ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง อารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนต่อรัฐธรรมนูญ
และการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบันภายใต้การนำของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและ 17 จังหวัดทั่ว
ทุกภูมิภาคของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,224 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 3-11 พฤศจิกายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจาก
การสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ประชาชนส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 60 ติดตามข่าวสารการเมืองเป็นประจำ อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงสิ่งที่ประชาชนนึกถึงอันดับแรกเกี่ยวกับ
รัฐธรรมนูญ พบว่า ร้อยละ 30.7 นึกถึงกฎหมาย ร้อยละ 19.5 นึกถึงความเป็นประชาธิปไตย ร้อยละ 10.3 นึกถึงความยุติธรรม ความเที่ยงตรง
ความถูกต้อง ร้อยละ 8.9 นึกถึงการปกครองบ้านเมือง ในขณะที่เพียงร้อยละ 4.5 นึกถึงกฎหมายสูงสุด
ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.7 ไม่เคยอ่านรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 เพราะไม่มีเวลา งานยุ่ง ไม่ใช่นัก
กฎหมาย ไม่ใช่นักการเมือง ไม่รู้ว่าหาอ่านได้ที่ไหน เป็นต้น และที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนเกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 47.5 ร้อยละ 47.2 ร้อยละ
46.5 และร้อยละ 49.6 เห็นด้วยกับการกำหนดให้นายกรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งไม่เกิน 8 ปี กำหนดให้รัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งไม่เกิน 8 ปี กำหนดให้
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือ ส.ส. อยู่ในตำแหน่งไม่เกิน 8 ปี และกำหนดให้นักการเมืองท้องถิ่นอยู่ในตำแหน่งบริหารไม่เกิน 8 ปี ตามลำดับ
ในขณะเดียวกัน ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.3 เห็นด้วยถ้ามีกฎหมายยึดทรัพย์ขบวนการทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 91.9 เห็นด้วยถ้ามี
กฎหมายคุ้มครองพยานให้มีชีวิตที่ดีกว่าหลังจากร่วมมือคลี่คลายคดีเพื่อความถูกต้องในกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 87.2 เห็นด้วยถ้ามีกฎหมายเอาผิด
การล็อบบี้เอื้อประโยชน์พวกพ้องและนายทุน ร้อยละ 84.2 เห็นด้วยถ้ามีกฎหมายเอาผิดการเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง ตามลำดับ
เมื่อสอบถามถึงปัญหาเดือดร้อนของประชาชนที่คิดว่ารัฐบาลควรแก้ไขเร่งด่วน พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.9 ระบุเป็นการฟื้นฟูช่วยเหลือ
ผู้ประสบภัยน้ำท่วม เช่น ที่อยู่อาศัย อาหาร ยารักษาโรค อาชีพการทำงาน และเงินชดเชย เป็นต้น รองลงมาคือร้อยละ 82.9 ระบุปัญหาความยากจน
และหนี้สิน ร้อยละ 81.6 ระบุปัญหาก่อการร้ายในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 80.1 ระบุปัญหาอาชญากรรมต่างๆ การคุกคามทางเพศ ข่มขืน จี้
ปล้น ฆาตรกรรม เป็นต้น ร้อยละ 76.7 ระบุปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 75.6 ระบุปัญหายาเสพติด ร้อยละ 72.8 ระบุปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน
ไม่ได้รับการคุ้มครองดูแลอย่างแท้จริง ร้อยละ 70.3 ระบุปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย การปล่อยปละละเลยของเจ้าหน้าที่รัฐ ร้อยละ 62.8 ระบุปัญหา
การเมือง เช่น การไม่มีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิเสรีภาพประชาชนและการตรวจสอบรัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 61.4 ระบุความไม่เป็นธรรมทาง
สังคม ไม่เท่าเทียมและการเลือกปฏิบัติ
ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.2 ระบุสิ่งที่รัฐบาลควรเร่งปรับปรุงให้มากยิ่งขึ้นคือความรวดเร็วในการแก้ปัญหาเดือดร้อนของ
