหญ่ในสังคมช่วยกันพิจารณาป้องกันแก้ไขอย่างรอบด้านต่อไป” ดร.นพดล กล่าว
รายละเอียดของผลวิจัย
วัตถุประสงค์โครงการวิจัย
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อของนิสิต / นักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมประสบการณ์การใช้โปรแกรมสนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Chat)
3. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกปฏิสัมพันธ์กับสื่อในสถานการณ์ต่างๆ
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง สัญญาณของสื่ออันตรายกับวัยรุ่นวัยใสเมืองกรุง :
กรณีศึกษานิสิต / นักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ ระหว่างวันที่ 26 ตุลาคม — 2 ธันวาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ นิสิต / นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีกับมหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร เทคนิควิธีการสุ่ม
ตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ทางสถิติในการเป็นตัวแทนประชากรเป้าหมายนิสิต/นักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยใน
เขตกรุงเทพมหานคร ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,262 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บ
รวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบ
ประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 46.1 เป็นเพศชาย ร้อยละ 53.9 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ
29.5 กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีปีที่ 1 ร้อยละ 19.3 กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีปีที่ 2 ร้อยละ 26.6 กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีปีที่
3 และร้อยละ 24.6 กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีปีที่ 4 ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 39.4 สังกัดมหาวิทยาลัยรัฐบาล ร้อยละ 35.9 สังกัด
มหาวิทยาลัยเอกชน ร้อยละ 23.0 สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ ร้อยละ 1.7 สังกัดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 54.3 ได้ค่า
ขนมรายเดือนไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 38.3 ได้ค่าขนม รายเดือน 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 4.4 ได้ค่าขนมรายเดือน 10,001-
15,000 และร้อยละ 3.0 ได้ค่าขนมรายเดือนมากกว่า 15,000 บาท
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพฤติกรรมการใช้สื่อต่างๆ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ประเภทสื่อ ร้อยละ ปริมาณการใช้ (เฉลี่ย)
1 โทรศัพท์มือถือ 95.7 3 ชม./วัน
2 โทรทัศน์ 94.6 4 ชม./วัน
3 คอมพิวเตอร์ 88.3 3 ชม./วัน
4 อินเทอร์เน็ต 79.9 3 ชม./วัน
5 วิทยุ 77.4 3 ชม./วัน
6 หนังสือพิมพ์ 75.1 16 นาที/วัน
7 นิตยสาร 51.6 26 นาที/วัน
8 สนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต (chat) 48.3 2 ชม./วัน
9 ส่งข้อความ รูปภาพ ผ่านมือถือ 45.4 2 ครั้ง/วัน
10 ใช้เว็ปแคม 9.4 13 นาที/ครั้ง
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุค่าโทรศัพท์มือถือในเดือนที่ผ่านมา (ค่าร้อยละของกลุ่มที่ใช้มือถือ)
ลำดับที่ ค่าโทรศัพท์มือถือในเดือนที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทราบ โดยระบุเฉลี่ยเดือนละ 423.50 บาท 86.7
2 ไม่ทราบ / ไม่ได้เป็นผู้จ่ายค่าโทรศัพท์เอง 13.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทของรายการโทรทัศน์ที่ชอบดู ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทของรายการโทรทัศน์ที่ชอบดู ค่าร้อยละ
1 ละคร 74.9
2 รายการเพลง 66.2
3 ข่าว / วิเคราะห์ข่าว 65.7
4 เกมโชว์ 57.3
5 การ์ตูน 37.3
6 กีฬา 35.1
7 สารคดี 33.0
8 ทอล์คโชว์ 31.9
9 สุขภาพ 15.4
