ที่มาของโครงการ
การเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการคงไว้ซึ่งประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญและน่าจะเป็นแนวทางสำคัญที่จะ
ช่วยคลี่คลายสถานการณ์การเมืองไทยให้มีความชัดเจนมากขึ้น อย่างที่หลายฝ่าย ตั้งความหวังไว้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้
จะผ่านไปได้อย่างราบรื่นท่ามกลางความโล่งใจของทุกฝ่ายก็ตาม หากแต่สถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ก็ยังมิได้มีความชัดเจนมากขึ้นเท่าใดนัก โดย
เฉพาะอย่างยิ่งความเป็นไปได้ในการเปิดประชุมสภาฯ และการจัดตั้งรัฐบาล นั้นเป็นสิ่งที่สาธารณชนกำลังจับตามองอยู่ทุกขณะ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อ
การเปิดประชุมสภาฯ และ การจัดตั้งรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน ซึ่งข้อมูลที่ได้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการ
ตัดสินใจดำเนินการใดๆ โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้าน
ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดตั้งรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้ง 2 เมษายน
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อ สภา 500 ที่นั่งของพรรคไทยรักไทย
4. เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาศึกษาเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคิดเห็นของสาธารณชนต่อสภา 500 ของไทยรัก
ไทยและนายกรัฐมนตรีคนใหม่ถ้าใช้มาตรา 7 : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ดำเนินโครงการในวันที่ 6-8
เมษายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,468 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.4 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.6 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 27.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 20.3อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 25.7 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 18.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 74.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 5.5 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 26.2 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 23.6 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 18.5 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 13.0 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 10.0 เป็นพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.4 เป็นนักเรียน / นักศึกษา และร้อยละ 2.3 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นของสาธารณชนต่อสภา 500 ของไทยรัก
ไทยและนายกรัฐมนตรีคนใหม่ถ้าใช้มาตรา 7 : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวม
ข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,468 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 6-8
เมษายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ เป็นดังนี้
ผลการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองในรอบ 30 วันที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ หรือ
ร้อยละ 66.5 ของตัวอย่างทั้งหมดได้ติดตามข่าวทุกวัน / เกือบทุกวัน ร้อยละ 18.6 ติดตาม 3-4 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 9.8 ติดตาม 1-2 วันต่อ
สัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 5.1 ไม่ได้ติดตามเลย
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นต่อการแทรกแซงคุกคามสื่อในสถานการณ์การเมืองต่างๆ เป็นดังนี้
