เอแบคโพลล์: อารมณ์ความรู้สึกและความคิดเห็นของสาธารณชนหลัง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ข่าวผลสำรวจ Wednesday April 5, 2006 16:31 —เอแบคโพลล์

ที่มาของโครงการ
สถานการณ์ความเคลื่อนไหวทางการเมืองตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมามีผลกระทบต่อความคิดเห็น อารมณ์ และความรู้สึกของประชาชนในสังคม
เป็นอย่างมาก ทั้งนี้จากผลการสำรวจของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นพบว่า อารมณ์ ความรู้สึก และความคิดเห็นของประชาชนต่อ
เรื่องการเมือง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวัน
ที่ 4 เมษายน (เมื่อวานนี้) ที่ผ่านมา
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็น อารมณ์และ
ความรู้สึกของประชาชน ต่อสถานการณ์การเมือง ที่เกิดขึ้นหลังจากการประกาศไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งข้อมูลที่ได้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุก
ฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจดำเนินการใดๆ ที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่
และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการประกาศไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อบุคคลในพรรคไทยรักไทยที่เหมาะสมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อนโยบายที่รัฐบาลชุดใหม่ควรจะสานต่อ
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็น อารมณ์ และความรู้สึกของประชาชนหลังการประกาศไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองที่เกี่ยวข้อง นำไปประกอบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจดำเนินการ
ใดๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อความสงบสุขของประชาชนและความมั่นคงของประเทศต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “อารมณ์ความรู้สึกและความคิดเห็นของสาธารณชน
หลัง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ดำเนินโครงการ
ในวันที่ 5 เมษายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,347 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 51.2 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 48.8 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อย
ละ 5.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 25.4 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 23.4อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 23.5 อายุระหว่าง 40—
49 ปี และ ร้อยละ 21.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 76.6 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 20.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ
2.9 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 30.4 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 20.4 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 13.6 ระบุอาชีพข้า
ราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 19.9 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 6.0 เป็นนักเรียน / นักศึกษาร้อยละ 7.0 เป็นพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณ
อายุ และร้อยละ 2.7 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “อารมณ์ความรู้สึกและความคิดเห็นของสาธารณชน
หลัง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนทั่วไปที่พักอาศัยใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,137 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 5 เมษายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการ
สำรวจในครั้งนี้ เป็นดังนี้
ผลการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ซึ่งพบว่าตัวอย่างร้อยละ 70.1
ระบุติดตามทุกวัน/เกือบทุกวัน ร้อยละ 15.4 ระบุติดตาม 3-4 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 11.8 ระบุติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ
2.7 ระบุไม่ได้ติดตามเลย
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการติดตามการประกาศไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ในคืนวันที่ 4
เมษายน 2549 ที่ผ่านมานั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 82.2 ระบุติดตาม ในขณะที่ร้อยละ 17.8 ระบุไม่ได้ติดตาม ทั้งนี้ผลการสำรวจความพึงพอใจ
ของตัวอย่างต่อท่าทีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นั้นพบว่า ร้อยละ 63.8 ระบุพอใจ ในขณะที่ร้อยละ 30.1 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 6.1ไม่ระบุ
ความคิดเห็น ทั้งนี้ผลการสำรวจพบว่า ความพึงพอใจดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในแต่ละช่วงเวลาที่ทำการสำรวจ
ผลสำรวจอารมณ์และความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อสถานการณ์การเมืองภายหลัง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรประกาศไม่รับตำแหน่งนายก
รัฐมนตรี นั้นพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 96.9 ยังให้ความสำคัญต่อปัญหาการเมืองขณะนี้อยู่ ทั้งนี้ร้อยละ 46.1 รู้สึกวิตกกังวลต่อ
เหตุการณ์บ้านเมือง ร้อยละ 29.3 รู้สึกเครียดต่อเรื่องการเมือง ร้อยละ 8.4 เกิดความขัดแย้งเรื่องการเมืองกับคนในครอบครัว ร้อยละ
69.1 รู้สึกเบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง ร้อยละ 87.2 เรียกร้องให้ยุติการชุมนุม ในขณะที่ร้อยละ 12.4 ต้องการให้มีการชุมนุมจนกว่าจะเอาชนะถึง
ที่สุด
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่าง กรณีการยุติคดีความทางการเมืองที่กำลังฟ้องร้องกันอยู่ในขณะนี้นั้น พบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 65.9 ระบุควรยุติ ในขณะที่ร้อยละ 13.4 ระบุไม่ควรยุติ และ ร้อยละ 20.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการกลับมาลงสนามการเมืองแข่งขันในการเลือกตั้งครั้งต่อไปของพรรคการเมืองร่วมฝ่ายค้านนั้นพบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 71.9 ระบุควร ในขณะที่ร้อยละ 14.0 ระบุไม่ควร และร้อยละ 14.1 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ ผลสำรวจความนิยมของตัวอย่างที่มีต่อพรรคไทยรักไทย ภายหลัง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรประกาศไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 23.7 ระบุมีความนิยมเพิ่มขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 15.4 ระบุลดลง และร้อยละ 60.9 ระบุเหมือนเดิม
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจความเชื่อมั่นของตัวอย่างที่มีต่อความมั่นคงของประเทศภายหลังการประกาศไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พ.
ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 22.6 ระบุเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 31.4 ระบุลดลง และร้อยละ 46.0 ระบุเหมือนเดิม
ประเด็นสำคัญอย่างยิ่งที่ค้นพบจากการสำรวจของ เอแบคโพลล์ในครั้งนี้ได้แก่ความคิดเห็นของตัวอย่างคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีคนต่อ
ไป ซึ่งผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 84.3 ระบุต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต รองลงมาคือร้อยละ 75.9 ระบุไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน และร้อย
ละ 75.3 ระบุกล้าคิดกล้าทำ ร้อยละ 71.3 ระบุรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และร้อยละ 60.6 ระบุเป็นอิสระไม่ถูกใครครอบงำได้ ตามลำดับ
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างในกรณีถ้าสามารถเลือกได้บุคคลในพรรคไทยรักไทยที่มีความเหมาะสมจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อ
ไปควรจะเป็นใคร ซึ่งผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 46.7 ระบุนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองลงมาคือร้อยละ 23.9 ระบุนายสุรเกียรติ์
เสถียรไทย ร้อยละ 18.3 ระบุพล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ ร้อยละ10.4 ระบุคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ และร้อยละ 9.2 ระบุนายโภคิน พลกุล
ประเด็นสำคัญสุดท้ายคือ ความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีนโยบายที่รัฐบาลชุดใหม่ควรจะสานต่อซึ่งพบว่า ร้อยละ 85.3 ระบุนโยบายในการ
แก้ไขปัญหายาเสพติด รองลงมาคือร้อยละ 77.3 ระบุ โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ร้อยละ 77.1 ระบุการปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ
72.5 ระบุปราบปรามผู้มีอิทธิพล และร้อยละ 70.4 ระบุการขจัดปัญหาความยากจน ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจชี้ให้เห็นชัดเจนว่า หลังจาก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ประกาศไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว แนวโน้มของ
ประชาชนในหลายมิติที่เคยสูงขึ้นหลังจากนายกรัฐมนตรีออกรายการกรองสถานการณ์กลับลดต่ำลงอย่างมากในหลายประเด็น เช่น ความวิตกกังวลต่อ
สถานการณ์การเมือง ความเครียด ความขัดแย้งของคนในครอบครัว และความต้องการที่จะให้เอาชนะกันจนถึงที่สุด อย่างไรก็ตามแนวโน้มของ
ประชาชนที่เรียกร้องให้ยุติการชุมนุมของทุกกลุ่มยังคงอยู่ในระดับที่สูงเหมือนเดิม
“ผลสำรวจหลายครั้งในรอบสองเดือนที่ผ่านมา พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการความสงบเรียบร้อยของสังคมผ่านทางการเจรจากันของทุก
ฝ่ายด้วยสันติวิธีและต้องการให้ยุติการชุมนุมของกลุ่มต่างๆ อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงต้องการให้มีการตรวจสอบการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปของ
คนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรีโดยคณะกรรมการกลางที่เป็นอิสระอย่างแท้จริงด้วย” ดร.นพดล กล่าว
“อย่างไรก็ตาม ถ้าสถานการณ์การเมืองขณะนี้เป็นไปด้วยความปกติไม่มีเหตุรุนแรงบานปลายเกิดขึ้นมา การอธิบายภาพปรากฏการณ๋ท
งการเมือง ขณะนี้น่าจะถือได้ว่าเป็นผลดีต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ นั่นหมายความว่า การเมืองไทยมี “การปรับฐาน” ครั้งใหญ่เป็น
การปรับฐานที่มีนัยสำคัญและสัญลักษณ์ทางการเมืองที่ดีต่อความแข็งแกร่งของประเทศไทยเพราะการเมืองภาคประชาชนเข้มแข็งขึ้นอย่างที่ไม่เคยปรากฏ