10 การศึกษา / สอนหนังสือทางไกลผ่านโทรทัศน์ 5.3
11 อื่นๆ อาทิ Reality Show เช่น Academy Fantasia 3 เป็นต้น 1.8
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุหมวดหนังสือพิมพ์ที่ชอบอ่าน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ หมวดหนังสือพิมพ์ที่ชอบอ่าน ประเภทหนังสือพิมพ์
หนังสือพิมพ์ไทย(ค่าร้อยละ) หนังสือพิมพ์ต่างประเทศ(ค่าร้อยละ)
1 ข่าวหน้าหนึ่ง 78.1 48.2
2 ข่าวบันเทิง 75.8 37.5
3 ข่าวกีฬา 36.1 25.0
4 ข่าวการเมือง 31.3 22.6
5 โปรแกรมโทรทัศน์ / ภาพยนตร์ 26.8 16.1
6 ข่าวสังคม 23.4 19.6
7 ข่าวการศึกษา 19.7 28.0
8 ข่าวต่างประเทศ 16.9 26.2
9 เรื่องย่อละคร 12.4 2.4
10 รับสมัครงาน 8.7 16.1
11 อื่นๆ อาทิ เทคโนโลยี / IT 2.8 8.3
ตารางที่ 5 แสดง 5 อันดับแรกเว็บไซด์ (www.) ที่นิยมเข้าไปชมเป็นประจำ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เว็บไซด์ที่นิยมเข้าไปชมเป็นประจำ ค่าร้อยละ
1 www.google.com 54.2
2 www.sanook.com 39.3
3 www.hotmail.com 29.3
4 www.kapook.com 23.8
5 www.dekdee.com 8.1
ตารางที่ 6 แสดงผลประมาณการจำนวนนิสิต/นักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครที่เข้าไปหดูเว็บโป้ ลามก
อาทิ www.ohosexy.com , www.sex.com , www.xxx.com ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
ผลประมาณการ ค่าร้อยละ
-ผลประมาณการจำนวนนิสิต/นักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครที่เข้าไปดูเว็บโป๊ ลามก
ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีจำนวนทั้งสิ้น 273,596 คน 32.4
-ผลประมาณการจำนวนนิสิต/นักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครที่ไม่เคยเข้าไปดูเว็บโป๊ ลามก
ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีจำนวนทั้งสิ้น 570,835 คน 67.6
-รวมจำนวนนิสิตนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน ทั้งสิ้น 844,431 คน 100.0
หมายเหตุ ฐานข้อมูลจาก สำนักงาคณะกรรมการการอุดมศึกษา ปี พ.ศ. 2548
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์การสนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Chat)
ลำดับที่ ประสบการณ์การสนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Chat) ค่าร้อยละ
1 เคย โดยใช้โปรแกรมสนทนา ... 75.4
- MSN Messenger ร้อยละ 90.0
- PIRCH ร้อยละ 11.9
- Yahoo Messenger ร้อยละ 10.5
- Google ร้อยละ 8.4
- ICQ ร้อยละ 6.2
- อื่นๆ เช่น QQ ร้อยละ 1.7
2 ไม่เคยสนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ตเลย 24.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระยะเวลาที่เริ่มสนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Chat)
ลำดับที่ ระยะเวลาที่เริ่มสนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Chat) ค่าร้อยละ
1 น้อยกว่า 1 ปี 10.2
2 1 ปี — น้อยกว่า 2 ปี 11.9
3 2 ปีขึ้นไป 77.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ระยะเวลาเฉลี่ยที่เริ่มสนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Chat) 3 ปี 4 เดือน
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจำนวนชั่วโมงที่สนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Chat) ต่อ 1 ครั้ง
ในรอบ 7 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ จำนวนชั่วโมงที่สนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Chat) ต่อ 1 ครั้ง ค่าร้อยละ
1 ไม่น้อยกว่า 30 นาที 7.1
2 มากกว่า 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง 31.5
3 มากกว่า 1 ชั่วโมง ถึง 2 ชั่วโมง 33.7
4 มากกว่า 2 ชั่วโมง ถึง 4 ชั่วโมง 18.1
5 4 ชั่วโมง ขึ้นไป 9.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
จำนวนชั่วโมงเฉลี่ยที่สนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Chat)1.59 ชั่วโมง / 1 ครั้ง