ประชาชน ร้อยละ 87.4 ระบุการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ร้อยละ 66.9 ระบุมีหลักฐานเอาผิดขบวนการทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 65.1 ระบุการจัด
ระเบียบสังคม และร้อยละ 63.8 ระบุประสิทธิภาพการทำงานของข้าราชการ เป็นต้น
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ แรงสนับสนุนของประชาชนต่อรัฐบาลชุดปัจจุบันลดลงจากการสำรวจในเดือนตุลาคมจากร้อยละ 60.9 มาอยู่ที่ร้อย
ละ 55.2 ในการสำรวจครั้งล่าสุด
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าเสียงสนับสนุนของประชาชนต่อรัฐบาลเริ่มตกลงภายในเวลาอันสั้นมาก เพราะแนวทางการ
แก้ไขปัญหาที่ผ่านมาของรัฐบาลอาจไม่เป็นที่รับรู้ของสาธารณชน ไม่โดนใจประชาชน ไม่รวดเร็วในการแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชนระดับรากฐาน
สังคมแต่กลับไปรวดเร็วทำอย่างอื่นที่ห่างไกลชีวิตประจำวันของประชาชน และความอดทนของประชาชนก็มีจำกัด รัฐบาลอาจไม่ต้องการคะแนนนิยม
เพราะไม่ได้มาจากพรรคการเมืองแต่รัฐบาลยังต้องการการสนับสนุนจากสาธารณชนเพื่อผลักดันนโยบายต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงไป
“นอกจากนี้ นโยบายของรัฐบาลที่เขียนอย่างกว้างๆ ถ้าให้แต่ละกระทรวงแยกกันทำจะไม่มีแรงพอที่จะแก้ปัญหาความเดือดร้อนของ
ประชาชนได้เพราะปัญหาที่กำลังบั่นทอนคุณภาพชีวิตประชาชนและวัฒนธรรมประเพณีของไทยขณะนี้มันใหญ่เกินกว่ากระทรวงใดกระทรวงหนึ่งจะแก้ไขได้
เมื่อให้แต่ละกระทรวงแยกกันไปทำแบบไม่บูรณาการก็จะทำให้รัฐบาลกลายเป็นรัฐบาลที่สมองโตขาลีบและอาจเป็นรัฐบาลที่เป็นง่อยไป ความเชื่อมั่นของ
สาธารณชนต่อรัฐบาลก็จะหมดไปอย่างรวดเร็ว สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ ประชาชนทั่วไปจะขาดความศรัทธาต่อรัฐบาลที่มีความซื่อสัตย์สุจริตเพราะ
ประชาชนจำนวนมากอาจมองว่ารัฐบาลที่ถูกมองว่าไม่ซื่อสัตย์แก้ไขปัญหาเดือดร้อนของประชาชนได้ดีและทันใจกว่า” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า แนวทางที่น่าพิจารณาคือนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีควรจะเน้นการบูรณาการกลไกต่างๆ ของรัฐในการแก้ไข
ปัญหาเดือดร้อนของประชาชนควบคู่ไปกับระบบคุณธรรม เพียงแต่แก้ไขจุดอ่อนของรัฐบาลที่แล้วที่เคยมีในเรื่องระบบอุปถัมภ์ แต่เรื่องการบูรณาการการแก้
ปัญหาควรจะสานต่อ แต่ดูเหมือนว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันกำลังปฏิเสธแนวทางการบูรณาการในขณะที่ปัญหาระบบอุปถัมภ์ยังคงมีอยู่อย่างชัดเจน ผลที่ตามมาก็
คือ อายุของรัฐบาลอาจจะสั้นกว่าที่คาดการณ์ไว้และระบบคุณธรรมจริยธรรมของสังคมไทยจะล่มสลายไปจนกลายเป็นเพียงระบบสัญญลักษณ์ให้ผู้มีอำนาจที่
จะเข้ามาแทนนำไปอ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับตนเองและพวกพ้องเท่านั้น
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับปัญหาเดือดร้อนและแนวทางแก้ไขปัญหาของรัฐบาล
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง อารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนต่อรัฐธรรมนูญและการ
ทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบันภายใต้การนำของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและ 17 จังหวัดทั่วทุก
ภูมิภาคของประเทศ ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 3-11 พฤศจิกายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจาก 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ
ปทุมธานี เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ ตาก พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ หนองบัวลำภู ขอนแก่น ศรีสะเกษ สกลนคร
กระบี่ ชุมพร และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 3,224 คน
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.2 เป็นหญิง
ร้อยละ 47.8 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.9 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.1 อายุ 20-29 ปี
ร้อยละ 24.3 อายุ 30-39 ปี
ร้อยละ 20.7 อายุ 40-49 ปี