มาก่อน แต่ถ้ามีเหตุปัจจัยทำให้เกิดความรุนแรงบานปลายมีประชาชนผู้ชุมนุมบาดเจ็บล้มตายจากการชุมนุม หรือเกิดความโกรธเกลียดอย่างรุนแรงในหมู่
ประชาชนกระจายไปตามท้องถิ่นต่างๆ จะส่งผลให้ประเทศไทยถอยหลังไปสู่สภาพติดลบสะท้อนให้เห็นความไม่มีสปิริตของบุคคลสำคัญ ความอ่อนแอของ
ระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ และความพ่ายแพ้ของประชาชนทั้งประเทศคือแพ้ต่อตนเองและสายตาของนานาประเทศทั่วโลก” ดร.นพดล กล่าว
“ในคืนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ออกรายการกรองสถานการณ์นั้นสิ่งแรกๆ ที่นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงชี้ให้เห็นถึงชัยชนะด้วยการอ้างตัวเลข 16 ล้าน
เสียงที่ได้มาบนความเชื่อมั่นและไม่เชื่อมั่นของประชาชนต่อวิธีการเลือกตั้ง ไม่ต้องกล่าวถึงการซื้อสิทธิขายเสียงและกลโกงการเลือกตั้งที่พบเห็นเกือบ
เป็นเรื่องปกติในหลายพื้นที่ ยิ่งไปกว่านั้น การกล่าวอ้างกลุ่ม No Vote หรืองดลงคะแนนว่าเป็นกลุ่มที่มาจากฐานเสียงของพรรคร่วมฝ่ายค้านและคนที่
กลางๆ บางส่วนเท่านั้น ดูจะไม่เพียงพอ ผลสำรวจของเอแบคโพลล์ครั้งล่าสุดชี้ให้เห็นว่า กลุ่มโนโหวตส่วนหนึ่งมาจากคนที่เคยเลือกพรรคไทยรักไทย
ด้วยมีสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 4 หรือกว่าร้อยละ 25 ดังนั้นในฐานะที่เป็นนักวิจัยไม่ควรดูแบบเข้าข้างตนเองว่าเป็นเพียงกลุ่มฝ่ายตรงข้ามเท่านั้น แต่ควร
ดูที่นัยสำคัญหรือสัญลักษณ์ทางการเมืองด้วยว่าประชาชนกลุ่มนี้ต้องการแสดงพลังให้นายกรัฐมนตรีเห็นอะไรและพวกเขารู้สึกอย่างไรต่อสถานะความเป็น
นายกรัฐมนตรีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ทางออกที่น่าจะสามารถคลี่คลายสถานการณ์ในระยะสั้นและพ.ต.ท. ทักษิณได้ตัดสินใจไปแล้วคือ การไม่รับตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรีภายหลังการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตามขั้นตอนต่อไปคือ พรรคไทยรักไทยควรสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนว่า ผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี
คนต่อไปเป็นอิสระไม่มีการแทรกแซงทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มหรือผลประโยชน์ของพรรค มีความซื่อสัตย์สุจริตไม่ด่างพร้อย ไม่มีผล
ประโยชน์ทับซ้อน และที่เห็นได้ชัดเจนในผลสำรวจครั้งนี้คือ ประชาชนไม่เอาคนที่มีคุณสมบัติฐานร่ำรวยเป็นลักษณะสำคัญของผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีคน
ต่อไปแล้ว
“ยิ่งไปกว่านั้น พรรคไทยรักไทยหรือรัฐบาลชุดใหม่ควรเร่งเปิดให้มีการตรวจสอบโดยคณะกรรมการกลางอิสระอย่างแท้จริงในกรณีความ
เคลือบแคลงสงสัยของสาธารณชนต่อการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปของคนใกล้ชิด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และสะสางปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่แกนนำพันธมิตร
ประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเคยนำเสนอต่อสาธารณชน เช่น ทุจริตกล้ายางพารา ทุจริตข้าว การซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิด CTX และอื่นๆ อีกมาก
มาย ให้สาธารณชนได้มีโอกาสทราบความคืบหน้าในการตรวจสอบอย่างเข้มข้นและสามารถดำเนินการเอาผิดบุคคลสำคัญไม่ว่าจะใกล้ชิดกับรัฐบาลมาก
เพียงไรก็ไม่ละเว้น ซึ่งถ้าทำได้เช่นนี้ความเชื่อมั่นศรัทธาน่าจะกลับมายังรัฐบาลเหมือนที่เคยปรากฎมาในช่วงหลังเลือกตั้งปี 44 ของรัฐบาลพรรคไทยรัก
