ที่มาของโครงการ
ในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา ได้เกิดข่าวความรุนแรงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นข่าวที่เกี่ยวกับสถานการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาค
ใต้ ข่าวการต่อต้านการแปรรูป กฟผ. ข่าวม็อบต่อต้านการโอนย้ายครูไปสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ข่าวการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดนก และการ
ฟ้องร้องคดีหมิ่นต่างๆ ระหว่างฝ่ายการเมืองและบุคคลในสื่อมวลชน เป็นต้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลและกำลังอยู่ในความสนใจของ
ประชาชน
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสะท้อนถึงความคิดเห็นของประชาชน
ทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อสถานการณ์ร้อนทางการเมือง ด้วยการจัดส่งอาจารย์เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่
ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความมั่นใจต่อเสถียรภาพทางการเมืองในอีก 3 เดือนข้างหน้า
2. เพื่อสำรวจสาเหตุที่มีผลกระทบ และวิธีแก้ปัญหาเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเมือง
3. เพื่อสำรวจการประเมินการกระทำของรัฐบาลในช่วง 30 วันที่ผ่านมา และโดยภาพรวม
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อสถานการณ์ร้อนทาง
การเมือง: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณทล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 25 - 26 พฤศจิกายน 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,438 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูลและงบประมาณเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 51.4 เป็นหญิง ร้อยละ 48.6 เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 6.9 อายุต่ำ
กว่า 20 ปี ร้อยละ 26.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 24.6 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 20.5 อายุระหว่าง 40—49 ปี และร้อย
ละ 21.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 70.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 27.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญา
ตรี และร้อยละ 2.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 39.7 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 18.0 ระบุอาชีพรับ
จ้างทั่วไป ร้อยละ 11.5 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 6.7 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 10.3 ระบุเป็นนักศึกษา
ร้อยละ 9.7 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ และร้อยละ 4.1 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจในครั้งนี้เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อสถานการณ์ร้อนทางการ
เมือง” ซึ่งได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,438 ตัวอย่าง
โดยดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 64.0 ติดตามข่าวสารทางการเมืองเป็นบางวัน ร้อยละ 31.2 ติดตามทุกวัน และร้อยละ 4.8 ไม่ได้
ติดตามเลย
สำหรับความเชื่อต่อความเข้มข้นร้อนแรงทางการเมืองนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 63.8 เชื่อว่าการเมืองจะเข้มข้นร้อนแรงมากขึ้น
เรื่อยๆ ร้อยละ 29.4 ไม่เชื่อ และร้อยละ 6.8 ไม่มีความเห็น ในขณะเดียวกัน ตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 57.2 ไม่มั่นใจต่อ
เสถียรภาพทางการเมืองในอีก 3 เดือนข้างหน้า ร้อยละ 18.1 มั่นใจต่อเสถียรภาพทางการเมือง และร้อยละ 24.7 ไม่มีความเห็น
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความคิดเห็นต่อสาเหตุที่กระทบต่อเสถียรภาพทางการเมืองนั้น ตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยกับทุก
สาเหตุที่มีผลกระทบ ได้แก่ ข่าวม็อบต่างๆ เช่น ม็อบครู ม็อบต้านแปรรูป กฟผ. การชุมนุมที่สวนลุม เป็นต้น (เห็นด้วย ร้อยละ 76.4) ความไม่พอใจ
ของประชาชนต่อการปิดกั้นการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองของประชาชน (เห็นด้วย ร้อยละ 71.1) การโอนย้ายครูไปสังกัดองค์การปกครองท้องถิ่น
(เห็นด้วย ร้อยละ 68.7) ปัญหาชายแดนภาคใต้ (เห็นด้วย ร้อยละ 56.8) ความไม่พอใจของประชาชนต่อข่าวพรรคไทยรักไทยที่เลือกปฏิบัติเอาใจ
ใส่ต่อพื้นที่ที่มี ส.ส. ของพรรคอยู่ก่อนพื้นที่อื่นๆ (เห็นด้วย ร้อยละ 54.8) ข่าวการแปรรูป กฟผ. (เห็นด้วย ร้อยละ 52.3) วิธีการตอบโต้ของ ส.
