ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลวิจัยเชิงประเมินผลเรื่อง การปฏิบัติการรวม
พลังไทยทั้งชาติขจัดยาเสพติดในสายตาสาธารณชน: กรณีศึกษาประชาชนใน 39 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 10,651 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนิน
โครงการ ระหว่างวันที่ 21 สิงหาคม — 10 กันยายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบมีดังนี้
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.1 ระบุเคยรับรู้รับทราบข้อมูลข่าวสารของปฏิบัติการรวมพลังไทยทั้งชาติขจัดยาเสพติด
ช่วงระหว่างวันที่ 1 มีนาคม — 31 สิงหาคม 2549 ในขณะที่ส่วนใหญ่เช่นกันหรือ ร้อยละ 84.6 รับรู้รับทราบปฏิบัติการรวมพลังไทยทั้งชาติขจัดยา
เสพติดผ่านกิจกรรมแก้ปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านและชุมชน
เมื่อสอบถามถึงปฏิบัติการด้านปราบปรามยาเสพติด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.3 ระบุในลักษณะที่ดีเหมือนเดิมจนถึงดีขึ้น
โดยสามอันดับแรกได้แก่ ร้อยละ 59.7 ระบุเป็นการจัดกำลังปิดล้อม/ตรวจค้นสถานที่ต้องสงสัยในหมู่บ้าน/ชุมชน ร้อยละ 59.2 ระบุเป็นการปราบปราม
จับกุมผู้ค้ายาเสพติด และร้อยละ 57.8 ระบุเป็นการกำจัดแหล่งมั่วสุมยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน
เมื่อสอบถามถึงปฏิบัติการด้านการแก้ไขปัญหาผู้เสพและผู้ติดยาเสพติด พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.6 ระบุในลักษณะที่ดีเหมือนเดิมจนถึง
ดีขึ้น โดยสามอันดับแรกได้แก่ ร้อยละ 58.3 ระบุเป็นการค้นหาผู้เสพ/ผู้ติดยาในหมู่บ้าน/ชุมชน ร้อยละ 52.0 ระบุเป็นการนำผู้เสพผู้ติดยาเข้าสู่ระบบ
การบำบัดรักษา และร้อยละ 51.7 ระบุเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ผ่านการบำบัดรักษาไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดอีก
เมื่อสอบถามถึงปฏิบัติการด้านการป้องกันผู้เสพผู้ติดยาเสพติดในหมู่บ้านและชุมชน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.1 ระบุในลักษณะที่ดี
เหมือนเดิมถึงดีขึ้น โดยในสามอันดับแรกได้แก่ ร้อยละ 75.4 ระบุเป็นการจัดส่งเสริมกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ของเยาวชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ร้อยละ
70.1 ระบุเป็นการให้ข่าวสารความรู้เรื่องยาเสพติดแก่ประชาชน และร้อยละ 68.1 ระบุเป็นการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ
ป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน
อย่างไรก็ตาม มีประชาชนร้อยละ 21.7 ที่เคยแจ้งเบาะแสเรื่องยาเสพติดให้กับเจ้าหน้าที่รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยร้อยละ
34.6 ของกลุ่มที่เคยแจ้งเบาะแสระบุเจ้าหน้าที่รัฐไม่ได้มีการดำเนินการใดๆ ในขณะที่ร้อยละ 65.4 ระบุมีการดำเนินการหลังรับแจ้งเบาะแส แต่ที่น่า
พิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.3 ไม่ค่อยมั่นใจถึงไม่มั่นใจในความปลอดภัยต่อการแจ้งเบาะแสเรื่องยาเสพติด ในขณะที่ร้อยละ 19.1
ค่อนข้างมั่นใจและร้อยละ 18.6 มั่นใจ
เมื่อสอบถามถึงความพอใจของสาธารณชนต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาลโดยภาพรวมพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 50.7 ระบุพึงพอใจ
ในระดับมาก-มากที่สุด ร้อยละ 35.4 ระบุพึงพอใจในระดับปานกลาง และร้อยละ 13.9 ระบุพึงพอใจในระดับน้อย-ไม่พอใจเลย ซึ่งเมื่อพิจารณา
จำแนกออกตามพื้นที่ของสำนักงาน ปปส.ภาค/กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1-9 และกรุงเทพมหานครนั้น พบว่ามีเพียงพื้นที่ของภาค 4 (ร้อยละ
74.7 ) ภาค 3 (ร้อยละ 73.1) ภาค 5 (ร้อยละ 58.2) และภาค 6 ( ร้อยละ 53.8) เท่านั้นที่มีสัดส่วนของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจใน
ระดับมากถึงมากที่สุด สูงกว่าความพึงพอใจโดยภาพรวม
และเมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจในช่วงปฏิบัติการครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2547 พบว่าสัดส่วนของประชาชนที่พอใจระดับปานกลางถึงมากที่
สุดลดลงจากร้อยละ 95.6 เหลือร้อยละ 86.1
เมื่อสอบถามถึงความเอาจริงเอาจังของเจ้าหน้าที่รัฐในการแก้ปัญหายาเสพติดระดับหมู่บ้าน/ชุมชนเปรียบเทียบกับผลสำรวจในช่วงปฏิบัติ
การปี พ.ศ. 2547 พบว่าสัดส่วนของประชาชนที่เห็นว่าเจ้าหน้าที่รัฐเอาจริงเอาจังระดับปานกลางถึงมากที่สุดลดลงจากร้อยละ 91.0 เหลือร้อยละ 82.2
เมื่อสอบถามถึงการทำงานขององค์กรเครือข่ายภาคประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.6 เห็นว่ามีการ
ทำงานอย่างจริงจังเพื่อแก้ปัญหายาเสพติดในระดับปานกลางถึงมากที่สุด
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ สถานการณ์ปัญหายาเสพติดระดับ “รุนแรง” ในความรู้สึกของประชาชนลดลงจากการสำรวจเพียงเล็กน้อยจาก
ร้อยละ 5.5 ในการสำรวจช่วงปลายปี พ.ศ. 2548 เหลือร้อยละ 4.0 ในการสำรวจครั้งนี้ แต่ในทางสถิติไม่ถือว่าแตกต่างกัน ยิ่งไปกว่านั้นหาก
พิจารณาเปรียบเทียบกับการกวาดล้างครั้งที่ 2 ของปี พ.ศ. 2547 พบว่าระดับความรุนแรงในความรู้สึกของประชาชนกลับสูงขึ้นจากร้อยละ 1.8 มาอยู่
ที่ร้อยละ 4.0
เมื่อพิจารณาตัวชี้วัดสถานการณ์บางตัวจากประสบการณ์จริงของประชาชน พบว่า ประชาชน 1 ใน 5 หรือร้อยละ 20.2 เห็นว่ามีผู้เสพ/ผู้
ติดยาเสพติดในหมู่บ้านและชุมชนของตนเอง เพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อนร้อยละ 5.9 และพบว่าประชาชนร้อยละ 14.7 พบเห็นแหล่งมั่วสุมเสพยา
เสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนของตนเองเพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อนร้อยละ 7.0 โดยพบแหล่งมั่วสุมเสพยาเสพติดสามอันดับแรกได้แก่ มุมอับ/ ที่ลับตา
คน/ ที่รกร้างว่างเปล่า ร้อยละ 38.2 อันดับสองได้แก่ บ้านพักอาศัยร้อยละ 29.5 และอันดับสามได้แก่ หอพัก/คอนโดมีเนียม/ บ้านเช่า ร้อยละ
26.1 ตามลำดับ
เมื่อสอบถามถึงผู้ค้ายาเสพติดในประสบการณ์พบเห็นของประชาชน พบว่า ร้อยละ 7.8 ระบุมีผู้ค้ายาเสพติดในหมู่บ้านชุมชนของตนเอง ซึ่ง
เพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อนเล็กน้อยร้อยละ 1.8 อย่างไรก็ตาม ประชาชนร้อยละ 7.0 เห็นว่ามีแหล่งซื้อขายยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนของตนเอง
สอดคล้องกับผลสำรวจที่พบว่าร้อยละ 52.5 ระบุว่าหาซื้อยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนของตนเองได้ค่อนข้างยากจนถึงหาซื้อไม่ได้เลย สำหรับราคาเฉลี่ย
ค่ายาบ้าภาพรวมของประเทศอยู่ที่เม็ดละ 281.72 บาท
สำหรับแนวทางที่สาธารณชนต้องการให้รัฐบาลดำเนินการแก้ปัญหายาเสพติดสามอันดับแรกได้แก่ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.3 ต้องการให้
ปราบปรามจับกุมผู้ค้า/ผู้ผลิต อันดับสองหรือร้อยละ 71.3 ต้องการให้ยึดทรัพย์ผู้ค้า/ผู้ผลิต และอันดับที่สามหรือร้อยละ 70.8 ต้องการให้ลงโทษเจ้า
หน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
ดร.นพดล กล่าวว่า จากการสำรวจครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าความพึงพอใจของประชาชนต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดของเจ้าหน้าที่รัฐเริ่มลดลง
เห็นได้อย่างชัดเจน ในขณะที่สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในหลายพื้นที่ยังคงมีอยู่ในระดับที่รุนแรงเหมือนเดิม เช่นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กองบัญชาการ
ตำรวจนครบาล ตำรวจภูธรภาค 1 ตำรวจภูธรภาค 2 ภาค 7 ภาค 8 และภาค 9 เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องเร่งดำเนินการปรับยุทธศาสตร์ปลอดปัญหายา