- กรณีคาราวานคนจนชุมนุมประท้วงที่อาคารเนชั่น หรือหนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก พบว่า ประชาชนจำนวนมาก หรือร้อยละ 43.4 ระบุคุก
คาม/แทรกแซง ร้อยละ 24.6 ไม่คุกคาม/ไม่แทรกแซง ในขณะที่ประชาชนเกือบ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 32.0 ไม่ระบุความเห็น
- กรณีกลุ่มมอเตอร์ไซค์รับจ้างชุมนุมหน้าหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ พบว่า ประชาชนจำนวนมาก หรือร้อยละ 39.5 ถูกคุกคาม/แทรกแซง ร้อย
ละ 25.2 ไม่คุกคาม/ไม่แทรกแซง ในขณะที่ประชาชนเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 35.3 ไม่มีความเห็น
- กรณีระงับรายการชีพจรโลกของ คุณสุทธิชัย หยุ่น ที่เปิดโปงบริษัท เทมาเซก พบว่า ประชาชนเกินกว่า 1 ใน 3 ของตัวอย่างทั้งหมด
หรือร้อยละ 35.6 ระบุถูกคุกคาม/แทรกแซง ร้อยละ 17.5 ระบุไม่คุกคาม/ไม่แทรกแซง ในขณะที่ประชาชนจำนวนมาก หรือร้อยละ 46.9 ไม่ระบุ
ความเห็น
- กรณียุบรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ พบว่า ประชาชนเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 35.2 ระบุคุกคาม/แทรกแซง ร้อยละ 20.7
ระบุไม่คุกคาม/ไม่แทรกแซง ในขณะที่ร้อยละ 44.1 ไม่มีความเห็น
- กรณีย้ายบรราธิการช่าวเช้า (คุณเฉลิมชัย ยอดมาลัย) พบว่า ประชาชนร้อยละ 30.4 ระบุคุกคาม/แทรกแซง ร้อยละ 15.8 ไม่คุก
คาม/แทรกแซง ในขณะที่ประชาชนเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 53.8 ไม่มีความเห็น
- กรณีปลดพิธีกรข่าวเช้าวันใหม่ (คุณบุญยอด สุขถิ่นไทย) พบว่า ประชาชนเกือบ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 32.6 ระบุคุกคาม/แทรกแซง
ร้อยละ 13.5 ระบุไม่คุกคาม/ไม่แทรกแซง ในขณะที่ประชาชนเกินกว่าครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 53.9 ไม่มีความเห็น
สำหรับความคิดเห็นต่อการทบทวนบทบาทการทำงานของสื่อมวลชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 66.3 ของตัวอย่างทั้งหมด ระบุ
ว่าควรทบทวนบทบาทการทำงาน โดยได้ระบุสิ่งที่สื่อมวลชนควรทบทวนบทบาท คือ ความเป็นกลางในการนำเสนอข่าว ความเป็นอิสระในการนำเสนอ
ข่าว การนำเสนอข่าวเกินความเป็นจริง การนำเสนอข่าวที่เป็นภาพลบต่อประเทศชาติ และการนำเสนอข่าวที่มีเนื้อหารุนแรง นอกจากนี้ ร้อยละ
10.0 ไม่ควรทบทวน และร้อยละ 23.7 ไม่มีความคิดเห็น
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังค้นพบอีกว่า ประชาชนเกือบครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 48.7 ยอมรับไม่ได้ต่อสภา 500 ที่นั่ง หรือเกือบ 500 ที่นั่งของ
พรรคไทยรักไทย ร้อยละ 42.6 ยอมรับได้ และร้อยละ 8.7 ไม่มีความเห็น
สำหรับความคิดเห็นต่อเผด็จการรัฐสภา หลังจากพรรคไทยรักไทยได้ที่นั่งในสภา 500 ที่นั่ง หรือเกือบ 500 ที่นั่งนั้น พบว่า ประชาชน
จำนวนมาก หรือร้อยละ 46.9 คิดว่าจะเป็นเผด็จการรัฐสภา ร้อยละ 35.5 ไม่คิดว่าจะเป็นเผด็จการรัฐสภา และร้อยละ 17.6 ไม่มีความคิดเห็น
และเมื่อสอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความต้องการอยากให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยมีพรรคร่วมฝ่ายค้านลงแข่งขันด้วย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อย
ละ 60.3 ของตัวอย่างทั้งหมด อยากให้มีการเลือกตั้งใหม่ ร้อยละ 25.4 ไม่อยากให้มีการเลือกตั้งใหม่ ในขณะที่ร้อยละ 14.3 ไม่ระบุความคิดเห็น
ยิ่งไปกว่านั้น ประชาชนจำนวนมาก หรือร้อยละ 47.3 ไม่มั่นใจต่อการที่นายกรัฐมนตรีคนต่อไปจะมีความเป็นอิสระไม่ถูกแทรกแซงจากกลุ่ม
ผลประโยชน์ของพรรคไทยรักไทย ในขณะที่ร้อยละ 20.2 มั่นใจ และร้อยละ 32.5 ไม่มีความเห็น
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ คะแนนความนิยมของพรรคไทยรักไทย ถ้ามีปัญหาขัดแย้งกันภายในพรรคเรื่องการแย่งชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