ส. ฝ่ายรัฐบาลต่อผู้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล (เห็นด้วย ร้อยละ 49.2) และบทบาทการทำงานของฝ่ายค้าน (เห็นด้วย ร้อยละ 40.6)
สำหรับวิธีแก้ปัญหาของรัฐบาลเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเมืองนั้นพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยกับวิธีแก้ปัญหาของรัฐบาล ดังนี้ เร่งแก้
ปัญหาประชาชนลดการตอบโต้ (เห็นด้วย ร้อยละ 72.8) คืนพื้นที่สื่อเสนอข่าวสารที่สมดุลให้กับประชาชน (เห็นด้วย ร้อยละ 71.6) ลดอคติต่อกันใน
สังคมเพื่อความมั่นคงของประเทศ (เห็นด้วย ร้อยละ 70.8) และชี้แจงสร้างความเข้าใจที่ดีกับประชาชนอย่างสุภาพไม่ก้าวร้าว (เห็นด้วย ร้อยละ
68.2) แต่ในขณะเดียวกัน ตัวอย่างไม่เห็นด้วยกับการดำเนินการเอาผิดกับคนที่เห็นตรงข้ามกับรัฐบาล (ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 64.9)
ผลสำรวจต่อการประเมินการกระทำของรัฐบาลในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่า การกระทำของรัฐบาลที่ประชาชนพอใจ 5 อันดับแรก มีดัง
นี้ การที่นายกรัฐมนตรีไม่ตอบโต้ฝ่ายตรงข้ามที่โจมดีรัฐบาล (ร้อยละ 68.4) ผลงานนายกรัฐมนตรีในต่างประเทศ (ร้อยละ 64.5) รณรงค์แนวทาง
แก้ปัญหาครอบครัว เช่น ให้วันอาทิตย์เป็นวันครอบครัว (ร้อยละ 63.7) การปราบปรามยาเสพติด (ร้อยละ 61.7) และโครงการรณรงค์ลดใช้
พลังงาน (ร้อยละ 60.9)
เมื่อสอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความพอใจและไม่พอใจโดยภาพรวมต่อพรรคฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 49.3 พอใจ
พรรคฝ่ายรัฐบาลมากกว่า เพราะมีผลงานชัดเจน ช่วยให้ประเทศเจริญมากขึ้น ตั้งใจจริงแก้ปัญหาวิกฤตด้านต่างๆ ของประเทศ เป็นต้น (ร้อยละ
49.3) รองลงมาคือ ไม่พอใจพรรคฝ่ายค้าน เพราะไม่มีผลงาน ลอยตัวเหนือปัญหา ไม่เห็นทำอะไรชัดเจน มุ่งล้มล้างรัฐบาล เป็นต้น (ร้อยละ
46.9) ไม่พอใจพรรคฝ่ายรัฐบาล เพราะแทรกแซงสื่อ ปิดกั้นการรับรู้ข่าวสารของประชาชน มุ่งประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง มีพฤติกรรมตอบโต้ฝ่าย
ตรงข้ามที่รุนแรง เป็นต้น (ร้อยละ 39.2) และพอใจพรรคฝ่ายค้านมากกว่า เพราะติดตามการตรวจสอบรัฐบาลใกล้ชิดปรับปรุงการทำงานตลอด มี
ข้อมูลที่เชื่อถือได้ ตั้งใจทำงาน เป็นต้น (ร้อยละ 24.1) ในขณะที่มีตัวอย่างร้อยละ 20.3 ที่ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสุดท้ายที่น่าพิจารณา คือ การให้โอกาสรัฐบาลในการทำงานต่อไป พบว่า ตัวอย่างประมาณครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 51.4 ให้โอกาส
รัฐบาลทำงานต่อไป ร้อยละ 28.9 ไม่ให้โอกาส และร้อยละ 19.7 ไม่มีความเห็น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากตารางดังต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การติดตามข่าวสารการเมือง
ลำดับที่ การติดตามข่าวสารการเมือง ค่าร้อยละ
1 ติดตามทุกวัน 31.2
2 ติดตามบางวัน 64.0
3 ไม่ติดตามเลย 4.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อต่อความเข้มข้นร้อนแรงทางการเมือง
ลำดับที่ ความเข้มข้นร้อนแรงทางการเมือง ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าการเมืองจะเข้มข้นร้อนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ 63.8
2 ไม่เชื่อ 29.4