เสพติด โดยเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและใช้ยุทธศาสตร์สามเหลี่ยมขับเคลื่อนปัญหายาเสพติดสู่สภาวะปลอดยาเสพติดอย่าง
ยั่งยืนได้แก่ ยุทธศาสตร์ชุมชนหมู่บ้านอยู่เย็นเป็นสุข ยุทธศาสตร์ชุมชนหมู่บ้านพอเพียง และยุทธศาสตร์ชุมชนหมู่บ้านเข้มแข็ง
รายละเอียดโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อประเมินผลการปฏิบัติการรวมพลังไทยทั้งชาติ ขจัดยาเสพติด
2. เพื่อประเมินผลสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน (โดยเฉพาะการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนยั่งยืน การจัดระเบียบสังคม การ
ส่งเสริมกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ในกลุ่มเยาวชนในและนอกสถานศึกษา)
3. เพื่อสำรวจความพึงพอใจของประชาชน รวมทั้งความเชื่อมั่นของประชาชนในการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดตามปฏิบัติการรวมพลังไทย
ทั้งชาติ ขจัดยาเสพติด รวมทั้งสำรวจขวัญ และกำลังใจของเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติงานในพื้นที่
4. เพื่อสำรวจปัจจัยที่ส่งผลให้ยาเสพติดหลงเหลืออยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน และแนวทางที่ประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ต้องการ
ให้มีการดำเนินการต่อ เพื่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดในระยะต่อไป
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไประเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ผลประเมินปฏิบัติการรวมพลังไทยทั้งชาติขจัดยาเสพ
ติดในสายตาสาธารณชน: กรณีศึกษาประชาชนใน 39 จังหวัดของประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 21 สิงหาคม -10 กันยายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18-
60 ปี ใน 39 จังหวัดทั่วประเทศ เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่าง
ให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวนทั้งสิ้น 10,651 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ใน
ระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ + / - ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ
แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
ตัวอย่าง ร้อยละ 48.8 เป็นเพศชาย
และร้อยละ 51.2 เป็นเพศหญิง
ร้อยละ 8.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ24.0 อายุ 20-29 ปี
ร้อยละ 27.1 อายุ 30-39 ปี
ร้อยละ 23.8 อายุ 40-49 ปี และ
ร้อยละ 16.2 อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 29.3 อาชีพค้าขาย/ประกอบกิจการส่วนตัว
ร้อยละ 23.2 อาชีพเกษตรกร/ชาวประมง
ร้อยละ 19.4 อาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 7.1 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.5 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 5.8 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 4.5 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 4.2 ว่างงาน/ ไม่มีงานทำ
เมื่อพิจารณารายได้โดยรวมของครอบครัวต่อเดือน
พบว่า ร้อยละ 29.9 ระบุ ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ในขณะที่ร้อยละ 26.7 ระบุ 5,001-10,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 9.9 ระบุ 10,001-15,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 7.6 ระบุ 15,001-20,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 25.9 ระบุรายได้รวมของครัวเรือนมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
นอกจากนี้ ตัวอย่าง ร้อยละ 59.6 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น/ต่ำกว่า
ร้อยละ 21.8 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ป.ว.ช.
ร้อยละ 7.2 สำเร็จ การศึกษาระดับอนุปริญญา/ป.ว.ส.