นั้นพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 58.8 ของตัวอย่างทั้งหมด ระบุว่าจะเสียความนิยมไป ในขณะที่ร้อยละ 41.2 ระบุว่าไม่เสียความนิยม และ
เมื่อสอบถามถึงความมั่นใจต่อพรรคไทยรักไทยจะมีความสามัคคีปรองดองภายในพรรค ในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบว่า ประชาชนจำนวนมาก หรือร้อย
ละ 39.9 ไม่มั่นใจ ร้อยละ 28.9 มั่นใจ และร้อยละ 31.2 ไม่มีความเห็น
ประเด็นสุดท้ายที่ค้นพบคือ บุคคลที่เหมาะสมจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ถ้ามีการเปิดกว้างไม่จำเป็นต้องมาจากพรรคไทยรักไทย 5
อันดับแรก คือ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ (ร้อยละ 34.5) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (ร้อยละ 28.6) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ร้อยละ
24.3) นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย (ร้อยละ 12.1) และนายโภคิน พลกุล (ร้อยละ 10.2) ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความกังวลบางอย่างของประชาชนในพื้นที่ที่ถูกศึกษาว่าการประกาศไม่รับตำแหน่งนายก
รัฐมนตรีของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร มีผลคลี่คลายสถานการณ์การเมืองเชิงจิตวิทยาระยะสั้นเท่านั้น เพราะภาพที่ปรากฏในสังคมข้อมูลข่าวสารชี้ให้
เห็นว่า ความวุ่นวาย และความไม่ชัดเจนทางการเมืองยังคงมีอยู่หลายเรื่อง เช่น บุคคลที่เหมาะกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ความไม่เป็นอิสระของนายก
รัฐมนตรีคนใหม่จากการครอบงำทางการเมืองของกลุ่มผลประโยชน์พรรคไทยรักไทย การตรวจสอบความไม่ชอบมาพากล เพื่อคลี่คลายความเคลือบแคลง
สงสัยของประชาชนในเรื่องการซื้อขายหุ้นชินคอร์ป การทุจริตคอรัปชั่นโครงการต่างๆ และความไม่แน่นอนว่าจะเกิดสภาวะเผด็จการทางรัฐสภาหรือไม่
เมื่อสภา 500 ที่นั่งหรือเกือบ 500 ที่นั่งเป็นของพรรคไทยรักไทย
“ยิ่งไปกว่านั้น ภาพที่ปรากฏให้เห็นชัดเจนอีกภาพหนึ่งในสังคมข้อมูลข่าวสาร คือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ยังคงเป็นศูนย์กลางของ
การเคลื่อนไหวทางการเมืองของพรรคไทยรักไทย จึงยากที่จะพ้นจากความสงสัยว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ จะไม่ก้าวก่ายหรือครอบงำการตัดสินใจของ
นายกรัฐมนตรีที่จะมาจากพรรคไทยรักไทย ในขณะที่ภาพของความขัดแย้งเรื่องบุคคลในตำแหน่งนายกรัฐมนตรียังคงปรากฏให้เห็นและสอดคล้องกับความ
รู้สึกนึกคิดของประชาชนในการสำรวจครั้งนี้ คือ ความไม่มั่นใจว่าจะเกิดความสามัคคีปรองดองในกลุ่มต่างๆ ของพรรคไทยรักไทยในอีก 6 เดือนข้าง
หน้า ถ้าความขัดแย้งไม่สามารถหาจุดลงตัวได้ และการเมืองภาคประชาชนยังคงมีความเข้มแข็งเหมือนในขณะนี้ ความแตกแยกในพรรคไทยรักไทยอาจ
เกิดขึ้นได้จริง” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดผลสำรวจอื่นๆ ได้ในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมือง ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 66.5
2 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ 18.6
3 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ 9.8
4 ไม่ได้ติดตามเลย 5.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแทรกแซงคุกคามสื่อในสถานการณ์การเมืองขณะนี้
ความคิดเห็น
เหตุการณ์ คุกคาม/แทรกแซง ไม่คุกคาม/ไม่แทรกแซง ไม่มีความเห็น รวม
1. กรณีคาราวานคนจนชุมนุมประท้วงที่อาคารเนชั่น (หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก) 43.4 24.6 32.0 100.0
2. กรณีกลุ่มมอเตอร์ไซค์รับจ้างชุมนุมหน้าหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ 39.5 25.2 35.3 100.0
3. กรณีระงับรายการชีพจรโลกของ คุณสุทธิชัย หยุ่น ที่เปิดโปงบริษัท เทมาเซก 35.6 17.5 46.9 100.0
4. กรณียุบรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ 35.2 20.7 44.1 100.0
5. กรณีย้ายบรรณาธิการข่าวเช้า (คุณเฉลิมชัย ยอดมาลัย) 30.4 15.8 53.8 100.0
6. กรณีปลดพิธีกรข่าวเช้าวันใหม่ (คุณบุญยอด สุขถิ่นไทย) 32.6 13.5 53.9 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการทบทวนบทบาทการทำงานของสื่อมวลชนเอง
ลำดับที่ การทบทวนบทบาทการทำงานของสื่อมวลชน ค่าร้อยละ
1 ควรทบทวนบทบาทการทำงานของตนเอง 66.3
2 ไม่ควรทบทวน 10.0
3 ไม่มีความเห็น 23.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
สิ่งที่สื่อมวลชนควรทบทวนบทบาทการทำงานของตนเอง ได้แก่
1) ความเป็นกลางในการนำเสนอข่าว
2) ความเป็นอิสระในการนำเสนอข่าว
3) การนำเสนอข่าวเกินความเป็นจริง
4) การนำเสนอข่าวที่เป็นภาพลบต่อประเทศชาติ
5) การนำเสนอข่าวที่มีเนื้อหารุนแรง
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการยอมรับสภา 500 ที่นั่งหรือเกือบ 500 ที่นั่งของพรรคไทยรักไทย
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ร้อยละ
1 ยอมรับได้ 42.6
2 ยอมรับไม่ได้ 48.7
3 ไม่มีความเห็น 8.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อเผด็จการรัฐสภา หลังจากพรรคไทยรักไทย
ได้ที่นั่งในสภา 500 ที่นั่งหรือเกือบ 500 ที่นั่ง
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ร้อยละ
1 คิดว่าจะเป็นเผด็จการรัฐสภา 46.9
2 ไม่คิดว่าจะเป็นเผด็จการรัฐสภา 35.5
3 ไม่มีความเห็น 17.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการอยากให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยมีพรรคร่วม
ฝ่ายค้านร่วมลงแข่งขันด้วย
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ร้อยละ
1 อยากให้มีการเลือกตั้งใหม่ 60.3
2 ไม่อยากให้มีการเลือกตั้งใหม่ 25.4
3 ไม่มีความเห็น 14.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อการที่นายกรัฐมนตรีคนต่อไปจะมีความเป็น
อิสระไม่ถูกแทรกแซงจากกลุ่มผลประโยชน์ของพรรคไทยรักไทย
ลำดับที่ ความมั่นใจของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 20.2
2 ไม่มั่นใจ 47.3
3 ไม่มีความเห็น 32.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อคะแนนความนิยมของพรรคไทยรักไทย ถ้ามี
ปัญหาขัดแย้งกันภายในพรรคเรื่องการแย่งชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เสียความนิยม 58.8
2 ไม่เสียความนิยม 41.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อพรรคไทยรักไทยจะมีความสามัคคีปรองดอง
ภายในพรรค ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความมั่นใจของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 28.9
2 ไม่มั่นใจ 39.9
3 ไม่มีความเห็น 31.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่เหมาะสมจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ถ้าเปิดกว้างไม่จำเป็น
ต้องมาจากพรรคไทยรักไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลที่เหมาะสมจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ 34.5
2 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 28.6
3 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 24.3
4 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย 12.1
5 นายโภคิน พลกุล 10.2
6 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ 9.6
7 นายศุภชัย พานิชภักดิ์ 9.2
8 พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ 7.0
9 นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ 3.1
10 อื่นๆ อาทิ นายชวน หลีกภัย/ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ /
นายบรรหาร ศิลปอาชา/นายอานันท์ ปันยารชุน/พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นต้น 10.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-
การเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการคงไว้ซึ่งประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญและน่าจะเป็นแนวทางสำคัญที่จะ
ช่วยคลี่คลายสถานการณ์การเมืองไทยให้มีความชัดเจนมากขึ้น อย่างที่หลายฝ่าย ตั้งความหวังไว้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้
จะผ่านไปได้อย่างราบรื่นท่ามกลางความโล่งใจของทุกฝ่ายก็ตาม หากแต่สถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ก็ยังมิได้มีความชัดเจนมากขึ้นเท่าใดนัก โดย
เฉพาะอย่างยิ่งความเป็นไปได้ในการเปิดประชุมสภาฯ และการจัดตั้งรัฐบาล นั้นเป็นสิ่งที่สาธารณชนกำลังจับตามองอยู่ทุกขณะ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อ
การเปิดประชุมสภาฯ และ การจัดตั้งรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน ซึ่งข้อมูลที่ได้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการ
ตัดสินใจดำเนินการใดๆ โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้าน
ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดตั้งรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้ง 2 เมษายน
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อ สภา 500 ที่นั่งของพรรคไทยรักไทย
4. เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาศึกษาเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคิดเห็นของสาธารณชนต่อสภา 500 ของไทยรัก
ไทยและนายกรัฐมนตรีคนใหม่ถ้าใช้มาตรา 7 : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ดำเนินโครงการในวันที่ 6-8
เมษายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,468 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.4 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.6 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 27.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 20.3อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 25.7 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 18.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 74.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 5.5 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 26.2 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 23.6 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 18.5 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 13.0 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 10.0 เป็นพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.4 เป็นนักเรียน / นักศึกษา และร้อยละ 2.3 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นของสาธารณชนต่อสภา 500 ของไทยรัก
ไทยและนายกรัฐมนตรีคนใหม่ถ้าใช้มาตรา 7 : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวม
ข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,468 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 6-8
เมษายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ เป็นดังนี้
ผลการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองในรอบ 30 วันที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ หรือ
ร้อยละ 66.5 ของตัวอย่างทั้งหมดได้ติดตามข่าวทุกวัน / เกือบทุกวัน ร้อยละ 18.6 ติดตาม 3-4 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 9.8 ติดตาม 1-2 วันต่อ
สัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 5.1 ไม่ได้ติดตามเลย
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นต่อการแทรกแซงคุกคามสื่อในสถานการณ์การเมืองต่างๆ เป็นดังนี้
