ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ร่วมกับคุณวันชัย บุญประภา ผู้จัดการมูลนิธิเครือข่าย ครอบครัว เปิดเผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง “เสียงสะท้อนความรู้สึกและความผูกพันจากใจแม่และลูกถึงพ่อ: กรณีศึกษาตัวอย่างแม่-ลูกในเขตกรงุ เทพมหานครและปริมณฑล จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 1,405 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการในวันที่ 30 พฤศจิกายน- 2 ธันวาคม 2552
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจสภาวะความผูกพันระหว่าง “พ่อ” กับ “ลูก” ในสังคมคนกรุงเทพฯและปริมณฑลน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เพราะ ประมาณ 1 ใน 4 หรือร้อยละ 24.3 ที่ “พ่อ” กับ “ลูก” จะมีโอกาสเจอและพูดคุยกันเดือนละครั้งหรือน้อยกว่าเดือนละครั้ง และเกือบครึ่ง หนึ่งหรือร้อยละ 49.1 เท่านั้นที่ได้มีโอกาสพูดคุยกันระหว่าง “พ่อ” กับ “ลูก” ในขณะที่ ร้อยละ 80.9 ของตัวอย่างที่บอกว่า “ผู้เป็นแม่” กับ “ผู้เป็น พ่อ” ได้มีโอกาสเจอและพูดคุยกันทุกวันหรือเกือบทุกวัน
ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อถามถึงกิจกรรมที่ทำร่วมกัน ยิ่งพบความแตกต่างและน่าเป็นห่วงมากขึ้น เมื่อพบว่า “พ่อ” กับ “ลูก” ในสังคมคน กรุงเทพฯ และปริมณฑล เพียงร้อยละ 34.5 ที่ทานข้าวร่วมกัน ร้อยละ 23.6 พูดคุยกันเรื่องส่วนตัว ร้อยละ 27.6 ดูข่าว ดูละครร่วมกัน ร้อยละ 7.3 ช็อปปิ้งร่วมกัน ร้อยละ 7.4 ท่องเที่ยวด้วยกัน ร้อยละ 7.1 ชมภาพยนตร์ด้วยกัน และร้อยละ 4.1 ออกกำลังกายร่วมกัน ในขณะที่ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 64.0 ผู้เป็นพ่อ กับผู้เป็นแม่ ยังมีเวลารับประทานอาหารร่วมกัน และร้อยละ 60.5 พูดคุยเรื่องส่วนตัวกัน และร้อยละ 51.5 ดูข่าวดูละครร่วม กัน ระหว่าง ผู้เป็นพ่อ กับ ผู้เป็นแม่
ที่น่าสนใจคือ ความในใจของ “ผู้เป็นแม่” อยากจะขอโทษ ขออภัย “ผู้เป็นพ่อ” ในสิ่งที่เคยทำในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา พบว่า อันดับ แรกหรือร้อยละ43.5 ขอโทษที่เคยพูดจาไม่ดี จู้จี้ขี้บ่น ร้อยละ 31.1 ขอโทษที่ไม่มีเวลาให้ ไม่ได้ดูแลเท่าที่ควร และรองๆ ลงไปคือ ขอโทษที่ทำให้ผิด หวัง เสียใจเสมอ ขอโทษที่มักจะแสดงอารมณ์หงุดหงิดใส่ ขอโทษที่ไม่ค่อยเข้าใจกัน ขอโทษที่ใช้เงินฟุ่มเฟือย ขอโทษที่ระแวง และเข้าใจผิด ตามลำดับ
ในขณะที่ สิ่งที่ “ผู้เป็นลูก” อยากกล่าวขอโทษ “ผู้เป็นพ่อ” ในสิ่งที่ทำช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา คือ อันดับแรกหรือร้อยละ 39.6 ขอโทษที่ ไม่ค่อยได้ดูแลเอาใจใส่พ่อ ร้อยละ 37.6 ขอโทษที่เคยก้าวร้าวต่อ พ่อ พูดจาไม่ดีกับพ่อ ไม่สุภาพกับพ่อ ร้อยละ 35.0 ขอโทษที่ดื้อ เถียงพ่อ ไม่เชื่อฟัง พ่อ และรองๆ ลงไปคือ ขอโทษที่ไม่ตั้งใจเรียน ทำตัวออกนอกลู่นอกทาง ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข ทำให้พ่อผิดหวัง โกหกพ่อ ทำให้พ่อทุกข์ใจ และไม่ สามารถช่วยแบ่งเบาภาระของพ่อได้