ไทย ดังนั้น การประกาศไม่รับตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีจะกลายเป็นเพียงการผ่อนคลายอารมณ์ความรู้สึกและความคิดเห็นของสาธารณชนระยะสั้นเท่า
นั้น ถ้าไม่มีปัจจัยเกื้อหนุนหรือดึงความนิยมศรัทธาอย่างยั่งยืนกลับคืนมา” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดผลสำรวจอื่นๆ ได้ในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมือง ร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 70.1
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 15.4
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 11.8
4 ไม่ได้ติดตามเลย 2.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการประกาศไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เมื่อคืนวันที่ 4 เมษายน
ลำดับที่ การติดตามข่าวของตัวอย่าง ร้อยละ
1 ติดตาม 82.2
2 ไม่ได้ติดตาม 17.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อท่าทีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ภายหลัง ประกาศไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ความนิยมต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 14 มีนาคมร้อยละ 31 มีนาคมร้อยละ 5 เมษายนร้อยละ
1.พอใจ 44.1 51.9 63.8
2.ไม่พอใจ 37.1 30.2 30.1
3.ไม่มีความเห็น 18.8 17.9 6.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การให้ความสำคัญต่อปัญหาการเมืองขณะนี้
การให้ความสำคัญ 9 มี.ค. 22 มี.ค. 1 เม.ย. 2-3 เม.ย 4 เม.ย. 5 เม.ย.
ให้ความสำคัญต่อปัญหาการเมืองขณะนี้ 94.8 95.5 97.5 96.2 97.3 96.9
ไม่ให้ความสำคัญ 5.2 4.5 2.5 3.8 2.7 3.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์บ้านเมือง
ความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์บ้านเมือง 4 มี.ค. 22 มี.ค. 1 เม.ย 2-3 เม.ย 4 เม.ย. 5 เม.ย.
รู้สึกวิตกกังวล 50.7 74.7 60.8 54.1 67.6 46.1
ไม่รู้สึกวิตกกังวล/ไม่มีความเห็น 49.3 25.3 39.2 45.9 32.4 53.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเครียดต่อเรื่องการเมือง
ความเครียดต่อเรื่องการเมือง 12 มี.ค. 22 มี.ค. 1 เม.ย 2-3 เม.ย 4 เม.ย. 5 เม.ย.
รู้สึกเครียด 44.9 45.0 36.9 30.7 44.4 29.3
ไม่รู้สึกเครียด 55.1 55.0 63.1 69.3 55.6 70.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับคนในครอบครัว
ความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับคนในครอบครัว 6 มี.ค. 22 มี.ค. 1 เม.ย. 2-3 เม.ย 4 เม.ย. 5 เม.ย.
มีความขัดแย้ง 27.7 12.5 14.9 10.3 12.5 8.4
ไม่มีความขัดแย้ง 72.3 87.5 85.1 89.7 87.5 91.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรู้สึกเบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง
รู้สึกเบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 12 มี.ค. 22 มี.ค. 1 เม.ย 2-3 เม.ย 4 เม.ย. 5 เม.ย.
เบื่อหน่าย 79.8 76.0 67.7 62.4 71.3 69.1
ไม่เบื่อหน่าย 20.2 24.0 32.3 37.6 28.7 30.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเรียกร้องให้ยุติการชุมนุมของทุกฝ่าย
การเรียกร้องให้ยุติการชุมนุม 9 มี.ค. 22 มี.ค. 1 เม.ย 2-3 เม.ย 4 เม.ย. 5 เม.ย.
เรียกร้องให้ยุติการชุมนุม 69.4 78.6 82.6 83.1 80.7 87.2
ไม่เรียกร้อง 30.6 21.4 17.4 16.9 19.3 12.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการให้มีการชุมนุมจนกว่าจะเอาชนะถึงที่สุด
ความต้องการให้มีการชุมนุมจนกว่าจะเอาชนะถึงที่สุด 14 มี.ค. 22 มี.ค. 1 เม.ย 4 เม.ย. 5 เม.ย.
