เอแบคโพลล์: ตำรวจ ประชาชน และการเมือง (Police People and Politics)

ข่าวผลสำรวจ Tuesday December 8, 2009 07:48 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” ที่เป็นการ สำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อทำ การสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไว จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจ เรื่อง ตำรวจ ประชาชน และการเมือง (Police People and Politics) กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนระดับครัวเรือนใน 17 จังหวัดของประเทศได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี กาญจนบุรี ชลบุรี เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ ขอนแก่น ศรีสะเกษ สกลนคร หนอง บัวลำภู ระนอง พัทลุง และสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,245 ครัวเรือน ดำเนินการสำรวจในวันที่ 4 - 5 ธันวาคม 2552 พบว่า

ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.5 ให้ความสำคัญระดับมากถึงมากที่สุดต่อองค์กรตำรวจ ในขณะที่เพียงร้อยละ 12.3 และร้อยละ 4.2 ที่ให้ความสำคัญระดับน้อยถึงไม่ให้ความสำคัญเลย และเมื่อถามถึงการรับทราบข่าวข้าราชาการตำรวจที่ดีและเสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ในช่วง 30 วันที่ ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.1 ทราบข่าว อย่างไรก็ตาม ประชาชนเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 53.7 มองว่าสื่อมวลชนยังไม่ให้ความสำคัญมาก เพียงพอในการยกย่องข้าราชการตำรวจที่ดีเสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ ยิ่งไปกว่านั้น ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.4 กลับมองว่า “รัฐบาล” ให้ความสำคัญกับ บัญชีการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจมากกว่า การยกย่องเชิดชูเกียรติ ข้าราชารตำรวจที่ดีเสียชีวิตในขณะปฏิบัติหน้าที่

ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ประชาชนครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.9 ทราบข่าวสำนักงานตำรวจแห่งชาติกำลังทำการตรวจสอบการทุจริตจัดซื้อจัด จ้างในองค์กรตำรวจด้วยกันเอง ในขณะที่ร้อยละ 49.1 ไม่ทราบข่าว อย่างไรก็ตาม ข่าวการตรวจสอบดังกล่าว ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อย ละ 92.6 มองว่าทำให้ภาพลักษณ์ขององค์กรตำรวจในสายตาประชาชนดีขึ้นถึงดีขึ้นมาก มีเพียงร้อยละ 6.6 ที่มองว่าแย่ลงและร้อยละ 0.8 เท่านั้นที่ มองว่าการตรวจสอบดังกล่าวทำให้ภาพลักษณ์ขององค์กรตำรวจแย่ลงมาก แต่ประชาชนครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.7 ไม่เชื่อมั่นว่าการตรวจสอบการทุจริต คอรัปชั่นดังกล่าวจะสามารถเอาผิดนายตำรวจระดับสูงได้ มีร้อยละ 49.3 ที่มีความเชื่อมั่น และที่น่าเป็นห่วงคือ เกินครึ่งหรือร้อยละ 54.3 ไม่เชื่อ มั่นว่า นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่นได้

เมื่อถามถึงประเด็นทางการเมือง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.0 มองว่าช่วงเวลานี้เหมาะสมแล้วต่อการปรับคณะรัฐมนตรี เพราะ รัฐมนตรีบางท่านไม่มีผลงาน ไม่เป็นที่รู้จัก และควรปรับเฉพาะบางตำแหน่ง ในขณะที่ร้อยละ 42.0 มองว่ายังไม่ต้องปรับ เพราะต้องให้เวลาพิสูจน์ผล งานต่อไปอีกระยะก่อน นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.0 ยังให้โอกาสรัฐบาลทำงานมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป

และที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.1 คิดว่ารัฐบาลควรจัดงานที่ยิ่งใหญ่สมเกียรติต่อการจากไปของอดีตผู้นำ ประเทศ นายสมัคร สุนทรเวช