ที่น่าสนใจคือ สิ่งที่ “ผู้เป็นแม่” อยากกล่าวขอบคุณ “ผู้เป็นพ่อ” พบว่า อันดับแรก ร้อยละ 42.8 ขอบคุณที่ร่วมทุกร่วมสุขกันมา ไม่ทอดทิ้ง กันยามยากลำบาก ร้อยละ 39.2 ขอบคุณที่ช่วยดูแลลูก เลี้ยงดูลูก รองๆ ลงไปคือ ขอบคุณที่ทำทุกอย่างเพื่อครอบครัว ทำงานหนักเพื่อครอบครัว ดูแล ครอบครัวเป็นอย่างดี ให้อภัยและให้โอกาสเสมอมา และขอบคุณที่เข้าใจ เป็นที่ปรึกษาได้ในทุกเรื่อง ขอบคุณที่กลับมาอยู่ด้วยกัน และเชื่อใจเชื่อมั่นมี เวลาให้กัน
ส่วนสิ่งที่ “ผู้เป็นลูก” อยากขอบคุณ “ผู้เป็นพ่อ” พบว่า อันดับแรก หรือร้อยละ 45.5 ขอบคุณพ่อที่เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก ร้อยละ 38.0 ขอบคุณที่เลี้ยงดูให้เติบโตเป็นคนดีของสังคม ร้อยละ 34.7 ขอบคุณที่พ่อให้อนาคตที่ดี ให้การศึกษา รองๆ ลงไปคือ ขอบคุณที่พ่อดูแลแม่และครอบครัวเป็น อย่างดี ขอบคุณที่พ่อเข้าใจและให้อภัยในสิ่งที่ลูกเคยทำผิดพลาดไป ขอบคุณที่ไม่ทอดทิ้ง และให้ชีวิต ให้กำเนิด และขอบคุณที่พ่อรักลูกเท่าๆ กัน ไม่นอกใจ แม่ มีเวลาให้และเชื่อใจลูก ตามลำดับ
และในโอกาสวันพ่อ 5 ธันวามหาราช ที่จะมาถึงนี้ “ผู้เป็นแม่” ร้อยละ 48.8 ตั้งใจจะอยู่บ้านพร้อมหน้าพร้อมตากัน ร้อยละ 48.0 ตั้งใจ จะทำบุญตักบาตร และรองๆ ลงไปคือ ทานข้าวนอกบ้านกัน ทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว เช่น ปลูกต้นไม้ ทำกับข้าวร่วมกัน ทำบุญอุทิศส่วนกุศล ไปพัก ผ่อน ท่องเที่ยวกัน ดูภาพยนตร์ร่วมกัน และให้ของขวัญ การ์ด ดอกไม้ เป็นต้น
ส่วนสิ่งที่ “ผู้เป็นลูก” ตั้งใจจะทำให้ พ่อ ในวันพ่อที่จะมาถึงนี้ พบว่า ร้อยละ 41.5 จะอยู่บ้านพร้อมหน้าพร้อมตากัน ร้อยละ 39.2 ไปทำ บุญตักบาตร ร้อยละ 34.0 ให้ของขวัญ การ์ด ดอกไม้ และรองๆ ลงไปคือ ทานข้าวนอกบ้านกับพ่อ ให้เงินพ่อ ทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว พาพ่อ ไปพักผ่อน ทำบุญอุทิศส่วนกุศล พาพ่อไปเที่ยว ไปตรวจสุขภาพ และโทรศัพท์หาพ่อ ตามลำดับ
นอกจากนี้ สิ่งที่ “ผู้เป็นพ่อ” ได้บอกถึงความเคร่งครัดในการอบรมเลี้ยงดูลูกเปรียบเทียบ อดีตกับปัจจุบัน พบว่า ร้อยละ 51.2 ระบุเคร่ง ครัดน้อยลง ร้อยละ 26.3 ระบุเท่าเดิม และร้อยละ 22.5 ระบุเคร่งครัดมากขึ้น ส่วนลักษณะการอบรมเลี้ยงดูของผู้เป็นพ่อและผู้เป็นแม่ที่มีต่อลูกภายใน ครอบครัวระหว่าง ยึดหลักศีลธรรมกับดุลยพินิจส่วนตัว พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.2 ยึดหลักศีลธรรมและดุลยพินิจส่วนตัวเท่าๆ กัน ร้อยละ 24.4 ยึดหลักศีลธรรมมากกว่า และร้อยละ 15.4 ยึดดุลยพินิจส่วนตัวมากกว่าหลักศีลธรรม
ผ.อ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า สำหรับสังคมไทยแล้ว ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนไทยมีความสุข ผลวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลสัญญาณที่ดีบางประการคือแต่ละคนในครอบครัวต่างรู้ถึงปัญหาและมีความตั้งใจที่จะขออภัยต่อกันเช่น การที่ผู้เป็นแม่พูดจาไม่ดี จู้จี้ขี้ บ่น และขอบคุณต่อกันที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา ส่วนผู้เป็นลูกก็ขออภัยที่ไม่ได้ดูแลพ่อ แต่กลับขอบคุณพ่อที่เลี้ยงดูลูกมาเป็นอย่างดี ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ ถ้าทุกคน ในครอบครัวร่วมกันไตร่ตรองให้อภัยต่อกันในช่วงเดือนสุดท้ายของปีนี้และปีหน้าก็เริ่มต้นชีวิตใหม่เดินก้าวไปข้างหน้าพร้อมๆ กัน รักษาน้ำใจซื่อสัตย์ต่อกัน น่าจะมีผลทำให้สถาบันครอบครัวของสังคมไทยเข้มแข็งมากขึ้นและจะส่งผลทำให้ปัญหาสังคมหลายอย่างลดลงไปได้