3 ไม่มีความเห็น 6.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความมั่นใจต่อเสถียรภาพทางการเมืองในอีก 3 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความมั่นใจของประชาชนต่อเสถียรภาพทางการเมืองในอีก 3 เดือนข้างหน้า ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 18.1
2 ไม่มั่นใจ 57.2
3 ไม่มีความเห็น 24.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อสาเหตุที่กระทบต่อเสถียรภาพทางการเมือง
ลำดับที่ สาเหตุที่กระทบต่อเสถียรภาพทางการเมือง เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น
1 ข่าวม็อบต่างๆ เช่น ม็อบครู ม็อบต้านแปรรูป กฟผ. การชุมนุมที่สวนลุม เป็นต้น 76.4 8.3 15.3
2 ความไม่พอใจของประชาชนต่อการปิดกั้นการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองของประชาชน 71.1 9.2 19.7
3 การโอนย้ายครูไปสังกัดองค์การปกครองท้องถิ่น 68.7 16.5 14.8
4 ปัญหาชายแดนภาคใต้ 56.8 22.1 21.1
5 ความไม่พอใจของประชาชนต่อข่าวพรรคไทยรักไทยที่เลือกปฏิบัติเอาใจใส่ต่อพื้นที่ที่มี ส.ส.ของพรรคอยู่ก่อนพื้นที่อื่นๆ 54.8 30.6 14.6
6 ข่าวการแปรรูป กฟผ 52.3 24.9 22.8
7 วิธีการตอบโต้ของ ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลต่อผู้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล 49.2 32.7 18.1
8 บทบาทการทำงานของฝ่ายค้าน 40.6 39.9 19.5
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ วิธีแก้ปัญหาของรัฐบาลเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเมือง
ลำดับที่ วิธีแก้ปัญหาของรัฐบาลเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเมือง เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น
1 เร่งแก้ปัญหาของประชาชนลดการตอบโต้ 72.8 12.9 14.3
2 คืนพื้นที่สื่อเสนอข่าวสารที่สมดุลให้กับประชาชน 71.6 11.3 17.1
3 ลดอคติต่อกันในสังคมเพื่อความมั่นคงของประเทศ 70.8 11.3 17.9
4 ชี้แจงสร้างความเข้าใจที่ดีกับประชาชนอย่างสุภาพไม่ก้าวร้าว 68.2 13.5 18.3
5 ดำเนินการเอาผิดกับคนที่เห็นตรงข้ามกับรัฐบาล 11.8 64.9 23.3
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การประเมินการกระทำของรัฐบาลในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การกระทำของรัฐบาล พอใจ ไม่พอใจ ไม่มีความเห็น
1 การที่นายกรัฐมนตรีไม่ตอบโต้ฝ่ายตรงข้ามที่โจมตีรัฐบาล 68.4 18.5 13.1
2 ผลงานนายกรัฐมนตรีในต่างประเทศ 64.5 26.8 8.7
3 รณรงค์แนวทางแก้ปัญหาครอบครัว เช่น ให้วันอาทิตย์เป็นวันครอบครัว 63.7 17.9 18.4
4 การปราบปรามยาเสพติด 61.7 29.3 9.0
5 โครงการรณรงค์ลดใช้พลังงาน 60.9 20.3 18.8
6 แนวทางสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ให้กับเยาวชน 60.6 12.8 26.6
7 การประกาศปราบปรามสื่อลามก 50.2 38.7 11.1
8 ความร่วมมือของรัฐบาลกับกรุงเทพมหานครเรื่องรถไฟฟ้า 48.9 32.6 18.5
9 การแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ 48.3 31.1 20.6
10 การแก้ปัญหาความยากจน 43.8 39.9 16.3
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจและไม่พอใจโดยภาพรวมต่อพรรคฝ่ายรัฐบาลและ
ฝ่ายค้าน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความพอใจและไม่พอใจต่อพรรคฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ค่าร้อยละ