- กรณีคาราวานคนจนชุมนุมประท้วงที่อาคารเนชั่น หรือหนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก พบว่า ประชาชนจำนวนมาก หรือร้อยละ 43.4 ระบุคุก
คาม/แทรกแซง ร้อยละ 24.6 ไม่คุกคาม/ไม่แทรกแซง ในขณะที่ประชาชนเกือบ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 32.0 ไม่ระบุความเห็น
- กรณีกลุ่มมอเตอร์ไซค์รับจ้างชุมนุมหน้าหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ พบว่า ประชาชนจำนวนมาก หรือร้อยละ 39.5 ถูกคุกคาม/แทรกแซง ร้อย
ละ 25.2 ไม่คุกคาม/ไม่แทรกแซง ในขณะที่ประชาชนเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 35.3 ไม่มีความเห็น
- กรณีระงับรายการชีพจรโลกของ คุณสุทธิชัย หยุ่น ที่เปิดโปงบริษัท เทมาเซก พบว่า ประชาชนเกินกว่า 1 ใน 3 ของตัวอย่างทั้งหมด
หรือร้อยละ 35.6 ระบุถูกคุกคาม/แทรกแซง ร้อยละ 17.5 ระบุไม่คุกคาม/ไม่แทรกแซง ในขณะที่ประชาชนจำนวนมาก หรือร้อยละ 46.9 ไม่ระบุ
ความเห็น
- กรณียุบรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ พบว่า ประชาชนเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 35.2 ระบุคุกคาม/แทรกแซง ร้อยละ 20.7
ระบุไม่คุกคาม/ไม่แทรกแซง ในขณะที่ร้อยละ 44.1 ไม่มีความเห็น
- กรณีย้ายบรราธิการช่าวเช้า (คุณเฉลิมชัย ยอดมาลัย) พบว่า ประชาชนร้อยละ 30.4 ระบุคุกคาม/แทรกแซง ร้อยละ 15.8 ไม่คุก
คาม/แทรกแซง ในขณะที่ประชาชนเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 53.8 ไม่มีความเห็น
- กรณีปลดพิธีกรข่าวเช้าวันใหม่ (คุณบุญยอด สุขถิ่นไทย) พบว่า ประชาชนเกือบ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 32.6 ระบุคุกคาม/แทรกแซง
ร้อยละ 13.5 ระบุไม่คุกคาม/ไม่แทรกแซง ในขณะที่ประชาชนเกินกว่าครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 53.9 ไม่มีความเห็น
สำหรับความคิดเห็นต่อการทบทวนบทบาทการทำงานของสื่อมวลชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 66.3 ของตัวอย่างทั้งหมด ระบุ
ว่าควรทบทวนบทบาทการทำงาน โดยได้ระบุสิ่งที่สื่อมวลชนควรทบทวนบทบาท คือ ความเป็นกลางในการนำเสนอข่าว ความเป็นอิสระในการนำเสนอ
ข่าว การนำเสนอข่าวเกินความเป็นจริง การนำเสนอข่าวที่เป็นภาพลบต่อประเทศชาติ และการนำเสนอข่าวที่มีเนื้อหารุนแรง นอกจากนี้ ร้อยละ
10.0 ไม่ควรทบทวน และร้อยละ 23.7 ไม่มีความคิดเห็น
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังค้นพบอีกว่า ประชาชนเกือบครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 48.7 ยอมรับไม่ได้ต่อสภา 500 ที่นั่ง หรือเกือบ 500 ที่นั่งของ
พรรคไทยรักไทย ร้อยละ 42.6 ยอมรับได้ และร้อยละ 8.7 ไม่มีความเห็น
สำหรับความคิดเห็นต่อเผด็จการรัฐสภา หลังจากพรรคไทยรักไทยได้ที่นั่งในสภา 500 ที่นั่ง หรือเกือบ 500 ที่นั่งนั้น พบว่า ประชาชน
จำนวนมาก หรือร้อยละ 46.9 คิดว่าจะเป็นเผด็จการรัฐสภา ร้อยละ 35.5 ไม่คิดว่าจะเป็นเผด็จการรัฐสภา และร้อยละ 17.6 ไม่มีความคิดเห็น
และเมื่อสอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความต้องการอยากให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยมีพรรคร่วมฝ่ายค้านลงแข่งขันด้วย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อย
ละ 60.3 ของตัวอย่างทั้งหมด อยากให้มีการเลือกตั้งใหม่ ร้อยละ 25.4 ไม่อยากให้มีการเลือกตั้งใหม่ ในขณะที่ร้อยละ 14.3 ไม่ระบุความคิดเห็น
ยิ่งไปกว่านั้น ประชาชนจำนวนมาก หรือร้อยละ 47.3 ไม่มั่นใจต่อการที่นายกรัฐมนตรีคนต่อไปจะมีความเป็นอิสระไม่ถูกแทรกแซงจากกลุ่ม
ผลประโยชน์ของพรรคไทยรักไทย ในขณะที่ร้อยละ 20.2 มั่นใจ และร้อยละ 32.5 ไม่มีความเห็น
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ คะแนนความนิยมของพรรคไทยรักไทย ถ้ามีปัญหาขัดแย้งกันภายในพรรคเรื่องการแย่งชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