คุณวันชัย บุญประภา ผู้จัดการมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว กล่าวว่า ผลสำรวจชี้ชัดเจนว่า พ่อมีความใกล้ชิดกับลูกน้อยกว่าแม่ ลักษณะเช่นนี้ อาจทำให้ลูกๆ ขาดโอกาสในการเรียนรู้แบบอย่างที่ดีของความเป็นพ่อ ลูกจะรู้สึกห่างเหินทั้งทางกายและต่อเนื่องถึงจิตใจด้วย ถ้าไม่มีการแก้ไขความ สัมพันธ์ดังกล่าว จึงอาจเกิดความไม่เข้าใจและตำหนิว่ากล่าวกันจนถึงขั้นใช้ความรุนแรงในครอบครัวตามมา เมื่อพ่อมีอายุมากขึ้น ลูกๆ อาจทอดทิ้งไม่ เลี้ยงดูซึ่งปรากฏให้เห็นในสังคมอยู่เป็นจำนวนมาก ผลสำรวจยังสะท้อนถึงความต้องการของภรรยาและบุตรที่อยากให้พ่อมีเวลาใกล้ชิดอยู่พร้อมหน้า พร้อมตากันมากขึ้น จึงเสนอให้รัฐบาลมีการรณรงค์และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องพิจารณาเอื้ออำนวยให้พ่อได้มีโอกาสใช้เวลาใกล้ชิดกับลูกมากยิ่งขึ้น เช่น ผู้เป็นพ่อในรัฐบาล พ่อในรัฐสภา พ่อที่เป็นข้าราชการ และองค์กรต่างๆ ในสังคม เปิดโอกาสให้ลูกเรียนรู้การทำงานของพ่อ เข้าใจภาระหน้าที่การทำ งานของพ่อบ้าง หรือร่วมรณรงค์ให้พ่ออยู่บ้าน ช่วยงานบ้าน สอนการบ้านลูก เพื่อให้ลูกเห็นเป็นแบบอย่างของผู้ชายและพ่อที่ดีให้พ่อใกล้ชิดกับลูกมากขึ้น
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างร้อยละ 68.1 เป็นเพศหญิง
ร้อยละ 31.9 เป็นเพศชาย
ร้อยละ 13.9 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 29.2 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 22.0 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 21.2 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 13.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 81.2 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 17.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.2 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 18.6 ระบุอาชีพเกษตร/รับจ้างใช้แรงงานทั่วไป
ร้อยละ 38.5 ระบุอาชีพค้าขายรายย่อย/อิสระ
ร้อยละ 11.9 ระบุอาชีพลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 4.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.6 ระบุอาชีพพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 14.2 ระบุอาชีพนักเรียนนักศึกษา
ร้อยละ 4.0 ระบุว่างงาน /ไม่ประกอบอาชีพ
ทั้งนี้เมื่อพิจารณสถานภาพภายในครอบครัวพบว่า ร้อยละ 38.1 ระบุเป็นภรรยา
และร้อยละ 61.9 ระบุเป็นลูก
โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้