1 พอใจพรรคฝ่ายรัฐบาลมากกว่า เพราะมีผลงานชัดเจน ช่วยให้ประเทศเจริญมากขึ้น
ตั้งใจจริงแก้ปัญหาวิกฤตด้านต่างๆ ของประเทศ 49.3
2 พอใจพรรคฝ่ายค้านมากกว่า เพราะติดตามตรวจสอบรัฐบาลใกล้ชิด
ปรับปรุงการทำงานตลอด มีข้อมูลที่เชื่อถือได้ ตั้งใจทำงาน เป็นต้น 24.1
3 ไม่พอใจพรรคฝ่ายรัฐบาล เพราะแทรกแซงสื่อ ปิดกั้นการรับรู้ข่าวสารของประชาชน
มุ่งประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง มีพฤติกรรมตอบโต้ฝ่ายตรงข้ามที่รุนแรง เป็นต้น 39.2
4 ไม่พอใจพรรคฝ่ายค้าน เพราะ ไม่มีผลงาน ลอยตัวเหนือปัญหา ไม่เห็นทำอะไรชัดเจน
มุ่งล้มล้างรัฐบาล เป็นต้น 46.9
5 ไม่มีความเห็น 20.3
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้โอกาสรัฐบาลในการทำงานต่อไป
ลำดับที่ การให้โอกาสรัฐบาลในการทำงานต่อไป ค่าร้อยละ
1 ให้โอกาสทำงานต่อ 51.4
2 ไม่ให้โอกาส 28.9
3 ไม่มีความเห็น 19.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา ได้เกิดข่าวความรุนแรงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นข่าวที่เกี่ยวกับสถานการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาค
ใต้ ข่าวการต่อต้านการแปรรูป กฟผ. ข่าวม็อบต่อต้านการโอนย้ายครูไปสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ข่าวการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดนก และการ
ฟ้องร้องคดีหมิ่นต่างๆ ระหว่างฝ่ายการเมืองและบุคคลในสื่อมวลชน เป็นต้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลและกำลังอยู่ในความสนใจของ
ประชาชน
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสะท้อนถึงความคิดเห็นของประชาชน
ทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อสถานการณ์ร้อนทางการเมือง ด้วยการจัดส่งอาจารย์เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่
ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความมั่นใจต่อเสถียรภาพทางการเมืองในอีก 3 เดือนข้างหน้า
2. เพื่อสำรวจสาเหตุที่มีผลกระทบ และวิธีแก้ปัญหาเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเมือง
3. เพื่อสำรวจการประเมินการกระทำของรัฐบาลในช่วง 30 วันที่ผ่านมา และโดยภาพรวม
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อสถานการณ์ร้อนทาง
การเมือง: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณทล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 25 - 26 พฤศจิกายน 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,438 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูลและงบประมาณเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 51.4 เป็นหญิง ร้อยละ 48.6 เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 6.9 อายุต่ำ
กว่า 20 ปี ร้อยละ 26.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 24.6 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 20.5 อายุระหว่าง 40—49 ปี และร้อย
ละ 21.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 70.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 27.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญา
ตรี และร้อยละ 2.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 39.7 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 18.0 ระบุอาชีพรับ
จ้างทั่วไป ร้อยละ 11.5 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 6.7 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 10.3 ระบุเป็นนักศึกษา
ร้อยละ 9.7 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ และร้อยละ 4.1 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจในครั้งนี้เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อสถานการณ์ร้อนทางการ
เมือง” ซึ่งได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,438 ตัวอย่าง
โดยดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 64.0 ติดตามข่าวสารทางการเมืองเป็นบางวัน ร้อยละ 31.2 ติดตามทุกวัน และร้อยละ 4.8 ไม่ได้
ติดตามเลย
สำหรับความเชื่อต่อความเข้มข้นร้อนแรงทางการเมืองนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 63.8 เชื่อว่าการเมืองจะเข้มข้นร้อนแรงมากขึ้น
เรื่อยๆ ร้อยละ 29.4 ไม่เชื่อ และร้อยละ 6.8 ไม่มีความเห็น ในขณะเดียวกัน ตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 57.2 ไม่มั่นใจต่อ
เสถียรภาพทางการเมืองในอีก 3 เดือนข้างหน้า ร้อยละ 18.1 มั่นใจต่อเสถียรภาพทางการเมือง และร้อยละ 24.7 ไม่มีความเห็น
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความคิดเห็นต่อสาเหตุที่กระทบต่อเสถียรภาพทางการเมืองนั้น ตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยกับทุก
สาเหตุที่มีผลกระทบ ได้แก่ ข่าวม็อบต่างๆ เช่น ม็อบครู ม็อบต้านแปรรูป กฟผ. การชุมนุมที่สวนลุม เป็นต้น (เห็นด้วย ร้อยละ 76.4) ความไม่พอใจ
ของประชาชนต่อการปิดกั้นการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองของประชาชน (เห็นด้วย ร้อยละ 71.1) การโอนย้ายครูไปสังกัดองค์การปกครองท้องถิ่น
(เห็นด้วย ร้อยละ 68.7) ปัญหาชายแดนภาคใต้ (เห็นด้วย ร้อยละ 56.8) ความไม่พอใจของประชาชนต่อข่าวพรรคไทยรักไทยที่เลือกปฏิบัติเอาใจ
ใส่ต่อพื้นที่ที่มี ส.ส. ของพรรคอยู่ก่อนพื้นที่อื่นๆ (เห็นด้วย ร้อยละ 54.8) ข่าวการแปรรูป กฟผ. (เห็นด้วย ร้อยละ 52.3) วิธีการตอบโต้ของ ส.
ส. ฝ่ายรัฐบาลต่อผู้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล (เห็นด้วย ร้อยละ 49.2) และบทบาทการทำงานของฝ่ายค้าน (เห็นด้วย ร้อยละ 40.6)
สำหรับวิธีแก้ปัญหาของรัฐบาลเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเมืองนั้นพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยกับวิธีแก้ปัญหาของรัฐบาล ดังนี้ เร่งแก้
ปัญหาประชาชนลดการตอบโต้ (เห็นด้วย ร้อยละ 72.8) คืนพื้นที่สื่อเสนอข่าวสารที่สมดุลให้กับประชาชน (เห็นด้วย ร้อยละ 71.6) ลดอคติต่อกันใน
สังคมเพื่อความมั่นคงของประเทศ (เห็นด้วย ร้อยละ 70.8) และชี้แจงสร้างความเข้าใจที่ดีกับประชาชนอย่างสุภาพไม่ก้าวร้าว (เห็นด้วย ร้อยละ
68.2) แต่ในขณะเดียวกัน ตัวอย่างไม่เห็นด้วยกับการดำเนินการเอาผิดกับคนที่เห็นตรงข้ามกับรัฐบาล (ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 64.9)
ผลสำรวจต่อการประเมินการกระทำของรัฐบาลในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่า การกระทำของรัฐบาลที่ประชาชนพอใจ 5 อันดับแรก มีดัง