และร้อยละ 23.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 80.8 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 17.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.1 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.0 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป/เกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน
ร้อยละ 30.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 15.6 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 5.9 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.3 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 5.9 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 3.5 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพใด ๆ
ตัวอย่าง ร้อยละ 29.2 ระบุรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 34.4 ระบุ 5,001-10,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 6.2 ระบุ 10,001-15,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 5.2 ระบุ 15,001-20,000 บาทต่อเดือน
และร้อยละละ 25.0 ระบุรายได้มากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ ความถี่การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 39.2
2 3-4 วัน/สัปดาห์ 17.3
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 11.6
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 20.5
5 ไม่ได้ติดตาม 11.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่นึกถึงเป็นอันดับแรกเมื่อพูดถึงคำว่า “รัฐธรรมนูญ”
ลำดับที่ สิ่งที่นึกถึงเป็นอันดับแรกเมื่อพูดถึง “รัฐธรรมนูญ” ค่าร้อยละ
1 กฎหมาย 30.7
2 ความเป็นประชาธิปไตย 19.5
3 ความยุติธรรม/ความเที่ยงตรง/ความถูกต้อง 10.3
4 การปกครองบ้านเมือง 8.9
5 การเมือง 6.8
6 กฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ 6.4
7 กฎหมายสูงสุด 4.5
8 อื่นๆ อาทิ ความเป็นอิสระ /สิทธิเสรีภาพ/การเลือกตั้ง/สิทธิและหน้าที่ของประชาชน 12.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์ในการอ่านรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. 2540
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เคยอ่าน 16.3
2 ไม่เคย เพราะ ไม่มีเวลา งานยุ่ง เป็นเรื่องการเมืองไม่อยากเกี่ยวข้อง
ไม่ใช่นักกฎหมาย ไม่รู้ว่าหาอ่านที่ไหน เป็นต้น 83.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อประเด็นสำคัญทางการเมืองในขณะนี้
ประเด็นสำคัญทางการเมืองในขณะนี้ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1.กำหนดให้นายกรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งไม่เกิน 8 ปี 47.5 40.0 12.5 100.0
2.กำหนดให้รัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งไม่เกิน 8 ปี 47.2 41.0 11.8 100.0
3.กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ในตำแหน่งไม่เกิน 8 ปี 46.5 42.0 11.5 100.0
4.กำหนดให้นักการเมืองท้องถิ่นอยู่ในตำแหน่งบริหารไม่เกิน 8 ปี 49.6 39.5 10.9 100.0
5.มีกฎหมายเอาผิด การเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง 84.2 8.8 7.0 100.0
6.มีกฎหมายเอาผิด การล็อบบี้เอื้อประโยชน์ให้พวกพ้องและนายทุน 87.2 7.1 5.7 100.0
7.มีกฎหมายเอาผิด ยึดทรัพย์ขบวนการทุจริตคอรัปชั่น 92.3 3.2 4.5 100.0
8.มีกฎหมายคุ้มครองข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐที่หมดอำนาจหลังจากต่อสู้กับขบวนการกลุ่มผู้มีอิทธิพล 85.0 7.5 7.5 100.0
9.มีกฎหมายคุ้มครองพยานให้มีชีวิตที่ดีกว่าหลังจากร่วมมือคลี่คลายคดีเพื่อความถูกต้องในกระบวนการยุติธรรม 91.9 2.2 5.9 100.0
ตารางที่ 5 แสดงการจัด 10 อันดับ ปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่ต้องการให้รัฐบาลแก้ไข (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลแก้ไข ค่าร้อยละ
1 การฟื้นฟูช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม เช่น ที่อยู่อาศัย อาหาร ยารักษาโรค อาชีพการทำงาน และเงินชดเชย เป็นต้น 85.9