ต้องการให้มีการชุมนุมจนกว่าจะเอาชนะถึงที่สุด 8.4 19.2 15.6 22.8 5.4
ไม่ต้องการ 91.6 80.8 84.4 77.2 94.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นที่ว่าทุกฝ่ายควรยุติคดีความทางการเมืองที่ฟ้องร้องกันหรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ร้อยละ
1 ควรยุติ 65.9
2 ไม่ควรยุติ 13.4
3 ไม่มีความเห็น 20.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นที่ว่าพรรคฝ่ายค้านควรกลับมาลงสนามการเมืองแข่งขัน
ในการเลือกตั้งครั้งต่อไปหรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ร้อยละ
1 ควร 71.9
2 ไม่ควร 14.0
3 ไม่มีความเห็น 14.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความนิยมต่อพรรคไทยรักไทยภายหลัง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ประกาศไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความนิยมต่อพรรคไทยรักไทย ร้อยละ
1 เพิ่มขึ้น 23.7
2 เหมือนเดิม 60.9
3 ลดลง 15.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อความมั่นคงของประเทศภายหลังพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่อความมั่นคงของประเทศ ร้อยละ
1 เพิ่มขึ้น 22.6
2 เหมือนเดิม 46.0
3 ลดลง 31.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุลักษณะของนายกรัฐมนตรีคนต่อไป (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ลักษณะของนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ร้อยละ
1 ซื่อสัตย์สุจริต 84.3
2 ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน 75.9
3 กล้าคิดกล้าทำ 75.3
4 รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 71.3
5 เป็นอิสระไม่ถูกใครครอบงำได้ 60.6
6 มีความรู้ความสามารถ 59.8
7 มีการศึกษาปริญญาเอก 17.3
8 มีฐานะร่ำรวย 10.3
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี ถ้าเลือกได้บุคคลในพรรคไทยรักไทยที่เหมาะสม
กับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ร้อยละ
1 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 46.7
2 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย 23.9
3 พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ 18.3
4 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ 10.4
5 นายโภคิน พลกุล 9.2
6 นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ 5.3
7 นายจาตุรนต์ ฉายแสง 3.8
8 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 2.8
9 อื่นๆ อาทิ พลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูรฯ /นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา /
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา/นายพินิจ จารุสมบัติ 7.6
ตารางที่ 17 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุนโยบายที่รัฐบาลชุดใหม่ควรจะสานต่อ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ นโยบายที่รัฐบาลชุดใหม่ควรจะสานต่อ ร้อยละ
1 แก้ปัญหายาเสพติด 85.3
2 30 บาทรักษาทุกโรค 77.3
3 ปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น 77.1
4 ปราบปรามกลุ่มผู้มีอิทธิพล 72.5
5 ขจัดปัญหาความยากจน 70.4
6 แก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 70.1
7 หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 57.0
8 กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 53.5
9 พักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อย 41.5
10 แก้ไขรัฐธรรมนูญ 40.2
11 ธนาคารประชาชน 38.7
12 โครงการ “เมกกะโปรเจ็ค” 28.4
13 การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ 19.9
ตารางที่ 18 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีการลงคะแนนในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน ที่ผ่านมา
ลำดับที่ วิธีการลงคะแนนจากการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 ค่าร้อยละ
1 งดลงคะแนน 47.2
2 เลือกพรรคที่ตั้งใจจะเลือก 52.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 19 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีการลงคะแนนในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน ที่ผ่านมาจำแนก
ตามการเลือกพรรคการเมืองในระบุบัญชีรายชื่อจากการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 48
วิธีการลงคะแนนจากการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 เลือกไทยรักไทย เลือกพรรคอื่น ไม่ได้เลือกพรรคใด ภาพรวมค่าร้อยละ
1.งดลงคะแนน 27.3 75.0 58.4 47.2
2.เลือกพรรคที่ตั้งใจจะเลือก 72.7 25.0 41.6 52.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 20 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อนายกรัฐมนตรีในการยินยอมให้มีการ
ตรวจสอบโดยคณะกรรมการอิสระ เรื่องปัญหาในการขายหุ้นชินคอร์ป
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรยอมให้มีการตรวจสอบ 75.1
2 ไม่ควร 5.7
3 ไม่มีความคิดเห็น 19.2
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