ร้อยละ 10.5 สำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญาตรี และ
ร้อยละ 0.9 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตาราง 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้/รับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับปฏิบัติการรวมพลังไทยทั้งชาติ
ขจัดยาเสพติดผ่านทางสื่อ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2549 เป็นต้นมา
ลำดับที่ การรับรู้/รับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับปฏิบัติการรวมพลังไทยทั้งชาติ ขจัดยาเสพติดตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2549 ค่าร้อยละ
1 รับรู้/รับทราบ 75.1
2 ไม่รับรู้/ไม่รับทราบ 24.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตาราง 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้/รับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับปฏิบัติการรวมพลังไทยทั้งชาติ ขจัด
ยาเสพติดผ่านทางกิจกรรมแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2549 เป็นต้นมา
ลำดับที่ การรับรู้/รับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับปฏิบัติการรวมพลังไทยทั้งชาติ ขจัดยาเสพติดตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2549 ค่าร้อยละ
1 รับรู้/รับทราบ 84.6
2 ไม่รับรู้/ไม่รับทราบ 15.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตาราง 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเปลี่ยนแปลงต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดด้านการปราบปรามยาเสพติดใน
หมู่บ้าน/ชุมชนของตน นับตั้งแต่เริ่มปฏิบัติการรวมพลังไทยทั้งชาติ ขจัดยาเสพติด (1 มีนาคม 2549 เป็นต้นมา)
การแก้ไขปัญหาด้านการปราบปราม ดีขึ้น ดีเหมือนเดิม แย่เหมือนเดิม แย่ลง ไม่ทราบ รวมทั้งสิ้น
1. การจัดกำลังปิดล้อม/ตรวจค้น สถานที่ต้อง 36.2 23.5 8 2.3 30 100
สงสัยในหมู่บ้าน/ชุมชน
2. การปราบปรามจับกุมผู้ค้ายาเสพติด 35 24.2 8 2.6 30.2 100
3. กำจัดแหล่งมั่วสุมยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน 35 22.8 8.7 2.9 30.6 100
4. การดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไป 29.4 22.7 8.4 2.8 36.7 100
เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
5. การยึดทรัพย์สินของผู้ต้องหายาเสพติด 26.1 20.7 7.5 2.7 43 100
6. การดำเนินงานด้านการปราบปราม 40.5 25.8 8.3 2.9 22.5 100
ยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนโดยภาพรวม
ตาราง 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเปลี่ยนแปลงต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดด้านการแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติด
ในหมู่บ้าน/ชุมชนของตน นับตั้งแต่เริ่มปฏิบัติการรวมพลังไทยทั้งชาติ ขจัดยาเสพติด (1 มีนาคม 2549 เป็นต้นมา)
การแก้ไขปัญหาด้านผู้เสพ/ผู้ติด ดีขึ้น ดีเหมือนเดิม แย่เหมือนเดิม แย่ลง ไม่ทราบ รวมทั้งสิ้น
1. การค้นหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน 34.4 23.9 8.3 2.3 31.1 100.0
2. การนำผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษา 29.1 22.9 7.3 2.2 38.5 100.0
3. การบำบัดรักษาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด 28.6 22.2 7.2 2.1 39.9 100.0
4. การติดตาม ดูแล ช่วยเหลือผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดในหมู่บ้าน/
ชุมชนที่ผ่านการบำบัดฟื้นฟูแล้ว 27.1 21.5 7.7 2.7 41.0 100.0
5. การส่งเสริม/ฝึกอาชีพให้กับผู้เสพ/ผู้ค้ายาเสพติดที่กลับใจ 26.5 20.2 7.9 2.6 42.8 100.0
6. การยอมรับผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดในหมู่บ้าน/
ชุมชนที่ผ่านกระบวน การบำบัดฟื้นฟูแล้ว 28.5 23.0 7.2 2.3 39.0 100.0
7. การป้องกันไม่ให้ผู้ที่ผ่านการบำบัด
กลับไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดอีก 29.1 22.6 7.7 2.6 38.0 100.0
8. การดำเนินงานด้านการแก้ไขปัญหาผู้เสพ/
ผู้ติดยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนโดยภาพรวม 35.1 25.5 7.5 2.7 29.2 100.0
ตาราง 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเปลี่ยนแปลงต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดด้านการป้องกันปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนของตน
นับตั้งแต่เริ่มปฏิบัติการรวมพลังไทยทั้งชาติ ขจัดยาเสพติด (1 มีนาคม 2549 เป็นต้นมา)
การแก้ไขปัญหาด้านผู้เสพ/ผู้ติด ดีขึ้น ดีเหมือนเดิม แย่เหมือนเดิม แย่ลง ไม่ทราบ รวมทั้งสิ้น
1. การจัดส่งเสริมกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์
ของเยาวชนในหมู่บ้าน/ชุมชน 48.0 27.4 6.9 1.6 16.1 100.0
2. การตรวจตราควบคุมแหล่งแพร่ระบาดของยาเสพติดในสถานศึกษา 38.9 28.4 7.6 2.1 23.0 100.0
3. การจัดเวรยามเพื่อลาดตระเวนในหมู่บ้าน/ชุมชน 33.8 28.6 10.0 4.1 23.5 100.0
4. การจัดตั้งจุดตรวจ/ด่านตรวจบริเวณติดต่อระหว่างหมู่บ้าน/ชุมชน 32.7 30.7 8.6 3.2 24.8 100.0
5. การจัดตั้งจุดตรวจ/ด่านตรวจบริเวณแนวตะเข็บชายแดน 20.8 18.6 5.8 1.8 53.0 100.0
6. การกวดขัน สอดส่อง ควบคุม มิให้สถานบริการแหล่งบันเทิง
หอพักร้านเกมส์/อินเทอร์เน็ต/แกงค์มอเตอร์ไซค์
และสถานที่เสี่ยง อื่นๆ ในหมู่บ้าน/ชุมชนเป็นแหล่งมั่วสุม
และแพร่ระบาดของยาเสพติด 27.9 24.5 9.5 3.4 34.7 100.0
7. การให้ข่าวสารความรู้เรื่องยาเสพติด
แก่ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน 39.3 30.8 8.3 2.6 19.0 100.0
8. การรวบรวมข้อมูลการแพร่ระบาดของยาเสพติด
ในหมู่บ้าน/ชุมชุน 33.6 29.8 8.5 2.5 25.6 100.0
9. สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันแก้ไข
ปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน (หมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็ง) 36.5 31.6 8.0 2.3 21.6 100.0
10.การดำเนินงานด้านการป้องกันปัญหายาเสพติด
ในหมู่บ้าน/ชุมชนโดยภาพรวม 41.2 30.9 7.7 2.6 17.6 100.0
ตาราง 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการแจ้งเบาะแสเรื่องยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนให้กับหน่วยงานราชการ
ลำดับที่ การแจ้งเบาะแสเรื่องยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนให้กับหน่วยงานราชการ ค่าร้อยละ
1 เคยแจ้งเบาะแส 21.7
2 ไม่เคยแจ้ง เพราะ...ไม่มั่นใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่ /
ไม่อยากสร้างความยุ่งยากให้ตัวเอง/ไม่ทราบแหล่งข้อมูลที่ชัดเจน /
ไม่มั่นใจในความปลอดภัย/กลัวอิทธิพล 78.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตาราง 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่รัฐภายหลังการแจ้งเบาะแสเรื่องยาเสพติด
(ค่าร้อยละเฉพาะตัวอย่างที่ระบุเคยแจ้งเบาะแส)
ลำดับที่ การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่รัฐภายหลังการแจ้งเบาะแสเรื่องยาเสพติด ค่าร้อยละ
1 มีการดำเนินงาน 65.4
2 ไม่มีการดำเนินงานใดๆ 34.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตาราง 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจในความปลอดภัยต่อการแจ้งเบาะแสเรื่อง
ยาเสพติดให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ/หน่วยงานราชการ
ลำดับที่ ระดับความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 18.6
2 ค่อนข้างมั่นใจ 19.1
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 34.2
4 ไม่มั่นใจ 28.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตาราง 9 เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยภาพรวมของรัฐบาลจำแนกตามพื้นที่
สำนีกงาน ปปส.ภาค/กองบัญชาการตำรวจภูธร 1-9 และกรุงเทพมหานคร