2 ปัญหาความยากจน และหนี้สิน 82.9
3 ปัญหาก่อการร้ายในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 81.6
4 ปัญหาอาชญากรรมต่างๆ เช่น การคุกคามทางเพศ ข่มขืน จี้ปล้น ฆาตรกรรม เป็นต้น 80.1
5 ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 76.7
6 ปัญหายาเสพติด 75.6
7 ปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชนไม่ได้รับการคุ้มครองดูแลแท้จริง 72.8
8 ปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย การปล่อยปละละเลยของเจ้าหน้าที่ของรัฐ 70.3
9 ปัญหาการเมือง เช่น การไม่มีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิเสรีภาพประชาชนและ การตรวจสอบรัฐบาล 62.8
10 ความไม่เป็นธรรมในสังคม ความไม่เท่าเทียมกัน และการเลือกปฏิบัติ 61.4
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สิ่งที่รัฐบาลควรเร่งปรับปรุงให้มากยิ่งขึ้น (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลเร่งปรับปรุง ค่าร้อยละ
1 ความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของประชาชน 91.2
2 การแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม 87.4
3 มีหลักฐานเอาผิดขบวนการทุจริตคอรัปชั่น 66.9
4 การจัดระเบียบสังคม 65.1
5 ประสิทธิภาพการทำงานของข้าราชการ 63.8
6 ความโปร่งใส 40.2
7 การยอมให้ถูกตรวจสอบ 35.9
8 ความเป็นที่ไว้วางใจได้ 21.1
9 การทำงานของคณะรัฐมนตรี 18.3
10 อื่นๆ เช่น ความสัมพันธ์ที่ดีกับสื่อมวลชน การทุ่มเททำงานของรัฐมนตรี และการประชาสัมพันธ์ผลงาน เป็นต้น 19.9
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการสนับสนุนรัฐบาลชุดปัจจุบันภายใต้การนำของ
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีให้ทำงานต่อไป
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ตุลาคมค่าร้อยละ 11 พฤศจิกายนค่าร้อยละ
1 สนับสนุน 60.9 55.2
2 ไม่สนับสนุน 8.3 15.3
3 ไม่มีความเห็น 30.8 29.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
และการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบันภายใต้การนำของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและ 17 จังหวัดทั่ว
ทุกภูมิภาคของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,224 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 3-11 พฤศจิกายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจาก
การสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ประชาชนส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 60 ติดตามข่าวสารการเมืองเป็นประจำ อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงสิ่งที่ประชาชนนึกถึงอันดับแรกเกี่ยวกับ
รัฐธรรมนูญ พบว่า ร้อยละ 30.7 นึกถึงกฎหมาย ร้อยละ 19.5 นึกถึงความเป็นประชาธิปไตย ร้อยละ 10.3 นึกถึงความยุติธรรม ความเที่ยงตรง
ความถูกต้อง ร้อยละ 8.9 นึกถึงการปกครองบ้านเมือง ในขณะที่เพียงร้อยละ 4.5 นึกถึงกฎหมายสูงสุด
ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.7 ไม่เคยอ่านรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 เพราะไม่มีเวลา งานยุ่ง ไม่ใช่นัก
กฎหมาย ไม่ใช่นักการเมือง ไม่รู้ว่าหาอ่านได้ที่ไหน เป็นต้น และที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนเกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 47.5 ร้อยละ 47.2 ร้อยละ
46.5 และร้อยละ 49.6 เห็นด้วยกับการกำหนดให้นายกรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งไม่เกิน 8 ปี กำหนดให้รัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งไม่เกิน 8 ปี กำหนดให้
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือ ส.ส. อยู่ในตำแหน่งไม่เกิน 8 ปี และกำหนดให้นักการเมืองท้องถิ่นอยู่ในตำแหน่งบริหารไม่เกิน 8 ปี ตามลำดับ
ในขณะเดียวกัน ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.3 เห็นด้วยถ้ามีกฎหมายยึดทรัพย์ขบวนการทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 91.9 เห็นด้วยถ้ามี
