ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง “สำรวจความคิดเห็นของ ประชาชนต่อเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.): กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินการศึกษาระหว่างวัน ที่ 23-24 พฤศจิกายน 2552 จำนวนตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 1,341 ตัวอย่าง ผลการสำรวจพบประเด็นสำคัญ ดังนี้
ในเบื้องต้น พบว่าตัวอย่างประมาณ 1 ใน 4 หรือร้อยละ 26.4 มี รปภ. ประจำที่พักอาศัย ซึ่งเฉพาะตัวอย่างที่มี รปภ. ประจำที่พัก อาศัย เมื่อสอบถามความบ่อยที่พบเห็นพฤติกรรมที่ดีของ รปภ. พบว่าประเด็นที่นำมาศึกษาโดยส่วนใหญ่มีการประเมินไว้ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณา แนวโน้ม พบว่าพฤติกรรมที่อยู่ในระดับปานกลางค่อนมาทางบ่อย ได้แก่ คอยอำนวยความสะดวก เช่น เข็นรถ ช่วยโบกรถให้ ปฏิบัติงานด้วยความเข้ม แข็ง และเข้มงวดกับการตรวจตรารถ หรือบุคคลเข้า-ออก ขณะที่พฤติกรรมที่อยู่ในระดับปานกลางค่อนมาทางไม่บ่อย ได้แก่ เดินตรวจตราความเรียบ ร้อยในตอนกลางคืน และมาถึงที่เกิดเหตุ หรือตามที่เรียกอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามการพบเห็น/รับรู้ในพฤติกรรมที่ไม่สร้างสรรค์ของ รปภ. พบว่า 3 อันดับแรกได้แก่ แอบหลับในเวลาปฏิบัติงาน (ร้อยละ 50.7) สูบบุหรี่ในเวลาปฏิบัติงาน (ร้อยละ 48.4) และเลือกปฏิบัติ บริการดี เฉพาะกับคนที่ให้เงิน หรือสิ่งของ (ร้อยละ 35.6)
เมื่อสอบถามความมั่นใจในการบริหารจัดการระบบรักษาความปลอดภัยของหมู่บ้าน/ที่พักอาศัย พบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 60.3 มี ความมั่นใจปานกลาง รองลงมาร้อยละ 21.5 มั่นใจน้อย-น้อยที่สุด และร้อยละ 18.2 มั่นใจมาก-มากที่สุด สอดคล้องกับเมื่อสอบถามถึงความไว้วางใจ ในตัว รปภ. พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.4 ไว้วางใจ ปานกลาง รองลงมาร้อยละ 19.2 ไว้วางใจน้อย-น้อยที่สุด และร้อยละ 17.4 ไว้ วางใจมาก-มากที่สุด
สำหรับตัวอย่างโดยทั่วไป (ทั้งที่มีรปภ. ประจำที่พักอาศัยและไม่มี) เมื่อสอบถามถึงคุณสมบัติของ รปภ. ที่จำเป็นต้องมี พบว่า 3 อันดับ แรก ได้แก่ ความมีระเบียบวินัย (ร้อยละ 81.1) ความสุภาพเรียบร้อย (ร้อยละ 75.5) และความอดทน (ร้อยละ 75.0) ขณะที่ความรู้ด้านการดับ เพลิง ความรู้ด้านการปฐมพยาบาล ทักษะทางช่าง อาทิ ช่างไฟ ประปา ช่างไม้ มีตัวอย่างไม่ถึงครึ่งที่เห็นว่า รปภ. จำเป็นต้องมีคุณสมบัติดังกล่าว
ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 89.2 คิดว่า รปภ. เป็นอาชีพที่น่าเห็นใจ เพราะเสี่ยงภัยอันตราย ต้องมีความอดทน ไม่ได้หลับ ไม่ได้นอน งานหนักเงินเดือนน้อย รับผิดชอบมาก ขณะที่ร้อยละ 10.8 คิดว่าไม่น่าเห็นใจ เพราะ พฤติกรรมไม่ค่อยดี แอบหลับ หนีเที่ยว ปฏิบัติหน้าที่แบบขอไปที
ประเด็นที่น่าสนใจ พบว่าตัวอย่างเห็นว่า รปภ. ที่ประจำตามหมู่บ้าน โครงการจัดสรร หรือสถานที่สำคัญต่างๆ มีส่วนช่วยเป็นหูเป็นตาใน การป้องกันอาชญากรรมและยาเสพติด ให้กับชุมชน ได้ในระดับปานกลางค่อนมาทางมาก (ปานกลางร้อยละ 43.8 และมาก-มากที่สุดร้อยละ 37.5)