ดร.นพดล กรรณิกา ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้นับว่ามีประเด็นที่รัฐบาล สื่อมวลชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องน่าจะ พิจารณาอย่างจริงจังและนำไปสู่บรรทัดฐานของการหล่อเลี้ยงอารมณ์ความรู้สึกของประชาชน เพราะเสียงของประชาชนส่วนใหญ่ที่มองว่ารัฐบาลควรจะ มุ่งเน้นตอบสนองเสียงสะท้อนของสาธารณชนในผลสำรวจครั้งนี้มีอยู่อย่างน้อยสามประการคือ ประการแรก รัฐบาลและสื่อมวลชนควรให้ความสำคัญ ยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการตำรวจที่ดีเสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ ประการที่สอง รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น และ ประการที่สาม รัฐบาลควรจัดงานที่ยิ่งใหญ่สมเกียรติต่อการจากไปของอดีตผู้นำประเทศ นายสมัคร สุนทรเวช ที่อาจนำมาซึ่งความสมานฉันท์ความรัก ความสามัคคีของคนในชาติที่น่าจะสอดคล้องตอบสนองธรรมชาติของจิตใจและความรู้สึกผูกพันของคนไทยส่วนใหญ่ในประเทศ

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างร้อยละ 53.5 เป็นเพศหญิง

ร้อยละ 46.5 เป็นเพศชาย

ร้อยละ 4.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 16.4 อายุ 20 — 29 ปี

ร้อยละ 22.1 อายุ 30 — 39 ปี

ร้อยละ 27.3 อายุ 40 — 49 ปี

และร้อยละ 30.0 อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป

ร้อยละ 78.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี

ร้อยละ 20.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 1.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี

ร้อยละ 31.3 อาชีพเกษตรกร/รับจ้างใช้แรงงานทั่วไป

ร้อยละ 25.4 ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว อาชีพอิสระ

ร้อยละ 17.3 พนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 11.5 เป็นข้าราชการ /พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 6.1 เป็นนักศึกษา

ร้อยละ 5.0 เป็นแม่บ้าน เกษียณอายุ

ร้อยละ 3.4 ไม่ประกอบอาชีพ

ตัวอย่างร้อยละ 41.0 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน

ร้อยละ 26.0 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท

ร้อยละ 33.0 ระบุมีรายได้มากกว่า 10,000 บาท

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นของประชาชนต่อความสำคัญของ องค์กรตำรวจ
ลำดับที่          ความเห็นของประชาชน                              ค่าร้อยละ
1          สำคัญมากที่สุด                                          34.7
2          สำคัญมาก                                             48.8
3          สำคัญน้อย                                             12.3
4          ไม่สำคัญเลย                                            4.2
          รวมทั้งสิ้น                                             100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับทราบข่าว ข้าราชการตำรวจที่ดีและเสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่          การรับทราบข่าว                                        ค่าร้อยละ
1          การรับทราบข่าวข้าราชการตำรวจที่ดีและเสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่           77.1
2          ไม่ทราบ                                                    22.9
          รวมทั้งสิ้น                                                   100.0

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การให้ความสำคัญของสื่อมวลชนในการยกย่องตำรวจที่ดีและเสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่
ลำดับที่          ความเห็นของประชาชน                                   ค่าร้อยละ
1          ให้ความสำคัญยกย่องมากพอแล้ว                                   46.3
2          ยังไม่ให้ความสำคัญมากเพียงพอ                                   53.7
          รวมทั้งสิ้น                                                   100.0

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อการให้ความสำคัญของรัฐบาลต่อการยกย่องเชิดชูเกียรติตำรวจที่ดีเสียชีวิต
ขณะปฏิบัติหน้าที่ กับบัญชีการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจ
ลำดับที่          ความเห็นของประชาชน                                   ค่าร้อยละ
1          รัฐบาลให้ความสำคัญกับบัญชีการแต่งตั้งโยกย้ายมากกว่า                  70.4
2          รัฐบาลให้ความสำคัญกับการยกย่องเชิดชูเกียรติตำรวจที่ดีมากกว่า           29.6
          รวมทั้งสิ้น                                                   100.0