นี้ การที่นายกรัฐมนตรีไม่ตอบโต้ฝ่ายตรงข้ามที่โจมดีรัฐบาล (ร้อยละ 68.4) ผลงานนายกรัฐมนตรีในต่างประเทศ (ร้อยละ 64.5) รณรงค์แนวทาง
แก้ปัญหาครอบครัว เช่น ให้วันอาทิตย์เป็นวันครอบครัว (ร้อยละ 63.7) การปราบปรามยาเสพติด (ร้อยละ 61.7) และโครงการรณรงค์ลดใช้
พลังงาน (ร้อยละ 60.9)
เมื่อสอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความพอใจและไม่พอใจโดยภาพรวมต่อพรรคฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 49.3 พอใจ
พรรคฝ่ายรัฐบาลมากกว่า เพราะมีผลงานชัดเจน ช่วยให้ประเทศเจริญมากขึ้น ตั้งใจจริงแก้ปัญหาวิกฤตด้านต่างๆ ของประเทศ เป็นต้น (ร้อยละ
49.3) รองลงมาคือ ไม่พอใจพรรคฝ่ายค้าน เพราะไม่มีผลงาน ลอยตัวเหนือปัญหา ไม่เห็นทำอะไรชัดเจน มุ่งล้มล้างรัฐบาล เป็นต้น (ร้อยละ
46.9) ไม่พอใจพรรคฝ่ายรัฐบาล เพราะแทรกแซงสื่อ ปิดกั้นการรับรู้ข่าวสารของประชาชน มุ่งประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง มีพฤติกรรมตอบโต้ฝ่าย
ตรงข้ามที่รุนแรง เป็นต้น (ร้อยละ 39.2) และพอใจพรรคฝ่ายค้านมากกว่า เพราะติดตามการตรวจสอบรัฐบาลใกล้ชิดปรับปรุงการทำงานตลอด มี
ข้อมูลที่เชื่อถือได้ ตั้งใจทำงาน เป็นต้น (ร้อยละ 24.1) ในขณะที่มีตัวอย่างร้อยละ 20.3 ที่ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสุดท้ายที่น่าพิจารณา คือ การให้โอกาสรัฐบาลในการทำงานต่อไป พบว่า ตัวอย่างประมาณครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 51.4 ให้โอกาส
รัฐบาลทำงานต่อไป ร้อยละ 28.9 ไม่ให้โอกาส และร้อยละ 19.7 ไม่มีความเห็น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากตารางดังต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การติดตามข่าวสารการเมือง
ลำดับที่ การติดตามข่าวสารการเมือง ค่าร้อยละ
1 ติดตามทุกวัน 31.2
2 ติดตามบางวัน 64.0
3 ไม่ติดตามเลย 4.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อต่อความเข้มข้นร้อนแรงทางการเมือง
ลำดับที่ ความเข้มข้นร้อนแรงทางการเมือง ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าการเมืองจะเข้มข้นร้อนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ 63.8
2 ไม่เชื่อ 29.4
3 ไม่มีความเห็น 6.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความมั่นใจต่อเสถียรภาพทางการเมืองในอีก 3 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความมั่นใจของประชาชนต่อเสถียรภาพทางการเมืองในอีก 3 เดือนข้างหน้า ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 18.1
2 ไม่มั่นใจ 57.2
3 ไม่มีความเห็น 24.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อสาเหตุที่กระทบต่อเสถียรภาพทางการเมือง
ลำดับที่ สาเหตุที่กระทบต่อเสถียรภาพทางการเมือง เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น
1 ข่าวม็อบต่างๆ เช่น ม็อบครู ม็อบต้านแปรรูป กฟผ. การชุมนุมที่สวนลุม เป็นต้น 76.4 8.3 15.3
2 ความไม่พอใจของประชาชนต่อการปิดกั้นการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองของประชาชน 71.1 9.2 19.7
3 การโอนย้ายครูไปสังกัดองค์การปกครองท้องถิ่น 68.7 16.5 14.8
4 ปัญหาชายแดนภาคใต้ 56.8 22.1 21.1