ลำดับที่ การได้เจอ/พูดคุยกับพ่อหรือสามี ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พ่อ กับ แม่ค่าร้อยละ ลูก กับ พ่อค่าร้อยละ 1 ทุกวันหรือเกือบทุกวัน 80.9 49.1 2 อาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง 7.2 13.9 3 อาทิตย์ละ 1 ครั้ง 3.2 7.4 4 เดือนละ 2-4 ครั้ง 1.3 5.3 5 เดือนละ 1 ครั้ง/น้อยกว่าเดือนละครั้ง 7.4 24.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกิจกรรมที่ตนเองได้ทำร่วมกับพ่อหรือแม่ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (ค่าร้อยละที่ทำบ่อย-บ่อยที่สุด) ลำดับที่ กิจกรรมที่ทำร่วมกัน พ่อ กับ แม่ค่าร้อยละ ลูก กับ พ่อค่าร้อยละ 1 ทานข้าวร่วมกัน 64.0 34.5 2 พูดคุยเรื่องส่วนตัว 60.5 23.6 3 ดูข่าว ดูละคร 51.5 27.6 4 ชอปปิ้ง 14.4 7.3 5 ท่องเที่ยว 11.6 7.4 6 ชมภาพยนตร์ 7.8 7.1 7 ออกกำลังกาย 7.6 4.1 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างผู้เป็นแม่ ที่ระบุสิ่งที่อยากจะขอโทษผู้เป็นพ่อในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ สิ่งที่อยากจะขอโทษในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ค่าร้อยละ 1 ขอโทษที่เคยพูดจาไม่ดี จู้จี้ขี้บ่น 43.5 2 ขอโทษที่ไม่มีเวลาให้/ไม่ได้ดูแลเท่าที่ควร 31.1 3 ขอโทษที่ทำให้ผิดหวัง/เสียใจเสมอ 24.5 4 ขอโทษที่มักจะแสดงอารมณ์หงุดหงิดใส่ 17.7 5 ขอโทษที่ไม่ค่อยเข้าใจกัน 9.6 6 ขอโทษที่ใช้เงินฟุ่มเฟือย 8.8 7 อื่นๆ อาทิ ขอโทษที่ระแวง/ขอโทษที่ไม่ได้ช่วยดูแลลูก/ขอโทษที่เข้าใจผิด/ขอโทษ- ที่ชอบทำให้โกรธ/ขอโทษที่เอาแต่ใจตัวเอง 7.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างลูกที่ระบุสิ่งที่ลูกจะขอโทษพ่อในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ สิ่งที่ลูกอยากจะขอโทษพ่อในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ค่าร้อยละ 1 ขอโทษที่ไม่ค่อยได้ดูแลเอาใจใส่พ่อ 39.6 2 ขอโทษที่เคยก้าวร้าวพ่อ/พูดจาไม่ดีกับพ่อ/พูดจาไม่สุภาพกับพ่อ 37.6 3 ขอโทษที่ดื้อ/เถียงพ่อ/ไม่เชื่อฟังพ่อ 35.0 4 ขอโทษที่ไม่ตั้งใจเรียน/หนีเรียน 16.6 5 ขอโทษที่ทำตัวนอกลู่นอกทางยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข 15.7 7 ขอโทษที่ทำให้พ่อผิดหวัง ทำตามที่พ่อคาดหวังไม่ได้ 8.1 9 อื่นๆ อาทิ ขอโทษที่โกหกพ่อ/ขอโทษที่ทำให้พ่อทุกข์ใจ/ขอโทษที่ไม่สามารถช่วยแบ่งเบาภาระพ่อได้ 9.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างผู้เป็นแม่ที่ระบุสิ่งที่อยากจะขอบคุณผู้เป็นพ่อในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ สิ่งที่ผู้เป็นแม่อยากจะขอบคุณ ผู้เป็นพ่อในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ค่าร้อยละ 1 ขอบคุณที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา/ไม่ทอดทิ้งกันยามลำบาก 42.8 2 ขอบคุณที่ช่วยดูแลลูก/ช่วยเลี้ยงดูลูก 39.2 3 ขอบคุณที่ทำทุกอย่างเพื่อครอบครัว/ทำงานหนักเพื่อครอบครัว 23.6 4 ขอบคุณที่ดูแลครอบครัวมาเป็นอย่างดี 16.5 5 ขอบคุณที่ให้อภัยและให้โอกาสเสมอ 16.5 6 ขอบคุณที่เข้าใจ และเป็นที่ปรึกษาในทุกเรื่อง 11.5 7 อื่นๆ อาทิ ขอบคุณที่กลับมาอยู่ด้วยกัน/ขอบคุณที่เชื่อใจและเชื่อมั่น/ขอบคุณที่มีเวลาให้ 9.8 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างลูกที่ระบุสิ่งที่อยากจะขอบคุณพ่อในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ สิ่งที่ลูกอยากจะขอบคุณพ่อในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ค่าร้อยละ 1 ขอบคุณที่พ่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกเสมอมา 45.5 2 ขอบคุณที่เลี้ยงดูให้เติบโตขึ้นมาเป็นคนดีของสังคม 38.0 3 ขอบคุณที่พ่อให้อนาคตที่ดี /ให้การศึกษา 34.7 4 ขอบคุณที่พ่อดูแลแม่และครอบครัวเป็นอย่างดี 25.5 5 ขอบคุณที่พ่อเข้าใจและให้อภัยในสิ่งที่ผิดพลาดเสมอไม่เคยทอดทิ้ง 23.7 6 ขอบคุณที่ให้ชีวิต/ขอบคุณที่ให้กำเนิด 11.7 7 อื่นๆ อาทิ ขอบคุณที่พ่อรักลูกเท่าๆ กัน/ขอบคุณที่พ่อไม่นอกใจแม่/ขอบคุณที่พ่อมีเวลาให้/ขอบคุณที่พ่อเชื่อใจ 11.9 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างผู้เป็นแม่ที่ระบุสิ่งที่ตั้งใจจะทำเพื่อผู้เป็นพ่อในวันพ่อที่จะถึงนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ สิ่งที่ผู้เป็นแม่ตั้งใจจะทำเพื่อ ผู้เป็นพ่อ ค่าร้อยละ 1 อยู่บ้านพร้อมหน้าพร้อมตากัน 48.8 2 ทำบุญตักบาตร 48.0 3 ไปทานข้าวนอกบ้าน 26.9 4 ทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว เช่น ปลูกต้นไม้ ทำกับข้าว 21.9 5 ทำบุญอุทิศส่วนกุศล 18.8 6 ไปพักผ่อน/ท่องเที่ยวด้วยกัน 17.6 7 อื่นๆ อาทิ ไปดูภาพยนตร์ด้วยกัน/ให้สิ่งของ เช่น ของขวัญ การ์ด ดอกไม้ 18.3 ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างลูกที่ระบุสิ่งที่ตั้งใจจะทำเพื่อพ่อในวันพ่อที่จะถึงนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ สิ่งที่ลูกตั้งใจจะทำเพื่อพ่อ ค่าร้อยละ 1 อยู่บ้านพร้อมหน้าพร้อมตากัน 41.5 2 ไปทำบุญตักบาตรกับพ่อ 39.2 3 ให้สิ่งของ เช่น ของขวัญ การ์ด ดอกไม้ 34.0 4 ไปทานข้าวนอกบ้านกับพ่อ 22.0 5 ให้เงินพ่อ 21.5 7 ทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว เช่น ปลูกต้นไม้ ทำกับข้าว 19.4 8 อื่นๆ อาทิ พาพ่อไปพักผ่อนตามสถานที่ต่างๆ ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้พ่อ/พาพ่อไปเที่ยว/ พาพ่อไปตรวจสุขภาพ/โทรศัพท์หาพ่อ/กลับบ้านไปหาพ่อ 23.2 ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุถึงความเคร่งครัดในการอบรมเลี้ยงดูลูกเปรียบเทียบใน อดีตกับปัจจุบัน ลำดับที่ ระดับความเคร่งครัด ค่าร้อยละ 1 มากขึ้น 22.5 2 เท่าเดิม 26.3 3 ลดน้อยลง 51.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุถึงลักษณะการอบรมเลี้ยงดูลูกของพ่อ-แม่ ภายในครอบครัว ลำดับที่ ลักษณะการอบรมเลี้ยงดูลูกของพ่อ-แม่ ภายในครอบครัว ค่าร้อยละ 1 พ่อ-แม่ยึดหลักศีลธรรมมากกว่าหลักดุลยพินิจส่วนตัว 24.4 2 พ่อ-แม่ยึดหลักดุลยพินิจส่วนตัวมากกว่าหลักศีลธรรม 15.4 3 พ่อ-แม่ยึดหลักศีลธรรมละดุลยพินิจส่วนตัวเท่าๆ กัน 60.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 --เอแบคโพลล์-- -พห-