กฎหมายคุ้มครองพยานให้มีชีวิตที่ดีกว่าหลังจากร่วมมือคลี่คลายคดีเพื่อความถูกต้องในกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 87.2 เห็นด้วยถ้ามีกฎหมายเอาผิด
การล็อบบี้เอื้อประโยชน์พวกพ้องและนายทุน ร้อยละ 84.2 เห็นด้วยถ้ามีกฎหมายเอาผิดการเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง ตามลำดับ
เมื่อสอบถามถึงปัญหาเดือดร้อนของประชาชนที่คิดว่ารัฐบาลควรแก้ไขเร่งด่วน พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.9 ระบุเป็นการฟื้นฟูช่วยเหลือ
ผู้ประสบภัยน้ำท่วม เช่น ที่อยู่อาศัย อาหาร ยารักษาโรค อาชีพการทำงาน และเงินชดเชย เป็นต้น รองลงมาคือร้อยละ 82.9 ระบุปัญหาความยากจน
และหนี้สิน ร้อยละ 81.6 ระบุปัญหาก่อการร้ายในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 80.1 ระบุปัญหาอาชญากรรมต่างๆ การคุกคามทางเพศ ข่มขืน จี้
ปล้น ฆาตรกรรม เป็นต้น ร้อยละ 76.7 ระบุปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 75.6 ระบุปัญหายาเสพติด ร้อยละ 72.8 ระบุปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน
ไม่ได้รับการคุ้มครองดูแลอย่างแท้จริง ร้อยละ 70.3 ระบุปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย การปล่อยปละละเลยของเจ้าหน้าที่รัฐ ร้อยละ 62.8 ระบุปัญหา
การเมือง เช่น การไม่มีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิเสรีภาพประชาชนและการตรวจสอบรัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 61.4 ระบุความไม่เป็นธรรมทาง
สังคม ไม่เท่าเทียมและการเลือกปฏิบัติ
ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.2 ระบุสิ่งที่รัฐบาลควรเร่งปรับปรุงให้มากยิ่งขึ้นคือความรวดเร็วในการแก้ปัญหาเดือดร้อนของ
ประชาชน ร้อยละ 87.4 ระบุการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ร้อยละ 66.9 ระบุมีหลักฐานเอาผิดขบวนการทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 65.1 ระบุการจัด
ระเบียบสังคม และร้อยละ 63.8 ระบุประสิทธิภาพการทำงานของข้าราชการ เป็นต้น
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ แรงสนับสนุนของประชาชนต่อรัฐบาลชุดปัจจุบันลดลงจากการสำรวจในเดือนตุลาคมจากร้อยละ 60.9 มาอยู่ที่ร้อย
ละ 55.2 ในการสำรวจครั้งล่าสุด
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าเสียงสนับสนุนของประชาชนต่อรัฐบาลเริ่มตกลงภายในเวลาอันสั้นมาก เพราะแนวทางการ
แก้ไขปัญหาที่ผ่านมาของรัฐบาลอาจไม่เป็นที่รับรู้ของสาธารณชน ไม่โดนใจประชาชน ไม่รวดเร็วในการแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชนระดับรากฐาน
สังคมแต่กลับไปรวดเร็วทำอย่างอื่นที่ห่างไกลชีวิตประจำวันของประชาชน และความอดทนของประชาชนก็มีจำกัด รัฐบาลอาจไม่ต้องการคะแนนนิยม
เพราะไม่ได้มาจากพรรคการเมืองแต่รัฐบาลยังต้องการการสนับสนุนจากสาธารณชนเพื่อผลักดันนโยบายต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงไป
“นอกจากนี้ นโยบายของรัฐบาลที่เขียนอย่างกว้างๆ ถ้าให้แต่ละกระทรวงแยกกันทำจะไม่มีแรงพอที่จะแก้ปัญหาความเดือดร้อนของ
ประชาชนได้เพราะปัญหาที่กำลังบั่นทอนคุณภาพชีวิตประชาชนและวัฒนธรรมประเพณีของไทยขณะนี้มันใหญ่เกินกว่ากระทรวงใดกระทรวงหนึ่งจะแก้ไขได้
เมื่อให้แต่ละกระทรวงแยกกันไปทำแบบไม่บูรณาการก็จะทำให้รัฐบาลกลายเป็นรัฐบาลที่สมองโตขาลีบและอาจเป็นรัฐบาลที่เป็นง่อยไป ความเชื่อมั่นของ
สาธารณชนต่อรัฐบาลก็จะหมดไปอย่างรวดเร็ว สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ ประชาชนทั่วไปจะขาดความศรัทธาต่อรัฐบาลที่มีความซื่อสัตย์สุจริตเพราะ
ประชาชนจำนวนมากอาจมองว่ารัฐบาลที่ถูกมองว่าไม่ซื่อสัตย์แก้ไขปัญหาเดือดร้อนของประชาชนได้ดีและทันใจกว่า” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า แนวทางที่น่าพิจารณาคือนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีควรจะเน้นการบูรณาการกลไกต่างๆ ของรัฐในการแก้ไข