5 ความไม่พอใจของประชาชนต่อข่าวพรรคไทยรักไทยที่เลือกปฏิบัติเอาใจใส่ต่อพื้นที่ที่มี ส.ส.ของพรรคอยู่ก่อนพื้นที่อื่นๆ 54.8 30.6 14.6
6 ข่าวการแปรรูป กฟผ 52.3 24.9 22.8
7 วิธีการตอบโต้ของ ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลต่อผู้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล 49.2 32.7 18.1
8 บทบาทการทำงานของฝ่ายค้าน 40.6 39.9 19.5
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ วิธีแก้ปัญหาของรัฐบาลเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเมือง
ลำดับที่ วิธีแก้ปัญหาของรัฐบาลเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเมือง เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น
1 เร่งแก้ปัญหาของประชาชนลดการตอบโต้ 72.8 12.9 14.3
2 คืนพื้นที่สื่อเสนอข่าวสารที่สมดุลให้กับประชาชน 71.6 11.3 17.1
3 ลดอคติต่อกันในสังคมเพื่อความมั่นคงของประเทศ 70.8 11.3 17.9
4 ชี้แจงสร้างความเข้าใจที่ดีกับประชาชนอย่างสุภาพไม่ก้าวร้าว 68.2 13.5 18.3
5 ดำเนินการเอาผิดกับคนที่เห็นตรงข้ามกับรัฐบาล 11.8 64.9 23.3
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การประเมินการกระทำของรัฐบาลในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การกระทำของรัฐบาล พอใจ ไม่พอใจ ไม่มีความเห็น
1 การที่นายกรัฐมนตรีไม่ตอบโต้ฝ่ายตรงข้ามที่โจมตีรัฐบาล 68.4 18.5 13.1
2 ผลงานนายกรัฐมนตรีในต่างประเทศ 64.5 26.8 8.7
3 รณรงค์แนวทางแก้ปัญหาครอบครัว เช่น ให้วันอาทิตย์เป็นวันครอบครัว 63.7 17.9 18.4
4 การปราบปรามยาเสพติด 61.7 29.3 9.0
5 โครงการรณรงค์ลดใช้พลังงาน 60.9 20.3 18.8
6 แนวทางสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ให้กับเยาวชน 60.6 12.8 26.6
7 การประกาศปราบปรามสื่อลามก 50.2 38.7 11.1
8 ความร่วมมือของรัฐบาลกับกรุงเทพมหานครเรื่องรถไฟฟ้า 48.9 32.6 18.5
9 การแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ 48.3 31.1 20.6
10 การแก้ปัญหาความยากจน 43.8 39.9 16.3
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจและไม่พอใจโดยภาพรวมต่อพรรคฝ่ายรัฐบาลและ
ฝ่ายค้าน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความพอใจและไม่พอใจต่อพรรคฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ค่าร้อยละ
1 พอใจพรรคฝ่ายรัฐบาลมากกว่า เพราะมีผลงานชัดเจน ช่วยให้ประเทศเจริญมากขึ้น
ตั้งใจจริงแก้ปัญหาวิกฤตด้านต่างๆ ของประเทศ 49.3
2 พอใจพรรคฝ่ายค้านมากกว่า เพราะติดตามตรวจสอบรัฐบาลใกล้ชิด
ปรับปรุงการทำงานตลอด มีข้อมูลที่เชื่อถือได้ ตั้งใจทำงาน เป็นต้น 24.1
3 ไม่พอใจพรรคฝ่ายรัฐบาล เพราะแทรกแซงสื่อ ปิดกั้นการรับรู้ข่าวสารของประชาชน
มุ่งประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง มีพฤติกรรมตอบโต้ฝ่ายตรงข้ามที่รุนแรง เป็นต้น 39.2
4 ไม่พอใจพรรคฝ่ายค้าน เพราะ ไม่มีผลงาน ลอยตัวเหนือปัญหา ไม่เห็นทำอะไรชัดเจน
มุ่งล้มล้างรัฐบาล เป็นต้น 46.9
5 ไม่มีความเห็น 20.3
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้โอกาสรัฐบาลในการทำงานต่อไป
ลำดับที่ การให้โอกาสรัฐบาลในการทำงานต่อไป ค่าร้อยละ
1 ให้โอกาสทำงานต่อ 51.4
2 ไม่ให้โอกาส 28.9
3 ไม่มีความเห็น 19.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-