คณะผู้วิจัยให้ตัวอย่างระบุข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย พบว่า 3 อันดับแรก ได้แก่ เอาใจใส่และปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนอย่างเคร่งครัด มีระเบียบวินัย (ร้อยละ 60.6) มีการฝึกอบรมทักษะ รปภ. ที่ได้มาตรฐานและเป็นประจำ (ร้อยละ 33.6) และการคัดเลือก รปภ. ที่คุณลักษณะเหมาะสมและมีใจรักในอาชีพ (ร้อยละ 18.6) ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า อาชีพ รปภ. นั้นมีความสำคัญ การเฝ้าระวังของ รปภ. สร้างความรู้สึกปลอดภัยให้กับประชาชนในชุมชนได้ ซึ่งจาก ผลการศึกษาข้างต้น เห็นได้ว่า มีความจำเป็นที่จะต้องมีการยกระดับมาตรฐานของ รปภ. โดยเฉพาะเรื่องความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และความมีระเบียบ วินัย อีกทั้งควรส่งเสริมให้เกิดการประสานงาน ทำงานร่วมกันของ รปภ. กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในสายงานป้องกัน ปราบปราม และสืบสวน เพื่อลดทอน ปัญหาอาชญากรรมและยาเสพติดให้กับชุมชน
รายละเอียดงานวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานของ รปภ.
2. เพื่อสำรวจทัศนคติต่ออาชีพ รปภ.
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อเจ้า หน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.): กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ” ดำเนินการศึกษาระหว่างวันที่ 23-24 พฤศจิกายน 2552 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบ สอบถาม โดยใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำ มะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,341 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้อง สมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย มีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 85 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง ร้อยละ 58.5 เป็นเพศหญิง
ร้อยละ 41.5 เป็นเพศชาย
ร้อยละ 4.1 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.1 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 27.6 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 24.2 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 21.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 82.9 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 15.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.3 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 59.8 ระบุอาชีพค้าขายรายย่อย/อิสระ
ร้อยละ 16.8 ระบุอาชีพรับจ้างใช้แรงงานทั่วไป
ร้อยละ 10.2 ระบุพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 6.8 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 4.0 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 0.8 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ส่วนอาชีพอื่นๆ รวมถึงผู้ว่างงาน/ไม่มีอาชีพ มีอยู่รวมกันคิดเป็นร้อยละ 1.6
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ การมี รปภ. ประจำที่พักอาศัย ค่าร้อยละ 1 มี 26.4 2 ไม่มี 73.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความบ่อยที่พบเห็นพฤติกรรมที่ดีของ รปภ. ประจำที่พักอาศัยของตน (เฉพาะตัวอย่างที่มี รปภ. ประจำที่พักอาศัย) ลำดับที่ พฤติกรรมที่ดีของ รปภ. บ่อย ปานกลาง ไม่บ่อย รวมทั้งสิ้น 1 คอยอำนวยความสะดวก เช่น เข็นรถ ช่วยโบกรถให้ 36.0 36.5 27.5 100.0 2 ปฏิบัติงานด้วยความเข้มแข็ง 29.1 55.4 15.5 100.0 3 เข้มงวดกับการตรวจตรารถ หรือบุคคลเข้า-ออก 28.1 44.0 27.9 100.0 4 เดินตรวจตราความเรียบร้อยในตอนกลางคืน 26.4 43.5 30.1 100.0 5 มาถึงที่เกิดเหตุ หรือตามที่เรียกอย่างรวดเร็ว 21.9 54.0 24.1 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การพบเห็นพฤติกรรมที่ไม่สร้างสรรค์ของ รปภ. ประจำที่พักอาศัยของตน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ และเฉพาะตัวอย่างที่มี รปภ. ประจำที่พักอาศัย) ลำดับที่ พฤติกรรมที่ไม่สร้างสรรค์ของ รปภ. ค่าร้อยละ 1 แอบหลับในเวลาปฏิบัติงาน 50.7 2 สูบบุหรี่ในเวลาปฏิบัติงาน 48.4 3 เลือกปฏิบัติ บริการดีเฉพาะกับคนที่ให้เงิน หรือสิ่งของ 35.6 4 ละเลยไม่ใส่ใจหน้าที่ เช่น ไม่อยู่ที่ป้อมเป็นเวลานาน ดูแต่โทรทัศน์ ไม่เดินตรวจตรา 32.1 5 พูดแซวแทะโลมผู้หญิงที่เดินผ่าน 21.0 6 ดื่มเหล้า/เบียร์ระหว่างการปฏิบัติงาน 20.3 7 สบถ พูดจาหยาบคายกับเจ้าของบ้าน 16.4 8 ทะเลาะ มีปากเสียงกับเจ้าของบ้าน 13.1 9 เล่นการพนันระหว่างปฏิบัติงาน 10.3 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจในการบริหารจัดการระบบรักษาความปลอดภัยของหมู่บ้าน/ที่พักอาศัยของตน (เฉพาะตัวอย่างที่มี รปภ. ประจำที่พักอาศัย) ลำดับที่ ความมั่นใจในระบบรักษาความปลอดภัย ค่าร้อยละ 1 มั่นใจมาก-มากที่สุด 18.2 2 มั่นใจปานกลาง 60.3 3 มั่นใจน้อย-น้อยที่สุด 21.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความไว้วางใจในตัว รปภ. ที่ดูแลบ้าน/ที่พักอาศัย (เฉพาะตัวอย่างที่มี รปภ. ประจำที่พักอาศัย) ลำดับที่ ความไว้วางใจในตัวเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ค่าร้อยละ 1 ไว้วางใจมาก-มากที่สุด 17.4 2 ไว้วางใจปานกลาง 63.4 3 ไว้วางใจน้อย-น้อยที่สุด 19.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคุณสมบัติที่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจำเป็นต้องมี (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ คุณสมบัติที่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจำเป็นต้องมี ค่าร้อยละ 1 ความมีระเบียบวินัย 81.1 2 ความสุภาพเรียบร้อย 75.5 3 ความอดทน 75.0 4 ทักษะการต่อสู้ป้องกันตัว 64.2 5 การมีจิตบริการ 63.6 6 ร่างกายแข็งแรง 60.9 7 ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย เช่น สัญญาณกันขโมย กล้องวงจรปิด 50.8 8 ความรู้ด้านการดับเพลิง 49.0 9 ความรู้ด้านการปฐมพยาบาล 38.7 10 ทักษะทางช่าง อาทิ ช่างไฟ ประปา ช่างไม้ 34.0 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่ออาชีพ รปภ. ลำดับที่ ความคิดเห็นต่ออาชีพ รปภ. ค่าร้อยละ 1 คิดว่าน่าเห็นใจ เพราะ เสี่ยงภัยอันตราย ต้องมีความอดทน ไม่ได้หลับ ไม่ได้นอน งานหนักเงินเดือนน้อย รับผิดชอบมาก 89.2 2 ไม่น่าเห็นใจ เพราะ พฤติกรรมไม่ค่อยดี แอบหลับ หนีเที่ยว ปฏิบัติหน้าที่แบบขอไปที 10.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ รปภ. ที่ประจำตามหมู่บ้าน โครงการจัดสรร หรือสถานที่สำคัญต่างๆ ในการช่วยเป็นหูเป็นตาในการป้องกันอาชญากรรมและยาเสพติด ให้กับชุมชน ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 มีส่วนช่วยมาก-มากที่สุด 37.5 2 ปานกลาง 43.8 3 น้อย-น้อยที่สุด 18.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงาน ค่าร้อยละ 1 เอาใจใส่และปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนอย่างเคร่งครัด มีระเบียบวินัย 60.6 2 มีการฝึกอบรมทักษะ รปภ. ที่ได้มาตรฐานและเป็นประจำ 33.6 3 การคัดเลือก รปภ. ที่คุณลักษณะเหมาะสมและมีใจรักในอาชีพ 18.6 4 มีการจัดสวัสดิการต่างๆ หรือจัดค่าตอบแทนที่เหมาะสมให้ รปภ. 10.4 5 มีการประเมินการปฏิบัติหน้าที่ของ รปภ. จากเจ้าหน้าที่และผู้อยู่อาศัย 2.9 6 เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ให้พอเพียง 2.7 7 มีต้นสังกัด หรือหน่วยงานที่ชัดเจนและไว้ใจได้ 2.0 8 กำหนดบทลงโทษที่ชัดเจน กรณีที่บกพร่องต่อหน้าที่ 1.3 --เอแบคโพลล์-- -พห-