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบข่าวสำนักงานตำรวจแห่งชาติกำลังทำการตรวจสอบการทุจริตจัดซื้อ
จัดจ้างในองค์กรตำรวจด้วยกันเอง
ลำดับที่          ความเห็นของประชาชน                                   ค่าร้อยละ
1          ทราบข่าว                                                  50.9
2          ไม่ทราบข่าว                                                49.1
          รวมทั้งสิ้น                                                  100.0

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์ขององค์กรตำรวจภายหลังมีข่าวสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
กำลังทำการตรวจสอบการทุจริตจัดซื้อจัดจ้างในองค์กรตำรวจด้วยกันเอง
ลำดับที่          ความเห็นของประชาชน                                  ค่าร้อยละ
1          ทำให้ภาพลักษณ์ขององค์กรตำรวจในสายตาประชาชนดีขึ้นมาก             40.5
2          ดีขึ้น                                                      52.1
3          แย่ลง                                                      6.6
4          แย่ลงมาก                                                   0.8
          รวมทั้งสิ้น                                                  100.0

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นในการตรวจสอบการทุจริตคอรัปชั่นว่าจะสามารถเอาผิดนายตำรวจระดับสูงได้
ลำดับที่          ความเชื่อมั่นในการตรวจสอบการทุจริตคอรัปชั่นว่าจะสามารถเอาผิดนายตำรวจระดับสูงได้     ค่าร้อยละ
1          เชื่อมั่น                                                                      49.3
2          ไม่เชื่อมั่น                                                                    50.7
          รวมทั้งสิ้น                                                                    100.0

ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อนายอภิสทิธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่น
ลำดับที่          ความเชื่อมั่นต่อนายอภิสทิธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี          ค่าร้อยละ
1          เชื่อมั่น                                                  45.7
2          ไม่เชื่อมั่น                                                54.3
          รวมทั้งสิ้น                                                100.0

ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการปรับคณะรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
ลำดับที่          ความเห็นของประชาชน                                          ค่าร้อยละ
1          ควรปรับ เพราะช่วงเวลานี้เหมาะสมแล้ว รัฐมนตรีบางท่านไม่มีผลงาน
           ไม่เป็นที่รู้จัก และควรปรับเฉพาะบางตำแหน่ง                               58.0
2          ยังไม่ต้องปรับ เพราะ ยังต้องให้เวลาพิสูจน์ผลงานต่อไปอีกระยะก่อน              42.0
          รวมทั้งสิ้น                                                         100.0

ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้โอกาสรัฐบาลชุดปัจจุบันทำงานต่อไป
ลำดับที่          การให้โอกาสรัฐบาลชุดปัจจุบันทำงานต่อไป                           ค่าร้อยละ
1          ไม่ให้โอกาสแล้ว                                                    16.9
2          ไม่เกิน 3 เดือน                                                     7.2
3          3 — 6 เดือน                                                      15.8
4          มากกว่า 6 เดือนขึ้นไป                                               60.0
          รวมทั้งสิ้น                                                         100.0

ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อรัฐบาลในการจัดงานที่ยิ่งใหญ่สมเกียรติจากการสูญเสียชีวิต

ของอดีตผู้นำประเทศ นายสมัคร สุนทรเวช

ลำดับที่          ความเห็นของประชาชน                                                   ค่าร้อยละ
1          รัฐบาลควรจัดงานที่ยิ่งใหญ่สมเกียรติต่อการจากไปของอดีตผู้นำประเทศ นายสมัคร  สุนทรเวช      69.1
2          ไม่ควรจัด                                                                    8.8
3          ไม่มีความเห็น                                                                22.1
          รวมทั้งสิ้น                                                                   100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