นั้นพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 58.8 ของตัวอย่างทั้งหมด ระบุว่าจะเสียความนิยมไป ในขณะที่ร้อยละ 41.2 ระบุว่าไม่เสียความนิยม และ
เมื่อสอบถามถึงความมั่นใจต่อพรรคไทยรักไทยจะมีความสามัคคีปรองดองภายในพรรค ในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบว่า ประชาชนจำนวนมาก หรือร้อย
ละ 39.9 ไม่มั่นใจ ร้อยละ 28.9 มั่นใจ และร้อยละ 31.2 ไม่มีความเห็น
ประเด็นสุดท้ายที่ค้นพบคือ บุคคลที่เหมาะสมจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ถ้ามีการเปิดกว้างไม่จำเป็นต้องมาจากพรรคไทยรักไทย 5
อันดับแรก คือ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ (ร้อยละ 34.5) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (ร้อยละ 28.6) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ร้อยละ
24.3) นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย (ร้อยละ 12.1) และนายโภคิน พลกุล (ร้อยละ 10.2) ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความกังวลบางอย่างของประชาชนในพื้นที่ที่ถูกศึกษาว่าการประกาศไม่รับตำแหน่งนายก
รัฐมนตรีของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร มีผลคลี่คลายสถานการณ์การเมืองเชิงจิตวิทยาระยะสั้นเท่านั้น เพราะภาพที่ปรากฏในสังคมข้อมูลข่าวสารชี้ให้
เห็นว่า ความวุ่นวาย และความไม่ชัดเจนทางการเมืองยังคงมีอยู่หลายเรื่อง เช่น บุคคลที่เหมาะกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ความไม่เป็นอิสระของนายก
รัฐมนตรีคนใหม่จากการครอบงำทางการเมืองของกลุ่มผลประโยชน์พรรคไทยรักไทย การตรวจสอบความไม่ชอบมาพากล เพื่อคลี่คลายความเคลือบแคลง
สงสัยของประชาชนในเรื่องการซื้อขายหุ้นชินคอร์ป การทุจริตคอรัปชั่นโครงการต่างๆ และความไม่แน่นอนว่าจะเกิดสภาวะเผด็จการทางรัฐสภาหรือไม่
เมื่อสภา 500 ที่นั่งหรือเกือบ 500 ที่นั่งเป็นของพรรคไทยรักไทย
“ยิ่งไปกว่านั้น ภาพที่ปรากฏให้เห็นชัดเจนอีกภาพหนึ่งในสังคมข้อมูลข่าวสาร คือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ยังคงเป็นศูนย์กลางของ
การเคลื่อนไหวทางการเมืองของพรรคไทยรักไทย จึงยากที่จะพ้นจากความสงสัยว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ จะไม่ก้าวก่ายหรือครอบงำการตัดสินใจของ
นายกรัฐมนตรีที่จะมาจากพรรคไทยรักไทย ในขณะที่ภาพของความขัดแย้งเรื่องบุคคลในตำแหน่งนายกรัฐมนตรียังคงปรากฏให้เห็นและสอดคล้องกับความ
รู้สึกนึกคิดของประชาชนในการสำรวจครั้งนี้ คือ ความไม่มั่นใจว่าจะเกิดความสามัคคีปรองดองในกลุ่มต่างๆ ของพรรคไทยรักไทยในอีก 6 เดือนข้าง
หน้า ถ้าความขัดแย้งไม่สามารถหาจุดลงตัวได้ และการเมืองภาคประชาชนยังคงมีความเข้มแข็งเหมือนในขณะนี้ ความแตกแยกในพรรคไทยรักไทยอาจ
เกิดขึ้นได้จริง” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดผลสำรวจอื่นๆ ได้ในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมือง ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 66.5
2 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ 18.6
3 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ 9.8
4 ไม่ได้ติดตามเลย 5.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแทรกแซงคุกคามสื่อในสถานการณ์การเมืองขณะนี้
ความคิดเห็น
เหตุการณ์ คุกคาม/แทรกแซง ไม่คุกคาม/ไม่แทรกแซง ไม่มีความเห็น รวม
1. กรณีคาราวานคนจนชุมนุมประท้วงที่อาคารเนชั่น (หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก) 43.4 24.6 32.0 100.0
2. กรณีกลุ่มมอเตอร์ไซค์รับจ้างชุมนุมหน้าหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ 39.5 25.2 35.3 100.0
3. กรณีระงับรายการชีพจรโลกของ คุณสุทธิชัย หยุ่น ที่เปิดโปงบริษัท เทมาเซก 35.6 17.5 46.9 100.0
4. กรณียุบรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ 35.2 20.7 44.1 100.0
5. กรณีย้ายบรรณาธิการข่าวเช้า (คุณเฉลิมชัย ยอดมาลัย) 30.4 15.8 53.8 100.0
6. กรณีปลดพิธีกรข่าวเช้าวันใหม่ (คุณบุญยอด สุขถิ่นไทย) 32.6 13.5 53.9 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการทบทวนบทบาทการทำงานของสื่อมวลชนเอง
ลำดับที่ การทบทวนบทบาทการทำงานของสื่อมวลชน ค่าร้อยละ
1 ควรทบทวนบทบาทการทำงานของตนเอง 66.3
2 ไม่ควรทบทวน 10.0
3 ไม่มีความเห็น 23.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
สิ่งที่สื่อมวลชนควรทบทวนบทบาทการทำงานของตนเอง ได้แก่
1) ความเป็นกลางในการนำเสนอข่าว
2) ความเป็นอิสระในการนำเสนอข่าว
3) การนำเสนอข่าวเกินความเป็นจริง
4) การนำเสนอข่าวที่เป็นภาพลบต่อประเทศชาติ
5) การนำเสนอข่าวที่มีเนื้อหารุนแรง
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการยอมรับสภา 500 ที่นั่งหรือเกือบ 500 ที่นั่งของพรรคไทยรักไทย
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ร้อยละ
1 ยอมรับได้ 42.6
2 ยอมรับไม่ได้ 48.7
3 ไม่มีความเห็น 8.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อเผด็จการรัฐสภา หลังจากพรรคไทยรักไทย
ได้ที่นั่งในสภา 500 ที่นั่งหรือเกือบ 500 ที่นั่ง
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ร้อยละ
1 คิดว่าจะเป็นเผด็จการรัฐสภา 46.9
2 ไม่คิดว่าจะเป็นเผด็จการรัฐสภา 35.5
3 ไม่มีความเห็น 17.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการอยากให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยมีพรรคร่วม
ฝ่ายค้านร่วมลงแข่งขันด้วย
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ร้อยละ
1 อยากให้มีการเลือกตั้งใหม่ 60.3
2 ไม่อยากให้มีการเลือกตั้งใหม่ 25.4
3 ไม่มีความเห็น 14.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อการที่นายกรัฐมนตรีคนต่อไปจะมีความเป็น
อิสระไม่ถูกแทรกแซงจากกลุ่มผลประโยชน์ของพรรคไทยรักไทย
ลำดับที่ ความมั่นใจของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 20.2
2 ไม่มั่นใจ 47.3
3 ไม่มีความเห็น 32.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อคะแนนความนิยมของพรรคไทยรักไทย ถ้ามี
ปัญหาขัดแย้งกันภายในพรรคเรื่องการแย่งชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เสียความนิยม 58.8
2 ไม่เสียความนิยม 41.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อพรรคไทยรักไทยจะมีความสามัคคีปรองดอง
ภายในพรรค ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความมั่นใจของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 28.9
2 ไม่มั่นใจ 39.9
3 ไม่มีความเห็น 31.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่เหมาะสมจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ถ้าเปิดกว้างไม่จำเป็น
ต้องมาจากพรรคไทยรักไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลที่เหมาะสมจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ 34.5
2 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 28.6
3 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 24.3
4 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย 12.1
5 นายโภคิน พลกุล 10.2
6 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ 9.6
7 นายศุภชัย พานิชภักดิ์ 9.2
8 พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ 7.0
9 นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ 3.1
10 อื่นๆ อาทิ นายชวน หลีกภัย/ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ /
นายบรรหาร ศิลปอาชา/นายอานันท์ ปันยารชุน/พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นต้น 10.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-