ปัญหาเดือดร้อนของประชาชนควบคู่ไปกับระบบคุณธรรม เพียงแต่แก้ไขจุดอ่อนของรัฐบาลที่แล้วที่เคยมีในเรื่องระบบอุปถัมภ์ แต่เรื่องการบูรณาการการแก้
ปัญหาควรจะสานต่อ แต่ดูเหมือนว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันกำลังปฏิเสธแนวทางการบูรณาการในขณะที่ปัญหาระบบอุปถัมภ์ยังคงมีอยู่อย่างชัดเจน ผลที่ตามมาก็
คือ อายุของรัฐบาลอาจจะสั้นกว่าที่คาดการณ์ไว้และระบบคุณธรรมจริยธรรมของสังคมไทยจะล่มสลายไปจนกลายเป็นเพียงระบบสัญญลักษณ์ให้ผู้มีอำนาจที่
จะเข้ามาแทนนำไปอ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับตนเองและพวกพ้องเท่านั้น
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับปัญหาเดือดร้อนและแนวทางแก้ไขปัญหาของรัฐบาล
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง อารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนต่อรัฐธรรมนูญและการ
ทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบันภายใต้การนำของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและ 17 จังหวัดทั่วทุก
ภูมิภาคของประเทศ ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 3-11 พฤศจิกายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจาก 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ
ปทุมธานี เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ ตาก พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ หนองบัวลำภู ขอนแก่น ศรีสะเกษ สกลนคร
กระบี่ ชุมพร และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 3,224 คน
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.2 เป็นหญิง
ร้อยละ 47.8 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.9 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.1 อายุ 20-29 ปี
ร้อยละ 24.3 อายุ 30-39 ปี
ร้อยละ 20.7 อายุ 40-49 ปี
และร้อยละ 23.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 80.8 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 17.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.1 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.0 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป/เกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน
ร้อยละ 30.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 15.6 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 5.9 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.3 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 5.9 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 3.5 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพใด ๆ
ตัวอย่าง ร้อยละ 29.2 ระบุรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 34.4 ระบุ 5,001-10,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 6.2 ระบุ 10,001-15,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 5.2 ระบุ 15,001-20,000 บาทต่อเดือน
และร้อยละละ 25.0 ระบุรายได้มากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ ความถี่การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 39.2
2 3-4 วัน/สัปดาห์ 17.3
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 11.6
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 20.5
5 ไม่ได้ติดตาม 11.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่นึกถึงเป็นอันดับแรกเมื่อพูดถึงคำว่า “รัฐธรรมนูญ”
ลำดับที่ สิ่งที่นึกถึงเป็นอันดับแรกเมื่อพูดถึง “รัฐธรรมนูญ” ค่าร้อยละ
1 กฎหมาย 30.7
2 ความเป็นประชาธิปไตย 19.5
3 ความยุติธรรม/ความเที่ยงตรง/ความถูกต้อง 10.3
4 การปกครองบ้านเมือง 8.9
5 การเมือง 6.8
6 กฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ 6.4
7 กฎหมายสูงสุด 4.5
