ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือศูนย์วิจัยความสุขชุมชนมหาวิทยาลัยอัส สัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” ที่เป็นการสำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อทำการสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไวภายในระยะเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง จากนั้นประมวลผล ด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจเรื่อง สถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบันกับความสุขมวลรวมของคนไทยวันนี้ กรณี ศึกษาตัวอย่างประชาชนระดับครัวเรือนใน 17 จังหวัดของประเทศได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี กาญจนบุรี ชลบุรี เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ สุโขทัยอุตรดิตถ์ ขอนแก่น ศรีสะเกษ สกลนคร หนองบัวลำภู ระนอง พัทลุง และสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,147 ครัวเรือน ดำเนินการสำรวจในวันที่ 5 ธันวาคม 2552 พบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.7 อยู่บ้านติดตามการถ่ายทอดสดพระราชพิธีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกมหาสมาคมเนื่องใน วันเฉลิมพระชนมพรรษา ในขณะที่ร้อยละ 19.3 ไม่ได้ติดตามชมรายการสด
เมื่อถามถึงสิ่งที่ประชาชนอยากให้ผู้มีอำนาจของบ้านเมืองนำไปปฏิบัติ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.1 ระบุขอให้มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ คอรัปชั่น รองลงมาคือ ร้อยละ 86.6 ระบุมีสติรู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้ผิดรู้ชอบ ร้อยละ 86.4 นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ ร้อยละ 85.0 ปฏิบัติหน้าที่ ของตนเองอย่างดีที่สุด และร้อยละ 84.2 ระบุเห็นแก่ผลประโยชน์ของประเทศชาติมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว
เมื่อถามถึงสิ่งที่ประชาชนควรจะน้อมนำพระราชดำรัสของในหลวงไปปฏิบัติ พบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 88.3 ระบุการใช้ชีวิตด้วยความ พอเพียง ร้อยละ 86.9 ช่วยกันรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ ร้อยละ 85.0 ตั้งจิตตั้งใจทำความดีเพื่อตัวเองและสังคม ร้อยละ 84.0 มีสติรู้จัก ยับยั้งชั่งใจ รู้ผิดรู้ชอบ และร้อยละ 81.2 มีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง
นอกจากนี้ ภายหลังจากที่ได้รับชมการถ่ายทอดพระราชพิธีดังกล่าวแล้วนั้น พบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 81.9 ระบุว่าตนเองมีกำลังใน การต่อสู้กับปัญหาอุปสรรคต่างๆในชีวิตเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 14.2 ระบุเหมือนเดิม และร้อยละ 3.9 ระบุไม่ได้ติดตาม
และที่น่าปลื้มปิติอย่างยิ่งคือจากการวัดความสุขคนไทยเมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า ระดับความสุขของคนไทยในวันนี้มีคะแนนสูงถึง 9.86 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งสูงกว่าความสุขคนไทยที่ค้นพบจากการสำรวจในช่วงพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อเดือน มิถุนายน 2549 ซึ่งอยู่ที่ 9.21 คะแนน
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.1 เป็นหญิง
ร้อยละ 46.9 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 16.6 อายุ 20 — 29 ปี
ร้อยละ 21.7 อายุ 30 — 39 ปี
ร้อยละ 27.2 อายุ 40 — 49 ปี
และร้อยละ 31.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป
โดย ร้อยละ 31.3 อาชีพเกษตรกร/รับจ้างใช้แรงงานทั่วไป
ร้อยละ 25.4 ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว อาชีพอิสระ
ร้อยละ 17.3 พนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 12.0 เป็นข้าราชการ /พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 4.4 เป็นนักศึกษา
ร้อยละ 5.0 เป็นแม่บ้าน เกษียณอายุ
ร้อยละ 4.6 ไม่ประกอบอาชีพ ว่างงาน
นอกจากนี้ ร้อยละ 78.4 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 21.6 มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป
ลำดับที่ การติดตามรับชมการถ่ายทอด ค่าร้อยละ 1 ติดตาม 80.7 2 ไม่ได้ติดตาม 19.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ 5 อันดับแรก ที่ประชาชนอยากให้ผู้มีอำนาจของบ้านเมืองนำไปปฏิบัติ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ 5 อันดับแรกที่ ผู้มีอำนาจของบ้านเมืองควรนำไปปฏิบัติ ค่าร้อยละ 1 มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่คอรัปชั่น 92.1 2 มีสติรู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้ผิดรู้ชอบ 86.6 3 การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 86.4 4 ปฏิบัติหน้าที่ของตนเองอย่างดีที่สุด 85.0 5 เห็นแก่ผลประโยช์ของประเทศชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง 84.2 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ 5 อันดับแรกที่ประชาชนควรจะน้อมนำพระราชดำรัสของในหลวงไปปฏิบัติ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ 5 อันดับแรกที่ประชาชนควรจำน้อมนำพระราชดำรัสไปใช้ ค่าร้อยละ 1 ใช้ชีวิตด้วยความพอเพียง 88.3 2 ช่วยกันรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ 86.9 3 ตั้งจิต-ตั้งใจทำความดีเพื่อตนเองและสังคม 85.0 4 มีสติรู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้ผิดรู้ชอบ 84.0 5 มีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเองอย่างชัดเจน 81.2 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกำลังใจในการต่อสู้กับปัญหาอุปสรรคต่างๆ เมื่อได้รับชมการถ่ายทอดสดงานพระราชพิธี เสด็จออกมหาสมาคมเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2552 ลำดับที่ การได้รับกำลังใจในการต่อสู้กับปัญหาอุปสรรคต่างๆ ค่าร้อยละ 1 ทำให้มีกำลังใจในการต่อสู้กับปัญหาอุปสรรคต่างๆ ในชีวิตเพิ่มมากขึ้น 81.9 2 เหมือนเดิม 14.2 2 ไม่ได้ติดตาม 3.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงแนวโน้มค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทยตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน 2551 จนถึงปัจจุบัน เมื่อคะแนนเต็ม 10 ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวล พ.ย.— ปลาย ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. ต้นมิ.ย. ก.ค. ส.ค. ต้นต.ค. ปลาย พ.ย. 5 ธ.ค. รวมของคนไทยภายในประเทศ ธ.ค.51 ธ.ค.51 52 52 52 52 52 52 52 52 ต.ค.52 52 52 (Gross Domestic Happiness) 6.55 6.81 6.59 5.78 6.18 7.17 7.15 5.92 7.18 6.83 7.50 7.52 9.86 --เอแบคโพลล์-- -พห-