ความพึงพอใจต่อการแก้ไข ภาค 1 ภาค 2 ภาค 3 ภาค 4 ภาค 5 ภาค 6 ภาค 7 ภาค 8 ภาค 9 กทม. ภาพรวม
ปัญหายาเสพติดโดยภาพรวมของรัฐบาล
1. พอใจมาก-มากที่สุด 43.6 37.5 73.1 74.7 58.2 53.8 35.7 38.2 33.7 30.9 50.7
2. พอใจปานกลาง 38.6 42.8 21.3 22.1 32.7 36.3 43.5 46.2 44.7 47.8 35.4
3. น้อย-ไม่พอใจเลย 17.8 19.7 5.6 3.2 9.1 9.9 20.8 15.6 21.6 21.3 13.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตาราง 10 เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยภาพรวมของรัฐบาล
ความพึงพอใจต่อการแก้ไข ครั้งที่ 2ค่าร้อยละ ครั้งที่ 3ค่าร้อยละ ครั้งที่ 4ค่าร้อยละ รวมพลังฯค่าร้อยละ
ปัญหายาเสพติดโดยภาพรวมของรัฐบาล
1. พอใจมาก-มากที่สุด 71.7 66.1 57.6 50.7
2. พอใจปานกลาง 23.9 27.1 32.1 35.4
3. น้อย-ไม่พอใจเลย 4.4 6.8 10.3 13.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตาราง 11 เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อความจริงจังในการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/
ชุมชนของหน่วยงาน/เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง
ความคิดเห็นต่อความจริงจังในการทำงาน ครั้งที่ 2ค่าร้อยละ ครั้งที่ 3ค่าร้อยละ ครั้งที่ 4ค่าร้อยละ รวมพลังฯค่าร้อยละ
เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน
ของหน่วยงาน/เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง
1. จริงจังในระดับมาก-มากที่สุด 56.2 55.2 47.2 45.0
2. จริงจังในระดับปานกลาง 34.8 33.6 38.7 37.2
3. น้อย-ไม่จริงจังเลย 9.0 11.2 14.1 17.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตาราง 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นที่มีต่อความจริงจังขององค์กรเครือข่ายภาค
ประชาชนในการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน
ลำดับที่ ระดับความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 มากที่สุด 12.2
2 มาก 31.0
3 ปานกลาง 38.4
4 น้อย 12.3
5 ไม่จริงจังเลย 6.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตาราง 13 เปรียบเทียบสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนของตนในปัจจุบัน
สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนของตนในปัจจุบัน ครั้งที่ 2ค่าร้อยละ ครั้งที่ 3ค่าร้อยละ ครั้งที่ 4ค่าร้อยละ รวมพลังฯค่าร้อยละ
สถานการณ์อยู่ในระดับ “รุนแรง” 1.8 2.1 5.5 4.0
ตาราง 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนที่พบเห็นด้วย
ตนเองตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2549 เป็นต้นมา
ลักษณะปัญหายาเสพติด เคยพบเห็น(ค่าร้อยละ) ไม่เคยพบเห็น (ค่าร้อยละ) รวมทั้งสิ้น
1. ผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด 20.2 79.8 100.0
2. ผู้ค้า/ผู้ผลิตยาเสพติด 7.8 92.2 100.0
3. เจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง/
กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด 6.0 94.0 100.0
4. เจ้าหน้าที่รัฐละเลยเพิกเฉย ไม่เอาจริงเอาจัง
ในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด 7.4 92.6 100.0
5. แหล่งมั่วสุมเสพยาเสพติด 14.7 85.3 100.0
6. แหล่งมั่วสุมค้ายาเสพติด 7.0 93.0 100.0
ตาราง 15 แสดงค่าร้อยละของการรับรู้/รับทราบเกี่ยวกับแหล่งมั่วสุมเสพยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน
(ค่าร้อยละเฉพาะตัวอย่างที่ระบุเคยรับรู้/รับทราบว่ามีแหล่งมั่วสุมเสพยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน
และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การรับรู้รับทราบแหล่งมั่วสุมเสพยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน ค่าร้อยละ
1 มุมอับ/ที่ลับตาคน/ที่รกร้าง 38.2
2 บ้านพักอาศัย 29.5
3 หอพัก/คอนโดมิเนียม/บ้านเช่า 26.1
4 กระท่อม/เพิงพัก 25.7
5 สถานบันเทิง อาทิ ผับ เทค 23.0
(ยังมีต่อ)