8 อื่นๆ อาทิ ความเป็นอิสระ /สิทธิเสรีภาพ/การเลือกตั้ง/สิทธิและหน้าที่ของประชาชน 12.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์ในการอ่านรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. 2540
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เคยอ่าน 16.3
2 ไม่เคย เพราะ ไม่มีเวลา งานยุ่ง เป็นเรื่องการเมืองไม่อยากเกี่ยวข้อง
ไม่ใช่นักกฎหมาย ไม่รู้ว่าหาอ่านที่ไหน เป็นต้น 83.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อประเด็นสำคัญทางการเมืองในขณะนี้
ประเด็นสำคัญทางการเมืองในขณะนี้ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1.กำหนดให้นายกรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งไม่เกิน 8 ปี 47.5 40.0 12.5 100.0
2.กำหนดให้รัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งไม่เกิน 8 ปี 47.2 41.0 11.8 100.0
3.กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ในตำแหน่งไม่เกิน 8 ปี 46.5 42.0 11.5 100.0
4.กำหนดให้นักการเมืองท้องถิ่นอยู่ในตำแหน่งบริหารไม่เกิน 8 ปี 49.6 39.5 10.9 100.0
5.มีกฎหมายเอาผิด การเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง 84.2 8.8 7.0 100.0
6.มีกฎหมายเอาผิด การล็อบบี้เอื้อประโยชน์ให้พวกพ้องและนายทุน 87.2 7.1 5.7 100.0
7.มีกฎหมายเอาผิด ยึดทรัพย์ขบวนการทุจริตคอรัปชั่น 92.3 3.2 4.5 100.0
8.มีกฎหมายคุ้มครองข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐที่หมดอำนาจหลังจากต่อสู้กับขบวนการกลุ่มผู้มีอิทธิพล 85.0 7.5 7.5 100.0
9.มีกฎหมายคุ้มครองพยานให้มีชีวิตที่ดีกว่าหลังจากร่วมมือคลี่คลายคดีเพื่อความถูกต้องในกระบวนการยุติธรรม 91.9 2.2 5.9 100.0
ตารางที่ 5 แสดงการจัด 10 อันดับ ปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่ต้องการให้รัฐบาลแก้ไข (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลแก้ไข ค่าร้อยละ
1 การฟื้นฟูช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม เช่น ที่อยู่อาศัย อาหาร ยารักษาโรค อาชีพการทำงาน และเงินชดเชย เป็นต้น 85.9
2 ปัญหาความยากจน และหนี้สิน 82.9
3 ปัญหาก่อการร้ายในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 81.6
4 ปัญหาอาชญากรรมต่างๆ เช่น การคุกคามทางเพศ ข่มขืน จี้ปล้น ฆาตรกรรม เป็นต้น 80.1
5 ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 76.7
6 ปัญหายาเสพติด 75.6
7 ปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชนไม่ได้รับการคุ้มครองดูแลแท้จริง 72.8
8 ปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย การปล่อยปละละเลยของเจ้าหน้าที่ของรัฐ 70.3
9 ปัญหาการเมือง เช่น การไม่มีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิเสรีภาพประชาชนและ การตรวจสอบรัฐบาล 62.8
10 ความไม่เป็นธรรมในสังคม ความไม่เท่าเทียมกัน และการเลือกปฏิบัติ 61.4
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สิ่งที่รัฐบาลควรเร่งปรับปรุงให้มากยิ่งขึ้น (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลเร่งปรับปรุง ค่าร้อยละ
1 ความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของประชาชน 91.2
2 การแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม 87.4
3 มีหลักฐานเอาผิดขบวนการทุจริตคอรัปชั่น 66.9
4 การจัดระเบียบสังคม 65.1
5 ประสิทธิภาพการทำงานของข้าราชการ 63.8
6 ความโปร่งใส 40.2
7 การยอมให้ถูกตรวจสอบ 35.9
8 ความเป็นที่ไว้วางใจได้ 21.1
9 การทำงานของคณะรัฐมนตรี 18.3
10 อื่นๆ เช่น ความสัมพันธ์ที่ดีกับสื่อมวลชน การทุ่มเททำงานของรัฐมนตรี และการประชาสัมพันธ์ผลงาน เป็นต้น 19.9
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการสนับสนุนรัฐบาลชุดปัจจุบันภายใต้การนำของ
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีให้ทำงานต่อไป
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ตุลาคมค่าร้อยละ 11 พฤศจิกายนค่าร้อยละ
1 สนับสนุน 60.9 55.2
2 ไม่สนับสนุน 8.3 15.3
3 ไม่มีความเห็น 30.8 29.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-