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเว็บสาเหตุที่สนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Chat) (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สาเหตุที่สนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Chat) ค่าร้อยละ
1 ต้องการพูดคุยกับเพื่อน 79.2
2 มีเวลาว่าง / ฆ่าเวลา 50.9
3 ติดต่อสื่อสารเรื่องงาน 37.1
4 ต้องการรู้จักเพื่อนคนไทยใหม่ๆ 34.3
5 ต้องการรู้จักเพื่อนต่างชาติใหม่ๆ 9.8
6 ต้องการหาคู่รักคนไทย 5.6
7 ต้องการเล่าปัญหาที่ไม่สามารถบอกผู้อื่นได้ 4.1
8 ต้องการหาคู่รักต่างชาติ 3.1
9 อื่นๆ อาทิ ฝึกพิมพ์ดีด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เป็นต้น 3.4
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจำนวนเพื่อนที่รู้จักกันผ่านการสนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Chat)
ลำดับที่ จำนวนเพื่อนที่รู้จักกันผ่านการสนทนา เพื่อนชาวไทย(ค่าร้อยละ) เพื่อนชาวต่างชาติ(ค่าร้อยละ) รวม(ค่าร้อยละ)
ผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Chat)
1 1- 5 คน 43.1 81.3 41.9
2 6-10 คน 22.9 12.3 23.0
3 11-15 คน 5.9 1.3 6.1
4 16-20 คน 9.1 1.9 8.9
5 มากกว่า 20 คนขึ้นไป 19.0 3.2 20.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
-จำนวนเพื่อนชาวไทยโดยเฉลี่ยของตัวอย่างที่ระบุว่ารู้จักกันผ่านการสนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต 11 คน
-จำนวนเพื่อนชาวต่างชาติโดยเฉลี่ยของตัวอย่างที่ระบุว่ารู้จักกันผ่านการสนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต 3 คน
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์การนัดพบปะเพื่อนที่รู้จักจากการสนทนา
ผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Chat)
ลำดับที่ ประสบการณ์การนัดพบปะเพื่อนที่รู้จักจากการสนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Chat) ค่าร้อยละ
1 เคย โดยนัดพบกันที่ ... 21.5
- ห้างสรรพสินค้า ร้อยละ 61.0
- มหาวิทยาลัย ร้อยละ 10.3
- ร้านอาหาร ร้อยละ 5.1
- แถวบ้าน หอพัก ร้อยละ 4.5
- อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ร้อยละ 3.8
2 ไม่เคยนัดพบเพื่อนที่รู้จักจากการสนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต 78.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่จะบอกให้ทราบ หากนัดหมายกับเพื่อนใหม่ที่รู้จักทางเน็ต
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลที่จะบอกให้ทราบ หากนัดหมายกับเพื่อนใหม่ที่รู้จักทางเน็ต ค่าร้อยละ
1 เพื่อน 80.2
2 พี่ / น้อง 26.7
3 พ่อแม่ / ผู้ปกครอง 10.2
4 ครูอาจารย์ 3.2
5 ไม่บอกให้ใครทราบเลย 15.5
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการข้องเกี่ยวกับสื่อในสถานการณ์ต่างๆ (เฉพาะ 3 อันดับแรก)
ลำดับที่ สถานการณ์ต่างๆ ค่าร้อยละ
1 เวลาที่น้องว่าง น้องมักจะ ...
1) ดูโทรทัศน์ 45.8
2) ฟังวิทยุ 14.2
3) เล่นอินเทอร์เน็ต 9.7
2 เวลาที่น้องเบื่อ น้องมักจะ ...
1) ฟังวิทยุ 30.8
2) ดูโทรทัศน์ 17.2
3) อ่านการ์ตูน 11.0
3 เวลาที่น้องรู้สึกไม่สบายใจ น้องมักจะ ...
1) คุยโทรศัพท์มือถือ 34.9
2) ฟังวิทยุ 20.6
3) อ่านการ์ตูน 17.2
4 เวลาที่น้องรู้สึกเหงา น้องมักจะ ...
1) คุยโทรศัพท์มือถือ 28.4
2) ฟังวิทยุ 17.3
3) อ่านการ์ตูน 12.9
5 เวลาที่น้องรู้สึกหงุดหงิด น้องมักจะ ...
1) ฟังวิทยุ 30.7
2) ดูโทรทัศน์ 16.4
3) เล่นวิดีโอเกม 9.1
6 เวลาที่น้องต้องการเล่าเรื่องให้ใครสักคนฟัง น้องมักจะ ...
1) คุยโทรศัพท์มือถือ 85.6
2) เล่นอินเทอร์เน็ต 6.7
3) สนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต 5.9
7 เวลาที่น้องต้องการทราบเหตุการณ์เด่นประจำวัน น้องมักจะ ...
1) ดูโทรทัศน์ 48.9
2) เล่นอินเทอร์เน็ต 18.0
3) อ่านหนังสือพิมพ์ 16.3
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-